1 / 64

สต. 300 สถิติทั่วไป

สต. 300 สถิติทั่วไป. อาจารย์รัชนีวรรณ กุมภคาม สาขาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. คำอธิบายรายวิชา. มาตรวัดต่างๆ สถิติพรรณนาและการประยุกต์ใช้ แนวคิดเกี่ยวกับประชากร กลุ่มตัวอย่างและการสุ่มตัวอย่าง การประมาณค่าและการทดสอบสมมติฐาน. 1. 2. 3. บทที่ 1 บทนำ. บทที่ 2 การนำเสนอข้อมูล.

moe
Download Presentation

สต. 300 สถิติทั่วไป

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สต. 300 สถิติทั่วไป อาจารย์รัชนีวรรณ กุมภคาม สาขาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

  2. คำอธิบายรายวิชา มาตรวัดต่างๆ สถิติพรรณนาและการประยุกต์ใช้ แนวคิดเกี่ยวกับประชากร กลุ่มตัวอย่างและการสุ่มตัวอย่าง การประมาณค่าและการทดสอบสมมติฐาน

  3. 1 2 3 บทที่ 1 บทนำ บทที่ 2 การนำเสนอข้อมูล บทที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น รายละเอียดของเนื้อหาวิชา 4 4 บทที่ 4 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 5 บทที่ 5 การทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับค่าเฉลี่ย 6 บทที่ 6 การทดสอบข้อมูลที่อยู่ในรูปของความถี่

  4. บทที่ 5 การทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับค่าเฉลี่ย

  5. นิยามศัพท์เกี่ยวกับการทดสอบสมมติฐานนิยามศัพท์เกี่ยวกับการทดสอบสมมติฐาน • สมมติฐานทางสถิติ เป็น ข้อสรุป ข้อความ คำกล่าว คำอ้างอิง เกี่ยวกับประชากรกลุ่มเดียว หรือหลายกลุ่ม ซึ่งอาจจะถูกหรือผิดก็เป็นได้ ชนิดที่ 1สมมติฐานเพื่อการทดสอบหรือสมมติฐานหลัก (Null hypothesis) เป็นข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของประชากรที่กำหนดขึ้นเพื่อทดสอบ เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ H0แทนสมมติฐานเพื่อการทดสอบ จะมีเครื่องหมาย = อยู่ด้วยเสมอ(อาจจะเป็น = , ≤ หรือ ≥ ) ชนิดที่ 2สมมติฐานทางเลือกหรือสมมติฐานแย้ง (Alternative Hypothesis) เป็นข้อสมมติเกี่ยวกับลักษณะของประชากรที่ไม่กำหนดค่าแน่นอนตายตัว สมมติฐานแย้งนี้เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ H1 เ ซึ่งอาจมีเครื่องหมายเป็น ไม่เท่ากับ (≠) มากกว่า ( > ) หรือน้อยกว่า ( < )

  6. สมมติฐานทางสถิติ แบบที่ 1 H0 :  = a H1 :  a แบบที่ 2 H0 :  ≤ a H1 :  > a แบบที่ 3 H0 :  ≥ a H1 :  < a

  7. นิยามศัพท์เกี่ยวกับการทดสอบสมมติฐานนิยามศัพท์เกี่ยวกับการทดสอบสมมติฐาน • ความคลาดเคลื่อน (Error) 1. ความคลาดเคลื่อนแบบที่ 1 (Type I error) เป็นความคลาดเคลื่อนของการตัดสินใจ ที่เกิดจากการที่ปฏิเสธสมมติฐาน H0 ทั้งๆที่สมมติฐาน H0 ถูกต้องเป็นจริงอยู่แล้ว แทนด้วยสัญลักษณ์  2. ความคลาดเคลื่อนแบบที่ 2 (Type II error) เป็นความคลาดเคลื่อนของการตัดสินใจที่เกิดจากการที่ยอมรับสมมติฐาน H0 ทั้งๆที่สมมติฐาน H0 ไม่จริง แทนด้วยสัญลักษณ์ 

  8. สรุปการตัดสินที่จะเกิดขึ้นได้ในการทดสอบสมมติฐาน ดังตารางต่อไปนี้

  9. ระดับนัยสำคัญ (Level of significance) คือความน่าจะเป็นในการเกิดความคลาดเคลื่อนแบบที่ 1 หรือ โดยปกติจะกำหนดให้ มีค่าน้อยๆ เช่น  = 0.10, 0.05, 0.02 หรือ 0.01

