1 / 42

สรุปผลการตรวจสอบ ข้อตรวจสอบพบและข้อเสนอแนะ จากการตรวจสอบภายใน ประจำปี ๒๕๕๖

กลุ่มตรวจสอบภายใน กรมปศุสัตว์ การประชุมขับเคลื่อนและสรุปผลสำเร็จการดำเนินงานปี ๒๕๕๖ และชี้แจงแผนเงิน/แผนงานปี ๒๕๕๗ วันที่ ๑๑-๑๓ กันยายน ๕๖. สรุปผลการตรวจสอบ ข้อตรวจสอบพบและข้อเสนอแนะ จากการตรวจสอบภายใน ประจำปี ๒๕๕๖. ประเด็นความเสี่ยงสำคัญ. จากการตรวจพบในการเข้าตรวจสอบภายใน ปีงบประมาณ ๒๕๕๖

Download Presentation

สรุปผลการตรวจสอบ ข้อตรวจสอบพบและข้อเสนอแนะ จากการตรวจสอบภายใน ประจำปี ๒๕๕๖

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กลุ่มตรวจสอบภายใน กรมปศุสัตว์ การประชุมขับเคลื่อนและสรุปผลสำเร็จการดำเนินงานปี ๒๕๕๖ และชี้แจงแผนเงิน/แผนงานปี ๒๕๕๗ วันที่ ๑๑-๑๓ กันยายน ๕๖ สรุปผลการตรวจสอบข้อตรวจสอบพบและข้อเสนอแนะจากการตรวจสอบภายใน ประจำปี ๒๕๕๖

  2. ประเด็นความเสี่ยงสำคัญประเด็นความเสี่ยงสำคัญ • จากการตรวจพบในการเข้าตรวจสอบภายใน ปีงบประมาณ ๒๕๕๖ • จากการตอบแบบสำรวจระบบการควบคุมภายใน การปฏิบัติงานของหน่วยงาน • จากการให้คำปรึกษา / หารือ

  3. การเบิกจ่าย-เงิน • นำค่าใช้จ่ายของปีก่อนมาเบิกจ่ายในปีปัจจุบัน • ซึ่งเป็นรายการที่ไม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายเมือได้รับใบแจ้งหนี้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด) • ระเบียบการเบิกจ่ายเงินการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๑๗ “ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในปีงบประมาณให้เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณของปีนั้นไปจ่าย ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นไม่สามารถเบิกจ่ายในปีงบประมาณนั้นได้ทัน ให้เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณของปีถัดไปได้ แต่ค่าใช้จ่ายนั้นต้องไม่เป็นการก่อหนี้ผู้พันเกินกว่างบประมาณที่ได้รับอนุมัติ และให้ปฏิบัติตามวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด”

  4. การเบิกจ่าย-เงิน • นำค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานราชการมาเบิกจากทางราชการ หรือเป็นรายการที่ไม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่กระทรวงการคลังอนุญาตให้เบิกได้ • เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวข้องกับบ้านพักข้าราชการที่มีผู้พักอาศัยซึ่งต้องเป็นรับผิดชอบเอง มาเบิกจากทางราชการไม่ได้

  5. การเบิกจ่าย-เงิน เบิกค่าใช้จ่ายผิดประเภท นำค่าใช้จ่ายงบลงทุนมาเบิกจากงบดำเนินงาน ค่าวัสดุ • การจัดซื้อ เครื่องมืออุปกรณ์ ที่มีอายุการใช้งานนาน มีลักษณะคงทน แต่มีราคาต่อหน่วยหรือต่อชุด ไม่เกิน 5,000 บาท (เบิกจากงบดำเนินงาน ค่าวัสดุ ได้) • การจัดซื้อ เครื่องมืออุปกรณ์ ที่มีอายุการใช้งานนาน มีลักษณะคงทน แต่มีราคาต่อหน่วยหรือต่อชุด เกิน 5,000 บาท (เบิกงบลงทุน ค่าครุภัณฑ์ )

