1 / 7

คำอธิบายการจัดทำรายงานแผนพัฒนาสถิติ กลุ่มจังหวัด / จังหวัด

คำอธิบายการจัดทำรายงานแผนพัฒนาสถิติ กลุ่มจังหวัด / จังหวัด. ร่าง แผนพัฒนาสถิติระดับ พื้นที่กลุ่มจังหวัด / จังหวัด เพื่อ เตรียมการลงพื้นที่จังหวัด และปรับปรุงตามแต่ละพื้นที่ร่างแผนพัฒนาสถิติระดับพื้นที่กลุ่มจังหวัด / จังหวัด ประกอบด้วย 4 บทสำคัญ ได้แก่. บทที่ 1 : บทนำ ที่มา และความสำคัญ

Download Presentation

คำอธิบายการจัดทำรายงานแผนพัฒนาสถิติ กลุ่มจังหวัด / จังหวัด

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. คำอธิบายการจัดทำรายงานแผนพัฒนาสถิติกลุ่มจังหวัด / จังหวัด

  2. ร่างแผนพัฒนาสถิติระดับพื้นที่กลุ่มจังหวัด/จังหวัด เพื่อเตรียมการลงพื้นที่จังหวัด และปรับปรุงตามแต่ละพื้นที่ร่างแผนพัฒนาสถิติระดับพื้นที่กลุ่มจังหวัด/จังหวัด ประกอบด้วย 4 บทสำคัญ ได้แก่ • บทที่ 1 : บทนำ • ที่มา และความสำคัญ • วัตถุประสงค์ • แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาสถิติระดับกลุ่มจังหวัด • บทที่ 2 : ศักยภาพ และประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด • สรุปภาพรวมข้อมูลพื้นฐานกลุ่มจังหวัด • ศักยภาพสำคัญของกลุ่มจังหวัด • ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด และตัวชี้วัด • ผลการทบทวนความสอดคล้องเชื่อมโยงประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 - 2559) • ผลการศึกษาความสอดคล้องเชื่อมโยงของประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด กับแนวทางการพัฒนาจังหวัดอัจฉริยะ (Smart Province) และข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงาน • ห่วงโซ่มูลค่ามาตรฐาน (Generic Value Chain) ตามประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด ทีมกลางจัดทำให้ทั้งปรับปรุงเนื้อหารายกลุ่มจังหวัด/จังหวัด การเรียบเรียงและการวิเคราะห์

  3. บทที่ 3 : ผังสถิติทางการของประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด • สรุปห่วงโซ่มูลค่า (Value Chain) ตามประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด • ผังสถิติทางการของแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด และ • ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ขาดหายไป (Data gap analysis) • ทีมจังหวัดจัดทำ • PPT ที่ได้นำเสนอที่จ.นครนายก • ตาราง excel ที่ลงรายการ CSF / KPI แล้วส่งต่อให้สถิติจังหวัด ได้เติม Data list พร้อมการเช็คค.พร้อมของข้อมูล • Final PPT ที่จะนำเสนอ คณะกรรมการสถิติจังหวัด • ส่ง PPT และ Excel ที่สมบูรณ์ให้ทีมกลาง • ทีมกลางจะนำ PPT และ excel ที่ finalize แล้วมาจัดหน้าเรียบเรียงในรายงานรูปแบบ Word ให้ PPT นำเสนอในการประชุม ตาราง excel แผนผังรายการสถิติทางการ ทีมจังหวัดจะต้องเขียนสรุปรายการข้อมูลภาพรวมทั้ง VC ประเด็นยุทธศาสตร์ ว่ามีจำนวนเท่าไร และผลจากการเช็คความพร้อมข้อมูลที่ให้การบ้านสถิติจังหวัดไปทำนั้น สรุปแยกกลุ่มข้อมูลเป็นอย่างไร รายการสถิติที่มีการจัดเก็บเป็นปกติ กี่รายการ รายการสถิติที่ต้องพัฒนาการจัดเก็บ (มีการจัดเก็บแต่ไม่สมบูรณ์) รายการสถิติที่ยังไม่ได้จัดเก็บ (ไม่มีการจัดเก็บเลย) ขอความร่วมมือ เอกสารทุกอย่างใช้ตัวอักษร TH SarabanPSK หัวข้อขนาดอักษร 20 -22 เนิ้อหาขนาดอักษร 16

