1 / 77

โรคติดต่ออุบัติใหม่ที่น่า..จับตามอง (ปี 2556)

โรคติดต่ออุบัติใหม่ที่น่า..จับตามอง (ปี 2556). หัวข้อการนำเสนอ. ความหมาย ความสำคัญ ผลกระทบ และความ เสี่ยง ของ โรคติดต่ออุบัติ ใหม่ของโลก/ประเทศไทย โรคติดต่ออุบัติใหม่ที่น่าจับตามอง ปี 2556 โรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 ( Avain Influenza H7N9 )

nalani
Download Presentation

โรคติดต่ออุบัติใหม่ที่น่า..จับตามอง (ปี 2556)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โรคติดต่ออุบัติใหม่ที่น่า..จับตามอง (ปี 2556)

  2. หัวข้อการนำเสนอ • ความหมาย ความสำคัญ ผลกระทบ และความเสี่ยงของ โรคติดต่ออุบัติใหม่ของโลก/ประเทศไทย • โรคติดต่ออุบัติใหม่ที่น่าจับตามอง ปี 2556 • โรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 (Avain Influenza H7N9) • โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2012(Novel Coronavirus) • โรคไข้กาฬหลังแอ่น(Meningococcal Meningitis) • โรคไข้เหลือง (Yellow Fever) • การเตรียมความพร้อมรับมือ • สรุป

  3. ความหมายของโรคติดต่ออุบัติใหม่ • โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อใหม่ (New infectious diseases) • โรคติดต่อที่พบในพื้นที่ใหม่ (New geographical areas) • โรคติดต่ออุบัติซ้ำ (Re-emerging infectious diseases) • เชื้อโรคดื้อยา (Antimicrobial resistant organisms) • อาวุธชีวภาพ (Deliberate use of bio-weapons)

  4. ความสำคัญของโรคติดต่ออุบัติใหม่ ผลการศึกษาในรอบกว่า 50 ปีที่ผ่านมา พบว่า ทั่วโลก จะมีโรคติดต่ออุบัติใหม่เกิดขึ้นใหม่ ทุกปี >70% are zoonotic, % increasing Many are of transboundary in nature มีผลกระทบรุนแรงหลายด้าน การป้องกันควบคุมโรค ที่ยุ่งยากซับซ้อน ความสำคัญและมีผลกระทบต่อทั่วโลกและระหว่างประเทศ

  5. ผลกระทบทางเศรษฐกิจของโรคติดต่ออุบัติใหม่ ซาร์ส China, Hong Kong, Singapore, Canada $30-50bn $50bn $40bn $30bn มือ เท้า ปาก UK $25–30bn ประมาณการราคา/ต้นทุน $20bn ไข้หวัดใหญ่ในสุกร, Netherlands $2.3bn วัวบ้า Japan $1.5bn ไข้หวัดนก Asia, $5–10bn $10bn วัวบ้าUK, $10-13bn มือ เท้า ปาก Taiwan, $5-8bn วัวบ้าCanada $1.5bn ไข้หวัดนก, Italy $400m วัวบ้าU.S., $3.5bn นิปาห์, Malaysia $350-400m ไข้หวัดนก, NL $500m 2004 2006 2003 2005 1996 1997 1998 1999 2000 2001 2002 1994 1995 ไข้หวัดนก $$$$$ Figures are estimates and are presented as relative size.

  6. ผลกระทบทางเศรษฐกิจของโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 • ความสูญเสียทางเศรษฐกิจทั่วโลก • 2 ล้าน ล้าน • เหรียญสหรัฐ

  7. ผลกระทบด้านการเดินทางและท่องเที่ยว (จากการระบาดของโรคซาร์ส ปี 2003) สนามบิน ของไทย..ติดขัด...Delay สนามบิน..ร้าง..ที่ฮ่องกง

