1 / 32

การบัญชีระหว่างประเทศ International Accounting

701455 บทที่ 1. การบัญชีระหว่างประเทศ International Accounting. บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบัญชี ระหว่างประเทศ Introduction to International Accounting รศ.ชูศรี เที้ยศิริเพชร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. การบัญชีระหว่างประเทศคืออะไร ?.

Download Presentation

การบัญชีระหว่างประเทศ International Accounting

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. 701455บทที่ 1 การบัญชีระหว่างประเทศInternational Accounting บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบัญชี ระหว่างประเทศ Introduction to International Accounting รศ.ชูศรี เที้ยศิริเพชร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  2. การบัญชีระหว่างประเทศคืออะไร?การบัญชีระหว่างประเทศคืออะไร? การบัญชีในประเทศ(Domestic Accounting) รายงานทางการเงินที่มีข้อมูลเกี่ยวกับการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ การบัญชีระหว่างประเทศ (International Accounting) รายงานทางการเงินที่มีข้อมูลเกี่ยวกับการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน แต่แสดงการปฏิบัติงานของบริษัทข้ามชาติ และกิจกรรมระหว่างประเทศ สำหรับผู้ใช้ข้อมูลที่ไม่ใช่คนในประเทศ การบัญชีแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน เพราะสภาพแวดล้อม จึงต้องศึกษาการบัญชีของประเทศอื่นด้วย ทำไม.......? 2 ชูศรี เที้ยศิริเพชร ชูศรี เที้ยศิริเพชร

  3. ความเชื่อมโยงกิจกรรมทางธุรกิจไปสู่รายงานทางการเงินความเชื่อมโยงกิจกรรมทางธุรกิจไปสู่รายงานทางการเงิน สภาพแวดล้อม ธุรกิจ กิจกรรมทาง ธุรกิจ กลยุทธ์ทาง ธุรกิจ -การลงทุน -การจัดหาเงิน - การดำเนินงาน -ตลาดทุน แรงงาน - การตลาด กฎหมาย • ผู้นำต้นทุน • ความแตกต่าง สภาพแวดล้อม ทางบัญชี ระบบบัญชี กลยุทธ์ทาง บัญชี -วัดค่าและรายงานการเงินกิจกรรมธุรกิจ -เลือกนโยบายบัญชี -เลือกการประมาณค่า -เลือกการเปิดเผย • - มาตรฐานบัญชี • ระบบภาษี • กฎหมายบัญชี รายงานทางการเงิน 3 ชูศรี เที้ยศิริเพชร ชูศรี เที้ยศิริเพชร -ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ

  4. สภาพแวดล้อมทางธุรกิจปัจจุบันสภาพแวดล้อมทางธุรกิจปัจจุบัน • ปัจจุบันธุรกิจถูกกระทบด้วยสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศ เนื่องจากระบบโลกาภิวัตน์ (Globalization-โลกไร้พรมแดน) ก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมทางการตลาดและการผลิตเปลี่ยนไป • โลกาภิวัตน์ทางการตลาด(Globalization of Marketing) เกิดจากความต้องการบริโภคสินค้าบริการของลูกค้าในประเทศ หรือภูมิภาคต่างๆมีลักษณะคล้ายกัน • โลกาภิวัตน์ทางการผลิต (Globalization of Production) เกิดจากปัจจัยการผลิตในต่างประเทศมีคุณภาพสูงกว่าหรือต้นทุนต่ำกว่าปัจจัยผลิตในประเทศ • ก่อให้เกิดการประกอบธุรกิจระหว่างประเทศ(International Business) ชูศรี เที้ยศิริเพชร

  5. เหตุจูงใจการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศเหตุจูงใจการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ • แรงจูงใจเชิงรุก • ความสามารถทำกำไร • การมีเอกลักษณ์ของสินค้า • การมีเทคโนโลยีก้าวหน้า • ความสามารถการบริหาร • รูปแบบการเสียภาษี แต่ละประเทศต่างกัน • แรงจูงใจเชิงรับ • การแข่งขันในประเทศสูง • ความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทาน ชูศรี เที้ยศิริเพชร

