1 / 34

205512

205512. กระบวนการเฟ้นสุ่ม Stochastic Processes. ศิริวัฒน์ พูนวศิน. OUTLINE. Review of set theory Axiom of Probability. ทบทวนเรื่องเซต. เซตเป็นการรวมกลุ่มกันของสิ่งต่าง ๆ แต่ละสิ่งในเซตหนึ่ง ๆ จะถูกเรียกว่าสมาชิก (member) ของเซตนั้น

porter-cobb
Download Presentation

205512

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. 205512 กระบวนการเฟ้นสุ่ม Stochastic Processes ศิริวัฒน์ พูนวศิน

  2. OUTLINE • Review of set theory • Axiom of Probability

  3. ทบทวนเรื่องเซต • เซตเป็นการรวมกลุ่มกันของสิ่งต่าง ๆ แต่ละสิ่งในเซตหนึ่ง ๆ จะถูกเรียกว่าสมาชิก (member) ของเซตนั้น • เรามีสองวิธีที่จะบรรยายสมาชิกของเซตหนึ่ง ๆ นั่นคือวิธีการบรรยายโดยตรงโดยการเขียนสมาชิกทั้งหมดของเซตนั้นภายในระหว่างเครื่องหมายปีกกา {} และวิธีการบรรยายโดยบอกคุณลักษณะเฉพาะของสมาชิกของเซตนั้นทั้งหมดที่มีร่วมกัน • เช่น A = {1,2,3} หมายความว่าสมาชิกทั้งหมดของเซต A คือ 1,2, และ 3 • เช่น B = {x : x เป็นจำนวนจริงบวก} หมายความว่าสมาชิกทั้งหมดของเซต A คือ จำนวนจริงบวกทุกตัว • เช่น C = {1,2,3,…} หมายความว่าสมาชิกทั้งหมดของเซต C คือจำนวนเต็มบวกทุกตัว

  4. ทบทวนเรื่องเซต • เซตที่มีจำนวนสมาชิกจำกัดจะถูกเรียกว่า finite set ส่วนเซตที่มีจำนวนสมาชิกไม่จำกัดจะถูกเรียกว่า infinite set • เราแบ่ง infinite set เป็นสองประเภทคือ countable set ซึ่งคือเซตที่เราสามารถนับหรือแจกแจงสมาชิกได้ และ uncountable set ซึ่งคือเซตที่เราไม่สามารถนับหรือแจกแจงสมาชิกได้ • ตัวอย่างของ finite set คือ A = {1,2,3} • ตัวอย่างของ uncountable infinite set คือ B = {x : x เป็นจำนวนจริงบวก} • ตัวอย่างของ countable infinite set คือ C = {1,2,3,…} • เราใช้เครื่องหมาย  เพื่อแสดงถึงความเป็นสมาชิก เช่น 3 C หมายความว่า 3 เป็นสมาชิกของเซต C • เซตที่ไม่มีสมาชิกเลยจะเรียกว่า เซตว่าง “null set” มีสัญลักษณ์คือ 

  5. ทบทวนเรื่องเซต • กำหนดให้ A และ B เป็นเซตใด ๆ เราจะนิยาม A  B ว่าคือเซตที่มีสมาชิกทั้งหมดอยู่ใน A และ B โดยเครื่องหมาย  เรียกว่า “intersect” ยกตัวอย่างเช่นให้ A = {1,2,3,4} และ B = {3,4,5,6} จะได้ว่า C= A  B คือเซต {3,4} เนื่องจาก 3,4 นั้นเป็นสมาชิกของทั้งเซต A และ B • ดังนั้นเราอาจจะนิยาม intersection ได้คือ ถ้า A,B เป็นเซตใด ๆ A  B = {x : x  A และ x  B }

  6. ทบทวนเรื่องเซต • กำหนดให้ A และ B เป็นเซตใด ๆ เราจะนิยาม A  B ว่าคือเซตที่มีสมาชิกทั้งหมดอยู่ใน A หรือ B โดยเครื่องหมาย  เรียกว่า “union” ยกตัวอย่างเช่นให้ A = {1,2,3,4} และ B = {3,4,5,6} จะได้ว่า C= A  B คือเซต {1,2,3,4,5,6} เนื่องจาก 1,2,3,4,5,6 นั้นเป็นสมาชิกของเซต A หรือ B • ดังนั้นเราอาจจะนิยาม union ได้คือ ถ้า A,B เป็นเซตใด ๆ A  B = {x : x  A หรือ x  B }