  4. ต้องสรุปพร้อมทำ Pie Chart ในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ • ตัวอย่างการเขียนบรรยายในรายงาน Word • สำหรับประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมการสร้างสรรค์สินค้าและบริการให้โดดเด่นและมีคุณค่า มุ่งเน้นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ หัตถสร้างสรรค์ ศิลปวัฒนธรรม การท่องเที่ยว มีรายการสถิติทางการที่สำคัญ จำเป็นรวมทั้งสิ้น ..... รายการ โดยในปัจจุบันมีการจัดเก็บจำนวน...... รายการ เป็นข้อมูลยังไม่มีการจัดเก็บ .... รายการ และเป็นข้อมูลที่มีการจัดเก็บแต่ไม่สมบูรณ์จำนวน..... รายการ โดยข้อมูลที่มีการจัดเก็บแต่ไม่สมบูรณ์ สามารถแยกลักษณะของปัญหาและแนวทางการพัฒนาการจัดเก็บได้ดังนี้ • ในกรณีรายการข้อมุลที่ต้องพัฒนาการจัดเก็บ ต้องทำตารางสรุปรายการข้อมูล แยกประเภทปัญหา บอกรายการ ระบุหน่วยงานรับผิดชอบ และแนวทางการพัฒนาการจัดเก็บ

