1 / 40

Information Systems and The Role of the Modern Systems Analyst

Information Systems and The Role of the Modern Systems Analyst. Chapter 1. บทนำ.

Download Presentation

Information Systems and The Role of the Modern Systems Analyst

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Information Systems and The Role of the Modern Systems Analyst Chapter 1

  2. บทนำ การวิเคราะห์และออกแบบระบบ จัดเป็นกุญแจความสำเร็จอันสำคัญของการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อไปสู่ความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับข้อกำหนดทางธุรกิจ โดยการวิเคราะห์ระบบเป็นกระบวนการหนึ่งที่ต้องทำการศึกษาให้เข้าใจถึงรายละเอียดของปัญหา ด้วยการพิจารณาถึงระบบว่าต้องทำอะไรบ้าง เพื่อสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ ในขณะที่การออกแบบระบบจะเป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศในแต่ละส่วนว่าต้องทำอย่างไร นักวิเคราะห์ระบบ จัดได้ว่าเป็นบุคคลหนึ่ง ที่มีบทบาทสำคัญต่อการผลักดันให้การพัฒนาระบบ สารสนเทศไปสู่ความสำเร็จได้

  3. หัวข้อการเรียนรู้ • ความหมายของระบบ และภาพรวมของระบบ • ส่วนประกอบของสารสนเทศ และชนิดของระบบสารสนเทศ • ความสำคัญของระบบสารสนเทศที่มีต่อองค์กรธุรกิจ • ความหมายของการวิเคราะห์ระบบ • เหตุผลสำคัญที่ทำให้ต้องมีการพัฒนาระบบใหม่ • บทบาทหน้าที่ และลักษณะงานของนักวิเคราะห์ระบบ • ทักษะและความรู้ที่นักวิเคราะห์ระบบพึงมี • ผังโครงสร้างองค์กรกับตำแหน่งนักวิเคราะห์ระบบ • ความสำคัญของสภาพแวดล้อมทางด้านธุรกิจในการพัฒนาระบบ

  4. ความหมายของระบบ ระบบ (System) คือกลุ่มขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน โดยแต่ละองค์ประกอบจะทำงานร่วมกันเพื่อจุดประสงค์เดียวกัน ส่วนประกอบภายในระบบจำเป็นต้องได้รับการประสานการทำงานที่ดี หากมีส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งไม่สามารถประสานการทำงานร่วมกับส่วนอื่น ๆ ได้ตามที่ควรจะเป็น ย่อมส่งผลให้ระบบเกิดข้อขัดข้อง ไม่ราบรื่น หรือท้ายสุดอาจก่อให้เกิดความล้มเหลวในระบบได้ Hardware Software Peopleware

  5. ความหมายของระบบ รูปที่ 1.2 หน้า 17 รูปแสดงตัวอย่างระบบงานทางคอมพิวเตอร์ที่มีองค์ประกอบบางส่วนขาดประสิทธิภาพ ทำให้การประสานงานภายในระบบเกิดปัญหา ซึ่งอาจส่งผลให้ระบบล้มเหลวได้

  6. ภาพรวมของระบบ ระบบจะถูกกำหนดด้วยขอบเขตจะประกอบด้วยองค์ประกอบที่เรียกว่าระบบย่อย ถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบ และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในระหว่างขั้นตอนการออกแบบระบบ ระบบที่ดีจะต้องได้รับการออกแบบระบบย่อยต่าง ๆ ให้มีความเป็นอิสระต่อกันมากที่สุด ด้วยการลดจำนวนเส้นทางการไหลของข้อมูล (Flows) ระหว่างกันเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งการกระทำดังกล่าวจะทำให้ระบบแลดูง่าย รวมถึงช่วย ลดความซับซ้อนของระบบลงได้มาก ทำให้ง่ายต่อการบำรุงรักษา

  7. ประเภทของระบบ ระบบ ยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน • ระบบปิด (Closed System) • ระบบเปิด (Open System) ระบบปิด เป็นระบบที่ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม มีจุดมุ่งหมายในการทำงานภายในตัวเอง โดยจะไม่ยุ่งเกี่ยวหรือไม่รับข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมใด ๆ เข้ามา ระบบเปิด จะเป็นระบบที่มีปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้วยการแลกเปลี่ยน หรือการรับส่งข้อมูลจากสภาพแวดล้อมเข้ามาในระบบเพื่อนำมาประมวลผลร่วม

