1 / 48

ตลาดและการกำหนดราคา

ตลาดและการกำหนดราคา. Market and Price Determination. ตลาด ( Market ). ตลาด หมายถึง กิจกรรมการตกลงซื้อขายสินค้าและบริการรวมทั้งปัจจัยการผลิต ไม่จำเป็นต้องเป็นเฉพาะสถานที่ แต่เน้นที่การซื้อขายเป็นหลัก เช่น การซื้อขายบนอินเตอร์เน็ต การซื้อโดยผ่านทางโทรศัพท์

philander
Download Presentation

ตลาดและการกำหนดราคา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ตลาดและการกำหนดราคา Market and Price Determination

  2. ตลาด ( Market ) • ตลาด หมายถึง กิจกรรมการตกลงซื้อขายสินค้าและบริการรวมทั้งปัจจัยการผลิต ไม่จำเป็นต้องเป็นเฉพาะสถานที่ แต่เน้นที่การซื้อขายเป็นหลัก เช่น การซื้อขายบนอินเตอร์เน็ต การซื้อโดยผ่านทางโทรศัพท์ • ตลาดจึงมีหน้าที่อำนวยความสะดวกให้ผู้ซื้อและผู้ขายได้ทำการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ อาจเป็นทั้งระบบ Bater System หรือใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ซึ่งมีระบบในการซื้อขายแลกเปลี่ยน

  3. No Market

  4. Market

  5. Delivery New Market Order

  6. การจำแนกตลาด • จำแนกตามเขตภูมิศาสตร์ เช่น ตลาดท้องถิ่น ตลาดภายในประเทศ ตลาดต่างประเทศ ตลาดโลก • จำแนกตามชนิดของสิ่งของที่ซื้อขาย เช่น ตลาดผลผลิต ตลาดปัจจัยการผลิต • จำแนกตามชนิดสินค้าจำแนกตามสภาพและลักษณะการซื้อขาย เช่น ตลาดกลาง ตลาดขายส่งและขายปลีก • ตลาดอื่นๆ** เช่น ตลาดการเงิน ตลาดทุน ตลาดการเงินระหว่างประเทศ ตลาดซื้อขายล่วงหน้า ตลาดตราสารอนุพันธ์

  7. โครงสร้างตลาด ( Market Structure ) • สามารถแบ่งลักษณะของตลาดตามความสามารถในการกำหนดราคาของผู้ผลิต จำนวนผู้ผลิต และลักษณะของสินค้าและบริการ ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ • ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ( Perfectly Competitive Market ) • ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ ( Imperfectly Competitive Market ) วึ่งอาจเป็นประเภทย่อยๆตามระดับของความไม่สมบูรณ์ เป็น • ตลาดผูกขาดแท้จริง ( Monopoly ) • ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด ( Monopolistic )

  8. Competition - Many Firms, Free Entry -One Product Number of Firms Monopolistic - Many Firms, Free Entry -Differentiated Product Oligopoly - FewFirms, Limited Entry -One Product Product Differentiation Monopoly - One Firm, No Entry -One Product

  9. การตั้งราคาในทางทฤษฎีการตั้งราคาในทางทฤษฎี • เกณฑ์สำคัญในการตั้งราตาตามทฤษฎีนั้นต้องจำแนกเสียก่อนว่า โครงสร้างตลาดมีลักษณะเป็นอย่างไร เพราะย่อมส่งผลต่อ อุปสงค์ อุปทาน ความสามารถในการกำหนดราคาของผู้ผลิต ตลอดจนดุลยภาพของตลาด • นอกจากนี้ คุณลักษณะของเส้น ต้นทุนเฉลี่ย ต้นทุนส่วนเพิ่ม เป็นอีกปัจจัยที่กำหนดราคาและปริมาณการผลิต

  10. ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ • ผู้ซื้อและผู้ขายมีจำนวนมากราย ผู้ซื้อและผู้ขายรายหนึ่งรายใดไม่ทำให้อุปสงค์ของตลาดเปลี่ยนแปลง ไม่ส่งผลกระทบต่อราคาตลาด ราคาตลาดไม่สามารถเปลี่ยนโดยคนใดคนหนึ่ง • สินค้ามีลักษณะใกล้เคียงกัน ผู้ซื้อไม่เห็นความแตกต่างของสินค้าจากผู้ผลิตแต่ละราย • ผู้ผลิตสามารถเข้าสู่ตลาดโดยง่าย ( อาจบ่งชี้ว่าต้นทุนคงที่ของสินค้ามีไม่สูงมาก ) • เคลื่อนย้ายสินค้าจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งโดยมีต้นทุนต่ำ • ผู้ซื้อและผู้ขายมีความรู้เกี่ยวกับสินค้า ในเชิงคุณภาพและราคาเป็นอย่างดี มีความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงข้อมูล

