1 / 73

บทที่ 3

บทที่ 3. การสื่อสารและระบบเครือข่าย Communications and Networks. ความหมายและประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล. การสื่อสารข้อมูล หมายถึง การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างอุปกรณ์อย่างน้อย 2 ตัว โดยผ่านสื่อกลางชนิดใดชนิดหนึ่ง ซี่งข้อมูลนั้นอาจอยู่ในรูปของตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ หรือเสียง เป็นต้น

miller
Download Presentation

บทที่ 3

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 3 การสื่อสารและระบบเครือข่าย Communications and Networks

  2. ความหมายและประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูลความหมายและประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล • การสื่อสารข้อมูล หมายถึง การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างอุปกรณ์อย่างน้อย 2 ตัว โดยผ่านสื่อกลางชนิดใดชนิดหนึ่ง ซี่งข้อมูลนั้นอาจอยู่ในรูปของตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ หรือเสียง เป็นต้น • การสื่อสารข้อมูลมีประโยชน์มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 3 อย่าง คือ • ข้อมูลที่ส่งจะต้องถึงผู้รับหรือปลายทางได้อย่างถูกต้อง • ข้อมูลที่ส่งไปนั้นเมื่อไปถึงผู้รับหรือปลายทางจะต้องมีความถูกต้องแน่นอนไม่มีข้อผิดพลาด • ข้อมูลจะต้องถูกส่งถึงผู้รับหรือปลายทางได้ทันเวลาที่ผู้รับหรือปลายทางจะนำไปใช้ประโยชน์ได้

  3. องค์ประกอบของระบบสื่อสารข้อมูลองค์ประกอบของระบบสื่อสารข้อมูล ข้อมูล/ข่าวสาร (Message) 01010101 ตัวกลาง (Medium) ผู้ส่ง หรือ อุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) ผู้รับ หรือ อุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver)

  4. องค์ประกอบของระบบสื่อสารข้อมูลมีดังนี้องค์ประกอบของระบบสื่อสารข้อมูลมีดังนี้ • ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)หน้าที่ เปลี่ยนข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถส่งข้อมูลได้ก่อน • ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) หน้าที่ : รับข้อมูลเพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ • โปรโตคอล (Protocol)คือ กฎ ระเบียบ หรือวิธีการที่ใช้เป็นข้อกำหนดสำหรับการสื่อสาร เพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งเข้าใจกันได้ • ตัวกลาง (Medium) คือ เส้นทางสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับ • ข่าวสาร (Message)คือ ข้อมูลที่ผู้ส่งทำการส่งไปยังผู้รับ ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของตัวอักษรตัวเลขรูปภาพและ เสียง

  5. ชนิดของสัญญาณในการสื่อสารข้อมูลชนิดของสัญญาณในการสื่อสารข้อมูล สัญญาณในการสื่อสารข้อมูลมี 2 ชนิด คือ • สัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) เป็นสัญญาณที่มีลักษณะเป็นคลื่นต่อเนื่อง เป็นค่าที่ได้จาการวัดที่มีการเปลี่ยนแปลงค่าสัญญาณทีละน้อย ตัวอย่างเช่น เสียง

  6. ชนิดของสัญญาณในการสื่อสารข้อมูลชนิดของสัญญาณในการสื่อสารข้อมูล 2. สัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) เป็นสัญญาณที่มีค่าได้สองสถานะ คือ สถานะเปิดหรือปิด ซึ่งแทนค่าด้วย “0” หรือ ”1” ตัวอย่างเช่น ตัวอักษร รูปภาพ

  7. ตัวกลางในการสื่อสารข้อมูล (Transmission Media) • ตัวกลาง (media) เป็นช่องทางที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารเพื่อส่งผ่านข้อมูลระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยตัวกลางมีหลายประเภท • การพิจารณาเลือกใช้ตัวกลางต้องคำนึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้ • อัตราเร็วในการส่งข้อมูล • ระยะทาง • ค่าใช้จ่าย • ความสะดวกในการติดตั้ง • ความทนทานต่อสภาพแวดล้อม

  8. สายสัญญาณ ที่ใช้เป็นมาตรฐานในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ • สายคู่บิดเกลียว (Twisted Pairs) • เป็นสายสัญญาณมาตรฐานที่นิยมใช้มากที่สุดในระบบเครือข่ายปัจจุบัน • ใช้สัญญาณไฟฟ้าและโลหะเป็นสื่อนำไฟฟ้า • ประกอบด้วยสายทองแดงหุ้มฉนวน 2 เส้นบิดเป็นเกลียว เพื่อลดสัญญาณรบกวน • สายสัญญาณประเภทนี้แบ่งย่อยเป็นหลายประเภท เช่น สายโทรศัพท์ ( หัว RJ-11) สาย UTP (หัว RJ-45)

