1 / 53

อ.พญ.ศิริจิต สุทธจิตต์

Psychosocial and Cognitive theory. อ.พญ.ศิริจิต สุทธจิตต์. ตารางเปรียบเทียบระยะพัฒนาการในทฤษฏีต่างๆ. Psychosocial development. Erikson. Psychosocial development theory (Erik Erikson). เน้นการพัฒนาทางด้านสังคมและความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ควบคู่ไปกับการพัฒนาทางเพศ ( psychosexual development)

obedience
Download Presentation

อ.พญ.ศิริจิต สุทธจิตต์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Psychosocial and Cognitive theory อ.พญ.ศิริจิต สุทธจิตต์

  2. ตารางเปรียบเทียบระยะพัฒนาการในทฤษฏีต่างๆตารางเปรียบเทียบระยะพัฒนาการในทฤษฏีต่างๆ

  3. Psychosocial development Erikson

  4. Psychosocial development theory (Erik Erikson) • เน้นการพัฒนาทางด้านสังคมและความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ควบคู่ไปกับการพัฒนาทางเพศ (psychosexual development) • จิตใจมีการพัฒนาต่อเนื่องตลอดชีวิตและไม่ได้ขึ้นกับการเลี้ยงดูในวัยเด็กเท่านั้น • 8 ระยะ

  5. Psychosocial development theory (Erik Erikson)(Cont.) • 8 ระยะ • Basic trust vs. Basic mistrust (0-1 ปี) • Autonomy vs. Shame and doubt (1-3 ปี) • Initiative vs. Guilt (3-5 ปี) • Industry vs. Inferiority (5-13 ปี) • Identity vs. Role confusion (13-21 ปี) • Intimacy vs. Isolation (21-40 ปี) • Generativity vs. Stagnation (40-60 ปี) • Integrity vs. Despair (60 ขึ้นไป)

  6. 0-1 ปี

  7. Basic trust vs. Basic mistrust (0-1 ปี) • เด็กเรียนรู้ที่จะเชื่อใจ (basic trust) โดยผ่านประสบการณ์กับมารดาหรือผู้เลี้ยงดู ตอบสนองดี เชื่อใจมารดา เชื่อใจคนอื่น

  8. Basic trust vs. Basic mistrust (0-1 ปี)(Cont.) ตอบสนองไม่ดี ขาดความมั่นใจในมารดา ไม่เชื่อใจคนอื่น โรคจิตเภทหวาดระแวง ติดสารเสพติด

  9. 1-3 ปี

  10. Autonomy vs. Shame and doubt (1-3 ปี) • เป็นระยะที่เด็กควบคุมกล้ามเนื้อส่วนต่างๆได้ดีขึ้น ต้องการที่จะทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง มีความคิดเป็นของตนเอง • “terrible twos” ตอบสนองดี เป็นตัวของตัวเอง ไม่ควบคุมมากเกิน ปล่อยให้เด็กได้แสดงออก ไม่ห่างเหิน ชื่นชมแสดงความยอมรับเด็ก

  11. Autonomy vs. Shame and doubt (1-3 ปี)(Cont.) ตอบสนองไม่ดี ไม่มั่นใจ สงสัยในตนเอง ไม่ยืดหยุ่น ตระหนี่ ย้ำคิดย้ำทำ เข้มงวดมากเกิน

  12. 3-5 ปี

  13. Initiative vs. Guilt (3-5 ปี) • เด็กวัยนี้มีความอยากรู้อยากเห็น ชอบการแข่งขัน มีการแข่งขันกับพ่อแม่เพศเดียวกันเพื่อเป็นที่รักของพ่อแม่เพศตรงข้าม หากเด็กสามารถผ่านพ้นระยะนี้ไปได้ จะมีการเลียนแบบพ่อแม่เพศเดียวกัน รับเอาคุณธรรมมโนธรรมของพ่อแม่เข้ามาไว้ในตน หากเด็กไม่สามารถผ่านระยะนี้ จะทำให้เด็กรู้สึกว่าตนเองล้มเหลวในการแข่งขัน และนำไปสู่ความรู้สึกผิดและวิตกกังวล ความวิตกกังวลที่ถูกเก็บกดไว้อาจแสดงออกมาในรูปของอาการทางกายต่างๆ เช่น อาการปวดท้องที่ไม่พบสาเหตุ เป็นต้น ดี ไม่ดี

