1 / 26

โรคที่เกิดจาก การผิดปกติของฮอร์โมน

โรคที่เกิดจาก การผิดปกติของฮอร์โมน. กลุ่มอาการโซลลิง เจอร์ - เอลลิ สัน. สาเหตุของโรค. เกิด จากความผิดปกติของฮอร์โมนแกสตรินที่เพิ่มขึ้น ทำให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดไฮโดรคลอริกออกมามากเกินไป ซึ่งมีสาเหตุมาจากเนื้องอกตรงบริเวณตับอ่อนที่เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนแกสตริน. อาการ.

Download Presentation

โรคที่เกิดจาก การผิดปกติของฮอร์โมน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โรคที่เกิดจากการผิดปกติของฮอร์โมนโรคที่เกิดจากการผิดปกติของฮอร์โมน

  2. กลุ่มอาการโซลลิงเจอร์-เอลลิสันกลุ่มอาการโซลลิงเจอร์-เอลลิสัน

  3. สาเหตุของโรค เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนแกสตรินที่เพิ่มขึ้น ทำให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดไฮโดรคลอริกออกมามากเกินไป ซึ่งมีสาเหตุมาจากเนื้องอกตรงบริเวณตับอ่อนที่เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนแกสตริน

  4. อาการ • อาการปวดท้อง (Epigastric pain) ที่จะหายไปเมื่อได้รับประทานอาหาร • อาเจียนเป็นเลือดในบางครั้ง (Hematemesis) • ประสบกับความไม่สะดวกในการรับประทานอาหาร • ท้องร่วง • ถ่ายเป็นมันขาวขุ่น มีกลิ่นเหม็นมาก (Steatorrhea)

  5. การรักษา ยายับยั้งปั๊มที่หลั่งโปรตอน (Proton pump inhibitor) และยาลดการหลั่งกรด (H2 blocker) ถูกใช้เพื่อชะลอการหลั่งกรดให้ช้าลง การรักษาให้หายขาดทำได้โดยการผ่าตัดเนื้องอกออกไป หรือทำการเคมีบำบัด

  6. กลุ่มอาการคุชชิง(อังกฤษ: Cushing's syndrome)

  7. สาเหตุ เกิดจากการมีฮอร์โมนสเตอรอยด์ในเลือดสูงกว่าปกติ ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการใช้ยาสเตอรอยด์นาน ๆ เช่น ปวดข้อรูมาตอยด์เป็นต้น หรือเกิดจากการกินยาชุดหรือยาลูกกลอนติดต่อกันนาน ๆ ส่วนน้อยอาจเกิดจากต่อมหมวกไต สร้างฮอร์โมนสเตอรอยด์มากผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นเพราะมีเนื้องอกของต่อมหมวกไต หรือเนื้องอกของต่อมใต้สมอง (ซึ่งกระตุ้นให้ต่อมหมวกไตทำงานมากเกินไป) หรือเนื้องอกของส่วนอื่น ๆ (เช่น มะเร็งปอด รังไข่ ตับ หรือ ไต) ที่สร้างฮอร์โมนออกมากกระตุ้นให้ต่อมหมวกไตทำงานมาก

  8. อาการ • มักจะค่อย ๆ เกิดขึ้นช้า ๆ เป็นแรมเดือน ในระยะแรกจะพบว่าผู้ป่วยหน้าอูมขึ้น จนหน้ากลมเป็นวงพระจันทร์และออกสีแดงเรื่อ ๆ มีก้อนไขมันเกิดขึ้นที่ต้นคอด้านหลัง (อยู่ระหว่างไหล่ทั้งสองข้าง) แลดูเป็นหนอก ซึ่งทางภาษาแพทย์ เรียกว่า อาการหนอกควาย (buffalo’s hump) รูปร่างอ้วน โดยจะอ้วนมากตรงเอว (พุงป่อง) แต่แขนขากลับลีบเล็กลง ผู้ป่วยจะรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย และซึมเศร้า • ผิวหนังจะออกเป็นลายสีคล้ำ ๆ ที่บริเวณสะโพก ผิวหนังบางและมีจ้ำเขียวพรายย้ำง่ายเวลาถูกกระทบกระแทก • มักมีสิวขึ้นและมีขนอ่อนขึ้นที่หน้า (ถ้าพบในผู้หญิงทำให้ดูว่าคล้ายมีหนวดขึ้น) ลำตัวและแขนขา กระดูกอาจผุกร่อน มักทำให้มีอาการปวดหลัง (เพราะกระดูกสันหลังผุ) • อาจมีความดันโลหิตสูง หรือ มีอาการของเบาหวาน • ผู้หญิงอาจมีเสียงแหบห้าว และมีขนมากแบบผู้ชาย ประจำเดือนมักจะออกน้อยหรือไม่มาเลย • ผู้ป่วยอานไม่มีความรู้สึกทางเพศ อาจมีอารมณ์แปรปรวน หรือกลายเป็นโรคจิต

