1 / 13

บทที่ 8

บทที่ 8. การบำรุงรักษา. การบำรุงรักษา โดยสรุปหมายถึง กิจกรรมหรืองานทั้งหมดที่กระทำต่อเครื่องจักรและ อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อรักษาสภาพหรือป้องกันไม่ให้เกิดการชำรุดเสียหาย โดยให้อยู่ใน สภาพที่พร้อมที่จะใช้งานได้ตลอดเวลา รวมทั้งช่วยยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้น และเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด

Download Presentation

บทที่ 8

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 8 การบำรุงรักษา

  2. การบำรุงรักษา โดยสรุปหมายถึง กิจกรรมหรืองานทั้งหมดที่กระทำต่อเครื่องจักรและ อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อรักษาสภาพหรือป้องกันไม่ให้เกิดการชำรุดเสียหาย โดยให้อยู่ใน สภาพที่พร้อมที่จะใช้งานได้ตลอดเวลา รวมทั้งช่วยยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้น และเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด ความสำคัญของการบำรุงรักษา • การบำรุงรักษาช่วยชะลอความเสื่อมสภาพของอาคาร เครื่องจักร และอุปกรณ์การผลิตต่าง ๆ • การบำรุงรักษาทำให้การรักษาสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยให้คงอยู่ตลอดไป • การบำรุงรักษาช่วยลดค่าใช้จ่ายในปัจจัยการผลิตที่สำคัญ คือ 3.1 ค่าใช้จ่ายด้านวัสดุ (material cost) 3.2 ค่าใช้จ่ายด้านเครื่องจักร (machine cost) 3.3 ค่าใช้จ่ายด้านกำลังคน (man power cost) 4. การบำรุงรักษาจะช่วยก่อให้เกิดขวัญและกำลังใจแก่คนงาน

  3. ประเภทของการบำรุงรักษา สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1. การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (preventive maintenance) มี 2 ลักษณะ คือ 1.1 การบำรุงรักษาตามกำหนดเวลา (time – base maintenance) 1.2 การบำรุงรักษาตามสภาพ(condition – base maintenance) - การทำความสะอาด - การหล่อลื่น - การตรวจสอบสภาพ - การทดสอบความถูกต้องในการทำงานและงานการบันทึกเก็บประวัติ รวมทั้งการติดตามแนวโน้มการเสื่อมสภาพ 2. การบำรุงรักษาเมื่อเกิดการชำรุดหรือเสีย (breakdown maintenance) 3. การบำรุงรักษาแบบแก้ไข (corrective maintenance) 4. การป้องกันและการบำรุงรักษา (maintenance prevention)

  4. แนวทางการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรแนวทางการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักร การบำรุงรักษาที่ทุกคน มีส่วนร่วม (total productive Maintenance: TPM) สร้างระบบเครื่องจักร ที่น่าเชื่อถือได้ (reliability) การซ่อมบำรุงรักษา เครื่องจักรการผลิต ในโรงงาน (maintenance) การซ่อมบำรุง เชิงแก้ไขปรับปรุง (corrective Maintenance : CM) การป้องกันงาน บำรุงรักษา เครื่องจักร (maintenance Prevention : MP) การบำรุง เชิงป้องกัน (preventive Maintenance: PM) การซ่อมบำรุง รักษาเมื่อเกิด การชำรุด (breakdown Maintenance : BM) ภาพที่ 8.1 แสดงแนวทางการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรสำหรับการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม www.themegallery.com

  5. เครื่องจักรเสียปกติ เครื่องจักร เครื่องจักรเสีย ในช่วงเริ่มต้น เสื่อมสภาพ ตามการใช้งาน อัตราการเสียของเครื่องจักร อัตราการใช้งานของเครื่องจักร ภาพที่ 8.2 แสดงอัตราการเสียของเครื่องจักรในช่วงเวลาต่าง ๆ

  6. การบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วมการบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม การบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม (total productive maintenance หรือ TPM) หมายถึง กิจกรรมที่ทำเป็นระบบในกระบวนการป้องกันไม่ให้เกิดการเสียของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ต่าง ๆ ภายในโรงงาน ตั้งแต่กระบวนการออกแบบให้สามารถซ่อมและบำรุงรักษาได้ง่าย เครื่องจักร ขัดข้องหรือเกิดอุบัติเหตุน้อยที่สุด กิจกรรมของการบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม มีทั้งหมด 8 กิจกรรม • กิจกรรมที่ 1 การบำรุงรักษาด้วยตนเอง • กิจกรรมที่ 2 การวางแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักรอุปกรณ์ • กิจกรรมที่ 3 การบำรุงรักษาอย่างมีคุณภาพ • กิจกรรมที่ 4 การปรับปรุงเฉพาะด้าน • กิจกรรมที่ 5 ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในสถานที่ทำงาน • กิจกรรมที่ 6 การปรับปรุงกระบวนการผลิต • กิจกรรมที่ 7 การศึกษาอบรม • กิจกรรมที่ 8 การป้องกันการบำรุงรักษา

  7. TPM ผู้บริหารระดับสูง กำหนดนโยบาย Output P,Q,C,D,S,M Input เครื่องจักรและอุปกรณ์ 20% 5% 75% • ฝ่ายผลิต • Operators • ฝ่ายบำรุงรักษา • ไฟฟ้า • เครื่องกล • Electronics • Instruments • อุตสาหการ • ฝ่ายอื่นๆ • จัดซื้อ • บัญชี • การเงิน • การตลาด • บุคคล

