1 / 47

ออดิโอ (Audio)

ออดิโอ (Audio). เสียง (Sound , Audio) เป็นคลื่นกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุเกิดการสั่นสะเทือน จะทำให้เกิดการอัดตัว และขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลางที่เป็นสสารอยู่ในสถานะ ก๊าซ ของเหลว ของแข็ง (คลื่นเสียงจะไม่ผ่านสุญญากาศ) ไปยังหู ทำให้ได้ยินเสียงเกิดขึ้น.

primo
Download Presentation

ออดิโอ (Audio)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ออดิโอ(Audio) เสียง (Sound, Audio) เป็นคลื่นกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุเกิดการสั่นสะเทือน จะทำให้เกิดการอัดตัว และขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลางที่เป็นสสารอยู่ในสถานะ ก๊าซ ของเหลว ของแข็ง (คลื่นเสียงจะไม่ผ่านสุญญากาศ) ไปยังหู ทำให้ได้ยินเสียงเกิดขึ้น Multimedia Technology

  2. การเคลื่อนที่ของเสียงการเคลื่อนที่ของเสียง • การเดินทางของเสียง ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ เสียงมาถึงหูของเราโดยมีอากาศเป็นตัวกลาง แหล่งกำเนิดเสียงจะทำให้อากาศรอบๆสั่นสะเทือน การสั่นสะเทือนจะกระจายออกไปรอบทุกทิศทาง เมื่อคลื่นเดินทางมาถึงหูของเรา เราจะรับรู้เสียงต่างๆ Multimedia Technology

  3. ปัจจัยที่มีผลทำให้วัตถุเกิดเสียงดังหรือเสียงค่อยปัจจัยที่มีผลทำให้วัตถุเกิดเสียงดังหรือเสียงค่อย • ระยะทางจากแหล่งกำเนิดเสียง ถึง หูผู้ฟัง • ความแรงในการสั่นสะเทือนของวัตถุแหล่งกำเนิดเสียง • ชนิดของตัวกลาง ความดังของเสียงขึ้นอยู่กับชนิดของตัวกลางที่คลื่นเสียงเคลื่อนที่ผ่านไป ถ้าคลื่นเสียงเคลื่อนที่ไปในน้ำจะมีความดังของเสียงมากกว่าคลื่นเสียงที่เคลื่อนที่ไปในอากาศ • ขนาดและรูปร่างของวัตถุที่เป็นแหล่งกำเนิดเสียงสั่นสะเทือน เช่น กระดิ่งจักรยาน ทำให้เกิดเสียงดังและได้ยินในระยะทางหลายร้อยฟุต แต่ระฒังก็มีเสียงดังได้ไกลไปหลายๆกิโลเมตร เป็นต้น Multimedia Technology

  4. เสียงสูงเสียงต่ำ • เสียงสูงเสียงต่ำ เรียกว่า ระดับเสียง ถ้าแหล่งกำเนิดเสียงมีความเร็วในการสั่นสะเทือน (มีความถี่สูง) จะทำให้เกิดเสียงสูง และถ้า แหล่งกำเนิดเสียงมีความเร็วในการสั่นสะเทือนน้อย หรือเบา (มีความถี่ต่ำ) จะทำให้เกิดเสียงต่ำ หรือเสียงทุ้ม • ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดเสียงสูงต่ำ เสียงสูงต่ำขึ้นอยู่กับความถี่ในการสั่นสะเทือนของวัตถุที่เป็นแหล่งกำเนิดเสียง เช่นเสียง นกหวีด เสียงกลอง เป็นต้น Multimedia Technology

  5. ความดัง ระดับเสียง และความเร็วของเสียง Multimedia Technology

  6. แสดงระดับความดังและชนิดของเสียงแสดงระดับความดังและชนิดของเสียง Multimedia Technology

  7. ไมโครโฟน (Microphone) • เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียง (Sound Wave) จากแหล่งกำเนิดเสียง เช่น เสียงพูด เสียงเพลง หรือเสียงดนตรี เป็นต้น ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า โดยความถี่เสียงจะเคลื่อนที่ไปตามสาย ไมโครโฟนสู่เครื่องขยายเสียง • สามารถแบ่งชนิดของไมโครโฟนตามลักษณะของโครงสร้างได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ ไดนามิกไมโดรโฟน (Dynamic Microphone) และคอนเดนเซอร์ไมโครโฟน (Condenser Microphone) Multimedia Technology

  8. ไดนามิกไมโครโฟน (Dynamic Microphone) • เป็น ไมโครโฟนชนิดขดลวดเคลื่อนที่ เปลี่ยนเสียงไปเป็นคลื่นเสียงสัญญาณไฟฟ้า โดยอาศัยคุณสมบัติของการเหนี่ยวนำทางแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งประกอบด้วยไดอะแฟรม(Diaphragm) ที่เป็นแผ่นโลหะบางๆ ติดกับขดลวดเหนี่ยวนำ เมื่อคลื่นกระทบกับไดอะแฟรมที่ติดอยู่กับขดลวด จะเกิดการเคลื่อนที่ของขดลวดในสนามแม่เหล็กไฟฟ้า และสร้างความเข้มของเสียงที่กระทบกับไดอะแฟรมอย่างเป็นสัดส่วน ทำให้เกิดสัญญาณเสียง Multimedia Technology

