1 / 36

คำท้า

5. คำท้า. เดิม เรื่องของ “ คำท้า ” ไม่ปรากฏในตัวบทกฎหมายวิธีพิจารณาความมาก่อน เป็นเรื่องที่มีคำพิพากษาศาลฎีกาและหลักการทางวิชาการกฎหมายลักษณะพยาน

ocean-young
Download Presentation

คำท้า

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. 5 คำท้า

  2. เดิม เรื่องของ “คำท้า” ไม่ปรากฏในตัวบทกฎหมายวิธีพิจารณาความมาก่อน เป็นเรื่องที่มีคำพิพากษาศาลฎีกาและหลักการทางวิชาการกฎหมายลักษณะพยาน ปัจจุบัน นอกจาก ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 23) ที่บัญญัติเรื่อง “ข้อเท็จจริงที่ถือว่าคู่ความรับกันแล้วในศาล” ไว้ในมาตรา 84(3) และยังมีการเพิ่มบทบัญญัติมาตรา 103/2 ขึ้นมา ป.วิ.พ. มาตรา 103/2 บัญญัติว่า “คู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องอาจร้องขอต่อศาลให้ดำเนินการสืบพยานหลักฐานไปตามวิธีการที่คู่ความตกลงกัน ถ้าศาลเห็นสมควรเพื่อให้การสืบพยานหลักฐานเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็ว และเที่ยงธรรม ศาลจะอนุญาตตามคำร้องขอนั้นก็ได้ เว้นแต่การสืบพยานหลักฐานนั้นจะเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน”

  3. ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกา “คำท้า” หมายถึงการที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแถลงว่าจะยอมรับข้อเท็จจริงใดข้อเท็จจริงหนึ่ง ถ้าได้มีการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามคำท้านั้น คำท้าจึงเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงโดยมีเงื่อนไข แต่เงื่อนไขเกี่ยวกับคำท้านั้นต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณา 5.1 ความหมาย

  4. ฎ.43/2545 การที่คู่ความท้ากันให้ถือเอาคำเบิกความของ ส. เป็นข้อแพ้ชนะในคดีถือว่าเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงที่อีกฝ่ายหนึ่งอ้างตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 (1)(เดิม) (ปัจจุบันคือมาตรา 84(3)) โดยมี เงื่อนไขว่าจะต้องมีการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งอย่างใดเสียก่อน ถ้าผลแห่งการดำเนินกระบวนพิจารณานั้นเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายใด อีกฝ่ายหนึ่งต้องรับข้อเท็จจริงตามข้ออ้างของอีกฝ่ายหนึ่งนั้นทั้งหมด (ฎ. 2390-2391/2551 ยืนยันคำอธิบายเรื่องคำท้า) 4

  5. ข้อสังเกต ตาม ฎ.43/2545 ถือว่า “คำท้า” อ้างหลักกฎหมาย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84 (1) แต่มีฎีกา (เช่น ฎ.998/2531) ใช้ “คำท้า” ในความหมายของการดำเนินกระบวนพิจารณาตามที่คู่ความตกลงกันและศาลยอมรับให้ท้าได้ ดังนั้น ไม่ว่าจะอ้างหลักกฎหมายใด ต่างก็มีผลเช่นเดียวกัน คือ ต้องบังคับตามที่คู่ความตกลงกัน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 138

  6. คำท้ามีได้เฉพาะในคดีแพ่ง ≠คดีอาญาไม่มีการท้ากันให้รับข้อเท็จจริง 5.2 องค์ประกอบและข้อพิจารณาเรื่อง “คำท้า” (2) คำท้าจะต้องเป็นเรื่องที่กระทำโดย “คู่ความ” ในศาล (3) คำท้าจะต้องเป็นเรื่องที่ศาลอนุญาตให้ท้ากันได้ (4) คำท้าเป็นคำรับที่มีเงื่อนไขและเงื่อนไขของคำท้า ต้องชอบด้วยกฎหมาย