  11. ราคา ราคา S D =AR =MR P P D ปริมาณ ปริมาณ • จากการที่ผู้ขายแต่ละรายต้องขายตามราคาตลาด ไม่สามารถตั้งราคาตามใจของตนเองได้ ( Price Taker ) • ราคานั้นเป็นราคาดุลยภาพของตลาด (ขายจะสามารถขายได้ราคาเดียว ดังนั้นอุปสงค์ที่ผู้ขายพบคือเป็นเส้นขนานแกนนอน ( ความยืดหุ่นมีค่าเป็นอสงไขย )

  12. ราคา MC AC A P D = MR =AR C B O Q ปริมาณผลผลิต

  13. ข้อสังเกต • ณ จุดที่กำไรสูงสุด MC = MR ให้ปริมาณที่ควรผลิตเท่ากับ Q • ดังนั้นรายได้รวมจึงมีค่าเท่ากับ OP.OQ = พื้นที่สี่เหลี่ยมใหญ่OPAQ • ต้นทุนต่อหน่วย ณ ปริมาณการผลิต Q พิจารณาจากเส้น AC คือ หน่วยละ OC บาท ดังนั้นต้นทุนรวมเท่ากับ OC.OQ = พื้นที่สี่เหลี่ยม OCBQ • กำไรเกินปกติที่ได้รับ คือ รายได้ - ต้นทุน = พื้นที่สี่เหลี่ยม CPAB • ทำไมถึงเป็นกำไรเกินปกติ ??? • และจะเกิดเหตุการณ์ใดต่อไป ???

  14. โดยปกติหากเกิดกรณีที่มีผู้ผลิตได้กำไรเกินปกติ เนื่องจากผู้ผลิตรายใหม่เล็งเห็นกำไรส่วนนี้และด้วยความที่เป็นตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ผู้ผลิตรายใหม่สามารถเข้ามาได้โดยง่าย จึงทำให้เกิดการแข่งขันและกำไรส่วนที่เกินปกตินี้ก็จะหายไป • และหากพิจารณาต่อถึง ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย เพื่อใช้ในการตัดสินใจ ก็จะได้ข้อสรุปในเรื่องว่าเมื่อใดควรผลิตและเมื่อใดควรเลิกกิจการ ( ราคาต้องสูงกว่าต้นทุนผันแปรต่อหน่วย )

  15. กรณีที่ AVC < AC < P ราคา MC AC AVC A P D = MR =AR C B C1 D O Q ปริมาณผลผลิต

  16. กรณีที่ AVC < AC = P ราคา Zero Profit MC AC AVC A C P D = MR =AR C1 D O Q ปริมาณผลผลิต

  17. กรณีที่ AVC < P < AC ราคา TR = OPBQ TC = OCAQ TVC = OC1DQ Loss = PCAB MC AC AVC A C D = MR =AR P B C1 D O Q ปริมาณผลผลิต

  18. กรณีที่ P < AVC < AC ราคา TR = OPDQ TC = OCAQ TVC = OC1BQ Loss = PCAD MC AC AVC A C B C1 D = MR =AR P D O Q ปริมาณผลผลิต

  19. ตลาดผูกขาดแท้จริง ( Monopoly ) • มีผู้ผลิตเพียงรายเดียวเท่านั้น เรียกว่า ผู้ผูกขาด ( Monopolist ) • สินค้านั้นไม่สามารถหาสินค้าใดมาเทียบเคียงได้ ( ถ้าไม่มีสินค้าทดแทนแสดงว่าความยืดหยุ่นมีค่าเป็นศูนย์ หรือมีค่าความยืดหยุ่นที่น้อยมาก ) • ผู้ผลิตรายใหม่ๆไม่สามารถเข้าสู่ตลาดได้ อาจเป็นความสามารถกีดกันจากผู้ผลิตรายเดิม เช่น สัมปทาน ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ( ลิขสิทธิ์ และ สิทธิบัตรต่างกันอย่างไร ??? ) • ผู้ผูกขาดมีอำนาจในการกำหนดราคา ( Price Searcher ) หรือกำหนดปริมาณการผลิตอย่างใดอย่างหนึ่ง

