1 / 99

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ksp.or.th

การควบคุมการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา และบทบาทของ ศมจ. สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา www.ksp.or.th. กรอบการบรรยาย.

Download Presentation

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ksp.or.th

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การควบคุมการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา และบทบาทของ ศมจ. สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาwww.ksp.or.th

  2. กรอบการบรรยาย ๑. การควบคุมการประกอบวิชาชีพทางการศึกษาและบทบาท ศมจ. ๑.๑ บทบาทคุรุสภาตามกฎหมายสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา ๑.๒ มาตรฐานวิชาชีพ (๑) มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ (๒) มาตรฐานการปฏิบัติงาน (๓) มาตรฐานการปฏิบัติตน ๑.๓ การออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ๑.๓ การดำเนินการกรณีผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ ๑.๔ บทบาท ศมจ. ในการกำกับ ดูแลการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา๒. การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษา๓. การรับรองความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ๔. แนวทางการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

  3. พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ กำหนดให้วิชาชีพทางการศึกษาเป็นวิชาชีพควบคุมประกอบด้วย  วิชาชีพครู  วิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา  วิชาชีพผู้บริหารการศึกษา  วิชาชีพบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามที่กำหนดใน กฎกระทรวง (ศึกษานิเทศก์)

  4. หลักการของวิชาชีพชั้นสูงหลักการของวิชาชีพชั้นสูง ๑. มีบริการต่อสังคมที่ไม่ซ้ำซ้อนกับวิชาชีพอื่น ๒. มีระยะเวลาศึกษาเพื่อการประกอบวิชาชีพยาวนานพอสมควร อย่างน้อยปริญญาตรีขึ้นไป ๔. มีเสรีภาพในการประกอบวิชาชีพ ๒. มีจรรยาบรรณวิชาชีพ ๕. มีองค์กรวิชาชีพ

  5. พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๙กำหนดให้คุรุสภามีอำนาจหน้าที่ ๑. กำหนดมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ ๒. ควบคุมความประพฤติและการดำเนินงานของผู้ประกอบ วิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพและ จรรยาบรรณของวิชาชีพ ๓. ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอประกอบวิชาชีพ ๔. พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

  6. อำนาจหน้าที่ของคุรุสภา (ต่อ) ๕. สนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาวิชาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพ และจรรยาบรรณของวิชาชีพ ๖. ส่งเสริม สนับสนุน ยกย่อง และผดุงเกียรติผู้ประกอบ วิชาชีพทางการศึกษา ๗. รับรองปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรของสถาบัน ต่าง ๆตามมาตรฐานวิชาชีพ

  7. อำนาจหน้าที่ของคุรุสภา (ต่อ) ๘. รับรองความรู้และประสบการณ์ทางวิชาชีพ รวมทั้ง ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพ ๙. ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ ๑๐. เป็นตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาของ ประเทศไทย ๑๑. ออกข้อบังคับของคุรุสภา ฯลฯ

  8. การควบคุมการประกอบวิชาชีพ โดย มาตรา ๔๓ ให้วิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาเป็นวิชาชีพควบคุม การกำหนดวิชาชีพควบคุมอื่นให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุมโดยไม่ได้รับใบอนุญาต

  9. การควบคุมการประกอบวิชาชีพ โดย • มาตรา ๔๗ ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตต้องประกอบวิชาชีพภายใต้บังคับแห่งข้อจำกัดและเงื่อนไข ตามข้อบังคับของคุรุสภา • มาตรา ๔๘ ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตต้องประพฤติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพตามที่กำหนดในข้อบังคับของคุรุสภา

  10. การควบคุมการประกอบวิชาชีพ โดย • มาตรา ๔๙ให้มีข้อบังคับว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วย (๑) มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ (๒) มาตรฐานการปฏิบัติงาน (๓) มาตรฐานการปฏิบัติตน

  11. การควบคุมการประกอบวิชาชีพ โดย มาตรา ๕๐มาตรฐานการปฏิบัติตน ให้กำหนดเป็นข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ ประกอบด้วย (๑) จรรยาบรรณต่อตนเอง (๒) จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ (๓) จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ (๔) จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ (๕) จรรยาบรรณต่อสังคม การกำหนดแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามข้อบังคับของคุรุสภา

