1 / 63

กฎหมายว่าด้วยสัญชาติและนิติฐานะของคนต่างด้าวในประเทศไทย

กฎหมายว่าด้วยสัญชาติและนิติฐานะของคนต่างด้าวในประเทศไทย. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร . ลาวัณย์ ถนัดศิลปกุล. กฎหมายว่าด้วยสัญชาติและนิติฐานะของคนต่างด้าวในประเทศไทย. หลักกฎหมายเกี่ยวกับสัญชาติไทย นิติฐานะของคนต่างด้าวในประเทศไทย. หลักกฎหมายเกี่ยวกับสัญชาติไทย.

raven-good
Download Presentation

กฎหมายว่าด้วยสัญชาติและนิติฐานะของคนต่างด้าวในประเทศไทย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กฎหมายว่าด้วยสัญชาติและนิติฐานะของคนต่างด้าวในประเทศไทยกฎหมายว่าด้วยสัญชาติและนิติฐานะของคนต่างด้าวในประเทศไทย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ลาวัณย์ ถนัดศิลปกุล

  2. กฎหมายว่าด้วยสัญชาติและนิติฐานะของคนต่างด้าวในประเทศไทยกฎหมายว่าด้วยสัญชาติและนิติฐานะของคนต่างด้าวในประเทศไทย • หลักกฎหมายเกี่ยวกับสัญชาติไทย • นิติฐานะของคนต่างด้าวในประเทศไทย

  3. หลักกฎหมายเกี่ยวกับสัญชาติไทยหลักกฎหมายเกี่ยวกับสัญชาติไทย • หลักเกณฑ์เกี่ยวกับกฎหมายสัญชาตินั้น เป็นกฎหมายภายใน รัฐมีอำนาจอธิปไตยที่จะกำหนดวิธีการได้มา การเสียไป และการกลับคืนซึ่งสัญชาติว่ามีหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง • หลักเกณฑ์การได้มาซึ่งสัญชาตินั้น แบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ • การได้สัญชาติโดยการเกิด • การได้มาซึ่งสัญชาติภายหลังการเกิด

  4. ฐานะของคนต่างด้าวในประเทศที่คนต่างด้าวอยู่ฐานะของคนต่างด้าวในประเทศที่คนต่างด้าวอยู่ • เมื่อคนต่างด้าวได้เข้ามาพำนักอาศัยในประเทศใดประเทศหนึ่งแล้ว คนต่างด้าวนั้นต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐเจ้าของดินแดนตามหลักดินแดน • ดังนั้นสิทธิ หน้าที่ของคนต่างด้าวจะมีมาก หรือน้อยเพียงไรย่อมเป็นไปตามกฎหมายมหาชนภายในของรัฐเจ้าของดินแดน • เว้นแต่จะมีการทำสนธิสัญญาทวิภาคีตกลงกันไว้เป็นประการอื่น สิทธิ หน้าที่ของคนต่างด้าวนั้น ก็เป็นไปตามสนธิสัญญาดังกล่าว

  5. นิติฐานะของคนต่างด้าวในประเทศไทยนิติฐานะของคนต่างด้าวในประเทศไทย • การเข้าเมืองของคนต่างด้าวในประเทศไทย • การทำงานของคนต่างด้าวในประเทศไทย • การถือครองที่ดินของคนต่างด้าวในประเทศไทย • การถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุด • การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว • สิทธิตามกฎหมายมหาชนและสิทธิตามกฎหมายเอกชน • ปัญหาอื่นๆที่เกี่ยวกับคนต่างด้าว

  6. หลักกฎหมายเกี่ยวกับสัญชาติไทยหลักกฎหมายเกี่ยวกับสัญชาติไทย • การได้มาซึ่งสัญชาติไทย • การเสียสัญชาติไทย • การกลับคืนสัญชาติไทย

  7. การได้มาซึ่งสัญชาติไทยการได้มาซึ่งสัญชาติไทย

  8. แนวคิดเกี่ยวกับการมีสัญชาติแนวคิดเกี่ยวกับการมีสัญชาติ • บุคคลทุกคนที่เกิดมาควรมีสัญชาติ เพราะสัญชาติจะเป็นสิ่งที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้นกับรัฐที่ให้สัญชาติ • กฎหมายระหว่างประเทศยอมรับว่า หลักเกณฑ์ในการให้สัญชาตินั้นขึ้นอยู่กับกฎหมายภายในของแต่ละรัฐ • สำหรับกฎหมายสัญชาติของไทยนั้นรับรองวิธีการได้มาซึ่งสัญชาติทั้งโดยการเกิด และ ภายหลังการเกิด

  9. แนวคิดเกี่ยวกับการเสียสัญชาติแนวคิดเกี่ยวกับการเสียสัญชาติ • กฎหมายสัญชาติรับรองวิธีการเสียสัญชาติไว้สามประการ • การสละสัญชาติ • การแปลงชาติเป็นคนต่างด้าว • การถูกถอนสัญชาติ • กฎหมายสัญชาติรับรองว่า บุคคลประเภทใดบ้างที่เสียสัญชาติไปแล้ว ต่อมาภายหลังประสงค์จะถือสัญชาติไทยอีกก็สามารถทำได้

