1 / 30

ศิริเชษฐ์ สังขะมาน สถาบันวิจัย สังคม จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

แผนงานสร้างเสริมคุณภาพชีวิตการทำงานองค์กรภาครัฐ ( Quality of Work Life for Public Sector Program). ศิริเชษฐ์ สังขะมาน สถาบันวิจัย สังคม จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. แนวคิด คุณภาพชีวิตการ ทำงาน กระบวนการพัฒนา ตามแนวคิดทฤษฎี. UNESCO (1981) ได้กำหนดองค์ประกอบคุณภาพชีวิตไว้ 7 ด้าน ได้แก่

pete
Download Presentation

ศิริเชษฐ์ สังขะมาน สถาบันวิจัย สังคม จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แผนงานสร้างเสริมคุณภาพชีวิตการทำงานองค์กรภาครัฐ (Quality of Work Life for Public Sector Program) ศิริเชษฐ์ สังขะมาน สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  2. แนวคิด คุณภาพชีวิตการทำงานกระบวนการพัฒนาตามแนวคิดทฤษฎี UNESCO (1981) ได้กำหนดองค์ประกอบคุณภาพชีวิตไว้ 7 ด้าน ได้แก่ 1) อาหาร 2) สุขภาพ3) การศึกษา4) สิ่งแวดล้อมและทรัพยากร5) ที่อยู่อาศัยและการตั้งถิ่นฐาน6) การมีงานทำ และ7) ค่านิยม ศาสนา จริยธรรม กฎหมาย และปัจจัยด้านจิตวิทยา UNDP(1988) Human Achievement Index ซึ่งใช้ 8 องค์ประกอบได้แก่ 1) สุขภาพ 2) การศึกษา 3) การทำงาน 4) รายได้ 5) ที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม 6) ชีวิตครอบครัวและชุมชน 7) การคมนาคมและการสื่อสารและ 8) การมีส่วนร่วม ESCAP (1990) กำหนดตัวแปรที่ใช้วัดคุณภาพชีวิตไว้ 7 ด้านเช่นกัน คือ 1) ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ 2) สุขภาพ 3) ชีวิตการทำงาน 4)ชีวิตครอบครัว 5) ชีวิตการใช้สติปัญญา (Intellectual life) 6) ชีวิตชุมชน และ 7) สภาพแวดล้อมทางกายภาพ

  3. คุณภาพชีวิตการทำงานในแง่มุมที่หมายถึงการคำนึงถึงความเป็นมนุษย์ในการทำงาน (Humanization of Work) ซึ่งประเทศฝรั่งเศสและประเทศที่พูดภาษาฝรั่งใช้ คำว่า การปรับปรุงสภาพการทำงาน (Improvement of Working Condition) ประเทศสังคม นิยมใช้คำว่า การคุ้มครองแรงงาน (Workers' Protection) กลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย หรือใน ญี่ปุ่นใช้คำว่าสภาพแวดล้อมการทำงาน (Working Environment) และความเป็นประชาธิปไตยในสถานที่ทำงาน (Democratization of the Workplace) คุณภาพชีวิตการทำงานมีความหมายครอบคลุมถึงวิธีการ แนวปฏิบัติหรือเทคโนโลยีที่ส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ก่อให้เกิดความพึงพอใจมากขึ้น ในการปรับปรุงผลลัพธ์ทั้งขององค์การและปัจเจกบุคคล ตามลำดับ

  4. คำจำกัดความของ QWL นี้บ่งชี้ว่า QWL คือการสร้างมิติโครงสร้างที่หลากหลายขึ้น การสร้างขึ้นของจำนวนของปัจจัยที่สัมพันธ์กันจำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบทั้งในกระบวนการคิดและมาตรการ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับความพึงพอใจในการทำงาน เช่น การมีส่วนร่วมในงาน แรงจูงใจ ความสามารถในการผลิต สุขภาพ ความปลอดภัยและความเป็นอยู่ในสภาวะที่ดีในชีวิตการทำงาน การพัฒนาขีดความสามารถ และความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว (European Foundation for the Improvement of Living Conditions)

