1 / 48

ฐานข้อมูลภาคเศรษฐกิจจริง : ทิศทางและการพัฒนา

ฐานข้อมูลภาคเศรษฐกิจจริง : ทิศทางและการพัฒนา. 18 สิงหาคม 2553 ณ โรงแรม SHERATON GRANDE SUKHUMVIT. หัวข้อการนำเสนอ. 2. 1. บทนำ : สถิติกับการดำเนินนโยบาย. การประเมินคุณภาพและความเพียงพอ ของข้อมูลเศรษฐกิจ. 2. 3. แนวทางการพัฒนา. 4. บทสรุปและความท้าทาย. หัวข้อการนำเสนอ. 3. 1.

misu
Download Presentation

ฐานข้อมูลภาคเศรษฐกิจจริง : ทิศทางและการพัฒนา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ฐานข้อมูลภาคเศรษฐกิจจริง : ทิศทางและการพัฒนา 18 สิงหาคม 2553 ณ โรงแรม SHERATON GRANDE SUKHUMVIT

  2. หัวข้อการนำเสนอ 2 1 บทนำ: สถิติกับการดำเนินนโยบาย การประเมินคุณภาพและความเพียงพอ ของข้อมูลเศรษฐกิจ 2 3 แนวทางการพัฒนา 4 บทสรุปและความท้าทาย

  3. หัวข้อการนำเสนอ 3 1 บทนำ: สถิติกับการดำเนินนโยบาย

  4. บทนำ: สถิติกับการดำเนินนโยบาย 1 4 ¤ UNESCO: ทรัพยากรสารนิเทศ เป็น 1 ใน 3 ของ ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของโลก ¤ สถิติ และ เครื่องชี้ = “วัตถุดิบสำคัญ” สำหรับการวิเคราะห์ และกำหนดนโยบาย - คุณภาพน่าเชื่อถือ - ทันการณ์ - ตรงประเด็น + เป็นประโยชน์

  5. บทนำ: สถิติกับการดำเนินนโยบาย 1 5 ¤ โลกาภิวัฒน์  ปริมาณธุรกรรมทวีขนาด & ความผันผวน- Export + Import / GDP ≈ 110% - Gross Capital Flows / GDP ≈ 920%

  6. บทนำ: สถิติกับการดำเนินนโยบาย 1 6 6 ¤ นวัตกรรมทางการเงิน / เทคโนโลยี  ธุรกรรมซับซ้อน จัดเก็บได้ยาก

  7. บทนำ: สถิติกับการดำเนินนโยบาย 1 REALSECTOR STATISTICS Dสิ่งแวดล้อม Dความต้องการข้อมูล ประเมินคุณภาพ-ความเพียงพอของข้อมูลเศรษฐกิจ 7 7

  8. หัวข้อการนำเสนอ 8 การประเมินคุณภาพและความเพียงพอของข้อมูลเศรษฐกิจ 2

  9. กรอบในการประเมินคุณภาพของข้อมูลกรอบในการประเมินคุณภาพของข้อมูล 2.1 9 • หลักเกณฑ์ในการประเมินคุณภาพข้อมูล

  10. กรอบในการประเมินคุณภาพของข้อมูลกรอบในการประเมินคุณภาพของข้อมูล 2.1 10 • หลักเกณฑ์ในการประเมินคุณภาพข้อมูล

  11. กรอบในการประเมินคุณภาพของข้อมูลกรอบในการประเมินคุณภาพของข้อมูล 2.1 11

  12. ผลการประเมินคุณภาพของข้อมูลผลการประเมินคุณภาพของข้อมูล 2.2 12 • มิติที่ได้รับคะแนนการประเมินต่ำกว่ามิติด้านอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ มิติด้านความเพียงพอต่อความต้องการใช้ข้อมูล และความถี่และความรวดเร็วของการเผยแพร่ข้อมูล

