1 / 33

Internet pricing in practice

Internet pricing in practice. New Zealand’s Internet gateway. การตั้งราคาอินเตอร์เน็ตของนิวซีแลนด์ แสดงให้เห็นเป็นตัวอย่างถึงตัวแบบการกำหนดราคาที่อ่อนไหวไปตามการใช้ (usage sensitive pricing) ของอินเตอร์เน็ต

penny
Download Presentation

Internet pricing in practice

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Internet pricing in practice

  2. New Zealand’s Internet gateway การตั้งราคาอินเตอร์เน็ตของนิวซีแลนด์ แสดงให้เห็นเป็นตัวอย่างถึงตัวแบบการกำหนดราคาที่อ่อนไหวไปตามการใช้ (usage sensitive pricing) ของอินเตอร์เน็ต การเชื่อมโยงอินเตอร์เน็ตของนิวซีแลนด์เริ่มขึ้นด้วยโครงการการพัฒนาร่วมกันกับ NASA และสร้างส่วนหนึ่งของ Pacific Communication : PACCOM ตอนแรกเรียก gateway นี้เป็น PACCOM แล้วเปลี่ยนเป็น NZGate ซึ่งบริหารโดย Waikato University ในนามของ Tuia ซึ่งเป็นองค์กรที่มีภารกิจเพื่อเชื่อมโยงการวิจัยและการศึกษาภายในนิวซีแลนด์

  3. NZGate เริ่มใน 1989 ด้วยการเชื่อมเคเบิลอนาลอก 9600 bps กับฮาวาย การเชื่อมต่อภายในประเทศจัดเสนอโดย PACNET (telecom’s public X.25) สิ่งที่แปลกของ NZGate คือ แม้ว่า NASA จะสนับสนุนต้นทุนการเชื่อมต่อในส่วนของอเมริกา รัฐบาลนิวซีแลนด์ไม่ได้ช่วยเหลือทางการเงินเลย หมายความว่าต้นทุนการเชื่อมต่อทั้งหมดจะต้องได้รับการครอบคลุมด้วยการคิดค่าใช้จากผู้ใช้ ในการจัดตั้งโครงการ มหาวิทยาลัยหกแห่งตกลงจ่ายเท่าๆกัน ฝ่ายละหนึ่งในหกสำหรับต้นทุนการเริ่มและดำเนินการ และคิดค่าบริการตามจำนวน (usage sensitive pricing) การใช้เพื่อจ่ายต้นทุนดำเนินการ เป้าหมายคือ

  4. วัดปริมาณจราจรทั้งสองทิศทางที่ผ่าน NZGate ของแต่ละไซด์ที่เกี่ยวข้อง และเรียกเก็บตามจำนวนเป็นรายเดือน • เรียกเก็บให้เพียงพอครอบคลุมต้นทุนที่แท้จริง บวกด้วยสัดส่วนหนึ่งเพื่อการพัฒนา และ • ใช้กองทุนพัฒนาที่จัดเก็บได้เพื่อซื้อความสามารถเพิ่มขึ้นเมื่ออุปสงค์เพิ่มขึ้น เป้าหมายนี้นำไปสู่เค้าโครงที่มีประสิทธิภาพในการเรียกเก็บค่าบริการสำหรับการใช้การเชื่อมโยงเดี่ยวร่วมกัน แต่ก็ยังมีปัญหาที่ต้องคิดอีกหลายประการ ประการแรกคือ แต่ละมหาวิทยาลัยอยากรู้ล่วงหน้าว่าจะต้องจ่ายเท่าใด จะได้จัดงบประมาณได้