  5. ผู้บริหาร องค์กร/สังคม วิชาการ แนวคิดการร่วมกันผลักดันจากทุกภาคส่วน ผนวกกับ อำนาจ ความรู้ ทรัพยากร ภาวะผู้นำ ต้องไหลสู่ระดับเดียวกัน

  6. กระแสอำนาจ ผู้บริหาร กระแสความรู้ กระแสทรัพย์/ทุน องค์กร/สังคม วิชาการ กระแสภาวะผู้นำ

  7. การสร้างคุณภาพชีวิตการทำงานการสร้างคุณภาพชีวิตการทำงาน • การสร้างคุณภาพชีวิตการทำงาน มีแนวโน้มที่จะเป็นประเด็นสำคัญที่มีความท้าทายในอนาคต เนื่องจากการจ้างงานโดยเฉพาะแรงงานที่มีฝีมือ (Skill Worker) หรือแรงงานมีความรู้ (Knowledge Worker) ไม่สามารถกระทำได้จากการให้เงินเดือนและสวัสดิการที่สูงเพียงด้านเดียว

  8. ในอนาคตกระแสแรงงานที่มีคุณภาพต้องการทำงานในองค์การที่มีบรรยากาศเกื้อหนุนต่อความสำเร็จและการสร้างนวัตกรรม ตลอดจนต้องการความเป็นตัวของตัวเอง และใช้ชีวิตในด้านอื่นให้สมบูรณ์ เช่น การมีครอบครัวที่เป็นสุข การพักผ่อนที่เต็มที่ และการทำความเข้าใจในตนเองและสังคม เป็นต้น

  9. องค์การจึงต้องกำหนดนโยบายที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานตลอดจนต้องดำเนินงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง มิใช่โครงการที่ทำตามความนิยมแบบครั้งเดียวเสร็จ ซึ่งต้องอาศัยบุคคลที่มีความรู้และความเข้าใจมาดำเนินการ

  10. สถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา การศึกษาเรื่องภาพอนาคตของสถานที่ทำงานในประเทศไทย ปี 2575 พบแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 7 ด้าน ได้แก่ 1.คุณสมบัติและลักษณะของคนทำงาน จะขาดแคลนแรงงานฝีมือเนื่องจากประชากรนิยมอยู่เป็นโสดหรือไม่มีบุตรมากขึ้น 2.ลักษณะงาน จะเกิดงานใหม่จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น การผลิตชิ้นส่วนร่างกายมนุษย์ ศัลยแพทย์เพิ่มหน่วยความจำ 3.ผลตอบแทน จะมาจากผลงานเป็นหลัก สวัสดิการแรงงานสูงอายุและหลังเกษียณจะเป็นแรงกดดันที่สำคัญ

  11. 4.โครงสร้างองค์กร จะปรับระบบบริหารและกฎระเบียบรองรับแรงงานที่หลากหลาย 5.ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ปัญหาความขัดแย้งระหว่างบุคลากรจะกลายเป็นประเด็นสำคัญ 6.สภาพแวดล้อมทางกายภาพ สำนักงานแบบตายตัวจะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสาร 7.วัฒนธรรมองค์กร จะเกิดการยอมรับความแตกต่าง เกิดค่านิยมการทำงานไปพร้อมกับการใช้ชีวิตประจำวันและทำงานตลอดเวลาผ่านเทคโนโลยีการสื่อสาร

  12. การเปลี่ยนแปลงบริบทและสิ่งแวดล้อมของสถานประกอบการดังกล่าว จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมตั้งแต่วันนี้ โดยองค์กรต่างๆ ควรทำความเข้าใจ วิเคราะห์ และวางแผนรองรับทั้งโอกาสและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ซึ่งยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาองค์กรให้เข้มแข็งไม่ว่าสถานการณ์ใด คือการส่งเสริมให้บุคลากรทำงานอย่างมีความสุข

  13. การปฏิรูประบบบริหารภาครัฐ ” • แผนปรับบทบาทภารกิจ • แผนปรับเปลี่ยนระบบงบประมาณ • แผนปรับระบบบริหารงานบุคคล • แผนปรับเปลี่ยนกฎหมาย • แผนปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมและค่านิยม

