1 / 46

สำนักเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เมษายน 2555

การเตรียมความพร้อมภาคเกษตรเพื่อก้าวสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. สำนักเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เมษายน 2555. อาเซียน ( ASEAN) สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

mingan
Download Presentation

สำนักเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เมษายน 2555

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเตรียมความพร้อมภาคเกษตรเพื่อก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนการเตรียมความพร้อมภาคเกษตรเพื่อก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สำนักเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เมษายน 2555

  2. อาเซียน (ASEAN)สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สัญลักษณ์อาเซียน คือ ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน สีน้ำเงินหมายถึง สันติภาพและความมั่นคง สีแดงหมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และ สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

  3. อาเซียน (ASEAN)สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ • อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2510 มีสมาชิกรวม 10 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไน ลาว พม่า เวียดนาม และกัมพูชา • วัตถุประสงค์เพื่อสร้างสันติภาพ เสถียรภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในภูมิภาค 2540 2540 2510 2510 2538 2542 2527 2510 2510 2510 อาเซียน 6 สมาชิกใหม่ CLMV

  4. ความสำคัญของอาเซียน ที่มา:ASEAN Secretariat, 2011

  5. ตัวชี้วัดสำคัญทางเศรษฐกิจของอาเซียน (ปี2552) ที่มา:ASEAN Secretariat, 2011

  6. ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) “One Vision, One Identity, One Community” • ปี 2546 ผู้นำอาเซียนเห็นพ้องกันว่า ภายในปี 2558 จะจัดตั้ง “ประชาคมอาเซียน” (ASEAN Community)ที่ประกอบด้วย 3 เสา คือ • ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political security Community : APSC) • ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) • ประชาคมสังคมวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC)

  7. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) AEC เป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน ลักษณะ วัตถุประสงค์ การเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานมีฝีมือ อย่างเสรี เพื่อสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน เคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น

  8. เป้าหมายของ AEC : ปี 2558

  9. แนวทางการดำเนินงานไปสู่การเป็น AECเพื่อเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว เปิดเสรีการค้าสินค้า การเปิดเสรีการค้าบริการ การเปิดเสรีการลงทุน การเปิดเสรีด้านเงินทุน การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรี

  10. เอกสารความตกลงสำคัญของอาเซียน ในการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว 1. ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ASEAN Trade in Goods Agreement: ATIGA) 2. ความตกลงด้านการค้าบริการของอาเซียน 3. ความตกลงด้านการลงทุนของอาเซียน (ASEAN Comprehensive Investment Agreement: ACIA) 4. ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน

  11. ATIGA - ความตกลงด้านการค้าสินค้าอาเซียน 1. การเปิดเสรีการค้าสินค้า • ครอบคลุมมาตรการด้านการส่งออกและนำเข้าสินค้าระหว่าง 10 ประเทศ • ตารางการลดภาษีตามพันธกรณีของอาฟตา (AFTA) • กำหนดให้ใช้มาตรการที่มิใช่ภาษี (NTMs) ได้เฉพาะเท่าที่จำเป็น • ส่งเสริมความสะดวกด้านการค้าสินค้าระหว่างกัน • หลักปฏิบัติด้านศุลกากรที่อ้างอิงหลักการของสากล • การปฏิบัติด้านเทคนิค กระบวนการตรวจสอบรับรองมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช • มาตรการเยียวยาทางการค้า

  12. ปี 2553 ปี 2558 ภาษี 0% สินค้าในรายการลดภาษี ภาษี 0% อาเซียนเดิม เวียดนาม ลาว พม่า กัมพูชา การเปิดเสรีการค้าสินค้า • การลด/ยกเลิกภาษี ยกเว้น สินค้าในรายการสินค้าอ่อนไหว(Sensitive List:SL)ภาษีไม่ต้องเป็น 0% แต่ต้อง <5% (ไทยมีเมล็ดกาแฟ มันฝรั่ง ไม้ตัดดอก เนื้อมะพร้าวแห้ง ภาษีเหลือ 5%) และสินค้าในรายการอ่อนไหวสูง (Highly Sensitive List:HSL)ลดภาษีลงในระดับที่ต้องตกลงกัน (ได้แก่ ข้าว (ID, MY, PH) และน้ำตาล (ID,PH)) • การขจัดมาตรการที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Measures) • การกำหนดกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิด (Rules of Origin)