  6. รูปแบบการค้าระหว่างประเทศรูปแบบการค้าระหว่างประเทศ รูปแบบการขยายธุรกิจไปต่างประเทศมี 4 ระดับ • การส่งออก(Exporting)เป็นการส่งสินค้าในลูกค้าหรือตัวแทนในต่างประเทศ มีความเสี่ยงต่ำสุด และผลตอบแทนต่ำสุด การจัดการอยู่ในประเทศ ประเทศไทยมีการส่งออกถึง 72% ของ GDP รวม • การให้สิทธิการค้า(Licensing and Franchising)เป็นการทำข้อตกลงให้องค์กรในต่างประเทศใช้สิทธิทำการค้า ภายข้อตกลง เพื่อเสนอสินค้าที่ได้มาตรฐานให้ลูกค้า มีความเสี่ยงสูง • การร่วมทุน(Joint Venture)เป็นการดำเนินงานโดยมีองค์กรอื่นร่วมลงทุน ผู้บริหารมีอำนาจควบคุมแต่ไม่เต็มที่ มีความเสี่ยงต่ำ • การลงทุนทางตรง(Direct Investment)เป็นการตั้งหน่วยงานในประเทศเป้าหมาย ผู้บริหารมีอำนาจเต็มที่ แต่มีความเสี่ยงสูง ผู้บริหารต้องเข้าใจสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศอย่างแท้จริง จึงประสบความสำเร็จ การเลือกรูปแบบขยายธุรกิจแบบใด ขึ้นอยู่กับความรู้สภาพแวดล้อมในประเทศเป้าหมาย ความเสี่ยงที่รับได้ และความสัมพันธ์กับพันธมิตรในต่างประเทศ ชูศรี เที้ยศิริเพชร

  7. การเปลี่ยนแปลงในการค้าระหว่างประเทศการเปลี่ยนแปลงในการค้าระหว่างประเทศ • ธุรกิจการค้าก้าวสู่การค้าระหว่างระหว่างประเทศ เกิดธุรกิจข้ามชาติ(Multinational Enterprise-MNE) • มีการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ(Foreign Direct Investment-FDI) • ตลาดเงิน ตลาดทุน(Money and Capital Market) มีการไหลเวียนและผลกระทบระดับระหว่างประเทศอย่างรวดเร็ว • เกิดข้อตกลงระดับประเทศและภูมิภาค ทั้งระดับทวิภาคี ไตรภาคคี เช่น ประเทศต่างๆเป็นสมาชิกWTO, สมาชิกASEAN และข้อตกลงFTA ระหว่างประเทศและภูมิภาค ชูศรี เที้ยศิริเพชร

  8. การพัฒนาธุรกิจระหว่างประเทศการพัฒนาธุรกิจระหว่างประเทศ • ธุรกิจระหว่างประเทศ เป็นกิจการพาณิชย์ที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศ มีการไหลเวียนของสินค้า เทคโนโลยี และทุน • หน่วยงานที่ทำการค้าระหว่างประเทศ เรียก กิจการข้ามชาติ(MNE) • เริ่มต้นจากความต้องการในสิ่งที่ไม่มีในประเทศ มีการส่งออกจากประเทศกรีก • มีการขยายตัวมากขึ้น เพราะการขนส่งสะดวกขึ้น การเมืองคงที่ และไม่มีการกีดกัน • เกิดธุรกิจบริการ เช่น ธนาคาร และการประกัยภัย • ก่อนสมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม มีการลงทุนไปต่างประเทศในรูป ” อาณานิคม” โดยรัฐบาลเพื่อหา” แหล่งวัตถุดิบ” ชูศรี เที้ยศิริเพชร