  7. (5) คำท้าต้องเป็นข้อตกลงให้เป็นผลแพ้ - ชนะคดีกัน (6) ตกลงท้ากันแล้วฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะเลิกไม่ได้ (7) คำท้ามีผลผูกพัน “คู่ความที่ตกลงท้ากัน” เท่านั้น (8) คำท้าที่ไม่บรรลุผลตามเงื่อนไข หรือ คำท้าที่ไม่ชอบ ถือว่า “ไม่มีคำท้า” นั้น

  8. คำท้าเป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84(3) แต่คดีอาญาโจทก์ต้องพิสูจน์ความผิดของจำเลยให้ครบองค์ประกอบความผิดด้วยพยานหลักฐาน เว้นแต่ จำเลยให้การรับสารภาพ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 และมาตรา 227 (ดู ฎ.1570/2511) ฎ.1292/2532 คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญาคำท้าใช้ได้ในการวินิจฉัยคดีส่วนแพ่ง (1) คำท้ามีเฉพาะในคดีแพ่ง คดีอาญามีไม่ได้

  9. “คู่ความ” ในคดีเท่านั้นที่จะตกลงในเรื่องคำท้าได้ เช่นเดียวกับกรณีของคำรับ เพราะคำท้าก็คือคำรับที่มีเงื่อนไข การตกลงเรื่องคำท้า ปกติจะเกิดขึ้นก่อนสืบพยานและต้องเป็นกระบวนพิจารณา “ในศาล” ≠ ถ้าเป็นเรื่องที่มีการท้ากันนอกศาล อาจเป็นได้เพียงพยานหลักฐานเท่านั้น คำท้านอกศาล อาจนำเสนอเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ถ้าเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่คู่ความจะต้องนำสืบ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 87 (2) คำท้าจะต้องเป็นเรื่องที่กระทำโดย“คู่ความ” และ “ในศาล”

  10. การท้ากันของคู่ความจะต้องอยู่ภายใต้การตรวจสอบของศาล เพราะเงื่อนไขของคำท้าต้องเป็นเงื่อนไขที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งจะกล่าวในหัวข้อต่อไป เมื่อมีการท้ากันโดยคู่ความ ในทางปฏิบัติศาลจะบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาให้ชัดเจน (3) คำท้าจะต้องเป็นเรื่องที่ศาลอนุญาตให้ท้ากันได้

  11. (1) เงื่อนไขของคำท้าต้อง...  ไม่เป็นที่พ้นวิสัย  ไม่ขัดต่อกฎหมาย  ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน (2) เงื่อนไขของคำท้าต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล (4) เงื่อนไขคำท้าต้องชอบด้วยกฎหมาย

  12. การสาบานเป็นกระบวนพิจารณาในศาล ดังนั้นจึงท้ากันเรื่องการสาบานได้ ฎ.508/2520 ท้ากันให้จำเลยและพยานจำเลยดื่มน้ำสาบานต่อหน้าพระพุทธรูป ฎ.1333/2530 ท้ากันให้เอาคำสาบานของ ส.เป็นข้อแพ้ชนะ แม้ ส.ไม่ได้รู้เห็นยินยอมในการสาบานนั้นก็ท้ากันได้ (ฎ.1186/2533 วินิจฉัยทำนองเดียวกัน)

  13. (1) ท้ากันให้ฟังผลการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญ (ฎ.540/2513,ฎ.2181/2523,ฎ.1100/2531) (2) ท้ากันให้เอาคำเบิกความของพยานคนหนึ่งคนใดเป็นข้อแพ้ชนะในคดี (ฎ.1370/2510, ฎ.957/2522, ฎ.444/2539, ฎ.43/2545) 5.3 ตัวอย่างของเรื่องที่ท้ากันได้

