html5-img
1 / 54

โครงการศึกษาข้อมูลท้องถิ่น

โครงการศึกษาข้อมูลท้องถิ่น. กรณีศึกษา บ้านซำแฮด หมู่ที่ 2. ตำบล บรบือ อำเภอ บรบือ. จังหวัด มหาสารคาม. ประวัติหมู่บ้าน.

ratana
Download Presentation

โครงการศึกษาข้อมูลท้องถิ่น

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงการศึกษาข้อมูลท้องถิ่นโครงการศึกษาข้อมูลท้องถิ่น กรณีศึกษา บ้านซำแฮด หมู่ที่ 2 ตำบล บรบือ อำเภอ บรบือ จังหวัด มหาสารคาม

  2. ประวัติหมู่บ้าน เดิมทีก่อนที่จะมาตั้งหมู่บ้านซำแฮดนั้นมาจากครอบครัวส่วนหนึ่งของ บ้านโนนหนองกอก ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นโนนบ้านร้างมีชื่อว่า โนนหนองกอก อยู่ทางทิศใต้ของตัวอำเภอบรบืออยู่ทางทิศตะวันตกของหนองบ่อ ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 25 เส้น ที่แห่งนี้ยังมีเจดีย์เก่าแก่องค์หนึ่งยังประดิษฐานอยู่และเป็นสักขีพยานให้เห็นอยู่และเมื่อถึงเทศกาลสรงเจ้าปู่ชาวบ้านในละแวกนั้น จะพากันไปนมัสการสรงเจดีย์องค์นี้อยู่เป็นประจำทุกปีมิได้ขาด

  3. ประวัติหมู่บ้าน (ต่อ) สาเหตุที่ย้ายจากบ้านเดิมเนื่องจากบริเวณที่ตั้งบ้านอยู่ในที่ลุ่มมีโนนบ้านเป็นโนนสูงเพียงแห่งเดียว โนนตั้งบ้านเล็กผู้คนแออัดขยายออกไม่ได้ประกอบกับเกิดความกันดารและเกิดโรคระบาดจึงได้พากันอพยพจากบ้านเดิมโดยแยกออกเป็นสามพวกตามความสมัครใจ พวกหนึ่งไปทางตะวันออกของบ้านเดิมข้ามทุ่งหนองบ่อไปตั้งหมู่บ้านห่างจากบ้านเดิมประมาณ 3 กม. เป็นบ้านค้อ ต.หนองจิก ในปัจจุบันนี้

  4. ประวัติหมู่บ้าน (ต่อ) พวกที่สาม มุ่งหน้าไปทางทิศเหนือของหมู่บ้านเดิม เข้าไปในเขต ดงซำแฮด ซึ่งเป็นดงทึบในดงนี้มีหนองน้ำเล็กๆอยู่กลางดง มีแรดอาศัยอยู่ ลงนอนปรัก (ซำ) อยู่เป็นประจำอยู่ห่างจากบ้านเดิมประมาณ 3 กม. พวกที่สอง ย้ายไปทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านเดิม ส่วนมากพื้นที่ในขณะนั้นเป็น ดงป่า ห่างจากหมู่บ้านเดิมประมาณ 3 กม. ตั้งหมู่เป็นบ้านหนองสิมใหญ่ ต.หนองสิม จนถึงปัจจุบันนี้

  5. ประวัติหมู่บ้าน (ต่อ) หนองซำแฮด รูปปั้นแรด รูปปั้นแรด

  6. ประวัติหมู่บ้าน (ต่อ) ในขบวนอพยพขบวนนี้มีพ่อใหญ่แสน ผู้ซึ่งมีอายุมากซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของลูกหลานเป็นผู้นำขบวนได้พาลูกหลานมาสร้างบ้านแปลงเรือนลงที่ดง บริเวณหนองซำแฮด ซึ่งขณะนั้นจากบริเวณนี้ไปจนถึงเขตอำเภอโกสุมพิสัยล้วนเป็นป่าไม้ทึบ ไม่มีหมู่บ้านใดมาตั้งอยู่ก่อนเลย ได้ขนานนามหมู่บ้านนี้ตามชื่อของหนองที่เป็นปรักของแรดนี้ว่า บ้านซำแฮด มาจนปัจจุบันนี้