  9. การพัฒนาของธุรกิจระหว่างประเทศ(ต่อ)การพัฒนาของธุรกิจระหว่างประเทศ(ต่อ) • สมัยปฏิวัติอุตสาหกรรม • ผลิตสินค้าจำนวนมาก ต้องการเงินทุนจากต่างชาติ • เกิดการนำเข้าวัตถุดิบและส่งออกสินค้าสำเร็จรูป • เกิดบริษัทข้ามชาติ(MNE- Multinational Enterprise) ขนาดใหญ่ • หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 – MNE • เกิดการลงทุนในต่างประเทศ(FDI) เพื่อ “หาแหล่งตลาด” และมีการตั้งบริษัทย่อย • มองธุรกิจระหว่างประเทศทุกด้าน เพื่อ”หาประสิทธิภาพ” จึงมีการศึกษา การตลาด การผลิต การเงินและการบัญชี • ปัจจุบันเป็นการค้าระดับนานาชาติ(International Trade) • การบัญชีจึงเข้าสู่ระดับนานาชาติ (International Accounting)เช่นกัน ชูศรี เที้ยศิริเพชร

  10. การพัฒนาการบัญชีระหว่างประเทศการพัฒนาการบัญชีระหว่างประเทศ • ประวัติโดยย่อของการบัญชีระหว่างประเทศ • ปี 1492 Northern Italy - Creation of double-entry bookkeeping • 1870s British Empire - Organize public accounting profession • 1990s World Wide Web - International financial information • มีการพัฒนาอย่างมากในศตวรรษที่ 19-20 เพราะเศรษฐกิจขยายตัว • มีการประชุมนักบัญชีของประเทศต่างๆ และตั้งสมาคมนักวิชาชีพ เพื่อร่วมมือทางการบัญชีระหว่างประเทศ • 1976 มีการตั้งคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีรหว่างประเทศ(IASC) เพื่อร่วมกันกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศ(International Accounting Standards-IAS) ชูศรี เที้ยศิริเพชร

  11. ความสัมพันธ์ของการบัญชีระหว่างประเทศกับการค้าระหว่างประเทศความสัมพันธ์ของการบัญชีระหว่างประเทศกับการค้าระหว่างประเทศ • การบัญชีเป็นการนำเสนอข้อมูลเชิงเศรษฐกิจ เพื่อการบริหารธุรกิจ • ข้อมูลบัญชีจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงการนำเสนอข้อมูลบัญชีของธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ • รายการซื้อขายให้คู่ค้าต่างประเทศ • การลงทุนในต่างประเทศ/ การลงทุนผ่านตลาดทุน • รายการบริหารความเสี่ยง • รายการโอนระหว่างประเทศ • ภาษีระหว่างประเทศ • ขณะเดียวกันการบัญชีแต่ละประเทศ • ไม่เหมือนกัน? เพราะอะไร.....? • จะวิเคราะห์อย่างไร? • จะสามารถสอดคล้องกันได้หรือไม่? ชูศรี เที้ยศิริเพชร

  12. สาเหตุที่การบัญชีแต่ละประเทศต่างกันสาเหตุที่การบัญชีแต่ละประเทศต่างกัน • การพัฒนาการบัญชีตามการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ-จากต้นกำเนิดที่อิตาลี พัฒนาการโดยสหราชอาณาจักร จนได้รับอิทธิพลจากอเมริกา • สภาพแวดล้อมทางบัญชีแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน- ขึ้นกับผู้ใช้งบ • ความจำเป็นในการรายงานของธุรกิจข้ามชาติ- มีการขยายตัวมาก • การเกิดนวตกรรมทางเงินใหม่ เช่น เครื่องมือทางการเงิน การป้องกันความเสี่ยง • มีการควบรวมกิจการระหว่างประเทศ • ตลาดทุนมีการขยายตัวอย่างมาก ชูศรี เที้ยศิริเพชร

  13. ความสำคัญของการบัญชีระหว่างประเทศความสำคัญของการบัญชีระหว่างประเทศ • การค้า การลงทุน ตลาดทุนและตลาดหุ้น ระหว่างประเทศ มีบทบาทและความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของโลก อีกทั้งมีการผันผวนอย่างรวดเร็ว • ระบบข้อมูลทางการบัญชีจำเป็นต่อการตัดสินใจของนักลงทุน • แต่ละประเทศมีระบบบัญชีที่ต่างกันเนื่องจากสภาพแวดล้อมต่างกัน • เป็นการยากที่จะเปรียบเทียบผลการดำนินงานของกิจการMNE ที่มีวิธีบัญชีต่างกัน • การศึกษาเปรียบเทียบและปฏิบัติด้านการบัญชีระหว่างประเทศจึงมีความจำเป็นและสำคัญมากขึ้น ชูศรี เที้ยศิริเพชร