  14. (3) ท้ากันให้วินิจฉัยเพียงประเด็นหนึ่งประเด็นใด ฎ.1629/2525 ท้ากันขอให้ศาลวินิจฉัยในประเด็นเดียวว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวพิพาทหรือไม่ ฎ.3645/2526 ท้ากันให้ศาลวินิจฉัยประเด็นเดียวว่า ตามกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ ฎ.1287/2530 ท้ากันขอให้ศาลไปเผชิญสืบว่าทรัพย์พิพาทอยู่ในสภาพที่โจทก์จะรับคืนไปได้หรือไม่

  15. (4) ท้ากันให้เจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดที่ดินแล้วถือผลเป็นยุติ (ฎ.3145/2532, ฎ.952/2537, ฎ.1580/2537, ฎ.1124/2540 และ ฯลฯ) (5) ที่ท้ากันแปลกๆ แล้วศาลยอมรับก็มี เช่น ฎ.5244/2531 ท้ากันให้ผู้พิพากษาทั้งศาลรวม6 นายเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริง

  16. ปัญหานี้มักจะเกิดขึ้นจากการตกลงเรื่องคำท้าไม่ชัดเจน โดยเฉพาะเรื่องการตกลงในเรื่องการนำสืบพยานหลักฐานไม่ว่าจะเป็นพยานบุคคล พยานเอกสาร หรือพยานวัตถุถ้าไม่ได้ตกลงให้ฟังพยานหลักฐานดังกล่าวเป็นยุติย่อมไม่ใช่คำท้า 5.4 คำท้าต้องเป็นข้อตกลงให้เป็นผลแพ้ชนะคดีต่อกัน

  17. ฎ.633/2492 คู่ความตกลงให้สืบพยานร่วมคนเดียว เมื่อคำเบิกความของพยานฟังเป็นแน่นอนไม่ได้ ก็ต้องพิจารณาพยานหลักฐานที่นำสืบมาตามประเด็นแห่งคดี ฎ.803/2494 คู่ความตกลงขอให้ศาลไปตรวจดูสภาพที่พิพาทแล้ววินิจฉัยชี้ขาดโดยไม่สืบมิใช่เป็นคำท้าของคู่ความ

  18. ฎ.7636/2543 ตอนแรกมีการเสนอท้ากันให้ถือเอาผลคดีอาญาของศาลชั้นต้นเป็นผลแพ้ชนะกัน แต่ในนัดต่อมาคู่ความแถลงร่วมกันใหม่ว่าขอถือเอาข้อเท็จจริงที่ปรากฏในผลแห่งคดีอาญาของศาลชั้นต้น มาเป็นข้อเท็จจริงในคดีนี้ ดังนี้ไม่ใช่คำท้าเพราะไม่ได้ถือเอาผลคดีอาญาดังกล่าวมาเป็นข้อแพ้ชนะ หมายเหตุ ให้เปรียบเทียบกับ ฎ.957/2522 โจทก์จำเลยตกลงท้ากันขอให้สืบ ส.เป็นพยาน หาก ส. เบิกความเจือสมฝ่ายใดให้ฝ่ายนั้นชนะคดีดังนี้เป็นคำท้า

  19. ฎ.75/2540 คู่ความตกลงท้ากันให้สืบพยานบุคคลคนหนึ่งต่อหน้าศาล จำเลยไม่มีสิทธิถอนคำท้าเพียงเพราะเกรงว่าพยานจะเบิกความเข้าข้างอีกฝ่ายหนึ่ง  ศาลก็สั่งเลิกคำท้าไม่ได้ (ดู ฎ.1325/2535) คำท้าของทนายความที่ตกลงไว้ย่อมผูกพันตัวความ แม้ทนายความจะถอนตัวก็ผูกพันตัวความที่ต้องปฏิบัติตามคำท้า (ฎ.3003/2532) 5.5 ตกลงท้ากันแล้วฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะเลิกไม่ได้

  20. ฎ.1713-1714/2523โจทก์และจำเลยที่ 1 ท้าพิสูจน์ลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายแพ้ตามคำท้า ข้อตกลงท้ากันคงมีผลบังคับเฉพาะในระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น หามีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้ตกลงตามคำท้าด้วยไม่ เพราะกระบวนพิจารณาที่จำเลยที่ 1 กระทำไปนั้นเป็นที่เสื่อมเสียแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นคู่ความร่วม 5.6 คำท้ามีผลผูกพันคู่ความที่ตกลงท้ากันเท่านั้น