  7. ประวัติหมู่บ้าน (ต่อ) ในระหว่างที่ผู้ใหญ่แสนพาลูกหลานมาตั้งบ้านซำแฮดนี้ได้สันนิษฐานตามหลักฐานต่างๆ ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่และนับย้อนจากอายุคนต่อๆกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ประมาณ 184 ปี คือราว พ.ศ. 2370 ในขณะนั้นคงจะยังไม่มีผู้ใหญ่บ้านคงอาศัยนับถือพ่อใหญ่แสนเป็นหัวหน้าและเป็นผู้นำของหมู่บ้านเมื่อสิ้นบุญพ่อใหญ่แสนแล้วได้มีพ่อตันซึ่งชาวบ้านเคารพนับถือได้เป็นผู้นำหมู่บ้านต่อจากพ่อใหญ่แสนจนกระทั่งสิ้นบุญของพ่อตัน

  8. ประวัติหมู่บ้าน (ต่อ) ราว พ.ศ.2454 ทางการจึงให้มีการตั้งผู้ใหญ่บ้านเป็นคนแรกของบ้านซำแฮด มีชื่อว่า นายอ่อนศรี ละครพล ซึ่งเป็นต้นตระกูล ละครพล ของบ้านซำแฮดเป็นต้นมา หลังจากสิ้นบุญของนายอ่อนศรี ละครพลแล้ว ได้ตั้งนายหล้า ละครพล (ราชาเนตร) เป็นผู้ใหญ่บ้านแทนในสมัยนั้นบ้านซำแฮดเป็น หมู่ที่ 21 (พ.ศ.2457-2463)

  9. ประวัติหมู่บ้าน(ต่อ) ต่อมาบ้านซำแฮดหมู่ที่ 21 มีจำนวนพลเมืองมากขึ้นทางการจึงได้แยกออกเป็น บ้านซำแฮดหมู่ที่ 22 อีกหมู่หนึ่ง ซึ่งมีนายคำมี สิงขรอาจ เป็นผู้ใหญ่บ้าน ต่อมานายคำมี สิงขรอาจ ได้พาลูกหลานส่วนหนึ่งแยกไปตั้งบ้านใหม่ที่หนองกุงฮี ซึ่งกลายเป็นบ้านโคกกลางจนถึงทุกวันนี้เพราะอยู่ใกล้นา ดังนั้นบ้านซำแฮดหมู่ที่ 22 จึงต้องยุบไป

  10. ประวัติหมู่บ้าน (ต่อ) และปัจจุบันนี้บ้านโคกกลางเป็นหมู่ที่ 3 ในขณะที่บ้านซำแฮดหมู่ที่ 22 กำลังจะแยกตัวออกไปนั้นบ้านซำแฮดหมู่ที่ 21 ก็มีราษฎรเพิ่มจำนวนมากขึ้นทางการจึงแยกออกเป็นบ้านซำแฮดหมู่ที่ 23 อีกหมู่บ้านหนึ่งโดยมีนายยา จิณรักษ์ เป็นผู้ใหญ่บ้าจนกระทั่งนายยา จิณรักษ์ รับราชการมีความชอบได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "หมื่นจง จิณรักษ์" มีขุนบรบือบำรุงเป็นกำนันตำบลบรบือ

  11. ประวัติหมู่บ้าน (ต่อ) ต่อมาคนในบ้านซำแฮดหมู่ที่ 23 ซึ่งส่วนมากมีนาไปตามลำห้วยที่ไหลลงไปห้วยถ้ำเต่า เห็นว่าบ้านอยู่ห่างไกลนามากจึงย้ายไปตั้งบ้านใหม่ ซึ่งกลายเป็นบ้านโคกล่ามจนถึงทุกวันนี้ เมื่อหมื่นจง จิณรักษ์ตายจึงยุบบ้านซำแฮดหมู่ที่ 23 ลงรวมกับหมู่ที่ 21 หมู่เดียว มีนายหล้า ละครพล (พ่อใหญ่ราชาเนตร) เป็นผู้ใหญ่บ้าน เมื่อ พ.ศ.2463 นายหล้า ละครพล ลาออกจากผู้ใหญ่บ้านจึงตั้งนายสม บุญสม เป็นผู้ใหญ่บ้านซำแฮดหมู่ที่ 21 ระหว่าง พ.ศ.  2456-2483

