1 / 41

GPS AGPS AND GPRS

GPS AGPS AND GPRS. นาย ปัณนธิศณ์ ธีรศิ ธน วงศ์ 554409110024-0 นายธีร พงษ์ ศร ประสิทธิ์ 554409110009-1 นาย หัสดินษ์ อะ ห มัด 554409110028-1 นายกล้าณรงค์ พลาย ชุม 554409110002-6. จัดทำโดย. GPS มี 2 แบบ. 1. GPS แบบ Navigator

orly
Download Presentation

GPS AGPS AND GPRS

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. GPSAGPS AND GPRS

  2. นายปัณนธิศณ์ธีรศิธนวงศ์554409110024-0นายธีรพงษ์ศรประสิทธิ์ 554409110009-1นายหัสดินษ์อะหมัด 554409110028-1นายกล้าณรงค์ พลายชุม 554409110002-6 จัดทำโดย

  3. GPS มี 2 แบบ 1. GPS แบบ Navigator • GPS แบบ Navigator คือ ระบบนำทางซึ่งในปัจจุบันเราจะพบมากทั้งในมือถือ PDA หรือแม้กระทั่งในรถยนต์ที่มีการเสริมในส่วนของระบบนำทางเข้าไป ซึ่งระบบ GPS แบบ Navigator นั้น โดยทั่วไปจะมีวิธีการโดยทั่วๆ ไปเหมือนกัน ดังนี้นะครับ • ระบบ GPS แบบ Navigator นั้นจะใช้ ดาวเทียมในการส่งค่าเพื่อคำนวณตำแหน่งและพิกัดโดยใช้ตัวรับสัญญาณ GPS เพื่อ เป็นการบอกตำแหน่งที่อยู่บนพิกัดโลก ซึ่งใช้ในการคำนวณจากตำแหน่งที่อยู่ปัจจุบันไปยังจุดหมายปลายทาง ซึ่งจะใช้งานร่วมกับ “ระบบแผนที่” โดยการใช้วิธีจับคู่ตำแหน่งต่างๆที่อ่านได้จากดาวเทียมกับค่าพิกัดในระบบ แผนที่ทั้งนี้อาจอาศัยเซ็นเซอร์อื่นๆช่วยในการคำนวณระยะทางที่เดินทางได้แน่ นอนขึ้น

  4. GPS มี 2 แบบ 2. GPS แบบ Tracking • Tracking GPSสามารถอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายๆ โดยลองนึกภาพถึงภาพยนตร์เชิงวิทยาศาสตร์ที่พระเอกโดนติดตามโดยตัวร้ายด้วยการเอากล่องเหล็กๆ แปะไว้ใต้ท้องรถหรือแอบใส่ในเสื้อนางเอก แล้วตัวร้ายก็สามารถดูพระเอกได้ผ่านจอComputerที่มีแผนที่ถนนแสดงนั้น เรื่องราวเหล่านี้ไม่ใช่เป็นค่าภาพยนตร์อีกแล้ว (หน่วยราชการไทยบางหน่วยก็มีใช้)ในปัจจุบัน เทคโนโลยีGPSถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย สำหรับการนำมาใช้เพื่อภาคธุรกิจ การติดตั้งTracking GPSเป็นเรื่องง่ายมาก เพียงแค่ติดตั้ง กล่องดำGPSในรถขององค์กร แค่นี้ เราก็สามารถดูได้แล้วว่าลูกน้องเราไปไหนมาบ้าง ผ่านหน้าจอComputerที่Officeเหมือนกับที่เค้าทำกันในหนังวิทยาศาสตร์แล้ว

  5. GPS • GPS คือ ระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก ย่อมาจากคำว่า Global Positioning System ซึ่งระบบ GPS ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักคือ 1. ส่วนอวกาศ ประกอบด้วยเครือข่ายดาวเทียมหลัก 2. ส่วนควบคุม 3. ส่วนผู้ใช้งาน

  6. ส่วนอวกาศ • ของอเมริกา ชื่อNAVSTAR (Navigation Satellite Timing and Ranging  GPS) มีดาวเทียม 28 ดวง ใช้งานจริง 24 ดวง อีก 4 ดวงเป็นตัวสำรอง บริหารงานโดย Department of Defenses มีรัศมีวงโคจรจากพื้นโลก  20,162.81 กม.หรือ  12,600  ไมล์ ดาวเทียมแต่ละดวงใช้ เวลาในการโคจรรอบโลก  12  ชั่วโมง • ยุโรป ชื่อ Galileo มี 27 ดวง บริหารงานโดย ESA หรือ European Satellite Agency จะพร้อมใช้งานในปี 2008