  8. ระบบธุรกิจ ระบบธุรกิจจำเป็นต้องรับข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมภายนอกต่าง ๆ เข้ามาในระบบ ซึ่งปัจจุบันสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ ย่อมมีอิทธิพลต่อการดำเนินการของระบบธุรกิจเป็นอย่างมาก วิกฤตการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อระบบธุรกิจได้ทั้งภายในและภายนอก ไดอะแกรมระบบการผลิตของบริษัทแห่งหนึ่ง ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ระบบย่อย

  9. ระบบธุรกิจ ผลกระทบภายในระบบ (Internal Environment) คือ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภายในองค์กรที่ส่งผลกระทบต่อองค์กร เช่น ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ปัญหาความขัดแย้งระหว่างพนักงาน ปัญหาการขาดงาน เป็นต้น ผลกระทบภายนอกระบบ (External Environment) คือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภายนอกองค์กรที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลา โดยที่องค์กรไม่สามารถหลีกเลี่ยง และยากต่อการควบคุม หรือบางครั้งอาจควบคุมไม่ได้เลย เช่น คู่แข่งทางการค้า ภัยจากธรรมชาติ ความต้องการของลูกค้า เทคโนโลยี เป็นต้น

  10. ระบบธุรกิจ เมื่อมีการศึกษาระบบงานใด จึงควรมีการพิจารณาจากมุมมองทั้ง 4 คือ 1. อะไร (What) 2. อย่างไร (How) 3. เมื่อไร (When) 4. ใคร (Who)

  11. องค์กร และระบบสารสนเทศ เทคโนโลยีในปัจจุบันได้มีความก้าวล้ำไปมาก รูปแบบของธุรกิจได้มีการปรับตัวไปตามเทคโนโลยี เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้เข้ามามีบทบาทสูงขึ้น ฐานข้อมูลต่าง ๆ สามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ทั้งหมด สำหรับองค์กรภาคธุรกิจ เป้าหมายส่วนใหญ่ก็คือผลกำไรหรือผลตอบแทนจากการดำเนินงาน

  12. องค์กร และระบบสารสนเทศ 1. ผลตอบแทนที่สามารถประเมินค่าได้ (Tangible) คือ ผลตอบแทนที่สามารถประมาณค่าในตัวเองได้ เช่น การเพิ่มยอดขาย การลดค่าล่วงเวลาทำงาน การประหยัดพลังงาน เป็นต้น 2. ผลตอบแทนที่ไม่สามารถประเมินค่าได้ (Intangible) คือ ผลตอบแทนที่ไม่สามารถประมาณค่าได้โดยตรง ซึ่งยากต่อการประเมินมูลค่าในรูปของตัวเงิน แต่เป็นผลตอบแทนที่มีผลทางอ้อมต่อธุรกิจ เช่นทัศนคติของลูกค้าที่มีต่อองค์กรดีขึ้น พนักงานมีขวัญและกำลังใจในการทำงานดีขึ้น มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น การนำเสนอสารสนเทศตรงเวลามากขึ้น เป็นต้น

  13. ข้อมูล สารสนเทศ และระบบสารสนเทศ ข้อมูล คือ ข้อมูลดิบ(Raw Data) หรือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นที่มีความหมายในตัวเอง ซึ่งยังไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ สารสนเทศที่มีการนำข้อมูลดิบเหล่านี้มาผ่านกระบวนการ (Process) เพื่อให้เกิดผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศ (Information System: IS) เทคโนโลยีสารสนเทศ จะเป็นการผสมผสานการทำงาน ระหว่างเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์) กับ เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม

  14. ข้อมูล สารสนเทศ และระบบสารสนเทศ ระบบสารสนเทศ จัดเป็นกลไกชนิดหนึ่ง ด้วยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ โดยเฉพาะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้กับการจัดการข้อมูลในองค์กร โดยระบบสารสนเทศมีส่วนประกอบสำคัญ 5 ส่วน ดังนี้ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software) ข้อมูล (Data) บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (Peopleware) กระบวนการทำงาน (Procedures)