  21. ฎ.704/2498 ท้ากันว่าที่พิพาทอยู่ในโฉนดฝ่ายใด ปรากฏว่าโฉนดเก่าตรวจสอบไม่ได้ศาลต้องสืบพยานหลักฐานต่อไป ฎ.415/2507 ท้ากันตรวจพิสูจน์ลายพิมพ์นิ้วมือ ปรากฏว่าเลอะเลือนตรวจพิสูจน์ไม่ได้ ต้องพิจารณาคดีต่อ 5.7 คำท้าที่ไม่บรรลุผลตามเงื่อนไขถือว่าไม่มีคำท้านั้น

  22. ฎ.2939/2529 ท้ากันให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อผู้เชี่ยวชาญไม่อาจลงความเห็นยืนยันได้จึงชอบที่จะสืบพยานหลักฐานต่อไป ฎ.4926/2540 ท้ากันให้ฟังคำเบิกความของ ส. เป็นยุติว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย แต่คำเบิกความของ ส. มิได้เบิกความว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย ศาลไม่อาจวินิจฉัยชี้ขาดให้เป็นไปตามคำท้าได้

  23. ฎ.998/2531เมื่อเงื่อนไขตามคำท้าสำเร็จครบถ้วนตามข้อตกลงแล้ว ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ต้องพิพากษาให้เป็นไปตามข้อตกลงนั้น การที่ศาลชั้นต้นยังไกล่เกลี่ยคู่ความและดำเนินการสืบพยานโจทก์ไปอีกเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลสูงมีอำนาจเพิกถอนกระบวนพิจารณานั้นได้และพิพากษาให้เป็นไปตามที่ตกลงท้ากัน 5.8 ถ้าคำท้าบรรลุผลศาลต้องวินิจฉัยตามคำท้า ฎ.5244/2531 ท้ากันโดยมอบให้ผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว จะอุทธรณ์ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพยานหลักฐานแล้ววินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงใหม่ไม่ได้

  24. ถึงแม้คำท้าจะเป็นการตกลงให้ผลคดีเป็นยุติ แต่ทางปฏิบัติมักมีการไม่ยอมรับที่จะปฏิบัติตามคำท้า โดยอ้างเหตุผลที่สำคัญ คือ คำท้านั้นยังไม่บรรลุผล คำท้าบรรลุผลแล้วหรือไม่ จึงควรศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกา ข้อสังเกต คำท้าที่ท้ากันให้ถือเอาผลของคำพิพากษาในคดีอื่นเป็นข้อแพ้ชนะ โดยไม่ได้ระบุว่าของศาลใด  ต้องหมายถึงผลคำพิพากษาอันถึงที่สุด 5.9 ปัญหาการตีความเรื่องคำท้าบรรลุผลหรือไม่

  25. คู่ความตกลงกันให้เจ้าพนักงานไปรังวัดที่ดินเพื่อชี้ขาดว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตของโจทก์หรือจำเลย คู่ความตกลงกันให้เจ้าพนักงานไปรังวัดที่ดินเพื่อชี้ขาดว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตของโจทก์หรือจำเลย ตัวอย่างฎีกาเรื่องท้ากันให้ไปรังวัดที่ดิน

  26. ฎ.3145/2532 เจ้าพนักงานที่ดินมิได้รังวัดสอบเขตตามคำท้า แต่กลับรังวัดไปตามเขตที่ครอบครองซึ่งโจทก์จำเลยนำชี้ ถือว่าคำท้าไม่เป็นผล ฎ.2890/2531 เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดโดยไม่ได้ทำตามหลักวิชา ถือไม่ได้ว่าเป็นไปตามคำท้า ฎ.952/2537 ในการรังวัดโจทก์จำเลยตรวจดูแผนที่พิพาทแล้วลงลายมือชื่อไว้โดยไม่ได้โต้แย้ง ถือว่าเงื่อนไขตามคำท้าครบถ้วนแล้ว