  14. แกนหลักการบริหารทรัพยากรบุคคลแกนหลักการบริหารทรัพยากรบุคคล หลักสมรรถนะ (Competency) หลักคุณธรรม (Merit) หลักผลงาน (Performance ) คุณภาพชีวิตการทำงาน (Quality of work Life ) กระจายความรับผิดชอบในการบริหารทรัพยากรบุคคล

  15. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้มีการระบุเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการไว้โดยตรงในสามมาตราใน คือ • มาตรา 13 (8)ซึ่งกำหนดให้สำนักงาน ก.พ. มีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริม ประสานงาน เผยแพร่ ให้คำปรึกษาแนะนำ และดำเนินการเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการและการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตสำหรับทรัพยากรบุคคลภาครัฐ • มาตรา 34การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนต้องเป็นไปเพื่อผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐความมีประสิทธิภาพ และความคุ้มค่า โดยให้ข้าราชการปฏิบัติราชการอย่างมีคุณภาพ คุณธรรม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี • มาตรา 72เรื่องการเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ กำหนดให้ส่วนราชการมีหน้าที่ดำเนินการให้มีการเพิ่มพูนประสิทธิภาพและเสริมสร้างแรงจูงใจแก่ข้าราชการพลเรือนสามัญ เพื่อให้ข้าราชการพลเรือนสามัญมีคุณภาพ คุณธรรม จริยธรรม คุณภาพชีวิต มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด

  16. ปัญหาเชิงโครงสร้าง(ตัวระบบ)ปัญหาเชิงโครงสร้าง(ตัวระบบ) ที่มีผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ของการบริหารราชการแผ่นดิน คือ • ลักษณะการรวมศูนย์อำนาจการตัดสินใจอยู่ที่ส่วนกลาง โดยมีนักการเมือง ในฐานะ รมต. เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจสูงมาก ในแทบทุกเรื่อง การกระจายอำนาจทางการปกครอง และการบริหาร จึงเป็นเพียงรูปแบบที่ไม่มีผลทางปฏิบัติจริง • ระบบราชการไทยมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงที่ประเทศ มีการพัฒนาอย่างมีรูปแบบ (2504 - 2525) เพิ่มส่วนราชการมากเกินไปทำให้เกิดปัญหา การเพิ่มบุคลากร ในภาครัฐตามมา • โครงสร้างของระบบราชการไม่คล่องตัว ไม่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อภาคเอกชน สังคม และประชาชนโดยรวม • ระบบธุรกิจการเมือง ที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ส่งผลให้ระบบราชการไทย ถูกแทรกแซงจากนักการเมืองได้อย่างง่ายดาย เพราะข้าราชการมีเงินเดือนต่ำ ค่านิยม วัตถุนิยม • วัฒนธรรมของหน่วยงานราชการ และ รัฐวิสาหกิจ คือ ข้าราชการประจำ ต้องทำงานเพื่อตอบสนองความต้องการของนักการเมือง ไม่ใช่ประชาชน ลูกค้าคือเจ้านายไม่ใช่ประชาชน

  17. ปัญหาเกี่ยวกับตัวบุคคล(ข้าราชการและประชาชน)ปัญหาเกี่ยวกับตัวบุคคล(ข้าราชการและประชาชน) • ข้าราชการที่มีความรู้ ความสามารถ ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มสมรรถภาพ เพราะอำนาจในการตัดสินใจไม่มี • ลักษณะของความเป็นไทย การนำเอาลักษณะของระบบราชการตามแนวคิดของ Max Weber ซึ่งเป็นหลักสากลมาใช้กับประเพณี ลักษณะนิสัย วิถีชีวิต และวัฒนธรรมการทำงานแบบไทยๆ เป็นปัจจัยเสริมให้เกิดความผิดพลาดและความด้อยประสิทธิภาพในการบริหาร และจัดการประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะระบบอุปถัมภ์ที่มีอิทธิพลอย่างมากในสังคมไทย ทำได้ทุกอย่างเพื่อความก้าวหน้าและความอยู่รอด • ข้าราชการส่วนหนึ่งขาดจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณ ในการปฏิบัติหน้าที่ เพราะ- มีรายได้น้อยแต่มีอำนาจมากจึงมักใช้อำนาจที่มิชอบ- วัฒนธรรมองค์การที่ต้องทำคำสั่งนายแม้รู้ว่าเป็นสิ่งที่ผิด