  10. การทดสอบทางเดียวและการทดสอบสองทางการทดสอบทางเดียวและการทดสอบสองทาง 1. การทดสอบสองทาง (Two-tailed Test) เป็นการทดสอบในกรณีที่ H1 อยู่ในลักษณะ H1 :  a

  11. การทดสอบทางเดียวและการทดสอบสองทางการทดสอบทางเดียวและการทดสอบสองทาง 2. การทดสอบทางเดียว (One-tailed Test) เป็นการทดสอบในกรณีที่ H1อยู่ในลักษณะ H1 :  > a หรือ H1 :  < a

  12. ขั้นตอนการทดสอบสมมติฐานขั้นตอนการทดสอบสมมติฐาน ขั้นตอนการทดสอบสมมติฐาน ขั้นที่ 1 กำหนดสมมติฐาน ขั้นที่ 2 กำหนดระดับนัยสำคัญ  ขั้นที่ 3 คำนวณค่าสถิติทดสอบ ขั้นที่ 4 หาอาณาเขตวิกฤต ขั้นที่ 5 สรุปผล

  13. การคำนวณค่าสถิติสำหรับข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างการคำนวณค่าสถิติสำหรับข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง โดยที่ คือ ข้อมูลหรือค่าสังเกต n คือ จำนวนข้อมูลหรือจำนวนค่าสังเกตทั้งหมด

  14. การทดสอบค่าเฉลี่ยกรณีหนึ่งกลุ่มการทดสอบค่าเฉลี่ยกรณีหนึ่งกลุ่ม เป็นการทดสอบว่าค่าเฉลี่ยของประชากร () จะเป็นไปตามที่คาดหวังหรือไม่ ข้อมูลที่นำมาศึกษาจะเป็นข้อมูลแบบต่อเนื่อง วิธีการทดสอบประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1 กำหนดสมมติฐาน H0 และ H1 H0 :  = a H0 :  ≤ a H0 :  ≥ a H1 :  a H1 :  > a H1 :  < a ขั้นที่ 2 กำหนดระดับนัยสำคัญ  ขั้นที่ 3 หาอาณาเขตวิกฤต ขั้นที่ 4 คำนวณค่าสถิติทดสอบ ขั้นที่ 5 สรุปผล

  15. กรณีที่ 1เมื่อทราบค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของประชากร () ใช้สูตร กรณีที่ 2เมื่อไม่ทราบค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของประชากร () และ กลุ่มตัวอย่างมีขนาดใหญ่

  16. กรณีที่ 3เมื่อไม่ทราบค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของประชากร () และ กลุ่มตัวอย่างมีขนาดเล็ก

  17. ตัวอย่างที่ 1 กระทรวงแรงงานได้ศึกษาค่าแรงนอกเขตปริมณฑล โดยสุ่มถามค่าแรงจากคนงาน 36 คน พบว่าค่าแรงเฉลี่ย 150 บาทต่อวัน ซึ่งในเรื่องนี้ได้เคยศึกษามาแล้วทราบว่า ค่าแรงเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 156 บาท ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 10 บาท ให้ท่านช่วยทดสอบว่าจะเป็นจริงดังที่เคยวิจัยมาแล้วหรือไม่ กำหนดระดับนัยสำคัญ 0.05

  18. ตัวอย่างที่ 2 สุ่มถั่วฝักยาวมา 40 ฝัก วัดความยาวเฉลี่ยได้ 18 นิ้ว ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานได้ 2 นิ้ว ให้ทดสอบสมมติฐานว่าความยาวเฉลี่ยของถั่วฝักยาวทั้งหมดไม่เท่ากับที่สุ่มมา ตามข้อเท็จจริงควรจะเท่ากับ 19 นิ้ว กำหนดระดับนัยสำคัญ 0.05

  19. ตัวอย่างที่ 3 เวลาเฉลี่ยที่นิสิตใช้ลงทะเบียนแบบเดิมเท่ากับ 50 นาที ถ้าคิดวิธีใหม่และสุ่มนิสิตมา 12 คน เพื่อทดลองวิธีการลงทะเบียนแบบใหม่ได้เวลาการลงทะเบียนเฉลี่ย 42 นาที ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 11.9 นาที ให้ทดสอบว่าวิธีลงทะเบียนแบบใหม่ใช้เวลาเฉลี่ยน้อยกว่า 50 นาที กำหนดระดับนัยสำคัญ 0.01 ถ้าเวลาการลงทะเบียนมีการแจกแจงปกติ