  7. Unions & Intersections ทฤษฎีบท กำหนดให้ A,B,C เป็นเซตใด ๆ จะได้ว่า • A  A = A และ A  A = A • A  B = B  A และ AB = B  A • (A  B)  C = A (B  C) และ (A  B)  C = A (B  C) • A (B  C) = (A  B) (A  C) และ A (B  C) = (A  B) (A  C)

  8. Unions & Intersections • บางครั้งเราอาจจะสนใจลำดับของเซต ในกรณีนี้เราสามารถนิยาม unions และ intersections ได้ดังนี้ กำหนดให้ A1,A2,…,An,… เป็นลำดับของเซต (sequence of sets) เราจะได้ว่า

  9. Unions & Intersections • เช่น กำหนดให้ An = {1,1/2,1/3,…,1/n} จะได้ว่า

  10. Subsets • กำหนดให้ Aและ Bเป็นเซตใด ๆ เราจะเรียกABว่า Aเป็น subset ของ Bนั่นคือ ทุก ๆ สมาชิกของ Aเป็นสมาชิกของ B • ข้อสังเกตุ ABนั้นมีลักษณะเป็น “statement” นั่นคือ ถ้าไม่จริง (true) ก็เท็จ (false) แต่ AB และ ABนั้นเป็นเซต • ข้อสังเกตุ AB A เนื่องจากทุก ๆ สมาชิกของเซต AB จะต้องเป็นสมาชิกของทั้ง Aและ Bดังนั้นมันต้องเป็นสมาชิกของ Aด้วย • ข้อสังเกตุ AB A เนื่องจากทุก ๆ สมาชิกของเซต Aจะต้องเป็นสมาชิกของทั้ง Aหรือ Bดังนั้นมันต้องเป็นสมาชิกของ ABด้วย • กำหนดให้ Aและ Bเป็นเซตใด ๆ เราจะเรียกว่า “A=B” เมื่อ AB และ BA

  11. Complements and Differences • กำหนดให้ เป็นเซตที่ประกอบด้วยสิ่งที่เราสนใจทั้งหมด และให้ A เป็นสับเซตใด ๆ ของ เราจะเรียกเซต Ac = {x: xแต่ xA}ว่าเป็น “complement” ของ A • กำหนดให้ Aและ B เป็นเซตใด ๆ เราจะเรียกเซต A\B = {x: xAแต่ xB} ว่าเป็น “difference between A and B” • ข้อสังเกตุA\B = A Bc

  12. Complements and Differences ทฤษฎีบทกำหนดให้ A,B,Cเป็นเซตใด ๆ 1. A \ (B  C) = (A\B)  (A\C) 2. A \ (B  C) = (A\B)  (A\C) ทฤษฎีบทเสริมกำหนดให้ B,Cเป็นสับเซตใด ๆ ของ 1. (B  C)c = B c C c 2. (B  C)c = B c C c

  13. DeMorgan’s Laws

  14. Disjoint Sets • เราจะเรียกเซต Aและ B ว่า “disjoint sets” ถ้า A  B= • ทฤษฎีบทกำหนดให้ A,Bเป็น Disjoint เซตและให้ Cเป็นเซตใด ๆเราจะได้ว่า A  Cจะ disjoint กับ B  C

  15. Partitions • เราจะเรียกเซต A1, A2,…,An ว่าเป็น “partition” ของเซต B เมื่อ • AiBสำหรับทุก i=1,2,…,n • Ai และ Ajนั้น disjoint กัน สำหรับทุก i j • ทฤษฎีบท กำหนดให้ A1, A2,…,An เป็น partition ของ B จะได้ว่า Ai B จะ disjoint กับ Ai B เมื่อ i jนอกจากนั้น เรายังจะได้ว่า