  7. ส่วนอวกาศ • รัสเซีย ชื่อ GLONASS หรือ Global Navigation Satellite บริหารโดย Russia VKS (Russia Military Space Force) ในขณะนี้ภาคประชาชนทั่วโลกสามารถใช้ข้อมูลจากดาวเทียมของทางอเมริกา (NAVSTAR) ได้ฟรี เนื่องจาก นโยบายสิทธิการเข้าถึงข้อมูลและข่าวสารสำหรับประชาชนของรัฐบาลสหรัฐ จึงเปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวในระดับความแม่นยำที่ไม่เป็นภัยต่อความมันคงของรัฐ กล่าวคือมีความแม่นยำในระดับบวก / ลบ 10 เมตร

  8. ส่วนควบคุม • ประกอบด้วยสถานีภาคพื้นดิน สถานีใหญ่อยู่ที่ Falcon Air Force Base ประเทศ อเมริกา และศูนย์ควบคุมย่อยอีก 5 จุด กระจายไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก

  9. ส่วนผู้ใช้งาน • ผู้ใช้งานต้องมีเครื่องรับสัญญาณที่สามารถรับคลื่นและแปรรหัสจากดาวเทียมเพื่อนำมาประมวลผลให้เหมาะสมกับการใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ • ทุกวันนี้บางท่านมักจะเข้าใจผิดว่า GPS เป็น GPRS ซึ่ง GPRS ย่อมาจากคำว่า General Packet Radio Service เป็นระบบสื่อสารแบบไร้สายสำหรับโทรศัพท์มือถือ หรือ PDA หรือ notebook เพื่อเชื่อมต่อกับ internet ศึกษาความเป็นมาและประวัติการพัฒนา GPS (GPS HISTORY, CHRONOLOGY, AND BUDGETS)

  10. GPS ทำงานอย่างไร • ดาวเทียม GPS (Navstar) ประกอบด้วยดาวเทียม 24ดวง โดยแบ่งเป็น6รอบวงโคจร การจรจะเอียงทำมุมเอียง 55 องศา กับเส้นศูนย์สูตร Equator ในลักษณะสานกันคล้าย ลูกตะกร้อแต่ละวงโคจรมีดาวเทียม4ดวง รัศมีวงโคจรจากพื้นโลก 20,162.81 กม. หรือ 12,600 ไมล์ ดาวเทียมแต่ละดวงใช้ เวลาในการโคจรรอบโลก 12 ชั่วโมง • GPSทำงานโดยการรับสัญญาณจากดาวเทียมแต่ละดวง โดยสัญญาณดาวเทียมนี้ประกอบไปด้วยข้อมูลที่ระบุตำแหน่งและเวลาขณะส่งสัญญาณ ตัวเครื่องรับสัญญาณ GPS จะต้องประมวลผลความแตกต่างของเวลาในการรับสัญญาณเทียบกับเวลาจริง ณ ปัจจุบันเพื่อแปรเป็นระยะทางระหว่างเครื่องรับสัญญาณกับดาวเทียมแต่ละดวง ซึ่งได้ระบุมีตำแหน่งของมันมากับสัญญาณดังกล่าวข้างต้น

  11. GPS ทำงานอย่างไร • เพื่อให้เกิดความแม่นยำในการค้นหาตำแหน่งด้วยดาวเทียม ต้องมีดาวเทียมอย่างน้อย 4 ดวง เพื่อบอกตำแหน่งบนผิวโลก ซึ่งระยะห่างจากดาวเทียมทั้ง 3 กับเครื่อง GPS (ที่จุดสีแดง) จะสามารถระบุตำแหน่งบนผิวโลกได้หากพื้นโลกอยู่ในแนวระนาบแต่ในความเป็นจริงพื้นโลกมีความโค้งเนื่องจากสัณฐานของโลกมีลักษณะกลมดังนั้นดาวเทียมดวงที่ 4 จะทำให้สามารถคำนวณเรื่องความสูงเพื่อทำให้ได้ตำแหน่งที่ถูกต้องมากขึ้น

