1 / 125

สมบัติของ สารประกอบ

สมบัติของ สารประกอบ. สมบัติของ สารประกอบคลอ ไรด์ ของธาตุในคาบที่ 2 , 3. สมบัติของ สารประกอบคลอ ไรด์ ของธาตุในคาบที่ 2 , 3. สมบัติของสารประกอบคลอไรด์ของธาตุตามคาบ.

oriel
Download Presentation

สมบัติของ สารประกอบ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สมบัติของสารประกอบ

  2. สมบัติของสารประกอบคลอไรด์ของธาตุในคาบที่ 2 , 3

  3. สมบัติของสารประกอบคลอไรด์ของธาตุในคาบที่ 2 , 3

  4. สมบัติของสารประกอบคลอไรด์ของธาตุตามคาบสมบัติของสารประกอบคลอไรด์ของธาตุตามคาบ 1. สารประกอบคลอไรด์ของธาตุหมู่ IA IIA มีสมบัติเป็นกลาง ยกเว้น BeCl2มีสมบัติเป็นกรด ส่วนสารประกอบคลอไรด์ของธาตุหมู่ IIIA ถึง VIIA มีสมบัติเป็นกรด 2. สารประกอบคลอไรด์ที่ไม่ละลายน้ำได้แก่ CCl4 , NCl3 3. เขียนสมการแสดงปฏิกิริยาของสารประกอบคลอไรด์กับน้ำได้ดังนี้ PCl5 + 4H2O  H3PO4 + 5HCl SiCl4 + 2H2O  SiO2 + 4HCl

  5. สารประกอบคลอไรด์ที่ควรรู้จักสารประกอบคลอไรด์ที่ควรรู้จัก • CaCl2ใช้ในเครื่องทำความเย็นในอุตสาหกรรมห้องเย็น ใช้ทำฝนเทียม • KCl ใช้ทำปุ๋ย • NH4Cl ใช้เป็นอิเล็กโทรไลต์ของเซลล์ถ่านไฟฉาย ใช้เป็นน้ำประสานดีบุก • ปูนคลอรีน ใช้เป็นสารฟอกสีหรือฟอกขาวเยื่อกระดาษ ใช้ฆ่าแบคทีเรียในน้ำประปาและในสระว่ายน้ำ • DDT และดีลดริน ใช้เป็นยาฆ่าแมลง กำจัดศัตรูพืช • เกลือแกง ใช้ปรุงแต่งอาหาร ถนอมอาหาร และใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิต NaHCO3 (โซดาทำขนม) Na2CO3(โซดาแอช) NaOH (โซดาไฟ) และ HCl นอกจากนี้ยังใช้ละลายน้ำแข็งในหิมะ • CCl4และ CHCl3ใช้เป็นตัวทำละลายในการสกัดสารอินทรีย์

  6. สมบัติของสารประกอบออกไซด์ของธาตุในคาบที่ 2 , 3

  7. สมบัติของสารประกอบออกไซด์ของธาตุในคาบที่ 2 , 3

  8. สมบัติของสารประกอบออกไซด์ของธาตุตามคาบสมบัติของสารประกอบออกไซด์ของธาตุตามคาบ 1. สารประกอบออกไซด์ของธาตุหมู่ IA IIA ละลายน้ำได้สารละลายที่มีฤทธิ์เป็นเบส ยกเว้น BeO ไม่ละลายน้ำ 2. สารประกอบออกไซด์ของธาตุหมู่ IIIA ถึง VIIA ละลายน้ำได้สารละลายที่มีฤทธิ์เป็นกรด ยกเว้น Al2O3และ SiO2ไม่ละลายน้ำ 3. เขียนสมการแสดงปฏิกิริยาของสารประกอบออกไซด์เมื่อละลายน้ำได้ดังนี้ Li2O(s) + H2O(l)  2LiOH(aq) (เบส) CaO(s) + H2O(l)  Ca(OH)2(aq) (เบส) CO2(g) + H2O(l)  H2CO3(aq) (กรด) SO2(g) + H2O(l)  H2SO3 (aq) (กรด)