  14. 5-13 ปี

  15. Industry vs. Inferiority (5-13 ปี) • ในระยะนี้ เด็กจะมีความสุขกับการได้เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ได้ผลิตสิ่งต่างๆออกมา เด็กอาจมีการเลียนแบบบุคคลที่อยู่รอบตัว เช่น ครู และมีการจินตนาการว่าตนเองเป็นอาชีพต่างๆ

  16. Industry vs. Inferiority (5-13 ปี)(Cont.) • เด็กที่เตรียมตัวไม่พร้อมสำหรับระยะนี้ ไม่ว่าจะเกิดจากการล้มเหลวของการพัฒนาระยะก่อนๆ หรือโดยอุปสรรคอื่นๆในระยะนี้เอง ทำให้เด็กไม่สามารถไปถึงจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ จะทำให้เกิดความรู้สึกว่าตนต่ำต้อย ไร้คุณค่า มีปมด้อย • ในระยะนี้สังคมไม่ว่าจะเป็นเพื่อนๆ ครู หรือต้นแบบอื่นๆมีความสำคัญมากที่จะทำให้เด็กเอาชนะความรู้สึกต่ำต้อยนี้ได้ • ในระยะยาว ความรู้สึกต่ำต้อยนี้อาจทำให้เกิดการต่อต้านการทำงานอย่างมาก หรืออาจเป็นคนหมกมุ่นในการทำงานเนื่องจากต้องการจะพิสูจน์ตนเอง จนทำให้สูญเสียความสัมพันธ์อื่นๆในชีวิตไป

  17. 13-21 ปี

  18. Identity vs. Role confusion (13-21 ปี) • ช่วงเข้าวัยรุ่นเป็นช่วงที่หมกมุ่นอยู่กับคำถามเกี่ยวกับความเป็นตนเอง(identity)เนื่องจากเป็นช่วงที่อยู่ตรงกลางระหว่างความเป็นเด็กที่เต็มไปด้วยจินตนาการ กับการเป็นผู้ใหญ่

  19. Identity vs. Role confusion (13-21 ปี)(Cont.) การล้มเหลวในระยะนี้จะนำไปสู่การสับสนในบทบาท (role confusion)โดยจะไม่สามารถเป็นตัวของตัวเอง สับสนเกี่ยวกับบทบาทของตนในสังคม และอาจแสดงออกมาเป็นปัญหาทางพฤติกรรม เช่น หนีออกจากบ้าน ก่ออาชญากรรม • เด็กวัยรุ่นอาจพยายามต่อสู้กับความสับสนในตนเองโดยการเข้าร่วมกลุ่มหรือเลียนแบบดารานักร้อง นอกจากนี้ การสับสนทางเพศก็อาจแสดงออกในช่วงนี้ได้ ไม่ดี

  20. 21-40 ปี

  21. Intimacy vs. Isolation (21-40 ปี) ดี บุคคลจะสามารถที่จะสร้างสัมพันธ์กับเพศตรงกันข้าม (หรือเพศเดียวกัน หากเป็น homosexual) ได้

  22. Intimacy vs. Isolation (21-40 ปี)(Cont.) หากบุคคลกลัวที่จะสูญเสียความเป็นตัวของตัวเองไป ไม่กล้าที่จะสร้างความสัมพันธ์กับใคร จะแยกตัว หมกมุ่นอยู่กับตนเอง ไม่สามารถที่จะรักใครได้ ไม่ดี

  23. 40-60 ปี

  24. Generativity vs. Stagnation (40-60 ปี) • เป็นระยะที่สร้างสรรค์สิ่งต่างๆสำหรับคนรุ่นถัดไป ไม่ใช่เฉพาะเพียงสำหรับลูกหลานของตนเท่านั้น แต่กับสังคมโดยรวมด้วย • ถ้าหากบุคคลนั้นมีความมั่นคงทางความสัมพันธ์ดีแล้ว (นั่นคือผ่านระยะก่อนหน้านี้ได้อย่างเหมาะสม) บุคคลนั้นก็จะสามารถนำพลังงานที่มีอยู่ไปใช้ในการทำสิ่งต่างๆให้กับกลุ่ม องค์กร และสังคมต่อไป

  25. 60 ปี

  26. Integrity vs. Despair (60 ขึ้นไป) ดี Integrity :การยอมรับชีวิตที่ผ่านมาตลอดชีวิต รวมถึงบุคคลที่มีความสำคัญต่อชีวิตว่าเป็นสิ่งที่ต้องเป็นมาอย่างนี้ และไม่สามารถย้อนกลับไปเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าบุคคลล้มเหลวไม่สามารถมี integrity จะกลายเป็นคนที่รังเกียจโลกภายนอก และดูถูกบุคคลอื่น การดูถูกนี้เป็นความพยายามที่จะปิดบังความกลัวตายและความรู้สึกหมดหวังว่าเวลาที่ผ่านไปช่างแสนสั้น และสั้นเกินกว่าที่จะพยายามเริ่มต้นชีวิตใหม่อีกครั้ง และลองเส้นทางชีวิตอื่นๆที่แตกต่างไป ไม่ดี