  12. GPS ทำงานอย่างไร

  13. ระบบนำทางด้วย GPS ทำงานอย่างไร • ก่อนอื่นผู้ใช้จะต้องมีเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมหรือมีอุปกรณ์นำทาง เมื่อผู้ใช้นำเครื่องไปใช้งานมีการเปิดรับสัญญาณ GPS แล้วตัวโปรแกรมจะแสดงตำแหน่งปัจจุบันบนแผนที่ แผนที่สำหรับนำทางจะเป็นแผนที่พิเศษที่มีการกำหนดทิศทางการจราจร เช่น การจราจรแบบชิดซ้ายหรือชิดขวา ข้อมูลการเดินรถทางเดียว จุดสำคัญต่างๆ ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ต่างๆ ฝังไว้ในข้อมูลแผนที่ที่ได้ทำการสำรวจและตั้งค่าไว้แล้ว ในแต่ละทางแยกก็จะมีการกำหนดค่าเอาไว้ด้วยเช่นกันเพื่อให้ตัวโปรแกรมทำการ เลือกการเชื่อมต่อของเส้นทางจนถึงจุดหมายที่ได้เลือกไว้

  14. ระบบนำทางด้วย GPS ทำงานอย่างไร • เสียงนำทางก็จะทำงานสอดคล้องกับการ เลือกเส้นทาง เช่นถ้าโปรแกรมเลือกเส้นทางที่จะต้องไปทางขวาก็จะกำหนดให้มีการแสดงเสียง เตือนให้เลี้ยวขวา โดยแต่ละโปรแกรมก็จะมีการกำหนดเตือนไว้ล่วงหน้าว่าจะเตือนก่อนจุดเลี้ยว เท่าใด ส่วนการแสดงทิศทางก็จะมีการบอกไว้ล่วงหน้าเช่นกันแล้วแต่ว่าจะกำหนดไว้ล่วง หน้ากี่จุด บางโปรแกรมก็กำหนดไว้จุดเดียว บางโปรแกรมกำหนดไว้สองจุด หรือบางโปรแกรมก็สามารถเลือกการแสดงได้ตามความต้องการของผู้ใช้

  15. ระบบนำทางด้วย GPS ทำงานอย่างไร • การคำนวณเส้นทางนี้จะถูกคำนวณให้ เสร็จตั่งแต่แรก และตัวโปรแกรมจะแสดงผลทั้งภาพและเสียงตามตำแหน่งจริงที่อยู่ ณ.จุดนั้นๆ หากมีการเดินทางออกนอกเส้นทางที่ได้กำหนดไว้ เครื่องจะทำการเตือนให้ผู้ใช้ทราบและจะคำนวณให้พยายามกลับสู่เส้นทางที่ได้ วางแผนไว้ก่อน หากการออกนอกเส้นทางนั้นอยู่เกินกว่าค่าที่กำหนดไว้ก็จะมีการคำนวณเส้นทาง ให้ใหม่เองอัตโนมัติ

  16. ระบบนำทางด้วย GPS ทำงานอย่างไร • เมื่อเครื่องคำนวณเส้นทางให้ผู้ใช้สามารถดูเส้นทาง สรุปได้ล่วงหน้า หรือแสดงการจำลองเส้นทางก็ได้ โปรแกรมนำทางบางโปรแกรมมีความสามารถกำหนดจุดแวะได้หลายจุดทำให้ผู้ใช้สามารถ กำหนดให้การนำทางสอดคล้องกับการเดินทางมากที่สุด หรืออาจใช้ในการหลอกเครื่องเพื่อให้นำทางไปยังเส้นทางที่ต้องการแทนที่เส้น ทางที่เครื่องคำนวณได้ บางโปรแกรมก็มีทางเลือกให้หลีกเลี่ยงแบบต่างๆเช่น เลี่ยงทางผ่านเมือง เลี่ยงทางด่วน เลี่ยงทางกลับรถ เป็นต้น

  17. แผนที่นำทางด้วย GPS มีที่มาอย่างไร • ABLE ITS (POWER MAP) • ESRI (GARMIN) • BANGKOK GUIDE • MapKing • iGO • SpeedNavi • Mio Map • Papago