  9. สมบัติของสารประกอบออกไซด์ของธาตุตามคาบสมบัติของสารประกอบออกไซด์ของธาตุตามคาบ 4. ออกไซด์ที่ไม่ละลายน้ำ อธิบายได้ดังนี้ ก. ถ้าทำปฏิกิริยากับกรดได้ แสดงว่าออกไซด์นั้นมีสมบัติเป็นเบส เช่น MgO ละลายน้ำได้เล็กน้อยและทำปฏิกิริยากับกรดได้ดังสมการ MgO(s) + H2SO4(aq)  MgSO4 (aq) + H2O(l) ข. ถ้าทำปฏิกิริยากับเบสได้ แสดงว่าออกไซด์นั้นมีสมบัติเป็นกรด เช่น SiO2(s) + 2NaOH(aq)  NaSiO3 (aq) + H2O(l) ค. ถ้าทำปฏิกิริยาได้ทั้งกรดและเบส แสดงว่ามีสมบัติเป็นได้ทั้งกรดและเบส เช่น BeO(s) + 2NaOH(aq) + H2O(l)  Be(OH)2-4 (aq) + 2Na+(aq) BeO(s) + 2HCl(aq)  BeCl2 (aq) + H2O(l)

  10. สารประกอบออกไซด์ที่ควรรู้จักสารประกอบออกไซด์ที่ควรรู้จัก • CO2เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้เพลิงและการเผาผลาญอาหารของสิ่งมีชีวิต การเพิ่มขึ้นของ CO2 ทำให้อุณหภูมิของบรรยาการสูงขึ้นทำให้เกิดปรากฎการเรือนกระจก • CO2ใช้เป็นสารตั้งต้นในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช • ใช้ผลิตปุ๋ยยูเรีย ใช้ผลิตน้ำอัดลม น้ำโซดา ใช้ดับเพลิง • ใช้ในยุ้งเก็บเมล็ดธัญพืชเพื่อป้องกันการงอก ทำน้ำแข็งแห้งเพื่อใช้เก็บอาหาร

  11. สารประกอบออกไซด์ที่ควรรู้จักสารประกอบออกไซด์ที่ควรรู้จัก • CO, SO2, NO และ NO2จัดเป็นก๊าซพิษ เป็นอันตรายต่อระบบหายใจ ทำให้เกิดหมอกควันพิษ เกิดฝนกรด • CO(g) + H2(g) เรียกว่า water gas • CO(g) + N2(g) เรียกว่า producer gas • CO(g) ใช้เป็นตัวรีดิวซ์ในการถลุงโลหะ • SO2(g) ใช้ในการฟอกสีและฆ่าเชื้อรา • แร่ดีบุกคือ แร่แคสซิเทอไรต์ (SnO2) • แร่เหล็กคือ แร่ฮีมาไทต์ (Fe2O3) • SiO2หรือซิลิกา เกิดในธรรมชาติเป็นผลึกรูปต่าง ๆ บางชนิดสวยงาม บางชนิดแข็ง มีจุดเดือดจุดหลอมเหลวสูง ใช้ทำเครื่องประดับ สารขัดโลหะกระดาษทราย สารช่วยกรองในเครื่องกรองน้ำ ทำแก้ว กระจก และเลนส์

  12. สรุป

  13. สมบัติของสารประกอบของธาตุตามคาบสมบัติของสารประกอบของธาตุตามคาบ

  14. สมบัติของสารประกอบของธาตุตามคาบสมบัติของสารประกอบของธาตุตามคาบ 1.ความเป็นกรดของสารประกอบเพิ่มขึ้นจากซ้ายไปขวา 2. ความเป็นเบสของสารประกอบเพิ่มขึ้นจากบนลงล่าง 3. ธาตุหมู่ IA IIA และ IIIA เมื่อเกิดเป็นสารประกอบจะมีออกซิเดชันได้เพียงค่าเดียว คือ +1 +2 และ +3 ตามลำดับ 4. ธาตุหมู่ IVA VA และ VIIA เมื่อเกิดเป็นสารประกอบจะมีออกซิเดชันได้หลายค่า 5. สารประกอบคลอไรด์ของธาตุหมู่ IA IIA มีสมบัติเป็นกลาง ยกเว้น BeCl2มีสมบัติเป็นกรด ส่วนสารประกอบคลอไรด์ของธาตุหมู่ IIIA ถึง VIIA มีสมบัติเป็นกรด 6. สารประกอบคลอไรด์ที่ไม่ละลายน้ำได้แก่ CCl4 , NCl3 7. เขียนสมการแสดงปฏิกิริยาของสารประกอบคลอไรด์กับน้ำได้ดังนี้ PCl5 + 4H2O  H3PO4 + 5HCl SiCl4 + 2H2O  SiO2 + 4HCl

