1 / 3

จดหมายข่าว KM สำนักวิชาการ สว. รวมใจ สานสายใย เรียนรู้ร่วมกัน

จดหมายข่าว KM สำนักวิชาการ. สว. รวมใจ สานสายใย เรียนรู้ร่วมกัน. ปีที่ 3 ฉบับที่ 5 เดือนมิถุนายน 2551. จดหมายข่าว KM สำนักวิชาการ สว. รวมใจ สานสายใย เรียนรู้ร่วมกัน. กระทรวงวัฒนธรรมเชิดชูเกียรติ “ส.พลายน้อย – อาจิณ – นภาลัย” ครูกวีศรีสุนทร

Download Presentation

จดหมายข่าว KM สำนักวิชาการ สว. รวมใจ สานสายใย เรียนรู้ร่วมกัน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. จดหมายข่าว KM สำนักวิชาการ สว. รวมใจ สานสายใย เรียนรู้ร่วมกัน ปีที่ 3 ฉบับที่ 5 เดือนมิถุนายน 2551 จดหมายข่าว KM สำนักวิชาการ สว. รวมใจ สานสายใย เรียนรู้ร่วมกัน กระทรวงวัฒนธรรมเชิดชูเกียรติ “ส.พลายน้อย – อาจิณ – นภาลัย” ครูกวีศรีสุนทร สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ(สวช.) กระทรวงวัฒนธรรม จัดทำโครงการเชิดชูกวีศรีสุนทร เนื่องในวันสุนทรภู่ 26 มิถุนายน โดยจัดทำการคัดเลือกบุคคลที่อนุรักษ์ภาษาและวรรณกรรมไทย เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติของบุคคลเหล่านี้ให้เป็นตัวอย่างแก่สังคม ซึ่งในปี 2551 ผู้ที่ได้รับรางวัล ได้แก่ นายสมบัติ พลายน้อยหรือ ส.พลายน้อย นายอาจิณ จันทรัมพร และรองศาสตราจารย์นภาลัย สุวรรณธาดา ผู้ที่ได้รับรางวัลครูกวีศรีสุนทรประจำปี 2551 ขึ้นรับมอบโล่ในวันที่ 26 มิถุนายน 2551 ที่หอประชุมเล็กศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นประธานในการมอบรางวัลดังกล่าว สำหรับประวัติของ นายสมบัติ พลายน้อยหรือ ส.พลายน้อย เป็นนักเขียนหนังสือประเภทสารคดี นิทาน เชิงประวัติศาสตร์ บุคคล และปกิณกะอื่นๆ นายอาจิณ จันทรัมพร เป็นนักเขียนรางวัลนราธิป ปี 2550และช่อการะเกดเกียรติยศประจำปี 2550 รองศาสตราจารย์นภาลัย สุวรรณธาดา อดีตอาจารย์ประจำสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช มีผลงานทางวิชาการ การใช้ภาษา การเขียนบทความและบทกวี ใต้ฟ้าเดียวกัน

