1 / 67

Chapter 13

Chapter 13. คลื่นกล. ประเภทของคลื่น. คลื่นถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ได้ 2 กลุ่ม คลื่นกล( Mechanical waves ) ตัวกลางทางกายภาพถูกรบกวน คลื่นคือการเคลื่อนที่ของการรบกวนผ่านไปในตัวกลาง ตัวอย่างเช่นการกระเพื่อมของคลื่นน้ำหรือเสียง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า( Electromagnetic waves )

ownah
Download Presentation

Chapter 13

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Chapter 13 คลื่นกล

  2. ประเภทของคลื่น คลื่นถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ได้ 2 กลุ่ม • คลื่นกล(Mechanical waves) • ตัวกลางทางกายภาพถูกรบกวน • คลื่นคือการเคลื่อนที่ของการรบกวนผ่านไปในตัวกลาง • ตัวอย่างเช่นการกระเพื่อมของคลื่นน้ำหรือเสียง • คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(Electromagnetic waves) • ไม่ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ • ตัวอย่างเช่น แสง คลื่นวิทยุ รังสีเอ็กซ์ คลื่นกล

  3. สมบัติทั่วไปของคลื่น • ในการเคลื่อนที่ของคลื่น พลังงานได้ถูกถ่ายโอนผ่านตัวกลางไปตามระยะทาง • สสารไม่ได้เคลื่อนที่ไปกับคลื่นด้วย • การรบกวนได้รับการถ่ายโอนผ่านตัวกลางโดยไม่มีการถ่าย โอนสสาร • คลื่นทั้งหมดพาพลังงานไป • ปริมาณพลังงานและกลไกที่ตอบสนองเพื่อถ่ายโอนพลังงาน แตกต่างกันไปในแต่ละประเภทของคลื่น คลื่นกล

  4. สิ่งที่ต้องการสำหรับคลื่นกลสิ่งที่ต้องการสำหรับคลื่นกล • อะไรสักอย่างที่เป็นต้นกำเนิดการรบกวน • ตัวกลางที่สามารถถูกรบกวนได้ • กลไกทางกายภาพบางอย่างที่กระทำให้ส่วนประกอบของตัวกลางสามารถส่งอิทธิพลไปยังส่วนประกอบอื่น ๆ • ความต้องการนี้จำเป็นเพื่อที่จะให้การรบกวนส่งผ่านตัวกลางไปได้ คลื่นกล

  5. คลื่นดลบนเส้นเชือก • คลื่นถูกทำให้เกิดขึ้นโดยการกระตุกปลายด้านหนึ่งของเส้นเชือก • เชือกจะต้องตึง • โหนก(bump)ถูกสร้างขึ้นและเคลื่อนที่ออกไปตามเส้นเชือก • เรียกโหนกนี้ว่าคลื่นดล(pulse) คลื่นกล

  6. คลื่นดลบนเส้นเชือก • เชือกเป็นตัวกลางที่ให้คลื่นดลเคลื่อนที่ผ่าน • คลื่นดลมีความสูงที่แน่นอนค่าหนึ่ง • คลื่นดลมีอัตราเร็วที่แน่นอนค่าหนึ่งในการเคลื่อนที่ไปตามตัวกลาง • การกระตุ้นเส้นเชือกอย่างต่อเนื่องจะทำให้เกิดการรบกวนเป็นรอบ ๆ ซึ่งจะทำให้เกิดคลื่นต่อเนื่อง คลื่นกล

  7. คลื่นตามขวาง • คลื่นต่อเนื่องหรือคลื่นดลที่ทำให้ส่วนประกอบของตัวกลางเคลื่อนที่ในแนวตั้งฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่นเรียกว่า “คลื่นตามขวาง” (Transverse Wave) • การเคลื่อนที่ของอนุภาคตัวกลางแสดงด้วยลูกศรสีฟ้า • ทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่นแสดงโดยลูกศรสีแดง คลื่นกล