  12. การควบคุมการประกอบวิชาชีพ โดย • มาตรา ๗๘ ผู้ฝ่าฝืนมาตรา ๔๓ คือ “ประกอบวิชาชีพโดยไม่ได้รับอนุญาตจากคุรุสภา” ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือ ปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  13. การควบคุมการประกอบวิชาชีพ โดย มาตรา ๗๙ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๖ หรือมาตรา ๕๖ คือ “แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิหรือพร้อมที่จะประกอบวิชาชีพ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากคุรุสภา และสถานศึกษารับผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคุรุสภา” หรือ “ประกอบวิชาชีพควบคุม หรือ แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิหรือพร้อมที่จะประกอบวิชาชีพระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต” ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๓ ปี หรือปรับไม่เกิน ๖๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  14. มาตรฐานวิชาชีพ : การประกอบวิชาชีพ ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เข้าสู่วิชาชีพ มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ - ต่อใบอนุญาต- ประเมินความชำนาญ ตามระดับคุณภาพ - ประเมินความชำนาญเฉพาะด้าน คุณภาพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน มาตรฐานการปฏิบัติตน(จรรยาบรรณของวิชาชีพ) - จิตวิญญาณของความเป็นครู - การยอมรับของสังคม เกียรติและศักดิ์ศรี

  15. มาตรฐานวิชาชีพ (มาตรา ๔๙) มาตรฐานการปฏิบัติตน(จรรยาบรรณของวิชาชีพ) มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน ครูผู้บริหารสถานศึกษาผู้บริหารการศึกษา ศึกษานิเทศก์ ครู ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ศึกษานิเทศก์ ศึกษานิเทศก์

  16. มาตรฐานความรู้วิชาชีพ ครู 1. มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือ เทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยมีความรู้ ดังต่อไปนี้ (1) ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู (2) การพัฒนาหลักสูตร (3) การจัดการเรียนรู้ (4) จิตวิทยาสำหรับครู

  17. มาตรฐานความรู้วิชาชีพ ครู (ต่อ) (5) การวัดและประเมินผลการศึกษา (6) การบริหารจัดการในห้องเรียน (7) การวิจัยทางการศึกษา (8) นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ทางการศึกษา (9) ความเป็นครู

  18. มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ครู ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษา เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ดังต่อไปนี้ 1. การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน 2. การปฏิบัติการสอนในสาขาวิชาเฉพาะ

  19. มาตรฐานความรู้วิชาชีพ ผู้บริหารสถานศึกษา 1. มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบริหารการศึกษา หรือเทียบเท่าหรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยมีความรู้ดังต่อไปนี้ (1) หลักและกระบวนการบริหารการศึกษา (2) นโยบายและการวางแผนการศึกษา (3) การบริหารด้านวิชาการ (4) การบริหารด้านธุรการ การเงิน พัสดุ และอาคารสถานที่

  20. มาตรฐานความรู้วิชาชีพ ผู้บริหารสถานศึกษา (ต่อ) (5) การบริหารงานบุคคล (6) การบริหารกิจการนักเรียน (7) การประกันคุณภาพการศึกษา (8) การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ (9) การบริหารการประชาสัมพันธ์และ ความสัมพันธ์ชุมชน (10) คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้บริหาร สถานศึกษา 2. ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารสถานศึกษาที่คณะกรรมการ คุรุสภารับรอง

  21. มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้บริหารสถานศึกษา 1. มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอนมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือ 2. มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอนและต้องมี ประสบการณ์ในตำแหน่งหัวหน้าหมวดหรือ หัวหน้าสาย หรือหัวหน้างานหรือตำแหน่ง บริหารอื่น ๆ ในสถานศึกษามาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี

  22. มาตรฐานความรู้วิชาชีพ ผู้บริหารการศึกษา 1 . มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบริหารการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยมีความรู้ ดังต่อไปนี้ (1) หลักและกระบวนการบริหารการศึกษา (2) นโยบายและการวางแผนการศึกษา (3) การบริหารจัดการการศึกษา (4) การบริหารทรัพยากร (5) การประกันคุณภาพการศึกษา

  23. มาตรฐานความรู้วิชาชีพ ผู้บริหารการศึกษา (ต่อ) (6) การนิเทศการศึกษา (7) การพัฒนาหลักสูตร (8) การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ (9) การวิจัยทางการศึกษา (10) คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผู้บริหาร การศึกษา 2. ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารการศึกษา ที่คณะกรรมการคุรุสภารับรอง

  24. มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้บริหารการศึกษา 1. มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอนมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 8 ปี หรือ 2. มีประสบการณ์ในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือ 3. มีประสบการณ์ในตำแหน่งผู้บริหารนอก สถานศึกษาที่ไม่ต่ำกว่าระดับกองหรือเทียบเท่า กองมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี

  25. มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้บริหารการศึกษา (ต่อ) 4. มีประสบการณ์ในตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือ 5. มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอนและมีประสบการณ์ ในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้บริหาร การศึกษา หรือบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามที่กำหนด ในกฎกระทรวงรวมกันมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 10 ปี