  14. ความหมายการบัญชีระหว่างประเทศความหมายการบัญชีระหว่างประเทศ • การบัญชีระหว่างประเทศ(International Accounting)มีความหมาย 2 ลักษณะ ดังนี้ • เป็นการเปรียบเทียบการบัญชี (Comparative Accounting) ของแต่ละประเทศ ซึ่งมีความแตกต่างกันใช้ในการพิจารณาใช้ข้อมูลทางบัญชีการเงินในการรายงานฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน รวมทั้งใช้ในการบัญชีบริหารเพื่อใช้ในการตัดสินใจ • เป็นการศึกษาวิธีการทางบัญชีของรายการระหว่างประเทศของธุรกิจข้ามชาติ(Accounting for International Transactions and MNEs) ชูศรี เที้ยศิริเพชร

  15. ระดับของการบัญชีระหว่างประเทศระดับของการบัญชีระหว่างประเทศ • ระดับนานาชาติ ได้แก่ การบัญชีแต่ละประเทศจะได้รับอิทธิพลจากองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ ที่จะกำหนดมาตรฐานและแนวปฏิบัติร่วมกันในกลุ่มประเทศสมาชิก เช่น OECD ,UN เป็นต้น • ระดับบริษัท ได้แก่ แนวปฏิบัติทางบัญชีของแต่ละองค์กรในกิจกรรมระหว่างประเทศ • ระดับกว้าง ได้แก่ การศึกษามาตรฐานและแนวปฏิบัติทางบัญชีของแต่ละประเทศ และเปรียบเทียบกัน ปัจจุบันประเทศทั้งหลายปรับใช้ตาม IAS/IFRS แต่ยังมีความแตกต่างในบางประเด็น ชูศรี เที้ยศิริเพชร

  16. การพัฒนาและการใช้ IAS/IFRS • ปี 2000-2005 ประเทศทั่วโลก ส่วนใหญ่ใช้ IAS.....แต่เป็นการปรับใช้ตามสภาพแวดล้อมของแต่ละประเทศ......อย่างไร? • ปี 2004 IASB ประกาศเปลี่ยนชื่อมาตรฐานทุกฉบับจาก IAS เป็น IFRS (International Financial Reporting Standards) • ตั้งแต่ 1 มกราคม 2005 ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป (EU) กำหนดให้บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศสมาชิกต้องจัดทำงบการเงินตาม IFRS • ในประเทศสหรัฐอเมริกายังมีการใช้ US GAAP และกำหนดให้บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ต้องจัดทำงบการเงินตาม USGAAP • IAS/IFRS ไม่เหมือนกับ USGAAP ......จึงเกิดแนวคิดในการที่ปรับให้เกิดความสอดคล้องกัน(Harmonization/Convergence) • ประเทศไทยมีการปรับมาตรฐานบัญชีตาม IAS ตั้งแต่ปี 2000(2543) แต่ยังมีความแตกต่างกัน เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางการบัญชี • ประเทศไทยประกาศใช้ IFRS เต็มรูปแบบในปี 2554-2556 ชูศรี เที้ยศิริเพชร

  17. IAS หรือ IFRS คืออะไร? IASย่อจาก “International Accounting Standards” หลักเกณฑ์การบันทึกบัญชี การแสดงรายการ และการเปิดเผยหมายเหตุประกอบงบการเงิน ระดับโลก(Global accounting standards)ปัจจุบัน IASจะใช้เป็น IFRSซึ่งย่อมาจาก InternationalFinancial Reporting Standards เพื่อเพิ่มความสามารถในการเปรียบเทียบข้อมูลการเงิน เพิ่มคุณภาพบัญชีในด้านการใช้และการตรวจสอบ กำหนดโดย International Accounting StandardsBoard (IASB)เป็นองค์กรอิสระ คณะกรรมการมาจากสมาชิก 9 ประเทศ มีการประชุมทุกเดือน เป็นหลักเกณฑ์ที่ใช้ในประเทศในกลุ่มทวีปยุโรป และประเทศอื่นทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย IAS/IFRS? ทำไมต้องใช้ IAS? ใครกำหนด ? บังคับใช้ที่ไหน ? 17 ชูศรี เที้ยศิริเพชร ชูศรี เที้ยศิริเพชร