  27. ฎ.1124/2540 เจ้าพนักงานที่ดินยังไม่สามารถรังวัดปูโฉนดได้ เพราะที่ดินตามโฉนดเดิมไม่มีระวางโยงยึดและหมุดหลักที่แน่นอน ศาลยังชี้ขาดตามคำท้าไม่ได้ แต่ ฎ.1580/2537 ไม่อาจรังวัดได้เพราะจำเลยขัดขวาง เช่นนี้ถือว่าเป็นกรณีที่ยังสามารถปฏิบัติตามคำท้าได้ ศาลสั่งให้ทำการรังวัดใหม่และห้ามจำเลยขัดขวางได้

  28. ฎ.5992/2545 โจทก์และจำเลยตกลงท้ากันให้ถือเอาผลการรังวัดสอบเขตที่ดินพิพาทตามหลักวิชาการเป็นข้อชี้ขาดปัญหา เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินได้ดำเนินการรังวัดทำแผนที่พิพาทโดยถูกต้องด้วยการส่องกล้องและให้ความเห็นว่า “อาคารพิพาทของจำเลยทั้งสองน่าจะอยู่ในที่ดินของโจทก์” ถือได้ว่าผลของการรังวัดสอบเขตสมความประสงค์ของคู่ความและตรงตามคำท้าของโจทก์และจำเลยที่ตกลงกันแล้วตามมาตรา ป.วิ.พ. มาตรา 138 การที่เจ้าพนักงานที่ดินให้ความเห็นว่า “น่าจะ” นั้น เป็นเพราะความเห็นที่ให้นั้นเกิดจากข้อเท็จจริงที่พบเห็นจากพยานหลักฐานในขณะกำลังทำการรังวัด หาใช่เป็นการไม่ยืนยันมั่นคงแต่อย่างใดไม่จำเลยจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีตามคำท้า 28

  29. ฎ.736/2507 ท้ากันให้ถือเอาผลของคำพิพากษาคดีอาญาว่า โจทก์ถูกกระสุนปืนจากจำเลยหรือไม่ เมื่อคดีอาญาศาลฟังว่าโจทก์ถูกกระสุนปืนที่จำเลยยิงแม้จะฟังว่าจำเลยกระทำไปเป็นการป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ ไม่มีความผิด แต่คำท้าก็เป็นผลแล้ว ตัวอย่างฎีกาที่ตีความเรื่องคำท้า

  30. ฎ.1735/2513 ตกลงให้ที่ดินอำเภอ หรือ ปลัดอำเภอไปตรวจดูที่พิพาท แต่ปรากฏว่าเสมียนพนักงานที่ดินอำเภอไปจึงไม่ตรงตามคำท้า ฎ.2290/2530 ท้ากันว่าคนขับรถของจำเลยที่ 2 มีใบอนุญาตขับขี่หรือไม่ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าคนขับรถจำเลยที่ 2 มีใบอนุญาตตามคำท้า แต่ใบอนุญาตขาดต่ออายุ ต้องถือว่ามีใบอนุญาตตามคำท้าแล้ว

  31. ฎ.5156/2543 ท้ากันให้โยธาธิการจังหวัดชี้ขาดว่าตึกของโจทก์หรือของจำเลยที่เอนมาจนเป็นเหตุให้เกิดละเมิด โยธาธิการตรวจสอบแล้วตอบว่าน่าจะเกิดเองตามธรรมชาติเพราะมีอายุการใช้งานนาน ดังนี้ ไม่เป็นการชี้ประเด็นตามคำท้า ฎ.8471/2544 ท้ากันให้ฟังเสียงข้างมากของผลการตรวจทางแพทย์ของโรงพยาบาล 3 แห่ง ว่าโจทก์เป็นบุตรผู้ตายหรือไม่ ถึงแม้ว่าโรงพยาบาลแห่งหนึ่งจะต้องทำการตรวจถึง 3 ครั้ง จึงให้ความเห็นมาก็ไม่ผิดเงื่อนไขคำท้า