  9. คอนเดนเซอร์ไมโครโฟน (Condenser Microphone) • เป็นไมโครโฟนที่ประกอบด้วย ไดอะเฟรมที่มีลักษณะคล้ายกับแผ่นเก็บประจุไฟฟ้าที่เป็นโลหะบางๆ 2 แผ่นวางขนานกัน เมื่อมีเสียงมากระทบแผ่นโลหะจะทำให้แผ่นโลหะบางๆ ของคอนเดนเซอร์เกิดการเคลื่อนที่ ซึ่งเป็นผลทำให้ค่าความจุไฟฟ้าของคอนเดนเซอร์เปลี่ยนไปจนเกิดค่าแรงดันไฟฟ้าของสัญญาณเสียง Multimedia Technology

  10. เครื่องขยายเสียง (Amplifier) • เป็นอุปกรณ์สำหรับการขยายสัญญาณอินพุตให้มีความดังหรือแอมพลิจูดเพิ่มขึ้น • เครื่องขยายเสียงจะประมวลผลสัญญาณโดยใช้ชุดของทรานซิสเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่บนแผงวงจรและใช้พลังงานจากพาวเวอร์ซับพลาย โดยสัญญาณอินพุตจะถูกขยายให้มี แอมพลิจูดเพิ่มขึ้นแต่มีรูปแบบคลื่นเหมือนเดิม • วงจรภายในเครื่องขยายเสียงถูกออกเป็น 2 ลักษณะคือ 1) คลาสของสัญญาณอนาล็อก ได้แก่ คลาส A คลาส B และ คลาส AB และ 2) คลาสของสัญญาณดิจิตอล ได้แก่ คลาส D เป็นต้น Multimedia Technology

  11. ลำโพง (Speaker) • เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับ แปลงพลังงานทางไฟฟ้ากลับเป็นพลังงานเสียง ซึ่งมีฟังก์ชันการทำงานตรงข้ามกับไมโครโฟนหรือเครื่องขยายเสียง โดยจะทำหน้าที่กระจายเสียงที่ได้รับมาจากเครื่องขยายเสียง สามารถแบ่งลำโพงออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ลำโพงแบบไดนามิก (Dynamic Speake) และลำโพงชนิดเสียงทุ้ม (Woofer) กับลำโพงชนิดเสียงแหลม (Tweeter) Multimedia Technology

  12. ลำโพง (Speaker) • ลำโพงแบบไดนามิก(Dynamic Speaker)ประกอบด้วยขดลวด (Wire Coil) และกรวยกระดาษ (Paper Cone) ที่ทำจากกระดาษ (Paper) หรือไฟเบอร์ (Fiber) เรียกว่าไดอะแฟรม ซึ่งติดกับขดลวด เมื่อสัญญาณไฟฟ้าจากแหล่งกำเนิดเสียงเดินทางผ่านขดลวด และพื้นผิวของไดอะแฟรมจะเกิดการสั่นตามความถี่ของสัญญาณไฟฟ้าจนเกิดเป็นเสียง Multimedia Technology

  13. ลำโพงชนิดเสียงทุ้ม (Woofer) กับลำโพงชนิดเสียงแหลม (Tweeter) เสียงที่ออกจากลำโพงสามารถแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ 1)ระดับเสียงทุ้ม (Woofer) เป็นเสียงที่มีความถี่ต่ำประมาณ 20 ถึง 400 เฮิรตซ์ หรือเรียกว่า “เสียงเบส (Bass) โดยจะมีกรวยที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 5 ถึง 18 นิ้ว ลำโพงชนิดนี้จึงมีขนาดใหญ่ 2) ระดับเสียงแหลม (Tweeter) เป็นเสียงที่มีความถี่สูงอยู่ในช่วงระหว่าง 4 ถึง 20 กิโลเฮิรตซ์ ความถี่สูงสุดของเสียง เรียกว่า “ระดับเสียงสูงสุด” (Treble) ซึ่งจะใช้กรวยที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 นิ้ว หรือน้อยกว่า ลำโพงชนิดนี้จึงมีขนาดเล็ก Multimedia Technology

  14. อุปกรณ์ผสมสัญญาณเสียง (Audio Mixer) • อุปกรณ์ผสมสัญญาณเสียง (Audio Mixer) เป็นเครื่องมือสำหรับบันทึก และแก้ไขเสียงในแต่ละแทร็กได้อย่างอิสระ เช่น สามารถควบคุมระดับความดังของเสียง (Volumn) จังหวะ (Tempon) และระงับเสียง (Mute) ซึ่งจะแก้ไขและจัดการแทร็กเสียงต่างๆ จะไม่ส่งผลกระทบต่อแทร็กอื่นๆ นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มแอฟเฟ็กต์เสียงแบบพิเศษ เช่น เสียงคอรัส เสียงเอคโค หรือเสียงจากอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ จากนั้นแทร็กเหล่านี้จะถูกผสมผสานลงในช่องสัญญาณ Multimedia Technology

