1 / 172

Introduction-191221

Biochemistry

nophadonlu
Download Presentation

Introduction-191221

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecules)

  2. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) • โครงสร้างและบทบาทของคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน และน้ำ

  3. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) • โมเลกุลขนาดเล็กประกอบด้วย ธาตุ C, N, O บางครั้งอาจมีสารอื่นปนมาด้วยเช่น กำมะถัน

  4. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) • นักวิทยาศาสตร์พบว่าอุกกาบาตที่ตกลงมาบนโลกมีสารอินทรีย์ เช่น อุกกาบาตเมอร์ชิสันที่ตกในออสเตรเลียเมื่อปี ค.ศ. 1969 มีส่วนประกอบของกรดอะมิโนหลายชนิด • การสำรวจอวกาศทำให้รู้ว่าอวกาศมีสารชีวโมเลกุล

  5. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) • กรดอะมิโนเป็นหน่วยย่อยพื้นฐานของโปรตีนหรือว่าสารชีวโมเลกุลเริ่มแรกบางชนิด ที่เป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตบนโลกจะมาจากอวกาศ

  6. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) โปรตีน • กรดอะมิโนเป็นหน่วยย่อยพื้นฐานของโปรตีนหรือว่าสารชีวโมเลกุลเริ่มแรกบางชนิด ที่เป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตบนโลก

  7. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) อะตอม (Atom) • สสารทุกชนิดประกอบด้วยอะตอม • นักศึกษาทราบหรือไม่ว่าอะตอมประกอบด้วยอะไร

  8. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) อะตอม (Atom) • อะตอมประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานที่แตกต่างกัน 3 ชนิด ได้แก่ • โปรตอน (proton)มีประจุบวก • นิวตรอน (neutron) ไม่มีประจุ • อิเล็กตรอน (electron) มีประจุลบ

  9. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) อะตอม (Atom) • โปรตรอนและนิวตรอนอยู่ในนิวเคลียสที่ศูนย์กลางของอะตอม • ส่วนอิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่วนรอบนิวเคลียสเป็นชั้นๆ ใน ออร์บิทัล หรือ เชลล์ • ถ้าประจุรวมของอะตอมเป็นกลาง เราจะรู้จำนวนโปรตอนและอิเล็กตรอนหรือไม่

  10. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) อะตอม (Atom) • ถ้าอะตอมเป็นกลาง แสดงว่าจำนวนโปรตอนเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอน • อะตอมของธาตุใดธาตุหนึ่งจะมีจำนวนโปรตอนเหมือนเดิมเสมอ เช่น อะตอมของคาร์บอนมี 6 โปรตอน ส่วนอะตอมของออกซิเจนมี 8 โปรตอน

  11. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) อะตอม (Atom) • เลขอะตอม (atomic number) ของธาตุ คือ จำนวนโปรตอนในนิวเคลียส • เลขมวล (mass number)ของธาตุ คือ จำนวนโปรตอนรวมกับจำนวนนิวตรอนในนิวเคลียส

  12. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) โมเลกุล (Molecule) • อนุภาคที่ประกอบด้วยอะตอม 2 อะตอมขึ้นไป เกิดพันธะเคมีร่วมกัน อาจเป็นอะตอมของธาตุชนิดเดียวกัน เช่น O2 • 1 โมเลกุล ประกอบด้วยออกซิเจน 2 อะตอม • หรืออะตอมของธาตุต่างชนิดกัน เช่น CO2 1 โมเลกุล ประกอบด้วย คาร์บอน 1 อะตอม และออกซิเจน 2 อะตอม

  13. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) โมเลกุล (Molecule) • โมเลกุลที่ประกอบด้วยอะตอมต่างกัน เรียกว่า สารประกอบ (compound) เช่น CO2จึงเป็นสารประกอบ

  14. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) ไอออน (Ion) • อนุภาคที่มีประจุ เกิดขึ้นเมื่ออะตอมได้รับหรือเสียอิเล็กตรอน • อะตอมจะมีประจุอะไร หากได้รับอิเล็กตรอน • อะตอมจะมีประจุอะไร หากสูญเสียอิเล็กตรอน