  5. ทางออกคือ มีการกำหนดขั้นของการใช้ ขั้นที่มีการใช้สูงจะมีราคาต่อหน่วยลดลง แต่ละมหาวิทยาลัยตัดสินใจก่อนว่าจะใช้ในขั้นไหน และถูกเรียกเก็บรายเดือนตามนั้น การจราจรที่แท้จริงจะถูกวัดเป็นรายเดือนแล้วรายงานกลับไปให้แต่ละมหาวิทยาลัย ถ้าการจราจรของไซด์นั้นข้ามไปอยู่ในขั้นอื่นมากกว่าหนึ่งเดือน การเรียกเก็บจะเปลี่ยนไปเท่ากับจำนวนที่จราจรจริง แนวทางนี้ช่วยให้แต่ละไซด์อาจมีการจราจรที่ผิดปกติในเดือนใดเดือนหนึ่ง และยอมให้มีการเตือนล่วงหน้าอย่างน้อยหนึ่งเดือนก่อนมีการเปลี่ยนแปลงค่าเรียกเก็บค่าบริการ อีกปัญหาหนึ่งคือ การจ่ายสำหรับ E-mail ที่ส่งเข้ามาโดยไม่ได้ต้องการ ซึ่งถ้าเกิดที่ส่งมามีขนาดใหญ่มากๆ จะทำให้ต้องเสียค่าบริการโดยไม่จำเป็น

  6. การเรียกเก็บตามจำนวนสำหรับการเชื่อมต่อข้ามทวีป แบ่งเป็นสองส่วนเท่ากัน เรียกเก็บแต่ละฝ่ายคนละครึ่ง ในช่วงแรกๆของ NZGate อเมริกาจ่ายครึ่งหนึ่งของ PACCOM แต่ในปัจจุบัน NZGate จ่ายทั้งสองส่วน เพราะใช้การเชื่อมต่อกับ intercontinental telecommunications providers หลายราย ตั้งแต่เริ่ม NZGate ดำเนินการในรูปแบบที่ไม่แสวงหากำไร ซึ่งเหมาะสมเพราะยังไม่มีการใช้ในเชิงพาณิชย์ แต่ตั้งแต่ 1995 ชุมชนอินเตอร์เน็ตเห็นประโยชน์จากการมีการเชื่อมต่อระหว่างประเทศหลายราย เพื่อให้บรรลุตามต้องการ Waikato University เสนอ NZIX ซึ่งเป็น Internet exchange สำหรับ ISPs ทุกรายที่ให้บริการในนิวซีแลนด์

  7. NZGate ลดบทบาทตัวเองลง ให้ NZIX ดำเนินการเป็นตัวกลางการเชื่อมต่อ ทำให้มีการแข่งขันกันในตลาดสำหรับการให้บริการอินเตอร์เน็ต ISP แต่ละรายเสนอตัวแบบการเรียกเก็บค่าบริการแตกต่างกันเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ แต่แนวคิดเรื่องการจ่ายเพื่อใช้อินเตอร์เน็ตเป็นที่ยอมรับในหมู่ผู้ใช้ในนิวซีแลนด์ ซึ่งตรงข้ามกับเหตุการณ์ที่เกิดในหลายประเทศ ที่ถือว่าการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นสาธารณูปโภคที่รัฐต้องจัดหาให้ฟรีกับประชาชนเช่นใน ชิลี

  8. Responsive Pricing in the Internet

  9. อินเตอร์เน็ตมีการใช้ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้การส่งถ่ายสารสนเทศผ่านเครือข่ายสามารถทำได้ในทุกรูปแบบ ประกอบเข้ากับการประยุกต์ใช้ใหม่ๆ ทำให้มีปัญหาด้านจราจรบนเครือข่ายที่รุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ประเด็นที่กล่าวถึงในที่นี้คือ การส่งสัญญาณสะท้อนกลับในรูปของราคาที่แตกต่างกันสำหรับบริการเครือข่าย จะเป็นเครื่องมือที่ใช้งานได้ในการช่วยให้ผู้ควบคุมเครือข่ายสามารถควบคุมการจราจรบนเครือข่ายได้ เราเสนอว่า ราคาเหล่านี้ควรผันแปรในลักษณะพลวัต โดยอิงอยู่กับการใช้ทรัพยากรเครือข่ายในขณะนั้น เพราะจะช่วยให้การกำหนดแบบตอบสนองแบบนี้จะช่วยให้สามารถควบคุมบริการของเครือข่ายได้