  9. สายสัญญาณ ที่ใช้เป็นมาตรฐานในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ 2. สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) • ใช้สัญญาณไฟฟ้าและโลหะเป็นสื่อนำไฟฟ้า • มีลักษณะคล้ายสายเคเบิ้ลทีวี แกนกลางเป็นทองแดงหุ้มฉนวน หุ้มด้วยตาข่ายโลหะ ชั้นนอกเป็นวัสดุป้องกันสายสัญญาณ ปัจจุบันไม่นิยมใช้

  10. สายสัญญาณ ที่ใช้เป็นมาตรฐานในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ 3. สายใยแก้วนำแสง หรือสายไฟเบอร์ (Fiber Optic) • ใช้แสงเป็นสัญญาณ และใช้แก้วหรือพลาสติกเป็นสื่อนำสัญญาณ • ไม่ถูกรบกวนโดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทำให้ส่งข้อมูลได้ในอัตราเร็วสูง และระยะทางไกลกว่า 2 ชนิดแรก แต่การดูแลรักษายากกว่าและราคาแพงกว่า

  11. ช่องทางการสื่อสารแบบไร้สายช่องทางการสื่อสารแบบไร้สาย • คลื่นวิทยุ (Radio) • ไมโครเวฟ (Microwave) • ดาวเทียมสื่อสาร (Satellite) • อินฟราเรด (Infrared) • เซลลูลาร์(Cellular)

  12. คลื่นวิทยุ (Radio Frequency) เป็นการสื่อสารแบบไร้สาย ที่สามารถกระจายสัญญาณได้ในระยะไกล เช่น ระหว่างจังหวัด ประเทศ เป็นต้น และในระยะไกล้เช่น ภายในบ้านหรือที่ทำงาน เป็นต้น • มีความถี่ช่วง 104 ถึง 109Hz • ใช้งานกับคลื่นวิทยุ AM, FM • ข้อดี การจัดการกับสัญญาณมีความยืดหยุ่นสูงกว่าสายสัญญาณ • ข้อเสีย - มีความเร็วในการส่งข้อมูลน้อย - ถูกรบกวน และดักจับสัญญาณได้ง่าย

  13. ไมโครเวฟ (Microwave) • มีความถี่ช่วง 108 ถึง 1012Hz • เป็นการสื่อสารที่สามารถสื่อสารในระยะทางที่ไกลๆผ่านชั้นบรรยากาศ และอวกาศได้โดยจะทำการส่งสัญญาณ จากสถาณีส่งสัญญาณส่วนกลาง ไปยังเสารับสัญญาณในหลายๆพื้นที่ สถานีส่วนกลาง จะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า “จานรับและจานส่งคลื่นไมโครเวฟ” • ลักษณะการส่งจะส่งคลื่นจากจานส่ง พุ่งตรงไปยังจานรับ โดยมีทิศทางในการส่งเป็นแนวระนาบที่เรียกว่า “เส้นสายตา (Line-of-sight)” • คลื่นไมโครเวฟจะส่งสัญญาณไปได้ไกล 25-30 ไมล์

  14. ไมโครเวฟ (Microwave) • ข้อดี - ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินสายสัญญาณ - สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง • ข้อเสีย - ต้องไม่มีสิ่งมากีดขวางเส้นสายตาของทั้งเครื่องรับและเครื่องส่ง - สัญญาณถูกรบกวนหรือแทรกแซงได้ง่าย - ถูกดักจับสัญญาณได้ง่าย

  15. ดาวเทียมสื่อสาร (Satellite) • ดาวเทียมสื่อสาร คือสถาณีรับส่งสัญญาณ ไมโครเวฟ ที่มีจานรับและส่งคลื่นความถี่ขนาดใหญ่ ทำงานโดยลอยอยู่ในอวกาศ ซึ่งสถานีดังกล่าวจะทำการติดต่อสื่อสารกับสถานีภาคพื้นดิน ที่มีจานรับส่งสัญญาณไมโครเวฟเหมือนกัน โดยสถานีภาคพื้นดินจะส่งข้อมูลขึ้นมาที่ดาวเทียม จากนั้นดาวเทียมจะทำการขยายสัญญาณ และกระจายสัญญาณต่อไปยังสถานีภาคพื้นดินที่เป็นเป้าหมาย