  10. การได้มาซึ่งสัญชาติไทยโดยการเกิดการได้มาซึ่งสัญชาติไทยโดยการเกิด • การได้สัญชาติไทยตามหลักสืบสายโลหิต (Jus sanguinis) • หลักสืบสายโลหิตทางบิดา ถือว่าบิดาเป็นหัวหน้าครอบครัว(Paterfamilias) • หลักสืบสายโลหิตทางมารดา • การได้สัญชาติตามหลักดินแดน (Jus soli) • ข้อยกเว้นของหลักดินแดน • กรณีของ ป.ว.337 • กรณีของมาตรา 7 ทวิ

  11. หลักสืบสายโลหิตทางบิดาหลักสืบสายโลหิตทางบิดา • ผู้ได้สัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิต ต้องมีองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ (Conditio sine qua non) คือ • ต้องมีบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายขณะเกิด • บิดามีสัญชาติไทยอยู่แล้ว ในขณะที่บุตรเกิด

  12. Conditio sine qua non • ความหมายของการ “เกิด” ตามมาตรา 15 ป.พ.พ. โดยพิจารณาว่า “ขณะ”ที่ผู้นั้น “เกิด” บิดาของผู้นั้นมีสัญชาติไทย แม้ว่าต่อมาภายหลังบิดาจะไม่มีสัญชาติไทยอีกต่อไป ก็ไม่กระทบต่อ ความสมบูรณ์ที่บุตรได้สัญชาติไทยไม่ (จะเกิดที่ไหนไม่สำคัญ พิจารณาแต่เรื่องสายโลหิต) • คำว่า “บิดา” หมายถึงบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ก่อน และในขณะบุตรเกิด กล่าวคือ บิดา มารดาต้องจดทะเบียนสมรสก่อนบุตรเกิด จดทะเบียนสมรสภายหลังบุตรเกิด หรือ การรับรองเด็กเป็นบุตร ทำให้เด็กเป็นบุตรโดยชอบแต่ไม่ได้สัญชาติไทย • ศาลไทยยึดถือหลักนี้ แต่ไม่ตรงกับความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา

  13. ความเห็นเกี่ยวกับบิดาตาม มาตรา 7(1) พ.ร.บ. สัญชาติ มีสองความเห็น • บุคคลจะได้สัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตบิดา ต่อเมื่อผู้นั้นปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายขณะเกิด บิดา มารดา ต้องจดทะเบียน ก่อน หรืออย่างน้อยในขณะเด็กเกิด (ศาล และ กระทรวงต่างประเทศเห็นด้วยกับแนวคิดนี้) • เห็นว่าเป็นบิดาตามข้อเท็จจริง แม้ขณะบุตรเกิดจะไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ภายหลังบิดา มารดา จดทะเบียนสมรสกันก็มีผลทำให้บุตรได้รับสัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตบิดาที่มีสัญชาติไทย (คณะกรรมการกฤษฎีกา และ กระทรวงมหาดไทย เห็นด้วยกับแนวคิดนี้)

  14. หลักสืบสายโลหิตทางมารดาหลักสืบสายโลหิตทางมารดา • เดิม แนวคิด การสืบสายโลหิตทางมารดา เป็นบทรอง กล่าวคือ บุตรที่เกิดมาจะได้สัญชาติไทยจากมารดาที่มีสัญชาติไทยต่อเมื่อไม่ปรากฏบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือบิดาไม่มีสัญชาติ (พ.ร.บ. สัญชาติ 2456) • ต่อมากฎหมายเพิ่มความสลับซับซ้อนไปอีก ใน พ.ร.บ. สัญชาติ 2508 โดยกำหนดองค์ประกอบว่า • ผู้นั้นต้องเกิดนอกราชอาณาจักรไทย • มารดาของผู้นั้นต้องมีสัญชาติไทยในขณะผู้นั้นเกิด • บุคคลนั้นต้องไม่มีบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือ บิดาไม่มีสัญชาติ

  15. หลักเกณฑ์ใหม่ในการได้สัญชาติไทยตามหลักสืบสายโลหิตโดยการเกิด พ.ร.บ. สัญชาติ 2535 • ผู้เกิดโดยบิดา หรือ มารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดใน หรือนอกราชอาณาจักรไทย • ดังนั้น บุคคลใดก็ตามที่มารดา มีสัญชาติไทย ไม่ว่า บุคคลนั้นจะเกิดใน หรือ นอกราชอาณาจักร บุคคลนั้นย่อมได้สัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตมารดา ตาม หลักเกณฑ์ใหม่นี้ • หลักเกณฑ์ใหม่นี้ เป็นคุณ มีผลย้อนหลังไปถึงบุคคลที่เกิดก่อน พ.ร.บ. สัญชาติ 2535 จะมีผลบังคับ ทำให้บุคคลเหล่านั้นมีสัญชาติไทยตามหลักสืบสายโลหิตมารดา ด้วย