  13. ผลการประเมินคุณภาพของข้อมูล (ต่อ) 2.2 13

  14. ผลการประเมินคุณภาพของข้อมูล (ต่อ) 2.2 14

  15. ผลการประเมินคุณภาพของข้อมูล (ต่อ) 2.2 15 • กลุ่มข้อมูลที่ได้รับคะแนนโดยเฉลี่ยต่ำกว่ากลุ่มอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมี 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) ภาคเกษตร / ประมง / เหมืองแร่ 2) แรงงาน 3) ภาคบริการ และ 4) ภาคอสังหาริมทรัพย์

  16. ผลการประเมินคุณภาพของข้อมูล (ต่อ) 2.2 16 • มิติด้านคุณภาพแต่ละกลุ่มได้รับคะแนนโดยเฉลี่ยต่ำ คือ • ความพอเพียงและความตรงต่อความต้องการใช้งาน • ความถี่และความรวดเร็วในการจัดทำและเผยแพร่ข้อมูล • ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูล

  17. หัวข้อการนำเสนอ 17 17 3 แนวทางการพัฒนา

  18. การพัฒนาคุณภาพของข้อมูลการพัฒนาคุณภาพของข้อมูล 3 18 • อย่างไรก็ตาม การพัฒนาบางมิติก็เอื้อให้มิติด้านอื่นๆ พัฒนาไปด้วย เช่น มิติด้านความเพียงพอและตรงตามการใช้และการเข้าถึงข้อมูล • ข้อมูลที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวกรวดเร็วและด้วยต้นทุนที่ต่ำจะทำให้ข้อมูลถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุด • ข้อมูลที่มิได้ทำการเผยแพร่อย่างเป็นระบบก็อาจทำให้ผู้ใช้ข้อมูลไม่ทราบว่ามีข้อมูลนั้นๆ • การสร้างความสมดุลของมิติต่างๆ เนื่องจากบางครั้งการพัฒนาในบางมิติก็ส่งผลกระทบให้มิติบางด้านปรับแย่ลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

  19. การพัฒนาคุณภาพของข้อมูล (ต่อ) 3 19

  20. การพัฒนาคุณภาพข้อมูล: ภาคเกษตร 3.1 20 • ปัจจุบันหน่วยงานหลักที่จัดทำข้อมูลดัชนีราคาและปริมาณพืชผลเกษตร ได้แก่ ธปท. และ สำนักเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) • ดัชนีปริมาณและราคาพืชผล ซึ่งใช้ปีฐาน คือ ปี 2531 และ 2538 ส่งผลให้ดัชนีทั้ง 2 ของ ธปท. มีปัญหาด้าน Bias ค่อนข้างมาก

  21. การพัฒนาคุณภาพข้อมูล: ภาคเกษตร (ต่อ) 3.1 21 • ธปท. จึงมีแนวคิดที่จะให้ สศก. เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำเครื่องชี้ดังกล่าว

  22. การพัฒนาคุณภาพข้อมูล: ภาคแรงงาน 3.2 22 • ข้อมูลด้านแรงงานส่วนใหญ่เป็นข้อมูลที่ได้จากการสำรวจภาวะแรงงาน (Labour Force Survey: LFS) ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) ในการออกแบบสำรวจดังกล่าว สสช. ได้มีการหารือร่วมกับ International Labour Organization (ILO) เกี่ยวกับหลักเกณฑ์และนิยามต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับประเทศไทยและสามารถครอบคลุมทั้งในส่วนของภาวะการมีงานทำ การว่างงาน รวมทั้งกลุ่มที่ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน • นิยามของผู้ว่างงานของไทย คือ • เป็นผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงาน (ผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป) • เป็นผู้ที่ไม่ได้ทำงาน (Without Work) • พร้อมที่จะทำงานในช่วงเวลาที่ทำการสำรวจ (Currently Available for Work)

  23. การพัฒนาคุณภาพข้อมูล: ภาคแรงงาน (ต่อ) 3.2 23

  24. การพัฒนาคุณภาพข้อมูล: ภาคแรงงาน (ต่อ) 3.2 24 • การมีตารางมาตรฐานเพื่อเผยแพร่ข้อมูลที่มีความต้องการใช้งานอย่างแพร่หลาย จะช่วยให้ข้อมูลการสำรวจภาวะแรงงานถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่ามากขึ้น ซึ่งมิใช่แต่เฉพาะเพื่อประโยชน์ต่อการดำเนินนโยบายเท่านั้น ยังรวมถึงการพัฒนาองค์ความรู้และงานวิจัยด้านแรงงานของประเทศอีกด้วย