  10. เครือข่ายการสื่อสารในความรู้สึกของผู้ใช้อาจเป็นได้ทั้งดีและเลว ตัววัดการดำเนินการของเครือข่ายควรวัดในรูปของความพอใจของผู้ใช้ต่อบริการที่ได้รับ อย่างไรก็ตาม การดำเนินการของเครือข่ายมักแสดงอยู่ในรูปของตัววัดทางวิศวกรรมของเครือข่าย เช่น ความล่าช้าเฉลี่ยหรืออัตราการสูญหายของ packet การวัดทางวิศวกรรมเหล่านี้สะท้อนไม่สมบูรณ์ถึงความพอใจทั้งหมดของผู้ใช้ เนื่องจากความต้องการของผู้ใช้แตกต่างกันอย่างมาก ทั้งในมิติของการบริการและในแต่ละช่วงเวลา เช่น • real-time interactive application บางอย่างอาจทนได้กับการสูญหายบางส่วนโดยคุณภาพไม่ได้เสื่อมลงอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่หน้าที่การสั่งการและควบคุมบางอย่างต้องการการส่งถ่ายโดยไม่มีการสูญหายแม้แต่น้อย

  11. การสื่อสารแบบมีปฏิสัมพันธ์มักมีขีดบนสุดของการล่าช้าที่รับได้ ขณะที่การถ่ายโอนข้อมูลออฟไลน์บางอย่างไม่สนใจต่อการล่าช้า • การล่าช้าหรือสูญหายอาจตีค่าแตกต่างกันโดยผู้ใช้ที่แตกต่างกัน แม้ว่าจะใช้การประยุกต์ใช้แบบเดียวกัน ในทำนองเดียวกัน การตีค่าของผู้ใช้สำหรับคุณภาพของบริการ (quality of service: QOS) อาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับจุดหมายปลายทางหรือช่วงเวลา • ผู้ใช้บางรายต้องการการรับประกันถึงกรณีที่เลวร้ายสุดที่คาดเดาไว้ก่อน ขณะที่บางคนพอใจกับการรับประกันกรณีเฉลี่ย บางคนก็อาจพอใจกับบริการแบบพยายามดีที่สุดโดยเครือข่ายไม่รับประกันการสูญเสียหรือล่าช้า

  12. จากความต้องการ QOS ของแต่ละราย ทำให้การดำเนินการและควบคุมของเครือข่ายซับซ้อนขึ้น ในทางปฏิบัติ จุดประสงค์ของผู้ใช้ทั้งหมดและทุกช่วงเวลาจะถูกเฉลี่ย จุดประสงค์เฉลี่ยนี้จะแปลงเป็นมาตรฐานทางวิศวกรรมแล้วใช้เพื่อขับเคลื่อนกระบวนการควบคุมเครือข่าย เท่ากับว่าเมื่อทำการตัดสินใจเกี่ยวกับการปฏิบัติจะไม่นำเอาส่วนของผู้ใช้มาพิจารณาเลย ในการพยายามสะท้อนถึงความแตกต่างในความต้องการ QOS นักวิจัยหลายรายแบ่งการใช้เป็นชั้นๆ ตามความต้องการของการประยุกต์ใช้และลักษณะของการจราจร แต่ละประเภทจะถูกมองเหมือนมีตัวแทนผู้ใช้รายเดียวเพื่อวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์และควบคุม ซึ่งก็ยังเป็นการมองข้ามความแตกต่างในกลุ่มของแต่ละประเภทอยู่ ซึ่งผู้ดำเนินการเครือข่ายควรพัฒนาเครื่องมือที่มีความยืดหยุ่นเพื่อรับมือความแตกต่างแบบนี้