  8. ประเทศไทยควรสนใจโรคใดบ้างประเทศไทยควรสนใจโรคใดบ้าง • การเดินทาง ท่องเที่ยว • ธุรกิจ การค้าขาย • การรุกพื้นที่ป่า ขยายพื้นที่เกษตรกรรม • การอพยพย้ายถิ่น • การบริโภคสัตว์ป่า นำเข้าสัตว์ต่างถิ่น • อื่นๆ โรคติดต่อที่มีอยู่ โรคใดจะเพิ่ม/ลด ปัจจัย เสริมอื่นๆ ภาวะ โลกร้อน โรคติดต่ออุบัติใหม่ โรคใดจะเกิด สภาวะเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม

  9. ที่มา : กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ

  10. ผลกระทบจากการเปิดการค้าเสรีเมื่อเข้าสู่...ประชาคมอาเซียนผลกระทบจากการเปิดการค้าเสรีเมื่อเข้าสู่...ประชาคมอาเซียน แรงงานข้ามชาติเข้ามามากขึ้น มีการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของกลุ่มประชากรมนุษย์ สัตว์ พืช อาหาร และสินค้า

  11. ตัวอย่างปัญหาด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นตัวอย่างปัญหาด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น • การแพร่ระบาดมากขึ้นของโรคติดต่อ เช่น เอดส์ วัณโรค มาลาเรีย เท้าช้าง ไข้เลือดออก และอหิวาต์ • เกิดโรคติดต่ออุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ และโรคที่ถูกกำจัดให้หมดไปจากประเทศไทยแล้ว เช่น กาฬโรค โปลิโอ รวมทั้ง ปัญหาเชื้อดื้อยามากขึ้น • การป้องกัน ควบคุมโรคมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น

  12. โรคติดต่อที่มีอยู่ โรคใดจะเพิ่ม/ลด โรคติดต่ออุบัติใหม่ โรคใดจะเกิด • มาลาเรีย • ไข้เลือดออก • ไข้ปวดข้อยุงลาย (chik.) • ไข้สมองอักเสบ • โรคเท้าช้าง • วัณโรค • ไข้รากสาด • ไข้รากสาดน้อย และไข้รากสาดเทียม • อาหารเป็นพิษ • อุจจาระร่วง จากเชื้อต่างๆ • โรคฉี่หนู (leptospirosis) • โรคติดต่อ อื่นๆ • ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ • ไข้สมองอักเสบ นิปาห์ • HFMD (EV71) • ไข้หวัดนก • โรคซารส์ • กาฬโรค • ลิชมาเนีย • อาวุธชีวภาพ • วัณโรคดื้อยา • เชื้อแบคทีเรียดื้อยา • ไข้สมองอักเสบเวสต์ไนล์ • โรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ อื่นๆ

  13. หัวข้อการนำเสนอ • โรคติดต่ออุบัติใหม่ที่น่าจับตามอง (ปี 2556) • โรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 (Avian Influenza H7N9) • โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2012 (Novel Coronavirus) • โรคไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal Meningitis) • โรคไข้เหลือง (Yellow Fever)

  14. โรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9

  15. สถานการณ์ปัจจุบันโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 • ข้อมูล ณ วันที่ 17 พฤษภาคม 2556 องค์การอนามัยโลก รายงานพบผู้ป่วยยืนยัน ทั้งสิ้น • พบผู้ป่วยใน 11 พื้นที่ ได้แก่ ฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) เจียงซี หูหนาน เซี่ยงไฮ้ เจียงซู เจ้อเจียง อันฮุย เหอหนาน ปักกิ่ง ซานตง และไต้หวัน • ยังไม่พบหลักฐานว่ามีการติดต่อจากคนสู่คน(ได้อย่างต่อเนื่อง และ ในวงกว้าง) • อาจมีการติดต่อจากคนสู่คนในวงจำกัด เช่น ในครอบครัว จำนวน 131 ราย เสียชีวิต 36 ราย (อัตราป่วยตาย = 27%)