  18. แผนที่นำทางด้วย GPS มีที่มาอย่างไร • นอกจากผู้ที่ใช้ระบบ GPS จะต้องมีเครื่องรับสัญญาณ GPS หน่วยประมวลผล โปรแกรมแผนที่และข้อมูลแผนที่ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งานในรูปแบบต่าง ๆการรับสัญญาณจากดาวเทียมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ส่วนการใช้งานในรูปแบบที่ใช้ประกอบกับแผนที่จะมีค่าใช้จ่ายในเรื่องของแผนที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับบริษัทที่จัดทำแผนที่ ในประเทศไทยมีผู้จัดทำแผนที่เพื่อใช้กับ GPS รายใหญ่ๆได้แก่

  19. อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับการนำทางด้วย GPSประกอบด้วยอะไรบ้าง • อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับการนำทางด้วย GPS ประกอบด้วย ตัวรับสัญญาณ หน่วยประมวลผล โปรแกรมการนำทาง และข้อมูลแผนที่นำทาง ปัจจุบันนี้มีเครื่อง GPS ที่มีครบทุกอย่างในตัวเอง ซึ่งจะมีความสะดวกในการใช้งานและมีความเสถียรสูงได้แก่ PND(Personal / Portable Navigation Device) หรือแบบที่ใช้ GPS receiver ร่วมกับ PDA (Personal Digital Assistant) Pocket PC โน้ตบุ๊ก PC Smart phone เป็นต้น

  20. การประยุกต์ใช้งาน • ปัจจุบันนี้ได้มีการใช้งาน GPS ในรูปแบบต่างๆดังนี้ การกำหนดพิกัดของสถานที่ต่าง ๆ การทำแผนที่ งานสำรวจ โดยส่านใหญ่นิยมใช้อุปกรณ์ที่สามารถพกพาไปได้ง่าย มีความทนทาน กันน้ำได้ สามารถใช้กับถ่านไฟฉายขนาดมาตรฐานได้ การนำทาง ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางมีหลากหลายแบบและขนาด สามารถนำทางได้ทั้งภาพและเสียง ใช้ได้หลายภาษา บางแบบมีภาพเสมือนจริง ภาพสามมิติ และประสิทธิภาพอื่นๆเพิ่มเติมเช่น multimediaBluetooth hand free เป็นต้น

  21. การประยุกต์ใช้งาน • การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงข่ายหมุดดาวเทียม GPS ของกรมที่ดิน (DOLVRS) • การกำหนดจุดเพื่อบรรเทาสาธารณะภัย เช่น เสื้อกั๊กชูชีพที่มีเครื่องส่งสัญญาณจีพีเอส • การวางผังสำหรับการจัดส่งสินค้า • การนำไปใช้ประโยชน์ในขบวนการ ยุติธรรม เช่นการติดตามบุคคล • การติดตามการค้ายาเสพติด ฯลฯ • การนำไปใช้ประโยชน์ทางทหาร • การกีฬา เช่นใช้ในการฝึกฝนเพื่อวัดความเร็ว ระยะทาง แคลลอรี่ที่เผาผลาญ

  22. การประยุกต์ใช้งาน • การสันทนาการ เช่น กำหนดจุดตกปลา หาระยะเวลาที่เหมาะสมในการตกปลา การวัดความเร็ว ระยะทาง บันทึกเส้นทาง เครื่องบิน/รถบังคับวิทยุระบบการควบคุมหรือติดตายานพาหนะ • การติดตามบุคคล เพื่อให้ทราบว่ายานพาหนะอยู่ที่ใด มีการเคลื่อนที่หรือไม่ มีการแจ้งเตือนให้กับผู้ติดตามเมื่อมีการเคลื่อนที่เร็วกว่าที่กำหนดหรือเคลื่อนที่ออกนอกพื้นที่หรือเข้าสู่พื้นที่ที่กำหนด นอกจากนั้นยังสามารถนำไปใช้ในการป้องกันการโจรกรรมและติดตามทรัพย์สินคืน • การนำข้อมูล GPS มาประกอบกับภาพถ่ายเพื่อการท่องเที่ยว การทำรายงานกิจกรรม เป็นต้น โดยจะต้องมีเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมติดตั้งอยู่กับกล้องบางรุ่น หรือการใช้ GPS Data Logger ร่วมกับ Software