  13. แนวทางหนึ่งคือ การนำเอารูปแบบหนึ่งของการประเมินค่าที่เราเรียกว่า responsive pricing มาใช้ เชื่อว่าจะเป็นกลไกที่มีประโยชน์สำหรับการทำให้มูลค่าของเครือข่ายสูงสุด ผู้ใช้จะได้ประโยชน์ด้วยการได้รับบริการที่สอดคล้องมากขึ้นกับความต้องการ ผู้ดำเนินการเครือข่ายได้ประโยชน์ผ่านทางการใช้เครือข่ายที่ดีขึ้นและความพอใจของผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้นจากบริการที่ได้รับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง responsive pricing ช่วยให้ผู้ดำเนินการเครือข่ายในด้านของ “การค้นพบมูลค่า” โดยแสดงถึง การตีค่าของ QOS แตกต่างระหว่างเวลา ผู้ใช้ และการประยุกต์ใช้ อย่างไร ผลรวมของการวัดทางวิศวกรรมเครือข่ายยังคงมีความสำคัญอย่างต่อเนื่อง แต่ความปรารถนาของผู้ใช้ควรเป็นตัวกำหนดสำคัญในการขับเคลื่อนโครงร่างการจัดสรรทรัพยากรและการควบคุมความแออัด

  14. Two definitions of efficiency เพื่อให้กระจ่างชัด เราจำต้องแยกความหมายที่แตกต่างกันอย่างมากสองประการของประสิทธิภาพ โดย network efficiency หมายถึงการใช้ทรัพยากรของเครือข่าย เช่น bandwidth และ buffer space ขณะที่ economic efficiency หมายถึงการตีค่าโดยเปรียบเทียบที่ผู้ใช้ให้กับบริการเครือข่าย ถ้าเครือข่ายสามารถรักษาระดับเป้าหมายหนึ่งของบริการ ในขณะที่ใช้ทรัพยากรน้อยสุดในการให้บริการ เราเรียกการดำเนินการเครือข่ายนี้ว่า network efficient เช่น การใช้ statistically multiplexing bursty transmission จะลดการใช้ bandwidth ลงได้มากกว่าใช้ circuit switching

  15. ถ้าไม่มีผู้ใช้ปัจจุบันรายใดที่กำลังได้รับ QOS เฉพาะหนึ่งๆ ตีค่ามันต่ำกว่าผู้ใช้รายอื่นที่ถูกปฏิเสธไม่ให้ได้ใช้ QOS นั้นๆ เราเรียกการดำเนินการนั้นว่า economically efficient เช่น ถ้าผู้ใช้รายหนึ่งเต็มใจจ่าย x ต่อวินาทีสำหรับการเข้าถึงอย่างไม่ล่าช้าในการเชื่อมต่อที่ 1 Mbps และผู้ใช้รายที่สองเต็มใจจ่าย x/2 และถ้ามีเพียงรายเดียวสามารถใช้ได้ เครือข่ายจะมีประสิทธิภาพทางเศรษฐศาสตร์ถ้า bandwidth จะถูกจัดสรรให้กับผู้ใช้รายแรก (ไม่ว่าจะมีการจ่ายจริงหรือไม่ก็ตาม) ความแตกต่างของความหมายสองประการนี้คือ แม้จะมีการพัฒนาทางวิศวกรรมจนเครือข่ายมีสูงพอจนผู้ใช้ใช้ได้ฟรี แต่ถ้าการจัดสรรไม่มีประสิทธิภาพทางเศรษฐศาสตร์ ก็จะไม่มีแรงกระตุ้นให้ลงทุนเพิ่ม และไม่ประสบความสำเร็จในตลาดที่มีการแข่งขัน

  16. Feedback and adaptive users Feedback เป็นวิธีที่รู้จักกันดีของการปรับปรุงประสิทธิภาพของเครือข่าย ผู้ใช้เครือข่ายในปัจจุบันตอบสนองต่อการประเมินค่าหลายรูปแบบที่มีระยะเวลาต่างๆ ระยะเวลาที่ยาวที่สุดคือ ผู้ใช้จะตัดสินใจว่าจะใช้เครือข่ายนั้นๆ หรือไม่ อาจจะบนพื้นฐานของโครงสร้างการเรียกเก็บค่าบริการของเครือข่ายหรือจากประสบการณ์ที่ได้จากการใช้ ในระดับการเชื่อมต่อ ถ้าผู้ใช้พบว่าเครือข่ายมีความแออัดอย่างมากในช่วงเวลาที่แน่นอนหนึ่งของวัน แต่ช่วงอื่นค่อนข้างว่าง เขาอาจจัดตารางการใช้เครือข่ายให้สอดคล้องตามนั้น หรืออาจตัดสินว่าจะเชื่อมต่อหรือไม่