  8. คลื่นตามยาว • คลื่นต่อเนื่องหรือคลื่นดลที่ทำให้ส่วนประกอบของตัวกลางเคลื่อนที่ในแนวขนานกับทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่นเรียกว่า “คลื่นตามยาว”(longitudinal Wave) • การกระจัดของขดสปริงขนานไปกับการเคลื่อนที่ของคลื่น คลื่นกล

  9. การเคลื่อนที่ของคลื่นดลการเคลื่อนที่ของคลื่นดล • รูปร่างของคลื่นดลที่เวลา t = 0 ดังแสดงในรูป • สมมติว่าแทนได้ด้วยสมการ y = f (x) • สมการนี้อธิบายตำแหน่งตามขวางของส่วนประกอบของเส้นเชือกที่ xค่าต่าง ๆ ขณะเวลา t = 0 คลื่นกล

  10. Traveling Pulse, 2 • อัตราเร็วของคลื่นดลคือ  • เมื่อเวลาผ่านไป, t, คลื่นดลเคลื่อนที่ไปเป็นระยะทาง t • รูปร่างของคลื่นดลไม่ได้เปลี่ยนแปลง • ด้วยแบบจำลองอย่างง่าย • ตำแหน่งของตัวกลางตอนนี้เขียนได้เป็น y = f (x t) คลื่นกล

  11. Traveling Pulse, 3 • สำหรับคลื่นดลที่เคลื่อนที่ไปทางขวา y (x, t)= f (x - vt) • สำหรับคลื่นดลที่เคลื่อนที่ไปทางซ้าย y (x, t) = f (x + vt) • ฟังก์ชั่น y ถูกเรียกว่าฟังก์ชันคลื่น( wave function ) : y (x, t)ฟังก์ชันคลื่นแสดงพิกัดบนแกน yของส่วนประกอบตัวกลางที่พิกัดx ณ เวลาใดใดt • พิกัดyเป็นตำแหน่งตามขวาง คลื่นกล

  12. Traveling Pulse, final • ถ้าหยุดเวลาไว้ที่t ค่าหนึ่ง ฟังก์ชันคลื่นจะกลายเป็นรูปแบบของคลื่น (waveform) • รูปแบบของคลื่นแสดงเส้นโค้งที่เป็นรูปเรขาคณิตของสัญญาณคลื่น ณ เวลาใดใด คลื่นกล

  13. คลื่นรูปไซน์ • คลื่นต่อเนื่องสามารถสร้างโดยการจับปลายด้านหนึ่งของเชือกสั่นแบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย • คลื่นที่ได้จะถูกเรียกว่าคลื่นรูปไซน์ (sinusoidal wave) เนื่องจากรูปแบบของคลื่นเหมือนกับกราฟ sine • รูปร่างของคลื่นยังคงเหมือนเดิมแม้ว่าคลื่นเคลื่อนที่ออกไปแล้ว คลื่นกล

  14. Amplitude and Wavelength • สันคลื่น(crest) คือตำแหน่งของค่าการกระจัดสูงสุดของส่วนประกอบของตัวกลางเมื่อวัดจากตำแหน่งปกติ • ระยะทางนี้เรียกว่าแอมพลิจูด(amplitude, A) • จุดที่แอมพลิจูดเป็นลบเรียกว่าท้องคลื่น(trough) • ความยาวคลื่น(wavelength, ) คือระยะจากสันคลื่นถึงสันคลื่นถัดไป • กล่าวให้ทั่วไปมากขึ้น ความยาวคลื่นก็คือระยะสั้นที่สุดที่วัดระหว่างจุดที่เหมือนกันทุกประการ 2 จุดระหว่างคลื่นที่อยู่ถัดกันไป คลื่นกล

  15. คาบ( Period ) • คาบ,T ,คือช่วงเวลาระหว่างจุดสองจุดที่เหมือนกันที่คลื่นที่อยู่ถัดกันใช้ในการเคลื่อนที่ผ่านไป • คาบของคลื่นเหมือนกันกับคาบของการเคลื่อนที่ฮาร์มอนิกอย่างง่าย(SHM) ของส่วนประกอบหนึ่งของตัวกลางที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่านไป คลื่นกล