  15. ประเภทของเสียง • เสียงสามารถเป็น 2 ประเภท คือเสียงแบบมิดี้ และเสียงแบบดิจิตอล • มิดี้ ( MIDI) คือ เสียงที่แทนเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ซึ่งได้รับการพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 สำหรับใช้กับเครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์สร้างเสียงตามเครื่องเล่นเปียโน เป็นต้น • เสียงแบบดิจิตอล (Digital Audio) คือ สัญญาณเสียงที่ส่งมาจากไมโครโฟน เครื่องเล่นเทป หรือจากแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆ ทั้งจากธรรมชาติ และที่สร้างขึ้นเอง แล้วนำข้อมูลที่ได้แปลงเป็นสัญญาณดิจิตอล Multimedia Technology

  16. มิดี้( MIDI : Musical Instrument Digital Interface) • ทางนักดนตรี มิดี้ หมายถึง โน๊ตเพลงที่มีรุปแบบเป็นสัญลักษณ์หรือตัวเลขที่บอกให้รู้ว่าเล่นโน๊ตตัวใดด้วยระยะเวลาเท่าไรเพื่อให้เกิดเป็นเสียงดนตรี ดนตรีแบบมิดี้ไม่เหมือนเสียงดนตรีจากเครื่องดนตรีจริงๆ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องสร้างและปรับแต่งเสียงมิดี้ให้มีความไพเราะมากยิ่งขึ้น โดยไมโครซอฟต์ได้กำหนดมาตรฐานของเสียงแบบมิดี้ขึ้นมา เรียกว่า GM (General MIDI Standard) ซึ่งใช้กำหนดรูปแบบของการสร้างข้อมูลเสียงแบบ MIDI เพื่อให้การเล่นเสียง (Playback) บนอุปกรณ์ต่างๆ เป็นมาตรฐานเดียวกัน • ข้อดีของมิดี้ คือ ไฟล์ข้อมูลมีขนาดเล็ก การสร้างข้อมูลมิดี้ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องดนตรีจริงๆ ใช้หน่วยความจำน้อยทำให้ประหยัดพื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ เหมาะสำหรับใช้งานบนระบบเครือข่าย และง่ายต่อการแก้ไขและปรับปรุง ส่วนข้อเสีย คือ แสดงผลได้เฉพาะดนตรีบรรเลงและเสียงที่เกิดจากโน๊ตดนตรีเท่านั้น Multimedia Technology

  17. สัญญาณอนาล็อก (Analog Signal)และสัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) • สัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) หมายถึง สัญญาณที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือการเคลื่อนที่ของ ข้อมูลแบบต่อเนื่อง โดยสัญญาณจะมีขนาดไม่คงที่ มีการเปลี่ยนแปลงขนาดของ สัญญาณแบบค่อยเป็นค่อยไป และจะมีลักษณะเป็นเส้นโค้งต่อเนื่องกันไป จึงทำให้มีผลต่อการส่งสัญญาณอนาล็อกส่วนใหญ่ถูกรบกวนได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นจากสิ่งแวดล้อมภายนอก หรือจากตัวของระบบอุปกรณ์เอง เพราะสัญญาณที่ส่งออกไปนั้นจะเป็นสัญญาณจริง และเมื่อถูกรบกวนก็อาจ จะทำให้คลื่นสัญญาณมีการเปลี่ยนไป จึงทำให้ผู้รับหรือปลายทางนั้นมีการแปลความหมายผิดพลาดได้ เช่น สัญญาณเสียง เป็นต้น • สัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) หมายถึง สัญญาณที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง ที่มีขนาดแน่นอนซึ่งขนาดดังกล่าวอาจกระโดดไปมาระหว่างค่าสองค่า คือ สัญญาณ ระดับสูงสุดและสัญญาณระดับต่ำสุด ซึ่งสัญญาณดิจิตอลนี้เป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการทำงานและ ติดต่อสื่อสารกัน หรือกล่าวได้ว่าสัญญาณดิจิตอลก็คือการที่เรานำเอาสัญญาณ Analog (อนาล็อก) มา แปลงให้อยู่ในรูปแบบของตัวเลข (0,1) โดยการแปลงสัญญาณนี้ต้องอาศัยวงจรประเภทหนึ่งที่เรียกว่า A To D (A/D) หรือ Analog To Digital converter และเมื่อได้เป็นสัญญาณ Digital ออกมาแล้ว จึงทำการส่งข้อมูลไปยัง ผู้รับหรือปลายทาง ทางฝั่งผู้รับหรือปลายทางจะต้องมีตัวแปลงสัญญาณจาก Digital ให้กลับเป็น Analog อีกครั้ง โดยผ่านตัวแปลง คือ D To A (D/A) หรือ Digital To Analog converter • ที่มา : http://www.baichasong.com/board/view/32 Multimedia Technology

  18. เสียงแบบดิจิตอล (Digital Audio) • เสียงที่มาจากไมโครโฟน เครื่องสังเคราะห์เสียง เครื่องเล่นเทป เสียงต่างจากธรรมชาติ หรือที่สร้างขึ้นนำข้อมูลที่ได้มาแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอล • ข้อมูลจะถูกสุ่มมาในรูปแบบ Bit หรือ Byte เรียกอัตราการสุ่มว่า “SamplingRate” และข้อมูลที่ได้เรียกว่า “Sampling Size” • เสียงแบบนี้มีขนาดข้อมูลใหญ่ ใช้ทรัพยากรมากกว่า Multimedia Technology