  17. ผู้ใช้ที่ปรับตัวได้อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเครือข่ายได้ ถ้าเขาส่งสัญญาณการประเมินค่าที่เหมาะสม เมื่อเครือข่ายหนาแน่น การประเมินค่าควรจูงใจให้ผู้ใช้ที่ปรับตัวได้ไม่เพิ่มการจราจรเข้าไป และเมื่อเครือข่ายว่างก็ควรจูงใจให้ผู้ใช้ส่งถ่ายสิ่งที่ต้องการ สัญญาณการประเมินค่าที่เป็นไปได้อันหนึ่งคือ ราคาที่อิงอยู่บนระดับของการจราจรบนเครือข่าย เมื่อแออัดราคาจะสูง ผู้ใช้ที่อ่อนไหวกับราคาคือผู้ที่เต็มใจและสามารถตอบสนองกับราคาแบบพลวัตรดังกล่าว ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางเศรษฐศาสตร์ด้วยการเลือกว่าจะใช้เครือข่ายหรือไม่ตามความเต็มใจจ่ายเฉพาะตนกับราคาในตอนนั้น ผู้ใช้ที่ให้ค่าบริการเครือข่ายสูงเลือกที่จะส่งถ่ายข้อมูล ขณะที่ผู้ใช้ที่ตีค่าต่ำจะรอให้ราคาต่ำลง เมื่อเครือข่ายว่าง ราคาจะใกล้เคียงศูนย์และผู้ใช้ทุกรายจะใช้

  18. Price as a form of feedback การควบคุมความแออัดและการควบคุมการประเมินค่าเป็นปัญหาที่ยากสำหรับการดำเนินการเครือข่าย เนื่องจากมีความท้าทายทางเทคนิค ผู้เกี่ยวข้องมักละเลยประเด็นสำคัญสองประการ ประเด็นแรก จะนิยามและวัดความแออัดอย่างไร ซึ่งเป็นคำถามที่ยากเพราะความต้องการของผู้ใช้แต่ละรายแตกต่างกัน ดังนั้นผู้ใช้บางรายอาจคิดว่าเครือข่ายแออัด ขณะที่บางรายอาจคิดว่าไม่ และการเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายนั้น ความรับผิดชอบในการตรวจความแออัดจะแบ่งกันในหมู่ผู้ดำเนินการเครือข่าย ต่างก็ใช้วิธีวัดแตกต่างกัน และยิ่งถ้ามองไปที่การประยุกต์ใช้แต่ละประเภทที่มีความต้องการด้าน QOS แตกต่างกัน ยิ่งวัดได้ยากขึ้น

  19. ประเด็นที่สอง จะจัดสรรทรัพยากรที่มีจำกัดภายใต้ความแออัดอย่างไร ในปัจจุบันใช้การจัดคิวแบบ first in, first out แต่มีข้อเสนอบางอันให้ผู้ใช้ระบุการเรียงลำดับความสำคัญโดยเปรียบเทียบสำหรับการจราจรของตน นำไปสู่ปัญหาของการจัดเสนอแรงจูงใจไม่ให้ผู้ใช้ทุกรายเลือกให้ความสำคัญสูงสุด การเรียกเก็บจากผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทำได้หลายส่วน เช่น ค่าเชื่อมต่อ เรียกเก็บต่อหน่วยเวลาหรือต่อหน่วยแบนด์วิธ เรียกเก็บพิเศษสำหรับบริการเฉพาะ ฯลฯ ในที่นี้เราจะเน้นเฉพาะที่ ส่วนของตอบสนองที่ผันแปรไปตามสภาวะความแออัด โดยเสนอให้มีการเรียกเก็บเฉพาะเมื่อเครือข่ายแออัด ซึ่งผู้ใช้บางรายประสบกับการเสื่อมของ QOS ถ้าเครือข่ายว่างและผู้ใช้ทุกรายได้รับบริการที่ยอมรับได้ ราคาควรเท่ากับศูนย์