  16. Current map of confirmed H7N9 infections

  17. สถานการณ์ปัจจุบันโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 • ประเทศไทย :ยังไม่มีรายงานการตรวจพบโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 ทั้งในคนและในสัตว์ นกธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม • ข้อมูลจาก OIE :ตรวจพบเชื้อในสัตว์ (เป็ด ไก่ นกพิราบ) จาก จากมณฑลเจียงซู มณฑลเจ้อเจียง มณฑลอันฮุย มณฑลเซี่ยงไฮ้ มณฑลเหอหนาน มณฑลซานตง มณฑลเจียงซี และมณฑลกวางตุ้ง

  18. องค์ความรู้โรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 เชื้อสาเหตุ : • เชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 ซึ่งจัดอยู่ในวงศ์ Orthomyxoviridaeในสกุลของเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิด เอ โดยเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิด เอ มีรูปทรงกลม • พบการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิด เอ ได้ใน คน นก สุกร ม้า และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด โดยไข้หวัดใหญ่ชนิด เอ ที่พบว่าติดเชื้อในคนได้บ่อย ได้แก่ สายพันธุ์ H5N1, H9N2, H7N7, H7N2, H7N3 • เชื้อไข้หวัดนกโดยปกติจะไม่ทนความร้อน และเชื้อจะตายที่อุณหภูมิ 650 C৹นาน 30 นาที หรือต้มในน้ำเดือดนาน 2 นาที *

  19. ระบาดวิทยาของโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 ระบาดวิทยา : • แหล่งของการแพร่เชื้อ อาจจะมาจากสัตว์ปีกที่ติดเชื้อ และจนถึงวันที่ 11เมษายน 2556 ยังไม่พบหลักฐานการแพร่ติดต่อของเชื้อจากคนสู่คนแต่อย่างใด • วิธีการแพร่ติดต่อของเชื้อ สามารถแพร่ติดต่อผ่านระบบทางเดินหายใจ, จากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งหรือของเสียจากสัตว์ปีก หรือการสัมผัสกับเชื้อไวรัสโดยตรง • ประชากรกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ บุคคลที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่และมีประวัติการสัมผัสสัตว์ปีกภายใน 1 สัปดาห์ก่อนเริ่มมีอาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่มีประวัติทำงานเกี่ยวข้องกับสัตว์ปีก ได้แก่ ให้อาหาร ขนส่ง ขาย ฆ่า หรือดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับสัตว์ปีก จะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 ได้

  20. ระบาดวิทยาของโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 (ต่อ) ระยะฟักตัว : ระยะฟักตัวของเชื้อ ภายในระยะเวลา 7 วัน อาการและอาการแสดงทางคลินิก • ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ มีไข้ ไอ (มีหรือไม่มีเสมหะร่วมด้วยก็ได้) ร่วมกับอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย • ผู้ป่วยอาจพัฒนาไปจนมีอาการรุนแรงอย่างรวดเร็ว โดยมี*อาการปอดอักเสบรุนแรงเกิดขึ้นภายใน 5 -7 วัน

  21. ระบาดวิทยาของโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 (ต่อ) การพยากรณ์โรค:พบว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อและมีอาการรุนแรง มีแนวโน้มที่จะมีผลการรักษาที่ไม่ดี ทั้งนี้ ขึ้นกับอายุโรคประจำตัวของผู้ป่วย และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นด้วย การรักษา: • ผู้ป่วยสงสัยและผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อควรมีการแยกผู้ป่วย (Isolation)และมีการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหาร • ใช้การรักษาแบบประคับประคองตามอาการ เช่น การให้ออกซิเจน การให้ยาลดไขการให้ยาลดอาการไอเมื่อมีข้อบ่งชี้ รวมถึงให้ยาปฏิชีวนะเมื่อมีหลักฐานบ่งชี้ว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนเท่านั้น • การให้ยาต้านไวรัสโดยให้หลังจากมีการเก็บตัวอย่างในระบบทางเดินหายใจ(เพื่อตรวจยืนยัน) ควรให้ยาต้านไวรัสภายใน 48 ชั่วโมงหลังจากเริ่มมีอาการ