  27. Integrity vs. Despair (60 ขึ้นไป) (Cont.) • Trust vs Integrity • “ “Healthy children will not fear life if their elders have integrity enough not to fear death”

  28. Cognitive development Piaget

  29. Cognitive development • พัฒนาโดย Jean Piaget • ให้ความสำคัญกับพัฒนาการของรูปแบบการคิดควบคู่ไปกับพัฒนาการทางเพศ (Psychosexual development) • ประกอบด้วย 4 ระยะ ดังนี้ • Sensorimotor stage (0-2 ปี) • Preoperational stage (2-7 ปี) • Concrete operational stage (7-11 ปี) • Formal operational stage (11 ปีขึ้นไป)

  30. 0-2 ปี

  31. Sensorimotor stage (0-2 ปี) • เด็กเรียนรู้ผ่านการสังเกต และเมื่อเริ่มควบคุมกล้ามเนื้อได้ ก็เริ่มสำรวจสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆตัว • ในช่วง 12-18 เดือน เด็กจะเริ่มมี Object permanenceโดยรู้ว่าวัตถุนั้นยังคงอยู่แม้จะมองไม่เห็น การพัฒนา Object permanence จะเกิดขึ้นได้เมื่อเด็กสามารถคงภาพของวัตถุนั้นไว้ในจิตใจได้

  32. Sensorimotor stage (0-2 ปี)(Cont.) • ในช่วงปีที่สอง เด็กจะสามารถใช้คำที่มีความหมายเรียกแทนของจริง (Symbolization) เช่น เมื่อพูดถึงแมว เด็กก็สามารถสร้างภาพของแมวไว้ในใจ

  33. 2-7 ปี

  34. Preoperational stage (2-7 ปี) • ความคิดของเด็กยังคงยึดตนเองเป็นหลัก (Egocentric) ไม่สามารถมองเหตุการณ์ตามมุมมองความคิดของผู้อื่น เข้าใจอะไรแต่แง่มุมเดียว • เด็กรู้จักเล่นสมมติ เช่น นำตุ๊กตามาสมมติว่าเป็นคน อาบน้ำ แต่งตัวให้

  35. Preoperational stage (2-7 ปี)(Cont.) • มีความเชื่อว่าสัตว์ สิ่งของ ล้วนมีชีวิตจิตใจ มีความคิดความรู้สึกเหมือนเขา (Animistic thinking) เช่น เตะเก้าอี้ก็เชื่อว่าเก้าอี้รู้สึกเจ็บ หรือเชื่อว่ากระต่ายที่เลี้ยงไว้พูดคุยรู้เรื่องเหมือนคน • เด็กวัยนี้ยังไม่สามารถเห็นความเหมือนหรือความแตกต่างของสิ่งต่างๆ ทำให้ไม่สามารถแบ่งสิ่งต่างๆเป็นหมวดหมู่ได้

  36. 7-11 ปี

  37. Concrete operational stage (7-11 ปี) • เด็กสามารถเข้าใจความหมายและเหตุผลในเรื่องต่างๆได้มากขึ้น สามารถมองสิ่งต่างๆด้วยมุมมองของคนอื่นได้ ไม่ยึดตนเองเป็นหลักอีกต่อไป • Conservationคือเข้าใจว่าวัตถุนั้นยังเป็นอันเดิมแม้จะเปลี่ยนรูปร่างไป เช่น ดินน้ำมันเป็นรูปทรงกลม แม้ปั้นเป็นแท่งก็ยังเป็นดินน้ำมันอันเดิม หรือ น้ำในแก้วทรงสูง เมื่อเทใส่ชามก็ยังมีปริมาตรคงเดิม เป็นต้น

  38. How old is he?

  39. Concrete operational stage (7-11 ปี)(Cont.) • Reversibilityคือเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆว่าสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นอีกอย่างและเปลี่ยนกลับมาได้ เช่น น้ำกับน้ำแข็ง เป็นต้น

  40. Concrete operational stage (7-11 ปี)(Cont.) • Seriationสามารถเรียงลำดับได้เช่น ถ้า นส. A อ้วนกว่า นส. B และ นส. B อ้วนกว่า นส. C เด็กจะสามารถเข้าใจได้ว่า นส. A อ้วนกว่า นส.C • เด็กวัยนี้สามารถจัดหมวดหมู่ของสิ่งของได้ เนื่องจากบอกความเหมือนความต่างของสิ่งของแต่ละอย่างได้ C A B