  13. สินค้าอ่อนไหวของประเทศอาเซียน (ภาษีนำเข้า 0-5%)

  14. พันธกรณีการเปิดเสรีสินค้าของไทยพันธกรณีการเปิดเสรีสินค้าของไทย • ต้องลดภาษีทุกรายการสินค้า • เหลือ 0 % ในปี 2553 • (ยกเว้น เมล็ดกาแฟ มันฝรั่ง ไม้ตัดดอก เนื้อมะพร้าวแห้ง ภาษีเหลือ 5%) • ต้องยกเลิกโควตาสินค้าเกษตร • 23 รายการหมดไปในปี 2553

  15. ยกเลิกโควตาแล้ว 23 ชนิด/รายการ แล้ว 1) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 2) กากถั่วเหลือง 3)น้ำมันถั่วเหลือง 4)น้ำมันปาล์ม 5) หอมหัวใหญ่ 6) เมล็ดพันธุ์-หอมหัวใหญ่ 7) กระเทียม 8) มันฝรั่ง 9) ไหมดิบ 10) ลำไยแห้ง 11) พริกไทย 12) น้ำตาล 13) ใบยาสูบ 14) ชา 15) เมล็ดกาแฟ16) กาแฟสำเร็จรูป 17) น้ำนมดิบ/นมพร้อมดื่ม 18) นมผงขาดมันเนย 19) มะพร้าวผล 20) เนื้อ-มะพร้าวแห้ง 21 ) น้ำมันมะพร้าว 22) เมล็ดถั่ว-เหลือง 23) ข้าว

  16. การเปิดเสรีการค้าสินค้า (ต่อ) • การปฏิบัติด้านเทคนิค กระบวนการตรวจสอบรับรองมาตรการ SPS • ปรับประสานมาตรฐาน กฎระเบียบด้านเทคนิคและการประเมินให้เป็นไปตามหลักสากล ปฏิบัติได้ และโปร่งใส • พัฒนาและใช้ระบบบริหารจัดการคุณภาพผลิตภัณฑ์ทั้งพืช ประมง ปศุสัตว์ อาหาร • จัดตั้งระบบโดยใช้ GAP, GAHP, GHP, GMP, HACCP เป็นพื้นฐานสำหรับผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารให้สอดคล้องกับสากล • ปรับประสานระบบและเกณฑ์ต่างๆ เช่น ระบบการกักกันและตรวจสอบหรือสุ่มตัวอย่าง ระดับปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดในอาหาร มาตรฐานด้านความปลอดภัยและคุณภาพ แนวทางการใช้สารเคมี การควบคุมสุขภาพสัตว์ (สัตว์น้ำ/บก) เป็นต้น

  17. ACIA – ความตกลงด้านการลงทุนของอาเซียน 2. การเปิดเสรีการลงทุน • มีเป้าหมายเพิ่มการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาในอาเซียนและการลงทุนในอาเซียนโดยอาเซียนเอง • ACIAประกอบด้วยหลักการของการลงทุน 4 ด้านได้แก่ ส่งเสริมการลงทุนอำนวยความสะดวก การเปิดเสรีเพื่อให้เข้ามาลงทุน และการคุ้มครองการลงทุน • ครอบคลุม 1. ภาคการผลิต 2. เกษตร 3. ประมง 4.ป่าไม้ 5. เหมืองแร่ และบริการที่เกี่ยวเนื่องกับทั้ง 5 สาขาการผลิต • เปิดโอกาสให้สมาชิกทำข้อสงวนสาขาที่ไม่ต้องการเปิดเสรีไว้ในตารางข้อผูกพันโดยไม่ต้องมีการเจรจาต่อรอง • ปัจจุบันอาเซียน 10 ประเทศได้ให้สัตยาบันในความตกลงฯ ครบแล้ว ตั้งแต่วันที่ 27 ธ.ค. 2554 แต่ในทางปฏิบัติยังไม่ประกาศบังคับใช้ เนื่องจากรายการข้อสงวนหลายประเทศยังไม่แล้วเสร็จ