  15. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) ไอออน (Ion) • เนื่องจากอิเล็กตรอนมีประจุลบ ดังนั้น • อะตอมที่ได้รับอิเล็กตรอนจะมีประจุลบ เรียกว่าแอนไอออน (anion) • อะตอมที่สูญเสียอิเล็กตรอนจะมีประจุบวก เรียกว่าแคตไอออน (cation)

  16. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) ไอออน (Ion) • เนื่องจากอิเล็กตรอนมีประจุลบ ดังนั้น • อะตอมที่ได้รับอิเล็กตรอนจะมีประจุลบ เรียกว่า แอนไอออน (anion) • อะตอมที่สูญเสียอิเล็กตรอนจะมีประจุบวก เรียกว่า แคตไอออน (Cation)

  17. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) ไอออน (Ion) • ไอออนของธาตุเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ของธาตุหรือสารประกอบนั้นกับเครื่องหมายลบหรือบวกเพื่อแสดงประจุของไอออน เช่น อะตอมโซเดียมที่เสียอิเล็กตรอนจะเขียนเป็นโซเดียมไอออน (Na+)

  18. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) ไอโซโทป (Isotope) • อะตอมของธาตุเดียวกันจะมีจำนวนโปรตอนเท่ากัน เช่น ในนิวเคลียสของอะตอมคาร์บอนมีโปรตอน 6 ตัวเสมอ แต่จำนวนนิวตรอนในนิวเคลียสเปลี่ยนแปลงได้ เช่น อะตอมของคาร์บอน • มีนิวตรอน 6 ตัว ดังนั้นเลขมวล = 6 โปรตอน + 6 นิวตรอน = 12 แต่อะตอมของคาร์บอนบางชนิดอาจมีนิวตรอน 8 ตัว

  19. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) ไอโซโทป (Isotope) • คุณคิดว่าเลขมวลของอะตอมนี้มีค่าเท่าไร • เลขมวลของคาร์บอนนี้เท่ากับ 14 (6 โปรตอน + 8 นิวตรอน)

  20. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) ไอโซโทป (Isotope) • อะตอมของธาตุเดียวกันที่มีเลขมวลต่างกัน เรียกว่า ไอโซโทป (Isotope) • ไอโซโทปหลายชนิดเป็นไอโซโทปกัมมันตรังสี นักชีววิทยาจึงใช้เป็นสารติดตามเช่น

  21. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) ไอโซโทป (Isotope) • เช่น ไอโซโทปคาร์บอน-14 (14C)เป็นสารกัมมันตรังสี ดังนั้นถ้าให้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่คาร์บอนเป็น 14C แก่พืช จะติดตามการสร้างสารประกอบในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงได้ โดยการติดตามจาก 14C ที่เข้าไปเป็นส่วนประกอบของสารประกอบต่างๆ

  22. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) ไอโซโทป (Isotope) • ไนโตรเจน-15 เป็นไอโซโทปไนโตรเจนหนักและไม่ใช่สารกัมมันตรังสี (ปกติอยู่ในรูป 14N) • จึงใช้ติดฉลากไนโตรเจนใน DNA เพื่อศึกษาว่า DNA ใหม่สร้างขึ้นได้อย่างไร

  23. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) กรดและเบส • ไฮโดรเจนมีเลขอะตอมและเลขมวลเท่ากับ 1 • ซึ่งหมายความว่า อะตอมของไฮโดรเจนมี 1 โปรตอน • และ 1 อิเล็กตรอน แต่ไม่มีนิวตรอน ไฮโดรเจนไอออน (H+) • คืออะตอมที่เสียอิเล็กตรอนไป เหลือแค่โปรตอนเท่านั้น

  24. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) กรดและเบส • ค่าความเป็นกรด-เบส หรือค่า pH ของสารละลาย คือ • ค่าที่ได้จากการวัดความเข้มข้นของ H+ที่มีอยู่ ยิ่งมี H+ มาก • สารละลายยิ่งมีความเป็นกรดสูง • ค่า pH 1 แสดงว่าเป็นกรดแก่ ค่า pH 7 เป็นกลาง และค่า pH 14 เป็นเบสแก่