  26. มาตรฐานความรู้วิชาชีพ ศึกษานิเทศก์ 1. มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาโททางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยมีความรู้ ดังต่อไปนี้ (1) การนิเทศศึกษา (2) นโยบายและการวางแผนการศึกษา (3) การพัฒนาหลักสูตรและการสอน (4) การประกันคุณภาพการศึกษา (5) การบริหารจัดการการศึกษา

  27. มาตรฐานความรู้วิชาชีพ ศึกษานิเทศก์ (ต่อ) (6) การนิเทศการศึกษา (7) กลวิธีถ่ายทอดความรู้ แนวคิด ทฤษฎี และ ผลงานทางวิชาการ (8) การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ (9) คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับศึกษานิเทศก์2. ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการนิเทศการศึกษา ที่คณะกรรมการคุรุสภารับรอง

  28. มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ศึกษานิเทศก์ 1. มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอนมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี หรือ มีประสบการณ์ด้านปฏิบัติการสอน และประสบการณ์ ในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา หรือผู้บริหารการศึกษา รวมกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี 2. มีผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพและมีการเผยแพร่

  29. มาตรฐานการปฏิบัติงานของครูมาตรฐานการปฏิบัติงานของครู ผู้ประกอบวิชาชีพครู ต้องปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน ดังนี้ 1. ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ 2. ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะแก่ผู้เรียน 3. มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ 4. พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง 5. พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ 6. จัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน

  30. มาตรฐานการปฏิบัติงานของครู (ต่อ) 7. รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ 8. ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน 9. ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์ 10. ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์ 11. แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา 12. สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์

  31. มาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา 1. ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพการบริหาร การศึกษา 2. ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับ การพัฒนาของบุคลากร ผู้เรียน และชุมชน 3. มุ่งมั่นพัฒนาผู้ร่วมงานให้สามารถปฏิบัติงานได้เต็มศักยภาพ 4. พัฒนาแผนงานขององค์การให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง 5. พัฒนาและใช้นวัตกรรมการบริหารจนเกิดผลงานที่มีคุณภาพสูงขึ้น เป็นลำดับ

  32. 6.ปฏิบัติงานขององค์การโดยเน้นผลถาวร7. รายงานผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างเป็นระบบ8. ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี 9. ร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานอื่นอย่างสร้างสรรค์10. แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา11. เป็นผู้นำและสร้างผู้นำ12. สร้างโอกาสในการพัฒนาได้ทุกสถานการณ์ มาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา (ต่อ)

  33. มาตรฐานการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์มาตรฐานการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ 1. ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาการนิเทศการศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนาวิชาชีพทางการศึกษา 2. ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมการนิเทศการศึกษา โดยคำนึงถึงผลที่จะ เกิดแก่ผู้รับการนิเทศ 3. มุ่งมั่นพัฒนาผู้รับการนิเทศให้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมจนเกิดผล ต่อการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ 4. พัฒนาแผนการนิเทศให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง 5. พัฒนาและใช้นวัตกรรมการนิเทศการศึกษาจนเกิดผลงานที่มี คุณภาพสูงขึ้นเป็นลำดับ

  34. มาตรฐานการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ (ต่อ) 6. จัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ ผู้รับการนิเทศ 7. รายงานผลการนิเทศการศึกษาได้อย่างเป็นระบบ 8. ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี 9. ร่วมพัฒนางานกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ 10. แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา 11. เป็นผู้นำและสร้างผู้นำทางวิชาการ 12. สร้างโอกาสในการพัฒนางานได้ทุกสถานการณ์

  35. มาตรฐานการปฏิบัติตน ประมวลความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพ ซึ่งเป็นการประพฤติปฏิบัติตนเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ อันเป็นคุณลักษณะของความเป็นครู คุณธรรม จริยธรรมของวิชาชีพ จรรยาบรรณของวิชาชีพ

  36. มาตรฐานการปฏิบัติตน (จรรยาบรรณของวิชาชีพ) ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาจะต้องประพฤติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพและแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ ดังต่อไปนี้

  37. แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ ประกอบด้วย - พฤติกรรมที่พึงประสงค์ - พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ การกำหนดแบบแผนพฤติกรรม ตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ ให้เป็นไปตามข้อบังคับคุรุสภา

  38. จรรยาบรรณต่อตนเอง ๑. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอยู่เสมอ

  39. คำสำคัญ • มีวินัยในตนเอง • พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ • พัฒนาตนเองด้านบุคลิกภาพ • พัฒนาตนเองด้านวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอยู่เสมอ