  16. การได้สัญชาติตามหลักดินแดน Jus soli • บุคคลใดก็ตามที่เกิดภายในราชอาณาจักรไทย บุคคลนั้นย่อมได้สัญชาติไทย โดยไม่ต้องคำนึงถึงสัญชาติของบิดา และ มารดา • เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นของหลักการได้สัญชาติตามหลักดินแดน • ได้แก่บุคคลที่มีสถานภาพพิเศษตามกฎหมายระหว่างประเทศ เช่นหัวหน้าผู้แทนทางการทูต กงสุล หรือ พนังงานเชี่ยวชาญขององค์การระหว่างประเทศ หากบุตรเกิดในประเทศไทยก็ไม่ได้สัญชาติไทย • บิดา หรือ มารดาของผู้นั้นเป็นบุคคลที่เข้าเมืองไทยเป็นการชั่วคราว หรือได้รับการผ่อนผันให้อยู่อาศัยในประเทศไทยเป็นการชั่วคราว เช่นผู้ลี้ภัย ผู้อพยพ หรือ บุคคลที่เข้าเมืองมาโดยผิดกฎหมาย • บุคคลเหล่านี้แม้กำเนิดบุตรในประเทศไทย บุตรนั้นก็ไม่ได้สัญชาติไทย • เว้นแต่ร.ม.ต. มหาดไทยจะพิจารณา และสั่งการให้ได้รับสัญชาติไทย

  17. ปัญหาเรื่องหลักการได้สัญชาติตามหลักดินแดนปัญหาเรื่องหลักการได้สัญชาติตามหลักดินแดน • การที่บุคคลได้สัญชาติตามหลักดินแดนนี้ เกี่ยวข้องกับการพิจาณาในเรื่องเขตแดนของรัฐ ตลอดจนการได้มา และ การเสียไป ซึ่งดินแดนของรัฐ • การพิจารณาขอบเขตแห่งดินแดนของรัฐว่าส่วนใดเป็นดินแดนของรัฐ ทั้งทางบก ทางน้ำ ทะเลอาณาเขต และ ทางอากาศ • สถานทูตไม่ใช่ดินแดนของรัฐผู้ส่ง หากบุคคลใดกำเนินในสถานทูต และ ไม่เข้าข้อยกเว้นการได้สัญชาติตามหลักดินแดน บุคคลนั้นย่อมได้สัญชาติของรัฐผู้รับ กล่าวคือที่ตั้งสถานทูตเป็นดินแดนของรัฐผู้รับ แต่ที่สถานทูตเป็นสถานที่ล่วงละเมิดมิได้นั้นเป็นเพียงได้รับเอกสิทธิ์และ ความคุ้มกันทางการทูตเท่านั้น

  18. ข้อยกเว้นหลักการได้สัญชาติตามหลักดินแดนข้อยกเว้นหลักการได้สัญชาติตามหลักดินแดน • 1. กรณีของ ป.ว.337 “บุคคลใดที่เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยมีบิดาเป็นคนต่างด้าว หรือมารดาเป็นคนต่างด้าว และไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย ในขณะที่บุคคลนั้นเกิด บิดา หรือ มารดา เป็นบุคคลที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย หรือเป็นคนต่างด้าวที่เข้าเมืองแบบชั่วคราว • หากบิดา หรือ มารดา เกิดในประเทศไทยแล้ว บุตรที่เกิดมาก็ไม่ต้องด้วย ป.ว. 337 เพราะบิดา มารดามิใช่คนต่างด้าว หรือเข้าเมืองมาโดยผิดกฎหมายหรือ เข้าเมืองมาชั่วคราว

  19. หน้าที่ของ ป.ว. 337 สองประการ คือ • ทำหน้าที่ถอนสัญชาติไทยแก่บุคคลที่มีองค์ประกอบ ตาม ป.ว.337 แม้ว่าบุคคลนั้นจะเกิดก่อน ป.ว.337 บังคับใช้ กล่าวคือ ป.ว. 337 มีผลย้อนหลัง กับบุคคลที่มีบิดา หรือ มารดา เป็นคนต่างด้าว เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย หรือ เข้าเมืองมาชั่วคราว • สถานะของ ป.ว. 337 เป็น “กฎ” ไม่ใช่ “คำสั่งทางปกครอง” และการบังคับใช้นั้นเป็นการทั่วไป มิใช่เป็นกรณีเฉพาะราย อย่างในกรณีการถอนสัญชาติโดยตุลาการ หรือ ฝ่ายปกครอง

  20. ข้อยกเว้นหลักการได้สัญชาติตามหลักดินแดนข้อยกเว้นหลักการได้สัญชาติตามหลักดินแดน • 2. กรณีของมาตรา 7 ทวิ บุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยแต่ไม่ได้สัญชาติไทย โดยมีบิดา และ มารดา เป็นเป็นคนต่างด้าว ซึ่งในขณะเกิด บิดาตามกฎหมาย หรือบิดาซึ่งไม่ได้สมรสกับมารดา หรือมารดาของผู้นั้นเป็น • ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย • ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว หรือ • ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง

  21. ประเด็นปัญหาของ กรณีมาตรา 7 ทวิ • บิดา และ มารดา ต้องเป็นคนต่างด้าว • มาตรา 7 ทวิ ไม่ได้ให้ความสำคัญกับความชอบด้วยกฎหมายของการสมรสของบิดา มารดา แม่บิดา มารดา ไม่ได้สมรสกันแต่ทั้งคู่เป็นต่างด้าว ก็อาจจะตกอยู่ภายใต้มาตรา 7 ทวิ นี้ • บุคคลตามมาตรา 7 ทวิ นี้เป็นบุคคลที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย ทั้งๆที่บุคคลเหล่านี้ “เกิด”ในประเทศไทย มิใช่เป็นบุคคลที่ “เข้าเมือง” ก็ตาม ผลคือ บุตรของบุคคลเหล่านี้แม้เกิดในราชอาณาจักรไทยก็ไม่ได้สัญชาติไทย