  16. limsup and liminf • กำหนดให้ A1,A2,… เป็นลำดับที่ไม่จำกัด (infinite sequence) ของเซตเรานิยามเทอมต่อไปนี้ว่าเป็น “limsup” และ “liminf” ของ A1,A2,… • ซึ่งตีความหมายได้ว่า   limsup Anถ้าสำหรับทุก ๆ n เราสามารถหาอย่างน้อยหนึ่ง k > n ได้ ที่ทำให้   Ak(infinitely many An’s) • ในทำนองเดียวกัน   liminf Anถ้ามี n อย่างน้อยหนึ่งตัวที่ทำให้  Akสำหรับทุก ๆ k > n (all but finitely many An’s)

  17. limsup and liminf • ข้อสังเกตุ • ทั้ง limsup Anและ liminf Anเป็นเซตเนื่องจากเกิดจากการ intersections และ unions ระหว่างเซต • liminf Anlimsup An เนื่องจากถ้า   liminf An จะได้ว่าเราสามารถหา n0ได้ที่เมื่อ k > n0 แล้วจะได้   Akดังนั้น สำหรับทุก ๆ ค่า nเรากำหนดให้ m = n + k0เราก็จะได้ว่า   Am ตามต้องการ นั่นคือ   limsup Anนั่นเอง

  18. ลิมิตของลำดับของเซต • สำหรับ A1,A2,… เมื่อ limsup An = liminf An เราจะเรียกว่า A1,A2,… มีลิมิต และเราจะนิยามลิมิต (“limit of sequence of sets”) ของ A1,A2,… นี้คือ • ทฤษฎีบท ลำดับ A1, A2,… ของเซตจะมีลิมิตเมื่อ • A1 A2A3 · · · ซึ่งในกรณีนี้จะได้ • A1  A2 A3· · · ซึ่งในกรณีนี้จะได้

  19. Axioms ของความน่าจะเป็น: Sample Space • สมมติว่ามีกระบวนการหนึ่งสามารถให้ผลลัพธ์ออกมาได้ เราจะเรียกกระบวนการนั้นว่า การทดลอง (experiment) • เราจะเรียกเซตที่ประกอบด้วยผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมดของการทดลองหนึ่งว่า sample space ของการทดลองนั้น • เช่น sample space ของตัวเลขจากการทดลองทอดลูกเต๋าหนึ่งลูก คือเซต ={1,2,3,4,5,6} • เช่น sample space ของคู่ลำดับผลลัพธ์ที่ได้จากการทดลองโยนเหรียญสองครั้งคือ ={ (หัว,หัว) , (หัว,ก้อย) , (ก้อย,หัว) , (ก้อย,ก้อย) } • เช่น sample space ของน้ำหนักของทารกแรกเกิดคือ ={x:x>0} • ข้อสังเกตุ sample space ต้องเป็นเซตที่อาจจะจำกัดหรือไม่ก็ได้

  20. Fields • กำหนดให้ เป็นเซตใด ๆ (ซึ่งในที่นี้แล้ว คือ sample spaceของการทดลองหนึ่ง) สมมติให้A เป็นเซตที่มีสมาชิกเป็นสับเซตของ ในกรณีนี้เราจะเรียกAว่าเป็น “field”ที่นิยามบน เมื่อทั้งสามข้อต่อไปนี้เป็นจริงพร้อมกัน • A • ถ้า A1, A2,…, AnAจะได้ว่า ด้วย • ถ้า AA จะได้ว่า AcA ด้วย • ข้อสังเกตุ (1)เป็นสมาชิกของทุก field (2)ถ้า A1, A2,…, AnAจะได้ว่า ด้วย (จาก DeMorgan’s Laws)

  21. Sigma-fields • กำหนดให้ เป็นเซตใด ๆ (ซึ่งในที่นี้แล้ว คือ sample spaceของการทดลองหนึ่ง) สมมติให้F เป็นเซตที่มีสมาชิกเป็นสับเซตของ ในกรณีนี้เราจะเรียกFว่าเป็น “-field”ที่นิยามบน เมื่อทั้งสองข้อต่อไปนี้เป็นจริงพร้อมกัน • Fเป็น field ที่นิยามบน  • ถ้า A1, A2,…, An,… Fจะได้ว่า ด้วย • ข้อสังเกตุ: ทุก ๆ-field จะต้องเป็น field แต่ทางกลับกันอาจจะไม่จริงเนื่องจาก field หนึ่ง ๆ อาจไม่มีคุณสมบัติข้อสองของ -field ก็ได้ • ข้อสังเกตุ:ถ้าA1, A2,…, An,… Fจะได้ว่า ด้วย (จาก DeMorgan’s Laws)

