1 / 60

การใช้เงิน

การใช้เงิน. การใช้เงิน หมายถึง การที่ผู้ทรงยื่นตั๋วแลกเงินให้ผู้จ่าย หรือผู้รับรองใช้เงินเมื่อตั๋วถึงกำหนด ผู้ทรงจะยื่นตั๋วให้ใช้เงินวันใด มาตรา 941 “ อันว่าตั๋วแลกเงินนั้น ย่อมจะพึงใช้เงินในวันถึงกำหนดและถึงกำหนดวันใดผู้ทรงต้องนำตั๋วเงินยื่นเพื่อให้ใช้เงินในวันนั้น ”. วันถึงกำหนดใช้เงิน

raven-lewis
Download Presentation

การใช้เงิน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การใช้เงิน การใช้เงิน หมายถึง การที่ผู้ทรงยื่นตั๋วแลกเงินให้ผู้จ่าย หรือผู้รับรองใช้เงินเมื่อตั๋วถึงกำหนด ผู้ทรงจะยื่นตั๋วให้ใช้เงินวันใด มาตรา 941 “อันว่าตั๋วแลกเงินนั้น ย่อมจะพึงใช้เงินในวันถึงกำหนดและถึงกำหนดวันใดผู้ทรงต้องนำตั๋วเงินยื่นเพื่อให้ใช้เงินในวันนั้น”

  2. วันถึงกำหนดใช้เงิน • วันใดวันหนึ่งที่ได้กำหนดไว้ ตาม. 913 (1) • เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่วันที่ลงในตั๋วนั้น ม.913 (2) • เมื่อทวงถาม หรือเมื่อได้เห็น ม.913 (3),ม.944,ม.928 • ผู้ทรงต้องทวงถาม หรือยื่นตั๋วให้ผู้จ่ายได้เห็นภายในกำหนด 6 เดือนนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงิน หรือภายในกำหนดช้าเร็วกว่านั้น ตามที่ผู้สั่งจ่ายได้กำหนด (ม.928) มาตรา 944 “อันตั๋วแลกเงินซึ่งให้ใช้เงินเมื่อได้เห็นนั้น ท่านว่าย่อมจะพึงใช้เงินในวันเมื่อยื่นตั๋ว ทั้งนี้ต้องยื่นให้ใช้เงินภายในกำหนดเวลา ซึ่งบังคับไว้เพื่อการยื่นให้รับรองตั๋วแลกชนิดให้ใช้เงินในเวลาใดเวลาหนึ่งภายหลังได้เห็นนั้น” มาตรา ๙๒๘ “ผู้ทรงตั๋วแลกเงินอันสั่งให้ใช้เงินเมื่อสิ้นระยะเวลากำหนดอย่างใดอย่างหนึ่งนับแต่ได้เห็นนั้น ต้องนำตั๋วเงินยื่นเพื่อให้รับรองภายในหกเดือนนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินหรือภายในเวลาช้าเร็วกว่านั้นตามแต่ผู้สั่งจ่ายจะได้ระบุไว้”

  3. ยื่นตั๋วให้ใช้เงิน ออกตั๋ว 6 เดือน

  4. เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ นับแต่ได้เห็น ม.913(4) มาตรา 943 “ อันการถึงกำหนดแห่งตั๋วแลกเงินซึ่งสั่งให้ใช้เงินเมื่อสิ้นระยะเวลาอันใดอันหนึ่งนับแต่วันได้เห็นนั้น ท่านให้กำหนดนับแต่วันรับรอง หรือวันคัดค้าน” ตั๋วแลกเงิน วันที่ 1 กรกฎาคม 2549 ถึง ข. โปรดจ่ายเงิน ค. หรือผู้ถือ เมื่อสิ้นเวลา 1 เดือนนับแต่เห็นตั๋วฉบับนี้ จำนวน10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) ลงชื่อ ก ผู้สั่งจ่าย

  5. ยื่นตั๋วให้รับรอง ออกตั๋ว 6 เดือน ยื่นตั๋วให้ใช้เงิน 1 เดือน รับรอง

  6. ยื่นตั๋วให้รับรอง ออกตั๋ว 6 เดือน ยื่นให้ใช้เงินในส่วนที่รับรอง ยื่นตั๋วให้ใช้เงิน 1 เดือน รับรองบางส่วน ส่วนที่ไม่รับรองต้องคำคัดค้าน ใช้สิทธิไล่เบี้ย ม.959 (ข)