  18. IFRS: International Financial Reporting Standard มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ เดิมเรียกว่า IAS(international Accounting Standards) จัดทำโดย IASB ลักษณะสำคัญของ IFRS เป็นมาตรฐานการบัญชีที่อิงหลักการ(Principle-Based) จากเดิมใช้กฎเกณฑ์ (Rule-Based) เน้นการวัดมูลค่ายุติธรรม(Fair Value)ในการบันมึกรายการบัญชี จากเดิมใช้ราคาทุน เน้นความโปร่งใสในการนำเสนอรายงานทางการเงิน มีการเปิดเผยข้อมูลมากขึ้น และมีการตั้งประมาณการมากขึ้น 18 18 ชูศรี เที้ยศิริเพชร ชูศรี เที้ยศิริเพชร

  19. การปรับใช้ IFRS ประเทศส่วนใหญ่นำ IFRS มาใช้ 2 ระดับ ใช้ IFRS เต็มรูปแบบ (Fully integrate) ทุกฉบับเฉพาะกิจการในตลาดหลักทรัพย์(Listed Co.) หรือกิจการที่มีส่วนเสียต่อสาธารณะ(Publicly Co.) ใช้ IFRS บางส่วน หรือจัดทำ IFRS for SME สำหรับกิจการขนาดกลางและเล็ก(SME) หรือกิจการที่ไม่มีส่วนเสียต่อสาธารณะ(Non Publicly Co.) ซึ่งมักจะเป็นกิจการส่วนใหญ่ของประเทศประมาณร้อยละ 90 แนวโน้มประเทศต่างๆมีการปรับใช้ IFRS มากขึ้น เพื่อข้อมูลสามารถเปรียบเทียบกันได้ เป็นสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน 19 ชูศรี เที้ยศิริเพชร

  20. การบัญชีของประเทศไทย-ปัจจุบันการบัญชีของประเทศไทย-ปัจจุบัน การบัญชีประเทศไทย กำหนดกิจการจัดทำบัญชีเป็น 2 ระดับ • กิจการที่มีส่วนได้เสียต่อสาธารณ Publicly Accountable Enterprise PAE ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี TFRS • หลักทรัพย์จำหน่ายให้มหาชนและบริษัทมหาชนทั้งหมด • อยู่ระหว่างเสนอขายหลักทรัพย์ • ดูแลทรัพย์สินให้มหาชน • กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียต่อสาธารณะ Non-Publicly Accountable Enterprise NPAE ใช้มาตรฐานรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียต่อสาธารณะ (NPAE) ไม่ใช่ IFRS for SME ชูศรี เที้ยศิริเพชร

  21. แผนการนำ IFRS ใช้แต่ละประเทศ 2011 2012 2013 2014 2016 2010 สหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย อินเดีย ไทย มาเลเซีย ญี่ปุ่น นำมาใช้แล้วตั้งแต่ 2005-2007 เกาหลีใต้ ไต้หวัน ออสเตรเลีย อังกฤษ จีน แคนาดา สิงคโปร์ ชูศรี เที้ยศิริเพชร เอกสารสัมมนาสภาวิชาชีพบัญชี ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง สหภาพยุโรป