  22. ข้อยกเว้นหลักการได้สัญชาติตามหลักดินแดนข้อยกเว้นหลักการได้สัญชาติตามหลักดินแดน • 3. คณะผู้แทนทางการทูตและ กงสุล รวมทั้งเจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ มาตรา 8 “ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว ย่อมไม่ได้สัญชาติไทย ถ้าขณะที่เกิดบิดา หรือ มารดาเป็น • หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต หรือ เจ้าหน้าที่ในคณะผู้แทนทางการทูต • หัวหน้าคณะผู้แทนทางกงสุล หรือ เจ้าหน้าที่ในคณะผู้แทนทางกงสุล • พนักงาน หรือ ผู้เชี่ยวชาญขององค์การระหว่างประเทศ • คนในครอบครัวซึ่งเป็นญาติอยู่ในความอุปการะหรือคนใช้ ซึ่งเดินทางจากต่างประเทศมาอยู่กับบุคคลใน (1), (2) หรือ (3)

  23. การได้สัญชาติไทยภายหลังการเกิดการได้สัญชาติไทยภายหลังการเกิด • การได้สัญชาติไทยโดยการสมรส หรือ การถือสัญชาติตามสามี • หญิงที่สมรสได้สัญชาติตามสามีโดยอัตโนมัติ ในกรณีนี้ไม่ต้องอาศัยการแปลงชาติ ไม่อาจถูกถอนสัญชาติ และ อาจจะทำให้หญิงมีสองสัญชาติได้ (เดิมไทยยึดถือหลักนี้) • หญิงที่สมรสไม่ได้สัญชาติสามีโดยอัตโนมัติ แต่ต้องอาศัยเจตนาของหญิงนั้น (ปัจจุบันไทยเปลี่ยนมายึดถือหลักนี้: มาตรา 9 หญิงต่างด้าวขอถือสัญชาติไทยตามสามี) • การได้สัญชาติไทยโดยการแปลงชาติ (Naturalization) • การขอแปลงสัญชาติโดยวิธีปกติ • การขอแปลงสัญชาติโดยวิธีพิเศษ

  24. มาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ. สัญชาติ 2508 • หญิงซึ่งเป็นคนต่างด้าว และได้สมรสกับผู้มีสัญชาติไทย ถ้าประสงค์จะได้สัญชาติไทย ให้ยื่นคำขอต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ตามแบบและวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง การอนุญาต หรือไม่อนุญาตให้ได้สัญชาติไทยให้อยู่ในดุลยพินิจของรัฐมนตรี • การได้สัญชาติไทยโดยการสมรสนี้สงวนไว้เฉพาะกับ “หญิงต่างด้าว” เท่านั้น ไม่ได้ใช้กับชายต่างด้าว • การสมรสตามมาตรานี้ ต้องเป็นการสมรสโดยชอบ • การสมรสหากกระทำตามกฎหมายต่างประเทศแล้ว ต้องวินิจฉัยให้เป็นไปตามกฎหมายขัดกันของไทยในเรื่องเงื่อนไข และ แบบของการสมรส เพราะถือเป็นการพัวพันกับกฎหมายต่างประเทศ • การได้สัญชาติไทยของหญิงต่างด้าวไม่สิ้นสุดตามการสมรส ดังนั้นแม้ต่อมาหย่าขาดจากกันก็ไม่กระทบต่อสัญชาติไทยของหญิงที่ได้มาแล้ว

  25. การได้สัญชาติไทยโดยการแปลงชาติ (Naturalization) • เกิดจากเจตนา หรือ ความประสงค์ของเอกชนที่ประสงค์จะมีสัญชาติไทย • กฎหมายสัญชาติจะกำหนดเงื่อนไข หรือคุณสมบัติของผู้ที่แปลงสัญชาติว่า จะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร • การที่คนต่างด้าวจะได้รับสัญชาติไทยหรือไม่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของ ร.ม.ต. มหาดไทย เพราะการมีคุณสมบัติครบเป็นเพียงเหตุให้สามารถยื่นขอแปลงชาติเท่านั้น

  26. วิธีการขอแปลงชาติ • การขอแปลงชาติโดยวิธีปกติ • จะมีเงื่อนไขที่ค่อนข้างเคร่งครัดมากกว่าการขอแปลงชาติโดยวิธีพิเศษ • การขอแปลงชาติโดยวิธีพิเศษ • เป็นวิธีที่สงวนไว้เฉพาะกับบุคคลที่มีคุณสมบัติเฉพาะเจาะจงตามที่กฎหมายระบุไว้เท่านั้น เช่นบุคคลที่ได้ทำคุณงามความดีให้กับประเทศไทย หรือเป็นบุตร หรือ ภริยาของผู้ที่ได้ขอแปลงสัญชาติไทย หรือ เคยเป็นคนไทยมาก่อน และ ต่อมาได้เสียสัญชาติไทยไป • การได้สัญชาติไทยโดยการแปลงชาติจะมีผลต่อเมื่อคำสั่งทางปกครองที่ออกโดย ร.ม.ต. มหาดไทย ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ถือเป็นเงื่อนไขสมบูรณ์ • การได้สัญชาติไทยโดยการแปลงชาตินี้เป็นผลเฉพาะตัวไม่รวมไปถึงครอบครัวด้วย