  25. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) กรดและเบส • ค่ามาตรฐานที่ใช้กำหนดความเป็นกรด-เบสโดยการเพิ่มหรือลดลง 1 หน่วยหมายถึงการเพิ่ม • หรือการลด 10 เท่า ดังนั้นสารละลายที่มีค่า pH 1 จึงมีความเป็นกรดมากกว่าสารละลายที่มีค่า pH 2 ถึง 10 เท่า และสารละลายที่มีค่า pH 2 จะมีความเป็นกรดมากกว่าสารละลายที่มีค่า pH 3 ถึง 10 เท่าเช่นกัน

  26. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) กรดและเบส • ค่ามาตรฐานที่ใช้กำหนดความเป็นกรด-เบสโดยการเพิ่มหรือลดลง 1 หน่วยหมายถึงการเพิ่ม • หรือการลด 10 เท่า ดังนั้นสารละลายที่มีค่า pH 1 จึงมีความเป็นกรดมากกว่าสารละลายที่มีค่า pH 2 ถึง 10 เท่า และสารละลายที่มีค่า pH 2 จะมีความเป็นกรดมากกว่าสารละลายที่มีค่า pH 3 ถึง 10 เท่าเช่นกัน

  27. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) กรดและเบส • ลองคิดซิว่าสารละลายที่มีค่า pH 1 จะมีความเป็นกรดมากกว่าสารละลายที่มีค่า pH 7 กี่เท่า • กรด คือสารที่แตกตัวเป็นไอออนเมื่ออยู่ในสารละลายและปล่อย H+ออกมา เช่น • HCI H++ Cl- • กรดไฮโดรเจนไอออน เบส

  28. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) กรดและเบส • กรดไฮโดรคลอริก (HCl) เป็นกรดแก่เนื่องจากปล่อย H+สู่สารละลายจำนวนมาก • กรดคาร์บอกซิลิก (R-COOH) เช่น กรดเอทาโนอิกเป็นกรดอ่อน และมักจะไม่ปล่อย H+เมื่อกรดแตกตัวจะเสีย H+เหลือแต่เบส หรือสารประกอบที่รวมตัวกับ H+ได้ • คุณคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเบสรับ H+

  29. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) กรดและเบส • NO3- + H+ HNO3 • เบสไฮโดรเจนไอออน กรด

  30. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) บัฟเฟอร์ • สิ่งมีชีวิตจะต้องรักษาสภาพภายในเซลล์ให้มีค่า pH คงที่ เพราะเอนไซม์ต่าง ๆ ที่อยู่ภายในเชลล์จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในช่วง pH แคบ ๆ เท่านั้น สารเคมีบางชนิดในไซโทพลาซึมมีบทบาทดังนี้ • ทำหน้าที่เป็นเบสด้วยการรับ H+เพื่อลดความเป็นกรดของสารละลาย • ทำหน้าที่เป็นกรดด้วยการให้ H+เพื่อเพิ่มความเป็นเบสของสารละลาย

  31. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) บัฟเฟอร์ • สารบางชนิดทำหน้าที่ได้ทั้ง 2 บทบาท สารเคมีที่เป็นได้ทั้งเบสและกรด เรียกว่า บัฟเฟอร์ (buffer)เช่น โปรตีนในพลาสมาทำหน้าที่เป็นบัฟเฟอร์เพื่อรักษาระดับ pH ของเลือดให้คงที่ และควบคุมไม่ให้เลือดเป็นกรดหรือด่างมากเกินไปเมื่อกรดและเบสทำปฏิกิริยากันจะเกิดเกลือ ดังนี้ • HCI + NaOH NaCI +H2O • กรด เบส เกลือ

  32. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) พันธะเคมี • อะตอมในโมเลกุลยึดกันด้วยพันธะเคมี (chemical bond)ดังนั้นการสร้างหรือทำลายพันธะเคมีจึงต้องใช้พลังงาน

  33. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) พันธะไอออนิก • อิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่รอบนิวเคลียสจะจัดเรียงตัวเป็นชั้น ๆ หรือออร์บิทัล ชั้นแรกที่อยู่ถัดจากนิวเคลียสมีอิเล็กตรอน 2 ตัว ชั้นที่ 2 และ 3 มีอิเล็กตรอนชั้นละ 8 ตัว ชั้นถัดไปจะมีอิเล็กตรอนเพิ่มมากขึ้น