  15. ชนิดของระบบสารสนเทศ • ระบบประมวลผลรายการประจำวัน (Transaction Processing Systems: TPS) • ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems: MIS) • ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Information System/Office Automation System: OIS/OAS) • ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems: DSS) • ระบบสนับสนุนผู้บริหารระดับสูง (Executive Support System: ESS) • ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System: ES)

  16. ชนิดของระบบสารสนเทศ ระบบประมวลผลรายการประจำวัน (Transaction Processing Systems: TPS) เป็นการประมวลผลข้อมูลทางธุรกิจประจำวันที่ข้องเกี่ยวกับการดำเนินงานประจำวันที่ต้องทำในธุรกิจ ในบางครั้ง ระบบประมวลผลรายการประจำวันนี้ อาจเรียกว่า ระบบปฏิบัติงาน (Operational Systems) ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems: MIS) นำมาใช้ร่วมกับระบบประมวลผลรายการประจำวัน เพื่อใช้จัดเก็บข้อมูลแทนระบบการจัดเก็บด้วยมือ ทำให้สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ในปริมาณมาก ค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ช่วยลดต้นทุนและส่งผลต่อทัศนคติที่ดีในด้านของการบริการแก่ลูกค้า

  17. ชนิดของระบบสารสนเทศ ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Information System/Office Automation System: OIS/OAS) เป็นระบบที่เพิ่มประสิทธิภาพงานด้านการจัดการสำนักงานและการสื่อสาร พนักงานในองค์กรสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการกับเอกสาร และข้อมูลต่าง ๆ โดยมีผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ มากมาย ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems: DSS) เป็นระบบสารสนเทศที่ตอบสนองความต้องการของระดับผู้บริหาร ด้วยการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลทางสถิติต่างๆ หรือการแสดงผลในรูปแบบของกราฟเปรียบเทียบ เพื่อใช้ประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้บริหาร

  18. ชนิดของระบบสารสนเทศ ระบบสนับสนุนผู้บริหารระดับสูง (Executive Support System: ESS) เป็นการตัดสินใจในระดับกลยุทธ์ และนโยบายของผู้บริหารระดับสูง ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System: ES) เป็นระบบที่รวบรวมความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในสาขาต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งจัดเป็นแขนงหนึ่งของระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในระดับสูงขึ้นโดยมีระบบสมองกลที่ชาญฉลาด

  19. การใช้สารสนเทศของผู้บริหารระดับต่าง ๆ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับด้วยกันคือ • ผู้บริหารระดับสูง เป็นระดับวางแผนระยะยาว ควบคุมนโยบาย รวมทั้งการวางแผนเชิงกลยุทธ์เพื่อไปสู่เป้าหมาย โดยส่วนใหญ่จะใช้สารสนเทศจากแหล่งภายนอก เพื่อนำมาวิเคราะห์หรือประเมินแนวโน้มสถานการณ์เศรษฐกิจของโลก • ผู้บริหารระดับกลาง เป็นระดับวางแผนระยะสั้น ด้วยการสั่งการเพื่อควบคุมจัดการตามข้อปฏิบัติเพื่อความสำเร็จตามเป้าหมายที่ผู้บริหารระดับสูงวางแผนไว้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะใช้สารสนเทศจากแหล่งภายในมากกว่า • ผู้บริหารระดับล่าง เป็นระดับปฏิบัติงาน ซึ่งถือเป็นเครื่องมือการทำงานของผู้บริหารระดับกลางและผู้บริหารระดับสูง มักเป็นเรื่องของภายในที่เน้นรายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานหรือการควบคุมการปฏิบัติงาน

  20. การใช้สารสนเทศของผู้บริหารระดับต่าง

  21. การใช้สารสนเทศของผู้บริหารระดับต่าง ๆ รูปแบบการตัดสินใจ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิดด้วยกัน • การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง (Structured Decision) เป็นการตัดสินใจด้วยการรู้ล่วงหน้าว่า เหตุการณ์นั้นจะต้องเกิดขึ้น • การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Decision) เป็นการตัดสินใจที่สามารถคาดเดาเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ แต่ก็ใช่ว่าจะสามารถระบุได้ชัดเจนลงไป • การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Decision) เป็นการตัดสินใจแบบที่ไม่สามารถคาดเดาเหตุการณ์ล่วงหน้าได้เลย