  19. ข้อมูลจะถูกสุ่มให้อยู่ในรูปแบบของบิตข้อมูล โดยเรียกอัตราการสุ่มข้อมูลที่ได้มาว่า “Sampling Rate” และขนาดของข้อมูลที่ได้เรียกว่า “Sampling Size” ซึ่งเป็นตัวกำหนดคุณภาพของเสียงดิจิตอล เสียงแบบดิจิตอลจะมีขนาดข้อมูลใหญ่ ทำให้ต้องใช้หน่วยความจำและทรัพยากรในการประมวลผลมากกว่ามิดี้ แต่จะแสดงเสียงได้หลากหลายและเป็นธรรมชาติมากกว่า • การเข้ารหัสเสียงลงบน CD เพลงทั่วไปให้มีคุณภาพสูงจะต้องได้มาตรฐาน ISO 10149 กำหนด Sampling Rate ไว้ที่ 44.1 KHz และ Sampling Size ที่ 16 บิต • โดยทั่วไปเสียงแบบดิจิตอลจะอยู่ในช่วงความถี่ 44.1 kHz, 22.05 kHz และ 11.025 kHz ซึ่งมีขนาดการสุ่มสัญญาณ (Sampling Size) เป็น 8 และ 16 บิต Multimedia Technology

  20. อัตราการสุ่มมีหน่วยเป็นเฮิร์ซ และขนาดข้อมูลมีหน่วยเป็นบิต Multimedia Technology

  21. คุณภาพของสัญญาณดิจิตอลจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้ • อัตราการสุ่ม(Bit Rate) และขนาดข้อมูล (File Size) การเพิ่มอัตราการสุ่มและความละเอียดในการสุ่ม จะทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่ขึ้นและต้องการพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลมากขึ้น รวมถึงต้องการหน่วยประมวลผลที่มีประสิทธิภาพสูงด้วย ตัวอย่างเช่น ไฟล์เพลงที่มีอัตราการสุ่ม 22.05 กิโลเฮิรตซ์ และมีความละเอียดอยู่ที่ 16 บิตในโหมดสเตอริโอ ถ้าเสียงมีความยาว 30 วินาที สามารถคำนวณพื้นที่สำหรับจัดเก็บได้ดังนี้ อัตราการสุ่ม * เวลา (วินาที) * ขนาดข้อมูล /8 * 2 = 22,050 samples/sec)*(30 sec)*( 16 bit/sample)*( 2 channels)= 21,168,000 บิต ถ้าแปลงเป็นไบต์จะได้ (21,168,000/8) = 2,646,000 ไบต์ ซึ่งเท่ากับ ( 2,646,000/1,024) = 2,584 กิโลไบต์ Multimedia Technology

  22. เช่น บันทึกเสียงแบบ Mono นาน 10 s ที่ Sampling Rate 22.05 KHz,Sampling Size 8 bit จะคำนวนได้ดังนี้ Mono = 22050*10*8/8*1=220,500 byte Stereo = 22050*10*16/8*2=1,764,000 byte Multimedia Technology

  23. File Size & Quality • ยิ่ง Sampling Rate สูงความถูกต้องของเสียงที่บันทึกก็จะสูงตาม • คุณภาพเสียงดีเท่าไหร่ๆไฟล์ก็ใหญ่ไปด้วย • เสียงแบบ Stereo ทำให้เสียงดูสมจริงมากขึ้น • ส่วนเสียงแบบ Mono ทำให้เสียงสูญเสียความสมจริง แต่ขนาดไฟล์แตกต่างกัน แม้ใช้ระยะเวลาเท่ากัน Multimedia Technology

  24. อุปกรณ์สำหรับควบคุมและบันทึกเสียงอุปกรณ์สำหรับควบคุมและบันทึกเสียง • การ์ดเสียง (Sound Card) เป็นอุปกรณ์ควบคุมเสียงที่สามารถเพิ่มลงในสล็อตPCI หรือ PCI Express บนเมนบอร์ดของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะเชื่อมต่อและทำงานร่วมกับอุปกรณ์ต่างๆ บนคอมพิวเตอร์ เช่น ซีพียู และลำโพง แต่ในปัจจุบันได้มีการผลิตการ์ดเสียงที่ใช้เชื่อมต่อจากภายนอกผ่านพอร์ตต่างๆ ได้ เช่น พอร์ต USB หรือ PCMCIA เป็นต้น Multimedia Technology

  25. องค์ประกอบพื้นฐานที่อยู่ภายในการ์ดเสียง • หน่วยความจำ (Memory Bank) เป็นหน่วยความจำหรือบัฟเฟอร์สำหรับจัดเก็บข้อมูลของการ์ดเสียงในระหว่างกระบวนการแปลงข้อมูลเสียงให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอล และกระบวนการเล่นไฟล์เสียง • ตัวประมวลผลสัญญาณดิจิตอล (DSP : Digital Signal Processor) การ์ดเสียงจะมีตัวประมวลผลสัญญาณดิจิตอล หรือ DSP ทำหน้าที่ควบคุมสัญญาณเสียงดิจิตอลด้วยไมโครโปรเซสเซอร์ที่ถูกออกแบบมาให้ทำงานเฉพาะด้าน ซึ่งช่วยทำให้เสียงมีคุณภาพดีขึ้น • ตัวแปลงสัญญาณจากดิจิตอลเป็นอนาล็อก (DAC : Digital to Analog Converter) และตัวแปลสัญญาณจากอนาล็อกเป็นดิจิตอล (ADC : Analog to Digital Converter) • เวฟเทเบิล (WaveTable) เป็นตารางรวมคลื่นเสียงที่บันทึกมาจากเสียงจริง Multimedia Technology