  15. จุดหลอมเหลวและจุดเดือดของสารประกอบของธาตุตามคาบจุดหลอมเหลวและจุดเดือดของสารประกอบของธาตุตามคาบ * แนวโน้มจุดหลอมเหลวและจุดเดือดของสารประกอบคลอไรด์ของธาตุในคาบที่ 2 และ คาบที่ 3 จะลดลงจากซ้ายไปขวา เพราะคลอไรด์ของโลหะเป็นสารประกอบไอออนิก ส่วนคลอไรด์ของอโลหะสารประกอบโคเวเลนต์ * จุดหลอมเหลวและจุดเดือดของสารประกอบออกไซด์ของโลหะมีจุดหลอมเหลวและ จุดเดือดสูงเพราะสารประกอบเหล่านี้เป็นสารประกอบไอออนิก มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่าง ไอออนบวกกับไอออนลบเกิดขึ้นต่อเนื่องกันทั่วทั้งสาร ส่วนสารประกอบออกไซด์ของ อโลหะมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดต่ำ เพราะแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลเหล่านี้คือ แรงแวนเดอร์วาส์ล การทำให้สารระเหยหรือกลายเป็นไอจึงใช้พลังงานต่ำ

  16. ตำแหน่งของธาตุ H ในตารางธาตุ ธาตุ H อาจมีลักษณะคล้ายกับธาตุในหมู่ IA และหมู่ VIIA ได้ด้วย ดังข้อเปรียบเทียบดังนี้คือ ดังนั้น จึงจัด H ไว้ต่างหาก คาบเกี่ยวระหว่าง หมู่ IA และหมู่ VIIA

  17. สมบัติของธาตุและสารประกอบสมบัติของธาตุและสารประกอบ

  18. สมบัติของธาตุและสารประกอบสมบัติของธาตุและสารประกอบ • สมบัติของสารประกอบของธาตุตามคาบ • ปฏิกิริยาของธาตุและสารประกอบของธาตุตามหมู่ • ปฏิกิริยาของธาตุหมู่ IA และ IIA • ปฏิกิริยาของธาตุหมู่ VIIA • ตำแหน่งของธาตุไฮโดรเจนในตารางธาตุ

  19. ปฏิกิริยาของธาตุและสารประกอบของธาตุตามหมู่ -ปฏิกิริยาของธาตุหมู่ IA และ IIA - ปฏิกิริยาของธาตุหมู่ VIIA

  20. Increasing reactivity

  21. Increasing reactivity

  22. B เป็นกึ่งโลหะ

  23. ปฏิกิริยาของธาตุและสารประกอบตามหมู่ปฏิกิริยาของธาตุและสารประกอบตามหมู่ • โลหะหมู่ IA และ IIA ทำปฏิกิริยากับน้ำได้สารละลายเบสและก๊าซไฮโดรเจน โดยโลหะหมู่ IA จะเกิดปฏิริยากับน้ำได้ดังสมการ • 2Na(s) + 2H2O(l)  2NaOH(aq) + H2(g) • โลหะหมู่ IIA จะทำปฏิริยากับน้ำร้อนได้ดีกว่าน้ำเย็น • Mg(s) + 2H2O(l)  Mg(OH)2(aq) + H2(g) • โลหะหมู่ IIIA ไม่ทำปฏิริยากับทั้งน้ำร้อนและน้ำเย็น • Al(s) + H2O(l)  ไม่เกิดปฏิกิริยาหรือเกิดช้ามาก {2Al(OH)3(aq) + 3H2(g)} ร้อน ร้อน,เย็น ** สรุปความว่องไวในการทำปฏิกิริยากับน้ำได้ดังนี้ ธาตุหมู่ IA > หมู่ IIA > หมู่ IIIA

  24. การละลายน้ำของสารประกอบธาตุหมู่ IA และ IIA

  25. Bismuth(Bi) Antimony(Sb) Arsenic(As) ตัวอย่างออกไซด์: N2O, NO2, N2O4, N2O5,P4O6, P4O10

  26. SO3(s) +H2O(l) H2SO4(aq) Group 6A Elements Oxygen (O) Polonium (Po) Sulphur (S) Selenium (Se) Tellurium(Te) ตัวอย่างออกไซด์: SO2,SO3