  7. ผลของการไม่ยื่นตั๋วให้ผู้ทรงใช้เงินในวันที่ตั๋วถึงกำหนดผลของการไม่ยื่นตั๋วให้ผู้ทรงใช้เงินในวันที่ตั๋วถึงกำหนด • ตั๋วเงินซึ่งมีวันถึงกำหนดใช้เงินในวันหนึ่งวันใดตาม ม. 913(1)และเมื่อสิ้นกำหนดเวลานับแต่วันที่ลงในตั๋ว ตาม ม. 913 (2) ผู้ทรงสิ้นสิทธิไล่เบี้ยตาม ม.973 (2) และวรรค 2 • ส่วนตั๋วที่ถึงกำหนดใช้เงินเมื่อได้เห็น ตาม ม. 913(3) หรือภายหลังเมื่อสิ้นเวลานับแต่ได้เห็น ตาม ม. 913(4) มีผลทำให้ผู้ทรงสิ้นสิทธิไล่เบี้ยแก่ผู้สลักหลัง ผู้สั่งจ่าย และคู่สัญญาคนก่อนๆ ตาม ม.973 วรรค 1(1) และวรรคสอง

  8. สรุป • ในวันใดวันหนึ่งที่กำหนดไว้ • เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่วันที่ลงในตั๋วนั้น • เมื่อทวงถาม หรือเมื่อได้เห็น • เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่ได้เห็น สิทธิไล่เบี้ยตาม ม.973 (2) และ ว.2 เสียสิทธิไล่เบี้ย ตามม.973(1) และ ว.2

  9. มาตรา ๙๗๓ “เมื่อกำหนดเวลาจำกัดซึ่งจะกล่าวต่อไปนี้ได้ล่วงพ้นไปแล้ว คือ (๑) กำหนดเวลาสำหรับยื่นตั๋วแลกเงิน ชนิดให้ใช้เงินเมื่อได้เห็น หรือในระยะเวลาอย่างใดอย่างหนึ่งภายหลังได้เห็น (๒) กำหนดเวลาสำหรับทำคำคัดค้านการไม่รับรองหรือการไม่ใช้เงิน (๓) กำหนดเวลาสำหรับยื่นตั๋วเพื่อให้ใช้เงิน ในกรณีที่มีข้อกำหนดว่า “ไม่จำต้องมีคำคัดค้าน” ท่านว่าผู้ทรงย่อมสิ้นสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่เหล่าผู้สลักหลัง ผู้สั่งจ่าย และคู่สัญญาอื่น ๆ ผู้ต้องรับผิด เว้นแต่ผู้รับรอง....”

  10. ม.913 (3) ยื่นตั๋วให้ใช้เงิน ออกตั๋ว 6 เดือน

  11. ม.913 (3) ยื่นตั๋วให้ใช้เงิน ออกตั๋ว สิ้นสิทธิไล่เบี้ย 6 เดือน

  12. ยื่นตั๋วให้รับรอง ออกตั๋ว 6 เดือน ม.913 (4) ยื่นตั๋วให้ใช้เงิน 1 เดือน รับรอง สิ้นสิทธิไล่เบี้ย

  13. หมายเหตุ • ในกรณีที่ผู้ทรงไม่ยื่นตั๋วให้ผู้จ่ายหรือผู้รับรองใช้เงินในวันที่ตั๋วถึงกำหนด ย่อมมีผลทำให้ผู้ทรงเสียสิทธิไล่เบี้ยต่อบุคคลต่างๆ ดังที่พิจารณาไปแล้ว • ถ้าผู้ทรงยื่นตั๋วให้ใช้เงินในภายหลังที่ตั๋วถึงกำหนด ผู้จ่ายหรือผู้รับรองจะใช้เงินให้แก่ผู้ทรงได้หรือไม่ และจะมีผลอย่างไรเพราะกฎหมายห้ามจ่ายก่อนตั๋วถึงกำหนดเท่านั้น (ปัญหานี้ต้องพิจารณาจาก ม.949)

  14. ม.913 (3) ยื่นตั๋วให้ใช้เงิน ออกตั๋ว ผู้จ่าย หรือผู้รับรอง จะใช้เงินได้หรือไม่ ? 6 เดือน สิ้นสิทธิไล่เบี้ย