  18. พันธกรณีของไทยภายใต้ ACIA • ภายใต้ความตกลงฯ เดิม ซึ่งมีผลบังคับตั้งแต่ปี 2541 ไทยผูกพันการเปิดเสรีการลงทุนภายในปี 2553 (ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2553 เป็นต้นไป) ใน 3 สาขา ดังนี้ - การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ - การทำไม้จากป่าปลูก - การเพาะ ขยาย และปรับปรุงพันธุ์พืช • อาเซียนเห็นด้วยให้ใช้วิธีการเปิดเสรีแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ ปี 2553 ปี 2555 และ ปี 2557 • ปี 2553 ไทยจึงเปิดให้นักลงทุนอาเซียนถือหุ้นได้ไม่เกิน 51% ในสาขาเพาะเลี้ยงทูน่าในกระชังน้ำลึก การเพาะเลี้ยงกุ้งมังกรสายพันธุ์ในประเทศไทย และการเพาะขยายและปรับปรุงพันธุ์ เฉพาะเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่

  19. ข้อสงวนของไทยภายใต้ ACIA • สาขาที่ไทยไม่อนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนโดยเด็ดขาด ได้แก่ การทำนา ทำสวน ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ การแปรรูปไม้จากป่าธรรมชาติ การประมงในน่านน้ำไทย การสกัดพืชสมุนไพร (อยู่ในบัญชี 1 แนบท้าย พรบ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542) การผลิตน้ำตาลจากอ้อย (เว้นแต่ได้รับอนุญาตจาก ครม.) • สาขาที่ไทยห้ามต่างชาติถือหุ้นข้างมากเว้นแต่ ครม. อนุญาต ได้แก่ การเลี้ยงไหม การผลิตเส้นไหมไทย การทอผ้าไหม การทำนาเกลือ การแปรรูปไม้เพื่อทำเครื่องเรือน (อยู่ในบัญชี 2) • สาขาที่ไทยห้ามคนต่างชาติถือหุ้นข้างมาก เว้นแต่ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า พณ. อนุญาต ได้แก่ การสีข้าว การผลิตไม้อัด (อยู่ในบัญชี 3 เป็นธุรกิจที่ไทยไม่พร้อมแข่งขัน)

  20. ประเด็นการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีของอาเซียนประเด็นการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีของอาเซียน อาเซียนได้จัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements: MRAs) ด้านคุณสมบัติในสาขาวิชาชีพหลัก เป็นการเคลื่อนย้ายเสรีเฉพาะ “แรงงานฝีมือ” และต้องมีคุณสมบัติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ใน MRAs เท่านั้น ปัจจุบันอาเซียนได้จัดทำ MRAs ไว้แล้ว 8 สาขา คือ วิศวกรรม สถาปนิก แพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ นักบัญชี การสำรวจและท่องเที่ยว ส่วนสาขาอื่นๆ ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา (ไม่มีการเคลื่อนย้ายแรงงานเกษตรอย่างเสรี !!!)

  21. สิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหลังการเป็น AEC มีการรวมตัวกันเป็นตลาดขนาดใหญ่ บรรยากาศการค้าและการลงทุนเสรีมากขึ้น มีการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมถึงกันหมด มีการพัฒนาเศรษฐกิจที่เสมอภาค เชื่อมโยงเศรษฐกิจกับประเทศนอกภูมิภาค

  22. โอกาสทางการค้าและการลงทุนจาก AEC • ขยายช่องทางและโอกาสการค้าเข้าสู่ตลาดอาเซียน มีสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้นทั้งด้านปริมาณและความหลากหลาย • เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economy of Scale) • ลดต้นทุน นำเข้าวัตถุดิบในราคาถูกลง ทำให้ผลิตและขายในราคาถูกลง • เสริมสร้างโอกาสในการลงทุน เช่น ขยายกิจการ ย้ายฐานการผลิต • สร้างงานเพิ่มขึ้น • เกิดการพัฒนาและสร้างนวัตกรรมใหม่ในสินค้าและบริการ • มีการพัฒนาและเพิ่มคุณภาพบุคลากร/แรงงาน ลดช่องว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจ เพิ่มอำนาจการซื้อ • เศรษฐกิจในภาพรวมแข็งแกร่งขึ้น

  23. ภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นจากการเป็น AEC • ต้องเผชิญกับคู่แข่งขันและมีการแข่งขันในตลาดมากขึ้น • สินค้าหลากหลายที่ไม่ได้มาตรฐาน/คุณภาพต่ำเข้ามาขายในตลาดมากขึ้น • นักลงทุนต่างชาติที่ได้สิทธิการเป็นนักลงทุนอาเซียนเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น • การเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือของไทยไปประเทศที่มีค่าตอบแทนสูงกว่า

