1 / 42

2-11 คลื่นกล

2-11 คลื่นกล. การซ้อนทับกันของคลื่น (Superposition). คลื่นตั้งแต่สองคลื่นเข้ามาอยู่ในตัวกลางเดียวกัน ผลรวมคือตำแหน่งลัพธ์ของส่วนของตัวกลางคือผลบวกของตำแหน่งของแต่ละคลื่น คลื่นแบบนี้เรียกว่า Linear Wave เมื่อคลื่นเคลื่อนผ่านกันไปแล้ว แต่ละคลื่นจะกลับมามีรูปคลื่นเหมือนเดิม.

Download Presentation

2-11 คลื่นกล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. 2-11 คลื่นกล

  2. การซ้อนทับกันของคลื่น (Superposition) • คลื่นตั้งแต่สองคลื่นเข้ามาอยู่ในตัวกลางเดียวกัน ผลรวมคือตำแหน่งลัพธ์ของส่วนของตัวกลางคือผลบวกของตำแหน่งของแต่ละคลื่น • คลื่นแบบนี้เรียกว่า Linear Wave • เมื่อคลื่นเคลื่อนผ่านกันไปแล้ว แต่ละคลื่นจะกลับมามีรูปคลื่นเหมือนเดิม

  3. การแทรกสอด (Interference) • คือผลลัพธ์ของการซ้อนทับกันของคลื่นในบริเวณเดียวกัน • การแทรกสอดแบบเสริม คือการที่คลื่นที่มาซ้อนทับกันมีการกระจัดในทิศทางเดียวกัน แอมพลิจูดของคลื่นมีขนาดมากกว่าคลื่นแต่ละตัว • การแทรกสอดแบบหักล้าง คลื่นที่มาซ้อนทับกันมีการกระจายในทิศตรงกันข้าม แอมพลิจูดของคลื่นมีขนาดเล็กลง

  4. การซ้อนทับกันของคลื่นรูปไซน์ที่เคลื่อนในทิศเดียวกันการซ้อนทับกันของคลื่นรูปไซน์ที่เคลื่อนในทิศเดียวกัน • คลื่นสองคลื่นเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกัน มีความถี่ แอมพลิจูด เท่ากันและมีเฟสต่างกัน f • จะได้คลื่นลัพธ์ y =y1+y2 • แต่ • ดังนั้น

  5. การซ้อนทับกันของคลื่นรูปไซน์การซ้อนทับกันของคลื่นรูปไซน์ • คลื่นลัพธ์ยังคงเป็นรูปไซน์ ความถี่และความยาวคลื่นเหมือนเดิม เฟสของคลื่นลัพธ์คือ f/2 และมีแอมพลิจูด 2Acos(f/2 ) • ถ้า f = 0 แอมพลิจูดของคลื่นลัพธ์เท่ากับ 2A ทุกตำแหน่งบนคลื่นม่เฟสตรงกันหมด เป็นการแทรกสอดแบบเสริม • ถ้า f = p แอมพลิจูดของคลื่นลัพธ์เท่ากับ 0 ทุกตำแหน่งบนคลื่นม่เฟสตรงกันข้ามหมด เป็นการแทรกสอดแบบหักล้าง ถ้าเฟสเป็น 3p, 5p, 7p, ………. ผลก็เป็นเช่นเดียวกัน

  6. การแทรกสอดของคลื่นเสียงการแทรกสอดของคลื่นเสียง Path difference Dr = |r2 - r1| • แหล่งกำเนิดเสียงเดียวกันวิ่งผ่านคนละช่องทาง มาพบกันและแทรกสอดกัน ณ บริเวณหูที่รับฟัง เสียงที่ได้ยินขึ้นอยู่กับความแตกต่างของระยะทาง r1กับ r2

  7. การแทรกสอดของคลื่นเสียงการแทรกสอดของคลื่นเสียง • ถ้า D r= nln = 0,1,2,……. จะเกิดการแทรกสอดแบบเสริม • ผู้ฟังจะได้ยินเสียงที่ดัง • ถ้า D r= (n/2)ln เป็นเลขคี่ จะเกิดการแทรกสอดแบบหักล้าง • ถ้าเป็นการหักล้างแบบสมบูรณ์ผู้ฟังจะไม่ได้ยินเสียงเลย