  9. สิ่งตรวจพบผู้ป่วยมักมีรูปร่างอ้วน พุงป่อง หน้าอูม มีก้อนไขมันขึ้นที่ต้นคอด้านหลัง หน้ามีสิวหรือขนอ่อนขึ้น ท้องลาย อาการแทรกซ้อน • อาจมีภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากความดันโลหิตสูง เช่น หัวใจวาย อัมพาตครึ่งซีก โรคหัวใจขาดเลือด • อาจมีการติดเชื้อง่ายซึ่งจะพบบ่อยที่บริเวณผิวหนัง (เป็นฝี พุพองง่าย) และทางเดินปัสสาวะ หรือเป็นแผลหายยาก • อาจทำให้เป็นแผลในกระเพาะ กระดูกหักง่าย หรือเป็นโรคจิต

  10. การรักษา แพทย์จะให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ ถ้าสาเหตุเกิดจากการใช้สารสเตียรอยด์มากเกิน แพทย์จะค่อยๆลดขนาดของสารสเตียรอยด์ลง โดยการให้ยาสเตียรอยด์ (เช่น เพร็ดนิโซโลน) แทนยาชุด ยาหม้อ ยาลูกกลอน ที่ผู้ป่วยเคยกิน แล้วค่อยๆ ปรับลดลงทีละน้อย นัดมาตรวจดูระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลในเลือดเป็นระยะๆ จนแน่ใจว่าต่อมหมวกไตที่ฝ่อตัว (เนื่องจากสารสเตียรอยด์สังเคราะห์ที่กินขนาดมากเกินนั้น กดไม่ให้ต่อมนี้สร้างฮอร์โมนคอร์ติซอลได้เอง) มีการฟื้นตัวและสามารถสร้างฮอร์โมนคอร์ติซอลได้เป็นปกติ ก็จะหยุดยาสเตียรอยด์ในที่สุด ซึ่งอาจต้องใช้เวลาปรับตัวนานเป็นปี ถ้าสาเหตุเกิดจากเนื้องอกของต่อมหมวกไตหรือต่อมใต้สมอง มักจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัด หลังผ่าตัดหากพบว่าร่างกายสร้างฮอร์โมนสเตียรอยด์ไม่ได้ แพทย์จะให้ผู้ป่วยกินยาสเตียรอยด์ทดแทนไปตลอดชีวิต

  11. โรคเบาหวาน

  12. สาเหตุของโรค เกิดจากความผิดปกติของต่อมที่ตับอ่อน ซึงไม่สามารถผลิตหรือหลั่งฮอร์โมนอินซูลินออกมา ให้มากเพียงพอที่จะใช้เปลี่ยนน้ำตาลที่ร่างรายได้รับจากอาหารจำพวกแป้ง ไขมัน และโปรตีนให้เกิดเป็นพลังงาน จึงมีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าปกติ น้ำตาลส่วนเกินก็จะถูกขับออกมาในปัสสาวะพร้อมกับน้ำ ทำให้ปัสสาวะบ่อยจำนวนมาก ปัสสาวะมีรสหวาน เราจึงเรียกโรคนี้ว่า เบาหวาน