  20. เนื่องจากเป็นผู้ขายรายเดียว เส้นอุปสงค์ของสินค้าที่ผู้ผลิตเผชิญจึงเป็นเส้นเดียวกันกับเส้นอุปสงค์ตลาด ( ทอดจากซ้ายบนมาขวาล่าง ) • จุดที่ทำให้กำไรสูงสุดยังคงเป็นตามเงื่อนไข MC = MR

  21. ราคา MC AC A P C B D = AR C MR O Q ปริมาณผลผลิต

  22. ราคา AC B C P A MC D = AR C MR O Q ปริมาณผลผลิต

  23. ข้อสังเกต • ณ จุดที่กำไรสูงสุด MC = MR ให้ปริมาณที่ควรผลิตเท่ากับ Q • ดังนั้นรายได้รวมจึงมีค่าเท่ากับ OP.OQ = พื้นที่สี่เหลี่ยมใหญ่OPAQ • ต้นทุนต่อหน่วย ณ ปริมาณการผลิต Q พิจารณาจากเส้น AC คือ หน่วยละ OC บาท ดังนั้นต้นทุนรวมเท่ากับ OC.OQ = พื้นที่สี่เหลี่ยม OCBQ • กำไรเกินปกติที่ได้รับ คือ รายได้ - ต้นทุน = พื้นที่สี่เหลี่ยม CPAB

  24. ในกรณีของตลาดผูกขาดสมบูรณ์ ราคาสินค้าสูงกว่า MC เสมอ • ราคาในตลาดผูกขาด สูงกว่าราคาในตลาดสมบูรณ์เสมอ เพราะผู้ผลิตจะคุมราคาหรือปริมาณที่ทำให้ ระดับราคาสูงกว่า MC และ AC เสมอ เพื่อที่จะสามารถได้กำไรเกินปกติ • กำไรเกินปกติจะคงอยู่ เพราะไม่มีคู่แข่งรายใดสามารถเข้าสู่ตลาดได้จากอำนาจการกีดกันของผู้ผลิต • ผู้ผลิตอาจตั้งราคา โดยใช้ หลัก การแบ่งแยกทางราคา ( Price Discrimination ) เช่น การจัดชั้นของเครื่องบิน การตั้งราคาอาหารบุฟเฟ่ต์

  25. ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาดตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด • หน่วยผลิตมีจำนวนมาก • ผู้ผลิตรายใหม่เข้าสู่ตลาดได้โดยง่าย • สินค้านั้นไม่ใช่มีลักษณะเดียวกัน ( Heterogeneous Product ) เหมือนกับกรณีแข่งขันแบบสมบูรณ์ ( ถ้าสินค้าเหมือนกัน เรียก Homogeneous Product ) • ความแตกต่าง เช่น รูปลักษณ์ของสินค้า ฟังก์ชันการใช้งาน • ถ้าสินค้ายิ่งแตกต่างมากเท่าไรก็สามารถเพิ่มอำนาจการผูกขาด • การตั้งราคาจะตั้งสูงมากในช่วงนำสินค้าใหม่สู่ตลาดและราคาจะลดเพราะมีคนเลียนแบบ

  26. ตลาดผู้ขายน้อยราย ( กรณี 2 ราย : Oligopoly) • ผู้ขายมีน้อยราย โดยที่สินค้านั้นมีลักษณะที่เหมือนกัน ดังนั้นผู้ขายจึงทำการกำหนดปริมาณการผลิต ( ปริมาณสามารถบ่งชี้ว่าราคาควรเป็นเท่าไร P = f( Q1 + Q2 ) ) • ผู้ขายรายหนึ่งอาจดูว่าผู้ขายอีกรายจะมีกลยุทธ์อย่างไรแล้วจึงกำหนดกลยุทธ์ของตัวเอง ในขณะที่อีกฝ่ายก็จะทำในลักษณะเดียวกัน • ผลเสียจะเกิดกับผู้บริโภคหากผู้ผลิตทั้งสองมีการร่วมมือกัน ( ฮั้ว ) แต่อีกฝ่ายก็สามารถที่หักหลังได้

  27. สมมตินักโทษ 2 คน วางแผนจะหนีจากคุก ซึ่งถ้าทั้งสองสามารถทำสำเร็จก็จะเป็นประโยชน์ทั้งคู่ แต่ถ้าไม่แหกคุก ต่างคนก็ต่างรับโทษ แต่หากมีใครหักหลังคนที่เอาไปฟ้องก็จะเป็นประโยชน์ ในขณะที่อีกฝ่ายก็จะได้รับโทษมากขึ้น นักโทษ B ร่วมมือ หักหลัง นักโทษ A ร่วมมือ ( 5 , 5 ) ( -5 , 2 ) หักหลัง ( 2 , -5 ) ( -2 , -2 ) • ในการพิจารณาอาจใช้ทฤษฎีเกม ( Game Theory ) เข้ามาประกอบการตัดสินใจ