  6. การเบิกจ่าย-เงิน • การเพิ่มประสิทธิภาพ (up grade) คอมพิวเตอร์ในเครื่องเดียว ถ้ารวมกันทุกรายการเกิน ๕,๐๐๐ บาท ต้องเบิกจ่ายจากงบลงทุน (งบลงทุน ค่าครุภัณฑ์) • รายการประกอบ ดัดแปลง ต่อเติม หรือปรับปรุง ครุภัณฑ์ ที่มีวงเกิน 5,000 บาท (งบลงทุน ค่าครุภัณฑ์) • รายการประกอบ ดัดแปลง ต่อเติม หรือปรับปรุง ที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้าง ที่มีราคาเกิน 50,000 บาท (งบลงทุน ค่าที่ดินหรือสิ่งก่อสร้าง)

  7. การเดินทางไปราชการและเข้ารับการฝึกอบรมการเดินทางไปราชการและเข้ารับการฝึกอบรม • มีการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริง ไม่เหมาะสม ใช้ระยะเวลามากเกินความจำเป็น • เป็นการเดินทางที่กระทรวงการคลังไม่ถือเป็นการเดินทางไปราชการชั่วคราว ที่กระทรวงการคลังกำหนดให้เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการได้ • การเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางเข้ารับการฝึกอบรมสัมมนา ที่ผู้จัดออกค่าใช้จ่ายให้ แต่นำมาเบิกเกินสิทธิ์ โดยขาดการสอบทาน

  8. การเบิกจ่าย-เงิน • มีการแก้ไขใบขออนุญาตเดินทาง เพิ่มเติม หลังจากได้รับอนุมัติแล้ว เช่นเปลี่ยนแปลง วันที่เดินทาง ผู้ร่วมเดินทาง • ระยะเวลาในการเดินทางที่ขอเบิกเงินไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง เพื่อให้สามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้ • การขออนุญาตใช้รถในการเดินทางไม่ตรงกับการเดินทางไปราชการจริง

  9. การเบิกจ่าย-เงิน • การเบิกค่าเล่าเรียนบุตร ของมหาวิทยาลัยเอกชน ไม่ถูกต้อง • ปริญญาตรี ปวส.เอกชน ระเบียบกำหนดให้เบิกครึ่งของที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลัง กำหนด แต่นำมาเบิกทั้งหมด โดยไม่หารครึ่งก่อน

  10. การเบิกจ่าย-เงิน • การเบิกค่ารักษาพยาบาล เกินสิทธิ์ • ไม่ได้ทำการตรวจสอบ สิทธิ์การเบิกจ่ายค่า รักษาพยาบาล ตามรหัสค่าบริการสาธารณสุข ที่กระทรวงการคลังกำหนด ทำให้มีการเบิกเงินเกินกว่าที่กำหนดให้เบิกจ่ายได้

  11. การเบิกจ่ายเงิน • การจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงิน ตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นไป ไม่จัดทำการออกใบสั่งซื้อในระบบ GFMIS (PO) เพื่อวางฎีกาจ่ายตรงให้แก่ผู้ขาย ตามระเบียบการเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง ของส่วนราชการ • เบิกผิดศูนย์ต้นทุน • เจ้าหนี้เรียกเก็บเงินเกินกว่าบริการที่ได้รับ หน่วยงานขาดการสอบทานเอกสารหลักฐานก่อนเบิกจ่ายเงิน

  12. การเบิกจ่ายเงิน • การเสนอเซ็นเช็คไม่ได้แนบใบสำคัญประกอบรายการทุกครั้ง มีความเสี่ยงต่อจ่ายเงินที่ไม่มีรายการค่าใช้จ่ายจริง • จ่ายเงินแล้ว เจ้าหน้าที่ไม่ติดตามใบเสร็จรับเงินจากผู้ขายแนบประกอบใบสำคัญคู่จ่ายให้ครบถ้วน • ไม่ได้ประทับตรา “จ่ายเงินแล้ว”รับรองการจ่ายเงินตามที่ระเบียบกำหนด เสี่ยงต่อการนำมาเบิกซ้ำได้

  13. การเบิกจ่ายเงิน • บันทึกรายการก่อหนี้ผูกพัน/ขอเบิกเงินในทะเบียนคุมเงินประจำงวดตอนสิ้นเดือน ทำให้ไม่ทราบยอดวงเงินที่สามารถใช้จ่ายได้ที่แท้จริง • การเบิกจ่ายเงินไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติงานตามภารกิจของกิจกรรมนั้นๆ • ค่าไฟฟ้า ค่าประปา ค่าโทรศัพท์ ค่าบริการไปรษณีย์โทรเลข ไม่ได้จ่ายตรงเข้าบัญชีผู้มีสิทธิ์รับเงินโดยตรง ตามที่ระเบียบฯกำหนด เว้นแต่กรณีมีการจ่ายเงินสมทบก็ให้สามรถจ่ายเป็นเช็คได้