  15. ข้อห้ามต่างๆในการใช้เงินข้อห้ามต่างๆในการใช้เงิน 1. ห้ามมิให้ผู้จ่าย หรือผู้รับรอง ใช้เงินให้แก่ผู้ทรงก่อนตั๋วถึงกำหนดใช้เงิน มาตรา 942 “อันจะบังคับให้ผู้ทรงตั๋วแลกเงินรับเงินใช้ก่อนตั๋วเงินนั้นถึงกำหนดนั้น ท่านว่าหาอาจจะทำได้ไม่ อนึ่ง ผู้จ่ายคนใดใช้เงินไปแต่ก่อนเวลาตั๋วเงินถึงกำหนด ท่านว่าย่อมทำเช่นนั้นด้วยเสี่ยงเคราะห์ของตนเอง” • เสี่ยงเคราะห์ ได้แก่ ถ้าบุคคลซึ่งผู้จ่ายหรือผู้รับรองใช้เงินให้มิได้มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ในตั๋ว ผู้จ่ายหรือผู้รับรองต้องรับผิดต่อผู้เป็นเจ้าของอันแท้จริงแห่งตั๋วเงิน การใช้เงิน เป็นการใช้เงินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ทำให้มูลหนี้ตั๋วเงินระงับ

  16. 2. ห้ามมิให้ผู้ทรงผ่อนเวลาให้แก่ผู้จ่าย หรือผู้รับรอง มาตรา 903 “ในการใช้เงินตามตั๋วเงินท่านมิให้ให้วันผ่อน” การผ่อน หมายถึง การที่ผู้ทรงตกลงกับผู้จ่าย ให้ใช้เงินในวันอื่นอันมิใช่วันถึงกำหนดใช้เงินที่ผู้สั่งจ่ายกำหนดไว้ ทำไมกฎหมายจึงห้ามมิให้มีการผ่อนเวลา ? เหตุเพราะ การตกลงผ่อนเวลามีผลเป็นการแก้ไขสัญญาตั๋วเงิน ผิดไปจากคำสั่งของผู้สั่งจ่าย ดังนั้นจึงไม่มีผลผูกพันคู่สัญญาคนอื่นในตั๋ว

  17. ผลของการผ่อนเวลาใช้เงินผลของการผ่อนเวลาใช้เงิน • ผลระหว่างผู้ทรงกับคู่สัญญาคนก่อนๆ ในตั๋ว มาตรา 948 “ถ้าผู้ทรงตั๋วแลกเงินยอมผ่อนเวลาให้แก่ผู้จ่ายไซร้ ท่านว่าผู้ทรงสิ้นสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้เป็นคู่สัญญาคนก่อนๆ ซึ่งมิได้ตกลงในการผ่อนเวลานั้น” มาตรา 906 “คำว่าคู่สัญญาคนก่อนๆนั้น รวมทั้งผู้สั่งจ่าย หรือผู้ออกตั๋วเงินและผู้สลักหลังคนก่อนๆด้วย” ผู้ทรงผ่อนเวลาให้แก่ ผู้จ่ายหรือผู้รับรองจะมีผลทำให้ผู้ทรงสิ้นสิทธิไล่เบี้ยแก่ ผู้สลักหลัง ผู้สั่งจ่าย ส่วนผู้รับประกัน(อาวัล) และผู้รับรอง(ถ้ามี) ผู้ทรงยังคงสามารถไล่เบี้ยให้รับผิดตามตั๋วเงินได้

  18. ผลระหว่างผู้ทรงกับผู้จ่ายหรือผู้รับรองผลระหว่างผู้ทรงกับผู้จ่ายหรือผู้รับรอง ในกรณีที่การผ่อนเวลามีการตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร ผู้จ่าย และผู้รับรองต้องผูกพันตามข้อความที่มีการผ่อนเวลานั้น

  19. ลักษณะการใช้เงิน • ใช้เงินเต็มจำนวนตามคำสั่งของผู้สั่งจ่าย ในกรณีเช่นนี้ผู้ใช้เงินมีสิทธิที่จะร้องขอให้ผู้ทรงลงลายมือชื่อรับเงินในตั๋วเงินนั้น และเวนตั๋วแลกเงินให้แก่ผู้ใช้เงิน ม.945“การใช้เงินจะเรียกเอาได้ต่อเมื่อได้เวนตั๋วแลกเงินให้ ผู้ใช้เงินจะให้ผู้ทรงลงลายมือชื่อรับเงินในตั๋วแลกเงินนั้นก็ได้” • ใช้เงินเพียงบางส่วน ซึ่งได้แก่ ผู้รับรองหรือผู้จ่ายยินยอมใช้เงินให้แก่ผู้ทรงไม่เต็มจำนวนตามคำสั่งของผู้สั่งจ่าย

  20. การใช้เงินบางส่วนผู้ทรงมีสิทธิการใช้เงินบางส่วนผู้ทรงมีสิทธิ • บอกปัดการใช้เงินแต่บางส่วนนั้น และถือว่าตั๋วเงินขาดความเชื่อถือ การใช้เงินทั้งหมดก็ได้ • ผู้ทรงจะรับเอาการใช้เงินแต่บางส่วนนั้นก็ได้ • ในจำนวนที่ไม่มีการใช้เงินนั้น ผู้ทรงต้องทำคำคัดค้านเพื่อใช้สิทธิไล่เบี้ยต่อไป ตาม ม.959 (ก),960