  8. การแทรกสอดของคลื่นต่อเนื่องวงกลมสองคลื่นจากแหล่งกำเนิดอาพันธ์การแทรกสอดของคลื่นต่อเนื่องวงกลมสองคลื่นจากแหล่งกำเนิดอาพันธ์ ตำแหน่งที่สันคลื่นพบท้อง คลื่นเกิดการแทรกสอดแบบ หักล้าง ทำให้ผิวน้ำไม่กระเพิ่ม (บัพ ) ตำแหน่งที่สันคลื่นพบสันคลื่น หรือท้องคลื่นพบท้องคลื่น แอมพลิจูดจะสูงสุดเพราะเป็น การแทรกสอดแบบเสริมกัน ผิวน้ำจะกระเพื่อมมากสุด เรียกว่า ปฏิบัพ แหล่งกำเนิดคลื่นซึ่งเป็นปุ่มกลม 2 ปุ่ม ถือได้ว่าเป็นแหล่งกำเนิดอาพันธ์ ซึ่งให้คลื่นที่ มีความถี่ เท่ากันและมีเฟสตรงกันหรือต่างกันคงตัว เมื่อสองปุ่มนี้สั่น จะเกิดคลื่นต่อเนื่อง สองขบวนที่มีความถี่เท่ากันและมีเฟสตรงกัน เมื่อทั้งสองมาทับซ้อนกันจะเกิดการแทรกสอด

  9. เมื่อเขียนเส้นเชื่อมต่อบัพที่อยู่ถัดกันไปจะได้เส้นบัพ และเขียนเส้นเชื่อมต่อปฏิบัติที่อยู่ถัดกันไปจะได้เส้นปฏิบัพ

  10. เมื่อลากเส้นจากตำแหน่งของแหล่งกำเนิดคลื่นทั้งสองไปยังตำแหน่งใดๆบนเส้นปฏิบัพ ผลต่างของระยะทั้งสองจะเท่ากับจำนวนเต็มเท่าของความยาวคลื่นเสมอ

  11. เมื่อลากเส้นจากตำแหน่งของแหล่งกำเนิดคลื่นทั้งสองไปยังตำแหน่งใดๆบนเส้นบัพ ผลต่างของระยะทั้งสองจะเท่ากับ(จำนวนเต็มบวก ½ ) ของความยาวคลื่นเสมอ

  12. คลื่นเสริมกันโดยท้องคลื่นกับท้องคลื่นที่จุด P จะมีความยาวS1P - S2P เท่ากับ 1λ แสดงว่าเป็นตำแหน่งเสริมกันบนแนวปฏิบัพที่ 1 คลื่นเสริมกันโดยสันคลื่นกับสันคลื่นที่จุด P จะมีความยาว S1P – S2P เท่ากับ 1λ แสดงว่าเป็นตำแหน่งเสริมกันบนแนวปฏิบัพที่ 1

  13. คลื่นหักล้างกันโดยสันคลื่นกับท้องคลื่นที่จุด P จะมีความยาว S1P - S2P เท่ากับ 0.5 λ แสดงว่าเป็นตำแหน่งหักล้างกันบนแนวบัพที่ 1

  14. การซ้อนทับกันของคลื่นรูปไซน์ที่เคลื่อนสวนทางกันการซ้อนทับกันของคลื่นรูปไซน์ที่เคลื่อนสวนทางกัน • คลื่นรูปไซน์สองคลื่นมีความถี่ แอมพลิจูด เท่ากัน มีเฟสเหมือนกันเคลื่อนสวนทางกัน • จะได้ว่า • นี้คือฟังก์ชันของคลื่นนิ่ง จะไม่รู้สึกว่ามีคลื่นเคลื่อนที่ในทิศทางของการแผ่คลื่นออกจากแหล่งกำเนิด