  14. การเบิกจ่าย-เงิน หลักฐานการจ่ายเงิน • การจัดเก็บเอกสารหลักฐานใบสำคัญคู่จ่ายล่าช้า ไม่เรียบร้อย เสี่ยงต่อการสูญหาย หลักฐานการเบิกจ่าย ไม่ครบถ้วน ซึ่งหน่วยงาน จะต้องส่งเงินคืนคลังเท่ากับจำนวนเงินตามใบสำคัญที่สูญหาย

  15. การเบิกจ่าย-เงิน สาเหตุการปฏิบัติไม่เป็นไปตามระเบียบ ที่เกี่ยวข้อง • การตรวจสอบความถูกต้อง และครบถ้วนของเอกสารหลักฐานการเบิกจ่ายว่า เป็นไปตามระเบียบฯที่กำหนดไม่เคร่งครัด ทำให้มีการเบิกจ่ายไม่เป็นไปตามที่ระเบียบกำหนด มีเอกสารหลักฐานไม่ครบถ้วน • เจ้าหน้าที่ ไม่ติดตาม ศึกษาและทำความเข้าใจในระเบียบและวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องซึ่งมีการเปลี่ยนแปลง • เบิกจ่ายเงินตามระเบียบที่ยกเลิกไปแล้ว

  16. การเบิกจ่าย-เงิน • สาเหตุการปฏิบัติไม่เป็นไปตามระเบียบ ที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) • การเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ขาดการควบคุม อย่างเพียงพอ • ไม่ได้จัดทำทะเบียนคุมเงินงบประมาณ /เงินประจำงวดส่วนจังหวัด เพี่อใช้ในการควบคุมการเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่ได้รับ ตามต้นทุนกิจกรรม ทำให้ไม่ทราบว่าในแต่ขณะมีเงินงบประมาณแต่ละกิจกรรมคงเหลือสามารถเบิกจ่ายได้อยู่เท่าไหร่ เสี่ยงต่อการเบิกจ่ายเงินเกินกว่างบประมาณที่ได้รับ เบิกค่าใช้จ่ายไม่สอดคล้องกับภารกิจและไม่สามารถบริหารงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  17. การรับเงิน การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง การใช้ใบเสร็จรับเงิน • ยกเลิกใบเสร็จรับเงิน แต่ไม่มีใบเสร็จรับเงินฉบับสีขาว ซึ่งเป็นฉบับที่ต้องให้ผู้ชำระเงิน แนบประกอบ (ใบเสร็จรับเงินฉบับที่ยกเลิกต้องให้ติดคงไว้ในเล่มให้ครบชุด ทั้งต้นฉบับและสำเนาทุกฉบับ) • ใบเสร็จรับเงินกรมปศุสัตว์ (กปศ.๑๔) สูญหาย

  18. การรับเงิน การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง • ไม่ได้บันทึกรายการรับจ่ายเงิน ในระบบ GFMIS ภายในที่เกิดรายการ ทำให้รายงานทางการเงินในระบบ ไม่ตรงกับเอกสารหลักฐานที่เกิดขึ้นจริง • รายงานเงินคงเหลือประจำวัน ที่ส่งคณะกรรมการเก็บรักษาเงิน ไม่ตรงกับเงินคงเหลือในระบบ GFMIS

  19. การรับเงิน การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง • ทุกสิ้นวันไม่ได้ตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนของเงินรายได้ที่จัดเก็บว่าครบถ้วนถูกต้อง กับเอกสารหลักฐานและรายงานในระบบ และลงลายมือชื่อกำกับไว้ในใบเสร็จรับเงินฉบับสุดท้าย ทำให้มีความเสี่ยง ต่อเงินของทางราชการ สูญหาย ขาดบัญชี

  20. การรับเงิน การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง • รายได้แผ่นดิน นำส่งเงินล่าช้า ไม่เป็นไประยะเวลาตามระเบียบ กำหนด • ขาดการสอบทานความถูกต้องของรายงาน การจัดเก็บและนำส่งเงินรายได้แผ่นดินจากระบบ GFMIS เป็นประจำทุกสิ้นเดือน กับรายการรับและนำส่งเงินที่หน่วยงานดำเนินการ