  27. Increasing reactivity

  28. ธาตุหมู่ VIIA เรียกว่า ธาตุแฮโลเจน (halogen) Cl2/CCl4 + 2KBr  2KCl + Br2/CCl4 Cl2/CCl4 + 2KI  2KCl + I2/CCl4 สำหรับ I2ไม่ทำปฏิกิริยากับ Cl-และ Br- I2 + KCl  ไม่เกิดปฏิกิริยา I2 + KBr  ไม่เกิดปฏิกิริยา Br2ทำปฏิกิริยากับ I-ได้ ดังสมการ Br2/CCl4 + 2KI  2KBr + I2/CCl4

  29. ธาตุหมู่ VIIA เรียกว่า ธาตุแฮโลเจน (halogen) ความสามารถในการทำปฏิกิริยาของธาตุหมู่ VIIIA จะลดลงตามลำดับจากบนลงล่าง โดยธาตุที่อยู่ตอนบนสามารถทำปฏิกิริยากับสารประกอบแฮไลด์ของธาตุในหมู่เดียวกันที่อยู่ตอนล่างได้ แสดงว่า ตัวออกซิไดส์ (เกิดปฏิกิริยารีดักชัน) : F2>Cl2 > Br2 > I2 ตัวรีดิวซ์ (เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน) :F- > Cl- > Br- > I- ธาตุหมู่ VIIA ทำปฏิกิริยากับสารอื่นๆ เกิดสารประกอบได้หลายชนิดเช่น NaCl, HF, NaClO

  30. Group 8A Elements

  31. ธาตุกึ่งโลหะ

  32. ก๊าซเฉื่อย ก๊าซเฉื่อยหรือก๊าซมีตระกูล ( inert gas or noble gas) หมายถึง ธาตุที่ไม่ทำปฏิกิริยากับธาตุอื่น ๆ ซึ่งมีทั้งหมด 6 ธาตุ ตือ He, Ne, Ar, Kr, Xe และ Rn * ก๊าซเฉื่อย 1 อะตอม เท่ากับ 1 โมเลกุล * ปนอยู่กับอากาศประมาณร้อยละ 1 โดยปริมาตร พบว่ามี Ar อยู่มากที่สุดคือประมาณร้อยละ 96.6 ของก๊าซเฉื่อยทั้งหมด * ความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยา Xe > Kr > Ar > Ne > He ส่วน Rn เป็นธาตุกัมมันตรังสี พบว่า Xe และ Kr สามารถทำปฏิกิริยากับ F2 และ O2 ได้

  33. ประโยชน์ของก๊าซเฉื่อยประโยชน์ของก๊าซเฉื่อย 1. ก๊าซฮีเลียม (He):เป็นก๊าซที่มีมวลโมเลกุลน้อย ไม่ติดไฟจึงใช้บรรจุบัลลูนแทนก๊าซไฮโดรเจนและใช้ผสมกับก๊าซออกซิเจนในอัตราส่วน 4 ต่อ 1 โดยปริมาตร เพื่อใช้ในการหายใจสำหรับผู้ที่ลงไปทำงานในทะเลลึก 2. ก๊าซนีออน (Ne): ใช้บรรจุในหลอดไฟโฆษณาให้หลอดไฟสีแดงเข้ม 3. ก๊าซอาร์กอน (Ar): ใช้เป็นก๊าซบรรจุในหลอดไฟฟ้าเพื่อให้ไส้หลอดมีอายุการใช้งานนานมากขึ้น ใช้บรรจุในหลอดไฟโฆษณาเพื่อให้แสงสีม่วงสีน้ำเงิน และใช้ในอุตสาหกรรมการเชื่อมโลหะ 4. ก๊าซคริปทอน (Kr):ใช้ในหลอดไฟแฟลชสำหรับการถ่ายรูปด้วยความเร็วสูง 5. ซีนอน (Xe):เป็นก๊าซที่ช่วยให้สลบ แต่มีราคาแพงมาก 6. เรดอน (Rn):ใช้รักษาโรคมะเร็ง

  34. Diatomic Elements

  35. ธาตุแทรนซิชัน (Transition elements) • สมบัติของธาตุแทรนซิชัน • สารประกอบของธาตุแทรนซิชัน • สารประกอบเชิงซ้อนของธาตุแทรนซิชัน