  16. ดาวเทียมสื่อสาร (Satellite) • การส่งสัญญาณจากจานดาวเทียม ส่งมายังสถานีภาคพื้นดินเรียกว่า “Downlink” • การส่งสัญญาณจากสถานี ภาคพื้นดินขึ้นไปยังจานดาวเทียมเรียกว่า “Uplink” • การสื่อสารดาวเทียมมีลักษณะเฉพาะคือมีการประวิงเวลา (Delay) ประมาณ 0.5 – 5 วินาทีในการส่งและรับสัญญาณเนื่องจากดาวเทียมอยู่ห่างจากโลกมาก • ข้อดี คือ สามารถส่งข้อมูลปริมาณมากๆ ได้ด้วยความเร็วสูง • ข้อเสีย • ค่าใช้จ่ายสูงมาก • ถูกดักจับสัญญาณได้ง่าย

  17. อินฟราเรด (Infrared) การสื่อสารด้วยแสง อินฟราเรด จะต้องหันตัวรับและตัวส่งให้ตรงกัน และไม่มีสิ่งกีดขวางแสงอินฟราเรด ใช้ในการสื่อสารในระยะที่ไม่ไกลนัก • เมื่อใช้ในการสื่อสารข้อมูลในเครือข่ายสามารถส่งสัญญาณได้ในระยะ 30-80 ฟุต หรือ 10-30 เมตร • อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่มีพอร์ตเรียกว่า IrDa (Infrared Data Association) ที่มีไว้เป็นช่องสำหรับต่อพ่วงอุปกรณ์ประเภทใช้แสง Infrared ได้ สามารถสั่งงานระยะไกลได้ประมาณ 1 - 5 เมตร เช่น Mouse, Notebook,PDA • อัตราความเร็วปกติในการรับส่งข้อมูลจะไม่สูงกว่า 4M bit/sec และได้มีการพัฒนาต่อมาให้มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลได้สูงถึง 16M bit/sec • ข้อดี สามารถเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ได้ง่าย, ไม่ต้องติดตั้งสายสัญญาณ • ข้อเสีย ไม่สามารถสื่อสารทะลุวัตถุทึบแสง ต้องไม่มีสิ่งใดมากีดขวางเครื่องรับและเครื่องส่ง, ระยะทางในการส่งข้อมูลสั้น http://www.consumerthai.org/cms/index.php?option=com_content&task=view&id=37&Itemid=57

  18. บทความเกี่ยวกับ Grand iRDA USB Grand iRDA USB ผลิตภัณท์ล่าสุด จาก GrandTech USA. ใช้สำหรับ ส่งถ่ายข้อมูลความเร็วสูง ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ Note Book กับ อุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ต่างๆ แบบไร้สาย ผ่านแสงอินฟราเรด เช่น Palm ,เครื่องเล่น MP3, หรือกล้อง Digital ที่มีระบบ Infrared Port - ให้ความเร็วในการส่งสูง ระหว่าง 9.6 Kbps -4Mbps (4 ล้านตัวอักษร ต่อวินาที) โดยการต่อผ่าน USB Port http://pcresource.co.th/html/product/grandtech%20product/grand%20irda%20usb.html

  19. บลูธูท (Bluetooth) • เป็นสัญญาณวิทยุระยะสั้น • นิยมใช้ในบ้าน และสำนักงาน • การใช้เทคโนโนโลยี Bluetooth จะต้องมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า “Bluetooth- Enabled” สำหรับการติดต่อสื่อสารกับ “Bluetooth- Enabled” ตัวอื่นๆซึ่งใช้ในอุปกรณ์เช่น Notebook, PDA, โทรศัพท์มือถือ, Fax, Printer • สามารถสื่อสารได้ในระยะ 10 เมตร • แตกต่างจาก อินฟราเรด (Infrared) คือบลูธูท (Bluetooth) สามารถทะลุสิ่งกีดขวาง หรือกำแพงได้ อีกทั้งยังเป็นการสื่อสารไร้สายด้วยการแผ่คลื่นออกเป็นวงรัศมีรอบทิศทาง ด้วยคลื่นความถี่สูงที่ช่วงความถี่ 2.45 GHz