  20. การเสนอให้มีการจัดสรรทรัพยากรและบริการเรียงตามความสำคัญไม่ใช่เรื่องใหม่ มีการจัดสรรอยู่ตลอดเวลาในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต แต่บนพื้นฐานของ first come, first serve โดยไม่พิจารณาว่าผู้ใช้บางรายตีค่าการได้ใช้บริการทันทีสูงกว่าคนอื่นๆ จากความแตกต่างในความต้องการการดำเนินการของเครือข่าย เชื่อว่าการกำหนดราคาแบบตอบสนองจะปรับปรุงประสิทธิภาพทางเศรษฐศาสตร์ ด้วยการจูงใจให้ผู้ใช้ที่ให้ความสำคัญต่ำชะลอการใช้จนไม่มีความแออัด โครงร่างแบบนี้จะไม่ทำให้ผู้ใช้ที่ทนรับความล่าช้าได้เดือดร้อนใจแต่ประการใด ขณะที่ช่วยให้คุณค่าของเครือข่ายดีขึ้นสำหรับผู้ใช้ที่ได้ประโยชน์มากสุดจากความสามารถเข้าถึงได้ทันทีทันใด

  21. Modeling user adaptation to feedback มีหลายทางที่ผู้ใช้สามารถปรับตัวเองเข้ากับสภาวะของเครือข่าย เช่น ผู้ใช้อาจมีการประยุกต์ใช้แบบ constant bit rate: CBR ซึ่งไม่ทนกับการล่าช้าหรือสูญหาย ถ้าผู้ใช้ไม่ชอบบริการที่เครือข่ายเสนอ ก็อาจเลือกที่จะเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่น จึงไม่มีการใช้เครือข่ายที่พิจารณาเลย อีกทางเลือกหนึ่ง ผู้ใช้อาจเลือกที่จะเชื่อมต่อ และเลือกใช้การประยุกต์ใช้แบบ CBR และแบบที่ทนความล่าช้าได้ หรืออาจยอมรับสภาวะเครือข่ายแล้วลดจำนวนข้อมูลที่ส่งผ่านด้วยยอมรับ fidelity ที่ลดลง หรือยอมเชื่อมต่อในเวลาอื่น

  22. หรืออาจยอมรับคุณภาพการบริการแบบ best effort โดยไม่ต้องคำนึงว่าสภาวะของเครือข่ายเป็นอย่างไรอยู่ ผู้ใช้ยอมรับทั้งความล่าช้าและการสูญเสียข้อมูล แต่การปรับตัวแบบนี้อาจมีต้นทุนที่สูงมาก ถ้า higher layer protocol ทำการส่งซ้ำ packets ที่สูญหายอยู่ตลอด ผลคือความแออัดยิ่งสร้างความแออัด ด้วยเหตุนี้เราจึงแบ่งผู้ใช้เป็นประเภทไม่ยืดหยุ่นและยืดหยุ่น การประยุกต์ใช้ที่ inelastic ต้องการการรับประกันความล่าช้า แต่ทนได้กับการสูญหายและปรับตัวได้ เช่น ระดับที่สองของ two-level codec สำหรับวีดิโอ ระดับแรกมักประกอบด้วยสารสนเทศที่จำเป็นขั้นต่ำ และต้องส่งมาโดยไม่บกพร่องแม้แต่น้อย ส่วนระดับที่สองเป็นสารสนเทศส่วนเพิ่ม ไม่จำเป็นต้องได้รับหมดจึงเป็นไปได้ที่จะทนรับความล่าช้าหรือสูญหายบางระดับ อย่างไรก็ตาม ถ้าข้อมูลมาไม่ทันเวลาที่จะเริ่มเล่น ก็ไม่มีประโยชน์เลย