  36. ธาตุแทรนซิชัน

  37. ธาตุแทรนซิชัน Electron configurations of Cr and Cu

  38. สมบัติของธาตุแทรนซิชันสมบัติของธาตุแทรนซิชัน การที่ธาตุแทรนซิชันมีสมบัติแตกต่างจากโลหะทั่วๆ ไป ทำให้ต้องแยกออกเป็นกลุ่ม ๆ ต่างหาก ลักษณะที่สำคัญของธาตุแทรนซิชันเป็นดังนี้ 1. มีเลขออกซิเดชันมากกว่า 1 ค่า ยกเว้นหมู่ IIIB เช่น Sc เป็น +3 ค่าเดียว และหมู่ IIB (Zn, Cd) เป็น +2 ค่าเดียว 2. ธาตุแทรนซิชันเป็นโลหะ จึงดึงดูดกับแม่เหล็ก และมีบางธาตุ เช่น Fe, Co, และ Ni สามารถแสดงสมบัติเป็นแม่เหล็กได้เมื่อนำไปวางไว้ในสนามแม่เหล็กนาน ๆ นอกจากนี้ยังมีสารประกอบของธาตุแทรนซิชันอีกหลายชนิดที่สามารถดูดกับแม่เหล็กได้ 3. สารประกอบส่วนใหญ่ มีสี (ยกเว้นหมู่ IIIB) ซึ่งเป็นสีของไอออนเชิงซ้อนของธาตุแทรนซิชัน 4. ธาตุแทรนซิชันมีแนวโน้มที่จะเกิดสารประกอบเชิงซ้อนได้ 5. มีเวเลนต์อิเล็กตรอนเท่ากับ 2 (ยกเว้น Cr, และ Cu มีเวเลนต์อิเล็กตรอนเท่ากับ 1) และอิเล็กตรอนถัดจากวงนอกสุดไม่ครบ 18 (ยกเว้น Cu และ Zn)

  39. สมบัติของธาตุแทรนซิชันสมบัติของธาตุแทรนซิชัน • รัศมีอะตอมมีแนวโน้มลดลงจากซ้ายไปขวาของคาบ (หรือเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น รัศมีอะตอมจะเล็กลง) ซึ่งเหมือนกับธาตุในคาบเดียวกันทั่วๆ ไป) • มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดค่อนข้างสูง เพราะมีพันธะโลหะ • หนาแน่นเพิ่มขึ้น เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น เนื่องจากมวลเพิ่มขึ้นในขณะที่ขนาดเล็กลง • ค่า IE1 , IE2 , และ IE3 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น แต่ค่าต่างกันไม่มากนัก เพราะขนาดใกล้เคียงกัน • อิเล็กโทรเนกาติวิตีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น • เป็นโลหะที่นำความร้อนและนำไฟฟ้าได้ดีเหมือนกับโลหะทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้เพราะมีพันธะโลหะ

  40. สมบัติของธาตุแทรนซิชันสมบัติของธาตุแทรนซิชัน Atomic radii

  41. สมบัติของธาตุแทรนซิชันสมบัติของธาตุแทรนซิชัน Transition metal densities

  42. เลขออกซิเดชันของธาตุแทรนซิชันเลขออกซิเดชันของธาตุแทรนซิชัน

  43. สารประกอบเชิงซ้อนของธาตุแทรนซิชันสารประกอบเชิงซ้อนของธาตุแทรนซิชัน * โลหะแทรนซิชันมีโครงสร้างทางอิเล็กตรอนที่แตกต่างไปจากโลหะหมู่ที่ IA และหมู่  IIA คือสามารถรวมกับไอออน  หรือหมู่ไอออน โมเลกุลหรือสารบางชนิดที่มีอิเล็กตรอนคู่ว่างอยู่เกิดเป็นสารประกอบโคเวเลนต์ที่เรียกว่า สารประกอบโคออดิเนชันหรือสารประกอบเชิงซ้อน (Complex  Compound) สารประกอบเชิงซ้อน คือ สารประกอบที่มีไอออนเชิงซ้อนเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย ส่วนมากเกิดกับธาตุแทรนซิชัน ไอออนเชิงซ้อน คือ สารที่เกิดจากไอออนลบ (anions) หรือโมเลกุลที่เป็นกลางไม่มีประจุจำนวนหนึ่ง หรือมากกว่านั้นมาสร้างพันธะเคมีกับไอออนกลางของโลหะ เช่น Cu(NH3)42+, ไอออนเชิงซ้อนมี 2 ชนิดคือ ไอออนเชิงซ้อนที่เป็นไอออนบวก และไอออนลบ

More Related