  23. การใช้ระบบ GPSในต่างประเทศเป็นอย่างไรบ้าง • ทุกวันนี้ในต่างประเทศมีการใช้อุปกรณ์ GPS กันอย่างกว้างขวาง และประชาชนมีความรู้เรื่อง GPS เป็นอย่างดี เพราะได้มีการใช้งานมาหลายปีแล้วและมีระบบเชื่อมโยงข้อมูลการจราจรในรูปแบบของดิจิตอล ประกอบกับมีการวางผังเมือง อย่างเป็นระเบียบทำให้การพัฒนาระบบ GPS เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว เช่น ในรถแท็กซี่จะพบอุปกรณ์ GPS ประจำอยู่แทบทุกคัน เพื่อหลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีการจราจรคับคั่ง หรือการขับรถเพื่อท่องเที่ยวก็จะมีการแนะนำเส้นทางท่องเที่ยวพร้อมสถานที่น่าสนใจต่างๆ เช่น ร้านอาหาร ที่พัก จุดชมวิว แหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น และนักเดินทางก็มักจะพกอุปกรณ์ GPS ในรูปแบบ PDA หรือ Pocket PC กันเป็นส่วนมาก แทนการพกพาสมุดแผนที่อย่างในอดีต ปัจจุบันนี้ระบบ GPS สามารถค้นหาถึงระดับบ้านเลขที่หรือเบอร์โทรศัพท์และนำทางไปสู่เป้าหมายได้อย่างถูกต้อง

  24. แนวโน้มหรืออนาคตของ GPS ในประเทศไทย • สำหรับ GPS ยังเป็นของใหม่มากและรู้จักกันในหมู่ผู้ใช้งานในวงจำกัด แต่ก็เป็นนิมิตหมายที่ดีในการที่จะแพร่หลายต่อไปในอนาคตปัจจุบันนี้ได้มีรถ แท็กซี่บางค่ายได้นำ GPS ไปติดตั้งแล้ว • ในปัจจุบันนอกจากฟังก์ชั่นการนำทางพื้นฐานแล้วก็ยังมีการ เตือนทางโค้ง จุดด่านเก็บเงิน จุดที่มักจะมีการตรวจจับความเร็ว ตำแหน่งกล้องตรวจจับการฝ่าฝืนกฎจราจร การกำหนดความเร็วในถนนแต่ละสาย ข้อมูลการท่องเที่ยวพร้อมรายละเอียดพร้อมภาพประกอบ ข้อมูลร้านอาหารอร่อย ภาพเสมือนจริง ข้อมูลจราจร TMC หรือ (Traffic Message Channel) • การใช้ GPS ในการติดตามรถบรรทุก รถยนต์ ซึ่งต่อไปน่าจะแพร่หลายไปถึงรถแท็กซี่ รถพยาบาล รถตำรวจ รถโรงเรียน รถขนส่งสาธารณะ ฯลฯ การแสดงสภาพการจราจรที่คาดว่าในอนาคตจะมี จุดที่ต้องระวังในการขับขี่ เช่น โค้งอันตราย เขตชุมชนลดความเร็ว เป็นต้น

  25. AGPS คืออะไร • ความเป็นมาของ AGPS เกิดจาก ในการคำนวนตำแหน่ง ของอุปกรณ์ GPS นั้น จะต้องอาศัยข้อมูล 3 อย่าง ในการคำนวนหาตำแหน่งของเครื่องรับ GPS บนพื้นโลก -ข้อมูลวงโคจร -เวลาปัจจุบัน -ระยะเวลาในการเดินทางของสัญญาณ GPS จาก ดาวเทียมมาสู่เครื่องรับ GPS อ่าน

  26. AGPS คืออะไร • เนื่องจากได้มาซึ่งข้อมูลทั้ง 3 อย่างจากดาวเทียม GPS อย่างน้อย 3 ดวง จากสัญญาณ GPS ตรงๆ นั้นมีข้อจำกัดอยู่หลายประการณ์ เช่น 1.   ใช้เวลานาน ในการหาตำแหน่ง 2.   สัญญาณ GPS ที่มาถึงโลกอ่อนและถูกบดบังได้ง่าย 3.   สิ้นเปลืองพลังงาน