  26. พอร์ตอินพุต และพอร์ตเอาต์พุตของเสียง (Input and Output Port) • I/P Port 1 หรือ MICเป็นพอร์ตที่เชื่อมต่อระหว่างไมโครโฟนกับการ์ดเสียง ทำหน้าที่รับข้อมูลเสียงจากไมโครโฟนไปยังการ์ดเสียง • I/P Port 2 หรือ Line Inเป็นพอร์ตสำหรับรับข้อมูลเสียงจากเครื่องเล่นซีดีที่อยู่ภายนอก เพื่อจัดเก็บ หรือเล่นไฟล์เสียง • O/P Port 1 หรือ Speakerเป็นพอร์ตสำหรับเชื่อมต่อกับลำโพงสำหรับเล่นไฟล์เสียง • O/P Port 2 หรือ Line Outเป็นพอร์ตสำหรับเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์จัดเก็บเสียงที่อยู่ภายนอก เช่น เครื่องเล่นเทป หรือเครื่องเครื่องขยายเสียง เป็นต้น • พอร์ตมิดี้ เป็นพอร์ตสำหรับเชื่อมต่อกับเครื่องสังเคราะห์เสียงที่อยู่ภายนอก เพลงแบบมิดี้นี้สามารถปรับแต่งด้วยซอฟต์แวร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์และส่งข้อมูลเสียงให้กับเครื่องสังเคราะห์เสียงที่อยู่ภายนอกเพื่อเล่นเพลงได้ Multimedia Technology

  27. Multimedia Technology

  28. การประมวลผลไฟล์เสียง (Processing Audio File) • Wave Fileเป็นไฟล์ของคลื่นเสียงในรูปแบบอนาล็อก โดยการ์ดเสียงจะได้รับเสียงในรูปแบบสัญญาณอนาล็อกจากไมโครโฟน หรือเครื่องเล่นซีดี และส่งไปยังตัวแปลงสัญญาณแบบ ADC เพื่อแปลงสัญญาณอนาล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตอล และส่งข้อมูลในรูปแบบไบนารี่ไปเก็บที่บัฟเฟอร์ จากนั้นจะส่งไปยังตัวประมวลผลสัญญาณดิจิตอล และบีบอัดไฟล์ข้อมูลให้มีขนาดเล็กลง เพื่อส่งข้อมูลไปยังหน่วยประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ในกรณีที่ต้องการเล่นไฟล์เสียง ซีพียูจะดึงไฟล์ข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ แล้วส่งต่อไปยังตัวประมวลผลสัญญาณดิจิตอลเพื่อเล่นไฟล์เสียงโดยจะขยายข้อมูลเสียง และส่งไปที่ DAC ซึ่งจะแปลงข้อมูลดิจิตอลเป็นสัญญาณอนาล็อกผ่านเครื่องขยายเสียงไปยังลำโพง Multimedia Technology

  29. MIDI File เป็นไฟล์ที่ต้องใช้ชิปสำหรับสังเคราะห์เสียงแบบมิดี้ หรือ Synthesizer Chip โดยจะเขียนรายละเอียดเกี่ยวกับไฟล์ MIDI ไว้บนฮาร์ดดิสก์ในรูปแบบเท็กซ์ไฟล์ ซึ่งจะแสดงข้อมูลว่าใช้เครื่องดนตรีอะไรในการเล่น และเล่นอย่างไร โดยข้อมูลของไฟล์เสียงจะถูกส่งจากซีพียูไปยังตัวประมวลผลสัญญาณดิจิตอล แล้วชิปสำหรับสังเคราะห์เสียงจะสุ่มสัญญาณเสียง และเลือกข้อมูลการสุ่มที่เหมาะสม เพื่อกำหนดความดังและระดับเสียง เสียงที่ถูกสังเคราะห์จะส่งไปที่ DAC เพื่อแปลงให้อยู่ในรูปแบบสัญญาณอนาล็อก และส่งผ่านพอร์ตเอาต์พุตไปยังลำโพง Multimedia Technology

  30. อุปกรณ์ถ่ายทอดสัญญาณเสียง (Audio Transmission) • เป็นคอนเน็คเตอร์สำหรับการเชื่อมต่อที่ใช้ทั่วไป มีทั้งขนาด 2.5 มิลลิเมตร 3.5 มิลลิเมตร และ 6.5 มิลลิเมตร ในอดีตจะใช้ตัวเชื่อมต่อขนาด 6.5 มิลลิเมตร เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเสียงทางโทรศัพท์ ส่วนตัวเชื่อมต่อขนาด 3.5 มิลลิเมตร และ 2.5 มิลลิเมตรเป็นตัวเชื่อมต่อขนาดเล็ก ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อใช้ถ่ายทอดเอาต์พุตของสัญญาณเสียงจากวิทยุแบบทรานซิลเตอร์ ทั้ง 3 ขนาดสามารถทำงานได้ทั้งในระบบเสียงแบบโมโนและระบบเสียงสเตริโอ Multimedia Technology

