1 / 9

การใช้สารลดแรงตึงผิวชีวภาพทดแทนสารเคมี ขจัดคราบน้ำมันในการขจัดคราบน้ำมันในทะเล

การใช้สารลดแรงตึงผิวชีวภาพทดแทนสารเคมี ขจัดคราบน้ำมันในการขจัดคราบน้ำมันในทะเล.

oshin
Download Presentation

การใช้สารลดแรงตึงผิวชีวภาพทดแทนสารเคมี ขจัดคราบน้ำมันในการขจัดคราบน้ำมันในทะเล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การใช้สารลดแรงตึงผิวชีวภาพทดแทนสารเคมีขจัดคราบน้ำมันในการขจัดคราบน้ำมันในทะเลการใช้สารลดแรงตึงผิวชีวภาพทดแทนสารเคมีขจัดคราบน้ำมันในการขจัดคราบน้ำมันในทะเล การขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ทำให้ความต้องการพลังงานของประเทศมีเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะน้ำมันซึ่งเป็นพลังงานหลักที่สำคัญ แหล่งน้ำมันของประเทศไทย ส่วนใหญ่มาจากภายนอกประเทศ โดยเฉพาะจากเอเชียตะวันออกกลาง น้ำมันที่นำเข้าประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นสินค้านำเข้าสูงสุดอันดับที่ 1 และ รองลงมาเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง และน้ำมันสำเร็จรูปอื่นๆ ปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบ มีแนวโน้มสูงมากขึ้นทุกปี การนำเข้าน้ำมันส่วนใหญ่ โดยการขนส่งทางเรือ เมื่อมีการขนส่งน้ำมันผ่านทะเล มหาสมุทรจำนวนบ่อยครั้งขึ้น จำนวนเรือบรรทุกน้ำมัน, เรือสินค้า การดำเนินกิจกรรมต่างๆในทะเลและชายฝั่งจึงเพิ่มสูงตามไปด้วย สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุที่อาจก่อให้เกิดคราบน้ำมัน (oil spill)ในทะเลขึ้น ซึ่งเป็นปัญหามลภาวะต่อระบบนิเวศ ทรัพยากรธรรมชาติ สถานที่ท่องเที่ยว อันส่งผลถึงความเสียหายทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศ

  2. คราบน้ำมันที่รั่วไหลนี้บางส่วนจะเลือนหายไปจากผิวน้ำด้วยกระบวนการแปรสภาพต่างๆ ตามธรรมชาติ (weathering process) อาทิ เช่น การละลาย (dissolution) การระเหย (evaporation) การกระจายตัว (dispersion) การรวมตัว (emulsion) การตกตะกอน (sedimentation) การย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ (biodegradation) เป็นต้น กระบวนการที่เกิดขึ้นเหล่านี้มีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น คุณสมบัติของน้ำมัน ปริมาณน้ำมัน ประเภทของน้ำมัน สภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น กระแสลม แสงแดด และอุณหภูมิ เป็นต้น • วิธีการขจัดคราบน้ำมันในทะเล กระทำได้ทั้งวิธีทางกายภาพ โดยการกักเก็บกวาด (booming and skimming) วิธีทางเคมีโดยการใช้สารเคมีจำพวกสารทำให้น้ำมันกระจายตัวและสารลดแรงตึงผิว (dispersant and surfactant) และวิธีทางชีวภาพโดยการใช้จุลินทรีย์ย่อยสลาย คราบน้ำมันประมาณ 60 % สามารถถูกกำจัดได้โดยวิธีกายภาพ ส่วนที่เหลือจะใช้วิธีทางเคมีและชีวภาพ ดังนั้นเพื่อให้การขจัดคราบน้ำมันมีประสิทธิภาพ จึงต้องใช้หลายวิธีการร่วมกัน การกักเก็บกวาดจะใช้เป็นวิธีการแรกก่อน แล้วตามด้วยการฉีดพ่นสารเคมีที่ทำให้น้ำมันกระจายตัว จะทำปฏิกิริยากับคราบน้ำมันที่หลงเหลืออยู่ ให้กระจายตัวเป็น โมเลกุลเล็กๆ อันจะเป็นการส่งเสริมกระบวนการต่างๆ ตามธรรมชาติ เช่น การระเหย การย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ ให้เกิดขึ้นได้ง่ายและ รวดเร็วขึ้น แต่การใช้สารเคมีขจัดคราบน้ำมัน