  22. การประเมินความเสี่ยงและคำแนะนำของ WHO • ในปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานชัดเจน ว่ามีการติดต่อจากคนสู่คนเป็นวงกว้าง • อาจมีการติดต่อจากคนสู่คนในวงจำกัด ในกลุ่มผู้สัมผัสใกล้ชิด เช่น บุคคลในครอบครัวเดียวกัน • ยังไม่มีข้อมูลการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสไปยังประเทศอื่นๆ • มีความเป็นไปได้ที่จะมีผู้ติดเชื้อ (ทั้งที่มีอาการหรือไม่มีอาการ) เดินทางไปยังประเทศต่างๆ ได้ • ไม่แนะนำให้ดำเนินการตรวจคัดกรองพิเศษที่ช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ • ไม่แนะนำให้จำกัดการเดินทางหรือการค้าระหว่างประเทศแต่อย่างใด • ในภูมิภาคเอเชีย มีโอกาสจะได้รับเชื้อไข้หวัดนก (H7N9) (ความเสี่ยงมากกว่าภูมิภาคอื่นที่อยู่ห่างไกลกว่า)

  23. เฝ้าระวังและควบคุมโรค ดูแล รักษาผู้ป่วย ชันสูตรทาง ห้องปฏิบัติการ สุขศึกษา ประชาสัมพันธ์ มาตรการ ป้องกันและควบคุม ไข้หวัดนกในคน

  24. มาตรการที่ดำเนินการจากข้อแนะนำที่ประชุม National Expert Committee ภายใต้แผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อมป้องกัน แก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ • การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาและฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข • เฝ้าระวังใน 4 กลุ่มเป้าหมายเดิม คือ - ผู้ที่มีการติดเชื้อทางเดินหายใจรุนแรง - ผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศและมีอาการปอดบวม - ผู้ป่วยปอดบวมที่พบเป็นกลุ่ม ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปในชุมชน - บุคลากรทางการแพทย์ที่ป่วยเป็นปอดบวม • ให้มีการฝึกอบรมแพทย์ในระดับจังหวัดให้ทราบแนวทางการเฝ้าระวัง แนวทางการรักษาพยาบาลโรคไข้หวัดนก และการป้องกันการติดเชื้อในสถานพยาบาล • การเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติการ • เตรียมความพร้อมสำหรับการตรวจทางห้องปฏิบัติการในการตรวจจับ H7N9 ทั้งใน ส่วนของกระทรวงสาธารณสุข และภาคมหาวิทยาลัย

  25. มาตรการที่ดำเนินการ. จากที่ประชุม National Expert Committee ภายใต้แผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อมป้องกัน แก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ • การดูแลรักษาพยาบาล • ใช้แนวทางของการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ และการป้องกันการติดเชื้อแบบมาตรฐานของไข้หวัดนก • การสื่อสารความเสี่ยงของประเทศไทย • เพิ่มระดับการสื่อสารความเสี่ยง เช่น โอกาสการระบาด การรักษาพฤติกรรมสุขภาพที่ดี เช่น ล้างมือ ผู้ป่วยสวมหน้ากากอนามัย และหยุดพักอยู่บ้าน จากข้อมูลวิชาการ พบว่า การติดเชื้อ H7N9 ในสัตว์ พบว่ามีสัตว์จำนวนหนึ่งไม่มีอาการ ไม่ป่วย ไม่ตาย (เพิ่มการสื่อสารความเสี่ยง หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ และล้างมือหลังสัมผัสสัตว์ ไม่นำสัตว์ป่วยตายผิดปกติ มาขายและรับประทาน)

  26. มาตรการที่ดำเนินการ. จากที่ประชุม National Expert Committee ภายใต้แผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อมป้องกัน แก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ • การเตรียมความพร้อมของยาต้านไวรัสและวัสดุอุปกรณ์ป้องกันร่างกาย วัคซีน • เตรียมคลังยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์และควรสำรองยาต้านไวรัสในรูปแบบยาฉีด • เตรียมความพร้อมด้านการพัฒนาวัคซีน H7N9 ของไทย • การคัดกรองบริเวณช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ • ปฏิบัติตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก คือ ขณะนี้ไม่มีการจำกัดการเดินทาง หรือการคัดกรองใดเป็นพิเศษ บริเวณช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ

  27. คำแนะนำสำหรับประชาชน • รับประทานเนื้อไก่และไข่ที่ปรุงสุก • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ปีกที่มีอาการป่วยหรือตาย โดยเฉพาะเด็ก • ห้ามนำซากสัตว์ปีกที่ป่วยตายไปรับประทานหรือให้สัตว์อื่นกิน ต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์หรือเจ้าหน้าที่สาธาณณสุข • หากต้องสัมผัสกับสัตว์ปีกในระยะที่มีการระบาดในพื้นที่ ให้สวมหน้ากากอนามัย และสวมถุงมือ • ล้างมือบ่อยๆ และทุกครั้งหลังการสัมผัสสัตว์ปีกและสิ่งคัดหลั่งของสัตว์ปีก ด้วยสบู่และน้ำ

  28. คำแนะนำสำหรับประชาชน (ต่อ) • การเดินทางระหว่างประเทศยังสามารถเดินทางได้ตามปกติ ไม่จำเป็นต้องจำกัดการเดินทาง • ผู้ที่จะเดินทางไปต่างประเทศ ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ปีก รวมทั้งนกธรรมชาติ • หากมีอาการเป็นไข้ ไอ ปวดเมื่อยตามร่างกาย และเคยสัมผัสสัตว์ปีก หรือผู้ป่วยปอดบวม ให้รีบไปพบแพทย์พร้อมแจ้งประวัติสัมผัสโรค หรือแจ้งประวัติการเดินทาง

  29. คำถาม-คำตอบ -- เชื้อไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 เหมือนกับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 และ H5N1 หรือไม่? คําตอบ เชื้อไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 แตกต่างจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 และ H5N1 เนื่องจากเป็นคนละสายพันธุ์กัน แม้ว่าจะเป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิดเอเหมือนกัน โดยเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 อาจจําแนกได้เป็นชนิดที่ปกติจะติดเชื้อในคน หรือชนิดที่ปกติจะติดเชื้อในสัตว์ส่วนเชื้อไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 และ H5N1 ส่วนใหญ่เป็นเชื้อไวรัสที่ติดเชื้อในสัตว์แต่บางครั้งก็ติดเชื้อในคนได้

  30. คำถาม-คำตอบ -- เชื้อไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้หรือไม่? คําตอบ จากจํานวนผู้ป่วยยืนยันที่มีจํานวนจํากัดในขณะนี้จึงยังคงไม่แน่ชัดว่าเชื้อไวรัสนี้ติดต่อมาจากนกได้อย่างไร รวมทั้งยังไม่พบความเชื่อมโยงทางระบาดวิทยาระหว่างผู้ป่วยซึ่งการสอบสวนโรคยังคงดําเนินการอย่างต่อเนื่องแต่จนถึงขณะนี้ยังไม่พบการติดเชื้อจากการตรวจเลือดผู้สัมผัสอย่างไรก็ตามยังไม่สามารถตัดความเป็นไปได้ของการติดต่อระหว่างคนสู่คนออกได้จนกว่าจะมีความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับลักษณะของเชื้อไวรัส และผลจากการสอบสวนโรค

  31. คำถาม-คำตอบ -- มีวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 หรือไม่? คําตอบขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 อย่างไรก็ตามมีการแยกเชื้อไวรัสได้จากผู้ป่วยยืนยันรายแรกๆโดยขั้นตอนแรกในการพัฒนาวัคซีน ได้แก่การคัดเลือกเชื้อไวรัสที่จะนําไปพัฒนาวัคซีน ซึ่งองค์การอนามัยโลกร่วมกับหน่วยงานต่างๆจะดําเนินการคัดเลือกเชื้อไวรัสอันจะนําไปใช้ในการผลิตวัคซีนต่อไป หากจําเป็น