  28. กรณีที่ผู้ผลิตมีการพิจารณาถึงกลยุทธ์ของอีกฝ่ายหนึ่งกรณีที่ผู้ผลิตมีการพิจารณาถึงกลยุทธ์ของอีกฝ่ายหนึ่ง S* ราคา ปริมาณที่ B ผลิต S D ปริมาณ Q1+Q2 ปริมาณที่ A ผลิต

  29. การกำหนดราคาในทางปฏิบัติการกำหนดราคาในทางปฏิบัติ • การตั้งราคาเพื่อให้ได้กำไรสูงสุด ( Maximize Profit Pricing ) • การตั้งราคาตามต้นทุนส่วนเพิ่ม ( Marginal Cost Pricing ) • การตั้งราคาตามต้นทุนเฉลี่ย ( Average Pricing ) • การตั้งราคาตามราคาตลาด ( Market Pricing ) • การตั้งราคาตามต้นทุน ( Cost - Plus Pricing ) • การตั้งราคาสินค้าให้แตกต่างกัน ( Differencial Pricing or Price Discrimination )

  30. การกำหนดราคาในทางปฏิบัติการกำหนดราคาในทางปฏิบัติ • การตั้งราคาตามรุ่นหรือรูปแบบสินค้า ( Multiple Model Pricing ) • การตั้งราคาเพื่อสร้างค่านิยม ( Pristige Pricing ) • การตั้งราคาตามประเพณีนิยม ( Customary Pricing ) • การตั้งราคาแบอื่นๆ เช่น การขายพ่วง การตั้งราคาลงเลข 9 การตั้งราคาแบบนั่งเทียน การตั้งราคาเพื่อให้ต่อ การตั้งราคาเพื่อประมูล

  31. การตั้งราคาเพื่อให้ได้กำไรสูงสุดการตั้งราคาเพื่อให้ได้กำไรสูงสุด • ในการพิจารณานั้นเป็นการคิดในเชิงทฤษฎี ต้องตั่งราคาตามเงื่อนไข MC = MR ซึ่งเป็นการยาก ( ยากที่สุด ) ในการวัดค่าต้นทุนเพิ่ม รายรับเพิ่ม ซึ่งจะง่ายหากมีข้อสมมติฐานว่าตลาดนั้นเป็นตลาดที่แข่งขันสมบูรณ์ ซึ่งที่จริงอาจไม่ใช่ • บางหน่วยผลิตอาจไม่ได้มุ่งการสร้างกำไรสูงสุดเช่น กิจการที่ไม่หวังผลกำไร องค์กรการกุศล ก็ไม่สามารถใช้ตัวแบบเชิงทฤษฎีชนิดนี้ได้

  32. การตั้งราคาตามต้นทุนส่วนเพิ่มการตั้งราคาตามต้นทุนส่วนเพิ่ม • ในการตั้งราคาจะให้ MC = AR แทนที่จะเป็นตามเงื่อนไข MC = MR • ในตลาดแข่งขันสมบูรณ์แล้วกติกาไม่ได้แตกต่างจากเดิม เพราะ AR เป็นเส้นเดียวกับ MR แต่ในตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์นั้นจะมีความแตกต่าง • ความแตกต่างนั้น คือ ราคาของสินค้าและบริการจะลดลง จะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคมากกว่า กรณีที่ MC = MR

  33. ราคา MC AC A P D = MR =AR C B O Q ปริมาณผลผลิต ตลาดแข่งขันสมบูรณ์

  34. ราคา ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ MC AC A P P* C B D = AR C MR O Q Q* ปริมาณผลผลิต

  35. การตั้งราคาตามต้นทุนเฉลี่ยการตั้งราคาตามต้นทุนเฉลี่ย • ในกรณีนี้จะให้ต้นทุนเฉลี่ยมีค่าเท่ากับรายรับเฉลี่ย ( AC = AR ) โดยกำหนดจุดนั้นเป็นปริมาณการผลิตของหน่วยผลิต เพราะต้นทุนนั้นมีการรวมต้นทุนของผู้ประกอบการไว้แล้ว ดังนั้นก็เพียงพอสำหรับผู้ผลิตเพราะจะได้กำไรปกติอยู่แล้ว • ราคาที่ผู้บริโภคจ่ายในกรณีที่ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ก็จะลดลง เพราะผู้ผลิตไม่ได้รับกำไรส่วนเกิน