  20. บลูธูท (Bluetooth) • ในระยะแรก Version 1.X • ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลจะอยู่ที่ 722 กิโลบิตต่อวินาที (Kbps) เมื่อมีการเชื่อมโยงโดยตรง หรือแบบจุดต่อจุด • แต่เมื่อมีการเชื่อมโยงแบบตรงกันข้ามหรือแบบหลายจุด จะทำให้ความเร็วลดลงเหลือเพียง 57.6 กิโลบิตต่อวินาที (Kbps) • ปัจจุบันอยู่ที่ Version 2.0 ขึ้นไป • ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูล Version 2.0 จะอยู่ที่ (up to 2.1 Mbps) http://en.wikipedia.org/wiki/Bluetooth#Bluetooth_1.0_and_1.0B

  21. A Bluetooth network (PAN) PAN = Personal Area Network

  22. เซลลูลาร์ (Cellular) • เป็นการสื่อสารที่ใช้คลื่นวิทยุ โดยจะมีการแบ่งพื้นที่ออกเป็นเซลล์ๆ และแต่ละเซลล์จะมีเสาสัญญาณเพื่อใช้รับส่งข้อมูล • เมื่อมีการติดต่อสื่อสาร ข้อความจะถูกส่งไปยังเซลล์ที่อยู่ใกล้ที่สุด จากนั้นจะถูกส่งต่อไปยังเซลอื่นๆ จนถึง Mobile Telephone Switching Office (MTSO) ซึ่งทำหน้าที่ในการหาเซลล์จุดหมายปลายทาง จากนั้นจึงส่งข้อมูลต่อไปยังเซลล์ปลายทางนั้น เพื่อสื่อสารกับอุปกรณ์เป้าหมาย • และขณะที่อุปกรณ์พกพาที่ใช้ในการสื่อสาร เคลื่อนที่จากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง ระบบเซลลูลาร์ก็จะส่งผ่านการเชื่อมต่อจากเซลล์เดิมไปยังเซลล์ใหม่ที่ใกล้ที่สุด ทำให้คุณภาพของสัญญาณยังดีเหมือนเดิม • นิยมใช้ในการสื่อสารในอุปกรณ์การสื่อสารแบบพกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ

  23. เซลลูลาร์ (Cellular) • ยุค 1G (First-Generation) – Analog Voice - Analog cellular networks for voice communication - สำหรับการสื่อสารของเสียง บนเครือข่ายแบบ Analog • ยุค 2G (Second-Generation) – Digital Voice - Digital Wireless network, Primarily for voice communication - สำหรับการสื่อสารของเสียง บนเครือข่ายไร้สายแบบ Digital • ยุค 2.5G - เป็นระบบที่พัฒนามาจากระบบ 2G ซึ่งสามารถรับส่งข้อมูล ด้วยระดับความเร็ว 50 - 144 Kbps - เป็นระบบที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบ Internet ได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่น GPRS, EDGE http://www.dtac.co.th/business/itscoop_28.htm

  24. เซลลูลาร์ (Cellular) • ยุค 3G (Third-Generation) – Digital Voice and Data - High-speed, mobile, supports video and other rich media, always–on for e-mail, web browsing, instant messaging - การบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่สามารถให้บริการรับส่งสัญญาณเสียง ข้อมูล และภาพ (วิดีโอ) ด้วยความเร็วสูงที่ความเร็วขั้นต่ำ 144 Kbps ในทุกสภาวะแวดล้อม และ 2 Mbps ในสภาวะเคลื่อนที่ต่ำ (Low-Mobility) และสภาวะภายในอาคาร (Indoor)" - มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ 3G ตลอดเวลาที่เราเปิดเครื่องโทรศัพท์ (always on) นั่นคือไม่จำเป็นต้องต่อโทรศัพท์เข้าเครือข่าย และ log-in ทุกครั้งเพื่อใช้บริการรับส่งข้อมูล http://www.ntc.or.th/index.php?option=com_content&task=view&id=2425&Itemid=151

  25. AirCard ทำให้ Notebook สามารถ • เล่น Internet ได้ • รับส่ง Fax ได้

  26. Wi-Fi (Wireless Fidelity) Wi-Fi คือเทคโนโลยีของ Wireless LAN หรือระบบ Network ของ LAN แบบไร้สาย ภายใต้มาตรฐาน IEEE 802.11 ความเร็วตามมาตฐานของ IEEE 802.11a สามารถส่งข้อมูลได้เร็วถึง 54 Mbps, 5 GHz - ระยะทางการรับส่งข้อมูล 10-30 เมตร 802.11b สามารถส่งข้อมูลได้เร็วถึง 11 Mbps, 2.4 GHz - ระยะทางการรับส่งข้อมูล 30-50 เมตร 802.11g สามารถส่งข้อมูลได้เร็วถึง 54 Mbps, 2.4 GHz - ระยะทางการรับส่งข้อมูล 30-50 เมตร

