1 / 31

พ.ร.บ. กบข. ฉบับที่ 5 “มาตรา 39 วรรค 2”

พ.ร.บ. กบข. ฉบับที่ 5 “มาตรา 39 วรรค 2” ในกรณีที่สมาชิกผู้ใดประสงค์ที่จะส่งเงินสะสมเข้ากองทุนเกินกว่าอัตราตามวรรคหนึ่งให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด แต่ทั้งนี้ การส่งเงินสะสมตามมาตรานี้รวมกันแล้ว จะต้องไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินเดือน

nhung
Download Presentation

พ.ร.บ. กบข. ฉบับที่ 5 “มาตรา 39 วรรค 2”

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พ.ร.บ. กบข. ฉบับที่ 5 “มาตรา 39 วรรค 2” ในกรณีที่สมาชิกผู้ใดประสงค์ที่จะส่งเงินสะสมเข้ากองทุนเกินกว่าอัตราตามวรรคหนึ่งให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด แต่ทั้งนี้ การส่งเงินสะสมตามมาตรานี้รวมกันแล้ว จะต้องไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินเดือน หมายเหตุ : ศึกษารายละเอียด พ.ร.บ. กบข. ฉบับที่ 5 ได้ที่ www.gpf.or.th

  2. ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการส่งเงินสะสมเข้ากองทุนเกินกว่าอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ออกตามความในมาตรา 39 วรรค 1 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 26 (1) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 และมาตรา 39 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2550 จึงออกประกาศไว้ ดังนี้

  3. (ต่อ) ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการส่งเงินสะสมเข้ากองทุนเกินกว่าอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ออกตามความในมาตรา 39 วรรค 1 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 ข้อ 1 ในประกาศนี้ “เงินสะสมส่วนเพิ่ม” หมายความว่า เงินสะสมที่สมาชิกประสงค์จะส่งเข้ากองทุนเกินกว่าอัตราที่กำหนด ในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา 39 วรรค 1 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ พ.ศ. 2539

  4. (ต่อ) ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการส่งเงินสะสมเข้ากองทุนเกินกว่าอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ออกตามความในมาตรา 39 วรรค 1 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 ข้อ 2 สมาชิกที่มีความประสงค์จะส่งเงินสะสมส่วนเพิ่ม ให้แจ้งความประสงค์เป็นอัตราร้อยละของ เงินเดือนที่เป็นจำนวนเต็มแบบไม่มีทศนิยมตามแบบ ที่เลขาธิการกำหนดต่อส่วนราชการเจ้าสังกัด และให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดหักเงินเดือนที่สมาชิกผู้นั้น ได้รับตามอัตราที่สมาชิกแจ้ง และส่งเข้ากองทุน ในวันที่มีการจ่ายเงินเดือนตั้งแต่เดือนถัดไป

  5. (ต่อ) ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการส่งเงินสะสมเข้ากองทุนเกินกว่าอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ออกตามความในมาตรา 39 วรรค 1 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 ข้อ 3 สมาชิกที่มีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกอัตรา เงินสะสมส่วนเพิ่ม ให้แจ้งความประสงค์ได้ปีละ 1 ครั้ง ตามแบบที่เลขาธิการกำหนดต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดในเดือนธันวาคมของทุกปี และให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดดำเนินการตามความประสงค์ ของสมาชิกผู้นั้นตั้งแต่เดือนมกราคมปีถัดไป กรณีที่สมาชิกมีเหตุจำเป็นจะเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกอัตราเงินสะสมส่วนเพิ่มแตกต่างไปจากกรณีในวรรคแรก ให้เป็นดุลยพินิจ ของส่วนราชการต้นสังกัดที่จะดำเนินการ

  6. (ต่อ) ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการส่งเงินสะสมเข้ากองทุนเกินกว่าอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ออกตามความในมาตรา 39 วรรค 1 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 ข้อ 4 การนำส่งเงินสะสมส่วนเพิ่มของส่วนราชการ ให้ดำเนินการพร้อมการส่งเงินสะสมตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา 39 วรรค 1 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 โดยนำส่งตามกระบวนการและขั้นตอนเดียวกับการส่งเงินสะสมและเงินสมทบตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา 39 วรรค 1 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539