  24. การเตรียมความพร้อมของไทยการเตรียมความพร้อมของไทย

  25. จุดเด่นของสินค้าเกษตรไทยในปัจจุบันจุดเด่นของสินค้าเกษตรไทยในปัจจุบัน • การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและมาตรฐาน (สร้างความโดดเด่นและแตกต่างจากประเทศคู่แข่ง) • การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายรองรับกลุ่มผู้บริโภค (กลุ่มประชาคมยุโรป เน้นอาหารปลอดสารหรือสินค้าอินทรีย์และอาหารฮาลาล สำหรับกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง กลุ่มประเทศมุสลิม) • สินค้าเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั่วโลก (ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา สินค้าเกษตรและอาหารขยายตัวโดยเฉลี่ยร้อยละ 10.7)

  26. การค้าสินค้าเกษตรระหว่างไทยกับตลาดสำคัญการค้าสินค้าเกษตรระหว่างไทยกับตลาดสำคัญ ที่มา : กรมศุลกากร หมายเหตุ : สินค้าเกษตรพิกัดศุลกากรที่ 1-24

  27. การค้าสินค้าเกษตรและอาหารไทยกับประเทศในอาเซียน ปี 2554 ที่มา : กรมศุลกากร หมายเหตุ : สินค้าเกษตรพิกัดศุลกากรที่ 1-24

  28. การค้าสินค้าเกษตรและอาหารไทยกับอาเซียน ปี 2554

  29. การค้าสินค้าเกษตรและอาหารไทยกับอาเซียน ปี 2554 การส่งออก - กลุ่มสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ • กลุ่มยางพาราธรรมชาติ • กลุ่มน้ำตาลและขนมที่ทำจากน้ำตาล • กลุ่มข้าวและธัญพืช • กลุ่มเครื่องดื่ม สุรา น้ำส้มสายชู • กลุ่มซอส และเครื่องปรุงรส • กลุ่มสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ ที่มีการขยายสัดส่วนปริมาณและมูลค่าการส่งออกมากขึ้น 5 อันดับแรก เมื่อเทียบกับปี 2553 ได้แก่ • กลุ่มวัตถุจากพืชที่ใช้จักสาน • กลุ่มเนื้อสัตว์และส่วนอื่นของสัตว์เพื่อบริโภค • กลุ่มหนัง เขา กระดูกสัตว์ • กลุ่มผลไม้ • กลุ่มเมล็ดพืชและผลไม้ที่มีน้ำมัน

  30. การนำเข้า - กลุ่มสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ ที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มปลาและสัตว์น้ำ กลุ่มไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ของปรุงแต่งจากธัญพืช แป้ง นม กลุ่มซอส และเครื่องปรุงรสต่างๆ กลุ่มชา กาแฟ และเครื่องเทศ กลุ่มสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ ที่มีการขยายสัดส่วนปริมาณและมูลค่าการนำเข้ามากขึ้น5 อันดับแรก เมื่อเทียบกับปี 2553 ได้แก่ กลุ่มผลไม้ กลุ่มเนื้อสัตว์และชิ้นส่วนของสัตว์ ที่บริโภคได้ กลุ่มไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ กลุ่มอาหารปรุงแต่งจากเนื้อปลา ปลาและสัตว์น้ำ กลุ่มพืชผักเพื่อบริโภค การค้าสินค้าเกษตรและอาหารไทยกับอาเซียน ปี 2554

  31. ผลต่อภาคเกษตรที่คาดว่าจะได้รับจากผลต่อภาคเกษตรที่คาดว่าจะได้รับจาก การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

  32. ผลประโยชน์ -ไทยส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารได้มากขึ้น เนื่องจากภาษีที่ลดลง ราคาสินค้าถูกลง เพราะอาเซียนเป็นตลาดใหญ่ที่มีประชากรเกือบ 600 ล้านคน ซึ่งสำคัญสำหรับไทย (สินค้าส่งออกสำคัญ เช่นข้าว น้ำตาล นมและผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ไก่แปรรูป อาหารแปรรูป ซอสปรุงรสผลไม้สด เป็นต้น) - สินค้าวัตถุดิบนำเข้าราคาถูก ทำให้ลดต้นทุนการผลิตเพื่อส่งออก (เช่น ปลา และสัตว์น้ำ ชา กาแฟ) - เกษตรกร/ ผู้ประกอบการ เกิดการปรับตัวทางการผลิต ทำให้สามารถแข่งขันได้