  32. คำถาม-คำตอบ -- เชื้อไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 จะทําให้เกิดการระบาดใหญ่ได้หรือไม่? คําตอบตามหลักทฤษฎีแล้วเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่พบในสัตว์สายพันธุ์ใดก็ตาม ที่สามารถพัฒนาศักยภาพมาจนติดเชื้อในคนได้จะสามารถทําให้เกิดการระบาดใหญ่ได้อย่างไรก็ตามยังไม่ทราบแน่ชัดว่าศักยภาพของเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 จะสามารถทําให้เกิดการระบาดใหญ่ได้หรือไม่ เนื่องจากเคยพบเชื้อไข้หวัดใหญ่ในสัตว์หลายสายพันธุ์ซึ่งบางครั้งพบการติดเชื้อในคนได้แต่ก็ไม่ทําให้เกิดการระบาดใหญ

  33. คำถาม-คำตอบ -- จะปลอดภัยหรือไม่ที่จะไปเที่ยวตลาดสดและฟาร์มปศุสัตว์ในพื้นที่ที่มีรายงานผู้ติดเชื้อในคน? คําตอบ เมื่อไปเที่ยวตลาดสดควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ที่มีชีวิตหรือพื้นผิวที่สัมผัสกับสัตว์สําหรับฟาร์มปศุสัตว์เช่น ฟาร์มสุกร หรือ ฟาร์มสัตว์ปีกควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ที่ป่วยหรือตายโดยเฉพาะเด็ก หากพบสัตว์ป่วยหรือตายไม่ควรนํามาประกอบอาหารและควรรายงานต่อทางการทันที -- การเดินทางไปยังประเทศจีนจะปลอดภัยหรือไม่? คําตอบ เนื่องจากจํานวนผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 ในขณะนี้ยังค่อนข้างน้อย องค์การอนามัยโลกจึงไม่แนะนําให้จํากัดการเดินทางหรือการค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งผู้เดินทางที่จะไปยังประเทศจีนหรือบุคคลที่จะเดินทางออกจากประเทศจีนแต่อย่างใด

  34. บทสรุปและความคืบหน้าเกี่ยวกับการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2012(ณ วันที่ 17 พฤษภาคม 2556) • โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2012 น่าจะมีแหล่งกำเนิดมาจากสัตว์และติดต่อมาสู่คนแบบประปราย ซึ่งยังไม่ทราบช่องทางการแพร่การติดต่อของโรคที่ชัดเจน • การติดต่อระหว่างคนสู่คนพบในสถานพยาบาลและการสัมผัสใกล้ชิดในครอบครัว แต่ยังไม่พบการแพร่ติดต่อในชุมชน • ผู้ป่วยที่พบอย่างต่อเนื่อง* ทำให้เพิ่มความกังวลถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการแพร่ติดต่อในชุมชน และอยู่ระหว่างการสอบสวนโรค • จากกรณีการติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุขที่สัมผัสกับผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องเข้มงวดตามมาตรการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล

  35. บทสรุปและความคืบหน้าเกี่ยวกับการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2012(ณ วันที่ 17 พฤษภาคม 2556) • โรคติดเชื้อโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2012 อาจมีอาการแสดงอย่างไม่เป็นแบบแผน และอาจไม่มีอาการแสดงในระบบทางเดินหายใจในระยะเริ่มแรกในคนที่มีภาวะภูมิต้านทานต่ำ • การใช้ Nasopharyngeal swabs สำหรับการวินิจฉัยอาจไม่มีความไวเท่ากับการใช้ตัวอย่างจากระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง (ควรระมัดระวังในการเก็บตัวอย่างจากระบบทางเดินหายใจ ให้เป็นไปตามแนวทางการป้องกันและควบคุมการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด) • WHO คาดว่าจะพบรายงานผู้ป่วยเพิ่มขึ้น และการควบคุมโรคจะต้องอาศัยการเร่งสอบสวนโรคร่วมกันระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

  36. สถานการณ์โรค • ต่างประเทศ:ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2555 จนถึงปัจจุบัน (23/05/56) องค์การอนามัยโลกได้รับแจ้งจำนวนผู้ป่วยยืนยันการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ 2012 แล้ว รวม 44 ราย เสียชีวิต 22 ราย ดังนี้ • ประเทศไทย:ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2555 จนถึง วันที่ 27 พฤษภาคม 2556 • ยังไม่พบผู้ป่วย