  22. ตัวอย่างของ fieldsและ -fields • กำหนดให้ Aเป็นสับเซตหนึ่ง (ที่ไม่ใช่เซตว่าง) ของ จะได้ว่าเซต {,,A,Ac} เป็น -field ที่เล็กที่สุดบน  ที่มี A เป็นสมาชิก • -field ที่ใหญ่ที่สุดที่นิยามบน ก็คือเซตที่ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสับเซตทั้งหมดของ  • กำหนดให้ = {1,2,3,…} จะได้ว่าเซต {A : A is finite or Ac is finite}เป็น field บน แต่ไม่เป็น -field บน  • กำหนดให้ = (0,1] จะได้ว่าเซต {,, (0,0.5],(0.5,1]}เป็น -field บน 

  23. Borel-field • กำหนดให้ Sเป็นเซตที่มีสมาชิกคือเซตใดๆ จำนวนหนึ่ง(เช่น S = {{0},{1,2}}) เราจะเรียก -field ที่เล็กที่สุดที่มีสมาชิกของ S เป็นสมาชิกว่า-field ที่ถูกสร้างโดย S(“-fieldgenerated by S”) โดยมีสัญลักษณ์คือ (S) โดยจากตัวอย่าง เราได้ (S) = {, {1,2}, {1},{2}} • “Borel field” (มีสัญลักษณ์คือ B(R)) คือ -field ที่เล็กที่สุดที่ถูกสร้างโดยเซตที่ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นช่วง (a,b] โดย a,b  Rหรืออีกนัยหนึ่งคือ B(R)= ((a,b]) เมื่อ a,b  R

  24. Borel-field • ข้อสังเกตุ: B(R) เป็นเซตที่ประกอบด้วยช่วงของจำนวนจริงทั้งหมดที่อยู่ในรูป (a,b] นอกจากนั้นแล้ว B(R) ยังประกอบด้วยช่วงทั้งหมดที่อยู่ในรูป (a,b), [a,b] เนื่องจากว่า • ยิ่งไปกว่านั้น B(R) ยังประกอบด้วย singleton เซต(เซตที่ประกอบด้วยจำนวนจริงเพียงแค่หนึ่งตัว) เนื่องจากว่า {a0} = [a0,b0] \ (a0,b0] • สุดท้าย B(R) ยังประกอบด้วยช่วงในรูป [a,b) เนื่องจากว่า [a,b)=[a,b]\{b} • ดังนั้นโดยสรุปแล้ว B(R) ประกอบด้วยเซตของจำนวนจริงในรูปต่าง ๆ ที่มนุษย์พอจะจินตนาการออกได้ (แต่ถึงกระนั้น B(R) ก็ยังเล็กกว่า power set ของ Rอยู่ดี เนื่องจากมีสับเซตบางตัวของ R อยู่เหนือจินตนาการมนุษย์)

  25. Probability Measures • กำหนดให้ เป็นเซตหนึ่ง (หรือ sample space) และให้ F เป็น -field หนึ่งบน “Probability measure” P บนเซต Fคือเซตฟังก์ชัน P: F  [0,1] ที่มีคุณสมบัติต่อไปนี้ 1. P() = 1 2. P(E)  0 เมื่อ EF 3. เมื่อใดก็ตามที่ EF, FFและ E disjoint กับ Fจะต้องได้ว่า P(EF) = P(E) + P(F) 4. เมื่อใดก็ตามที่ EiFโดย i=1,2,… และEi disjoint กับ Ej, i jจะต้อง ได้ว่า