  31. RCA Jack • ตัวเชื่อมต่อแบบ RCA เป็นตัวเชื่อมต่อสำหรับถ่ายทอดสัญญาณเสียงและวีดีโอจากอุปกรณ์ที่ใช้ภายในบ้าน พัฒนาโดย Radio Corporation of America (RCA) หัวเชื่อมต่อหรือปลั๊กตัวผู้ (Plug) ประกอบด้วยวงแหวนที่เป็นโลหะอยู่ส่วนกลางของปลั๊กและมีพลาสติกขนาดเล็ก ซึ่งมีสีเป็นตัวกำหนดประเภทสัญญาณ เช่น สีเหลืองสำหรับวีดีโอ สีแดงสำหรับช่องสัญญาณเสียงด้านขวา และสีขาวสำหรับช่องสัญญาณเสียงด้านซ้าย ส่วนตัวเชื่อมต่อหรือปลั๊กตัวเมีย (Socket) ประกอบด้วยวงแหวนโลหะที่เป็นรูอยู่ตรงกลางมีเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่าปลั๊กตัวผู้เล็กน้อย Multimedia Technology

  32. XLR Audio Connector • ตัวเชื่อมแบบ XLR ได้รับการพัฒนาโดย Canon มีหลายรูปแบบ โดยรุ่น XLR3 ประกอบด้วย 3 ขา สำหรับไมโครโฟนที่มีคุณภาพสูง ซึ่งขาที่ 1 จะเป็น Ground ส่วนขาที่ 2 และ 3 จะเป็นขั้วไฟฟ้า นอกจากนี้ยังมีคอนเน็คเตอร์ตัวผู้แบบ XLR3M ที่ใช้สำหรับส่งสัญญาณเอาต์พุต และคอนเน็คเตอร์ตัวเมียแบบ XLR3F ที่ใช้สำหรับรับสัญญาณอินพุต ส่วนรุ่น XLR5 ซึ่งขาที่ 5 ขาใช้สำหรับควบคุมอุปกรณ์ที่ส่งสัญญาณด้วยแสง Multimedia Technology

  33. อุปกรณ์บันทึกเสียง (Audio Recording Device ) • Compact Disc Digital Audio Systemซีดี (CD: Compact Disc) หรือออดิโอซีดร(Audio-CD) ได้รับการพัฒนาโดย Philip และ Sony ซึ่งเป็นออปติคอลดิสก์ ใช้สำหรับจักเก็บดิจิตอล (เช่น ไฟล์เสียงดิจิตอล เป็นต้น) โดยมีอัตราการสุ่มเสียงดิจิตอลที่ 44.1 กิโลเฮิรตซ์ ด้วยขนาด 16 บิต ขนาดของแผ่นดิสก์จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ที่ 120 มิลลิเมตร และสามารถบันทึกเสียงได้ถึง 74 นาที • Digital Audio Tape (DAT) • MiniDisc (MD)เป็นอุปกรณ์ที่สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ทุกชนิดด้วยการบันทึกในรูปแบบ Magnetic Optical ซึ่งสามารถบันทึกข้อมูลซ้ำได้ถึง 1 ล้านครั้ง และบันทึกได้นานถึง 60-80 นาที Multimedia Technology

  34. การประมวลผลไฟล์เสียง (Processing Sound) • การประมวลผลไฟล์เสียง (Processing Sound) คือกระบวนการต่างๆ ตั้งแต่การนำไฟล์เสียงเข้าสู่โปรแกรมสำหรับสร้างหรือแก้ไขไฟล์เสียงโดยเฉพาะ เช่น โปรแกรม MidiNotate, Adobe Auditionเป็นต้น จากนั้นจะปรับแต่ง แก้ไข หรือเพิ่มเติมตัวโน้ตต่างๆ เข้าไปตามความต้องการ แล้วทำการทดสอบเสียงที่ได้ และนำไฟล์เสียงไปใช้งานต่อไปปัจจุบันโปรแกรมเกี่ยวกับการบันทึกเสียงและโปรแกรมที่ช่วยในการทำงานกับเสียงจะมีขีดความสามารถในการทำงานสูงมากขึ้น Multimedia Technology

  35. การบันทึกหรือนำเข้าข้อมูลเสียงการบันทึกหรือนำเข้าข้อมูลเสียง • การบักทึกเสียงเป็นการนำเสียงที่ได้จากการพูด การเล่นเครื่องดนตรี หรือเสียงจากแหล่งต่างๆ เช่น เสียงน้ำตก ฟ้าร้อง หรือเสียงสัตว์ มาทำการจัดเก็บลงในหน่วยความจำ เพื่อนำไปใช้งานตามต้องการ ตัวอย่างเช่น การบันทึกเสียงบรรยายของนักพากย์ เพื่อใช้ในการเพิ่มเสียงลงในภาพยนตร์การ์ตูน เป็นต้น • สิ่งสำคัญก่อนบันทึกเสียง คือ จะต้องทำการเลือก Sampling Rate เพื่อให้ได้เสียงที่ต้องการและใกล้เคียงกับเสียงจริง โดยจะต้องพิจารณาถึงขนาดของไฟล์ (File Size) และขนาดของช่องสัญญาณที่ใช้รับส่งไฟล์เสียงด้วย ถ้าค่า Sampling Rate มาก จะใช้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลมากขึ้นตามไปด้วย Multimedia Technology