  2. 30ปี สำนักวิชาการ • รู้จักสำนักวิชาการ ตอนที่ 1 • เนื่องในโอกาสที่มหาวิทยาลัยจัดงานเฉลิมฉลองครบรอบ 30 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัย สำนักวิชาการก็มีอายุไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน เพื่อนๆ น้องๆที่ปฏิบัติงานในสำนักวิชาการ บางท่านอาจไม่ทราบว่ากว่าจะเป็นสำนักวิชาการ ณ วันนี้ เรามีความเป็นมาอย่างไร วันนี้เรามารู้จักสำนักวิชาการด้วยกันนะคะ • สำนักวิชาการ เป็นหน่วยงานระดับกองที่ก่อตั้งขึ้นพร้อมกับมหาวิทยาลัยตามพระราชกฎษฏีกาการจัดตั้งสำนักงานอธิการบดีและสำนัก พ.ศ.2522 โดยมีหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นในคราวเดียวกันอีก 4 สำนักได้แก่สำนักงานอธิการบดี สำนักเทคโนโลยีการศึกษา สำนักบริการการศึกษา และสำนักทะเบียนและวัดผล โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.นิคม ทาแดง เป็นผู้อำนวยการสำนักวิชาการคนแรก • ในระยะเริ่มต้นมหาวิทยาลัยไม่มีอาคารที่ทำการเป็นของตนเอง สำนักวิชาการจึงได้รับความเอื้อเฟื้อให้ใช้ • ห้องๆหนึ่งในอาคารของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ เป็นห้องทำงาน และ ได้ย้ายไปอยู่ที่ตึกบริษัท • เดินอากาศไทย จำกัด ถนนหลานหลวง ต่อมา เมื่อมีบุคลากรเพิ่มมากขึ้นทำให้สถานที่คับแคบไม่เพียงพอสำหรับการ • ทำงาน สำนักวิชาการจึงย้ายไปทำงานที่ ณ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประมาณปลายปี พ.ศ.2522 จึง • ได้ย้ายไปที่อาคารทบวงมหาวิทยาลัยและอาคารสิริภิญโญที่สี่แยกพญาไท ในนาม มสธ.3 หรือที่คุ้นกันในนาม “ตึกกุ๊ก” • เนื่องจากมีป้ายโฆษณารูปขวดน้ำมันพืชกุ๊กอยู่บริเวณหลังคาของอาคารและเลขานุการสำนักวิชาการบางส่วนอยู่ที่โรงแรมเอเชีย • ต่อมาเมื่อมหาวิทยาลัยได้ก่อสร้างอาคารที่ทำการถาวรในระยะเริ่มแรก ประกอบด้วยอาคารบริหาร • อาคารบริการ 1,2 และอาคารวิชาการ 1,2 สำนักวิชาการจึงได้ย้ายมาทำการ ณ อาคารวิชาการ 1 ชั้น 2 • จนกระทั่งการก่อสร้างอาคารวิชาการ 3 แล้วเสร็จ จึงได้มาอยู่ ณ ที่ทำการชั้น 2 ปัจจุบัน การอบรมอาจารย์ภาษาจีนระดับอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ส.ก.อ) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง และ Hanbanจัดโครงการอบรมอาจารย์ภาษาจีนระดับอุดมศึกษา ณ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 17-30 พฤษภาคม 2551 ที่ผ่านมา ซึ่งมีอาจารย์และนักวิชาการด้านภาษาจีนจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศเข้าร่วมอบรมประมาณ 30 คน โดย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้อนุมัติให้ นางสาวปิยะดา อุกะโชค นักวิชาการศึกษาประจำโครงการสัมฤทธิบัตรภาษาจีนพื้นฐานเพื่อการสื่อสาร เข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ด้วย ในช่วงแรกมีการอบรมโดย ส.ก.อ ร่วมกับ สถาบันขงจื้อ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเวลา 5 วัน ตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน - 2 พฤษภาคม 2551 จากนั้นจึงได้คัดเลือกผู้เข้าอบรม ไปศึกษาเพิ่มเติม ณ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง ซึ่งผู้เข้าอบรมมีโอกาสได้ร่วมชั้นเรียน (sit in)กับนักศึกษาต่างชาติที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง ในวิชาต่าง ๆ ที่เปิดสอน เช่น วิชาตัวอักษรจีน การออกเสียงภาษาจีน ภาษาจีนจากภาพยนตร์ ภาษาจีนเบื้องต้น ภาษาจีนระดับกลาง สนทนาภาษาจีนระดับสูง เป็นต้น รวมทั้งยังได้ฟังบรรยายเกี่ยวกับวิวัฒนาการภาษาจีนและวัฒนธรรมจีนอีกด้วย ซึ่งคณาจารย์ที่มาให้ความรู้แก่คณะผู้อบรมในครั้งนี้ล้วนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสอนภาษาจีนเป็นภาษาต่างประเทศ ประจำมหาวิทยาลัยปักกิ่งทั้งสิ้น ปัจจุบัน สาขาภาษาต่างประเทศ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง มี 8 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาภาษาอังกฤษ ภาควิชาภาษาและวัฒนธรรมตะวันออก ภาควิชาภาษารัสเซีย ภาควิชาภาษาสเปนและโปรตุเกส ภาควิชาภาษาเยอรมัน ภาควิชาภาษาฝรั่งเศส ภาควิชาภาษาและวัฒนธรรมอารบิก และภาควิชาภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมี ศูนย์วรรณคดีตะวันออกศึกษา และสถาบันวรรณคดีโลกอีกด้วย นอกจากจะได้ศึกษาแนวทางการสอนภาษาจีนในวิชาต่าง ๆ และวัฒนธรรมจีนแล้ว ผู้เข้าอบรมยังสามารถนำความรู้จากการฝึกอบรมครั้งนี้มาปรับใช้กับการทำงานในหน่วยงานของตนได้อีกด้วย