  27. AGPS คืออะไร • จากปัญหาดังกล่าว จึงมีการค้นคิดหาวิธีที่จะทำให้ GPS สามารถทำงานได้เร็วขึ้นและสิ้นเปลืองพลังงานน้อยลง ประกอบกับเทคโนโลยี ด้านการสื่อสารของโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีความเร็วมากขึ้นและการมีการใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น ทำให้มีการพัฒนาจาก GPS ทั่วไป มาเป็น A-GPS โดยหลักการ ในการแก้ปัญหาขั้นต้น

  28. หลักการทำงานของ AGPS • A-GPS ย่อมาจาก Assisted GPS(จี พีเอสช่วยเหลือ) เป็นระบบ GPS (GPS ย่อมาจาก Global Positioning system คนละเรื่องกับ GPRS) ที่มีสนับสนุนข้อมูลที่ต้องการผ่านระบบ GPRS : General package radio service ซึ่งเป็นการบริการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงบนระบบโครงข่าย โทรศัพท์เคลื่อนที่ แทน การรับข้อมูลต่างๆ ตรงจาก ดาวเทียม GPS ซึ่งใช้เวลานาน โดยมีหลักการดังนี้

  29. หลักการทำงานของ AGPS • 1.สนับสนุน ข้อมูลวงโคจร และ เวลาปัจจุบัน ผ่านระบบ GPRS โดยปกติ GPS ต้องรับ ข้อมูลวงโคจร และข้อมูลเวลาปัจจุบัน จากสัญญาณ GPS โดยตรง ซึ่งทำให้ช้า หลังจากการพัฒนาระบบ AGPS จึงเปลี่ยนการรับข้อมูลทั้งไป ผ่านโครงข่าย GPRS โดยเอาข้อมูลมาจาก GPS Base Station ซึ่งจะค่อยรับ ข้อมูลวงโคจร GPS และ เวลาปัจจุบัน จากดาวเทียม GPS โดยตรง ทำให้อุปกรณ์สามารถทำงานได้เร็ว เพราะอุปกรณ์รับ GPS สามารถได้ข้อมูลทั้ง 2 จาก เครือข่าย GPRS ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลเร็วกว่า สัญญาณ GPS มาก

  30. หลักการทำงานของ AGPS • 2.รับ ข้อมูลตำแหน่ง คราวๆ จาก GPRS นอกจากที่จะได้ข้อมูลที่จำเป็นในการหาตำแหน่งของเครื่องรับ GPS ผ่านเครือข่าย GPRS แล้ว ระบบ GPRS ยังส่งข้อมูลบอกต่ำแหน่งคราวๆ ให้เครื่องรับ GPS ได้อีกด้วย เพราะการอุปกรณ์รับสัญญาณ GPRS ได้นั้น จะต้องอยู่ในรัสมีทำการของ Cell phone Location หรือ Cell site โทรศัพท์ ซึ่งแต่ละ เสาส่ง Cell site โทรศัพท์ ก็จะมีตำแหน่งที่แน่นอนบนพื้นโลก ซึ่งเครื่อขาย GPRS ก็จะส่งค่าตำแหน่งของ เสาส่ง Cell site โทรศัพท์ มาให้ด้วย ทำให้อุปกรณ์รับ GPS สามารถรู้ตำแหน่งคราวๆ ของตัวเอง ก่อนที่จะรับสัญญาณ GPS ได้เสียงอีก ทำให้การประมวลผลหาตำแหน่งอย่างละเอียดทำได้เร็วขึ้นมาก

  31. GPRS คืออะไร • GPRS ย่อมาจาก General Packet Radio Service นี้ไม่ใช่สิ่งใหม่แต่ประการใดในแวดวงโทรคมนาคม ซึ่งจะจัดให้มันอยู่ในเจนเนอเรชั่นที่ 2.5 G สำหรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ (โดย 1 G หมายถือโทรศัพท์มือถือระบบอนาล็อก, 2 G หมายถึง โทรศัพท์มือถือดิจิตอลปัจจุบันที่เราใช้อยู่) • GPRS นั้นถือว่าเป็นบริการใหม่ที่ล้ำสมัยของโทรศัพท์มือถือที่ไม่จำกัดตัวเองอยู่ แค่การใช้เสียงเท่านั้น โดยมันมีความสามารถในการส่งข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ได้ด้วยความเร็วในระดับ 172 Kbps (ขณะที่โทรศัพท์มือถือดิจิตอลธรรมดาส่งได้ด้วยความเร็ว 9.6 Kbps) ซึ่งความเร็วที่สูงระดับนี้สามารถรองรับกับ การใช้งานอินเตอร์เน็ตอย่างง่ายๆ ได้อย่างไม่มีปัญหา และอีกไม่นานเราคงจะได้เห็นการใช้งานอินเตอร์เน็ตแบบย่อ ในมือคุณไม่ว่าจะเป็นการ Chat, Web, Browsing, FTP หรือ E-mail