  34. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) พันธะไอออนิก • อะตอมจะเสถียรเมื่ออิเล็กตรอนในวงนอกสุดเต็ม เช่น อิเล็กตรอนวงนอกสุด • ของอะตอมโซเดียมมีเพียง 1 ตัว (ขาดไป 7 ตัว) ดังนั้น อะตอมจะเสถียรมากขึ้น • ถ้าเสียอิเล็กตรอนตัวนี้ไป และเกิดเป็น Na+ที่มีประจุบวก

  35. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) พันธะไอออนิก • อะตอมคลอรีนมีอิเล็กตรอนวงนอกสุด 7 ตัว ดังนั้น ถ้าได้รับอิเล็กตรอน • เพิ่มอีก 1 ตัว จะเป็น Cl-ที่มีประจุลบและเสถียร

  36. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) พันธะไอออนิก • จะเกิดอะไรขึ้นกับ Na+ ที่มีประจุบวกและ Cl-ที่มีประลบ ไอออนที่มีประจุต่างกันจะดึงดูดกัน แรงไฟฟ้าสถิตจะดึงไอออนเหล่านี้เข้าหากัน ทำให้เกิดพันธะไอออนิก(Ionic bond)ซึ่งมักจะอยู่ในสารประกอบอนินทรีย์ เช่น โซเดียมคลอไรด์ (NaC)

  37. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) พันธะโคเวเลนต์ • อะตอมของธาตุจะเสถียรมากขึ้นหากอิเล็กตรอนวงนอกเต็ม ทำให้บางครั้งเกิดพันธะโคเวเลนต์ เช่น อะตอมไฮโดรเจนซึ่งมีอิเล็กตรอนวงนอก 1 ตัวจะเสถียรมากขึ้นถ้าได้รับอิเล็กตรอนเพิ่มอีก 1 ตัว

  38. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) พันธะโคเวเลนต์ • ไฮโดรเจน 2 อะตอมใช้อิเล็กตรอนร่วมกันได้ เกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์ • (covalent bond)ซึ่งจะยึดไฮโดรเจน 2 อะตอมไว้ด้วยกันในโมเลกุลไฮโดรเจนอะตอมคาร์บอนมีอิเล็กตรอนวงนอกอยู่ 4 ตัว และอะตอมไฮโดรเจนทุกอะตอมมีอิเล็กตรอนวงนอกอะตอมละ 1 ตัว

  39. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) พันธะโคเวเลนต์ • ดังนั้นอะตอมคาร์บอนจะเสถียรมากขึ้นถ้าได้อิเล็กตรอนมาเพิ่มอีก 4 ตัวจากไฮโดรเจนทั้ง 4 อะตอม เช่น มีเทน (CH4)ประกอบด้วยคาร์บอน 1 อะตอมและไฮโดรเจน 4 อะตอม

  40. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) พันธะโคเวเลนต์ • มีพันธะโคเวเลนต์ 4 พันธะ ซึ่งอะตอมไฮโดรเจนแต่ละอะตอมจะใช้อิเล็กตรอนร่วมกับอะตอมคาร์บอน ทำให้มีเทนเป็นโมเลกุลที่เสถียร

  41. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) พันธะไฮโดรเจน • น้ำ 1 โมเลกุลประกอบด้วยไฮโดรเจน 2 ะตอมและออกซิเจน 1 อะตอม ออกซิเจนแต่ละอะตอมมีอิเล็กตรอนวงนอกสุด 6 ตัว และไฮโดรเจนแต่ละอะตอมมีอิเล็กตรอน 1 ตัว

  42. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) พันธะไฮโดรเจน • ดังนั้นไฮโดรเจนทั้ง 2 จะตอมต่างก็ใช้อิเล็กตรอนร่วมกันกับอะตอมออกชิเจน โดยสร้างพันธะโคเวเลนต์กับอะตอมอกชิเจน เกิดเป็นโมเลกุลน้ำที่เสถียร แต่อะตอม ออกชิเจนมีโปรตอนในนิวเคลียสมากกว่าอะตอมไฮโดรเจน อนุภาคที่มีประจุบวกเหล่านี้มักจะดึงอิเล็กตรอนที่ใช้ร่วมกับไฮโดรเจนในพันธะโคเวเลนต์