  7. (ต่อ) ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการส่งเงินสะสมเข้ากองทุนเกินกว่าอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ออกตามความในมาตรา 39 วรรค 1 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 ข้อ 5 สมาชิกจะมีสิทธิได้รับเงินสะสมส่วนเพิ่มพร้อมผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว เมื่อ สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง

  8. ขั้นตอนการออมเพิ่ม • สมาชิกสามารถขอแบบฟอร์มการออมเพิ่ม “แบบแจ้งความประสงค์ในการส่งเงินสะสมส่วนเพิ่ม” ได้ 3 ช่องทาง คือ • 1. หน่วยงานต้นสังกัด • (ผ่านเจ้าหน้าที่กองการเงิน • หรือเจ้าหน้าที่กองการเจ้าหน้าที่) • 2. WebSite กบข. www.gpf.or.th • 3. ติดต่อ กบข. 1179 กด 6

  9. การกรอก “แบบแจ้งความประสงค์ในการส่งเงินสะสมส่วนเพิ่ม” กรอกรายละเอียด ในส่วนที่ 1 ให้ครบถ้วน

  10. การกรอก “แบบแจ้งความประสงค์ในการส่งเงินสะสมส่วนเพิ่ม” เลือกความประสงค์ ที่จะออมเพิ่ม (ส่วนที่ 2)

  11. การกรอก “แบบแจ้งความประสงค์ในการส่งเงินสะสมส่วนเพิ่ม” อ่านเงื่อนไข พร้อมลงลายมือชื่อ (ส่วนที่ 3)

  12. การจัดส่ง “แบบแจ้งความประสงค์ในการส่งเงินสะสมส่วนเพิ่ม” ในส่วนของการจัดส่งแบบฟอร์ม สมาชิกจะต้อง ยื่นเอกสารต่อหน่วยงานต้นสังกัดเท่านั้น โดยหน่วยงานต้นสังกัดเป็นผู้เก็บรักษา “แบบแจ้ง ความประสงค์ในการส่งเงินสะสมส่วนเพิ่ม” ไว้เป็นหลักฐานไม่ต้องนำส่งให้ กบข.

  13. การดำเนินงานของหน่วยงานต้นสังกัดการดำเนินงานของหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานต้นสังกัดเป็นผู้มีหน้าที่หักเงินสะสมส่วนเพิ่มของสมาชิกจากเงินเดือนและนำส่งให้ กบข. ด้วยช่องทางเดียวกับระบบการนำส่งเงินที่ใช้ในปัจจุบัน โดยเจ้าหน้าที่หน่วยงาน ต้นสังกัดจะบันทึกข้อมูลในระบบ MCS / ระบบจ่ายตรงตามที่สมาชิกกรอกไว้ในแบบแจ้งความประสงค์ในการส่งเงินสะสมส่วนเพิ่ม ที่สมาชิกแจ้งในแบบ พร้อมจัดส่งข้อมูลการนำส่งเงินประจำเดือนมายัง กบข. ตามระบบงานที่ใช้

  14. การตรวจสอบข้อมูล การนำส่งเงินสะสมส่วนเพิ่ม สมาชิกสามารถตรวจสอบยอดเงินนำส่งเงินสะสม และเงินสะสมส่วนเพิ่มได้จาก 1. สลิปเงินเดือน 2. ผ่านบริการ GPF WEB SERVICE เมนู ตรวจสอบยอดเงินปัจจุบัน และ เมนู ใบแจ้งยอดเงินสมาชิก 3. ใบรับรองใบแจ้งยอดเงินประจำปี