  3. (Oilspill Dispersant) ได้แก่สารกลุ่ม Triton-X และCorexit จะมีความเป็นพิษสูง สามารถทำอันตรายสิ่งมีชีวิตในน้ำ มีการตกค้างเนื่องจากไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ และมีราคาค่อนข้างสูงเนื่องจากต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ปัจจุบันได้มีการใช้สารลดแรงตึงผิวชีวภาพ (biosurfactant) ซึ่งเป็นสารที่ผลิตจากจุลินทรีย์ เพื่อใช้ทดแทนสารเคมีขจัดคราบน้ำมัน เนื่องจากมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตต่างๆ น้อยกว่าการใช้สารเคมี • สารลดแรงตึงผิวชีวภาพ (biosurfactant) เป็นสารชีวโมเลกุลที่มีสมบัติเป็นสารลดแรงตึงผิว (surface-active substance) ซึ่งสร้างโดยสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งจุลินทรีย์ ชนิดต่างๆ เช่น แบคทีเรีย รา และยีสต์บางชนิด สารลดแรงตึงผิวมีโครงสร้างเป็นแอมฟิฟาติก (amphipathic structure) ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่ละลายในไขมัน (lipophilic portion) และส่วนที่ละลายน้ำ (hydrophilic portion) ปัจจุบันมีการใช้สารลดแรงตึงผิวชีวภาพกันอย่างกว้างขวาง เช่น ใช้เป็นสารอิมัลชิฟายเออร์ สารทำให้เกิดฟอง ตัวทำละลายและสารลดความหนืด รวมทั้งมีการใช้ในสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น ใช้การขจัดคราบน้ำมัน และสารพิษที่ปนเปื้อนในน้ำและดิน โดยใช้สาร Rhamnolipid จากแบคทีเรีย Pseudomonas sp. Surfactin จาก Bacillus subtilis Emulsan จาก Acinetaobacter sp. Glycolipid จาก Rhodococcus sp. เป็นต้น จะเห็นได้ว่ามีการใช้สารลดแรงตึงผิวชีวภาพที่หลากหลายเพื่อใช้ในการขจัดคราบน้ำมันทดแทนการใช้สารเคมี ทั้งนี้เนื่องจากสามารถถูกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (biodegradability) ได้ง่าย ไม่เป็น

  4. อันตรายต่อสิ่งแวดล้อมมีความเป็นพิษต่ำ และยังส่งเสริมการย่อยสลายของจุลินทรีย์ให้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการย่อยสลายสารที่โมเลกุลใหญ่ ไม่ละลายน้ำ มีความหนืดสูง เช่น น้ำมันดิบ (crude-oil หรือ petroleum) ซึ่งมีองค์ประกอบทางเคมีสลับซับซ้อน เป็นของผสมที่มีไฮโดรคาร์บอนชนิดต่างๆ เป็นส่วนใหญ่ ได้แก่อัลเคน (n-alkane or saturated hydrocarbon) อะโรมาติกส์ (aromatics) และ แอสฟัลทีน (asphaltene) • จากเหตุการณ์คราบน้ำมันจากเรือExxon Valdez อัปปางเมื่อมีนาคม 1985 เป็นเหตุทำให้น้ำมัน ดิบรั่วไหลประมาณ 11 ล้านแกลลอนที่บริเวณชายฝั่งอลาสก้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในบริเวณนั้นเป็นเวลานาน จึงได้มีการหาแนวทางการขจัดคราบน้ำมันตามชายฝั่งทะเลโดยการใช้วิธีทางชีวภาพ (bioremediation) สำหรับกลไกการย่อยสลายน้ำมันดิบโดยจุลินทรีย์นั้นเกิดจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน (oxidation) โดยจุลินทรีย์จะออกซิไดซ์ (oxidized) สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ในน้ำมัน แล้วให้ผลิตภัณฑ์สุดท้ายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และสารอินทรีย์อื่นๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น กรดอินทรีย์,แอลกอฮอล์,แอลดีไฮด์ และคีโตน เป็นต้น อัตราการย่อยสลายของจุลินทรีย์จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ชนิดของน้ำมัน ซึ่งจะมีปริมาณและชนิดของสารไฮโครคาร์บอนที่แตกต่างกัน ปริมาณออกซิเจน การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ นอกจากนี้ยังมีการเติมสารที่ช่วยเพิ่มอัตราการย่อยสลายของจุลินทรีย์ โดยการใส่ปุ๋ย (fertilizers หรือ biostimulants) ซึ่งอยู่ในรูปไนโตรเจนและฟอสฟอรัสที่ละลายน้ำได้ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาการใช้สารลดแรงตึงผิว (surfactants) เพื่อช่วยเพิ่มอัตราการย่อยสลายของจุลินทรีย์ เนื่องจากสามารถลดแรงตึงผิวระหว่างน้ำมันกับน้ำ ทำให้น้ำมันกระจายตัวเป็นอนุภาคเล็กๆ เป็นผลให้น้ำมันละลายน้ำและรวมตัวกับน้ำได้มากขึ้น (emulsion) เป็นการเพิ่มพื้นที่ผิวของน้ำมัน (cell surface hydrophobicity) จุลินทรีย์มาเกาะที่พื้นผิวของน้ำมันได้มากขึ้นจึงย่อยสลายน้ำมันได้เร็วขึ้น

