1 / 37

ตารางกำหนดน้ำหนักคะแนน

วิชาการประกวดและตัดสินสัตว์ (03-221-201) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี วิทยาเขตปทุมธานี อาจารย์อมร อัศววงศานนท์ (09-1748175) สาขาวิชา วิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์. ตารางกำหนดน้ำหนักคะแนน. กำหนดการสอน 2/48. หน่วยเรียนที่ 1 ความสำคัญและประโยชน์ของการประกวดและตัดสินสัตว์.

Download Presentation

ตารางกำหนดน้ำหนักคะแนน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิชาการประกวดและตัดสินสัตว์ (03-221-201)มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรีวิทยาเขตปทุมธานีอาจารย์อมร อัศววงศานนท์ (09-1748175)สาขาวิชา วิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์

  2. ตารางกำหนดน้ำหนักคะแนนตารางกำหนดน้ำหนักคะแนน

  3. กำหนดการสอน 2/48

  4. หน่วยเรียนที่ 1ความสำคัญและประโยชน์ของการประกวดและตัดสินสัตว์ • 1.1ความสำคัญและประโยชน์ของการประกวดและตัดสินสัตว์ • 1.1.1ปรัชญาของการตัดสินสัตว์ • 1.1.2ความสำคัญของการประกวดและตัดสินสัตว์ • 1.1.3ประโยชน์ของการประกวดและตัดสินสัตว์ • 1.1.4วิวัฒนาการของการประกวดและตัดสินสัตว์ • 1.2การตัดสินสัตว์ • 1.2.1ระบบการตัดสินสัตว์ • 1.2.2คุณสมบัติของผู้ตัดสินสัตว์

  5. จุดประสงค์ • 1.1รู้ความสำคัญและประโยชน์ของการประกวดและตัดสินสัตว์ • 1.1.1บอกปรัชญาของการตัดสินสัตว์ • 1.1.2บอกความสำคัญของการประกวดและตัดสินสัตว์ • 1.1.4บอกวิวัฒนาการของการประกวดและตัดสินสัตว์ • 1.2รู้การตัดสินสัตว์ • 1.2.1บอกระบบการตัดสินสัตว์ • 1.2.2บอกคุณสมบัติของผู้ตัดสินสัตว์

  6. หน่วยเรียนที่ 1 ความสำคัญและประโยชน์ของการประกวดและตัดสินสัตว์

  7. ปรัชญาของการตัดสินสัตว์ปรัชญาของการตัดสินสัตว์ การตัดสินสัตว์เป็นศาสตร์และศิลป์ในการประเมินคุณค่าของสัตว์จากภายนอกด้วยตาเปล่า ว่าเป็นสัตว์ที่ให้ผลผลิตดี ไม่ดี ผู้ตัดสินสัตว์ต้อง -มีศาสตร์ คือความรู้เกี่ยวกับคุณค่าของสัตว์ว่าลักษณะอย่างไรให้ผลผลิตเนื้อ นม ไข่หรือขนสัตว์มากน้อย -มีศิลปะในการสังเกต ก่อนจะตัดสินใจในการจัดอันดับความสำคัญของสัตว์แต่ละตัวว่าตัวใดมีความสำคัญมากน้อยกว่ากันให้ได้ -ควรคัดเลือก(Selection)ไว้ในฝูง -ทำการคัดทิ้ง(Culling)ออกจากฝูง และเปรียบเทียบว่าลักษณะอย่างไร่ดีกว่า สวยงามกว่า

  8. การตัดสินต้องคำนึงถึงความสำคัญและวัตถุประสงค์ในการเลี้ยงสัตว์การตัดสินต้องคำนึงถึงความสำคัญและวัตถุประสงค์ในการเลี้ยงสัตว์ -โคเนื้อ -กินเนื้อ -โคนม -กินน้ำนม -กระบือ -ใช้แรงงาน และกินเนื้อ -แพะ -กินเนื้อ และกินนม -แกะ -กินเนื้อ และใช้ขน -สุกร -กินเนื้อ -ไก่เนื้อ -กินเนื้อ -ไก่ไข่ -กินไข่ -ไก่พื้นเมือง -กีฬา อนุรักษ์ กินเนื้อ