  27. Wireless LAN

  28. Access Point • Box in a wireless local area network (LAN) consisting of a radio receiver/transmitter and antennas that link to a wired network, router, or hub. • access pointทำหน้าที่รับส่งข้อมูลทางคลื่นความถี่กับ Wireless Card ซึ่งติดตั้งบนเครื่องของผู้ใช้แต่ละคน

  29. Hotspot • Hotspot เป็นบริการ อินเตอร์เน็ตสาธารณะไร้สายความเร็วสูง ด้วยเทคโนโลยีของ Wireless Lan หรือ Wi-Fi  ซึ่งในปัจจุบันก็มีให้บริการกันมากขึ้นเรื่อยตามแหล่งชุมชน ต่างๆ เช่น สนามบิน ร้านอาหาร โรงแรม โรงพยาบาลหรือ ธนาคาร • ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สาย Hot spot สามารถใช้กับคอมพิวเตอร์แบบพกพา เช่นโน้ตบุ๊ก หรือ PDA

  30. ภาพ Hotspot Wi-Fi by TrueMove http://www.adslthailand.com/forum/viewtopic.php?t=72352

  31. ทิศทางของการส่งสัญญาณข้อมูล สามารถแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบดังนี้ • การส่งสัญญาณทางเดียว (One-Way Transmission หรือ Simplex) ในเวลาเดียวกันผู้ส่งจะส่งสัญญาณถึงผู้รับได้เพียงทางเดียวเท่านั้น ผู้รับจะไม่สามารถโต้ตอบได้เช่น การส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียง การแพร่สัญญาณภาพโทรทัศน์ • การส่งสัญญาณกึ่งทางคู่ (Half-Duplex หรือ Either-way) ผู้ส่งได้ทำการส่งสัญญาณไปแล้ว ผู้รับก็จะรับสัญญาณนั้น หลังจากนั้นผู้รับก็สามารถเปลี่ยนเป็นผู้ส่งสัญญาณ ส่วนผู้ส่งเดิมก็เปลี่ยนเป็นผู้รับ แต่ไม่สามารถส่งสัญญาณพร้อมกันในเวลาเดียวกันได้แก่ วิทยุสนามที่ตำรวจใช้ • การส่งสัญญาณทางคู่ (Full-Duplex หรือ Both Way Transmission) การส่งสัญญาณแบบนี้ผู้ส่งและผู้รับสามารถส่งข้อมูลได้พร้อมกันทั้งสองทางในเวลาเดียวกัน เช่น การใช้โทรศัพท์

  32. เครือข่าย (Network)คือกลุ่มของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันเพื่อให้ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนไฟล์และใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่ายได้  Scanner Printer     เครือข่ายคืออะไร

  33. ระบบเครือข่าย ระบบเครือข่าย หรือเน็ตเวิร์ก (Network) คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เชื่อมต่อกันอยู่ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องมาเชื่อมต่อกันเพื่อวัตถุประสงค์คือ - เพื่อให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกัน - เพื่อให้ใช้ทรัพยากรร่วมกัน - เพื่อใช้ข้อมูลหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน ระบบเครือข่าย สามารถเรียกได้ หลายวิธี เช่น ตามรูปแบบ การเชื่อมต่อ (Topology) เช่น แบบบัส (bus), แบบดาว (star), แบบวงแหวน (ring) หรือจะเรียกตามขนาด หรือระยะทางของระบบก็ได้ เช่นแลน (LAN), แวน (WAN), แมน (MAN) นอกจากนี้ ระบบเครือข่าย ยังสามารถ เรียกได้ตาม เทคโนโลยีที่ไช้ ในการส่งผ่านข้อมูล เช่น เครือข่าย TCP/IP, เครือข่าย IPX, เครือข่าย SNA หรือเรียกตาม ชนิดของข้อมูล ที่มีการส่งผ่าน เช่น เครือข่าย เสียงและวิดีโอ เรายังสามารถ จำแนกเครือข่ายได้ ตามกลุ่มที่ใช้เครือข่าย เช่น อินเตอร์เน็ต (Internet), เอ็กซ์ตร้าเน็ต (Extranet), อินทราเน็ต (Intranet), เครือข่ายเสมือน (Virtual Private Network) หรือเรียก ตามวิธีการ เชื่อมต่อ ทางกายภาพ เช่นเครือข่าย เส้นใยนำแสง, เครือข่ายสาย โทรศัพท์, เครือข่าย ไร้สาย