  41. Formal operational stage (11 ปีขึ้นไป) • เป็นช่วงที่เริ่มเข้าสู่วัยรุ่น เด็กจะมีหลักการและมีความคิดแบบเป็นนามธรรมมากขึ้น สามารถคิดเป็นเหตุเป็นผลแบบ hypotheticodeductive thinkingซึ่งเป็นระบบการคิดที่อยู่ในขั้นสูงสุด ทำให้บุคคลสามารถตั้งสมมติฐานและทดสอบสมมติฐานได้ ประกอบไปด้วย • Deductive reasoning: นำความรู้ทั่วไปไปปรับใช้แบบจำเพาะ เช่น แมวทุกตัวชอบจับหนู เจ้าเหมียวเป็นแมว เพราะฉะนั้น เจ้าเหมียวชอบจับหนู • Inductive reasoning: นำความรู้จำเพาะไปปรับใช้แบบทั่วไป เป็นกระบวนการคิดที่ซับซ้อนกว่าแบบแรก เช่น เจ้าเหมียวชอบจับหนู แมวตัวไหนๆน่าจะเหมือนกัน เพราะฉะนั้น แมวทุกตัวน่าจะชอบจับหนู (เป็นสมมติฐานซึ่งต้องพิสูจน์ต่อไป)

  42. while deduction begins with the general and ends with the specific while arguments based on laws, rules, or other widely accepted principles are best expressed deductively Deduction Generalspecific เริ่มต้นจาก กฎ หรือ หลักวิชา ก่อนแล้วสรุปผล เรียก deductive Deduction

  43. Induction is usually described as moving from the specific to the general, arguments based on experience or observation are best expressed inductively, Induction SpecificGeneral เริ่มต้นจากประสบการณ์ หรือจากการสังเกต เป็น inductive Induction

  44. Rizik: That's Newton's Law. Everything that goes up must come down. And so, if you kick the ball up, it must come down. กฎของนิวตัน ทุกอย่างที่นำไปไว้อยู่บนที่สูงจะตกลงมาที่พื้น ดังนั้นถ้าคุณเตะลูกบอลขึ้นไปลูกบอลคงจะต้องตกลงมา (แม้ว่าจะไม่เคยทดลองทำแม้แต่ครั้งเดียว) Deductive Reasoning

  45. Adham: I've noticed previously that every time I kick a ball up, it comes back down, so I guess this next time when I kick it up, it will come back down, too. ทุกครั้งที่เตะลูกบอลขึ้นไปลูกบอลจะตกลงมาดังนั้น คาดว่าครั้งต่อไปถ้าเตะลูกบอลขึ้นไปอีกลูกบอลก็คงจะตกลงมาอีกเหมือนเดิม (เคยทำครั้งที่ 1 มาแล้วจึงคาดคะเนผลครั้งที่ 2) InductiveReasoning

  46. Formal operational stage (11 ปีขึ้นไป)(Cont.) • Adham ใช้ inductive reasoning จากobservation • Rizik ใช้ deductive reasoning จาก the law of gravity

  47. Clinical application พี่หมอจะเอาความรู้ที่เรียนวันนี้ไปช่วยผมได้ยังไงบ้างครับ

  48. Clinical application • การรับเด็กที่อยู่ใน Sensorimotor stageในช่วงต้นมาไว้ในโรงพยาบาล เด็กวัยนี้ยังไม่มี object permanence ซึ่งทำให้เด็กไม่สามารถเก็บภาพมารดาไว้ในใจได้ จึงทำให้เด็กต้องทุกข์ทรมานจาก separation anxiety ดังนั้นแพทย์ควรอนุญาตให้ผู้ปกครองอยู่เฝ้าด้วย

  49. Clinical application (Cont.) • ส่วนเด็กที่อยู่ในช่วง Preoperational stageที่ไม่สามารถเข้าใจหลักการแบบนามธรรม เมื่ออธิบายให้เด็กฟังเกี่ยวกับการรักษาที่เป็นนามธรรม เช่น การผ่าตัด เด็กจะไม่สามารถเข้าใจได้ แพทย์ควรอธิบายเรื่องต่างๆให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น • เช่น อธิบายการผ่าตัดผ่านการเล่นตุ๊กตา วาดรูปให้ดูเป็นขั้นตอนว่าจะทำอะไรบ้าง

More Related