  36. การแก้ไขและการเพิ่มเทคนิคพิเศษการแก้ไขและการเพิ่มเทคนิคพิเศษ • การแก้ไขไฟล์เสียง (Sound Editing) คือ การตัดต่อ และปรับแต่งเสียง โดยสิ่งสำคัญในการแก้ไขเสียง คือ การจัดสรรเวลาของการแสดงผลให้สัมพันธ์กับองค์ประกอบต่างๆ ที่ใช้งานร่วมกับเสียง เช่น การตัดเสียงสำหรับนำมาใช้ในการนำเสนอไฟล์วีดีโอ ผู้ตัดต่อจะต้องแสดงภาพของวีดีโอให้สัมพันธ์กับเสียง เป็นต้น ในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์สำหรับแก้ไข ปรับแต่งหรือเพิ่มเทคนิคพิเศษให้มัลติมีเดีย (เสียง ภาพ และวีดีโอ เป็นต้น)มีความสมบูรณ์ และน่าสนใจมากยิ่งขึ้นเป็นจำนวนมาก Multimedia Technology

  37. รูปแบบการบีบอัดไฟล์เสียงรูปแบบการบีบอัดไฟล์เสียง • Lossless Compression เป็นไฟล์เสียงที่รักษาข้อมูลไว้อย่างครบถ้วน ไม่มีการสูญหายของข้อมูล ไฟล์ชนิดนี้จะมีขนาดใหญ่ แต่คุณภาพเสียงดี • LossyCompression วิธีนี้จะตัดข้อมูลเสียงบางส่วนออกไป ทำให้รายละเอียดบางส่วนหายไป แต่ไฟล์จะมีขนาดเล็ก โดยไฟล์เสียงแต่ละชนิดจะมีรายละเอียด Multimedia Technology

  38. รูปแบบไฟล์เสียง • WAV (Waveform Audio) บริษัท Microsoft และ IBM ได้ร่วมกันพัฒนาไฟล์เสียง WAV ที่สนับสนุนการใช้งานบนแพล็ตฟอร์มของ Windows และ Mas OS รวมทั้งสามารถนำนำไปใช้งานบนเวิลด์ไวด์เว็บ (WWW) ได้ด้วย โดยไฟล์ WAV จะไม่มีการบีบอัดข้อมูล (Lossless Compression) ทำให้เสียงมีคุณภาพสูง แต่ไฟล์มีขนาดใหญ่ นิยมนำมาแปลงเป็นไฟล์ MP3 เพื่อทำให้มีขนาดเล็กลง Multimedia Technology

  39. AIFF (Audio Interchange File Format) Audio Interchange File Format (AIFF) เป็นรูปแบบไฟล์มาตรฐานที่ใช้สำหรับจัดเก็บข้อมูลเสียงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของ Apple Macintosh ไฟล์ AIFF จะไม่มีการบีบอัดข้อมูล (Losless Compression) ทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่แต่คุณภาพเสียงดี โดยสามารถบันทึกเสียงได้ที่ความละเอียดตั้งแต่ 8 bit/22 กิโลเฮิรตซ์ ถึง 24 bit/96 กิโลเฮิรตซ์ ทั้งแบบโมโนและสตอริโอ Multimedia Technology

  40. MID (MIDI) • ไฟล์มิดี้เป็นไฟล์เสียงที่ถูกสร้างจากชิปสังเคราะห์เสียงดิจิตอล (Synthesizer Chip) โดยเสียงที่ได้จเหมือนกับเสียงจากเครื่องดนตรี ไฟล์เสียงมิดี้จะมีขนาดเล็ก เหมาะสำหรับใช้งานบนเว็บแอปพลิเคชันและใช้งานได้ทั้งแพล็ตฟอร์มของ Mac OS และ Windows ไฟล์ข้อมูลแบบมิดี้จะมีนามสกุล .MID (MusicsllnstrumentDigitallnterface) Multimedia Technology

  41. MP3 (MPEG Layer III) • ไฟล์ MP3 เป็นไฟล์เสียงที่พัฒนามาจากมาตรฐานของ MPEG (Motion Picture Experts Group) สำหรับใช้งานกับเครื่องเล่นที่มีความสามารถรองรับไฟล์ MP3 ได้รวมถึงนำมาใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไฟล์ประเภทนี้มีการบีบอัดข้อมูล 3 ระดับ แต่ไฟล์มีคุณภาพเสียงที่ดีแม้ว่าจะมีขนาดเล็ก เนื่องจากใช้วิธีบีบอัดข้อมูลที่มีประสิทธิภาพทำให้ไฟล์เสียงมีคุณภาพสูงเทียบเท่ากับคุณภาพเสียงบนซีดี Multimedia Technology