  22. ประโยชน์ของการปรับใช้ IFRS การเปรียบเทียบกันได้ของงบการเงินระหว่างประเทศ เมื่อมีการลงทุน การซื้อหรือรวมกิจการระหว่างประเทศ และการจัดหาเงินระหว่างประเทศ เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับสากล เป็นที่ยอมรับขององค์ระหว่างประเทศ เช่น IOSCO ,UN เป็นการยกระดับความน่าเชื่อถือของรายงานทางการเงิน พัฒนามาตรฐานการบัญชีให้มีคุณภาพ สร้างความโปร่งใส สามารถเปรียบเทียบได้ และเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันกับสากล (High quality, transparent and comparable information) การวิเคราะห์และการใช้งบการเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้น และลดต้นทุน การฝึกอบรมและการเคลื่อนย้ายบุคคลากรด้านบัญชีสะดวกมากขึ้น 22 ชูศรี เที้ยศิริเพชร

  23. ประเด็นทางบัญชีที่เกี่ยวกับรายการการค้าระหว่างประเทศประเด็นทางบัญชีที่เกี่ยวกับรายการการค้าระหว่างประเทศ • กรณีกิจการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ • การขายสินค้าให้ลูกค้าต่างประเทศ (Sale to foreign customer) บริษัทผู้ขายจะบันทึกลูกหนี้การค้าและค่าขายสินค้า ในมูลค่าเงินสกุลของประเทศผู้ขายตามอัตราแลกเปลี่ยนอัตราปัจจุบัน (Spot Rate)วันขาย • การแปลงค่าเงินตราต่างประเทศ (Currency Translation)บริษัทผู้ขายจะบันทึกรับชำระเงินจากลูกหนี้ อาจเกิดผลกำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา • การบริหารความเสี่ยงโดยการป้องกันความเสี่ยง (Hedging) เพื่อลดความเสี่ยงของการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ชูศรี เที้ยศิริเพชร

  24. ประเด็นทางบัญชีที่เกี่ยวกับรายการการค้าระหว่างประเทศ(ต่อ)ประเด็นทางบัญชีที่เกี่ยวกับรายการการค้าระหว่างประเทศ(ต่อ) • กรณีกิจการที่มีการลงทุนทางตรงระหว่างประเทศ (Foreign Direct Investment :FDI) • การปรับงบการเงิน(Conversion) • การแปลงค่างบการเงิน(Translation) • ภาษีระหว่างประเทศ (International Taxation) • ราคาโอนระหว่างประเทศ (International Transfer Pricing) • การระดมทุนจากตลาดหุ้นต่างประเทศ (Cross-Listing on Foreign Stock Exchange) ชูศรี เที้ยศิริเพชร

  25. การสร้างการบัญชีระหว่างประเทศในองค์กรการสร้างการบัญชีระหว่างประเทศในองค์กร • เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงานที่รับผิดชอบการค้าต่างประเทศ • กำหนดวิธีดำเนินการค้าระหว่างประเทศ ที่มีผลต่อระบบบัญชี • ตั้งบริษัทย่อยในต่างประเทศ ระบบบัญชีต้องคำนึงถึง • เป็นไปตามกฎหมายต่างประเทศ • มีระบบการประเมินและควบคุมบริษัทย่อย • มีการจัดทำงบการเงิน เพื่อประเมินและเสียภาษีอากร • ศึกษาความเสี่ยงการลงทุนทุกด้าน ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ • ศึกษาการระดมทุนโดยการออกหุ้นทุน หุ้นกู้และการกู้ยืม • ศึกษากฎหมายและแนวปฏิบัติทางบัญชีของท้องถิ่น ชูศรี เที้ยศิริเพชร

  26. หัวข้อในวิชาการบัญชีระหว่างประเทศหัวข้อในวิชาการบัญชีระหว่างประเทศ Comparative accounting systems Environmental influences on accounting Financial statement analysis International Financial Reporting Standard (IFRS) Accounting for foreign currency Transfer pricing Harmonization/Convergence Risk Management/ Hedge Accounting MIS and control International taxation International auditing standards Inflation accounting Strategy in Managerial and Performance evaluation Sustainability Reporting 26 ชูศรี เที้ยศิริเพชร ชูศรี เที้ยศิริเพชร