  16. ความถี่ (Frequency) • ความถี่ ƒ, คือจำนวนสันคลื่น(หรือตำแหน่งใดบนคลื่นก็ได้)ที่ผ่านจุดหนึ่งที่กำหนดให้ในหนึ่งหน่วยเวลา • หน่วยของเวลาที่มักใช้กันก็คือ วินาที • ความถี่ของคลื่นก็เหมือนกันกับความถี่ของการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่ายของส่วนของตัวกลางที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่าน คลื่นกล

  17. Frequency, cont • ความสัมพันธ์ระหว่างความถี่และคาบคือ • เมื่อเวลามีหน่วยเป็นวินาที ความถี่มีหน่วยเป็นต่อวินาทีหรือเฮิรตซ์ (s-1 = hertz : Hz) คลื่นกล

  18. คลื่นเคลื่อนที่ • เส้นโค้งสีน้ำตาลแสดงคลื่นที่เวลาt = 0 • เส้นโค้งสีฟ้าแสดงคลื่นหลังจากสีน้ำตาลเป็นเวลา t คลื่นกล

  19. อัตราเร็วของคลื่น • คลื่นเคลื่อนที่มีอัตราเร็วเฉพาะตัว • อัตราเร็วคลื่นขึ้นกับสมบัติของตัวกลางที่ถูกรบกวน • ฟังก์ชันคลื่นคือ • สำหรับคลื่นที่เคลื่อนที่ไปทางขวา • หากเป็นคลื่นที่เคลื่อนที่ไปทางซ้ายให้แทนที่ ( x – vt )ด้วย ( x + vt ) คลื่นกล

  20. ฟังก์ชั่นคลื่นในอีกแบบหนึ่งฟังก์ชั่นคลื่นในอีกแบบหนึ่ง • เพราะว่าอัตราเร็วหาได้จากระยะทางหารด้วยเวลา, v = /T • ทำให้เขียนฟังก์ชันคลื่นได้เป็น • เขียนแบบนี้เป็นการแสดง “ธรรมชาติของการเคลื่อนที่เป็นรอบ”ทั้งในอวกาศและเวลา คลื่นกล

  21. สมการคลื่น • เราจะนิยาม angular wave number (หรืออาจเรียกเพียง wave number), • ความถี่เชิงมุม(angular frequency), สามารถเขียนเป็น • ทำให้เขียนอัตราเร็วคลื่นได้เป็น คลื่นกล

  22. Wave Equations, cont • ถ้าx = 0 ที่เวลาt = 0, แล้วค่า y = 0 • จะเขียนฟังก์ชันคลื่นได้เป็นy = A sin (kx – t ) • อัตราเร็วของคลื่นv = f • ถ้าx = 0 ที่เวลาt = 0, แล้วค่า y 0 ทำให้เขียนรูปทั่วไปของฟังก์ชันคลื่นเป็น y = A sin (kx – t +  ) โดย ถูกเรียกว่าค่าคงตัวเฟส(phase constant) คลื่นกล

  23. สมการคลื่นเชิงเส้น • ค่ามากที่สุดของอัตราเร็วตามขวางและความเร่งตามขวางคือ • vy,max = A • ay,max = 2A • อัตราเร็วและความเร่งตามขวางไม่ได้ขึ้นถึงค่าสูงที่สุดพร้อมกัน • vมีค่าสูงสุดเมื่อy = 0 • aมีค่าสูงสุดเมื่อy = ±A คลื่นกล

  24. The Linear Wave Equation, cont. • ฟังก์ชันคลื่นy (x, t) เป็นคำตอบของสมการคลื่นเชิงเส้น(linear wave equation) • สมการนี้ให้ข้อมูลที่ครบถ้วนสำหรับการเคลื่อนที่ของคลื่น • จากสมการคลื่น สามารถหาอัตราเร็วคลื่น • สมการคลื่นเชิงเส้นเป็นพื้นฐานของการเคลื่อนที่แบบคลื่นโดยทั่วไป คลื่นกล