  25. การพัฒนาคุณภาพข้อมูล: ภาคบริการ 3.3 25 • เครื่องชี้ด้านบริการนับได้ว่าเป็นข้อมูลที่มีความขาดแคลนอย่างยิ่ง ซึ่งความขาดแคลนนี้มิได้เกิดขึ้นเฉพาะประเทศไทยเท่านั้น แต่ประเทศพัฒนาแล้วอย่าง สหรัฐอเมริกา กลุ่มยุโรป หรือ ญี่ปุ่น ก็ล้วนประสบปัญหานี้เช่นกัน เนื่องจากข้อมูลภาคบริการเป็นข้อมูลที่มีความซับซ้อนและมีความหลากหลาย ทำให้ในการจัดทำข้อมูลทำได้ยากและต้องใช้งบประมาณค่อนข้างสูง • ปัจจุบัน การจัดทำข้อมูลการค้าส่งและการค้าปลีกของ ธปท. ใช้ฐานข้อมูลการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม

  26. การพัฒนาคุณภาพข้อมูล: ภาคบริการ (ต่อ) 3.3 26 • แม้ว่าอัตราเข้าพักจะเป็นส่วนหนึ่งในการสะท้อนถึงกิจกรรมการท่องเที่ยวของคนในประเทศ แต่การเกิด Sample Error ส่งผลให้อัตราเข้าพักที่ ธปท. ได้จัดทำอยู่มิได้สะท้อนกิจกรรมการท่องเที่ยวของคนในประเทศ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงการจัดทำเครื่องชี้ดังกล่าว เพื่อให้มีความถูกต้องและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น • ธปท. ได้จัดทำเครื่องชี้เพิ่มเติม ได้แก่ อัตราการจองห้องพักล่วงหน้า 3 เดือน ค่าห้องพักเฉลี่ยที่ขายได้จริง สัดส่วนรายได้จากการจัดประชุม / สัมมนา และสัดส่วนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ

  27. การพัฒนาคุณภาพข้อมูล: ภาคบริการ (ต่อ) 3.3 27 • นอกจากนี้ ยังมีเครื่องชี้อื่นๆ ในภาคบริการของไทยยังคงขาดแคลนอย่างมาก อาทิ เครื่องชี้การขนส่งและคมนาคมซึ่งมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 20 ของ GDP ภาคบริการ ดังนั้น การประสานงานกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมสรรพากร คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ก็จะเพิ่มโอกาสสำเร็จในการจัดทำเครื่องชี้ภาคบริการที่สมบูรณ์ ครบถ้วนยิ่งขึ้นไป

  28. การพัฒนาคุณภาพข้อมูล: ภาคอสังหาริมทรัพย์ 3.4 28 • เครื่องชี้ภาคอสังหาริมทรัพย์ถือได้ว่าเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินนโยบาย เนื่องจากภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นภาคที่มีความเชื่อมโยงกับภาคการผลิตอื่นๆ ค่อนข้างสูง เนื่องจากเป็นข้อมูลที่มีหลายมิติ อาทิ อุปสงค์และอุปทานของตลาดที่อยู่อาศัย รวมทั้งระดับราคาซึ่งจำแนกตามประเภทสิ่งปลูกสร้าง • ในการจัดทำเครื่องชี้ในกลุ่มนี้มีความเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Information Center: REIC) Agency for Real Estate Affairs (AREA) กรมที่ดิน สำนักงานเขตและเทศบาล ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และ ธปท.