  15. สรุปสาระสำคัญโครงการออมเพิ่มสรุปสาระสำคัญโครงการออมเพิ่ม สรุปสาระสำคัญโครงการออมเพิ่ม 1. เป็นสมาชิก กบข. ประเภทส่งเงิน “สะสม” เท่านั้น 2. เพิ่มจากเงินสะสมเดิม ตั้งแต่ 1% – 12% (โดยไม่มีจุดทศนิยม) ยกตัวอย่าง นาย ก เงินเดือน 9,780 บาท ต้องการสะสมเพิ่มอีก 2% = (ใหม่) สะสม 2% = 195.6 บาท (เดิม) สะสม 3% = 293.4 บาท เพราะฉะนั้น นาย ก สะสม 5% = 2% ที่ไม่มีทศนิยม + 3% ที่ไม่มีทศนิยม = 195 + 293 ดังนั้น นาย ก ถูกหักเงินสะสม = 488 บาท / เดือน 3. คำนวณเงินสะสมส่วนเพิ่ม แยกจากเงินสะสมปกติ (3%) 4. เงินสมทบและเงินชดเชย ในส่วนรัฐบาลคงเดิม คือ เงินสมทบ 3% เงินชดเชย 2%

  16. สรุปสาระสำคัญโครงการออมเพิ่มสรุปสาระสำคัญโครงการออมเพิ่ม 5. แจ้งความประสงค์ที่ต้นสังกัด โดยใช้แบบฟอร์ม “แบบแจ้งความประสงค์ในการส่งเงินสะสมส่วนเพิ่ม” 6. เริ่มยื่นเรื่องได้ตั้งแต่ 7. เปลี่ยนแปลงอัตราเงินสะสมส่วนเพิ่ม หรือยกเลิกเงินสะสมส่วนเพิ่ม ทุกเดือนมีผลใช้เดือนมกราคม ธันวาคมของปีถัดไป เดือนมีนาคม เป็นต้นไป หักเงินสะสม ส่วนเพิ่มเดือนถัดไป

  17. สรุปสาระสำคัญโครงการออมเพิ่มสรุปสาระสำคัญโครงการออมเพิ่ม 8. หน่วยงานต้นสังกัดเป็นผู้เก็บ “แบบแจ้งความประสงค์ ในการส่งเงินสะสมส่วนเพิ่ม” ไว้เป็นหลักฐาน 9. หน่วยงาน ต้นสังกัด 10. เงินสะสม ส่วนเพิ่ม นำส่งเงิน กบข. ทำหน้าที่หักเงินสะสมส่วนเพิ่มจากสมาชิก ได้รับเมื่อ พ้น สมาชิกภาพ

  18. ขั้นตอนการออมเพิ่ม ติดต่อหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อกรอกแบบฟอร์ม สมาชิก ยืนยันเอกสาร แจ้งผล ผ่านใบแจ้งยอด เก็บเป็นหลักฐาน ไม่ต้องนำส่งกองทุน หน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานฯ หักเงินนำส่งส่วนเพิ่มของสมาชิก และนำส่งเงินให้ กบข. ในเดือนต่อไป ยกเว้นหน่วยงานที่เข้าระบบ จ่ายตรงกับกรมบัญชีกลาง บัญชีสมาชิก เงินสะสมส่วนเพิ่ม กบข. นำไปลงทุนหาผลประโยชน์ ผลประโยชน์

  19. ? คำถามเด่นออมเพิ่ม สมาชิกสามารถออมเงินสะสมส่วนเพิ่มจากเดิมได้อีกกี่เปอร์เซ็นต์ คำตอบ ออมเงินสะสมส่วนเพิ่มได้ ตั้งแต่ 1% ถึง 12% โดยต้องเป็นตัวเลขจำนวนเต็มไม่มีจุดทศนิยม และเมื่อรวมกับเงินสะสมปกติแล้วจะไม่เกิน 15%

  20. ? คำถามเด่นออมเพิ่ม สมาชิกสามารถขอเอกสารแบบแจ้งความประสงค์ ในการส่งเงินสะสมส่วนเพิ่มได้จากไหน คำตอบ ดาวน์โหลดได้จาก เว็บไซต์ กบข. ที่ www.gpf.or.th หน่วยงานต้นสังกัด และ ที่ กบข. 1179 กด 6