  21. การจัดซื้อจัดจ้าง • ขาดการวางแผนการจัดซื้อจัดจ้าง พบการจัดซื้อบ่อยครั้งมาก ทำให้เป็นภาระของเจ้าหน้าที่ในการจัดทำเอกสารการจัดซื้อจัดจ้าง เอกสารการขอเบิกจ่ายเงินใบสำคัญคู่จ่าย และต้องบันทึกรายการควบคุมพัสดุ หรืออื่นๆที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก จนไม่มีเวลาพัฒนาตัวเองไม่มีเวลาศึกษาทำความเข้าใจในระเบียบที่แก้ไขเปลี่ยนแปลง • ขาด Spec ไม่ระบุราคาจัดซื้อครั้งก่อนหรือราคาที่จัดซื้อครั้งสุดท้ายใน ระยะเวลา ๒ ปี ตามรายการที่กำหนดไว้รายงานขอซื้อขอจ้างข้อ ๒๗ ขอระเบียบพัสดุ และขาดคู่เทียบราคา • เข้าลักษณะการแบ่งซื้อแบ่งจ้าง โดยเฉพาะ ยาและเวชภัณฑ์ วัสดุวิทยาและการแพทย์

  22. การจัดซื้อจัดจ้าง การสอบราคา • ไม่มีส่งเอกสารไปยังผู้ประกอบอาชีพโดยตรง ตามระเบียบพัสดุ • กำหนดวันเปิดซองสอบราคา ทับซ้อนกับวันที่กำหนดให้ยื่นซองวันสุดท้าย

  23. หลักประกันซอง/หลักประกันสัญญาหลักประกันซอง/หลักประกันสัญญา • กรณีหลักประกันซอง/หลักประกันสัญญาเป็นหนังสือค้ำประกันธนาคาร ไม่ได้ส่งสำเนาหนังสือค้ำประกันให้ธนาคารสาขาผู้ออกหนังสือค้ำประกันรับทราบและยืนยันมาทางไปรษณีย์ลงทะเบียน

  24. การจัดซื้อจัดจ้าง • การจ้างไม่ติดอากร ตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด • แต่งตั้งกรรมการตรวจรับพัสดุไม่ครบตามระเบียบ ตั้งคนที่ไม่เหมาะสม ไม่มีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ เป็นกรรมการตรวจรับ • แต่งตั้งกรรมการตรวจรับพัสดุ/งานจ้าง แบบถาวร (ต้องแต่งตั้งเป็นครั้ง ๆไป)

  25. การรับประกันความชำรุดบกพร่องการรับประกันความชำรุดบกพร่อง • การรับประกันความชำรุดบกพร่อง ในงานก่อสร้าง เพียง ๑ ปี • มติ ครม.กำหนด ให้งานจ้างก่อสร้างต้องรับประกันความชำรุดบกพร่อง ไม่น้อยกว่า ๒ ปี • การจ้างก่อสร้าง หมายรวมถึง งานเคลื่อนย้ายอาคาร งานดัดแปลง งานต่อเติม งานรื้อถอน งานซ่อมแซม ซึ่งส่วนราชการเห็นว่ามีความสำคัญจำเป็นต้องมีการแต่งตั้งผู้ควบคุมงาน

  26. การควบคุม วัสดุ/ครุภัณฑ์ • การบันทึกรายการวัสดุ ครุภัณฑ์ไม่เรียบร้อย • วัสดุรับมาจ่ายหมด ไม่มีของคงเหลือ แต่ของจริงเหลือจำนวนมาก ทำให้ขาดการควบคุม เสี่ยงต่อการสูญหาย เสียหาย • ระบบการจัดเก็บวัสดุ ไม่ใช้ระบบ เข้าก่อน ออกก่อน หรือหมดอายุก่อนเบิกจ่าย เพื่อป้องกันวัสดุ เก่าเก็บเสื่อมคุณภาพ ก่อนเบิกใช้ โดยเฉพาะยาและเวชภัณฑ์ หมดอายุ เสื่อมสภาพ ใช้ไม่ทัน