  33. ส่วนแบ่งการตลาดข้าวสารของไทยและเวียดนามในตลาดสิงคโปร์ส่วนแบ่งการตลาดข้าวสารของไทยและเวียดนามในตลาดสิงคโปร์ ที่มา: Trade Map

  34. ส่วนแบ่งการตลาดข้าวสารของไทยและเวียดนามในตลาดมาเลเซียส่วนแบ่งการตลาดข้าวสารของไทยและเวียดนามในตลาดมาเลเซีย ที่มา: Trade Map

  35. ผลกระทบทางลบ - เกษตรกรบางสาขาอาจได้รับผลกระทบด้านราคาสินค้าตกต่ำเมื่อมีการนำเข้าสินค้าราคาถูกจากอาเซียน 9 ประเทศ - การแข่งขันจะสูงขึ้น อุตสาหกรรมเกษตรที่มีประสิทธิภาพการผลิตต่ำ ต้นทุนสูง อาจแข่งขันไม่ได้ - มาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) และความปลอดภัยด้านอาหารจะถูกหยิบยกมาเป็นเงื่อนไขในการค้ามากขึ้น

  36. มาตรการห้ามนำเข้าเพื่อช่วยเหลือผู้ผลิตในประเทศ • การขออนุญาตนำเข้า (Import License) • การกำหนดใช้ลังพลาสติคของมาเลเซียเป็นภาชนะบรรจุปลานำเข้า • การกำหนดให้หน่วยงานเฉพาะของรัฐเป็นผู้นำเข้า เช่น มาเลเซียกำหนดให้ Bernas เป็นผู้นำเข้าข้าวแต่เพียงผู้เดียว • การขออนุญาตจากหน่วยงานที่ดูแลก่อนการนำเข้า • กำหนดด่าน/ท่าเรือในการนำเข้าสินค้า • การบังคับใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชที่เข้มงวด มาตรการที่มิใช่ภาษีหลายรูปแบบถูกใช้มากขึ้น

  37. ข้อเสนอแนวทางการเตรียมความพร้อมข้อเสนอแนวทางการเตรียมความพร้อม • ด้านการเปิดเสรีการค้าสินค้า • ด้านการลงทุน • การให้ความรู้ สร้างความเข้าใจเพื่อการปรับตัว

  38. การเปิดเสรีสินค้าเกษตรการเปิดเสรีสินค้าเกษตร การป้องกันผลกระทบ (เชิงรับ) • การบริหารการนำเข้า เช่น • กำหนดให้เป็นสินค้าที่ต้องขอหนังสือรับรองนำเข้าและกำหนดคุณสมบัติผู้นำเข้า • กำหนดมาตรฐานการผลิต เช่น ต้องมีใบรับรองปริมาณสารพิษตกค้าง • กำหนดมาตรการสุขอนามัย(SPS) ที่เข้มงวด เช่นต้องแสดงใบรับรองสุขอนามัย จากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ในประเทศต้นทาง (อย.) • ตรวจเข้มใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (กรมศุลกากร) • กำหนดด่านนำเข้า (ให้นำเข้าเฉพาะด่านอาหารและยาและด่านตรวจพืช) • กำหนดช่วงเวลานำเข้า • การปราบปรามการลักลอบนำเข้า/ การนำเข้าที่ผิดกฎหมาย • ใช้มาตรการปกป้องพิเศษ (เก็บค่าธรรมเนียมปกป้อง)

  39. ตัวอย่าง แนวทางรองรับการเปิดตลาดเสรีสินค้าเกษตรที่อาจจะได้รับผลกระทบ (ด้านการบริหารการนำเข้า) ของไทย