  8. การปฏิบัติการบำรุงรักษาด้วยตนเองการปฏิบัติการบำรุงรักษาด้วยตนเอง 7 ขั้นตอน การทำความสะอาดเบื้องต้น หาสาเหตุและจุดที่ก่อให้เกิดปัญหา กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน การตรวจสอบทั่ว ๆ ไป การตรวจสอบด้วยตนเอง ความเป็นระเบียบเรียบร้อย การดำเนินงานอย่างจริงจังหรือการจัดการทุกสิ่งทุกอย่างด้วยตนเอง ประโยชน์ของการทำกิจกรรมการบำรุงรักษาที่ ทุกคนมีส่วนร่วม ขจัดข้อขัดข้องของระบบการผลิต ลดเวลาในการตั้งเครื่องจักรให้เหลือน้อยลง ป้องกันการหยุดชะงักของระบบการผลิตโดยไม่จำเป็น อัตราความเร็วของการผลิตเพิ่มขึ้น ลดหรือขจัดจำนวนสินค้ามีตำหนิ ผลตอบแทนจากการลงทุนเพิ่มขึ้น ลดต้นทุนในกระบวนการผลิต อายุการใช้งานของเครื่องจักรอุปกรณ์มีระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น ขวัญและกำลังใจในการทำงานของพนักงานทุกคนดีขึ้น การตอบสนองของลูกค้ามีแนวโน้มดีขึ้น

  9. นโยบายการบำรุงรักษา 4 แนวทาง • การซ่อมบำรุงเมื่อเครื่องจักรอุปกรณ์ชำรุดเสียหาย • การบำรุงรักษาแบบป้องกัน เหมาะสำหรับระบบการผลิตที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง • การบำรุงรักษาโดยเปลี่ยนทดแทนเครื่องจักร • การใช้งานโดยไม่บำรุงรักษา การบริหารงานบำรุงรักษา แบ่งได้เป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ • วัฏจักรของการบำรุงรักษา • ระบบการบริหารงานบำรุงรักษา • ระบบงานเอกสารและการกระจายบันทึก

  10. ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ • ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน 1.1 ค่าใช้จ่ายในการดูแล 1.2 ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบ 1.3 ค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนและซ่อมแซมชิ้นส่วนตามกำหนด 2. ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการชำรุดเสียหายของเครื่องจักรอุปกรณ์ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม คำนวณได้จากค่าแรง ค่าอะไหล่ และวัสดุ ตลอดจนค่าโสหุ้ยในการซ่อมแซม 2.2 ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากความสูญเสียเนื่องจากเครื่องจักรชำรุดเสียหาย ได้แก่ 2.2.1 ค่าใช้จ่ายในการหยุดเครื่อง (closing – down cost) 2.2.2 ค่าใช้จ่ายสำหรับเวลาที่สูญเสีย (down – time cost) 2.2.3 ค่าใช้จ่ายในการเดินเครื่องใหม่ (start – up cost)

  11. ค่าใช้จ่าย • การบำรุงรักษาทางตรง • ค่าใช้จ่ายการบำรุงรักษาทางอ้อม • การสูญเสียคุณภาพ • การสูญเสียด้านพลังงาน • ค่าใช้จ่ายการลงทุน • การสูญเสียจากการผลิต • สภาพแวดล้อมในการทำงาน • การสูญเสียทางการตลาด • การลงทุนเพิ่มขึ้น ส่วนเหนือผิวน้ำ ส่วนใต้ผิวน้ำ ภาพแสดงค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาเปรียบได้กับภูเขาน้ำแข็ง

  12. โครงสร้างการบริหารงานบำรุงรักษา มักมีการจัดเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้คือ • จัดตามลักษณะงาน • จัดตามสถานที่ • จัดรูปแบบผสม ลักษณะของโครงสร้างการบริหารงานบำรุงรักษาที่ดี • พื้นฐานของการปฏิบัติและระยะเวลาการทำงาน จะต้องบรรลุวัตถุประสงค์และภารกิจของกิจกรรมการบำรุงรักษาที่ตั้งเป้าหมายไว้ • ลักษณะของการปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ ความยืดหยุ่น และผลของการปฏิบัติงานแสดงออกได้อย่างชัดเจน • การประสานงานเป็นทีมในการแก้ไขปัญหา ไม่ว่าภายในหน่วยเดียวกันหรือระหว่างหน่วยงาน

  13. การวัดประสิทธิภาพการบำรุงรักษา มีวัตถุประสงค์อยู่ 3 ประการ คือ • เพื่อกำหนดเป้าหมายในการปฏิบัติงานของฝ่ายซ่อมบำรุง • เพื่อเรียงลำดับความสำคัญในการปรับปรุงเทคนิคการบำรุงรักษาโดยใช้ค่าตัวเลขต่าง ๆ ที่เก็บได้ • เพื่อเพิ่มขวัญและกำลังใจของฝ่ายซ่อมบำรุง อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเนื่องจากการบำรุงรักษา • สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย เช่น มีสิ่งกีดขวาง มีประกายไฟหรือความร้อนสูง มีการถอดฝาครอบเครื่องจักรกล เป็นต้น • สาเหตุที่มักมีสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัยในขณะซ่อมบำรุง เช่น ขาดการประสานงานที่ดีระหว่างฝ่ายผลิตกับฝ่ายซ่อมบำรุง ไม่มีแผนงานด้านความปลอดภัย เป็นต้น • การป้องกันอุบัติเหตุในงานซ่อมบำรุง เช่น ออกนโยบาย คำสั่ง หรือประกาศเกี่ยวกับมาตรฐานการซ่อมบำรุงอย่างถูกวิธีและปลอดภัย

More Related