  27. การเปลี่ยนแปลงอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนการเปลี่ยนแปลงอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดน • การเปลี่ยนแปลงอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนของรัฐ ไม่ว่าจะเกิดจากการยกดินแดนให้ การแบ่งแยกดินแดน หรือ การผนวกดินแดน ย่อมมีผลกระทบต่อสัญชาติของบุคคลที่พำนักอาศัยอยู่ในดินแดนทั้งสิ้น ซึ่งจำแนกเป็น 2 กรณี • กรณีที่รัฐได้ตกลงทำสนธิสัญญาและมีข้อบทเกี่ยวกับสัญชาติ • กรณีที่รัฐไม่ได้ตกลงทำสนธิสัญญากำหนดสถานะของบุคคล ที่อาศัยอยู่ในดินแดนที่มีการเปลี่ยนแปลงอำนาจอธิปไตย

  28. กรณีที่รัฐได้ตกลงทำสนธิสัญญาและมีข้อบทเกี่ยวกับสัญชาติกรณีที่รัฐได้ตกลงทำสนธิสัญญาและมีข้อบทเกี่ยวกับสัญชาติ • การได้และเสียสัญชาติย่อมเป็นไปตามข้อบทของสนธิสัญญา ซึ่ง ได้รับรองให้พลเมืองมีสิทธิเลือกสัญชาติได้โดยเป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสนธิสัญญา เช่น ข้อ 3 ของสนธิสัญญาไทยกับอังกฤษ เกี่ยวกับ สัญชาติของพลเมืองใน กลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี ปลิศ และ เกาะใกล้เคียง ความว่า • “คนในบังคับฝ่ายสยามซึ่งมีสำนักอยู่ในดินแดน ถ้ามีความประสงค์จะคงเป็นคนในสังกัดชาติไทย ก็จะอนุญาตให้เป็นได้ แต่ต้องไปพำนักอยู่ในอาณาเขตสยาม ภายในเวลาหกเดือนตั้งแต่วันที่ได้ รติไฟ (Ratify) สัญญานี้ และฝ่ายรัฐบาลของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษยอมรับว่าคนเหล่านี้จะคงเป็นเจ้าของทรัพย์อันเคลื่อนที่ไม่ได้ ซึ่งเขามีอยู่ในดินแดน”

  29. กรณีการเสียสัญชาติโดยการโอนดินแดนให้รัฐอื่นกรณีการเสียสัญชาติโดยการโอนดินแดนให้รัฐอื่น • ประเทศไทยได้โอนดินแดนแขวงจำปาศักดิ์ให้เป็นดินแดนของฝรั่งเศส ทำให้พลเมืองที่อยู่ในจังหวัดดังกล่าวเสียสัญชาติไทยไปโดยผลของ สนธิสัญญา ฉบับลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 1946 (2489) ซึ่งบัญญัติว่า • “พลเมืองซึ่งได้สัญชาติไทยโดยอนุสัญญาฉบับ ลงวันที่ 9 พฤษภาคม 1941 จะได้กลับคืนสู่สัญชาติเดิมของเขาทีเดียวในทันทีที่การโอนอาณาเขตดังกล่าวข้างต้นเสร็จสิ้นลง พลเมืองซึ่งมีสัญชาติไทย โดยกำเนิด หรือ ซึ่งได้สัญชาติไทยตามกฎหมาย คงรักษาสัญชาตินี้ไว้” • หมายเหตุ เดิมนครจำปาศักดิ์ถูกผนวกเข้าเป็นดินแดนไทย และคนที่อยู่ในดินแดนดังกล่าวได้สัญชาติไทยโดยผลของอนุสัญญา ลว 9 พฤษภาคม 1941

  30. กรณีที่รัฐไม่ได้ตกลงทำสนธิสัญญากำหนดสถานะของบุคคล ที่อาศัยอยู่ในดินแดนที่มีการเปลี่ยนแปลงอำนาจอธิปไตย • หากรัฐไม่ได้ตกลงทำสนธิสัญญากำหนดสถานะของบุคคล ไว้ ก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ • บุคคลย่อมได้ และ เสียสัญชาติไปโดยอัตโนมัติ หมายความว่า บุคคลที่อยู่ในดินแดนดังกล่าวย่อมได้สัญชาติของรัฐผู้สืบสิทธิ (Successor state) และเสียสัญชาติดั้งเดิมไป

  31. การได้สัญชาติโดยคำสั่งของฝ่ายบริหารการได้สัญชาติโดยคำสั่งของฝ่ายบริหาร • กรณีนี้ ได้แก่ พลเมืองที่มีสัญชาติไทย และ อาศัยอยู่ในเกาะกง โดยบุคคลเหล่านี้ไม่ได้เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทย ตามประกาศของทางราชการไทย คณะรัฐมนตรีจึงมีนโยบายที่จะให้สัญชาติไทย กับบุคคลเหล่านี้ โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติคณะรัฐมนตรีหลายครั้งด้วยกัน วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับคุฯสมบัติองผู้ที่มาขอใช้สิทธิแปลงสัญชาติไทยได้