  18. ทางออก สุข HAPPY?ความสุข HAPPINESS? คืออะไร อยู่ที่ไหน เป็นอย่างไร ทำอย่างไร ปรับอะไร แต่ละองค์กร แต่ละคน แต่ละช่วงชีวิต

  19. การมีความสุขนั้นไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างจะต้องมีพร้อมหรือสมบรูณ์ แต่คือการที่ตัวเราได้มองข้าม ความไม่สมบรูณ์เหล่านั้น

  20. อยู่กับความจริงยอมรับความจริงเปลี่ยนแปลงให้อยู่กับความจริงได้อยู่กับความจริงยอมรับความจริงเปลี่ยนแปลงให้อยู่กับความจริงได้

  21. งาน กับ ชีวิต สภาวะแวดล้อม/ สังคมย่อย เงือนไขเชิงระบบ/ โครงสร้าง (องค์กร) ส่วนราชการ (ปัจเจก) ข้าราชการ กระทรวง/กรม/จังหวัด ครอบครัว/พ่อแม่/ญาติพี่น้อง การเมือง โครงสร้างองค์กร อัตรากำลัง นโยบาย งบประมาณ โยกย้าย ฯลฯ ไม่พร้อมทำงาน วันจันทร์/วันศุกร์ วันหยุด/เที่ยว เรียนต่อ พ่อแม่ป่วย/ประกัน ปิด-เปิดเทอม ลูกเรียนพิเศษ ธุรกิจครอบครัว ฯลฯ QWL งาน ตน สุขภาพ/กาย-ใจ กายภาพ/แวดล้อม เวลาราชการ เวลาส่วนตัว ก้าวหน้า/เลือนขั้น พัฒนาตน ครอบครัว เพื่อน ทีม นาย/ลูกน้อง ขวัญกำลังใจ / แรงจูงใจ

  22. เข็มทิศของการดำเนินงานเพื่อสร้างสุขภาวะองค์กร

  23. Life Skill Happy Workplace Happy Family Happy Soul Happy Society Happy Money Happy Body Happy Relax Happy Heart Happy Brain 1 8 2 7 3 6 5 4

  24. คุณภาพชีวิตการทำงานในระบบราชการ“องค์กรไม่สามารถจัดเต็มได้ แต่เติมเต็มได้ด้วยสมาชิกองค์กร” หลักการพัฒนา จะปลูกพืชต้อง เตรียมดิน จะกินต้อง เตรียมอาหาร จะพัฒนางาน ต้องพัฒนาคน จะพัฒนาคน ต้องพัฒนาที่ใจ จะพัฒนาใครต้อง พัฒนาที่ตนเอง (ก่อน)

  25. คำถามที่อยากให้คิดบ่อยๆคำถามที่อยากให้คิดบ่อยๆ • คุณเชื่อไหมว่ามนุษย์ต้องการทำงานไม่ใช่อยู่อย่างเรื่อยเปื่อย • คุณเชื่อไหมว่ามนุษย์ต้องการหาความหมายในงานที่เขาทำ • คุณเชื่อไหมว่าคนเรานั้นต้องการมีความรับผิดชอบและความน่าเชื่อถือ • คุณเชื่อไหมว่าธรรมชาติของมนุษย์รักที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ • คุณเชื่อไหมว่าจริงๆ แล้วมนุษย์ไม่ต่อต้านต่อการเปลี่ยนแปลงแต่จะต่อต้านถ้าถูกบังคับให้เปลี่ยนแปลง • คุณเชื่อไหมว่าคนเราน่าไว้ใจ

  26. ทำงานดี ชีวีมีสุข Work wisely, Live well

More Related