1 / 25

การวัด และ ทดสอบการทำงานของวงจรเครื่องส่งวิทยุ

หน่วยที่ 12. การวัด และ ทดสอบการทำงานของวงจรเครื่องส่งวิทยุ. สาระการเรียนรู้. เครื่องมือวัดและทดสอบ ที่ใช้ในเครื่องส่งวิทยุ. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง. 1. อธิบายวิธีการใช้งานเครื่องมือวัดต่าง ๆ ได้ 2. เลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับงานได้. เครื่องมือวัด มีความจำเป็น อย่างไร.

osborn
Download Presentation

การวัด และ ทดสอบการทำงานของวงจรเครื่องส่งวิทยุ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หน่วยที่ 12 การวัดและทดสอบการทำงานของวงจรเครื่องส่งวิทยุ

  2. สาระการเรียนรู้ เครื่องมือวัดและทดสอบ ที่ใช้ในเครื่องส่งวิทยุ

  3. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 1. อธิบายวิธีการใช้งานเครื่องมือวัดต่างๆ ได้ 2. เลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับงานได้

  4. เครื่องมือวัด มีความจำเป็น อย่างไร

  5. เครื่องมือวัดและทดสอบที่ใช้ในเครื่องส่งวิทยุเครื่องมือวัดและทดสอบที่ใช้ในเครื่องส่งวิทยุ เอสดับเบิลยูอาร์มิเตอร์ ( SWR Meter ) ดิพ มิเตอร์ ( Dip Meter ) อิมพีแดนซ์ มิเตอร์ ( Impedance Meter )

  6. เครื่องมือวัดและทดสอบที่ใช้ในเครื่องส่งวิทยุเครื่องมือวัดและทดสอบที่ใช้ในเครื่องส่งวิทยุ วัตต์ มิเตอร์ ( Watt Meter ) เครื่องวัดความเข้มสนามไฟฟ้า ( Field Strength Meter ) เครื่องวิเคราะห์สเปกตรัม ( Spectrum Analyzer )

  7. เครื่องมือวัดและทดสอบที่ใช้ในเครื่องส่งวิทยุเครื่องมือวัดและทดสอบที่ใช้ในเครื่องส่งวิทยุ ดัมมี่ โหลด ( Dummy Load )

  8. เอสดับเบิลยูอาร์มิเตอร์ ( SWR Meter ) ใช้สำหรับการแมตซ์อิมพีแดนซ์ของ ระบบสายอากาศในระบบวิทยุรับส่ง

  9. VSWRคือ อะไร VSWRคือ อัตราส่วนของแรงดันสูงสุดและแรงดันต่ำสุดของรูปคลื่นนิ่งบนสายนำสัญญาณ VSWR (Voltage Standing wave Ratio) อัตราส่วนนี้เป็นค่าวัดปริมาณที่โหลดผิดไปจากสภาวะที่โหลดแมตช์มากน้อยเท่าไร

  10. VSWR หาได้จากสมการ หรือ

  11. การต่อ VSWRมิเตอร์ใช้งาน การใช้ SWR Meterโดยต่ออนุกรม กับสายนำสัญญาณระหว่างเครื่องส่งกับสายอากาศ เริ่มแรกให้ปรับกำลังส่งของเครื่องส่งให้ออกมากที่สุดและปรับ Calibrateโดยปรับความไวของ SWR Meterให้อ่านเต็มสเกลแล้วบิดสวิตช์อ่านค่า VSWR

  12. ดิพ มิเตอร์ ( Dip Meter ) 1. ใช้หาค่าความถี่เรโซแนนซ์ของคอยล์ และตัวเก็บประจุที่ต่อขนานกัน 2. ใช้หาค่าคอยล์และตัวเก็บประจุที่ไม่ทราบค่า 3. ใช้หาค่าความถี่ของวงจรออสซิลเลเตอร์ 4. ใช้เป็นตัวกำเนิดความถี่ในการปรับแต่งภาครับสัญญาณวิทยุ 5. ใช้วัดความถี่เรโซแนนซ์ของสายอากาศ