  9. 1.เพื่อเป็นการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์สัตว์ 2.เป็นที่เผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ 3.เป็นการกระตุ้นธุรกิจการค้าสัตว์และธุรกิจ ต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกับการประกวดสัตว์ 4.เป็นแหล่งรวบรวมสัตว์พันธุ์ดี 5.รู้ความต้องการของตลาด ความสำคัญและประโยชน์ของการประกวดและตัดสินสัตว์

  10. 1.1.3วิวัฒนาการของการประกวดและตัดสินสัตว์1.1.3วิวัฒนาการของการประกวดและตัดสินสัตว์ การประกวดสัตว์นั้นเริ่มโดยการประกวดสุนัข ปีค.ศ. 1830-1840 มีกฎหมายห้าม การกัดสุนัขและการให้สุนัขสู้กับวัว ดังนั้น จ้าของสุนัข จึงหากิจกรรมใหม่ ซึ่งวิวัฒนาการเป็นการประกวดสุนัขครั้งแรกใน ปีค.ศ. 1859ที่เมืองนิวคาสเซิล ซึ่งการประกวดในระยะแรก ที่ยังไม่มีการกำหนด ระเบียบต่างๆไม่มีการกำหนดมาตรฐานของพันธุ์ จึงทำให้เกิดการถกเถียง กัน อย่างมาก ปี ค.ศ. 1873มีการก่อตั้งสมาคมผู้เลี้ยงสุนัขในประเทศอังกฤษ เพื่อจดทะเบียนสุนัข พันธุ์ต่างๆและกำหนดมาตรฐานของพันธุ์รวมทั้งมีการร่างกฎและ หลักเกณฑ์การให้คะแนน สมาคมมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่และปรับปรุง พันธุ์สุนัขให้พัฒนาขึ้น ต่อมาผู้ที่เลี้ยงสัตว์ชนิดอื่นจึงยึดถือการประกวด สุนัขเป็นแนวทาง และพัฒนาการประกวดให้เหมาะสมกับสัตว์ชนิดนั้นๆ

  11. 1.2 การตัดสินสัตว์ การตัดสินสัตว์ต้องอาศัยการวิเคราะห์อย่างละเอียดถี่ถ้วนในการเปรียบเทียบสัตว์ไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้ โดยการคัดเลือกสัตว์ที่ดีกว่าตัวอื่นๆจำนวน 4 ตัวจากนั้นให้แบ่งเป็น 2 คู่ คือคู่ดี-คู่เลว จากนั้นทำการเปรียบเทียบสัตว์เป็นคู่ๆ จะทำให้การตัดสินเกิดความผิดพลาดได้น้อยที่ที่สุด แต่บางครั้ง สรุปขั้นตอนที่ผู้ตัดสินต้องปฏิบัติในการตัดสินสัตว์ 1.ศึกษาข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะสัตว์ในอุดมคติชนิดที่จะทำการตัดสิน การแบ่งรุ่น และจำนวนของรางวัลให้ละเอียด 2.ในการตัดสินต้องสังเกตและพิจารณาในการเปรียบเทียบสัตว์ในรุ่นที่ประกวดอย่างมีสมาธิ 3.ตัดสินสัตว์ตัวที่ดีที่สุดให้ได้รับรางวัลชนะเลิศ และตัวที่ดีรองลงมาก็ได้รับรางวัลรองลงมาตามลำดับอย่างถูกต้อง 4.สรุปผลการตัดสินในแต่ละรุ่นให้ผู้ชมได้รับทราบอย่างเป็นทีพอใจ หมายเหตุ หากมีการตัดสินสัตว์ที่ดีที่สุดในพันธุ์(Beest of breed) ผู้ตัดสินต้องมีความรู้ถึงพัฒนาการและลักษณะในแต่ละช่วงของสัตว์ด้วย