  26. ตัวอย่างของ probability measures • กำหนดให้ = {H,T} โดยที่Fคือ power setของ นิยาม P ดังต่อไปนี้: P({H}) = P({T}) = 0.5 และ P({H,T}) = 1 เราจะได้ว่า P คือ probability measure หนึ่งที่นิยามบน Fเราสังเกตว่า 1 = P() = P( ) = P() + P() = 1 + P() ดังนั้น P()=0 โดยสมการที่สามเป็นจริงเนื่องจาก และนั้น disjoint กัน • หลาย ๆ ครั้งที่ปัญหาในเชิงความน่าจะเป็นที่เราต้องการวิเคราะห์นั้นไม่ได้กำหนด และFมาให้ ในกรณีนี้เราจะต้องคิดให้ได้ว่าผลลัพธ์อะไรจากการทดลองเป็นสิ่งที่เราสนใจ เสร็จแล้วเราก็จะต้องทำการหา และFและทำการนิยาม probability measure ที่เราเห็นว่าสมควร โดยทั้งนี้ต้องสอดคล้องกับเงื่อนไขทั้งสี่ของ probability measure ด้วย จากนั้นเราใช้ probability measure ที่นิยามมาเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหานี้

  27. ตัวอย่างของ probability measures • ทำการทดลองโยนเหรียญที่มีความเที่ยงตรง 3 ครั้ง เราต้องการทราบว่าเหตุการณ์ที่เราจะได้หัวทั้งสามครั้งนั้นจะมีความน่าจะเป็นเท่าใด • ในกรณีนี้ เราสนใจผลลัพธ์ของการโยนเหรียญเที่ยงตรงสามครั้ง ดังนั้น sample space ก็น่าจะเป็นเซตที่ประกอบด้วยผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมดจากการโยนเหรียญสามครั้งนี้ นั่นคือ ={HHH, HHT, HTH, …, TTT} • ในที่นี้เราต้องการหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ {HHH} นั่นคือเราต้องการหา P({HHH}) ดังนั้นจะเห็นได้ว่า {HHH} จะต้องอยู่ในFปัญหาคือเราจะนิยาม Fอย่างไรให้สอดคล้องกับปัญหาที่เราสนใจ

  28. ตัวอย่างของ probability measures • ลองครั้งแรก: นิยามให้F1={,,{HHH},{HHT,HTH,…,TTT}}ซึ่งก็สอดคล้องกับเงื่อนไขของ  -field แต่ปัญหาของ F1คือเราไม่รู้ว่า P({HHT,HTH,…,TTT}) ควรจะมีค่าเท่าใด • ดังนั้นเราจะกลับมายังคำถามที่ว่าเราจะมีวิธีการให้ค่า probability measure แก่แต่ละเหตุการณ์อย่างไรที่เราเห็นว่าเหมาะสมที่สุด (สังเกตว่า นิยามของ probability measure นั้นไม่ได้บอกว่าเราควรจะให้ค่าแก่แต่ละเหตุการณ์อย่างไร ซึ่งการนี้ควรจะขึ้นอยู่กับเนื้อหาของการทดลอง) • จากเนื้อหาของการทดลองในตัวอย่าง จะเห็นได้ว่าเป็นการทดลองกับเหรียญที่เที่ยงตรง ดังนั้นถ้าเราตีความว่า probability measure คือโอกาสที่เหตุการณ์หนึ่งจะเกิดขึ้น มันก็น่าจะเหมาะสมถ้าทุก ๆ สมาชิกใน นั้นมีโอกาสเกิดเท่ากัน

  29. ตัวอย่างของ probability measures • ดังนั้น Fก็ควรจะเป็น sigma-field ที่ถูกสร้างจากทุก ๆ สมาชิกของ นั่นคือในที่นี้ เราจะนิยาม Fให้เป็น power set ของ  • คราวนี้เนื่องจากว่าทุก ๆ ผลลัพธ์ใน ควรจะมีความน่าจะเป็นเท่ากัน เราก็จะได้ P(Ei) = P(Ej) สำหรับทุก ๆ Ei, Ejที่อยู่ในแต่เนื่องจากว่า P() = P({HHH,HHT,…,TTT}) = P({HHH})+P({HHT})++P({TTT}) =8P({HHH})=1 ดังนั้นเราจะได้ว่า P({HHH}) = P({HHT}) =  = P({TTT}) = 1/8 • ดังนั้นคำตอบที่เราต้องการคือ 1/8 เนื่องจากว่า disjoint กัน