  37. ระบาดวิทยาของโรคติดเชื้อโคโรน่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2012 เชื้อก่อโรค : • เชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2012 • เป็นเชื้อสายพันธุ์หนึ่งในกลุ่มไวรัส โคโรน่า ซึ่งเพิ่งค้นพบใหม่ในปี พ.ศ. 2555

  38. ระบาดวิทยาของโรคติดเชื้อโคโรน่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2012 • ธรรมชาติการเกิดโรค: • โดยทั่วไป เป็นกลุ่มของเชื้อไวรัสที่ทําให้เกิดการติดเชื้อใน ระบบทางเดินหายใจหรือระบบอื่นๆ ในคนและสัตว์ เช่น หนู ไก่ วัวควาย สุนัข แมว กระต่าย และสุกร • ในคนที่เป็นโรคไข้หวัดก็มีสาเหตุจากเชื้อไวรัสโคโรน่าได้ ประมาณร้อยละ 15 • อย่างไรก็ตามโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2012 นี้ไม่ใช่โรคซาร์สเป็นคนละโรคกัน เนื่องจากมีสาเหตุจากเชื้อ ไวรัสโคโรน่า คนละสายพันธุ์

  39. ระบาดวิทยาของโรคติดเชื้อโคโรน่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2012 • มีอาการไข้ ไอ หายใจหอบและหายใจลําบาก จะแสดงอาการคล้ายกับโรคปอดบวม ซึ่งเป็น สาเหตุของภาวะไตวาย และทําให้เสียชีวิตได้ • ผู้ป่วยที่ยืนยันว่าติดเชื้อฯจะมีการติดเชื้อระบบ ทางเดินหายใจ ค่อนข้างรุนแรง • การติดเชื้อพบได้ในทุกกลุ่มอายุ แต่พบมาก ในเด็ก • อาจพบมีการติดเชื้อซ้ำได้เนื่องจากระดับภูมิ คุ้มกันจะลดลงอย่างรวดเร็วภายหลังการติดเชื้อ

  40. ระบาดวิทยาของโรคติดเชื้อโคโรน่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2012 วิธีการแพร่โรค : • มีการแพร่กระจายของเชื้อผ่าน 3 ทาง หลักๆ คือ • ติดต่อจากคนสู่คน ผ่านทางฝอยละออง (Droplet) ได้แก่ น้ำมูก น้ำลายจากผู้ป่วยที่มีเชื้อไปยังบุคคลอื่น โดยการไอ หรือจาม • การสัมผัส(Contact) กับสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจของผู้ป่วย • การแพร่กระจายทางอากาศ (Airborne) มีโอกาสเป็นไปได้แต่น้อย

  41. ระบาดวิทยาของโรคติดเชื้อโคโรน่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2012 ระยะฟักตัว : • เชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2012 ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าจะ แสดงอาการเมื่อใดหลังจากติดเชื้อ • แต่สําหรับเชื้อไวรัสโคโรน่าโดยทั่วไป โดยเฉลี่ยมีระยะฟักตัวประมาณ 2 - 4 วัน

  42. ระบาดวิทยาของโรคติดเชื้อโคโรน่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2012 การประเมินสถานการณ์ และความเสี่ยง: • ประเทศไทย :ยังไม่พบการเกิดโรคในประเทศไทย • องค์การอนามัยโลก :ยังไม่แนะนำให้มีการจำกัดการเดินทางไป ยังประเทศใด อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังมีความเสี่ยง เนื่องจากจะมีประชาชนคนไทยไปแสวงบุญในประเทศแถบตะวันออกกลาง และมีนักท่องเที่ยวจากตะวันออกกลางเดินทางเพื่อเข้ามาท่องเที่ยว หรือท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