  12. 1.2.1ระบบการตัดสินสัตว์ 1.ระบบการรวมคะแนนของแต่ละลักษณะ (Use of unified score card for type evaluation) เป็นการตัดสินโดยใช้บัตรให้คะแนน(score card) ให้ คะแนนตามน้ำหนักของคะแนนในแต่ละลักษณะที่มีความสำคัญ มากน้อย 2.ระบบการตัดสินเปรียบเทียบ (Comparative Judging) การตัดสินระบบนี้เป็นการมองดูรูปร่างภายนอก เพื่อพิจารณา รูปร่าง ลักษณะประจำพันธุ์ และลักษณะทางเศรษฐกิจ

  13. 3.ระบบการตัดสินแบบเดนมาร์ก (Danish system) ระบบการตัดสินแบบนี้มักใช้กับการประกวดโคนมและอาจใช้กับการประกวดสัตว์ชนิดอื่นๆก็ได้ โดยพิจารณาจากรูปร่างร่วมกับผลผลิต แล้วแบ่งสัตว์เป็นเกรด 4-5 เกรดตามสีของริบบิ้นหรือสายสะพาย ดังนี้ A (Excellent or very Good)ริบบิ้นสี น้ำเงิน B (Good plus) ริบบิ้นสี แดง C (Good) ริบบิ้นสี ขาว D (Fair) ริบบิ้นสี เหลือง E (Poor) ไม่ได้รับริบบิ้น (มักไม่พบในการประกวด) 4.ระบบการตัดสินที่พิจารณารูปร่างร่วมกับผลผลิต(Combination of Type and Production Judging) ต้องเป็นสัตว์ที่โตเต็มวัยและให้ผลผลิตแล้ว(mature) และต้องเป็นผลผลิตที่ไม่ต้องฆ่าสัตว์ โดยการให้คะแนนจะแบ่งคะแนนรูปร่าง และการให้ผลผลิตอย่างละครึ่ง

  14. 5.ระบบการตัดสินโดยจัดสัตว์ให้ได้ตามแบบฉบับ(Type Classification) การตัดสินระบบนี้เป็นการตัดสินที่เน้นรูปร่างตามแบบฉบับและมีรูปร่างที่จะให้ผลผลิตดีด้วยแต่ไม่เน้นถึงความสวยงามมากนัก มีการให้คะแนนตามสภาพของสัตว์ Excellent 90 % ขึ้นไป Very Good 85-90% Good plus 80-85% Good 75-80% Fair 70-75% Poor ต่ำกว่า 70 % 6.ระบบการตัดสินหมู่(Group Judging) ระบบการตัดสินเป็นหมู่เป็นการคัดเลือกสัตว์ที่ดีเลิศเป็นกลุ่ม โดยดูเฉพาะลักษณะรูปร่าง(conformation) ของสัตว์เท่านั้น สัตว์ที่เข้าประกวดควรเป็นสัตว์ที่โตเต็มวัย และกำลังให้ผลผลิต นอกจากนี้ควรเป็นสัตว์กลุ่มเดียวกันที่มีรูปร่างลักษณะดีและตรงตรงตามเหมือนกันทั้งกลุ่ม

  15. 1.2.2คุณสมบัติของผู้ตัดสินสัตว์ 1.2.2คุณสมบัติของผู้ตัดสินสัตว์ 1.มีความตั้งใจจริงที่จะรู้จักสัตว์ ไม่ใช่เพียงรู้จักสัตว์เท่านั้นแต่ต้องทำความคุ้นเคยและคลุกคลี กับสัตว์ให้รู้ถึงความแตกต่างของสัตว์แต่ละตัว แม้ว่าเป็นสัตว์ชนิดเดียวกันที่มีสีเหมือนกันทั้งตัวก็ตาม 2.มีความรู้เกี่ยวกับกายวิภาคและสรีรวิทยาของสัตว์ ลักษณะคุณภาพซาก และความต้องการของ ตลาดหรือผู้บริโภค 3.มีภาพสัตว์ในอุดมคติอยู่ในใจ เพื่อเปรียบเทียบกับสัตว์ที่เข้าประกวดกับสัตว์สัตว์ในอุดมคติ และเปรียบเทียบระหว่างสัตว์ที่เข้าประกวดเอง