  25. สมการทั่วไปของคลื่นคือสมการทั่วไปของคลื่นคือ • สมการนี้สามารถใช้กับคลื่นเคลื่อนที่ได้หลายชนิด • y แทนตำแหน่งต่าง ๆ เช่น • สำหรับคลื่นในเส้นเชือก y แทนส่วนประกอบของเส้นเชือกที่เคลื่อนที่ในแนวดิ่ง • สำหรับคลื่นเสียง, yแทนตำแหน่งตามยาวของส่วนประกอบจากตำแหน่งสมดุล • สำหรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า, yแทนองค์ประกอบของสนามแม่เหล็ก หรือสนามไฟฟ้า คลื่นกล

  26. Linear Wave Equation, General cont • สมการคลื่นเชิงเส้นคล้องจองกับฟังก์ชันคลื่นที่อยู่ในรูป y(x, t) = f(x ± vt) • คลื่นที่ไม่เป็นเชิงเส้นจะวิเคราะห์ได้ยากกว่า • คลื่นที่ไม่เป็นเชิงเส้นอันหนึ่งคือคลื่นที่มีแอมพลิจูดไม่น้อยเมื่อเทียบกับความยาวคลื่น คลื่นกล

  27. ประยุกต์สมการคลื่นเชิงเส้นกับคลื่นบนเส้นเชือกประยุกต์สมการคลื่นเชิงเส้นกับคลื่นบนเส้นเชือก • เส้นเชือกมีแรงดึง T • พิจารณาส่วนประกอบของเส้นเชือกสั้น ๆs • แรงลัพธ์ที่กระทำในแนวแกนy คือ Fr =2T sin 2T • ได้จากการประมาณว่ามุมเป็นมุมเล็ก คลื่นกล

  28. Linear Wave Equation and Waves on a String, cont • sแทนมวลของส่วนเส้นเชือกนี้ • การประยุกต์ฟังก์ชันคลื่นรูป sine และตามด้วยการหาอนุพันธ์ทำให้ได้ว่า • ซึ่งเป็นค่าอัตราเร็วคลื่นในเส้นเชือก • สามารถนำไปใช้ได้กับคลื่นดลรูปร่างใดใด คลื่นกล

  29. การสะท้อนของคลื่นที่ปลายตรึงการสะท้อนของคลื่นที่ปลายตรึง • เมื่อคลื่นดลเคลื่อนที่มาถึงปลายทาง คลื่นสะท้อนกลับไปตามเส้นเชือกในทิศทางตรงข้าม • เรียกว่าเป็นการสะท้อน(reflection)ของคลื่นดล • คลื่นดลตีลังกาเมื่อสะท้อนที่ปลายตรึง คลื่นกล

  30. การสะท้อนของคลื่นที่ปลายอิสระการสะท้อนของคลื่นที่ปลายอิสระ • ที่ปลายอิสระ เส้นเชือกเคลื่อนที่อย่างอิสระในแนวดิ่ง • คลื่นดลสะท้อน • คลื่นไม่ตีลังกาเมื่อสะท้อนที่ปลายอิสระ คลื่นกล

  31. การส่งผ่านคลื่น • เมื่อรอยต่อระหว่างตัวกลางมีการเปลี่ยนแปลงกระทันหัน • พลังงานบางส่วนของคลื่นที่เคลื่อนที่เข้ามาตอนแรกถูกสะท้อนกลับออกไปและบางส่วนก็เคลื่อนที่ต่อไปในทิศทางเดิมการส่งผ่าน(transmission) • พลังงานบางส่วนเคลื่อนที่ผ่านรอยต่อตัวกลางไปได้ คลื่นกล

  32. Transmission of a Wave, 2 • สมมติว่ามีเชือกเบาต่ออยู่กับเชือกหนัก • คลื่นดลเคลื่อนที่มาตามเส้นเชือกเบามาถึงขอบเขต • คลื่นส่วนที่สะท้อนกลับได้ตีลังกา • คลื่นที่สะท้อนกลับมีแอมพลิจูดเล็กกว่าคลื่นก่อนตกกระทบ คลื่นกล