  42. WMA (Window Media Audio) • ไฟล์ WMA เป็นไฟล์เสียงที่พัฒนาโดยไมโครซอฟต์ มีลักษณะคล้ายกับไฟล์ MP3 แต่จะมีขนาดไฟล์เล็กกว่า โดยไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น “.wma” สามารถเปิดกับโปรแกรม Window Media Player หรือ Winampได้ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาให้สามารถใช้งานกับระบบปฏิบัติการ Linux ได้อีกด้วย Multimedia Technology

  43. ออดิโอกับมัลติมีเดีย • เสียงพูด (Speech)เป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับการสื่อสารข้อมูลของมนุษย์ และเป็นสื่อกลางสำหรับถ่ายทอดข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ สามารถใช้สื่อความหมายแทนตัวอักษรจำนวนมากได้ เสียงพูดแบ่งออกเป็น 2 ชนิด • 1. เสียงพูดแบบดิจิตอล (Digitized) เป็นเสียงพูดที่บันทึกมาจากมนุษย์ จัดเป็นเสียงที่มีคุณภาพสูง และต้องการพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลมาก • 2. เสียงพูดแบบสังเคราะห์ (Synthesized) เป็นเสียงที่เกิดจากการสังเคราะห์ ซึ่งไม่สามารถแทนเสียงพูดของมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์ Multimedia Technology

  44. เสียงในมัลติมีเดีย • ช่วยให้เกิดบรรยากาศที่น่าสนใจในการรับรู้ทางหู โดยอาศัยจะนำเสนอในรูปของ • เสียงประกอบ • เพลงบรรเลง • เสียงพูด • เสียงบรรยาย หรือเสียงพากย์ เป็นต้น • ไฟล์เสียงมีหลายประเภท เช่น Midi ,Wav ,Mp3 Multimedia Technology

  45. เสียงเพลง (Music) • เสียงเพลง(Music) นับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสารของมนุษย์ เช่นเดียวกับเสียงพูด สามารถใช้เสียงเพลงเพื่อสื่อถึงอารมณ์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่ต้องการนำเสนอได้ ซึ่งช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับผู้ฟังได้ นอกจากนี้ยังสามารถนำมา ผสมผสานกับเสียงพูด เพื่ออธิบายข้อมูลบนหน้าจอได้ดีกว่าการใช้ตัวอักษรเพียงอย่างเดียว Multimedia Technology

  46. 1. เสียงเอฟเฟ็กต์ธรรมชาติ (Natural) เป็นเสียงที่เกิดจากแหล่งกำเนิดที่มีอยู่ตามธรรมชาติรอบ ๆ ตัวมนุษย์ เช่น เสียงนก น้ำตก หรือคลื่นในทะเล เป็นต้น • 2. เสียงเอฟเฟ็กต์สังเคราะห์ (Synthetic) เป็นเสียงที่เกิดจากการสังเคราะห์ด้วยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือสังเคราะห์จากมนุษย์ • เสียงเอฟเฟ็กต์ที่อยู่รอบๆ (Ambient Sound) เป็นเสียงแบ็คกราวด์ที่ใช้สำหรับสื่อสารข้อความ หรือ สภาพแวดล้อมของฉากนั้น ๆ ไปยังผู้ฟัง • เสียงเอฟเฟ็กต์พิเศษ (Special Sound) เป็นเสียงที่มีลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละอ็อบเจ็กต์ เช่น เสียงของโทรศัพท์ หรือเสียงเปิด/ปิดประตู เป็นต้น เสียงชนิดนี้ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเล่าเรื่องหรืออธิบายเนื้อหา Multimedia Technology

  47. หลักการใช้เสียงในมัลติมีเดียหลักการใช้เสียงในมัลติมีเดีย • เสียง ทำให้เข้าใจเนื้อหามากขึ้น ต้องมั่นใจว่าเมื่อใส่เสียงประกอบไปกับมัลติมีเดียจะทำให้มัลติมีเดียที่ออกแบบมีคุณภาพมากขึ้น • ตัดสินใจว่าจะใช้เสียงชนิดใดกับมัลติมีเดียที่ออกแบบ เช่น เพลง เสียงพิเศษประกอบการนำเสนอและเสียงพูด เป็นต้น ซึ่งต้องกำหนดตำแหน่งหรือเวลาในการแสดงเสียงให้เหมาะสมด้วย • ตัดสินใจว่าจะใช้เสียงแบบ MIDI หรือใช้เสียงแบบดิจิตอลที่ไหนและเมื่อไหร่ • พิจารณาว่าจะสร้างข้อมูลเสียงขึ้นมาเองหรือซื้อสำเร็จรูปมาใช้งาน จึงจะเหมาะสม • นำข้อมูลเสียงมาทำการปรับแต่งให้เหมาะสมกับมัลติมีเดียที่ออกแบบ แล้วนำมารวมเข้ากับมัลติมีเดียที่ทำการผลิต • ทดสอบการทำงานของเสียงให้มั่นใจว่า เสียงที่นำเสนอออกไปมีความสัมพันธ์กับภาพในมัลติมีเดียที่ผลิตขึ้น • การพิจารณาขนาดความเหมาะสมในการนำมาใช้งาน ทำได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้ Multimedia Technology

More Related