  5. แนวทางและข้อเสนอแนะในการพัฒนาการจัดเก็บข้อมูลแนวทางและข้อเสนอแนะในการพัฒนาการจัดเก็บข้อมูล • รายการสถิติที่ยังไม่ได้จัดเก็บ • (ไม่มีการจัดเก็บเลย) • รายการสถิติที่มีการจัดเก็บเป็นปกติ • นำข้อมูลมาวิเคราะห์ร่วมกับประเด็นสำคัญ จัดทำเป็นรายงานสถานการณ์ เพื่อแสดงประโยชน์ของการมีข้อมูล • นำเสนอชุดข้อมูลในภาพรวมให้ผู้เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจทำแผนประจำปี • จัดทำรายงานและเผยแพร่ข้อมูล • จัดทำคู่มือการจัดเก็บข้อมูล • กำหนดคำนิยามคำอธิบายให้ ชัดเจน • กำหนดผู้รับผิดชอบการจัดเก็บข้อมูลสำหรับรายการข้อมูลตามตัวชี้วัดต่าง ๆ ให้ชัดเจน • จัดระบบและวิธีการรับส่งเชื่อมโยงกับผู้รับผิดชอบการจัดเก็บข้อมูล • จัดอบรม/ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดเก็บ การประมวลผลข้อมูลและการใช้ข้อมูล • รายการสถิติที่ต้องพัฒนาการจัดเก็บ • (จัดเก็บไม่สมบูรณ์) • 1) ข้อมูลสำคัญ ที่มีหน่วยงานจัดเก็บหลายหน่วยงาน • แนวทางการพัฒนา • ประชุมหารือร่วมระหว่างหน่วยงานทีจัดเก็บข้อมูลเดียวกัน เพื่อตกลงการจัดเก็บลดความซ้ำซ้อน • จัดระบบและวิธีการรับส่งเชื่อมโยงให้หน่วยงานร่วมจัดเก็บเข้าถึงข้อมูลและใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้อย่างทั่วถึง • จัดทำคำสั่งมอบหมาย ผู้รับผิดชอบจัดเก็บข้อมูล • จัดอบรม/ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดเก็บ การประมวลผลข้อมูลและการใช้ข้อมูล • 3) ข้อมูลสำคัญที่มีการจัดเก็บ แต่มีความถี่ของข้อมูลน้อยกว่าความต้องการของผู้ใช้ • แนวทางการพัฒนา • วิเคราะห์ความต้องการใช้ข้อมูล • จัดทำข้อเสนอทางเลือกว่าจะพัฒนาจัดเก็บ หรือจะยกเลิกการจัดเก็บและนำเสนอผู้บริหารเพื่อตัดสิน • กรณียกเลิกการจัดเก็บ ต้องเสนอว่าสามารถใช้ข้อมูลอะไรในการอ้างแทน หรือเชื่อมโยงแทนได้ • กรณีจะพัฒนาการจัดเก็บต้องประเมินงบประมาณที่จะเกิดขึ้นพร้อมทั้งดำเนินการดังนี้ • กำหนดคำนิยามคำอธิบายให้ชัดเจน • กำหนดผู้รับผิดชอบ การจัดเก็บข้อมูลสำหรับรายการข้อมูลตามตัวชี้วัดต่าง ๆ ให้ชัดเจน • จัดระบบและวิธีการรับส่งเชื่อมโยงกับผู้รับผิดชอบการจัดเก็บข้อมูล • 2) ข้อมูลสำคัญ ที่จัดเก็บไม่ต่อเนื่อง ต้องดำเนินการจัดเก็บเพิ่มเติม • แนวทางการพัฒนา • วิเคราะห์ความต้องการใช้มีลักษณะความถี่อย่างไร และกำหนดรอบการจัดเก็บให้ตรงกับความต้องการใช้ • กำหนดคำนิยามคำอธิบายให้ชัดเจน • จัดทำคู่มือการจัดเก็บข้อมูล • กำหนดผู้รับผิดชอบ การจัดเก็บข้อมูลสำหรับรายการข้อมูลตามตัวชี้วัดต่างๆ ให้ชัดเจน • จัดระบบและวิธีการรับส่งเชื่อมโยงกับผู้รับผิดชอบการจัดเก็บข้อมูล • จัดอบรม/ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดเก็บ การประมวลผลข้อมูลและการใช้ข้อมูล • 4) ข้อมูลสำคัญที่มีการจัดเก็บ ไม่สอดคล้องกันของข้อมูล (data inconsistency) คือการที่ข้อมูลเดียวกันซึ่งถูกจัดเก็บไว้หลาย ๆแห่งมีค่าไม่ตรงกัน • แนวทางการพัฒนา • กำหนดคำนิยามคำอธิบายวิธีเก็บรวบรวมให้ชัดเจน (วิธีเก็บต่างกันทำให้ค่าที่ได้ต่างกัน) • กำหนดระดับการอ้างอิง หรือการนำไปใช้ข้อมูล หากนำชุดข้อมูลนี้ไปใช้จะสามารถอ้างอิงได้ในเรื่องใดบ้าง • ระบุข้อชี้แจงเพิ่มเติมว่ามีชุดข้อมูลแบบเดียวกันที่ค่าต่างกันจากวิธีการขึ้น และย้ำให้ผู้นำไปใช้ใส่แหล่งที่มาทุกครั้ง

  6. บทที่ 4 : บทสรุป ข้อเสนอแนะการพัฒนาสถิติ • สรุปสถานภาพรายการสถิติทางการของประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดในปัจจุบัน • ข้อเสนอแนะการพัฒนาการจัดเก็บข้อมูล เสนอแผนการพัฒนาในอนาคต • ทีมจังหวัดจัดทำสรุปผลการวิเคราะห์ในรูปแบบเปรียบเทียบทุกประเด็นยุทธศาสตร์ที่จัดทำ VC และ เช็คสถานความพร้อมของข้อมูล • ทีมจังหวัดเลือก 1 ประเด็นยุทธศาสตร์ ที่ได้ตกลงกับทางสถิติจังหวัด เพื่อจัดทำเป็นแผนงานพัฒนาการจัดเก็บข้อมูลเพื่อสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ตามประเด็นยุทธศาสตร์ของกลุ่มจังหวัด / จังหวัด ทำเป็นข้อเสนอแนะแบบ • bullet point สำหรับการดำเนินงานในระยะยาว 4 ปีข้างหน้า • แผนการดำเนินงานระยะสั้น 1 ปีข้างหน้า ต้องมีกิจกรรมอะไร ทำตอนไหน

More Related