  30. Probability Measures for Discrete Spaces • ถ้า sample space เป็นแบบเซตแบบ discrete ค่าของ probability measure ที่เหมาะสมโดยส่วนมากก็จะถูกกำหนดโดยผลลัพธ์แต่ละตัวใน sample space ดังนั้น ในกรณี discrete sample space แล้ว ส่วนใหญ่เราก็จะให้ sigma-field คือ power set ของ sample space จากการทดลองนั่นเอง • อย่างไรก็ตาม วิธีการดังกล่าวโดยส่วนมากแล้วจะไม่สามารถใช้ได้ถ้า sample space เป็นเซตแบบนับไม่ได้ (เช่น sample space ที่เกิดมาจากการทดลองวัดส่วนสูงของคน ๆ หนึ่ง ซึ่งในที่นี้คือจำนวนจริงบวกซึ้งนับไม่ได้) เนื่องจากว่า ความน่าจะเป็นของผลลัพธ์ค่าหนึ่งใน sample space นั้นมีค่าเป็นศูนย์ (จะมีใครในโลกที่มีส่วนสูงเท่ากับ 1.5 เมตรพอดี?) ดังนั้นเราจะไม่สามารถหา probability measure ที่สอดคล้องกับเงื่อนไขทั้งสี่ได้ถ้าเราใช้ sigma-field ดังกล่าว

  31. Probability Measures for Continuous Spaces • ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าเมื่อ sample space เป็นแบบ continuous (นั่นคือ uncountable) เราจะไม่นิยาม probability measure บน sigma-field ที่เป็น power set ของ sample space ดังกล่าว เนื่องจากเหตุผลในทางปฏิบัติดังกล่าว • ในกรณีพิเศษที่ sample space เป็นสับเซตของจำนวนจริง ซึ่งเราทราบมาอย่างดีว่าเป็น uncountable เซต (นั่นคือ continuous) เราสามารถที่จะนิยาม probability measure บน sigma-field ที่เป็น Borel sigma-field ที่สร้างมาจากช่วงในรูป (a,b] โดย a และ b อยู่ในสับเซตนั้น • ถ้ายังจำได้ว่า Borel sigma-field ดังกล่าวประกอบด้วยช่วงทุกรูปแบบรวมถึง singleton เซต ดังนั้นแต่ละสมาชิกของ sigma-field นี้ก็จะครอบคลุมถึงสถานการณ์ในทางปฏิบัติที่เราสามารถจะจินตนาการได้ ดังนั้นจึงนับเป็นเซตที่ใหญ่พอแล้วสำหรับที่จะนิยาม probability measure

  32. คุณสมบัติพื้นฐานของ probability measures • กำหนดให้ เป็น sample space และ Fเป็น sigma-field บน สมมติให้ P เป็น probability measure ที่นิยามบนFกำหนดให้ E1,E2,…,En,… เป็นสมาชิกของ Fเราจะได้ว่า • ถ้า E2 E1จะได้ว่า P(E2)  P(E1) ยิ่งไปกว่านั้น เรายังจะได้ว่า P(E1\E2) = P(E1) – P(E2) • P(Ec) = 1 - P(E) สำหรับสมาชิก E ใด ๆ ใน F • P(E1 E2) = P(E1) + P(E2) – P(E1 E2) • (Union Bound)

  33. คุณสมบัติพื้นฐานของ probability measures (ต่อ) • (Continuity Property of Monotone Sequences) • ถ้า E1  E2  จะได้ว่า • ถ้า E1  E2  จะได้ว่า • (Subadditivity หรือว่า Extended Union Bound)

  34. Probability Spaces • กำหนดให้ เป็น sample space และ Fเป็น sigma-field บน สมมติ P เป็น probability measure ที่นิยามบนFเราจะเรียกคู่ลำดับ (, F, P) ว่า “probability space” นอกจากนั้นแล้ว เราจะเรียกสมาชิกแต่ละตัวในเซต Fว่า “เหตุการณ์”(“event”) โดยจำนวนจริง P(A) เมื่อ AFจะเรียกว่า “ความน่าจะเป็นของ event A”

More Related