  36. ราคา ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ กรณีผลิตที่ AC = AR MC AC A C P D = MR =AR O Q ปริมาณผลผลิต

  37. ราคา ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ กรณีผลิตที่ AC = AR MC AC A P P* P** C B D = AR C MR O Q Q* Q** ปริมาณผลผลิต

  38. การตั้งราคาตามราคาตลาดการตั้งราคาตามราคาตลาด • การตั้งราคาตามวิธีนี้ก็เป็นการสังเกตว่าดุลยภาพของตลาดอยู่ที่เท่าไร ผู้ผลิตก็จะตั้งราคาตามนั้น • เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้ผลิตก็ต้องพยายามลดต้นทุนการผลิตของตน หรือผลิตให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นเพื่อให้ได้กำไรที่สูงขึ้น • ถ้าราคาตลาดสูงกว่าต้นทุนการผลิต ผู้ผลิตก็ไม่สามารถอยู่ได้ อาจต้องออกจากระบบการผลิต และหากมีกำไร ผู้ผลิตรายใหม่ๆก็อยากเข้ามา • อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนราคาตามตลาด ซึ่งทำให้เสีย Menu Cost ในการปรับเปลี่ยนราคาของสินค้า

  39. ตัวอย่างการตั้งราคาตามราคาตลาดกรณี การซื้อขายเงินตราต่างประเทศ • เงินตราต่างประเทศ มีการเสนอราคาเทียบกับเงินบาท ดังนี้ คือ สกุล เสนอซื้อ ( Bid ) เสนอขาย ( Ask ) US Dollar 45.15 45.60 DM 19.40 20.10 JPY ( 100 เยน ) 30.30 30.70 GB 68.85 69.15 Singapore Dollar 20.00 20.50

  40. ตัวอย่างการตั้งราคาตามราคาตลาดกรณี การเสนออัตราดอกเบี้ย • อัตราดอกเบี้ยขึ้นกับระยะเวลาเป็นสำคัญ ตามตัวอย่างคือ สกุล เสนอซื้อ ( Bid ) เสนอขาย ( Ask ) 7 Days 2.25 2.50 1 Mth 2.50 - 60 3 Mths 2.70 - 85 6 Mths 3.00 - 25 9 Mths 3.30 - 70 12 Mths 3.75 - 4.00

  41. การตั้งราคาตามต้นทุน • เป็นวิธีการที่นิยม ผู้ผลิตจะคิดต้นทุนทั้งหมดและบวกกำไรที่ต้องการ เช่นหากต้นทุน 100 บาท ต้องการกำไร 20% ดังนั้นก็จะตั้งราคาขาย 120 บาท • ราคาขายที่ตั้งนั้นต้องไม่สูงกว่าราคาที่ซื้อขายอยู่ในตลาด ถ้าอยู่สูงกว่าราคาตลาด ผู้ผลิตต้องหาหนทางคือ • เพิ่มปริมาณผลผลิต เพื่อให้ต้นทุนรวมเฉลี่ยต่อหน่วยถูกลง ( Why ? ) ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ลดอัตราผลกำไรที่ต้องการ สร้างความแตกต่างได้ไม่ต้องเทียบกับคนอื่น

  42. การตั้งราคาสินค้าให้แตกต่างกันการตั้งราคาสินค้าให้แตกต่างกัน • สินค้าชนิดเดียวกันแต่อาจปรับปรุงคุณสมบัติ หรือข้อกำหนดบางประการ แล้วแยกตลาดในการกำหนดราคา เช่น สายการบินที่มีชั้น First Class, Business Class, Economy Class หรือ การตั้งราคาไฟฟ้าที่ต่างกันระหว่างครัวเรือนและโรงงานอุตสาหกรรม หรือ การกำหนดราคาตั๋วตามอายุ เช่นกรณีของบัตรรถไฟฟ้า หรือ การขายของที่มาจากกโรงงานเดียวกันในราคาที่ต่างๆกัน • เป็นการนำเรื่องความยืดหยุ่นมาใช้ ตั้งราคาสูงในตลาดที่มี Ed สูง เพื่อให้รายรับรวมมากขึ้น แต่ต้องแบ่งตลาดให้ดีเพรสะมีการขนสินค้าข้ามตลาด