  13. อาการ • คนปกติมักจะไม่ต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะในเวลากลางดึกหรือปัสสาวะอย่างมากไม่เกิน 1 ครั้ง เมื่อน้ำตาลในกระแสเลือดมากกว่า180มก.% โดยเฉพาะในเวลากลางคืนน้ำตาลจะถูกขับออกทางปัสสาวะทำให้น้ำถูกขับออกมากขึ้น จึงมีอาการปัสสาวะบ่อยและเกิดการสูญเสียน้ำ และอาจจะพบว่าปัสสาวะมีมดตอม • ผู้ป่วยจะหิวน้ำบ่อยเนื่องจากต้องทดแทนน้ำที่ถูกขับออกทางปัสสาวะ • อ่อนเพลีย น้ำหนักลดเกิดเนื่องจากร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลจึงย่อยสลายส่วนที่เป็นโปรตีนและไขมันออกมา • ผู้ป่วยจะกินเก่งหิวเก่งแต่น้ำหนักจะลดลงเนื่องจากร่างกายน้ำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานไม่ได้ จึงมีการสลายพลังงานจากไขมันและโปรตีนจากกล้ามเนื้อ

  14. อาการอื่นๆที่อาจเกิดได้แก่ การติดเชื้อ แผลหายช้า คัน • คันตามผิวหนัง มีการติดเชื้อรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณช่องคลอดของผู้หญิง สาเหตุของอาการคันเนื่องจากผิวแห้งไป หรือมีการอักเสบของผิวหนัง • เห็นภาพไม่ชัด ตาพร่ามัวต้องเปลี่ยนแว่นบ่อย ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะมีการเปลี่ยนแปลงสายตา เช่นสายตาสั้น ต่อกระจก น้ำตาลในเลือดสูง • ชาไม่มีความรู้สึก เจ็บตามแขนขาหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เนื่องจากน้ำตาลสูงนานๆทำให้เส้นประสาทเสื่อม เกิดแผลที่เท้าได้ง่าย เพราะไม่รู้สึก • อาเจียน

  15. การรักษา • ควบคุมน้ำหนักตัวให้ปกติ โดยรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณและสัดส่วนพอเหมาะวันละ 3 เวลา โดยควรลดอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ทุกชนิด • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอให้เหมาะสมกับวัย • เมื่อเป็นเบาหวานแล้ว ควรพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายตามนัดและปฏิบัติตาคำแนะนำของแพทย์โดยรับประทานยาหรือฉีดอินซูลินตามแพทย์สั่งอย่าหยุดยาหรือเพิ่มยาเอง • ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ควรดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเท้าและซอกนิ้วเท้าถ้ามีบาดแผลเกิดขึ้นกับส่วนใดของร่างกาย ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว

  16. ภาวะเตี้ย หรือแคระ

  17. สาเหตุของโรค เกิดจากโรค Achondroplasiaกระดูกเติบโตอย่างผิดปกติ ซึ่งเป็นถึง70%ของ ผู้ป่วยโรคDwarfismแต่ในกรณีของโรคAchondroplasiaจะมีรูปร่างที่ไม่สมสัดส่วน ช่วงแขนหรือขาจะดูสั้นๆเล็กๆ เมื่อเทียบกับลำตัว (บริเวณท้อง) โดยมีหัวขนาดใหญ่กว่าปกติและใบหน้าที่มีลักษณะพิเศษ หากร่างกายเกิดความไม่สมส่วน มักจะเกิดจากหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งยีนที่ควบคุมลักษณะหรือความผิดปกติในการพัฒนากระดูกอ่อน การที่ร่างการมนุษย์เกิดการผิดปกติอย่างมาก มักจะมีสาเหตุเกี่ยวกับ ฮอร์โมน เช่น การเจริญเติบโตฮอร์โมนบกพร่องซึ่งรู้จักกันในชื่อของ “Pituitary Dwarfism” ซึ่งการเติบโตที่ผิดปกตินี้เกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อ เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของ Growth Hormone จากแหล่งที่ผลิตฮอร์โมนชนิดนี้ คือ ต่อม พิธูอิตารี่ ส่วนหน้า หรือเรียกอีกอย่างว่า ต่อมใต้สมองส่วนหน้า