  12. ประวัติหมู่บ้าน (ต่อ) จนกระทั่งนายสม บุญสมตายจึงตั้งนายหล้า จิณรักษ์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน (พ.ศ.2483-2491) เมื่อ พ.ศ.2491 นายหล้า จิณรักษ์ลาออกจากผู้ใหญ่บ้าน นายอินทร์ จันคำ ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้านซำแฮด ในสมัยนี้ทางการได้กำหนดให้มีนายทะเบียนบ้าน และกำหนดให้มีเลขหมายประจำบ้านจึงได้เปลี่ยนจากบ้านซำแฮดหมู่ที่ 21 มาเป็นบ้านซำแฮด หมู่ที่ 2 ตั้งแต่สมัยนั้นเป็นต้นมา นายอินทร์ จันคำ เป็นผู้ใหญ่บ้านระหว่าง พ.ศ.2491-2501

  13. ประวัติหมู่บ้าน (ต่อ) เมื่อ นายอินทร์ จันคำ ตายนายหลวง จิณรักษ์ ได้เป็นผู้ใหญ่บ้าน ระหว่าง พ.ศ.2501-2519 จึงลาออก ต่อมานายบุญมา ธิสิงห์ ได้เป็นผู้ใหญ่บ้านระหว่าง พ.ศ.2519-2522 จึงลาออก จากนั้นนายพงษ์พันธ์ โพธิปัดชา จึงได้รับเลือตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้าน บ้านซำแฮดหมู่ที่ 2 ระหว่างปี พ.ศ. 2522-13กรกฎาคม 2539 ในระหว่างนั้นบ้านซำแฮดมีประชากรเพิ่มขึ้นยากแก่การปกครองได้ทั่วถึงจึงขอแยกบ้านซำแฮดออกเป็นหมู่ที่ 9 มีนายหวัน ชินเชษฐ์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน ต่อมาได้รับเลือกเป็นกำนัน ตำบล บรบือ ระหว่างปี พ.ศ. 2537-2552

  14. ประวัติหมู่บ้าน (ต่อ) ซึ่งต่อมานายพินิจ จันทร์คำ ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญบ้าน บ้านซำแฮดหมู่ที่ 9 วันที่ 10 กรกฎาคม 2552 ถึงปัจจุบัน เมื่อนายพงษ์พันธ์ โพธิปัตชา อายุครบ 60 ปี หมดวาระการดำรงตำแหน่งตามกฎหมายต่อมา นายไพศาล ด่านกุลประเสริฐ ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน บ้านซำแฮด หมู่ที่ 2 แล้วได้เสียชีวิตลงในระหว่างดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ระหว่างปี พ.ศ. 2539-2542

  15. ประวัติหมู่บ้าน (ต่อ) เมื่อนายไพศาล ด่านกุลประเสริฐ ได้เสียชีวิตลงราษฎรบ้านซำแฮดหมู่ที่ 2 ได้ร่วมใจกันให้นายทองพูน จูมผา เป็นผู้ใหญ่บ้าน บ้านซำแฮดหมู่ที่ 2 ระหว่างปี พ.ศ. 2542-2547 ในระหว่างนั้นบ้านซำแฮดหมู่ที่ 2 มีประชากรเพิ่มขึ้นยากแก่การปกครองได้ทั่วถึงและมีพื้นที่ในการปกครองที่กว้างไกล จึงแยกหมู่บ้านเป็นบ้านซำแฮดหมู่ที่ 15 มีนายหนาย พรพา เป็นผู้ใหญ่บ้านและได้เสียชีวิตลงในขณะดำรงตำแหน่ง ต่อมานายพรชัย ละครพล ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน บ้านซำแฮดหมู่ที่ 15 จนครบวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปีตามกฎหมาย (วันที่ 11 กรกฎาคม 2548 ถึง 11 กรกฎคม 2553 )

  16. ประวัติหมู่บ้าน (ต่อ) ต่อมานายพรมมา ทศดร ได้เป็นผู้ใหญ่บ้าน บ้านซำแฮดหมู่ที่ 15 เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2553 (มีผู้สมัครเพียงเบอร์เดียวไม่ต้องเลือกตั้ง) เมื่อนายทองพูน จูมผา ดำรงตำแหน่งครบวาระ 5 ปี นายอุดม สิงขรอาจ ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน บ้านซำแฮดหมู่ที่ 2 เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2547 ถึง 20 กรกฎาคม 2552 ต่อมานายชาตรี นามคำมี ดัรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน บ้านซำแฮดหมู่ที่ 2 เมื่อวันอังคารที่ 18 สิงหาคม 2552 ดำรงตำแหน่งตามกฎหมายปี 51 วาระเกษียณอายุครบ 60 ปี