  40. ครู แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณ พฤติกรรมที่พึงประสงค์ ๑. ประพฤติตนเหมาะสมกับสถานภาพและเป็นแบบอย่างที่ดี ๒. ปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จอย่างมีคุณภาพตามเป้าหมาย ๓. ศึกษา หาความรู้ วางแผนพัฒนาตนเอง พัฒนางาน และสะสมผลงานอย่าง สม่ำเสมอ

  41. ครู แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณ พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ๑. เกี่ยวข้องกับอบายมุขหรือสิ่งเสพติดจนขาดสติหรือแสดง กิริยาไม่สุภาพเป็นที่น่ารังเกียจในสังคม ๒. ประพฤติผิดทางชู้สาวหรือมีพฤติกรรมล่วงละเมิดทางเพศ ๓. ขาดความรับผิดชอบ ความกระตือรือร้น ความเอาใจใส่ จนเกิดความเสียหายในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ ๔. ขัดขวางการพัฒนาองค์กรเกิดผลเสียหาย

  42. แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณ ผู้บริหารสถานศึกษา พฤติกรรมที่พึงประสงค์เช่น ๑. ประพฤติตนเหมาะสมกับสถานภาพและเป็นแบบอย่างที่ดี ๒. ศึกษา ค้นคว้า ริเริ่มสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนา วิชาชีพอยู่เสมอ ๓. ส่งเสริมและพัฒนาครูในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี ในการจัดการเรียนรู้

  43. แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณผู้บริหารสถานศึกษา แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณผู้บริหารสถานศึกษา พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์เช่น ๑. เกี่ยวข้องกับอบายมุขหรือสิ่งเสพติดจนขาดสติหรือแสดง กิริยาไม่สุภาพเป็นที่น่ารังเกียจในสังคม ๒. ประพฤติผิดในทางชู้สาวหรือมีพฤติกรรมล่วงละเมิด ทางเพศ ๓. ไม่พัฒนาความรู้ในวิชาชีพเพื่อพัฒนาตนเองและองค์กร ๔. ไม่ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อไปปรับปรุง พัฒนาการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

  44. จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ๒. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ

  45. คำสำคัญ • รักและศรัทธาวิชาชีพ • ซื่อสัตย์สุจริต • รับผิดชอบต่อวิชาชีพ • เป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ

  46. แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณ ครู พฤติกรรมที่พึงประสงค์เช่น ๑. แสดงความชื่นชมและศรัทธาในคุณค่าของวิชาชีพ ๒. รักษาชื่อเสียงและปกป้องศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ ๓. ยกย่องและเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานในวิชาชีพให้สาธารณชนรับรู้ ๔. อุทิศตนเพื่อความก้าวหน้าของวิชาชีพ ๕. เข้าร่วมกิจกรรมของวิชาชีพหรือองค์กรวิชาชีพอย่างสร้างสรรค์

  47. แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณ ครู พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ๑. ไม่แสดงความภาคภูมิใจในการประกอบวิชาชีพ ๒. ดูหมิ่น เหยียดหยาม ให้ร้ายผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ศาสตร์ในวิชาชีพ หรือองค์กรวิชาชีพ ๓. ประกอบการงานอื่นที่ไม่เหมาะสมกับการเป็นผู้ประกอบ วิชาชีพทางการศึกษา ๔. คัดลอกหรือนำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน

  48. แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณ ผู้บริหารสถานศึกษา พฤติกรรมที่พึงประสงค์เช่น ๑. แสดงความชื่นชมและศรัทธาในคุณค่าของวิชาชีพ ๒. รักษาชื่อเสียงและปกป้องศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ ๓. ยกย่องและเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานในวิชาชีพให้สาธารณชนรับรู้ ๔. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต ตามกฎ ระเบียบ และแบบแผนของทางราชการ ๕.เข้าร่วม ส่งเสริม และประชาสัมพันธ์กิจกรรมของวิชาชีพ หรือองค์กรวิชาชีพอย่างสร้างสรรค์

  49. แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณผู้บริหารสถานศึกษา แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณผู้บริหารสถานศึกษา พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์เช่น ๑. วิพากษ์หรือวิจารณ์องค์กรหรือวิชาชีพจนทำให้เกิดความเสียหาย ๒. ดูหมิ่น เหยียดหยาม ให้ร้ายผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ศาสตร์ใน วิชาชีพ หรือองค์กรวิชาชีพ ๓. ประกอบการงานอื่นที่ไม่เหมาะสมกับการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ทางการศึกษา ๔. ไม่ซื่อสัตย์สุจริต ไม่รับผิดชอบหรือไม่ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ หรือแบบแผนของทางราชการ จนก่อให้เกิดความเสียหาย

  50. จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการจรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ ๓. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจแก่ศิษย์และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า

More Related