  27. Sustainability Reportingรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน • แนวโน้มการจัดทำรายงานของประเทศต่างๆเป็นการสมัครใจ • เนื่องจากสภาพแวดล้อมของโลกเปลี่ยนไป กิจการมีการทำกิจกรรมเพื่อสังคมมากขึ้น • ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องการอธิบายถึงสภาพแวดล้อมและผลกระทบต่อกิจการและสินค้าของกิจการ รวมทั้งเปิดเผยกิจกรรมที่ทำไปแล้ว • มีการจัดทำรายงาน CSR (Corporate Social Reporting) เน้นเพื่อการพัฒนาสู่ความยั่งยืน Sustainability Reportingเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้เกี่ยวข้อง มีการตรวจสอบด้วย จึงเป็นสิ่งท้าทายใหม่ของวิชาชีพบัญชี ชูศรี เที้ยศิริเพชร

  28. Sustainability Reporting • ประกอบด้วยข้อมูล • ผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ แสดงการกระจายผลตอบแทนแก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ให้พนักงาน ผู้ถือหุ้น สถาบันการเงิน รัฐบาล ชุมชน • ผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม การผลิต การใช้พลังงาน • ผลการดำเนินงานด้านสังคม ข้อมูลพนักงาน • มีความแตกต่างในแต่ละประเทศ • มีแนวทางการจัดทำระดับนานาชาติ GRI (Global Reporting Initiative Guideline) ชูศรี เที้ยศิริเพชร

  29. Sustainability Reporting: GRI Registered Companies Examples of GRI Registered Companies Asia: Air China, AsusTek, Canon, Reliance Industries, Samsung Securities, SingTel Europe: Air France-KLM, BP, Daimler, Nestle, Nokia United States: AT&T, Dell, ExxonMobil, Intel, Johnson & Johnson ชูศรี เที้ยศิริเพชร Garrison, Noreen, Brewer, Cheng & Yuen

  30. ความสำคัญของการเรียนการบัญชีระหว่างประเทศความสำคัญของการเรียนการบัญชีระหว่างประเทศ • วิชาชีพการบัญชีต้องพัฒนาเป็นมาตรฐานระดับโลก • นักศึกษาบัญชีต้องเรียนรู้การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ • สอนทั้งระดับปริญญาตรี โทและเอก • การบรรจุหัวข้อ “International Accounting” • เป็นหัวข้อหนึ่งในวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ(IB) • เป็นหัวข้อพิเศษในวิชาทางบัญชี • เป็นรายวิชาหนึ่งของสาขาบัญชี มักเป็นเอกเลือก • การจัดความสำคัญของหัวข้อต่างๆในวิชาต่างกัน • นักธุรกิจเห็นว่า ภาษีอากรและราคาโอน มีความสำคัญ • นักวิชาการเห็นว่า มาตรฐานการบัญชี มีความสำคัญ • เห็นตรงกันว่าสำคัญคือ รายการอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ชูศรี เที้ยศิริเพชร

  31. ประโยชน์ของการศึกษาการบัญชีระหว่างประเทศประโยชน์ของการศึกษาการบัญชีระหว่างประเทศ • ประโยชน์การเรียนรู้ความแตกต่างของการบัญชี • เรียนรู้จากประสบการณ์ของประเทศอื่น เพื่อเป็นแนวทางแก้ไข • วิเคราะห์แนวปฏิบัติต่างๆ ซึ่งอาจจะเหมาะสมกับบางประเทศ • วิชาการบัญชีเป็น”Technology” ที่สามารถยืมหรือโอนได้ • ธุรกิจระหว่างประเทศจำเป็นต้องสนใจเพื่อนำไปตัดสินใจลงทุน • สิ่งที่ต้องสนใจในการวิเคราะห์งบการเงินของบริษัท MNC • ภาษาและหน่วยเงินตรา • คำศัพท์และความหมาย • วิธีการวัดมูลค่า และการเปิดเผยงบการเงิน ชูศรี เที้ยศิริเพชร

  32. ข้อมูลการศึกษา • International accounting textbooks • International accounting education articles • Also from Section website/Journal • International cases • Also check the Deloitte & Touche cases www.deloitte.com/more/DTF/cases_subj.htm • Examples of class projects • Selected internet links ชูศรี เที้ยศิริเพชร

More Related