  23. ผู้ใช้ที่ elastic จะรอจนกระทั่งการตอบรับของเครือข่ายชี้ว่าสามารถส่งผ่านข้อมูลได้ จึงส่งและต้องการการประกันว่าข้อมูลจะไม่สูญหายในเครือข่าย ผู้ใช้ที่ยืดหยุ่นแต่ละรายตัดสินใจเป็นเอกเทศถึงมาตรฐานการส่งถ่าย เช่น ราคาสูงสุดต่อ cell ที่เขาเต็มใจจ่าย ตัวอย่างของผู้ใช้ที่ยืดหยุ่นคือ การส่งถ่ายข้อมูลแบบ non-real-time จึงไม่มี buffer ไว้ที่ผู้ส่ง

  24. Responsive pricing schemes ในที่นี้เราจะเปรียบเทียบโครงร่างที่แตกต่างกันสามแบบสำหรับการจัดสรรทรัพยากรของเครือข่ายอย่างง่ายๆ แบบแรกเป็นแนวทางปกติที่ไม่ได้ใช้การประเมินค่าและการปรับตัวของผู้ใช้ต่อสภาวะของเครือข่าย แบบที่สองเป็นแบบ closed-loop ของการประเมินค่าและการปรับตัว และแบบที่สามเป็นแบบ closed-loop variation ซึ่งเราเรียกว่า tight loop เนื่องจากมีการลดความล่าช้าลงใน control loop

  25. No feedback เครือข่ายส่วนใหญ่มักสมมุติว่า เครือข่ายจะ (และควร) ปรับแต่งเพื่อความมีประสิทธิภาพด้วยกลุ่มของผู้ใช้ที่เชื่อมต่ออยู่ ปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้อย่างเดียวที่มีอยู่ในโครงร่างแบบนี้คือ ผ่านทางข้อตกลงเรื่องการเชื่อมต่อ ดังนั้น เราจึงถือว่าเครือข่ายไม่ได้จัดเสนอเรื่องการประเมินค่า และผู้ใช้ไม่ได้ปรับตัวเข้ากับสภาวะของเครือข่าย เครือข่ายแบบนี้จะมีการเชื่อมต่อของการประยุกต์ใช้ทั้งแบบยืดหยุ่นและไม่ยืดหยุ่น บางครั้งการเชื่อมต่ออาจมีจำนวนมากจนต้องรับกับความยุ่งยากในการดำเนินการ (ความล่าช้าหรือสูญหาย)

  26. Closed-loop feedback เครือข่ายที่มีการประเมินค่าแบบแรกใช้โครงร่างง่ายๆ สภาวะของเครือข่ายถูกวัดโดยการครอบครอง buffer ที่ gateway การครอบครองนี้จะถูกแปลงเป็นราคาต่อ packet ซึ่งจะถูกส่งกลับไปให้กับการประยุกต์ใช้ขณะนั้นแต่ละแบบ การประยุกต์ใช้จะตัดสินใจว่าจะส่ง packet เท่าใดในช่วงเวลาถัดไป ในเครือข่ายนี้ การสนองตอบจะมีความล่าช้าของการตอบสนองอยู่อย่างน้อยหนึ่งช่วงเวลา

  27. Smart market pricing แนวทางแบบ smart market เสนอโดย MacKie-Mason กับ Varian โดยผู้ใช้ส่ง packets ไปสู่เครือข่ายโดยมี header ที่ระบุว่าผู้ใช้เต็มใจจ่ายเท่าใดในการนำ packet นั้นเข้าสู่เครือข่ายในช่วงเวลานั้นๆ เครือข่ายจะตัดสินใจว่าจะนำ packets เท่าใดเข้าสู่เครือข่ายโดยไม่ทำให้คุณภาพการบริการลดลง เครือข่ายจะเลือก packet ตามการประมูลที่ส่งมา ผู้ใช้จะถูกเรียกเก็บไม่ใช่จากราคาที่เขาประมูล แต่จากราคาประมูลของ packet สุดท้ายที่ยอมให้เข้ามาในเครือข่าย ผู้ใช้จึงเพียงแค่จ่ายต้นทุนความแออัด (ราคาประมูลสูงสุดของ packet ที่ถูกปฏิเสธไม่ให้เข้ามาใช้ในเวลานั้น)