  21. บทบัญญัติคุ้มครองผู้ใช้เงินบทบัญญัติคุ้มครองผู้ใช้เงิน • การใช้เงินตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ กฎหมายถือว่าเป็นการใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ว่าบุคคลผู้ได้เงินไปนั้นจะมิได้มีฐานะเป็น ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย (ถือว่ามีฐานะเป็นเจ้าหนี้) • ใช้เงินในเวลาที่ตั๋วถึงกำหนด • ใช้เงินให้แก่บุคคลที่มีฐานะเป็นผู้ทรง ตามมาตรา 904 ,905 ใช้เงินให้แก่บุคคลซึ่งมีตั๋วแลกเงินในความครอบครองในฐานะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ • ในฐานะเป็นผู้รับเงิน หรือ • ในฐานะเป็นผู้ถือ หรือ • ในฐานะเป็นผู้รับสลักหลัง(โดยไม่ขาดสาย)

  22. มาตรา ๙๔๙ “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา ๑๐๐๙ บุคคลผู้ใช้เงินในเวลาถึงกำหนดย่อมเป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิด เว้นแต่ตนจะได้ทำการฉ้อฉลหรือมีความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง อนึ่งบุคคลซึ่งกล่าวนี้จำต้องพิสูจน์ให้เห็นจริงว่าได้มีการสลักหลังติดต่อกันเรียบร้อยไม่ขาดสาย แต่ไม่จำต้องพิสูจน์ลายมือชื่อของเหล่าผู้สลักหลัง”

  23. มิได้กระทำการฉ้อฉล หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง • กระทำการฉ้อฉล หมายถึง ผู้ใช้เงินรู้ว่าบุคคลผู้มีตั๋วในความครอบครองนั้นมีสิทธิบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใด • ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ได้แก่ การมิได้ใช้ความระมัดระวังตามวิสัยและพฤติการณ์ในการใช้เงิน

  24. ทางแก้หากผู้ทรงไม่ยื่นตัวให้ใช้เงินทางแก้หากผู้ทรงไม่ยื่นตัวให้ใช้เงิน • การที่ผู้ทรงไม่ยื่นตั๋วให้ผู้จ่ายหรือผู้รับรองใช้เงิน • สำหรับผู้จ่าย ผู้จ่ายไม่ต้องรับผิดเนื่องจากไม่มีลายมือชื่อของผู้จ่ายในตั๋วเงิน • ส่วนผู้รับรองนั้นเนื่องจากมีลายมือชื่อและมีฐานะเป็นลูกหนี้ชั้นต้นในตั๋วเงิน และกฎหมายมิได้บัญญัติให้ผู้รับรองหลุดพ้นจากความรับผิด อย่างเช่น ผู้สลักหลัง ผู้สั่งจ่าย (ม.973 ว.2) • ผู้รับรองจะหลุดจากความรับผิดตามตั๋วเงินได้โดยการวางจำนวนเงินที่จักต้องใช้ตามตั๋วเงินนั้นตามมาตรา 947 “ถ้าตั๋วแลกเงินมิได้ยื่นเพื่อให้ใช้เงินในวันถึงกำหนดไซร้ ท่านว่าผู้รับรองจะเปลื้องตนให้พ้นจากความรับผิดโดยวางจำนวนเงินที่ค้างชำระตามตั๋วนั้นไว้ก็ได้” จบ

  25. การใช้สิทธิไล่เบี้ย • เมื่อตั๋วเงินขาดความเชื่อถือ การรับรอง หรือการใช้เงิน ผู้ทรงมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้มีลายมือชื่อในตั๋วรับผิด โดยสิทธิเรียกร้องของผู้ทรงตามตั๋วแลกเงิน มี 2 ลักษณะ • สิทธิเรียกร้องให้ผู้รับรองรับผิดตามคำรับรอง ตาม ม. 937 (เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องต่อลูกหนี้ชั้นต้น) ฟ้องให้รับผิด ข (ผู้รับรอง) ง ก ค สลักหลัง ออกตั๋ว

  26. ข. สิทธิเรียกร้องให้คู่สัญญาคนอื่นๆ นอกจากผู้รับรอง ซึ่งเรียกว่า “สิทธิไล่เบี้ย” เช่น ผู้สั่งจ่าย ผู้สลักหลัง ผู้อาวัลโดยสิทธิไล่เบี้ยจะเกิดสิทธิเมื่อผู้จ่ายบอกปัดไม่ยอมรับรองหรือไม่ยอมใช้เงิน ข สลักหลัง สลักหลัง ค ง จ ก ผู้สลักหลัง ผู้รับสลักหลัง