  32. ฎ. 12183/2547 โจทก์จำเลยท้ากันว่า ให้ศาลส่งลายมือชื่อของจำเลยในสัญญากู้กับตัวอย่างลายมือชื่อของจำเลยไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ ถ้าผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่าลายมือชื่อในสัญญากู้เป็นลายมือชื่อของจำเลยจริง จำเลยยอมแพ้คดี ถ้าไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลย โจทก์ยอมแพ้คดี ศาลส่งเอกสารดังกล่าวไปให้ผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจพิสูจน์แล้ว ผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่า น่าจะเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกัน ดังนี้ ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นการยืนยันหรือทำนองยืนยันว่าเป็นลายมือชื่อของจำเลยตรงตามคำท้าของโจทก์จำเลยแล้ว จำเลยจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี 32

  33. ฎ.12183/2547 โจทก์จำเลยท้ากันว่า ให้ศาลส่งลายมือชื่อของจำเลยในสัญญากู้กับตัวอย่างลายมือชื่อของจำเลยไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ ถ้าผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่าลายมือชื่อในสัญญากู้เป็นลายมือชื่อของจำเลยจริง จำเลยยอมแพ้คดี ถ้าไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลย โจทก์ยอมแพ้คดี ศาลส่งเอกสารดังกล่าวไปให้ผู้เชี่ยวชาญทำการตรวจพิสูจน์แล้ว ผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่า น่าจะเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกัน ดังนี้ ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเป็นการยืนยันหรือทำนองยืนยันว่าเป็นลายมือชื่อของจำเลยตรงตามคำท้าของโจทก์จำเลยแล้ว จำเลยจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี 33

  34. ฎ.4858/2537 คู่ความตกลงท้ากันว่า หากมีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญาซึ่งจำเลยถูกฟ้องเป็นจำเลยว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้อง จำเลยยอมแพ้ หากคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยไม่มีความผิดตามฟ้อง โจทก์ยอมแพ้ คู่ความแถลงไม่ติดใจสืบพยาน ปรากฏว่าในคดีอาญามีคำพิพากษาถึงที่สุด โดยศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องเพราะฟ้องโจทก์ขาดอายุความ โดยมิได้พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้องหรือไม่ดังคำท้า ฎีกาน่าวิเคราะห์

  35. (ต่อ) ศาลไม่อาจวินิจฉัยชี้ขาดให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดชนะหรือแพ้คดีตามคำท้าได้ ต้องรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยต่อไป แม้ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจดบันทึกคำท้าไว้ว่าคู่ความไม่ติดใจสืบพยาน ก็มีความหมายเพียงว่าหากคำพิพากษาคดีอาญาถึงที่สุดอย่างหนึ่งอย่างใดตามคำท้าแล้วคู่ความจะไม่ติดใจสืบพยาน

  36. “คำท้า” เป็นกระบวนพิจารณาในการรับข้อเท็จจริงตามที่คู่ความตกลงกัน และเมื่อมีการเพิ่มเติมบทบัญญัติมาตรา 84 (3) และมาตรา 103/2 ขึ้นมาใหม่ จึงทำให้การดำเนินกระบวนพิจารณาโดยคู่ความตกลงกันและได้รับอนุญาตจากศาลมีความกว้างขวางและหลากหลายมากขึ้น แต่หลักในเรื่องการทำให้ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติโดยผลของคำท้านั้น ยังคงมีอยู่ตามแนว ฎ.43/2545 ส่วนการดำเนินการพิจารณาอื่นๆ ที่คู่ความตกลงกันก็ย่อมทำได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 103/2 โดยไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นเฉพาะเรื่องคำท้าเท่านั้น 5.10 บทสรุปเรื่องคำท้า 36

More Related