  20. ตัวอย่างที่ 4 อาจารย์ผู้สอนใช้เทคนิคการสอนแบบใหม่ และเชื่อว่านิสิตที่เรียนโดยการสอนแบบใหม่นี้จะได้คะแนนเฉลี่ยมากกว่า 60 คะแนน จึงสุ่มถามคะแนนนิสิตที่เรียนโดยวิธีการนี้มา 10 คน ได้คะแนน 49 50 42 60 55 62 65 49 50 และ 45 ให้ทดสอบว่าจะเป็นจริงตามความเชื่อของอาจารย์หรือไม่ ถ้าคะแนนมีการแจกแจงเป็นโค้งปกติ กำหนดระดับนัยสำคัญ 0.05

  21. การทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่ม ในการทดสอบกรณีนี้ จะทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยสองประชากรว่ามีความแตกต่างตามค่าที่คาดหวังไว้หรือไม่ วิธีการทดสอบประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1 กำหนดสมมติฐาน H0และ H1 H0 : 1-2 = a H0 : 1-2 ≤ a H0 : 1-2 ≥ a H1 : 1-2 a H1 : 1-2 > a H1 : 1-2 < a ขั้นที่ 2 กำหนดระดับนัยสำคัญ  ขั้นที่ 3 หาอาณาเขตวิกฤต ขั้นที่ 4 คำนวณค่าสถิติทดสอบ ขั้นที่ 5 สรุปผล

  22. กรณีที่ 1เมื่อทราบค่าความแปรปรวนของประชากร ใช้สูตร

  23. ตัวอย่างที่ 5 นักวิจัยได้เขียนรายงานเกี่ยวกับข้าวโพด 2 พันธุ์ว่าความยาวของฝักมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1 และ 0.5 นิ้วตามลำดับ ถ้าสุ่มข้าวโพดทั้ง 2 พันธุ์ๆ ละ 50 ฝัก วัดความยาวเฉลี่ยได้ 8 และ 7 นิ้วตามลำดับ ให้ทดสอบว่าความยาวเฉลี่ยของฝักข้าวโพดทั้ง 2 พันธุ์มีความแตกต่างกัน กำหนดระดับนัยสำคัญ 0.10

  24. กรณีที่ 2 เมื่อไม่ทราบค่าความแปรปรวนของประชากร และกลุ่ม ตัวอย่างมีขนาดใหญ่ สูตรจะเป็นดังนี้

  25. ตัวอย่างที่ 6 อาจารย์ทดสอบภาษาอังกฤษพื้นฐานกับนิสิตคณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์คณะละ 50 คน จากคะแนนเต็ม 500 ได้ผลสอบดังนี้ นิสิตสังกัดคณะ คะแนนเฉลี่ยความแปรปรวน สังคมศาสตร์ 300 36 มนุษย์ศาสตร์ 310 48 จงทดสอบว่านิสิตคณะสังคมศาสตร์ได้คะแนนเฉลี่ยน้อยกว่านิสิตคณะมนุษย์ศาสตร์ที่ระดับนัยสำคัญ 0.10

  26. กรณีที่ 3เมื่อไม่ทราบค่าความแปรปรวนของประชากรทั้งสองกลุ่ม และกลุ่มตัวอย่างมีขนาดเล็ก ใช้การทดสอบแบบที (t-test) 3.1 *เมื่อ df. = n1 + n2 - 2 หรือ

  27. เมื่อ คำนวณหาได้จากสูตร

  28. กรณีที่ 3เมื่อไม่ทราบค่าความแปรปรวนของประชากรทั้งสองกลุ่ม และกลุ่มตัวอย่างมีขนาดเล็ก ใช้การทดสอบแบบที (t-test) 3.2 d.f. =  =