  22. คุณสมบัติของสารสนเทศที่ดีคุณสมบัติของสารสนเทศที่ดี • ตรงกับความต้องการ (Relevance) • ทันเวลาต่อการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ (Timeliness) • มีความเที่ยงตรง (Accurate) • ประหยัด (Economy) • มีประสิทธิภาพ

  23. ความสำคัญของสภาพแวดล้อมทางด้านธุรกิจในการพัฒนาระบบความสำคัญของสภาพแวดล้อมทางด้านธุรกิจในการพัฒนาระบบ • การเปลี่ยนแปลงของตลาด (Changing Marketplace) • ความสำคัญของคุณภาพ (Importance of Quality) • การให้ความห่วงใยเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม (Concern for the Environment) • การใช้คอมพิวเตอร์ของลูกค้า และผู้บริโภค (Consumer and Customer Computing) • การลดข้อจำกัด (Deregulation) • การข้ามเขตอุตสาหกรรม (Crossing Industry Boundaries) • กระบวนโลกาภิวัฒน์ (Globalization) • วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์และบริการที่สั้นลง (Shorter Product and service Development Cycles)

  24. ความสำคัญของสภาพแวดล้อมทางด้านธุรกิจในการพัฒนาระบบความสำคัญของสภาพแวดล้อมทางด้านธุรกิจในการพัฒนาระบบ 2. สภาพแวดล้อมในการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป (Changing Work Environment) • ความเจริญเติบโตของทีมงานธุรกิจ (Growth of Business Teams) • งานสารสนเทศที่คล่องตัวทุกเวลา และทุกสถานที่ (Anytime, Anyplace Information Work) • การจ้างดำเนินการและพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ (Outsourcing and Strategic Alliances) • การเพิ่มความห่วงใยเกี่ยวกับทุนมนุษย์ (A Growing Concern for Human “Capital”)

  25. ปัญหาของระบบสารสนเทศที่มีผลต่อองค์กรปัญหาของระบบสารสนเทศที่มีผลต่อองค์กร

  26. การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) การวิเคราะห์ระบบ เป็นการศึกษาถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบงานปัจจุบัน เพื่ออกแบบระบบการทำงานใหม่ การวิเคราะห์ระบบต้องการปรับปรุงและแก้ไขระบบงานเดิมให้มีทิศทางที่ดีขึ้น ระบบงานที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันเรียกว่า “ระบบปัจจุบัน” แต่หากต่อมาได้มีการพัฒนาระบบใหม่และมีการนำมาใช้งานทดแทนระบบงานเดิม จะเรียกระบบปัจจุบันที่เคยใช้นั้นว่า “ระบบเก่า”

  27. การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) การวิเคราะห์ระบบ เพื่อพัฒนาระบบใหม่ทดแทนระบบงานเดิม มีเหตุผลสำคัญดังนี้ • ปรับปรุงบริการแก่ลูกค้า • เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน • เพิ่มกระบวนการควบคุมการทำงาน • ลดต้นทุนการดำเนินการ • ต้องการสารสนเทศมากขึ้น การวิเคราะห์ระบบ ก็ใช่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบใหม่เสมอไป ซึ่ง นักวิเคราะห์ระบบจะต้องทำการศึกษาถึงความเป็นไปได้ และตัดสินใจเลือกแนวทางที่เหมาะสม โดยแนวทางในการจัดการดำเนินงานประกอบด้วย 3 แนวทางด้วยกัน คือ 1.ไม่ต้องดำเนินการใด ๆ 2.ปรับปรุงระบบเดิมให้ดีขึ้น 3.พัฒนาระบบใหม่