  18. อาการ ร่างกายเตี้ยแคระ แต่ร่างกายก็ยังเป็นสัดส่วนที่ถูกต้องอยู่ รวมถึงความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ การรักษา ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรค Dwarfism บุคคลที่ความผิดปกติเช่นกระดูกเติบโตผิดปกติ บางครั้งพวกเขาสามารถแก้ไขได้คือการศัลยกรรมและบางฮอร์โมนที่ผิดปกติจะสามารถรักษาได้โดยแพทย์แต่ใน กรณีส่วนใหญ่จะมักเป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้โรค Dwarfismหายขาด เมื่ออายุยิ่งมากขึ้น ก็ต้องทนรับมือกับโรค Dwarfism อุปกรณ์เฟอร์นิเจอร์ภาย ในบ้านจะสามารถช่วยให้ร่างกายในผู้ป่วย Dwarf ทำงานต่างๆได้อย่างปกติ ของหลายกลุ่มมีการสนับสนุนที่จะช่วยให้ ผู้ป่วยโรค Dwarfism รับมือกับความท้าทายต่อหน้าพวกเขาและเพื่อช่วยให้พัฒนาขึ้นไปเพื่อที่จะทำให้พวกเขาสามารถพึ่งตนเองได้

  19. คอพอกเป็นพิษ (Toxic goiter / Hyperthyroidism / Graves’disease)

  20. สาเหตุ ปกติต่อมไทรอยด์จะสร้างฮอร์โมนภายใต้การควบคุมของต่อมใต้สมองถ้าต่อมไทรอยด์ทำงานได้น้อย ต่อมใต้สมองจะหลั่งฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ (TSH) ออกมากระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ทำงานมากขึ้น แต่ถ้าต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ต่อมใต้สมองก็จะลดการหลั่งฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยลง(สู่ระดับปกติ) ในคนที่เป็นโรคคอพอกเป็นพิษ จะพบว่าต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน โดยอยู่นอกเหนือการควบคุมของต่อมใต้สมอง ทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ (ไทร็อกซีน) ออกมาในกระแสเลือดเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะไปกระตุ้นให้เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายทำงานมากผิดปกติ เกิดอาการไม่สบายต่าง ๆ ส่วนสาเหตุที่ทำให้ต่อมไทรอยด์เสียสมดุลในการทำงานนั่น ยังไม่ทราบแน่นชัด เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาต้านตัวเอง หรือ ออโตอิมมูน (autoimmune) กล่าวคือมีการสร้างแอนติบอดีต่อต่อมไทรอยด์ มีชื่อเรียกเฉพาะว่า โรคเกรฟส์ (Graves’disease)โรคนี้พบว่ามีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางเพศ (ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย) ทางกรรมพันธุ์ (พบมีญาติพี่น้องเป็นร่วมด้วย) และความเครียดทางจิตใจ

  21. อาการ • ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ มือสั่น (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาทำงานละเอียด เช่น เขียนหนังสือ งานฝีมือ) ใจหวิวใจสั่น • มักจะมีความรู้สึกขี้ร้อน คือ ชอบอากาศเย็นมากกว่าอากาศร้อน เหงื่อออกง่าย (ฝ่ามือจะมีเหงื่อชุ่มตลอดเวลา) • น้ำหนักตัวจะลดลงรวดเร็ว โดยที่ผู้ป่วยกินได้ปกติ หรืออาจกินจุขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ ทั้งนี้เพราะร่างกายมีการเผาผลาญอาหารมาก • ผู้ป่วยมักมีลักษณะอยู่ไม่สุข ชอบทำโน่นทำนี่ บางทีดูเป็นคนขี้ตื่น หรือท่าทางหลุกหลิก หรืออาจมีอาการหงุดหงิด โมโหง่าย • บางรายอาจมีอาการถ่ายเหลวบ่อยคล้ายท้องเดิน หรืออาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน • บางรายอาจมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง แขนขาไม่มีแรง กลืนลำบาก หรือมีภาวะอัมพาตครั้งคราว จากโพแทสเซียมในเลือดต่ำ • ผู้หญิงบางรายอาจมีประจำเดือนน้อย หรือไม่สม่ำเสมอ หรือขาดประจำเดือน