  29. ตัวอย่างที่ 7 อาจารย์ผู้สอนได้ทดลองเทคนิคการสอน 2 แบบ ให้กับนิสิต 2 กลุ่ม แบบที่ 1 ทดลองกับนิสิต 12 คน แบบที่ 2 ทดลองกับนิสิต 10 คน เมื่อถึงเวลาสอบไล่โดยใช้ข้อสอบเดียวกัน ปรากฏว่านิสิตที่เรียนโดยเทคนิคการสอนแบบที่ 1 ได้คะแนนเฉลี่ย 85 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4 คะแนน นิสิตที่เรียนโดยเทคนิคการสอนแบบที่ 2 ได้คะแนนเฉลี่ย 81 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 5 คะแนน ให้ทดสอบว่าเทคนิคการสอนทั้ง 2 แบบ ให้ผลไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญเท่ากับ 0.10 และสมมติว่าประชากรมีการแจกแจงใกล้เคียงโค้งปกติมีค่าความแปรปรวนเท่ากัน

  30. ตัวอย่างที่ 8 บริษัทแห่งหนึ่งต้องการซื้อหลอดไฟมาใช้ในหน่วยงานจึงทดสอบการใช้งานของหลอดไฟ 2 ยี่ห้อ ดังนี้ บริษัทตัดสินใจจะซื้อหลอดไฟชนิดที่ 1ถ้าหลอดไฟชนิดที่ 1 มีอายุการใช้งานเฉลี่ยมากกว่าชนิดที่ 2 เกินกว่า 200 ชั่วโมง ให้ทดสอบสมมติฐานที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 ถ้าหลอดไฟทั้ง 2 ชนิดมีอายุการใช้งานแจกแจงเป็นโค้งปกติ และมีค่าความแปรปรวนไม่เท่ากัน

  31. การทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่ม ที่มีความสัมพันธ์กัน ในกรณีที่ข้อมูลที่รวบรวมมาได้มีลักษณะเป็นคู่ๆ ที่ไม่เป็นอิสระจากกัน เช่น ข้อมูลที่รวบรวมมาจากคนคนเดียวกันโดยเก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง ข้อมูลที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่ม ที่มีการจับคู่สมาชิกให้มีความเท่าเทียมกันเป็นคู่ๆ โดยใช้ฝาแฝดหรือคนที่มี I.Q. เท่าๆกัน เป็นต้น

  32. ขั้นตอนการทดสอบสมมติฐานขั้นตอนการทดสอบสมมติฐาน และ เป็นค่าเฉลี่ยของประชากรทั้งสองกลุ่ม = ค่าเฉลี่ยของผลต่างของข้อมูลแต่ละคู่ จะได้

  33. ขั้นตอนการทดสอบสมมติฐานขั้นตอนการทดสอบสมมติฐาน ขั้นที่ 1 กำหนดสมมติฐาน H0และ H1 H0 : D = d0 H0 : D ≥ d0 H0 : D ≤ d0 H1 : D ≠ d0 H1 : D < d0 H1 : D > d0 ขั้นที่ 2 กำหนดระดับนัยสำคัญ  ขั้นที่ 3 หาอาณาเขตวิกฤต ขั้นที่ 4 คำนวณค่าสถิติทดสอบ ขั้นที่ 5 เพื่อสรุปผล

  34. ขั้นที่ 4 คำนวณค่าสถิติทดสอบ ; d.f. = n – 1 สมมติให้ di = หรือ = ผลต่างของข้อมูลแต่ละคู่ n = จำนวนคู่

  35. ตัวอย่างที่ 9 ชมรมภาษาไทยกล่าวว่าถ้าให้นักศึกษามีโอกาสฝึกการผ่านแล้วจะสามารถอ่านหนังสือได้เร็วขึ้น เพื่อเป็นการทดสอบคำกล่าวนี้ จึงสุ่มนักศึกษามาทำการทดลอง 8 คน และทำการบันทึกจำนวนคำที่นักศึกษาแต่ละคนอ่านได้ ก่อนและหลังขบวนการฝึก เมื่อกำหนดเวลาให้เท่าๆกัน ไว้ดังตารางต่อไปนี้ จงทดสอบสมมติฐานว่า คำกล่าวของชมรมภาษาไทยนี้เป็นจริงหรือไม่

  36. ตัวอย่างที่ 9 (ต่อ)