  28. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst: SA) นักวิเคราะห์ระบบ เป็นผู้ที่ประสานการติดต่อบุคคลต่าง ๆ เพื่อรวบรวมข้อมูล รวบรวมความต้องการในองค์กรที่ประสบกับปัญหาการดำเนินงานเพื่อทำการปรับปรุงหรือสร้างระบบใหม่ งานหลักคือการวางแผน (Planning), การวิเคราะห์ความต้องการ (Requirements Analysis) ด้านสารสนเทศและการประมวลผลของหน่วยงาน, การเขียนข้อกำหนดของระบบใหม่ว่าควรทำงานอย่างไร ต้องใช้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ใดที่เหมาะสม, การตรวจสอบพิจารณาเห็นสมควรที่จะนำระบบสารสนเทศมาใช้หรือไม่ หรือควรดำเนินการปรับปรุงระบบเดิมเท่านั้น นักวิเคราะห์ระบบจึงต้องวิเคราะห์ออกแบบระบบ เพื่อให้โปรแกรมเมอร์พัฒนาโปรแกรมตามระบบงานที่ได้ทำการวิเคราะห์ออกแบบไว้

  29. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst: SA) Management User Programmer System Analyst

  30. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst: SA) วิธีการทั่วไปสำหรับการแก้ไขปัญหาของตัวนักวิเคราะห์ระบบ จะประกอบไปด้วยขั้นตอนดังนี้ • ศึกษาวิจัย และทำความเข้าใจกับปัญหา • ตรวจสอบถึงประโยชน์ที่ได้จากการแก้ไขปัญหา และความคุ้มค่าต่อการลงทุน • กำหนดความต้องการสำหรับการแก้ไขปัญหา • สร้างโซลูชัน หรือแนวทางแก้ไขปัญหาหลายๆ แนวทาง • เลือกโซลูชันที่ดีและเหมาะสมที่สุด • กำหนดรายละเอียดของโซลูชันที่เลือก • นำโซลูชันนั้นไปใช้งาน • ตรวจสอบและติดตามผล เพื่อความมั่นใจว่าได้ผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์

  31. ลักษณะงานของนักวิเคราะห์ระบบลักษณะงานของนักวิเคราะห์ระบบ • วิเคราะห์ระบบเท่านั้น ในตำแหน่งนี้เรียกว่า Information Analysts • วิเคราะห์และออกแบบระบบ ในตำแหน่งนี้เรียกว่า System Designers หรือ Applications Developers • วิเคราะห์ ออกแบบและเขียนโปรแกรม ในตำแหน่งนี้เรียกว่า Programmer Analysts

  32. ความรู้และทักษะของนักวิเคราะห์ระบบความรู้และทักษะของนักวิเคราะห์ระบบ ทักษะ และความรู้ทางเทคนิค (Technical Knowledge and Skills) นักวิเคราะห์ระบบจำเป็นต้องมีความเข้าใจในสิ่งพื้นฐานต่อไปนี้ • เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ • อุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ • เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสาร • เทคโนโลยีฐานข้อมูล และระบบการจัดการฐานข้อมูล • ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับการโปรแกรม • โปรแกรมระบบปฏิบัติการและโปรแกรมยูทิลิตี้

  33. ความรู้และทักษะของนักวิเคราะห์ระบบความรู้และทักษะของนักวิเคราะห์ระบบ นอกจากนี้นักวิเคราะห์ระบบจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ และเทคนิคในการพัฒนาระบบ ประกอบด้วย • ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป เช่น โปรแกรม MS-Access PowerBuilder ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาระบบ รวมถึงการพัฒนาซอฟต์แวร์แนวใหม่ในรูปแบบของ Integrated Development Environments (IDEs) เช่น MS-Visual Studio.NET • เคสทูลส์ (CASE Tools) ที่ใช้สำหรับเป็นฐานข้อมูลซึ่งเป็นแหล่งรวมสารสนเทศของระบบที่พัฒนา ทำให้ทีมงานสามารถพัฒนาระบบไปในทิศทางเดียวกัน • โปรแกรมหรือเครื่องมือช่วยอื่น ๆ เช่น เครื่องมือในการทดสอบโปรแกรม, เครื่องมือการจัดการโครงการ เป็นต้น

  34. ความรู้และทักษะของนักวิเคราะห์ระบบความรู้และทักษะของนักวิเคราะห์ระบบ ทักษะและความรู้ทางธุรกิจ (Business Knowledge and Skills) • มีฟังก์ชันหน้าที่ทางธุรกิจอะไรบ้าง ที่ต้องปฏิบัติงานในหน่วยงานนั้น? • โครงสร้างองค์กรที่รูปแบบอย่างไร? • การจัดการองค์กรมีรูปแบบอย่างไร? • ชนิดหรือรูปแบบของระบบงานที่ใช้ในองค์กรคืออะไร?