  27. การควบคุม วัสดุ/ครุภัณฑ์ • กรณี ที่เบิกจ่ายวัสดุจากพัสดุกลางให้ส่วน/ฝ่าย ทั้งจำนวน แต่ไม่ได้จัดทำบัญชีควบคุมการเบิกจ่ายวัสดุ บันทึกรายการรับ-จ่ายไม่ถูกต้อง ทำให้วัสดุขาดการควบคุม สูญหาย หมดอายุ • ไม่มีระบบการควบคุมดูแลการเข้า-ออก สถานที่จัดเก็บวัสดุของบุคคลที่ไม่มีหน้าที่รับผิดชอบ เมื่อวัสดุขาดบัญชี ไม่สามารถหาผู้รับผิดชอบได้

  28. การควบคุม วัสดุ/ครุภัณฑ์ • ขาดการตรวจความถูกต้องของบัญชีหรือทะเบียนคุมวัสดุ กับของจริงเป็นครั้งคราว • ตอนสิ้นปีงบประมาณ ไม่มีการปรับปรุงยอดวัสดุคงเหลือในระบบ GFMIS ตามจำนวน/รายการ วัสดุคงเหลือจริง

  29. การควบคุม วัสดุ/ครุภัณฑ์ ครุภัณฑ์ • รหัสครุภัณฑ์ ไม่ได้ติด/เขียนติดตัวครุภัณฑ์ไว้ถูกต้องครบถ้วน ทำให้ทรัพย์สินขาดการควบคุม เสี่ยงต่อการ สูญหาย • ขาดการตรวจสอบความถูกต้องของทะเบียนคุม กับของจริงเป็นครั้งคราว • คณะกรรมการตรวจสอบพัสดุคงเหลือประจำปี ไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบจริง

  30. การควบคุม วัสดุ/ครุภัณฑ์ • ไม่ได้ขอขึ้นทะเบียนรายการครุภัณฑ์ที่ต่ำกว่าเกณฑ์ (เครื่องมืออุปกรณ์ ที่มีอายุการใช้งานงาน สภาพคงทนถาวร แต่ราคาไม่เกิน 5,000 บาท) ขึ้นทะเบียนไม่หมด (ดังนั้นหน่วยงานจะเบิกค่าวัสดุสิ้นเปลือง ที่ต้องใช้กับเครื่องนั้นไม่ได้) • มีครุภัณฑ์ชำรุดรอจำหน่ายเป็นจำนวนมาก แต่ไม่ดำเนินการขออนุมัติจำหน่าย บางส่วนหาซากไม่เจอ เป็นภาระของหน่วยงาน

  31. การควบคุม วัสดุ/ครุภัณฑ์ • ขาดการบันทึกควบคุมการซ่อมแซมบำรุงสินทรัพย์นั้นๆ ทุกครั้ง และไม่ได้แนบประวัติการซ่อมแซมประกอบการพิจารณาสั่งซ่อมบำรุงทุกครั้ง • การรับโอน/การโอนครุภัณฑ์จากหน่วยงานอื่น ไม่มีเอกสารหลักฐาน และไม่ได้ดำเนินการโอนรายการ ในระบบ GFMIS ให้ครบถ้วน ถูกต้อง

  32. รถราชการ/น้ำมันเชื้อเพลิงรถราชการ/น้ำมันเชื้อเพลิง การใช้รถราชการ และการเบิกจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง • ไม่ขออนุญาตใช้รถ/ ขออนุญาตเฉพาะไปต่างจังหวัด แต่มีการใช้รถและเติมน้ำมันเป็นจำนวนมาก โดยไม่มีเนื้องานที่เป็นภารกิจราชการอย่างชัดเจน • การบักทึกการใช้รถ ไม่เรียบร้อย ไม่ครบถ้วน ระยะทางไม่สอดคล้องกับพื้นที่เดินทาง และการเดินทางจริง พบว่ามีการใช้รถเป็นจำนวนมากที่ไม่สามารถหาภารกิจการปฏิบัติงานมาชี้แจงได้ • ไม่บันทึกประวัติการซ่อมแซมรถราชการ ลงบ้างไม่ลงบ้าง ใช้ประโยชน์ไม่ได้ • สั่งซ่อมรถโดยไม่เคยตรวจสอบประวัติการซ่อม ครั้งก่อน