  27. พฤติการณ์ที่ทำให้ผู้ทรงเกิดสิทธิไล่เบี้ยพฤติการณ์ที่ทำให้ผู้ทรงเกิดสิทธิไล่เบี้ย • มี 2 กรณี ก. สิทธิไล่เบี้ยเมื่อตั๋วแลกเงินถึงกำหนด เมื่อผู้จ่าย หรือผู้รับรองบอกปัดไม่ใช้เงินเมื่อตั๋วถึงกำหนด ( ม.959 ก. ) ข. สิทธิไล่เบี้ยก่อนตั๋วแลกเงินถึงกำหนด ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) ผู้จ่ายบอกปัดไม่ยอมรับรองตั๋วแลกเงิน • ตั๋วประเภทต้องยื่นให้รับรอง และ • ตั๋วประเภทยื่นให้รับรองหรือไม่ก็ได้

  28. (2) เมื่อผู้จ่าย • ตกเป็นคนล้มละลาย หรือ • ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด หรือ • ได้งดเว้นการใช้หนี้ไม่ว่าจะมีคำพิพากษาเป็นหลักฐานหรือไม่ก็ตาม หรือ • ผู้จ่ายถูกยึดทรัพย์และการยึดทรัพย์นั้นไร้ผล (3) ผู้สั่งจ่ายตั๋วเงินชนิดไม่จำเป็นต้องให้ใครรับรองตกเป็นคนล้มละลาย หรือถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด

  29. เงื่อนไขการใช้สิทธิไล่เบี้ยเงื่อนไขการใช้สิทธิไล่เบี้ย ผู้ทรงจะใช้สิทธิไล่เบี้ยได้ต่อเมื่อ ได้ทำตามระเบียบของกฎหมายที่วางไว้กล่าวคือ 1. ผู้ทรงต้องทำคำคัดค้าน ม.960 และ 2. ทำคำบอกกล่าวการขาดความเชื่อถือของตั๋วแลกเงิน ม.963

  30. คำคัดค้าน • เหตุที่ผู้ทรงต้องทำคำคัดค้านก็เพื่อจะได้อ้างอิงให้คู่สัญญาทั้งหลายในตั๋วเงินเห็นว่า • ผู้ทรงได้ปฎิบัติตามคำสั่งของผู้สั่งจ่ายแล้ว(ข้อความในตั๋วเงิน) และ • ผู้จ่ายไม่รับรองหรือไม่ใช้เงิน

  31. มาตรา ๙๖๐ “การที่ตั๋วแลกเงินขาดรับรองหรือขาดใช้เงินนั้น ต้องทำให้เป็นหลักฐานตามแบบระเบียบด้วยเอกสารฉบับหนึ่ง เรียกว่าคำคัดค้าน • มาตรา ๙๖๑ คำคัดค้านนั้นให้นายอำเภอ หรือผู้ทำการแทนนายอำเภอ หรือทนายความผู้ได้รับอนุญาตเพื่อการนี้เป็นผู้ทำ”

  32. กรณีที่ต้องทำคำคัดค้าน มี 3 กรณี คือ • 1. คำคัดค้านการไม่ใช้เงิน ต้องทำในวันซึ่งจะพึงใช้เงินตามตั๋ว หรือวันใดวันหนึ่ง ใน 3 วันต่อแต่นั้นไป ( ม. 960 วรรค 2 ) • 2.คำคัดค้านการไม่รับรอง ต้องทำภายในเวลาอันจำกัด ซึ่งกำหนดไว้เพื่อการยื่นตั๋วเงินให้เขารับรอง หรือภายใน 3 วันต่อแต่นั้นไป ( ม. 960 วรรค 3 ) • 3. คำคัดค้านเมื่อเกิดกรณีตาม ม. 959 ข. ( 2 )คือ ผู้จ่ายตกเป็นคนล้มละลาย งดเว้นการใช้หนี้ หรือถูกยืดทรัพย์แล้วการยึดทรัพย์ไร้ผล • ผู้ทรงต้องยื่นตั๋วให้ผู้จ่ายใช้เงินก่อน ถ้าผู้จ่ายไม่ยอมใช้เงิน ผู้ทรงจึงจะทำคำคัดค้านและใช้สิทธิไล่เบี้ยต่อไป ( ม. 960 วรรค 5 )