  33. Transmission of a Wave, 3 • สมมติว่าเชือกเส้นที่หนักต่ออยู่กับเชือกเส้นเบา • บางส่วนของคลื่นดลสะท้อนและบางส่วนก็เคลื่อนที่ผ่านรอยต่อไป • คลื่นที่สะท้อนไม่ตีลังกา คลื่นกล

  34. Transmission of a Wave, 4 • สามารถใช้กฎอนุรักษ์พลังงานกับคลื่นดลได้ • เมื่อคลื่นถูกแยกออกเป็นสองส่วนคือ คลื่นสะท้อนและคลื่นที่ผ่านรอยต่อตัวกลางไปได้ , ผลบวกของพลังงานคลื่นที่แบ่งออกเป็นสองส่วน ย่อมเท่ากับพลังงานของคลื่นในตอนแรก คลื่นกล

  35. พลังงานคลื่นในเส้นเชือกพลังงานคลื่นในเส้นเชือก • คลื่นส่งพลังงานผ่านตัวกลาง • เราจะคิดว่าแต่ละส่วนย่อยของเส้นเชือกมีการเคลื่อนที่เหมือน การสั่นฮาร์มอนิกส์อย่างง่าย • การสั่นอยู่ในแกน y • แต่ละส่วนย่อยของเส้นเชือกจะมีพลังงานทั้งหมดเท่ากัน คลื่นกล

  36. Energy, cont. • พิจารณาว่าแต่ละส่วนย่อยบนเส้นเชือกมีมวลm • ส่วนนั้นจะมีพลังงานจลน์เป็นK = ½(m) vy2 • มวล mมีค่าเท่ากับx และK = ½(x) vy2 • ในขณะที่ส่วนของเส้นเชือกสั้นลงจนเข้าสู่ศูนย์สมการข้างต้นก็กลายเป็นสมการเชิงอนุพันธ์ dK = ½ (x) vy2 = ½ 2A2cos2(kx – t)dx คลื่นกล

  37. Energy, final • หาพลังงานจลน์รวมของอนุภาคทั้งหมดในช่วงระยะทาง 1 ความยาวคลื่นได้ K= ¼2A 2 • หาพลังงานศักย์รวมของอนุภาคทั้งหมดในช่วงระยะทาง 1 ความยาวคลื่นได้U= ¼2A 2 • พลังงานทั้งหมดในช่วง 1 ความยาวคลื่น E= K+ U= ½ 2A 2 คลื่นกล

  38. กำลังที่เกี่ยวกับคลื่นกำลังที่เกี่ยวกับคลื่น • กำลังคืออัตราการส่งผ่านพลังงาน : • คลื่นรูป sine ส่งผ่านพลังงานไปตามเส้นเชือก เป็นสัดส่วนโดยตรงกับ • กำลังสองของความถี่คลื่น • กำลังสองของแอมพลิจูด • อัตราเร็วของคลื่น คลื่นกล

  39. บทนำเรื่องคลื่นเสียง • คลื่นเสียงเป็นคลื่นตามยาว • เสียงสามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางใดใดก็ได้ • อัตราเร็วเสียงขึ้นกับสมบัติของตัวกลาง • รายละเอียดทางคณิตศาสตร์ของคลื่นเสียงคล้ายคลึงกับของคลื่นในเส้นเชือก คลื่นกล

  40. อัตราเร็วคลื่นเสียง • ใช้เครื่องมือดังรูปซึ่งประกอบด้วยแก๊สที่อัดให้ยุบได้เป็นตัวอย่าง • ก่อนที่ลูกสูบเคลื่อนที่ แก๊สมีการกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ • เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ไปทางขวาอย่างฉับพลัน แก๊สที่อยู่ติดกับหน้าลูกสูบถูกอัด • ดังแสดงให้เห็นในรูปเป็นสีฟ้าเข้ม คลื่นกล

  41. Speed of Sound Waves, cont • เมื่อลูกสูบหยุดเคลื่อนที่ ช่วงอัดยังคงเคลื่อนที่ต่อไป • ปรากฏการณ์นี้สอดคล้องกับการเคลื่อนที่ของคลื่นดลตามยาว อัตราเร็วของคลื่นดลv • อัตราเร็วในการเคลื่อนที่ของลูกสูบไม่ใช่อัตราเร็วในการเคลื่อนที่ของคลื่น • บริเวณที่เป็นสีฟ้าอ่อนเป็นบริเวณที่เป็นช่วงขยาย คลื่นกล