  43. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) น้ำ • เป็นสารชีวโมเลกุลที่สำคัญที่สุดเนื่องจาก น้ำปกคลุมพื้นผิวโลก 3 ใน 4 ส่วน • น้ำเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด ทั้งที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดและน้ำเค็ม • เซลล์มนุษย์มีน้ำเป็นส่วนประกอบถึง 70% และเซลล์พืชมีน้ำถึง 95%

  44. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) การรวมตัวของน้ำ • สมบัติสำคัญที่สุดของโมเลกุลน้ำ คือยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะไฮโดรเจน • โมเลกุลน้ำไม่มีประจุเป็นกลางทางไฟฟ้า มีโปรตอน 10 ตัว และอิเล็กตรอน 10 ตัว

  45. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) การรวมตัวของน้ำ • แต่นิวเคลียสของอะตอมออกชิเจนพยายามดึงอิเล็กตรอนไปจากนิวเคลียสของอะตอมไฮโดรเจนแต่ละอะตอม ทำให้เกิดโมเลกุลมีขั้ว (polar molecule)

  46. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) การรวมตัวของน้ำ • โมเลกุลมีขั้วยอมให้สร้างพันธะไฮโดรเจนได้ แม้ว่าพันธะไฮโดรเจนจะไม่แข็งแรงแต่เมื่อมีจำนวนมากจึงรวมกันเป็นโครงสร้างที่แข็งแรง การรวมตัวแบบนี้ เรียกว่า การเชื่อมติด (cohesion)ซึ่งทำให้น้ำมีสมบัติพิเศษหลายประการ

  47. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) น้ำเป็นตัวทำละลาย • ปฏิกิริยาทางชีวเคมีหลายอย่างเกิดขึ้นในไซโทพลาซึมของเซลล์ เมื่อสารเคมีละลายน้ำ จะเคลื่อนที่ได้อิสระและทำปฏิกิริยากับสารอื่น และน้ำมีส่วนที่เป็นบวกและลบเล็กน้อย จึงดึงดูดอนุภาคที่มีประจุ เช่น ไอออน และโมเลกุลมีขั้ว เช่น กลูโคส ได้

  48. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) น้ำเป็นตัวทำละลาย • ตัวอย่างเช่น ในสารละลาย โมเลกุลน้ำจะล้อมรอบไอออนบวก เช่น Na+ • และ K+อะตอมออกซิเจนซึ่งมีประจุเป็นลบเล็กน้อยจะถูกดึงดูดเข้าหาไอออน ที่มีประจุบวก เช่นเดียวกับที่ไอออนซึ่งมีประจุลบ เช่น CI-ดึงดูด H+ที่เป็นบวกเล็กน้อยไว้

  49. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) น้ำเป็นตัวทำละลาย • ในทางตรงกันข้าม โมเลกุลไม่มีขั้ว (non-polar molecule) เช่น ไขมันไม่ละลายน้ำ ในกรณีนี้โมเลกุลของน้ำจะดึงดูดซึ่งกันและกัน และมีผลทำให้โมเลกุลไม่มีขั้วถูกแยกออกไปสมบัติของไขมันที่ไม่รวมตัวกับน้ำ เรียกว่า ไฮโดรโฟบิก (hydrophobic) หรือหมายถึง ไม่ชอบน้ำ สำคัญมากต่อการคงตัวของเยื่อหุ้มเซลล์

  50. 1. สารชีวโมเลกุล (Biological molecule) น้ำเป็นเมแทบอไลต์(metabolite) และตัวกลางลำเลียง • มีปฏิกิริยาหลายอย่างภายในเซลล์ ทั้งการใช้และการสร้างน้ำ เช่น กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงต้องใช้น้ำ ส่วนกระบวนการหายใจสร้างน้ำ น้ำจะเป็นตัวกลางขนส่งทั้งภายในและภายนอกเซลล์ โดยเลือดและน้ำเหลือง ของสัตว์ก็ลำเลียงสารที่ละลายน้ำได้หลายชนิด ส่วนในพืช น้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญมากต่อการทำงานของไซเล็มและโฟลเอ็ม เนื่องจากมีสมบัติเป็นตัวทำละลาย

More Related