  29. การพัฒนาคุณภาพข้อมูล: ภาคอสังหาริมทรัพย์ (ต่อ) 3.4 29 • ปัญหาที่สำคัญของเครื่องชี้ในกลุ่มนี้ คือ มีความถี่ไม่เพียงพอต่อการติดตามภาวะอสังหาริมทรัพย์และครอบคลุมแต่เฉพาะกิจกรรมที่เกิดขึ้นในตลาดที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเท่านั้น • ข้อมูลที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยให้การติดตามภาวะได้ดียิ่งขึ้น ได้แก่ • สินเชื่อเพื่อการซื้อบ้านหลังแรก / การโอนกรรมสิทธิ์บ้านหลังแรก • Housing Start ที่แท้จริง • การพัฒนาเครื่องชี้ในกลุ่มนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยข้อมูลจากกรมที่ดินและสำนักงานเขตซึ่งเป็นหน่วยงานของทางการที่มีข้อมูลครอบคลุมทั้งประเทศ รวมทั้งการประสานงานกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในการทำให้การจัดเก็บ รวบรวม ตลอดจนการเผยแพร่ข้อมูล

  30. การพัฒนาคุณภาพข้อมูล: ภาคอุตสาหกรรม 3.5 30 • ปัจจุบันหน่วยงานหลักที่จัดทำเครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ ธปท. และ สำนักเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)

  31. การพัฒนาคุณภาพข้อมูล: ภาคอุตสาหกรรม (ต่อ) 3.5 31 • ข้อมูล MPI และ CAPU ที่จัดทำโดยทั้ง 2 หน่วยงาน มีความ เคลื่อนไหวเป็นไปในทิศทางเดียวกัน • การที่ทั้ง 2 หน่วยงานต่างก็จัดทำเครื่องชี้ดังกล่าวก่อให้เกิดต้นทุนส่วนเกินทั้งสำหรับหน่วยงานและผู้ประกอบการ ธปท. จึงมีแนวคิดที่จะให้ สศอ. เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำ

  32. การพัฒนาคุณภาพข้อมูล: ภาคอุตสาหกรรม (ต่อ) 3.5 32 • เครื่องชี้ที่สำคัญที่จะช่วยให้การวิเคราะห์ภาพเศรษฐกิจมีความสมบูรณ์มากขึ้น ได้แก่ ดัชนีปริมาณคำสั่งซื้อ (New Orders) ซึ่งจะช่วยสะท้อนถึงอุปสงค์ของสินค้า และสามารถบอกแนวโน้มทางเศรษฐกิจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อใช้คำนวณขึ้นเป็นดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ

  33. การพัฒนาคุณภาพข้อมูล: บัญชีรายได้ประชาชาติ 3.6 33 • บัญชีรายได้ประชาชาติเป็นข้อมูลที่ได้รับการประเมินอยู่ในเกณฑ์ดี และเป็นข้อมูลที่ถูกใช้เป็น Reference Series ค่อนข้างมาก

  34. การพัฒนาคุณภาพข้อมูล: บัญชีรายได้ประชาชาติ (ต่อ) 3.5 34 • การปรับเปลี่ยนข้อมูลย้อนหลังจึงส่งผลกระทบต่อการวิเคราะห์ภาพเศรษฐกิจและการประมาณการค่อนข้างมาก • โดยทั่วไป การปรับข้อมูลจะมี 2 ลักษณะ คือ • การปรับปรุงในไตรมาสย้อนหลังจากไตรมาสอ้างอิงหนึ่งไตรมาส เพื่อให้มีความถูกต้องยิ่งขึ้นอันเนื่องมาจากการปรับปรุงตามแหล่งข้อมูลล่าสุด • การปรับปรุงเพื่อให้ค่าผลรวมรายไตรมาสทั้งสี่ไตรมาสมีค่าเท่ากับรายปีโดยจะทำการปรับปรุงทุกไตรมาสที่ 2 ของปี โดยปรับข้อมูลย้อนหลัง 14 ไตรมาส

