1 / 20

ยืนยง นิลสยาม คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจากการศึกษาในประเทศไทย โดยศึกษาเปรียบเทียบ วิธีกำลังสองน้อยที่สุดกับวิธีโครงข่ายประสาทเทียม The Contribution of Education to Economic Growth in Thailand: Least Square Approach and Neural Network Approach. ยืนยง นิลสยาม คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บทนำ.

penha
Download Presentation

ยืนยง นิลสยาม คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจากการศึกษาในประเทศไทยโดยศึกษาเปรียบเทียบวิธีกำลังสองน้อยที่สุดกับวิธีโครงข่ายประสาทเทียมThe Contribution of Education to Economic Growth in Thailand:Least Square Approach and Neural Network Approach ยืนยง นิลสยาม คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  2. บทนำ • การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ = ปัจจัยด้านมนุษย์ + ปัจจัยด้านกายภาพ + ปัจจัยด้านการเงิน • มนุษย์ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นทั้งแรงงานและผู้ประกอบการ • การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไม่สามารถถูกอธิบายด้วยแรงงานและทุน • นักเศรษฐศาสตร์เห็นว่าคุณภาพของแรงงานหรือทุนมนุษย์เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ (Griliches, 1997) • โดยเน้นไปที่การศึกษาเป็นสำคัญ

  3. บทนำ (ต่อ) • รายได้ที่เพิ่มขึ้นเมื่อแรงงานมีการศึกษาที่สูงขึ้น ดังนั้นถ้าประชากรได้รับการศึกษาโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นก็น่าจะทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นด้วย • การวิเคราะห์การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจากการศึกษาในประเทศไทย โดยสุนิสา (2538) ได้เลือกใช้ฟังก์ชันการผลิตแบบ Cobb-Douglas และใช้วิธีกำลังสองน้อยที่สุด (Least Square) ในการประมาณค่าพารามิเตอร์ของสัมประสิทธิ์การถดถอย

  4. บทนำ (ต่อ) • ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ อย่างมากมาย • Qi(1999)ได้ทำการเปรียบเทียบวิธีสมการถดถอยเชิงเส้นกับวิธีโครงข่ายประสาทเทียม • ค่าพยากรณ์ที่ได้จากวิธีโครงข่ายประสาทเทียมมีค่าใกล้เคียงกับค่าที่แท้จริงมากกว่า • วิธีโครงข่ายประสาทเทียมเป็นวิธีที่รองรับทั้งฟังก์ชันแบบเชิงเส้นและไม่เป็นเชิงเส้น อีกทั้งมีความยืดหยุ่นสามารถใช้ได้แม้ไม่ทราบรูปแบบของฟังก์ชันที่แน่นอน

  5. บทนำ (ต่อ) • ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแม่นยำในการพยากรณ์ระหว่างวิธีกำลังสองน้อยที่สุดกับวิธีโครงข่ายประสาทเทียมในเรื่องการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจากการศึกษาในประเทศไทย • โดยใช้ค่า • Root Mean Square Error (RMSE) • Mean Absolute Error (MAE) และ • Mean Absolute Percentage Error (MAPE) • ที่ได้จากข้อมูลชุดทดสอบ (Out of Sample) ในการเปรียบเทียบความแม่นยำ

  6. ข้อมูล • ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลรายปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518-2549 รวมทั้งสิ้น 32 ปี โดยใช้ข้อมูลดังนี้ • ข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product) • ข้อมูลสต็อกทุนมวลรวมของประเทศไทย (Capital Stock of Thailand) • ข้อมูลแรงงานผู้มีงานทำแบ่งตามระดับการศึกษา โดยถ่วงน้ำหนักด้วยจำนวนปีการศึกษา • ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้จะถูกจัดเรียงเป็น 50 แบบ โดยแบบที่ 1 จัดเรียงตามลำดับเวลา ส่วนอีก 49 แบบจัดเรียงโดยการสุ่ม • ใช้ข้อมูลร้อยละ 80 ในการสร้างแบบจำลอง และใช้ข้อมูลร้อยละ 20 ในการทดสอบความแม่นยำของแบบจำลอง

  7. วิธีการศึกษา • วิธีกำลังสองน้อยที่สุด • ฟังก์ชันการผลิตแบบ Cobb-Douglas • ทำการวิเคราะห์หาค่าพารามิเตอร์ แล้วทำการพยากรณ์และหาค่าความผิดพลาด

  8. วิธีการศึกษา (ต่อ) • ฟังก์ชันการผลิตแบบ Constant Elasticity of Substitution (CES) • ทำการวิเคราะห์หาค่าพารามิเตอร์ แล้วทำการพยากรณ์และหาค่าความผิดพลาด