  42. รายละเอียดของคลื่นเสียงรายละเอียดของคลื่นเสียง • ระยะทางระหว่างช่วงอัดสองช่วง (หรือช่วงขยายสองช่วง) คือค่าความยาวคลื่น • ในขณะที่ช่วงอัดหรือช่วงขยายเคลื่อนที่ไปตามท่อ, แต่ละอนุภาคของอากาศในท่อจะสั่นไปข้างหน้าแล้วก็ถอยกลับหลังแบบ SHM • การสั่นเหล่านี้ต่างก็ขนานไปกับเส้นทางการเคลื่อนที่ของคลื่น คลื่นกล

  43. สมการคลื่นการกระจัด • การกระจัดของส่วนย่อย ๆ คือs(x,t) = smaxsin (kx – t) • smaxแทนตำแหน่งไกลที่สุดเทียบกับตำแหน่งสมดุล • สมการนี้เป็นของคลื่นการกระจัด(displacement wave) • kแทนค่า wave number • แทนค่าความถี่เชิงมุมของลูกสูบ คลื่นกล

  44. สมการคลื่นความดัน • การเปลี่ยนแปลงPในความดันแก๊สวัดจากค่าความดันขณะสมดุลซึ่งยังคงเป็นแบบ sine • P = Pmaxcos(kx – t) • แอมพลิจูดของความดัน, Pmaxคือค่าการเปลี่ยนแปลงความดันมากที่สุดจากภาวะสมดุล • แอมพลิจูดของความดันเป็นสัดส่วนโดยตรงกับแอมพลิจูดของการกระจัด • Pmax = smax คลื่นกล

  45. คลื่นเสียงเป็นคลื่นการกระจัดหรือคลื่นความดันคลื่นเสียงเป็นคลื่นการกระจัดหรือคลื่นความดัน • คลื่นเสียงสามารถถูกพิจารณาว่าเป็นคลื่นการกระจัดหรือคลื่นความดันก็ได้ • เฟสคลื่นความดันจะช้ากว่าเฟสคลื่นการกระจัดอยู่ 90o คลื่นกล

  46. อัตราเร็วคลื่นเสียง • อัตราเร็วคลื่นเสียงในอากาศขึ้นกับอุณหภูมิเพียงอย่างเดียว v = 331 m/s + (0.6 m/soC) TC • TCคืออุณหภูมิในหน่วยองศาเซลเซียส( Celsius ) • อัตราเร็วเสียงในอากาศที่ 0oC เป็น 331 m/s คลื่นกล

  47. ตัวอย่างค่าอัตราเร็วเสียงในแก๊สตัวอย่างค่าอัตราเร็วเสียงในแก๊ส คลื่นกล

  48. ตัวอย่างค่าอัตราเร็วเสียงในของเหลวตัวอย่างค่าอัตราเร็วเสียงในของเหลว m/s คลื่นกล

  49. ตัวอย่างค่าอัตราเร็วเสียงในของแข็งตัวอย่างค่าอัตราเร็วเสียงในของแข็ง m/s คลื่นกล

  50. ปรากฏการณ์ ดอปเพลอร์ • ปรากฏการณ์ ดอปเพลอร์( Doppler effect ) คือสังเกตพบการเปลี่ยนความถี่หรือความยาวคลื่นที่เกิดเนื่องจากการเคลื่อนที่ของแหล่งกำเนิดหรือผู้สังเกตคลื่น • เมื่อแหล่งกำเนิดหรือผู้สังเกตเคลื่อนที่เข้าหากัน ความถี่ที่ปรากฏจะสูงขึ้นกว่าเดิม • เมื่อแหล่งกำเนิดหรือผู้สังเกตเคลื่อนที่ออกจากกัน ความถี่ที่ปรากฏจะต่ำลงกว่าเดิม คลื่นกล

More Related