  37. ตัวอย่างที่ 10 สถานเสริมความงามแห่งหนึ่งทำการทดสอบโปรแกรมการลดน้ำหนักที่ใช้อยู่โดยสุ่มลูกค้ามา 10 คน ทำการบันทึกน้ำหนักก่อนเข้าโปรแกรมและหลังเข้าโปรแกรมเป็นเวลา 3 เดือนแล้ว ได้ข้อมูลดังต่อไปนี้ จงทดสอบสมมติฐานว่าในเวลา 3 เดือน โปรแกรมการลดน้ำหนักนี้สามารถลดน้ำหนักโดยเฉลี่ยได้เกินกว่า 15 กิโลกรัม จริงหรือไม่ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01

  38. ตัวอย่างที่ 10 (ต่อ)

  39. การวิเคราะห์ความแปรปรวนสำหรับการทดสอบค่าเฉลี่ยมากกว่าสองกลุ่มการวิเคราะห์ความแปรปรวนสำหรับการทดสอบค่าเฉลี่ยมากกว่าสองกลุ่ม ที่เป็นอิสระกัน การทดสอบแบบ Z หรือการทดสอบแบบ t จะต้องเปรียบเทียบครั้งละคู่ ถ้ามีสิ่งที่ต้องการเปรียบเทียบหลายๆกลุ่ม ในที่นี้ให้เท่ากับ k กลุ่ม การทดสอบจะต้องทำหลายๆครั้ง ซึ่งจะยุ่งยากและสิ้นเปลื้องจึงมีผู้ที่ค้นหาวิธีที่จะใช้ทดสอบค่าเฉลี่ยของประชากรหลายๆกลุ่ม โดยทำการทดสอบเพียงครั้งเดียวขึ้น วิธีการทางสถิติที่นำมาวิเคราะห์เรียกว่าการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis Of Variance , ANOVA) ซึ่งข้อมูลที่จะนำมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการนี้จะต้องเป็นข้อมูลที่สอดคล้องกับข้อสมมติต่างๆ ตามหลักการในทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องนี้เทคนิควิธีที่จะได้ข้อมูลที่สอดคล้องกับการวิเคราะห์ความแปรปรวน แต่ละแบบเรียกว่า “แผนการทดลอง”

  40. คำนิยามต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง • การทดลอง (experiment) เป็นวิธีการที่สามารถกระทำซ้ำได้เพื่อแสวงหาคำตอบเกี่ยวกับปัญหาที่มีอยู่ อาจทำเพื่อหาข้อเท็จจริงใหม่ๆ หรือสนับสนุน หรือขัดแย้งกับผลการทดลองที่เคยทำมาแล้ว • กรรมวิธี (treatment) วิธีหรือสิ่งที่ต้องการทดลอง เพื่อกระทำต่อหน่วยทดลอง แล้ววัดผลกระทบเปรียบเทียบกับกรรมวิธีอื่นๆ ผลของกรรมวิธีหนึ่ง ถือว่าเป็นตัวแทนของประชากรหนึ่ง • หน่วยทดลอง (experiment unit) สิ่งที่ได้รับหรือทดลองโดยกรรมวิธีต่างๆ

  41. คำนิยามต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง • การซ้ำ (replication) การที่กรรมวิธีปรากฏมากกว่าหนึ่งครั้งในการทดลอง ตัวอย่าง เช่น จะทำการทดลองเพื่อเปรียบเทียบผลของอาหารสุกร 3 สูตร (A , B , C) ในตัวอย่างนี้ กรรมวิธี ก็คือสูตรอาหารต่างๆ 3 สูตร A , B และ C หน่วยทดลองคือ สุกรที่นำมาทดลองกินอาหาร การซ้ำคือ สุกรหลายๆตัวทดลองกินอาหารแต่ละสูตร • การสุ่ม (Randomization) การทำให้แต่ละกรรมวิธีถูกจดลงในหน่วยทดลองอย่างไม่เอนเอียง (Unbiasness) หรือมีความเที่ยงธรรม มีผลทำให้อิทธิพลจากปัจจัยต่างๆ อันเป็นแหล่งของความคลาดเคลื่อนของการทดลองต่อกรรมวีหนึ่งๆ ไม่เอนเอียงด้วย