  9. วิธีการศึกษา (ต่อ) • วิธีโครงข่ายประสาทเทียม • วิธีโครงข่ายประสาทเทียม (Neural Network) ที่เลือกใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบแพร่ย้อนกลับ (Back Propagation) ซึ่งอยู่ในกลุ่มของ Multilayer Feed Forward Neural Networks (MLFF)

  10. วิธีการศึกษา (ต่อ) รูปภาพที่ 1 แสดงองค์ประกอบโครงข่ายประสาทเทียมแบบแพร่ย้อนกลับ

  11. วิธีการศึกษา (ต่อ) • วิธีโครงข่ายประสาทเทียมแบบเชิงเส้น โดยเลือกใช้ฟังก์ชันถ่ายโอน (Transfer Function) แบบ Pure Linearและทำการปรับจำนวน Layer และ Node ตามความเหมาะสม ทำการสอน (Train) แบบจำลองด้วยข้อมูลสำหรับสร้างแบบจำลอง แล้วใช้แบบจำลองที่ได้หาค่าพยากรณ์และค่าความผิดพลาดจากข้อมูลชุดทดสอบ • วิธีโครงข่ายประสาทเทียมแบบไม่เป็นเชิงเส้น ทั้งนี้เลือกใช้ฟังก์ชันถ่ายโอนแบบ Log-sigmoidกำหนดจำนวน Layer และ Node ตามความเหมาะสม แล้วสอนแบบจำลองด้วยข้อมูลสำหรับสร้างแบบจำลอง เมื่อได้แบบจำลองแล้วหาค่าพยากรณ์และค่าความผิดพลาดจากข้อมูลชุดทดสอบ

  12. วิธีการศึกษา (ต่อ) • ขั้นตอนสุดท้ายทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าความผิดพลาดที่ได้จากแต่ละแบบจำลอง

  13. ผลการศึกษา • แบบจำลองที่ได้จากวิธีกำลังสองน้อยที่สุดแบบ Cobb-Douglas • แบบจำลองที่ได้จากวิธีกำลังสองน้อยที่สุดแบบ CES

  14. ผลการศึกษา (ต่อ) • แบบจำลองวิธีโครงข่ายประสาทเทียมแบบเชิงเส้น (Linear NN) เป็นแบบ 2 ชั้น (Layer) ชั้นแรกมี 4 โนด (Node) ชั้นที่สองมี 4 โนด • แบบจำลองวิธีโครงข่ายประสาทเทียมแบบไม่เป็นเชิงเส้น (Nonlinear NN) เป็นแบบ 1 ชั้น โดยมี 8 โนด

  15. ผลการศึกษา (ต่อ) ตารางที่ 1 แสดงค่าผิดพลาดเฉลี่ยที่ได้จากแต่ละแบบจำลอง

  16. สรุปผลการศึกษา • จากการศึกษาครั้งนี้พบว่าค่าเฉลี่ยความผิดพลาดเรียงจากน้อยไปมากดังนี้ • วิธีกำลังสองน้อยที่สุดแบบ Cobb-Douglas • วิธีกำลังสองน้อยที่สุดแบบ CES • วิธีโครงข่ายประสาทเทียมแบบเชิงเส้น • โครงข่ายประสาทเทียมแบบไม่เป็นเชิงเส้น

  17. สรุปผลการศึกษา (ต่อ) • ปัจจัยที่ส่งผลต่อความแม่นยำในการพยากรณ์มีดังนี้ • ปัจจัยการเรียงลำดับข้อมูล • โดยส่งผลเป็นอย่างมากต่อวิธีโครงข่ายประสาทเทียมทั้งแบบเชิงเส้นและไม่เป็นเชิงเส้น แต่ส่งผลน้อยมากสำหรับวิธีกำลังสองน้อยที่สุดทั้งแบบ Cobb-Douglas และ CES • ปัจจัยจำนวนข้อมูล • ข้อมูลที่น้อยส่งผลให้แบบจำลองที่สร้างขึ้นไม่สามารถสะท้อนความเป็นจริงทั้งหมดได้ • ปัจจัยฟังก์ชันการถ่ายโอน (วิธีโครงข่ายประสาทเทียม) • จำเป็นต้องเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะของข้อมูล

  18. สรุปผลการศึกษา (ต่อ) • ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นว่าปัจจัยแรงงานมีความสำคัญอย่างมากต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย • ในขณะเดียวกันปัจจัยทุนก็ยังคงมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ • ดังนั้นภาครัฐควรให้ความสำคัญกับทั้งสองปัจจัยอย่างเหมาะสม การจัดสรรงบประมาณและการกำหนดนโยบายควรส่งเสริมทั้งสองปัจจัยในสัดส่วนที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากที่สุด

  19. Q & A

  20. ขอบคุณครับ

More Related