  22. ข้อแนะนำ • โรคนี้อาจมีอาการแสดงได้ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบางครั้งอาจมีอาการคล้ายโรคกังวล ดังนั้น ถ้าพบผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย น้ำหนักลด ใจสั่น มือสั่น หงุดหงิด นอนไม่หลับ ควรตรวจดูให้แน่ใจเสียก่อนว่า มีสาเหตุจากโรคนี้หรือไม่ • โรคนี้รักษาได้ แต่อาจต้องกินยาเป็นปี ๆ ผู้ป่วยจึงควรติดต่อรักษากับแพทย์อย่าได้ขาด • ถ้ารักษาด้วยยาไม่ได้ผลหรือมีความไม่สะดวกแพทย์อาจรักษาด้วยการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ หรือให้กินน้ำแร่ (ซึ่งมีสารกัมมันตรังสีทำลายเนื้อเยื่อของต่อมไทรอยด์บางส่วน) • ผู้ป่วยไม่ว่าจะรักษาด้วยยา น้ำแร่ หรือการผ่าตัด อาจมีโอกาสกลายเป็นโรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเหมือน ๆ กัน ดังนั้นถ้ามีอาการสงสัยว่าจะกลายเป็นโรคดังกล่าว ก็ควรจะกลับไปปรึกษาแพทย์ที่รักษาอยู่เดิม • ผู้ป่วยที่รักษาด้วยการผ่าตัด นอกจากอาจมีโอกาสกลายเป็นโรคต่อมพาราไทรอยด์ทำงานน้อย แล้วยังอาจตัดถูกเส้นแระสาทกล่องเสียง (laryngeal nerve) ทำให้เสียงแหบได้ ถ้าสงสัยควรกลับไปปรึกษาแพทย์ที่รักษาอยู่เดิม • ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน ส่วนใหญ่จะมีสาเหตุจากโรคเกรฟส์ (Graves’ disease) ส่วนน้อยอาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น ปุ่มเนื้องอกไทรอยด์เป็นพิษ (toxic multinodular goiter) ซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ ต่อมไทรอด์อักเสบ ครรภ์ไข่ปลาอุก ที่มีการสร้างฮอร์โมนเอชซีจี ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นต่อมไทรอยด์อย่างอ่อน มะเร็งต่อมไทรอยด์ การกินฮอร์โมนไทรอยด์มากเกิน เป็นต้น จึงควรหาสาเหตุเหล่านี้ด้วย (โรคนี้ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการกินอาหารที่มีสารไอโอดีนมากเกินไป แต่อย่างใด)

  23. การรักษา แพทย์อาจรักษาด้วยการใช้ยาต้านธัยรอยด์ในขนาดสูง เพื่อกดการทำงานของต่อมธัยรอยด์ จนกว่าอาการจะดีขึ้น คือ น้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็นปกติ เหนื่อยน้อยลง ชีพจรเต้นช้าลง แล้วจึงค่อยๆ ลดปริมาณยาลงทีละ 1 - 2 เม็ด จนเหลือการกินยาวันละ 1 - 3 เม็ด แล้วคงกินยาขนาดนี้ไปเรื่อยๆ นานประมาณ 1 ปีครึ่ง ถึง 2 ปีขึ้นไป แพทย์จึงจะพิจารณาหยุดยา ซึ่งในระหว่างการรักษานี้ แพทย์จะนัดตรวจติดตามอาการ หรือดูระดับฮอร์โมนธัยร็อกซินเป็นระยะๆ ผลการรักษาบางรายจะหายขาด แต่บางรายอาจมีอาการกำเริบใหม่ ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรไปตรวจตามแพทย์นัดทุกครั้ง

  24. แหล่งอ้างอิง • http://th.wikipedia.org/wiki/ • www.mayoclinic.com • วิทยา ศรีดามา. Evidence-based clinical practice guideline ทางอายุรกรรม 2548. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิมพ์ครั้งที่4. 2548; 495-503. • วิทยา ศรีดามา. ตำราอายุรศาสตร์3. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. 2550; 243-266. • http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/endocrine/DM/dm_symtom.html • http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/endocrine/DM/intro.htm • http://www.vibhavadi.com/web/health_detail.php?id=78 • http://www.chaiwbi.com/2552student/ms5/d525102/wbi/525109/unit03/unit3_1006.html • http://www.thaigoodview.com/node/30192

  25. คณะผู้จัดทำ นายภัทรพงษ์ สุขดานนท์ เลขที่ 6ก นางสาวพชรมน เสมอตน เลขที่ 11ข นางสาวพรรณวิไล สาคร เลขที่ 12ข นางสาวพิรญาณ์ ทรัพย์มนูทวี เลขที่ 13ข ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2

More Related