  17. คำขวัญหมู่บ้าน ผลิตภัณฑ์มันแกว ของฝากเลืองชื่อ แหล่งเรียนรู้โอท๊อป วิสัยทัศน์หมู่บ้าน พัฒนาคน ส่งเสริมการศึกษาและแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรม พัฒนาแหล่งน้ำ พัฒนาคุณภาพขีวิตแบบพอเพียงและยั่งยืน

  18. ที่ตั้งและอาณาเขต บ้านซำแฮดหมู่ที่ 2 ตำบลบรบืออำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม อยู่ทางทิศใต้ของ ตำบลบรบือ ห่างจากที่ตั้ง อำเภอบรบือประมาณ 1 กิโลเมตร ห่างจากตัวจังหวัดมหาสารคาม 26 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร 425 กิโลเมตร โดยมีอาณาเขตติดกับพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 15 หมู่ที่ 9 ตำบลบรบือ ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านศรีพาลา ตำบลหนองสิม ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่1 ตำบลบรบือ ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ที่ 15 ตำบลบรบือ

  19. ลักษณะภูมิอากาศ บ้านซำแฮด หมู่ที่ 2 มีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้น เพราะได้รับอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งมี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน อากาศร้อนจัด ฤดูฝน ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ฤดูหนาว หนาวจัด

  20. ข้อมูลด้านประชากร บ้านซำแฮดหมู่ที่ 2 ตำบลบรบือ มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 130 ครัวเรือน บ้านซำแฮดหมูที่ 2 ตำบลบรบือ มีประชากรทั้งสิ้น 580 คน ชาย 290 คน หญิง 290 คน

  21. ทรัพยากรแหล่งน้ำดื่ม น้ำใช้ มีบ่อน้ำตื้น (ใส่ปลอกซีเมน ,ไม้ , บ่อดิน) ส่วนตัว จำนวน 4 บ่อ มีบ่อบาดาล (บ่อตอก,บ่อเจาะ) ส่วนตัว จำนวน 2 บ่อ มีบ่อบาดาล (บ่อตอก,บ่อเจาะ) สาธารณะ 1 บ่อ

  22. บริการสาธารณะสุขในหมู่บ้านบริการสาธารณะสุขในหมู่บ้าน คลังยาสัตว์ หรือสัตว์แพทย์อาสา หรืออาสาพัฒนาปศุสัตว์ ศูนย์สาธารณะสุขมูลฐานและมีอาสาสมัครสาธารณะสุขให้บริการ

  23. การคมนาคม ถนนเส้นทางหลักเฉพาะในเขตหมู่บ้านแยกเป็นถนนลาดยางหรือคอนกรีต 5 กิโลเมตร หมู่บ้านมีถนนเชื่อมไปยังอำเภอหรือชุมชนที่ใกล้ที่สุดที่คนในหมู่บ้านส่วนมากไปซื้อ-ขายของกินของใช้มี 2 เส้นทาง ระยะทาง 3 กิโลเมตร

  24. ยานพาหนะในหมู่บ้าน • รถปิคอัพ/รถเก๋ง 15 คัน • รอมอเตอร์ไซด์/จักรยานยนต์ 40 คัน • จักรยาน2ล้อ 14 คัน • รถอีแต๋น/รถดัดแปลงอื่นๆที่ใช้ในการเกษตร 55 คัน • รถรับจ้าง(สองแถว,สามล้อเครื่อง) 2 คัน

  25. ร้านค้าในหมู่บ้าน ร้านขายของชำหรือขายของเบ็ดเตล็ด 3 แห่ง ร้านจำหน่ายหรือซ่อมรถจักรยานยนต์ 1 แห่ง ร้านเชื่อมโลหะ 1 แห่ง ร้านจำหน่ายแก๊สหุงต้ม 1 แห่ง สถานบริการน้ำมันเชื้อเพลิง (ปั้มน้ำมัน,ปั้มหลอด) 1 แห่ง