  5. เนื่องจากการเติมสารลดแรงตึงผิว เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมการย่อยสลายน้ำมันโดยจุลินทรีย์ เช่นเดียวกับวิธีการขจัดคราบน้ำมันโดยการใช้สารเคมี ซึ่งกองทัพเรือเป็นหน่วยงานที่สำคัญที่มีบทบาทในการขจัดคราบน้ำมันในทะเล และได้ตระหนักถึงผลกระทบของการใช้สารเคมีขจัดคราบน้ำมันอันส่งผลต่อการทำลายสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศในทะเล จึงเป็นที่มาของการเกิดโครงการวิจัยทางด้านการขจัดคราบน้ำมันในทะเลได้แก่ การใช้แบคทีเรียและสารลดแรงตึงผิวชีวภาพ ทดแทนการใช้สารเคมีขจัดคราบน้ำมันโดยกรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ การผลิตทุ่นกักเก็บคราบน้ำมัน โดยกรมอู่ทหารเรือ • กรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ ได้ร่วมมือกับภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ และภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการดำเนินการวิจัยการนำแบคทีเรียทะเลไปใช้ในการย่อยสลายคราบน้ำมันในทะเลเมื่อปี2544 ซึ่งงบประมาณในการวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทหารกลาโหม โครงการวิจัยนี้ได้เสร็จสิ้นมื่อปี 2547 • โดยผลกาวิจัยได้ค้นพบแบคทีเรียทะเลสายพันธุ์ Pseudomonas aeruginosaซึ่งมีความสามารถในการสร้างสารลดแรงตึงผิวชีวภาพชนิด Rhamnolipid ซึ่งมีประสิทธิภาพในการกระจายน้ำมันได้เทียบเท่าสารเคมีขจัดคราบน้ำมัน Chemtec 307 ที่ใช้ในกองทัพเรือ แต่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการย่อยสลายทางชีวภาพดีกว่า และสามารถผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพนี้ในระดับถังหมักได้ดีมีอัตราการผลิตและปริมาณการผลิตเป็นที่น่าพอใจและใช้ระยะเวลาผลิตที่รวดเร็ว ซึ่งกองทัพเรือสามารถใช้แบคทีเรียทะเลนี้ในการผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพต้นแบบ เพื่อทดแทนการใช้สารเคมีขจัดคราบน้ำมันในการขจัดคราบน้ำมันต่อไปได้

  6. บรรณานุกรม • กัลยา อำนวย, พลเรือตรีหญิง. 2546. การนำแบคทีเรียทะเลไปใช้ในการย่อยสลายคราบน้ำมันในทะเล. โครงการวิจัย. กรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ. กองทัพเรือ. • จิราภรณ์ ธนียวัน, รองศาสตราจารย์. 2544. การคัดเลือกจุลินทรีย์ และการผลิตไบโอเซอร์แฟคแตนท์. รายงานการวิจัย. ภาควิชาจุลชีววิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. • นภดล สว่างนาวิน, เรือเอก. 2547. ผลของสารลดแรงตึงผิวต่อการย่อยสลายน้ำมันดิบโดย จุลินทรีย์ที่แยกได้จากทรายทะเลที่ปนเปื้อนคราบน้ำมัน . วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต . ภาควิชาจุลชีววิทยา. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. • Kosaric, N. 1993. Biosurfactants Production Property Application. Surfactant Science. (Series:vol.48) New York: Marcel Dekker, Inc. • Sheehan, D.1997. Bioremediation Protocols. New Jersey: Humana Press, Totowa.

  7. สารลดแรงตึงผิวชีวภาพที่ผลิตได้สารลดแรงตึงผิวชีวภาพที่ผลิตได้

  8. แบคทีเรียที่คัดเลือกได้แบคทีเรียที่คัดเลือกได้

  9. เครื่องมือที่ใช้ผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพเครื่องมือที่ใช้ผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพ

More Related