  32. การเสียสัญชาติไทย

  33. แนวคิดเกี่ยวกับการเสียสัญชาติไทยแนวคิดเกี่ยวกับการเสียสัญชาติไทย • การเสียสัญชาติไทยหมายถึง การที่ผู้มีสัญชาติไทย ไม่สามารถ ถือสัญชาติไทยได้อีกต่อไป และ ทำให้ผู้นั้นกลายเป็นคนต่างด้าว • การเสียสัญชาติจำแนกเป็นสองกลุ่ม • การเสียสัญชาติโดยการแสดงเจตนาของเอกชน • เอกชนเสียสัญชาติไทยจากการกระทำขององค์กรของรัฐ • บุคคลอาจเสียสัญชาติได้สามวิธี คือ • การแปลงสัญชาติเป็นคนต่างด้าว (การแสดงเจตนาของเอกชนเอง) • การสละสัญชาติไทย (การแสดงเจตนาของเอกชนเอง) • การถูกถอนสัญชาติ (การกระทำขององค์กรของรัฐ)

  34. การเสียสัญชาติไทยโดยการแสดงเจตนาของเอกชนการเสียสัญชาติไทยโดยการแสดงเจตนาของเอกชน • การแปลงสัญชาติเป็นคนต่างด้าว(Naturalization) • เป็นการที่คนไทย ไม่ว่าจะได้สัญชาติไทยมาโดยวิธีใดๆก็ตาม ไม่ว่าโดยการเกิด หรือได้สัญชาติมาภายหลังการเกิด ได้แสดงความประสงค์ขอแปลงสัญชาติเป็นคนสัญชาติอื่น บุคคลนั้นจึงสูญเสียสัญชาติไทย และได้สัญชาติอื่นแทน แต่เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของรัฐอื่นๆนั้น • การสละสัญชาติ(Renunciation) • เป็นการเสียสัญชาติ โดยบุคคลที่มีสองสัญชาติหรือมากกว่า หากบุคคลที่มีสัญชาติไทยเพียงสัญชาติเดียวจะสละสัญชาติไทยไม่ได้เพราะจะทำให้บุคคลนั้นกลายเป็นคนไร้สัญชาติ และ รัฐก็เสียหายที่สูญเสียพลเมืองไป

  35. การสละสัญชาติไทยโดยหญิงไทยที่สมรสกับคนต่างด้าวการสละสัญชาติไทยโดยหญิงไทยที่สมรสกับคนต่างด้าว • ในกรณีที่หญิงไทยสมรสกับชายต่างด้าว และ ตามกฎหมายของสามี อนุญาตให้หญิงภรรยา สามารถ ถือสัญชาติเดียวกับสามีได้ แต่การที่หญิงจะสละสัญชาติไทยหรือไม่ ไม่เป็นการบังคับ หญิงจึงอาจจะถือสองสัญชาติได้ • เจตนารมณ์ที่ให้ภรรยาถือสัญชาติตามสามีได้นั้นเพื่อให้บุคคลในครอบครัวเดียวกัน มีสัญชาติเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในการทำนิติกรรม และ ทางการเมือง • การสละสัญชาติไม่เป็นการบังคับ เพราะหากการสมรสกับชายต่างด้าวทำให้หญิงต้องสละสัญชาติไทย อาจจะทำให้หญิงกลายเป็นคนไร้สัญชาติได้หากกฎหมายสัญชาติของสามีไม่อนุญาตให้หญิงถือสัญชาติสามีเพราะการได้สัญชาติสามีนั้นไม่เป็นการได้โดยอัตโนมัติ หากแต่ต้องมีการขอถือสัญชาติสามี

  36. การสละสัญชาติไทยโดยบุคคลที่ได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติการสละสัญชาติไทยโดยบุคคลที่ได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ • กรณีนี้ได้แก่กรณีของคนต่างด้าวที่ขอถือสัญชาติไทยโดยการขอแปลงสัญชาติเป็นไทย ต่อมาผู้นั้นไม่ประสงค์จะถือสัญชาติไทยอีกต่อไป เมื่อผู้นั้นแสดงเจตนารมณ์สละสัญชาติไทย ก็ไม่มีเหตุผลใดๆที่จะห้ามมิให้ผู้นั้นสละสัญชาติไทย แต่อยู่ในดุลยพินิจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

  37. การถูกถอนสัญชาติ (Revocation) • หมายถึง การที่บุคคลสูญเสียสัญชาติไทยไปโดยมิใช่โดยการแสดงเจตนาของผู้นั้นเอง แต่เป็นผลของการกระทำขององค์กรของรัฐ กล่าวคือ ฝ่าย ตุลาการ ฝ่ายปกครอง ทำการถอนสัญชาติ เมื่อข้อเท็จจริง ปรากฏขึ้น และ กฎหมายระบุว่าเป็นเหตุให้มีการถอนสัญชาติ • บุคคลที่จะถูกถอนสัญชาติไทยนั้นต้องเป็นบุคคลที่ได้สัญชาติมาภายหลังการเกิด ได้แก่ หญิงต่างด้าวที่ได้สัญชาติไทยตามสามี และ การแปลงสัญชาติ หากเป็นกรณีได้สัญชาติโดยการเกิด แม้บุคคลนั้นจะมีความประพฤติเข้าข่ายการจะถูกถอนสัญชาติ ก็ไม่อาจถูกถอนสัญชาติได้