  35. การพัฒนาคุณภาพข้อมูล: บัญชีรายได้ประชาชาติ (ต่อ) 3.5 35 • ค่า Mean Absolute Revision ของไทยมีค่าค่อนข้างต่ำ ซึ่งมีสาหตุมาจาก • การจัดทำข้อมูลดังกล่าวมีความถูกต้องอยู่แล้วซึ่งสะท้อนว่าความถูกต้องแม่นยำของเครื่องชี้ต่างๆ • กิจกรรมทางเศรษฐกิจบางอย่างที่ไม่สามารถจัดเก็บได้ ณ ช่วงเวลาที่จัดทำข้อมูล ก็ยังคงไม่สามารถจัดเก็บได้แม้ว่าเวลาผ่านไประยะหนึ่ง • การจัดเก็บข้อมูลเพื่อให้เป็น Track Record และศึกษาแยกเป็นรายองค์ประกอบเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยสร้างความโปร่งใสในการจัดทำข้อมูลและช่วยให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้รับรู้ถึงข้อบกพร่องของข้อมูลที่ตนเองจัดทำ

  36. หัวข้อการนำเสนอ 36 4 บทสรุปและความท้าทาย

  37. ความท้าทายในการจัดทำข้อมูล : ระบบการจัดเก็บสถิติ 4.1 37 Decentralized System

  38. ความท้าทายในการจัดทำข้อมูล : ระบบการจัดเก็บสถิติ 4.1 Decentralized Statistical System การบริหารจัดการองค์รวม = ขาดเอกภาพ ประสานงานระหว่างหน่วยงานอย่างใกล้ชิด 38

  39. ความท้าทายในการจัดทำข้อมูล : ระบบการจัดเก็บสถิติ 4.1 39 ประสานงานระหว่างหน่วยงานอย่างใกล้ชิด ลดงานซ้ำซ้อน ลดภาระผู้ให้ข้อมูล ใช้ข้อมูลร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด

  40. ความท้าทายในการจัดทำข้อมูล : ระบบการจัดเก็บสถิติ 4.1 MPI ลดงานซ้ำซ้อน ลดภาระผู้ให้ข้อมูล CAPU ดัชนีราคา XM 40

  41. ความท้าทายในการจัดทำข้อมูล : ระบบการจัดเก็บสถิติ 4.1 41 เครื่องชี้ภาคบริการ ใช้ข้อมูลร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด เครื่องชี้ภาคอสังหาฯ FATS

  42. ความท้าทายในการจัดทำข้อมูล : ระบบการจัดเก็บสถิติ 4.1 ¤ วัดผลกระทบของ FDI ต่อประเทศผู้รับทุน ¤การประเมินการส่งเสริมการลงทุน ¤ การเจรจาเปิดเสรีการค้า / การลงทุน ¤ วิเคราะห์ผลกระทบจากวิกฤตในต่างประเทศ ¤ อาเซียนส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกจัดทำ FATS คืออะไร? สถิติที่วัดขนาดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ของบริษัทที่มีนักลงทุนต่างชาติถือหุ้น > 50% FATS ให้อะไร? Foreign Affiliate Statistics (FATS) 42

  43. ความท้าทายในการจัดทำข้อมูล : ระบบการจัดเก็บสถิติ 4.1 เบื้องหลัง FATS 43 ธปท. BOI กรมศุลกากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

  44. ความท้าทายในการจัดทำข้อมูล : ระบบการจัดเก็บสถิติ 4.1 ตัวแปรเบื้องต้น FATS ในอนาคต 44 มูลค่าเพิ่ม จำนวนบริษัท งบฯ พัฒนาบุคลากร การจ้างงาน งบฯ วิจัยและพัฒนา ยอดขาย ส่งออก/นำเข้า จำแนกประเทศ

  45. ความท้าทายในการจัดทำข้อมูล: การปรับมาตรฐานสถิติ 4.2 ISIC 2008 SNA HS BPM6 ……. ……. 45 การปรับมาตรฐาน - คู่มือการจัดทำสถิติ การจำแนกหมวดหมู่ คู่มือใหม่

  46. ความท้าทายในการจัดทำข้อมูล: การปรับมาตรฐานสถิติ 4.2 46 คู่มือใหม่ บัญชีบริวาร Non-Observed Economy

  47. สรุป โลกข้อมูลไม่หยุดนิ่ง 4.3 พัฒนาคุณภาพ - สร้างเครื่องชี้ใหม่ ประสานงานระหว่างหน่วยงาน ร่วมมือภาครัฐ-เอกชน

  48. www.bot.or.th

More Related