  13. การใช้ดิพมิเตอร์หาค่าความถี่เรโซแนนซ์ของ LC ที่ต่อขนานกัน 1. เลือกคอยล์ตามย่านความถี่ที่ต้องการ แล้วเสียบคอยล์ลงในช่องเสียบบนตัวดิพมิเตอร์ 2. ตั้งฟังก์ชันสวิตซ์ให้อยู่ในตำแหน่ง OSC ( ออสซิลเลต ) 3. ปรับปุ่มความไว ( Sensitivity ) จนเข็มของดิพมิเตอร์ขึ้นสูงสุด 4. วางตำแหน่งคอยล์ของมิเตอร์ไว้ใกล้ๆกับ LC ที่ต้องการวัดหาค่าความถี่เรโซแนนซ์หระยะห่างประมาณ 1 เซนติเมตร 5. หมุนปรับความถี่ของดิพมิเตอร์ให้ความถี่ของออสซิลเลเตอร์เปลี่ยนไปเรื่อยๆ สังเกตที่เข็มมิเตอร์ เมื่อใดก็ตามที่ความถี่ออสซิลเลเตอร์ของดิพมิเตอร์ตรงกับความถี่เรโซแนนซ์ของ LC เข็มของมิเตอร์จะตกลงจากค่าเดิมจนเห็นได้ชัด ให้ปรับจนกระทั่งเข็มลดลงต่ำสุด 6. อ่านค่าความถี่เรโซแนนซ์ของ LC ได้จากดิพมิเตอร์

  14. อิมพีแดนซ์ มิเตอร์ ( Impedance Meter )

  15. การใช้งานอิมพีแดนซ์ มิเตอร์ ต่ออิมพีแดนซ์ที่ไม่ทราบค่า เข้าที่จุดต่อทางด้านขวามือ แล้วทำการป้อนแหล่งกำเนิดสัญญาณความถี่ที่ต้องการเข้าที่จุดต่อด้านซ้ายมือของอิมพีแดนซ์มิเตอร์ เสร็จแล้วปรับค่าความจุที่ปุ่มปรับ จนกระทั่งเข็มมิเตอร์แสดงค่าเป็นศูนย์ แล้วค่อยอ่านค่าอิมพีแดนซ์ของสายอากาศที่หน้าปัทม์

  16. วัตต์ มิเตอร์ ( Watt Meter ) ใช้วัดกำลังงานไฟฟ้าของเครื่องส่งวิทยุ จากเครื่องส่งวิทยุ ผ่านสายส่งไปยังสายอากาศ

  17. เครื่องวัดความเข้มสนามไฟฟ้า ( Field Strength Meter ) ใช้สำหรับวัดและทดสอบความเข้มของสนามไฟฟ้าที่แพร่กระจายคลื่นออกจากสายอากาศ ณ ที่ตำแหน่งใดๆ หรือบริเวณที่ต้องการทราบความเข้มของสนามไฟฟ้า จากสายอากาศที่ต้องการทดสอบ

  18. เครื่องวิเคราะห์สเปกตรัม ( Spectrum Analyzer ) นำไปใช้วัดแถบความถี่ของสัญญาณได้ ซึ่งออสซิลโลสโคปที่ใช้งานโดยทั่วไปไม่สามารถวัดและแสดงผลออกมาได้

  19. ดัมมี่ โหลด ( Dummy Load )

  20. ดัมมี่ โหลด ( Dummy Load )

  21. ดัมมี่โหลด เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แทนสายอากาศในขณะที่ทำการปรับแต่งเครื่องส่งวิทยุ หรือต้องการตรวจสอบกำลังส่ง จุดประสงค์ของการใช้งาน ดัมมี่โหลด คือ เพื่อไม่ให้คลื่นวิทยุแพร่กระจายออกไปรบกวนสถานีอื่น หรือ ไม่ให้คลื่นวิทยุซึ่งประกอบด้วย เสียงพูด หรือ เสียงดนตรีที่ไม่พึงประสงค์ ขณะทำการปรับแต่งไม่ให้แพร่กระจายคลื่นออกไปให้เครื่องรับ

  22. การใช้ดัมมี่โหลด จะต้องพิจารณาคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 1. ย่านความถี่ใช้งาน จะต้องมีความเหมาะสมกับความถี่ของเครื่องส่ง 2. อิมพีแดนซ์ของดัมมี่โหลด ปกติจะต้องเท่ากับอิมพีแดนซ์ขาออกของเครื่องส่ง 3. กำลังสูงสุดที่ทนได้ของดัมมี่โหลด จะต้องไม่น้อยกว่ากำลังของเครื่องส่ง

  23. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปครูและนักเรียนช่วยกันสรุป

  24. สวัสดี

More Related