  42. ข้อสมมติเบื้องต้น 1. ข้อมูลได้มาจากประชากรที่มีการแจกแจงแบบปกติ 2. ข้อมูลได้มาจากประชากรที่มีความแปรปรวนเท่ากัน 3. ข้อมูลได้มาจากประชากรที่เป็นอิสระกันอย่างสุ่ม ** ข้อสมมติที่สำคัญสำหรับการวิเคราะห์ความแปรปรวน คือ ประชากรที่ต้องการทดสอบทุกกลุ่ม มีการแจกแจงแบบปกติ ซึ่งอาจทดสอบได้ด้วยตัวสถิติซึ่งจะกล่าวถึงในระดับสูงต่อไป ในการวิเคราะห์ข้อมูลจะต้องทดสอบในเรื่องดังกล่าวด้วย แต่ในที่นี้จะพิจารณากรณีที่ข้อสมมติข้างต้นเป็นความจริง โดยไม่มีการทดสอบก่อนที่จะใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน

  43. การทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์การทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ • การทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design : CRD) การทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design : CRD) เป็นการทดลองเพื่อเปรียบเทียบ r กรรมวิธี(treatment) โดยทำการทดลองกับหน่วยทดลองที่ลักษณะคล้ายคลึงกัน (homogeneous) เช่น ทดลองสูตรอาหารโดยใช้สุกรพันธุ์เดียวกัน อายุเท่ากัน น้ำหนักเริ่มต้นใกล้เคียงกัน โดยแต่ละกรรมวิธี(treatment) มีจำนวนซ้ำเท่ากันหรือไม่เท่ากันก็ได้

  44. ขั้นตอนการทดสอบสมมติฐานขั้นตอนการทดสอบสมมติฐาน 1. สมมติฐานที่จะทดสอบ ก็คือ ประชากร r กลุ่ม มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน นั่นคือ H0 : 1 = 2 = ……..= r(ค่าเฉลี่ยของแต่ละทรีตเมนต์มีค่าไม่แตกต่างกัน) H1 : มีค่าเฉลี่ยของทรีตเมนต์อย่างน้อย 1 ทรีตเมนต์(ประชากร) มีค่าแตกต่างจากทรีตเมนท์อื่น 2. กำหนดระดับนัยสำคัญ 3. คำนวณค่าสถิติทดสอบ

  45. ขั้นตอนการทดสอบสมมติฐานขั้นตอนการทดสอบสมมติฐาน โดยที่ C.T. = = SST = ความผันแปรทั้งหมด (Summation of Squareof Total) = SSTrt = ความผันแปรระหว่างกลุ่ม (Summation of Square of Treatment) = SSE = ความผันแปรภายในกลุ่ม (Summation of Square of Error) = SST – SSTrt

  46. ขั้นตอนการทดสอบสมมติฐานขั้นตอนการทดสอบสมมติฐาน 4. หาอาณาเขตวิกฤต คือ 5. สรุปผล ถ้าค่า Fcal ที่ได้จากตารางการวิเคราะห์ความแปรปรวนมีค่ามากกว่าค่า F , r - 1 , N – r ที่เปิดได้จากตาราง นั่นคือ Fcal > F , r – 1 , N – r จะสรุปได้ว่าปฏิเสธสมมติฐาน H0นั่นคือ มีค่าเฉลี่ยของทรีตเมนต์อย่างน้อย 1 ทรีตเมนต์(ประชากร) มีค่าแตกต่างจากทรีตเมนท์อื่น

  47. ตัวอย่างที่ 11 สมมติว่าผู้วิจัยสนใจผลของการใช้อาหารเสริมต่อการเพิ่มน้ำหนักของสุกร จึงทำการทดลอง โดยการสุ่มตัวอย่างลูกสุกรมา 32 ตัว แล้วสุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 8 ตัว และสุ่มให้กับระดับใดระดับหนึ่งของอาหารเสริม 4 ชนิด ได้ข้อมูลดังตาราง อยากทราบว่าอาหารเสริมทั้ง 4 ชนิดให้ผลแตกต่างกันหรือไม่ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

  48. ตัวอย่างที่ 11 (ต่อ)

  49. ตัวอย่างที่ 12 ในการทดสอบประสิทธิภาพของวิธีการสอน 4 วิธี จึงแบ่งนักเรียนออกเป็น 4 กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มได้รับการสอนต่างวิธีกัน จนถึงสิ้นปีจึงวัดผลโดยการสอบข้อสอบเดียวกันทั้ง 4 กลุ่ม และได้เกรดเฉลี่ยของนักเรียนในแต่ละกลุ่มดังตาราง ประสิทธิภาพของวิธีการสอนทั้ง 4 วิธีแตกต่างกันหรือไม่ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

  50. ตัวอย่างที่ 12 (ต่อ)

More Related