  16. 4.มีความเข้าใจและเล็งเห็นคุณค่าของสมรรถนะ(Performance) และลักษณะที่ใช้คัดเลือกสัตว์ 5.มีไหวพริบความเฉียบแหลมในการสังเกต การตรวจสัตว์ต้องกระทำอย่างถูกต้องสมบูรณ์ สม่ำเสมอ และรวดเร็ว ซึ่งต้องอาศัยความช่างสังเกต ละเอียดรอบคอบ ความจำ ไหวพริบและความกล้าตัดสินใจอย่างรวดเร็ว 6.มีความยุติธรรมตัดสินอย่างตรงไปตรงมา ไม่ควรใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัว หรือเอื้อประโยชน์ต่อผู้สนับสนุนการจัดประกวด 7.มีความคิดเห็นอิสระไม่โอนเอียงเสียงวิจารณ์ เมื่อทำการตัดสินอย่างรอบคอบแล้วไม่ควรเปลี่ยนแปลงผลการตัดสิน แต่ต้องคำวิจารณ์ไปปรับปรุงการตัดสินสัตว์ในครั้งต่อไป

  17. 8.มีความสามารถในการให้เหตุผลให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ซึ่งการชี้แจงเหตุผลในการตัดสินมีหลักดังนี้ -เปรียบเทียบเป็นคู่ๆ เฉพาะในรุ่นนั้นๆ ไม่พูดเลยไปถึงสัตว์ตัวอื่นซึ่งไม่อยู่ในสนามประกวดในเวลานั้น -อธิบายสั้นๆ ให้ตรงจุด โดยเน้นเฉพาะส่วนที่มีความแตกต่างกันของสัตว์ -กล่าวถึงข้อดีของสัตว์ตัวที่ด้อยกว่าเสียก่อน แล้วจึงให้เหตุผลว่าอีกตัวหนึ่งดีกว่าอย่างไร โดยหลีกเลี่ยงการวิจารณ์ข้อเสียของสัตว์ -พูดให้เป็นจังหวะไม่ตื่นเต้น เน้นเสียงให้น่าสนใจ และใช้เวลาในการพูดไม่มากนัก

  18. ผู้ตัดสินที่ดีควรมีหลักปฏิบัติดังนี้ ผู้ตัดสินที่ดีควรมีหลักปฏิบัติดังนี้ 1.ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการประกวดอย่างถี่ถ้วน ก่อนถึงวันประกวด ซึ่งสิ่งที่ควรรู้ได้แก่ ชื่องาน วัตถุประสงค์ในการจัด ผู้ดำเนินการจัดการประกวด ชนิดสัตว์และการแบ่งรุ่น หลักเกณฑ์หรือกฎกติกาในการตัดสิน(ซึ่งบางครั้งอาจมีหลักเกณฑ์พิเศษเพิ่มเติม) เวลาในการจัดงาน จำนวนและมูลค่าของรางวัล 2.แต่งกายสุภาพและเหมาะสมกับงาน ควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีสุภาพ เช่น สีน้ำตาล สีกรมท่า สีเท่าหรือสีดำ ไม่ควรใช้สีที่ฉูดฉาด เช่น สีแดง สีส้ม สีเหลืองหรือสีเขียว 3.มาถึงสนามประกวดก่อนเวลาตัดสินเริ่มขึ้นอย่างน้อย 30 นาที เพื่อพักผ่อนและเตรียมตัวตัดสิน

  19. 4.วางตัวให้เหมาะสม ไม่แสดงความสนินสนมกับใครคนใดคนเป็นพิเศษ ถึงแม้จะรู้จักกันเป็นอย่างดี ซึ่งอาจทำได้เพียงทักทายเล็กน้อยตามธรรมเนียม เพื่อไม่ให้เป็นที่ครหา 5.ดำเนินการประกวดตรงตามเวลา ไม่ควรให้เสร็จเร็วหรือช้ากว่ากำหนด 6.ตัดสินอย่างตรงไปตรงมา ควรกล่าวชื่นชมแสดงความยินดีกับผู้ที่ชนะ และให้กำลังใจกับผู้ที่พลาดรางวัล 7.การอธิบายเหตุผลในการตัดสิน หากมีผู้ซักถามควรตอบข้อซักให้เป็นที่เข้าใจแก่ผู้ที่รอฟังเหตุผล