  38. หลักเกณฑ์ในการถอนสัญชาติหลักเกณฑ์ในการถอนสัญชาติ • การถอนสัญชาติโดยฝ่ายตุลาการ • บุคคลที่จะถูกถอนสัญชาติไทยโดยฝ่ายตุลาการเป็นบุคคลที่ได้สัญชาติโดยหลักดินแดน และมีบิดาเป็นคนต่างด้าว • ไปอยู่ในประเทศที่บิดามีสัญชาติ หรือ เคยมีสัญชาติเป็นเวลาติดต่อกันนานเกิดห้าปี นับตั้งแต่วันบรรลุนิติภาวะ หรือ • มีหลักฐานว่าใช้สัญชาติของบิดา หรือ สัญชาติอื่น หรือฝักใฝ่ในสัญชาติบิดา หรือ สัญชาติอื่น • อัยการร้องขอแล้ว ศาลมีอำนาจสั่งให้ถอนสัญชาติไทยของผู้นั้นได้

  39. หลักเกณฑ์ในการถอนสัญชาติหลักเกณฑ์ในการถอนสัญชาติ • การถอนสัญชาติโดยฝ่ายปกครอง • บุคคลที่อาจถูกถอนสัญชาติโดยฝ่ายปกครอง มี สามประเภท คือ • หญิงต่างด้าวที่ได้สัญชาติไทยโดยการสมรส • บุคคลที่ได้สัญชาติไทยโดยการแปลงชาติ • บุคคลที่ได้สัญชาติไทยโดยหลักดินแดนที่มีบิดาโดยชอิบด้วยกฎหมายเป็นคนต่างด้าว

  40. การถอนสัญชาติหญิงต่างด้าวที่ได้สัญชาติไทยโดยการสมรสการถอนสัญชาติหญิงต่างด้าวที่ได้สัญชาติไทยโดยการสมรส • หญิงต่างด้าวที่ได้สัญชาติไทยโดยการสมรส สัญชาติดั้งเดิม จึงเป็นรัฐต่างด้าว มีเหตุในการถูกถอนสัญชาติ 3 ประการ คือ • การสมรสของหญิงนั้นได้กระทำขึ้นโดยการปกปิดข้อเท็จจริง หรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จ ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ • หญิงนั้นกระทำการใดๆอันเป็นการขัดต่อความมั่นคง ผลประโยชน์ของรัฐ หรือ เป็นการเหยียดหยามประเทศไทย • หญิงนั้นกระทำการขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีขอประชาชน (Contra bonos mores)

  41. การถอนสัญชาติบุคคลที่ได้สัญชาติไทยโดยการแปลงชาติการถอนสัญชาติบุคคลที่ได้สัญชาติไทยโดยการแปลงชาติ • บุคคลที่ได้สัญชาติไทยโดยการแปลงชาติ อาจจะถูกถอนสัญชาติในกรณี ต่อไปนี้ คือ • การแปลงชาตินั้นได้เป็นไปโดยปกปิดข้อเท็จจริง หรือ แสดงข้อความอันเป็นเท็จอันเป็นสาระสำคัญ • มีหลักฐานว่าบุคคลนั้นยังใช้สัญชาติเดิม • มีการกระทำใดๆอันขัดต่อความสงบเรียบร้อย และ ศีลธรรมอันดี • ไปอยู่ในต่างประเทศที่บิดามี หรือ เคยมีสัญชาติเป็นเวลาติดต่อกันเป็นเวลากว่าห้าปีนับตั้งแต่วันบรรลุนิติภาวะ • ยังคงมีสัญชาติของประเทศที่ทำสงครามกับประเทศไทย

  42. การกลับคืนสัญชาติไทย • การกลับคืนสัญชาติไทย ใช้กับบุคคล 2 ประเภทเท่านั้น • หญิงที่ได้สละสัญชาติไทยเนื่องจากได้สมรสกับชายซึ่งเป็นคนต่างด้าว • ผู้ซึ่งมีสัญชาติไทยแต่ต่อมาได้เสียสัญชาติไทยตามผู้แทนโดยชอบธรรม

  43. การกลับคืนสู่สัญชาติไทยเนื่องจากหญิงสมรสกับชายซึ่งเป็นคนต่างด้าวการกลับคืนสู่สัญชาติไทยเนื่องจากหญิงสมรสกับชายซึ่งเป็นคนต่างด้าว • หญิงไทยซึ่งได้สัญชาติต่างด้าวตามสามี และ ได้สละสัญชาติไทย เมื่อหญิงนั้นขาดจากการสมรส หรือ เหตุอื่นใด แล้วประสงค์ที่จะกลับคืนมามีสัญชาติไทยอีกกฎหมายสัญชาติไทยก็เปิดช่องให้กระทำได้ รัฐมนตรีต้องอนุญาตเสมอ ไม่ใช่เป็นเรื่องการใช้ดุลยพินิจ

  44. การกลับคืนสู่สัญชาติไทยของผู้ซึ่งเคยมีสัญชาติไทย แต่ได้สูญเสียสัญชาติไปตามผู้แทนโดยชอบธรรม • เป็นกรณีที่บุคคลนั้นได้สัญชาติไทย แต่ต่อมาได้เสียสัญชาติไทยไปในขณะที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ โดยผู้แทนโดยชอบธรรมกฎหมายจึงเปิดช่องให้บุคคลนั้น ขอกลับคืนสัญชาติไทยได้ โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของฝ่ายปกครอง • การให้กลับคืนสัญชาติไทยของคนที่เคยมีสัญชาติไทย ยังช่วยไม่ให้เกิดกรณีการเป็นคนไร้สัญชาติ เพราะบุคคลนั้นอาจจะเสียสัญชาติของรัฐต่างประเทศด้วย