  3. สาระน่ารู้เกี่ยวกับ e - Learning สาระน่ารู้เกี่ยวกับ e - Learning เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2551 บุคลากรฝ่ายพัฒนาหลักสูตรและการสอนจำนวน 10 คน ได้ไปศึกษาดูงาน การบริหารจัดการหลักสูตรการเรียนการสอนแบบ e – Learning ณ มหาวิทยาลัย อัสสัมชัญ วิทยาเขตสุวรรณภูมิ พวกเราโชคดีอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน นายกสมาคมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่กรุณาต้อนรับ บรรยาย และนำชมสถานที่อย่างเป็นกันเอง บรรยากาศการดูงานครึกครื้นสนุกสนานและได้รับความรู้อย่างมาก จนอดไม่ได้ที่จะนำมาเล่าสู่กันฟัง แต่เนื่องจากพื้นที่จำกัดจึงขอนำเสนอแต่พอสังเขป ท่านใดสนใจ โปรดติดตามรับฟังจากศาสตราจารย์ ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน เพิ่มเติมในการประชุมสัมมนาเรื่อง “นวัตกรรมแบบหลักสูตรระดับอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาสังคม” ซึ่งฝ่ายพัฒนาหลักสูตรและการสอนจะจัดขึ้นเพื่อเป็นบริการทางวิชาการแก่สังคม ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2551 ณ ห้องประชุมสามศร อาคารอเนกนิทัศน์ สำหรับสาระน่ารู้เกี่ยวกับ e – Learning หรือ Online Learning มีดังนี้ ความหมาย • อีเลิร์นนิ่ง หมายถึง การเรียนโดยการนำเสนอเอกสารทางคอมพิวเตอร์ โดยผ่านอินทราเน็ตหรืออินเทอร์เน็ต(ข้อมูลจากเว็บมหาวิทยาลัยนิวออร์ลีนส์ www.alt.uno.glossary.html) • อีเลิร์นนิ่ง หมายถึง ประสบการณ์หรือสภาพแวดล้อมในการเรียนที่อาศัยอินเทอร์เน็ตหรือเว็บเป็นวิธีนำเสนอและสื่อสารหลัก(ข้อมูลจากเว็บ อินเทเลรา www.intelera.com.glossary.html) โดยสรุป การเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิ่งหรือแบบออนไลน์ มีสัดส่วนของเนื้อหาที่นำเสนอ ทางออนไลน์หรืออินเทอร์เน็ต 80 -100 % และโดยทั่วไปไม่มีการเรียนการสอนแบบเผชิญหน้า หรือในห้องเรียน องค์ประกอบของระบบอีเลิร์นนิ่ง 1. เนื้อหาของบทเรียน ( Content หรือ Courseware) 2. ระบบบริหารการเรียน (LMS = Learning Management System ) 3. การติดต่อสื่อสาร อาจแบ่งเป็น 2 แบบ - แบบทันทีทันใด ( Real – Time หรือ Synchronomous เช่น Teleconference เป็นต้น - แบบไม่ทันทีทันใด (Non Real – Time หรือ Asynchronous) เช่น กระดานข่าว ( Web board ) อีเมล์ เป็นต้น 4. การสอบ / วัดผลการเรียน 5. ข้อมูลบุคลากร (Portfolio) 6. ทรัพยากรเสริม (Additional Resources) ในประเทศไทยมีระเบียบ/ประกาศที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรและการเรียนการสอน แบบอีเลิร์นนิ่ง คือ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องหลักเกณฑ์การขอเปิดและดำเนินการ หลักสูตรระดับปริญญาในระบบการศึกษาทางไกล พ.ศ. 2548 จดหมายข่าว KM สำนักวิชาการ สว. รวมใจ สานสายใย เรียนรู้ร่วมกัน ขอเชิญชาว สว ส่งข่าวสารความรู้เผยแพร่ในจดหมายข่าว KM ได้ที่ผู้แทนสำนักงานเลขานุการ () โทร 7512 จัดทำจดหมายข่าว โดย นางธนันช์พร นาราศรี หัวหน้าฝ่ายพัฒนาหลักสูตรและการสอน หัวหน้าฝ่ายพัฒนาคณาจารย์ และหัวหน้าฝ่ายตำรา : บรรณาธิการ

More Related