  15. คลื่นนิ่ง (Standing Wave) • การเคลื่อนที่ของอนุภาคในคลื่นนิ่ง เคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย ด้วยความถี่เท่ากับความถี่เดิม และมีแอมพลิจูดขึ้นอยู่กับคำแหน่งในตัวกลาง • คลื่นนิ่งเกิดได้ในเส้นเชือกหรือสายโลหะ เช่นสายไวโอลิน สายกีตาร์ • คลื่นนิ่ง (Standing wave) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากคลื่น 2 ขบวนที่มีแอมพลิจูดเท่ากัน มีความยาวคลื่นเท่ากัน มีอัตราเร็วเท่ากัน เคลื่อนที่สวนทางกันในแนวเส้นตรงเดียวกัน

  16. คลื่นนิ่งในเส้นเชือก เครื่องสั่น

  17. ตำแหน่งปฏิบัพของคลื่นนิ่งตำแหน่งปฏิบัพของคลื่นนิ่ง • จาก ดังนั้น A max = 2A • และจะเกิดเมื่อ

  18. ตำแหน่งบัพของคลื่นนิ่งตำแหน่งบัพของคลื่นนิ่ง • จาก ดังนั้น A min = 0 • และจะเกิดเมื่อ

  19. คลื่นนิ่งในเส้นเชือก • จากตำแหน่งของบัพ เราจะได้ว่า จะเกิดคลื่นนิ่งได้เส้นเชือกต้องมีความยาว L เท่ากับ • หรือความยาวคลื่นต้องเท่ากับ • เมื่อ n = 1,2,3,….

  20. First Harmonic, n = 1 Second Harmonic, n = 2 Third Harmonic, n = 3

  21. ต้องกำหนดความถี่ให้เครื่องสั่นเท่าไรจึงจะเกิดการคลื่นนิ่งต้องกำหนดความถี่ให้เครื่องสั่นเท่าไรจึงจะเกิดการคลื่นนิ่ง • T เป็นความตึงของเส้นเชือก • m เป็น มวลต่อหน่วยความยาวของเชือก

  22. คลื่นนิ่งและการสั่นพ้องคลื่นนิ่งและการสั่นพ้อง • ความถี่ที่ทำให้เกิดคลื่นนิ่ง ก็คือทำให้เกิดการสั่นพ้อง • ความถี่ที่ n=1 เรียกว่า ความถี่มูลฐานหรือฮาร์โมนิกที่หนึ่ง • ความถี่ที่ n=2 เรียกว่า ฮาร์โมนิกที่สอง • ..................................ฮาร์โมนิกที่ n  fn • การสั่นพ้องคือการที่วัตถุถูกบังคับให้สั่นด้วยแรงภายนอกที่มีความถี่เท่ากันหรือเป็นจำนวนเต็มเท่าของความถี่ธรรมชาติของวัตถุนั้น มีผลให้วัตถุสั่นด้วยแอมพลิจูดที่กว้างกว่าปกติ

  23. ความถี่ธรรมชาติ • จากการศึกษาการสั่นหรือการแกว่งของวัตถุที่ถูกตรึงหรือยึดไว้ เมื่อปล่อยให้วัตถุนั้นสั่นหรือแกว่งอย่างอิสระ จะแกว่งหรือสั่นด้วยความถี่คงตัวค่าหนึ่ง • ความถี่ในการสั่นหรือแกว่งของวัตถุอย่างอิสระนี้เรียกว่า ความถี่ธรรมชาติ

  24. การสั่น การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่ายและคลื่น • การแกว่งของลูกตุ้มกรณีมุม q มีขนาดเล็ก เป็นการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนอกอย่างง่าย คาบและความถี่ของการแกว่งขึ้นกับความยาวของเชือก • แสดงว่า สำหรับความยาวของลูกตุ้มนาฬิกาค่าหนึ่งจะมีความถี่เฉพาะค่าหนึ่งเรียกว่า ความถี่ธรรมชาติ ซึ่งขึ้นอยู่กับความยาวของลูกตุ้ม