  33. รถราชการ/น้ำมันเชื้อเพลิงรถราชการ/น้ำมันเชื้อเพลิง • ไม่ได้จัดทำสมุดบันทึกการเบิก-จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง • ไม่มีการสำรวจและกำหนดเกณฑ์การใช้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงของรถทุกคัน เพื่อเป็นเกณฑ์ในการควบคุมการเบิกจ่ายเชื้อเพลิง

  34. แผนการตรวจสอบภายใน ประจำปี ๒๕๕๗(ฉบับร่างแผนการตรวจสอบ ฯ) ๑. ตรวจสอบการดำเนินงานหน่วยงาน /โครงการ จำนวน ๑๔เรื่อง/ชุดรายงาน ประกอบด้วย

  35. แผนการตรวจสอบภายใน ประจำปี ๒๕๕๗ • การสอบทานการประเมินผลการวางระบบควบคุมภายใน กรมปศุสัตว์ (รายงานแบบ ปส.) สำหรับปีสิ้นสุด ๓๐ กันยายน ๒๕๕๖ ตามระเบียบฯ สตง. และตามที่กำหนดตามเงื่อนไข ตัวชี้วัด “ระดับความสำเร็จของการควบคุมภายใน” จำนวน ๑ เรื่อง/ชุดรายงาน (พย.๕๖)

  36. แผนการตรวจสอบภายใน ประจำปี ๒๕๕๗ • การตรวจสอบรับรองงบการเงิน กองทุนสวัสดิการ กรมปศุสัตว์ (รับรองงบการเงินของกองทุนฯ ให้สำนักงาน กพ.) จำนวน ๒ ชุดรายงาน ๑. การตรวจสอบรับรองงบการเงิน กองทุนสวัสดิการ กรมปศุสัตว์ ประจำปี ๒๕๕๕ ๒. การตรวจสอบรับรองงบการเงิน กองทุนสวัสดิการ กรมปศุสัตว์ ประจำปี ๒๕๕๖

  37. แผนการตรวจสอบภายใน ประจำปี ๒๕๕๗ • ตรวจสอบการ เบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง ที่ดำเนินการในส่วนกลาง ๑ เรื่อง/ชุดรายงาน • ตรวจสอบการด้านการดำเนินงาน ตามแผนงาน/โครงการ จำนวน ๒ เรื่อง/ชุดรายงาน (ปรับเปลี่ยนตามความเพียงพอของงบประมาณที่ได้จัดสรร)

  38. แผนการตรวจสอบภายใน ประจำปี ๒๕๕๗ • ตรวจสอบหน่วยงานในส่วนภูมิภาค • เป็นหน่วยที่เข้าทำการตรวจสอบในครั้งก่อน ตั้งแต่ ๕ ปีขึ้นไป • ประเมินจากผลการสำรวจระบบการควบคุมภายใน การปฏิบัติงาน • นโยบายผู้บริหาร/ เรื่องร้องเรียนฯ

  39. แผนการตรวจสอบภายใน ประจำปี ๒๕๕๗ • โดยดำเนินการตรวจสอบการปฏิบัติงาน ในด้านต่างๆ ดังนี้ • ด้านการเงิน • ด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ • ด้านการปฏิบัติงาน

  40. แผนการตรวจสอบภายใน ประจำปี ๒๕๕๗ • โดยดำเนินการตรวจสอบการปฏิบัติงาน ในด้านต่างๆ ดังนี้ (ต่อ) ๔. ด้านผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่กำหนด ๕. ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ๖. ด้านประสิทธิภาพในการบริหารด้านๆต่างของหน่วยงาน

  41. แผนการตรวจสอบภายใน ประจำปี ๒๕๕๗ ๒.สรุปผลการตรวจสอบ และติดตามผลการแก้ไขปรับปรุงตามข้อตรวจพบ ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะ ตามรายงานผลการตรวจสอบ ของ สตง./ ตรวจสอบภายในจังหวัด / ตรวจสอบภายใน กระทรวงเกษตรฯ ที่เข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัดกรมปศุสัตว์ (ประมาณ ) ๒๕ ชุดรายงาน

  42. แผนการตรวจสอบภายใน ประจำปี ๒๕๕๗ ๓. การให้คำปรึกษาแนะนำทั่วไป แก่ผู้บริหารและหน่วยรับตรวจ ๔. ปฏิบัติงานภารกิจอื่นๆตามที่อธิบดี มอบหมาย

More Related