  33. ข้อยกเว้น ที่ผู้ทรงอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยได้เลย โดยไม่ต้องทำคำคัดค้านก่อน • 1. กรณีผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินชนิดที่ไม่จำเป็นต้องให้รับรองตกเป็นคนล้มละลาย • กรณีนี้ผู้ทรงเพียงแต่เอาคำพิพากษาซึ่งสั่งให้ผู้จ่ายล้มละลายออกแสดง ก็ใช้สิทธิไล่เบี้ยได้เลย ( ม. 960 วรรค 6 ) • 2. เมื่อมีการทำคำคัดค้านการไม่รับรองแล้ว ผู้ทรงไม่ต้องทำคำคัดค้านการไม่ใช้เงินอีก ( ม.960 วรรค 4 )

  34. 3. ถ้าผู้สั่งจ่ายหรือผู้สลักหลังเขียนข้อกำหนดลงไว้ในตั๋วแลกเงินว่า • “ไม่จำต้องมีคำคัดค้าน” หรือ “ไม่มีคัดค้าน” หรือสำนวนอื่นใดในทำนองนี้ ผู้ทรงไม่ต้องทำคำคัดค้านเมื่อจะใช้สิทธิไล่เบี้ย (ม.964 วรรค แรก) • ถ้าผู้สั่งจ่ายเป็นคนเขียน มีผลตลอดถึงคู่สัญญาทุกคน • ถ้าผู้สลักหลังเป็นผู้เขียนและผู้ทรงจะใช้สิทธิไล่เบี้ยผู้สลักหลังคนที่เขียนข้อความนั้น(โดยไม่ต้องมีคำคัดค้าน)ส่วนคู่สัญญาคนอื่น ผู้ทรงยังคงต้องทำคำคัดค้าน

  35. 4. ถ้าเป็นตั๋วแลกเงินภายในประเทศ และผู้จ่ายบันทึกลงในตั๋วแลกเงินเป็นข้อความบอกปัดไม่รับรองหรือไม่ใช้เงิน ทั้งลงวันที่ ที่บอกปัด และลงลายมือชื่อไว้ด้วย ผู้ทรงก็ไม่ต้องทำคำคัดค้าน(ม. 965) มาตรา ๙๖๕ “ในกรณีตั๋วเงินภายในประเทศ ถ้าผู้จ่ายบันทึกลงไว้ในตั๋วแลกเงินเป็นข้อความบอกปัดไม่รับรองหรือไม่ยอม ใช้เงิน ทั้งลงวันที่บอกปัดลงลายมือชื่อไว้ด้วยแล้วท่านว่าคำคัดค้านนั้นก็เป็นอัน ไม่จำเป็นต้องทำและผู้ทรงต้องส่งคำบอกกล่าวขาดความเชื่อถือไปยังบุคคลซึ่งตน จำนงจะไล่เบี้ยภายในสี่วันต่อจากวันเขาบอกปัดไม่รับรองนั้น”

  36. ผลของการไม่ทำคำคัดค้านผลของการไม่ทำคำคัดค้าน • ผลของการไม่ทำคำคัดค้าน ในเวลาที่กำหนด ทำให้ผู้ทรงสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สลักหลัง ผู้สั่งจ่าย และคู่สัญญาอื่น ๆ ยกเว้น ผู้รับรอง ( ม. 973 ) มาตรา ๙๗๓ “เมื่อกำหนดเวลาจำกัดซึ่งจะกล่าวต่อไปนี้ได้ล่วงพ้นไปแล้ว คือ (๑)................... (๒) กำหนดเวลาสำหรับทำคำคัดค้านการไม่รับรองหรือการไม่ใช้เงิน (๓)...................” ท่านว่าผู้ทรงย่อมสิ้นสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่เหล่าผู้สลักหลัง ผู้สั่งจ่าย และคู่สัญญาอื่น ๆ ผู้ต้องรับผิด เว้นแต่ผู้รับรอง”

  37. คำบอกกล่าว • ผู้ทรงต้องให้คำบอกล่าวการที่ตั๋วขาดความเชื่อถือไปยังผู้สลักหลังถัดตนขึ้นไป กับผู้สั่งจ่าย ตาม ม.963 ว.1 มาตรา 963 “ผู้ทรงต้องให้คำบอกกล่าวการที่เข้าไม่รับรองตั๋วแลกเงินหรือไม่ใช้เงินนั้นไปยังผู้สลักหลังถัดตนขึ้นไปกับทั้งผู้สั่งจ่ายด้วยภายในเวลา สี่วันต่อจากวันคัดค้าน หรือต่อจากวันยื่นตั๋วในกรณีที่มีข้อกำหนดว่า "ไม่จำต้องมีคำคัดค้าน"