  32. GPRS คืออะไร • GPRS ได้ถูกกำหนดเป็นมาตรฐาน และมีกำหนดการที่จะออกใช้งานทั่วโลก โดยเริ่มมีการวางระบบเพื่อรองรับการใช้งานงานตั้งแต่ปี 2000 โดยปี 2001 นั้นจะเริ่มทดสอบให้บริการที่ความเร็ว 56 Kbps และ 112 Kbps ก่อน โดยทั้งหมดจะทำงานอยู่บนเครือข่ายโทรศัพท์ GSM เดิม (แต่ตัวเครื่องโทรศัพท์ GSM เดิม จะไม่สามารถใช้งานกับ GPRS ได้) จากนั้นในปี 2002 จะเข้าสู่ยุคของ 3G เสียที

  33. GPRS คืออะไร • เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นบนเครือข่ายเดิม เพื่อให้การส่งข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว และสะดวกยิ่งขึ้น • เทคโนโลยีการส่งข้อมูลแบบรวดเร็ว ซึ่งใช้ได้กับเครือข่ายระบบ GSM ช่วยเพิ่มความรวดเร็วให้กับการติดตั้ง และทำให้ระยะเวลาในการส่งข้อมูลรวดเร็วยิ่งขึ้น • เทคโนโลยีที่สร้างขึ้นมาเพื่อการใช้ Mobile Internet ด้วยความสะดวกยิ่งขึ้น ทำให้ท่านสามารถทำธุรกรรมต่างๆ ได้อย่างสะดวก และง่ายดายผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่

  34. GPRS คืออะไร • นวัตกรรมใหม่ที่ทำให้การส่งข้อมูลมีประสิทธิภาพ ด้วยความเร็วจากเดิมเพียงแค่ 9.6 Kbps เป็น 40 Kbps ช่วยให้ท่านสามารถเชื่อมต่อทางอินเตอร์เน็ตได้ภายในเวลาอันสั้น ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เมื่อไหร่ • การส่งข้อมูลแบบใหม่ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งจะประกอบไปด้วยรูปภาพที่เป็นกราฟฟิกเสียงและวิดีโอ เช่นการใช้ Video Conference

  35. GPSแตกต่างกับGPRSอย่างไร • จีพีเอสGPS เป็นระบบหาพิกัดบนพื้นโลกโดยการอ้างอิงจากดาวเทียมที่มีความแม่นยำสูงสามารถ ใช้หาพิกัดใดๆ บนพื้นโลก ได้ ทุกเวลา ทุกสภาพอากาศ ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีที่เริ่มเข้ามาบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น มีการนำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ มากมาย เช่น การช่วยวางแผนเดินทางด้วยแผนที่(โดยรถยนต์) ระบบติดตามตำแหน่งบนพื้นผิวโลก

  36. GPSแตกต่างกับGPRSอย่างไร • GPRS หรือ General Packet Radio Service ซึ่งเป็นตัวสร้าง Direct Link ระหว่างโทรศัพท์มือถือ และ Internet เข้าด้วยกัน ซึ่ง GPRS นี้ จะทำให้สามารถ มีอัตราในการส่งถ่ายข้อมูลได้มากที่สุดถึง 100 kbps เลยทีเดียว GPRS นั้น จะสร้าง IP ให้อย่างต่อเนื่อง และมี Bandwidth กว้าง ทำให้สามารถนำเอา Application ต่างๆ มาใช้ได้อย่างหลากหลายเช่น Multimedia Messaging, Wireless Corporate Intranet, Remote Control และ อื่นอีกมากมาย โดยผู้ใช้ จะเสียค่าใช้จ่าย เพียงแค่ในส่วนของจำนวนข้อมูลที่มีการส่งถ่ายเท่านั้น

  37. คนเราทุกคนต่างมีเวลา 24 ชม. เท่ากัน เพียงแต่ว่าคุณใช้เวลาได้คุ้มค่าแค่ไหน

More Related