  45. นิติฐานะของคนต่างด้าวในประเทศไทยนิติฐานะของคนต่างด้าวในประเทศไทย

  46. นิติฐานะของคนต่างด้าวในประเทศไทยนิติฐานะของคนต่างด้าวในประเทศไทย • การเข้าเมืองของคนต่างด้าวในประเทศไทย • การทำงานของคนต่างด้าวในประเทศไทย • การถือครองที่ดินของคนต่างด้าวในประเทศไทย • การถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุด • การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว • สิทธิตามกฎหมายมหาชนและสิทธิตามกฎหมายเอกชน • ปัญหาอื่นๆที่เกี่ยวกับคนต่างด้าว

  47. แนวคิดเกี่ยวกับคนต่างด้าวในประเทศไทยแนวคิดเกี่ยวกับคนต่างด้าวในประเทศไทย • คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรไทยต้องอยู่ภายใต้กฎหมายไทย อยู่ภายใต้เขตอำนาจรัฐ หรือ อำนาจอธิปไตยของไทย • กฎหมายไทยรับรองการทำงานของคนต่างด้าวแต่อยู่ภายในข้อบังคับ และ การขอใบอนุญาตทำงาน • กฎหมายไทยอนุญาตให้นิติบุคคล และบุคคลธรรมดา ถือครองที่ดินได้ ภายในข้อจำกัดของกฎหมาย • คนต่างด้าวสามารถมีกรรมสิทธ์ในห้องชุดได้ แต่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดของกฎหมาย • ไทยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวโดยแบ่งบัญชีประเภทธุรกิจเป็น 3 บัญชี

  48. แนวคิดเกี่ยวกับคนต่างด้าวในประเทศไทยแนวคิดเกี่ยวกับคนต่างด้าวในประเทศไทย • บัญชี 3 ประเภทได้แก่ • บัญชี 1 ธุรกิจที่ไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบกิจการด้วยเหตุผลพิเศษ • บัญชี 2 แบ่งเป็น 3 หมวด :1. ธุรกิจเกี่ยวกับความปลอดภัย มั่นคงของประเทศ 2. ธุรกิจที่กระทบต่อศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และ หัตถกรรมพื้นบ้าน 3. ธุรกิจที่กระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ • บัญชี 3. ธุรกิจที่คนไทยยังไม่พร้อมที่จะแข่งขันในกาประกอบกิจการกับคนต่างด้าว • รัฐย่อมให้สิทธิทางการเมือง หรือสิทธิตามกฎหมายมหาชนแก่พลเมือง หรือ คนชาติเท่านั้น ส่วนสิทธิตามกฎหมายเอกชนนั้น รัฐได้ให้แก่คนต่างด้าวด้วย ยกเว้นในบางกรณี • คนต่างด้าวที่เข้ามาในประเทศไทย อาจจะถูกเนรเทศออกนอกราชอาณาจักรได้ หากมีพฤติการณ์ที่ขัดต่อความมั่นคง หรือ ความสงบเรียบร้อยของรัฐ

  49. ความหมายของคนต่างด้าว และ สัญชาติของนิติบุคคล • คนต่างด้าว หมายถึงผู้ซึ่งมิได้มีสัญชาติไทย • สัญชาติของนิติบุคคล ไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์การได้มาของสัญชาติของนิติบุคคลแต่ประการใดตามกฎหมายไทย และมีความเห็นที่แตกต่างกัน • ความเห็นแรก นิติบุคคลที่มาจดทะเบียนในประเทศไทย หรือตามกฎหมายไทย นิติบุคคลนั้นย่อมมีสัญชาติไทย • ความเห็นที่สอง เห็นว่า นิติบุคคลย่อมมีสัญชาติแห่งประเทศที่นิติบุคคลนั้นมีถิ่นที่สำนักงานแห่งใหญ่ หรือที่ตั้งที่ทำการแห่งใหญ่ • ทางปฏิบัติของศาลไทย ได้ยึดถือหลักการจดทะเบียนมาโดยตลอด

  50. หลักเกณฑ์ที่แตกต่างกันในการกำหนดสัญชาตินิติบุคคลหลักเกณฑ์ที่แตกต่างกันในการกำหนดสัญชาตินิติบุคคล • ประเทศไทยไม่มีกฎหมายแม่บทที่เป็นลายลักษณ์อักษรกำหนดหลักเกณฑ์การได้มาซึ่งสัญชาติของนิติบุคคล จึงมีความเห็นที่แตกต่าง เช่น • นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย หรือตามกฎหมายไทยย่อมมีสัญชาติไทย • นิติบุคคลย่อมมีสัญชาติแห่งประเทศที่นิติบุคคลนั้นมีถิ่นที่สำนักงานแห่งใหญ่ • ศาลไทยยึดหลักการจดทะเบียน • กฎหมายระหว่างประเทศยึดหลักจดทะเบียน เช่น คดี Barcelona Traction • นิติบุคคลย่อมมีสัญชาติแห่งประเทศที่ควบคุม หรือ เป็นผู้ถือหุ้นที่มีอำนาจในการควบคุม หรือจำนวนผู้ถือหุ้นจำนวนมากเป็นต่างด้าว • หลักการดำเนินกิจการเพื่อคนต่างด้าวเป็นนิจติบุคคลต่างด้าว

More Related