  38. -ผู้สลักหลังทุกคนก็มีหน้าที่ให้คำบอกกล่าวไปยังผู้สลักหลังคนถัดตนขึ้นไป จนถึงผู้สั่งจ่าย ตาม ม.963 ว.2 ม.963 ว.2 “ผู้สลักหลังทุก ๆ คนต้องให้คำบอกกล่าวไปยังผู้สลักหลังถัดตนขึ้นไป ภายในสองวัน ให้ทราบคำบอกกล่าวอันตนได้รับ จดแจ้งให้ทราบชื่อและ สำนักของผู้ที่ได้ให้คำบอกกล่าวมาก่อน ๆ นั้นด้วย ทำเช่นนี้ติดต่อกัน ไปโดยลำดับจนกระทั่งถึงผู้สั่งจ่าย อนึ่งจำกัดเวลาซึ่งกล่าวมานั้น ท่าน นับแต่เมื่อคนหนึ่ง ๆ ได้รับคำบอกกล่าวแต่คนก่อน”

  39. รายละเอียดในคำบอกกล่าวรายละเอียดในคำบอกกล่าว มาตรา 966 “คำบอกกล่าวขาดความเชื่อถือในกรณีไม่รับรองหรือไม่ใช้เงินนั้น ต้องมีรายการคือ วันที่ลงในตั๋วแลกเงิน ชื่อหรือยี่ห้อของผู้สั่งจ่ายและของผู้จ่าย จำนวนเงินในตั๋วเงิน วันถึงกำหนดใช้เงินชื่อหรือ ยี่ห้อและสำนักของผู้ทรงตั๋วเงิน วันที่คัดค้านหรือวันที่บอกปัดไม่รับรอง หรือไม่ใช้เงิน กับข้อความว่าเขาไม่รับรองหรือไม่ใช้เงินตามตั๋วเงินนั้น”

  40. มาตรา ๙๖๓ ว.ท้าย “บุคคลซึ่งมิได้ให้คำบอกกล่าวภายในจำกัดเวลาดั่งได้ว่ามานั้นหาเสียสิทธิไล่เบี้ยไม่แต่จะต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่ความประมาทเลินเล่อของตน แต่ท่านมิให้คิดค่าสินไหมทดแทนเกินกว่าจำนวนในตั๋วแลกเงิน”

  41. ลักษณะของสิทธิไล่เบี้ยของผู้ทรง • ก. ผู้ทรงมีสิทธิไล่เบี้ยผู้มีลายมือชื่อในตั๋วได้ทุกคน โดยไม่ต้องคำนึงถึง ลำดับที่บุคคลเหล่านั้นเข้ามาผูกพันเป็นคู่สัญญาแห่งตั๋วเงิน • ข. การที่ผู้ทรงใช้สิทธิไล่เบี้ยต่อคู่สัญญาเพียงบางคน หรือยอมยกเว้นไม่ใช้สิทธิไล่เบี้ยต่อคู่สัญญาบางคน ไม่ทำให้คู่สัญญาคนอื่นๆ หลุดพ้นความรับผิด • ค. เมื่อผู้ทรงได้เลือกบังคับหรือไล่เบี้ยเอากับคู่สัญญาบางคนไปแล้ว ถ้าได้เงินยังไม่พอ ก็ไม่ตัดสิทธิที่จะเรียกร้องเอาจากคู่สัญญาคนอื่นได้อีก แม้บุคคลนั้นจะเป็นผู้รับผิดอยู่ในลำดับภายหลังบุคคลที่ได้ว่ากล่าวเอาความมาก่อน

  42. สลักหลัง สลักหลัง ค ง จ ก ผู้สลักหลัง ผู้รับสลักหลัง

  43. ง. ผู้ทรงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยบุคคลซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตนเองในตั๋วเงิน(ม.971) มาตรา ๙๗๑ “ผู้สั่งจ่ายก็ดี ผู้รับรองก็ดี ผู้สลักหลังคนก่อนก็ดี ซึ่งเขาสลักหลังหรือโอนตั๋วแลกเงินให้อีกทอดหนึ่งนั้น หามีสิทธิจะไล่เบี้ยเอาแก่คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตนย่อมต้องรับผิดต่อเขาอยู่ก่อนแล้วตามตั๋วเงินนั้นได้ไม่” ข สลักหลัง สลักหลัง สลักหลัง ค ง จ ค ก ผู้สลักหลัง ผู้สลักหลัง ผู้สลักหลัง ผู้รับสลักหลัง X X