  28. เราเรียกกลไกนี้เป็น tight loop เพราะผู้ใช้ส่งความเต็มใจจ่ายมาพร้อมกับ packet การยอมให้ใช้เครือข่ายและการกำหนดราคาถูกตัดสินบนฐานของรายงานเหล่านั้นและสภาวะปัจจุบันของความแออัดของเครือข่าย โดยไม่มีความล่าช้าของการตอบสนอง ในทางปฏิบัติ อาจมีความล่าช้าหนึ่งช่วงเวลา เพื่อให้ gateway ตัดสินที่จะตัดราคาประมูลที่ยอมหรือไม่ยอมให้เข้ามาใช้เครือข่าย

  29. Objections to responsive pricing Myths เกี่ยวกับการคัดค้านการกำหนดราคาแบบนี้ • Why do we need to introduce prices? The Internet is free now – let’s keep it that way. ที่จริงอินเตอร์เน็ตในตอนนี้ไม่ฟรี แม้ว่าสำหรับบางคนที่องค์กรของคนนั้นเป็นผู้จ่ายให้ก็ตาม ปัญหาจึงไม่ใช่ว่า ควรคิดค่าใช้หรือไม่ แต่ควรเป็นว่า ควรคิดอย่างไรเพื่อให้คุณค่าที่ผู้ใช้ได้รับสูงสุด

  30. With any form of responsive pricing, it’s the small users who will suffer the most. Rich users can behave as they want since they have the resources, and could effectively limit the network access of small users. ที่จริงแล้วไม่จริง แต่จะเป็นตรงข้ามมากกว่า เพราะถ้าเราเรียกเก็บเฉพาะค่าเชื่อมต่อ ราคาจะเท่ากับค่าเฉลี่ยของการใช้ของทุกๆ คน คนใช้น้อยจะจ่ายแพงกว่าสัดส่วนของตนเองแทนคนใช้มาก การเรียกเก็บแบบ responsive ช่วยให้สามารถลดค่าเชื่อมต่อลงมาต่ำสุด ผู้ใช้มากก็จ่ายมากตามจำนวนการใช้

  31. Responsive pricing is just another way for network operators to make more money. Users will lose out as network operators maximize their profits. จริงที่ผู้ฉวยโอกาสสามารถหากำไรได้ทั้งนั้นไม่ว่าจะคิดราคาอย่างไร แต่ในสภาพแวดล้อมที่มีการแข่งขัน การหากำไรเกินควรคงไม่สามารถยืนยงอยู่ได้นาน แต่ถ้าเป็นกรณีที่มีการผูกขาดหรือมี cartel เกิดขึ้น ผลลัพธ์จะขึ้นอยู่กับนโยบายและกฎเกณฑ์มากกว่าโครงร่างการกำหนดราคา

  32. If congestion is caused by bandwidth-intensive users, why don’t we just keep these users off the Internet, or limit their number so that they don’t cause congestion problem? การกันผู้ใช้เหล่านี้ออกจากเครือข่ายหมายถึง การทำให้เครือข่ายเป็นแบบ low-tech และยืนกรานที่จะดำเนินไปตาม ‘best effort, no guarantees’ paradigm ซึ่งขัดแย้งกับแนวโน้มที่เครือข่ายจะเป็น integrated-services และทำให้อินเตอร์เน็ตพลาดโอกาสในสิ่งดีๆ ไป

  33. Dynamic pricing schemes are unworkable in practice due to the overheads involved in accounting and billing for usage on such a detailed level. ต้นทุนของการกำหนดราคาแบบพลวัตรอาจมากกว่าผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ แต่ไม่ใช่กับทุกโครงร่างการกำหนดราคา โดยเฉพาะกลไกการกำหนดราคาออนไลน์อาจลดต้นทุนที่เป็นจริง เพราะไม่มีเหตุผลที่เราจะใช้การลงบันทึกและแจ้งหนี้เหมือนอุตสาหกรรมอื่น เช่น โทรศัพท์หรือไฟฟ้า เพราะการทำงานบนเครือข่ายอยู่บนคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถสูงอยู่แล้ว ดังนั้นอาจสร้างระบบบางอย่างที่มีต้นทุนต่ำมากๆ ได้

More Related