  25. มวล m ผูกปลายสปริงแขวนในแนวดิ่ง • ถ้าออกแรงดึงมวลให้ยืดออกเป็นระยะ A แล้วปล่อย มวลจะสั่นขึ้นลงด้วยความถี่ธรรมชาติ • ถ้านำปากกามาติดที่มวล m แล้วให้ลากบนกระดาษเคลื่อนที่ต่อเนื่องจะได้รูปแบบของการเคลื่อนที่แบบ ไซนูซอยดัล

  26. การสั่นพ้อง • ถ้าออกแรงกระทำกับวัตถุเพียวครั้งเดียววัตถุจะสั่นหรือแกว่งด้วยความถี่ธรรมชาติ และขนาดของแอมพลิจูดขึ้นอยู่กับขนาดของแรงที่มากระทำ • แต่ถ้าให้แรงที่มีกระทำ กระทำต่อเนื่องในจังหวะที่พอเหมาะกับความถี่ธรรมชาติของวัตถุ จะทำให้แอมพลิจูด ค่อยๆเพิ่มขึ้นจนถึงมากที่สุด เราเรียกปรากฎการนี้ว่า การสั่นพ้อง

  27. การสั่นพ้องของเส้นลวดปลายตรึงทั้งสองข้างการสั่นพ้องของเส้นลวดปลายตรึงทั้งสองข้าง • พิจารณาเส้นลวดหรือเส้นเชือกที่ปลายตรึงทั้งสองข้าง เมื่อดีดเส้นลวดจะเกิดคลื่นในเส้นลวดเคลื่อนที่ไปกระทบจุดตรึง แล้วสะท้อนกลับมาสวนกันกลายเป็นคลื่นนิ่ง • โดยมีจุดตรึงเป็นตำแหน่งบัพเสมอ • การเกิดคลื่นนิ่งลักษณะนี้เรียกว่า เกิดการสั่นพ้องของเส้นลวด • ความถี่ของคลื่นนิ่งที่ทำให้เกิดการสั่นพ้องของเส้ยลวด มีได้หลายค่า ดังนี้ • ความถี่มูลฐาน • โอเวอร์โทน

  28. การสั่นพ้องของเส้นลวดปลายตรึงทั้งสองข้างการสั่นพ้องของเส้นลวดปลายตรึงทั้งสองข้าง • ความถี่มูลฐาน (fundamental) คือความถี่ต่ำสุดของคลื่นนิ่ง ซึ่งมีความยาวคลื่นมากที่สุดแล้วทำให้เกิดการสั่นพ้อง • โอเวอร์โทน (overtone) คือความถี่ของคลื่นนิ่งที่สูงจากความถี่มูลฐาน แล้วทำให้เกิดการสั่นพ้อง มีค่าเป็นขั้นๆ • ฮาร์มอนิก (harmonic) คือตัวเลขที่บอกว่า ความถี่นั้นเป็นกี่เท่าของความถี่มูลฐาน

  29. 2nd harmonic 1st harmonic 3rd harmonic

  30. คลื่นนิ่งในท่อปลายเปิดทั้งสองด้านคลื่นนิ่งในท่อปลายเปิดทั้งสองด้าน

  31. คลื่นนิ่งในท่อปลายเปิดด้านเดียวคลื่นนิ่งในท่อปลายเปิดด้านเดียว

  32. การเลี้ยวเบน(Diffraction) • เมื่อคลื่นเคลื่อนที่พบสิ่งกีดขวางที่กั้นคลื่นไว้บางส่วน มีคลื่นส่วนหนึ่งแผ่กระจายจากขอบของแผ่นกั้นไปทางด้านหลังของแผ่นกั้น เรียกว่า การเลี้ยวเบน • ถ้าเพิ่มความยาวคลื่นของคลื่นตกกระทบก็จะเห็นการเลี้ยวเบนมากขึ้น

  33. การเลี้ยวเบนจะเกิดมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความกว้างของช่องเปิดและความยาวคลื่นการเลี้ยวเบนจะเกิดมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความกว้างของช่องเปิดและความยาวคลื่น ถ้าความกว้างของช่องเปิดน้อยกว่าความยาวคลื่นการเลี้ยวเบนจะมาก ถ้าความกว้างของช่องเปิดเท่ากับหรือมากกว่าความยาวคลื่น การเลี้ยวเบนจะลดลงไปตามลำดับ เมื่อคลื่นเคลื่อนที่ปะทะสิ่งกีดขวางที่มีช่องเปิด คลื่นจะเลี้ยวเบนเช่นกัน

  34. ปรากฏการณ์นี้สามารถอธิบายได้โดยใช้ หลักการของฮอยเกนส์ ซึ่งกล่าวว่าแต่ละจุดบนหน้าคลื่นสามารถถือได้ว่าเป็นแหล่งกำเนิดคลื่นใหม่ที่ให้กำเนิดคลื่นวงกลมที่มีเฟสเดียวกัน ซึ่งเคลื่อนที่ออกไปทุกทิศทุกทางด้วยอัตราเร็วเท่ากับอัตราเร็วของคลื่นเดิม สำหรับช่องเปิดที่แคบมาก คลื่นจะแผ่ออกทำให้ช่องเปิดเสมือนเป็นแหล่งกำเนิดคลื่นวงกลม

  35. พิจารณาหน้าคลื่นเส้นตรงและหน้าคลื่นวงกลม ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว v ในเวลา t ต่อมาหน้าคลื่นใหม่จะห่างจากหน้าคลื่นเดิมเป็นระยะทาง vt อธิบายได้ว่า เนื่องจากทุกจุดบนหน้าคลื่นเป็นแหล่งกำเนิดคลื่นใหม่ คลื่นที่ออกจากทุกจุดจึงเป็นครึ่งวงกลม ฉะนั้นในเวลา t คลื่นที่ออกจากทุกจุดบนหน้าคลื่นจะมีหน้าคลื่นเป็นวงหลมเล็กๆรัศมี vt แผ่ออกไป ถ้าลากเส้นสัมผัสจะได้หน้าคลื่นใหม่ที่ขนานกับหน้าคลื่นเดิม หลักการของฮอยเกนส์

  36. ทุกๆจุดบนเส้น AB จะทำหน้าที่เป็นแหล่งกำเนิดคลื่นที่ให้คลื่นวงกลมใหม่มากมายที่เหมือนกัน ดังนั้นจุด P จะมีการแทรกสอดของคลื่นจากแหล่งกำเนิดทุกจุดบน AB O เป็นจุดกึ่งกลาง AB แสดงว่า AO หรือ OB ยาวกว่าครึ่งหนึ่งของความยาวคลื่น ทำให้ผลต่างระหว่าง AP และ OP มีโอกาสต่างกันเท่ากับครึ่งของความยาวคลื่นพอดี ดังนั้นคลื่นจาก A และ O เมื่อเคลื่อนที่ถึงจุด P จะแทรกสอดแบบหักล้าง คลื่นเคลื่อนที่ผ่านช่องเปิดที่มีความกว้าง (d) มากกว่าความยาวคลื่น A O B P

  37. ในทำนองเดียวกัน คลื่นวงกลมจากแหล่งกำเนิดที่ตำแหน่งต่างๆจาก A ถึง O และจาก O ถึง B แต่ละคู่จะแทรกสอดแบบหักล้างที่จุด P ได้เช่นกัน เป็นผลให้จุก P เป็นตำแหน่งที่ผิวน้ำไม่กระเพื่อมหรือเป็นบัพ(node) เนื่องจากจุด P เคลื่อนที่ไปพร้อมกับการเคลื่อนที่ของคลื่นจึงทำให้เกิดแนวบัพขึ้น คลื่นเคลื่อนที่ผ่านช่องเปิดที่มีความกว้าง (d) มากกว่าความยาวคลื่น A O B P

  38. Reference • นำภาพและเนื้อหามาจากหลาย WEB ขออภัยที่ไม่ได้จดไว้ จะพยายามหาแล้วนำมาแสดงภายหลัง ขออภัยด้วยครับ

More Related