  44. จำนวนเงินที่จะไล่เบี้ยได้จำนวนเงินที่จะไล่เบี้ยได้ • 1. จำนวนเงินในตั๋วแลกเงินส่วนที่เขาไม่รับรองหรือไม่ใช้ พร้อมดอกเบี้ย • 1. จำนวนเงินที่เขาไม่รับรอง หรือไม่ใช้เงิน • 2. พร้อมดอกเบี้ยในตั๋วเงิน ม. 911(ถ้ามี) • ดอกเบี้ยตาม ม.911 หากผู้สั่งจ่ายไม่ได้กำหนดให้คิดตั้งแต่วันใดกฎหมายให้คิดตั้งแต่วันออกตั๋ว • ดอกเบี้ยใน ม.911 ถ้าผู้สั่งจ่ายมิได้กำหนดอัตราไว้ ให้คิดในอัตราร้อยละ เจ็ดกึ่งต่อปี (ม.7) • ดอกเบี้ยใน ม.911 ผู้ทรงจะเรียกเอาได้ ต่อเมื่อได้มีการระบุลงในตั๋วเงิน ถ้าไม่ได้ระบุ จะไล่เบี้ยได้เฉพาะ ต้นเงินในส่วนที่เขาไม่รับ-รองหรือไม่ใช้

  45. 2. ดอกเบี้ยอัตราร้อยละห้าต่อปีนับแต่วันถึงกำหนด (ดอกเบี้ยฐานผิดนัด) โดยเริ่มคิดตั้งแต่เวลาที่ตั๋วถึงกำหนด ออกตั๋ว ตั๋วถึงกำหนด ใช้สิทธิไล่เบี้ย ต้นเงิน + ดอกเบี้ยร้อยละ 5

  46. ข้อสังเกตกรณีที่ตั๋วเงินระบุดอกเบี้ยในตั๋วเอาไว้ (ดอกเบี้ย ม.911) และดอกเบี้ยในตั๋วกำหนดดอกเบี้ยมากกว่าร้อยละ 5 เช่น ร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี เช่นนี้ หากไม่มีการใช้เงิน หรือรับรอง เช่นนี้ ผู้ทรงจะเรียกดอกเบี้ยได้ร้อยละเท่าใด ออกตั๋ว ตั๋วถึงกำหนด ใช้สิทธิไล่เบี้ย ดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ดอกเบี้ยร้อยละ 5

  47. มาตรา ๒๒๔ ว.๒ “หนี้เงินนั้น ท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี ถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้นโดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น” • จำนวนเงินที่ต้องใช้ = ต้นเงิน + ดอกเบี้ยร้อยละ ( 7.5 + 5 ) หรือ • จำนวนเงินที่ต้องใช้ = ต้นเงิน + ดอกเบี้ยร้อยละ ( 7.5 + 7.5 )

  48. 3. ค่าใช้จ่ายในการทำคำคัดค้าน และในการส่งคำบอกกล่าวของผู้ทรงไปยังผู้สลักหลังถัดจากตนขึ้นไป และผู้สั่งจ่ายกับทั้งค่าใช้จ่ายอื่นๆ • 4. ค่าชักส่วนลด คือค่าป่วยการในการไล่เบี้ย ถ้าไม่มีข้อตกลงกันไว้ ให้คิดร้อยละ 1/6 ของต้นเงิน

  49. สิทธิของผู้ใช้เงินให้แก่ผู้ทรงสิทธิของผู้ใช้เงินให้แก่ผู้ทรง • เรียกให้ผู้ทรงสละตั๋วเงินให้แก่ตน รวมทั้งให้ผู้ทรงส่งมอบคำคัดค้านและบัญชีรับเงินด้วย มาตรา ๙๗๐ “คู่สัญญาทุกฝ่ายซึ่งต้องรับผิดและถูกไล่เบี้ยหรืออยู่ในฐานะจะถูกไล่เบี้ยได้นั้น อาจจะใช้เงินแล้วเรียกให้เขาสละตั๋วเงินให้แก่ตนได้รวมทั้งคำคัดค้านและบัญชีรับเงินด้วย ผู้สลักหลังทุกคนซึ่งเข้าถือเอาและใช้เงินตามตั๋วแลกเงินแล้ว จะขีดฆ่าคำสลักหลังของตนเองและของเหล่าผู้สลักหลังภายหลังตนนั้นเสียก็ได้”

  50. บุคคลที่จะถูกผู้ใช้เงินไล่เบี้ยบุคคลที่จะถูกผู้ใช้เงินไล่เบี้ย • คู่สัญญาคนนั้นย่อมได้สิทธิไล่เบี้ยที่จะไปบังคับเอาแก่บุคคลที่มีความผูกพันอยู่ก่อนตน (ม. 967 วรรค 3) • ไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตนเคยต้องรับผิดต่อเขาอยู่ก่อนแล้ว(ม.971)

More Related