  43. มาตรการการป้องกันและควบคุมโรคมาตรการการป้องกันและควบคุมโรค • หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ หรือจาม • ควรล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ เมื่อสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย รวมทั้งก่อนรับประทานอาหาร และหลังขับถ่าย • หลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่แออัดหรือที่ชุมชนสาธารณะมีคนอยู่เป็นจำนวนมาก หากจำเป็น ให้พิจารณาใส่หน้ากากอนามัย เพื่อลดความเสี่ยงในการติดโรค • แนะนำให้ผู้ป่วยใส่หน้ากากอนามัย ปิดปาก ปิดจมูกเวลา ไอ หรือจาม • ปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยที่ดี ได้แก่ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ

  44. การดำเนินงานของประเทศไทย:การดำเนินงานของประเทศไทย: • มีการจัดประชุมปรึกษาหารือร่วมกับระหว่างผู้เชี่ยวชาญของกระทรวง สาธารณสุข มหาวิทยาลัย และองค์กรระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อ ประเมินสถานการณ์ความเสี่ยง และมาตรการของประเทศที่เหมาะสม • ด้านการเฝ้าระวังโรค สำนักระบาดวิทยา ได้ดำเนินการจัดระบบการเฝ้าระวัง ควบคู่ไปกับ โรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza) และโรคไข้หวัดนก (Avian Influenza) • มีหนังสือสั่งการไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง และขอความ ร่วมมือจากกรุงเทพมหานครให้ดำเนินมาตรการเตรียมความพร้อมรับ สถานการณ์ร่วมกับการเฝ้าระวังพิเศษในโรงพยาบาลเอกชน 5 แห่ง

  45. การดำเนินงานของประเทศไทย(ต่อ): • ด้านการเฝ้าระวังโรค • ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้มีการประสานขอความร่วมมือกับสายการบินที่มาจากประเทศแถบตะวันออกกลางสังเกตผู้โดยสารที่มีอาการสงสัยให้ส่งมาที่แพทย์การท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ • ด้านการรักษาพยาบาล • กรมการแพทย์ได้จัดทำและแจ้งแนวทางดูแลรักษาพยาบาล การป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อในสถานพยาบาล ให้แก่สถานพยาบาลภาครัฐ และเอกชน รวมทั้งสังกัดอื่นๆ ทราบ โดยให้เข้มงวดเป็นพิเศษในระดับสูงสุด • ด้านการสื่อสารความเสี่ยง • ให้คำแนะนำประชาชนทั่วไป และผู้เดินทาง มีการเผยแพร่ในเว็บไซต์สำนัก-โรคติดต่ออุบัติใหม่ และมีการให้ข้อมูลแก่เครือข่ายในหลายช่องทาง

  46. การดำเนินงานของประเทศไทย(ต่อ): • หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ หรือจาม • ควรล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย ก่อนรับประทานอาหาร และหลังขับถ่าย • ควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่แออัด หรือที่ชุมชนสาธารณะที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก เพื่อลดความเสี่ยงในการติดโรค • แนะนำให้ผู้ป่วยใส่หน้ากากอนามัย ปิดปากปิดจมูกเวลาไอ หรือจาม • ปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยที่ดี ได้แก่ กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ

  47. คำถาม-คำตอบ --โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2012 สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้หรือไม่ ? ตอบ คือ ข้อมูลปัจจุบัน ยังไม่สามารถระบุได้ว่า โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2012 สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้หรือไม่ สําหรับรายที่ติดเชื้อในครอบครัวเดียวกัน มีความเป็นไปได้ที่จะติดต่อจากคนสู่คนอย่างจํากัด (limited human-to-human transmission) หรือ อาจเป็นไปได้ที่จะมีการติดเชื้อภายในสมาชิกครอบครัวที่ติดเชื้อมาจากแหล่งเดียวกัน เช่น ที่บ้าน หรือที่ทํางาน ---มีวัคซีน ป้องกันโรค หรือไม่ ? ตอบ ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีน ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2012 ข้อมูลเพิ่มเติม สามารถค้นหาได้ที่ เว็บไซต์สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ (http://beid.ddc.moph.go.th และ call center กรมควบคุมโรค โทร.1422)

  48. โรคไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal Meningitis )

More Related