  26. สถานที่สำคัญ วัดบ้านซำแฮด มีพระครูเกษม ปุญญาพิวัฒน์ เป็นเจ้าอาวาส ปัจจุบันมีพระจำพรรษาอยู่ 5 รูป ทางเข้าวัด

  27. สถานที่สำคัญ (ต่อ) ลานพระประทาน โบถส์ ศาลาการเปรียญ

  28. สถานที่สำคัญ (ต่อ) ศาลญาครูป่อ ญาครูป่อเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดบ้านซำแฮด

  29. ผู้อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมผู้อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ช่างปูนปั้น นายธนศิลป์ โพธิรส บ้านเลขที่ 248 หมู่ที่ 2 ตำบลบรบืออำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม

  30. ผู้อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม (ต่อ) ผลงาน

  31. ด้านศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของหมู่บ้านด้านศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของหมู่บ้าน มีประเพณีประจำหมู่บ้าน คือ ประเพณี ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่ ซึ่งเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวอีสานที่ได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

  32. การประกอบอาชีพ ทำนา 50 ครัวเรือน ทำไร่ 20 ครัวเรือน รับจ้างทั่วไป 34 ครัวเรือน ทำงานประจำภาคราชการ 14 ครัวเรือน ทำงานในภาคเอกชน/โรงงาน 3 ครัวเรือน ค้าขาย 17 ครัวเรือน ไปประกอบอาชีพในท้องที่จังหวัดอื่นๆ 12 ครัวเรือน

  33. รายได้จากการประกอบอาชีพรายได้จากการประกอบอาชีพ รายได้เฉลี่ยจากการทำนา ครัวเรือนละประมาณ 2,5000 บาท /ปี รายได้เฉลี่ยจากการปลูกมันสำปะหลัง ครัวเรือนละประมาณ 8,000 บาท /ปี รายได้เฉลี่ยจากการปลูกพืชระยะสั้น เช่น มันแกว ประมาณ 10,000 บาท /ปี

  34. ทำเนียบผู้บ้าน บ้านซำแฮดหมู่ที่ 2 นายอ่อนศรี ละครพล นายหล้า ละครพล นายสม บุญสม นายหล้า จิณรักษ์ นายอิน จันคำ นายหลวง จิณรักษ์ นายบุญมา ธิสิงห์

  35. ทำเนียบผู้บ้าน บ้านซำแฮดหมู่ที่ 2 (ต่อ) นายพงษ์พันธ์ โพธิปัตชา นายไพศาล ด่านกุลประเสริฐ นายทองพูน จูมผา นายอุดม สองขรอาจ นายชาตรี นามคำมี (ผู้ใหญ่บ้าน คนปัจจุบัน)

  36. สภาพการปกครอง นายชาตรี นามคำมี ผู้ใหญ่บ้าน นายวีรชน พุทธบาล ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน นางจันมณี คำมา ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน นายอุดม สิงขรอาจ สมาชิก อบต. นายสุวรรณ คำจันทร์ สมาชิก อบต.

  37. ประวัติผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบันประวัติผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน นายชาตรี นามคำมี (หนำเลี๊ยบ) เกิดเมื่อวัน อังคารที่ 5 เดือน เมษายน 2526 เป็นบุตรพ่อสนอง นามคำมีและแม่นิลบล นามคำมี มีน้องชายหนึ่งคนชื่อ นายจัตุพล นามคำมี ปัจจุบันประกอบอาชีพค้าขาย การศึกษา จบ อ.วท. โปรแกรมวิชาสัตว์รักษ์ จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

  38. ประวัติผู้ใหญบ้าน(ต่อ)ประวัติผู้ใหญบ้าน(ต่อ) ปริญญาตรี วทบ.โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์ จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ป.วิชาชีพครู ปัจจุบันกำลังศึกษาหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต โปรแกรมวิชาการบริหารการปกครองท้องที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช

  39. สถานที่ท่องเที่ยว โบราณสถานกู่บัวมาศ โบราณสถานกู่บัวมาศตั้งอยู่ที่บ้านกกกอก ตำบลบัวมาศ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม มีสภาพเป็นเนินดินขนาดใหญ่อยู่กลางพื้นที่ราบลุ่มที่เป็นทุ่งนาปกคลุมด้วยวัชพืชและต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นหนาแน่นโบราณสถานกู่บัวมาศมีรูปลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าความกว้างขนาด 30 เมตร ความยาว 40 เมตร