  20. โดยการลดคะแนนจาก 100 คะแนน หากมีการตัดสินผิดพลาด ซึ่งความสำคัญของการลดคะแนนจะต่างกัน ถ้ามีการเลือกคู่ดี-คู่เลวผิดพลาดจะหักคะแนนมากที่สุดรองลงมาคือคู่ดี และคู่เลวตามลำดับ การจัดอันดับใช้ได้ทั้งระบบตัวเลข เช่น 1 2 3 4 หรือระบบตัวอักษรภาษาอังกฤษ A B C D ซึ่งจะเป็นอันดับ(order) ทั้งหมด 24 แบบ(combination) มีวิธีการคิดสูตรการให้คะแนนหลายแบบ ซึ่งในในที่นี้จะใช้สูตรการให้คะแนนของ Dr. R. Neidermeier ภาควิชาวิทยาศาสตร์โคนม มหาวิทยาลัยคอนซิน ดังนี้ การให้คะแนนในการจัดอันดับการแข่งขันตัดสินสัตว์

  21. การลดคะแนนจากการจัดอันดับสลับคู่ มี 2 กรณี คือ ตัวอย่างจากแบบที่ 1 ลำดับที่ถูก A B C D ได้ 100 คะแนน สลับคู่หลัง A B D C ได้ 96 คะแนน สลับคู่กลาง A C B D ได้ 90 คะแนน สลับคู่หน้า B A C D ได้ 92 คะแนน

  22. ตัวอย่างการตัดสินของผู้ฝึกหัดตัวอย่างการตัดสินของผู้ฝึกหัด t m b (8) (10) (4) ลำดับที่ถูกต้อง A B C D ลำดับที่ผู้ฝึกหัดตัดสินได้ D C B A วิธีคิด D > C หัก 4 คะแนน D > B หัก 14 คะแนน D > A หัก 22 คะแนน C > B หัก 10 คะแนน C > A หัก 18 คะแนน B > A หัก 8 คะแนน รวมถูกหัก 76 คะแนน (100-76 = 24 คะแนน)

  23. ตัวอย่างที่ 2การตัดสินของผู้ฝึกหัด t m b (8) (10) (4) ลำดับที่ถูกต้อง A B C D ลำดับที่ผู้ฝึกหัดตัดสินได้ C D B A วิธีคิด D > B หัก 14 คะแนน D > A หัก 22 คะแนน C > B หัก 10 คะแนน C > A หัก 18 คะแนน B > A หัก 8 คะแนน รวมถูกหัก 72 คะแนน (100-72 = 28คะแนน)

  24. ตัวอย่างที่ 3 การตัดสินของผู้ฝึกหัด t m b (8) (10) (4) ลำดับที่ถูกต้อง A B C D ลำดับที่ผู้ฝึกหัดตัดสินได้ C B A D วิธีคิด C > B หัก 10 คะแนน C > A หัก 18 คะแนน B > A หัก 8 คะแนน รวมถูกหัก 36 คะแนน (100-36 = 64คะแนน)

  25. ตัวอย่างที่ 2การตัดสินของผู้ฝึกหัด t m b (8) (10) (4) ลำดับที่ถูกต้อง B D C A ลำดับที่ผู้ฝึกหัดตัดสินได้ C AD B วิธีคิด A >D หัก 14 คะแนน A> Bหัก 22 คะแนน C > Dหัก 10 คะแนน C > Bหัก 18 คะแนน D> B หัก 8 คะแนน รวมถูกหัก 72 คะแนน (100-72 = 28คะแนน)

  26. ตารางเปรียบเทียบคะแนนการตัดสินสัตว์ตารางเปรียบเทียบคะแนนการตัดสินสัตว์

More Related