  21. ? คำถามเด่นออมเพิ่ม เงินสะสมส่วนเพิ่มของสมาชิกจะได้รับการ ยกเว้นภาษีด้วยหรือไม่ คำตอบ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในส่วนของเงินสะสมที่ส่งเข้ามายังกองทุน ไม่เกิน 300,000 บาทสำหรับปีภาษีนั้น

  22. ? คำถามเด่นออมเพิ่ม การคิดผลประโยชน์ในส่วนของเงินสะสมส่วนเพิ่มคิดอย่างไร คำตอบ สมาชิกจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการลงทุนของ กบข. ตามอัตราผลประกอบการในปีนั้น ๆ ซึ่งผลประโยชน์ของเงินสะสมส่วนเพิ่มจะได้รับในอัตราเดียวกันกับ เงินสะสม เงินสมทบ เงินชดเชย โดยคำนวณ ผลประโยชน์ตั้งแต่วันแรกที่ กบข.ได้รับเงินจากสมาชิก

  23. ? คำถามเด่นออมเพิ่ม เอกสารแบบแจ้งความประสงค์ในการส่งเงินสะสมส่วนเพิ่มจะต้องส่งที่ไหน คำตอบ ส่งได้ที่หน่วยงานต้นสังกัด และควรสำเนาเก็บไว้เป็นหลักฐานหนึ่งชุด

  24. ? คำถามเด่นออมเพิ่ม สมาชิกสามารถแจ้งความประสงค์เงินสะสมส่วนเพิ่มได้ตั้งแต่เมื่อไร คำตอบ ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2551 เป็นต้นไป โดยหน่วยงานต้นสังกัดจะทำการหักเงิน สะสมส่วนเพิ่มนำส่ง กบข. ในเดือนถัดไป

  25. ? คำถามเด่นออมเพิ่ม สมาชิกสามารถเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสะสมส่วนเพิ่ม หรือยกเลิกได้หรือไม่ คำตอบ สามารถทำได้ปีละ 1 ครั้ง โดยยื่นแบบแจ้งความประสงค์ในการส่งเงินสะสมส่วนเพิ่ม (ซึ่งเป็นแบบฟอร์มเดียวกันกับการกรอกแบบในครั้งแรก และส่งเอกสารภายใน เดือนธันวาคม และจะมีผลในเดือนมกราคมของปีถัดไป

  26. ? คำถามเด่นออมเพิ่ม หน่วยงานภาครัฐจะสมทบเงินเพิ่มเติมเท่ากับ เงินสะสมส่วนเพิ่มหรือไม่ คำตอบ ไม่มีการสมทบเงินเพิ่มเติมให้แก่เงินสะสมส่วนเพิ่ม หน่วยงานภาครัฐจะยังคงส่งเงินสมทบให้แก่สมาชิก ในอัตราเท่าเดิม คือ 3%

  27. ? คำถามเด่นออมเพิ่ม สมาชิกสามารถขอเงินคืนในส่วนของเงินสะสม ส่วนเพิ่มก่อนลาออกจากราชการได้หรือไม่ คำตอบ ไม่สามารถขอรับเงินสะสมส่วนเพิ่มคืน ระหว่างการเป็นสมาชิก กบข. ได้ ซึ่งการรับเงินสะสมส่วนเพิ่มนี้สมาชิก จะได้รับเมื่อพ้นสมาชิกภาพเท่านั้น

  28. ? คำถามเด่นออมเพิ่ม สมาชิกสามารถนำส่งเงินสะสมส่วนเพิ่มให้ กบข. โดยตรงได้หรือไม่ คำตอบ ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากหน่วยงานต้นสังกัด จะเป็นผู้มีหน้าที่หักเงินสะสมส่วนเพิ่มของสมาชิก จากเงินเดือน และนำส่งให้ กบข. ด้วยช่องทางเดียวกับระบบการนำส่งเงินที่ใช้ในปัจจุบัน

  29. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ ฝ่ายสื่อสารสมาชิกและประชาสัมพันธ์ โทร. 1179 กด 6 หรือที่ member@gpf.or.th คลิก Download แบบฟอร์มออมเพิ่มที่นี่..

More Related