  40. สถานที่ท่องเที่ยว(ต่อ)สถานที่ท่องเที่ยว(ต่อ) โบราณสถานกู่บัวมาศ

  41. หมู่ที่ 2 ตำบลบรบือ อำเภอ บรบือ จังหวัด มหาสารคาม กลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตรบ้านซำแฮด

  42. ประวัติและความเป็นมา บ้านซำแฮดเป็นหมู่บ้านที่ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาทำไร่และรับจ้างทั่วไป การทำไร่มีไร่มันสำปะหลัง ไร่มันแกว ซึ่งผลผลิตจากไร่มันแกวได้ทำรายได้ให้แก่ชาวซำแฮดและหมู่บ้านใกล้เคียงเป็นอย่างดี ต่อมาเมื่อผลผลิตมันแกวมีมากขึ้นทำให้มีราคาต่ำลง ทางพัฒนาชุมชนอำเภอบรบือจึงได้เข้ามาให้การสนับสนุนจัดทำโครงการฝึกอบรมการแปรรูปมันแกวแก่กลุ่มสตรีบ้านซำแฮด

  43. ประวัติและความเป็นมา (ต่อ) ซึ่งเป็นกลุ่มที่รวมตัวกันก่อนและเป็นสมาชิกโดยธรรมชาติกล่าวคือ รวมตัวกันเพื่อจำหน่ายผลมันแกวร่วมกันในตลาดอำเภอบรบือและตามริมถนนเข้าตัวอำเภอบรบือ(ยังไม่มีการจัดการกลุ่ม) นอกจากนั้นทางพัฒนาชุมชนอำเภอบรบือยังได้นำสมาชิกไปศึกษาดูงาน ตลอดจนช่วยของบประมาณสนับสนุนจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน

  44. ประวัติและความเป็นมา (ต่อ) หลังจากได้รับคำแนะนำจากพัฒนาชุมชนอำเภอแล้ว จึงได้ตั้งกลุ่มอย่างเป็นรูปธรรมขึ้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2541 ภายใต้ชื่อกลุ่มอาชีพสตรีบ้านซำแฮด (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น กลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตรบ้านซำแฮดเมื่อต้นปี 2544)

  45. วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและส่งเสริมอาชีพการปลูกมันแกวแก่เกษตรกรในท้องถิ่นเพื่อฝึกอาชีพเพิ่มทักษะประสบการณ์แก่สมาชิกกลุ่มและชุมชนทั้งการผลิต การจำหน่าย การแปรรูปผลิภัณฑ์อื่นๆ เพื่อพัฒนาคนให้มีความรู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกมีคุณธรรม มีความเสียสละ มีความรับผิดชอบร่วมกันเห็นอกเห็นใจและไว้วางใจซึ่งกันและกัน

  46. ข้อมูลทั่วไป ปัจจุบัน กลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตรบ้านซำแฮด มีสมาชิก 50 คน โดยมี นางสุนทร พุทธบาล เป็นประธานกลุ่มมีสินค้า 3 ชนิด ได้แก่ 1. กะหรี่ปั๊บไส้มันแกว 2. โมจิไส้มันแกว 3. พายมันแกว

  47. กะหรี่ปั๊บไส้มันแกว วัตถุดิบและส่วนประกอบ มันแกว แป้ง น้ำตาลทราย น้ำมันพืช น้ำปูนใส เกลือ

  48. อุปกรณ์ เครื่องอบ เครื่องตีแป้ง เครื่องแพค มีด กระทะ เตา ตะหลิว ถุงบรรจุ

  49. อุปกรณ์ (ต่อ) เครื่องแพค เครื่องปั่นแป้ง เครื่องอบ

  50. ขั้นตอนการผลิต 1.วิธีเตรียมไส้ ล้างหัวมันแกวให้สะอาด ปลอกเปลือกนำไปล้างอีกครั้งหนึ่ง ขูดหัวมันแกวให้เป็นเส้น นำไปคั่วใส่น้ำตาล เกลือ จนเหนียว ได้ที่ ยกลง ปั้นเป็นก้อน นำไปอบให้แห้ง 2. แป้งชั้นใน ผสมแป้งกับน้ำมันพืช นวดเบา ๆ ให้เข้ากัน ปั้นเป็นก้อน

More Related