  43. ตลาด B ราคาต่ำ ตลาด A ราคาสูง ตลาด A ราคาสูง ตลาด B ราคาต่ำ ตลาด C ราคาสูงมาก กรณีนี้แบ่งตลาดได้อย่างไม่เด็ดขาด กรณีนี้แบ่งตลาดได้อย่างเด็ดขาด

  44. ราคา ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ตั้งราคาหลายระดับ C P** ตลาด C B P* C* ตลาด B A P B* D ตลาด A C O Q** Q* Q ปริมาณผลผลิต

  45. ข้อสังเกต • หากเขาตั้งราคาเดียวที่ P เขาจะมีรายได้ = สี่เหลี่ยม OPAQ • หากเขาตั้งราคาเดียวที่ P* เขาจะมีรายได้ = สี่เหลี่ยม OP*AQ* • หากเขาตั้งราคาเดียวที่ P** เขาจะมีรายได้ = สี่เหลี่ยม OP**AQ** • ซึ่งพื้นที่ OPAQ > OP*AQ* > OP**AQ** • ถ้าเขาตั้งราคาเป็น 3 ระดับ คือ P , P* , p** รายได้รวมจะเท่ากับ พื้นที่สี่เหลี่ยม OPAQ + PP*BB* + P*P**CC* • แต่การแบ่งตลาดต้องมีการทำให้ไม่ซ้อนทับกัน และยิ่งแบ่งตลาดได้มากเท่าไรรายรับก็เพิ่มมากขึ้น แต่อาจต้องเสียต้นทุนค่าจัดการ

  46. การตั้งราคาตามรุ่นหรือรูปแบบสินค้าการตั้งราคาตามรุ่นหรือรูปแบบสินค้า • วิธีการนี้ใช้กับสินค้าที่มีความทันสมัย เพราะ จะมีรุ่นใหม่ๆออกมาประจำและอาจเกิดการตกรุ่นได้ และราคาของสินค้าที่ตกรุ่นก็จะมีราคาที่ค่ำกว่าสินค้าที่ไม่ตกรุ่น • ผู้ผลิตอาจตั้งราคาสินค้าโดยมีการปรับเปลี่ยนคุณภาพสินค้า เช่น โทรศัพท์มือถือ ที่มีตั้งแต่รุ่น 3210 3310 8210 8250 หรือการผลิตรถ เช่น S - Class , C - Class, V - Class • สินค้าเหล่านี้มีกระบวนการผลิตที่ร่วมกัน ใช้ทรัพยากรแบบเดียวกัน เพียงแต่ดัดแปลงบางอย่างเท่านั้น ซึ่งอาจทำให้ประหยัดต่อขนาดได้

  47. การตั้งราคาเพื่อสร้างค่านิยมการตั้งราคาเพื่อสร้างค่านิยม • ในที่นี้ราคาอาจไม่สัมพันธ์กับต้นทุนการผลิต โดยอาศัยชื่อเสียงและเอกลักษณ์ของสินค้านั้นๆ • ราคาอาศัยการโฆษณาเป็นสำคัญ และอาจแสดงถึงรสนิยมของผู้ซื้อสินค้าและบริการนั้นๆ • สินค้าเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ฟุ่มเฟือย มีลักษณะพิเศษคือ เมื่อราคาลดอาจไม่ซื้อแต่หากราคาเพิ่มก็ยินดีที่จะซื้อ เช่น เครื่องเพชร นาฬิกา รถ กระเป๋าถือ เครื่องสำอาง ปากกา เสื้อผ้า

  48. การตั้งราคาตามประเพณีนิยมการตั้งราคาตามประเพณีนิยม • การตั้งราคาแบบนี้อาศัยความเคยชินของคนทั่วไป เช่น น้ำแข็งแห้ง น้ำอัดลม หนังสือพิมพ์ ค่าบริการรถโดยสารประจำทาง ซึ่งหากสินค้าพวกนี้ขึ้นราคาก็จะมีการโวยวาย • ตั้งราคาตามกลยุทธ์ทางการตลาดและทางจิตวิทยา เช่น ลงด้วยเลข 9 การให้ของแถม • การตั้งราคาเพื่อทุ่มตลาด ( Dumping Pricing ) • การตั้งราคาแบบเจาะตลาด ( Penetration Pricing ) • การขายสินค้าแบบพ่วง ( ???? กรณี เบียร์ช้าง กับเบียร์สิงห์ ) การตั้งราคาแบบอื่นๆ

More Related