  35. ความรู้และทักษะของนักวิเคราะห์ระบบความรู้และทักษะของนักวิเคราะห์ระบบ ทักษะและความรู้ทางธุรกิจ (Business Knowledge and Skills) นักวิเคราะห์ระบบนอกจากจะต้องมีทักษะความรู้ในระบบธุรกิจแล้วยังไม่เพียงพอ จะต้องศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรม และรูปแบบการดำเนินงานของตัวบริษัทที่จะเข้าไปพัฒนาระบบงาน เพื่อที่จะได้นำรายละเอียดนี้มาวิเคราะห์ • ระบุรายละเอียดที่ต้องทำในบริษัทว่ามีอะไรบ้าง • ต้องทำอะไร เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ • ใช้กลยุทธ์อะไรในการดำเนินงาน และวางแผน • มีข้อปฏิบัติอะไรบ้างที่ต้องดำเนินการ เพื่อมิให้ขัดต่อวัฒนธรรมในองค์กร

  36. ความรู้และทักษะของนักวิเคราะห์ระบบความรู้และทักษะของนักวิเคราะห์ระบบ ทักษะและความรู้ด้านคน และทีมงาน (People Knowledge and Skills) จำเป็นต้องมีความระมัดระวังและเข้าใจเกี่ยวกับบุคคลในด้านต่าง ๆ ดังนี้ • การคิด (Think) ความสามารถคาดการณ์ล่วงหน้า แต่ละคนจะมีพฤติกรรมในการโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์อย่างไร • การเรียนรู้ (Learn) อาจมีการจัดฝึกอบรม หรือการขอใช้ความช่วยเหลือ (Help) ที่บรรจุไว้ในโปรแกรม • ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลง (React to change) ต้องมีกระบวนการจัดการเปลี่ยนแปลงนี้เพื่อช่วยให้การทำงานเป็นไปในทิศทางที่ดี • การสื่อสาร (Communicate) กระตุ้นให้ผู้ใช้งานมีแรงจูงใจและมีทัศนคติที่ดีต่อระบบ • งาน (Work) หมายถึงงานต่าง ๆ ที่มีความหลากหลาย และมีระดับงานที่แตกต่างกัน นักวิเคราะห์ระบบจะต้องติดต่อเรื่องงานกับบุคคลหลาย ๆ ระดับด้วยกันในองค์กร ความซื่อสัตย์ และจรรยาบรรณในอาชีพ (Personal Integrity and Ethics)

  37. ความรู้และทักษะของนักวิเคราะห์ระบบความรู้และทักษะของนักวิเคราะห์ระบบ

  38. ความรู้และทักษะของนักวิเคราะห์ระบบความรู้และทักษะของนักวิเคราะห์ระบบ

  39. คำถามท้ายบท • จงยกตัวอย่างระบบการทำงานมาสองตัวอย่าง ที่มีการทำงานใดบ้างที่ทำงานเป็นระบบ • สิ่งแวดล้อมภายนอก มีบทบาทสำคัญต่อระบบธุรกิจอย่างไร • การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง กึ่งโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้างมีความแตกต่างกันอย่างไร และการตัดสินใจของแต่ละวิธีเหมาะกับผู้บริหารระดับใด • จงบอกความแตกต่างระหว่างคำว่า การวิเคราะห์ระบบ และนักวิเคราะห์ระบบ • “ทำไมต้องวิเคราะห์ระบบให้ยุ่งยากด้วย...เขียนโปรแกรมใช้งานได้ทันทีก็ได้นี่!” จากคำกล่าวข้างต้น นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไร และเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยอย่างไร • สารสนเทศที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร

  40. The End

More Related