  40. การเปิดเสรีสินค้าเกษตรการเปิดเสรีสินค้าเกษตร การเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน (เชิงรุก) • ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (ระบบน้ำ/ระบบชลประทาน ปุ๋ย วิจัยและพัฒนาพันธุ์ดี) • พัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรสู่สากล • สนับสนุนผู้ผลิตรายย่อยเข้าสู่ระบบมาตรฐาน • สร้างมูลค่าเพิ่มและผลิตสินค้าที่หลากหลายเพื่อเพิ่มศักยภาพ การแข่งขันในตลาดโลก • ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมให้กับเกษตรกร • เร่งปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร โดยใช้เงินกองทุน FTA • ส่งเสริมการทำเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้เกษตรกร

  41. แนวทางเพิ่มความสามารถในการแข่งขันแนวทางเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน • ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าเกษตรและอาหารเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยการ • กำหนดมาตรฐานสินค้าอาเซียนเพื่อยกระดับคุณภาพสินค้า ควบคู่ไปกับ • การกำหนดมาตรฐานบังคับสำหรับสินค้านำเข้าเพื่อป้องกันการนำเข้าสินค้าที่ด้อยคุณภาพจากต่างประเทศ • เพิ่มความเข้มงวดการตรวจสอบรับรองและควบคุมด้านมาตรฐานและความปลอดภัยของสินค้านำเข้า และ • เร่งรัดการจัดตั้งระบบเฝ้าระวัง/เตือนภัยผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยต่อการใช้

  42. การเปิดเสรีการค้าบริการ การลงทุน และแรงงาน • กระตุ้นและเร่งรัดให้ผู้ประกอบการการใช้ประโยชน์จาก AEC โดยเข้าไปลงทุนทั้งเรื่องการผลิตสินค้าและบริการในประเทศอาเซียน เพื่อสร้างความได้เปรียบการแข่งขัน ด้านต้นทุนการผลิต แรงงาน วัตถุดิบ หรือต้นทุนโลจิสติกส์ • เตรียมความพร้อมของบุคลากร/แรงงงานมีฝีมือให้มีความรู้ด้านภาษาอังกฤษและภาษาในอาเซียนอื่นที่จำเป็น • ภาครัฐต้องเป็นผู้สนับสนุน อำนวยความสะดวกด้านการค้าและเน้นการวิจัยและพัฒนา สร้างความเข้าใจเพื่อเตรียมความพร้อมและปรับตัวรองรับการเปิดเสรีเต็มรูปแบบ

  43. กองทุน FTA ของ กษ. • กองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ (กองทุน FTA) ตั้งขึ้นตาม มติ ครม. 20 ก.ค. 2547 • วัตถุประสงค์ เพื่อปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพผลผลิต แปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร • หลักการ ช่วยเหลือเยียวยาโดยการสนับสนุนปัจจัยการผลิต เทคโนโลยี งานวิจัย/พัฒนา การฝึกอบรม และปรับโครงสร้างการผลิต • ผลงานที่ผ่านมา ปี 50 -54 ให้การสนับสนุนโครงการปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าสำคัญ14 โครงการ เป็นเงิน 544.31 ล้านบาท เช่น ข้าว โคเนื้อ โคนม สุกร ชา กาแฟ ปาล์มน้ำมัน • ล่าสุด อยู่ระหว่างการพิจารณา โครงการข้าวอินทรีย์ ข้าวคุณภาพ Q พัฒนาโรงฆ่าโคเนื้อ เพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงปลากระพงขาว – โคนม ผักปลอดสารพิษวังน้ำเขียว รวม 340 ล้านบาท

  44. สนใจติดต่อขอรับการสนับสนุนสนใจติดต่อขอรับการสนับสนุน กองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทร. 0-2561-4727 โทรสาร 0-2561-4726 www2.oae.go.th/FTA E-mail: FTA@oae.go.th 44

  45. สรุป • AEC จะนำมาซึ่งโอกาสทั้งการค้าและการลงทุน • AEC จะช่วยยกระดับเศรษฐกิจในภาพรวมให้ไทยและอาเซียนมีความโดดเด่นในระบบเศรษฐกิจของโลก • AEC ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบอย่างยากที่จะหลักเลี่ยง • จำเป็นต้องใช้จุดเด่นที่มีอยู่ สร้างความเข้มแข็งให้กับสินค้าเกษตรและอาหารของไทย เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน • ภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันเตรียมความพร้อมและเร่งปรับตัวรองรับการเปิดสรีอย่างเต็มรูปแบบ

  46. ขอบคุณ

More Related