  34. ข้อดีของการใช้เครือข่ายข้อดีของการใช้เครือข่าย • สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ย่างมีประสิทธิภาพ • สามารถแชร์ทรัพยากร เช่น เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์ ซีดีไรท์เตอร์ เป็นต้น • ประหยัดค่าใช้จ่ายจาการแชร์ทรัพยากร • สามารถแชร์เอกสาร เช่น บันทึกข้อความ ตารางข้อมูลต่างๆ ใบส่งของ รายการสินค้า • สามารถใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ • การสนทนาผ่านเครือข่าย • การประชุมระยะไกล • การแชร์ไฟล์ต่างๆ • การแชร์ซอฟต์แวร์ต่างๆ

  35. องค์ประกอบพื้นฐานของเครือข่ายองค์ประกอบพื้นฐานของเครือข่าย • คอมพิวเตอร์ • เน็ตเวิร์คการ์ด หรือ NIC (Network Interface Card) • สื่อกลางและอุปกรณ์รับส่งข้อมูลได้แก่ สายสัญญาณและอุปกรณ์เครือข่าย • ซอฟต์แวร์สำหรับเครือข่าย

  36. คอมพิวเตอร์ • คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายไม่จำเป็นจะต้องเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูงมากนักและไม่จำเป็นต้องเป็นแพลตฟอร์มเดียวกัน • ในกรณีที่เป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์ควรเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูงที่จะรองรับการให้บริการเครือข่าย 2. เน็ตเวิร์คการ์ด • เป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย • NIC หรือ LAN Card ทำหน้าที่แปลงข้อมูลเป็นสัญญาณที่สามารถส่งไปตามสายสัญญาณหรือสื่อแบบอื่นได้ • NIC ติดตั้งโดยการเสียบต่อเข้ากับช่องเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ • อัตราการส่งข้อมูลมีหลายระดับ เช่น 10 Mbps, 100 Mbps, 1000 Mbps

  37. 3. สื่อกลางและอุปกรณ์รับส่งข้อมูล • สายสัญญาณ • สายสัญญาณมาตรฐานในเครือข่ายระบบคอมพิวเตอร์มีอยู่ 3 ประเภท คือ สายคู่บิดเกลียว สายโคเอกเชียล และสายใยแก้วนำแสง • การเลือกใช้สายสัญญาณขึ้นอยู่กับประเภท แบนด์วิธของเครือข่าย และงบประมาณ

  38. อุปกรณ์ เครือข่าย(Network Devices) • เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อเครือข่ายสองเครือข่ายเข้าด้วยกัน • เมื่อเชื่อมเครือข่ายเข้าด้วยกันแล้ว คอมพิวเตอร์ทั้งสองเครือข่ายก็สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ • ตัวอย่างคอนเน็กเตอร์ที่นิยมใช้มีดังนี้ - ฮับ (Hub) - รีพีทเตอร์ (Repeater) - บริดจ์ (Bridge) - เราท์เตอร์ (Router)

  39. HUB ฮับ (Hub) • เป็นอุปกรณ์ศูนย์กลางที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันโดยการเสียบสายเคเบิลจากเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเข้าที่ฮับ • ทำหน้าที่ กระจายสัญญาณส่งต่อไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับฮับ และทำการรวมสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ทุกตัว • ฮับแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ • แอกทีฟฮับ (Active Hub) • ทำหน้าที่ขยายสัญญาณที่ส่งมาทำให้ส่งสัญญาณได้ไกลขึ้น • ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าในการทำงาน • พาสซีฟฮับ (Passive Hub) • เป็นฮับที่ไม่มีการขยายสัญญาณใดๆ ที่ส่งมา เป็นเพียงจุดเชื่อมต่อ • ไม่สามารถส่งสัญญาณไปได้ระยะทางไกลและไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้า

  40. รีพีทเตอร์ (Repeater) • เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อสำหรับขยายสัญญาณให้กับเครือข่าย • ปกติการส่งสัญญาณในระยะทางไกลๆ แรงดันของสัญญาณจะอ่อนกำลังลง เพราะสายมีความต้านทาน • Repeater ไม่สามารถทำงานได้ดีในเครือข่ายที่มีการจราจรหนาแน่นและไม่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายที่มีโปรโตคอลแตกต่างกันได้

  41. บริดจ์ (Bridge) • ทำหน้าที่คล้าย Repeater แต่มีความฉลาดมากกว่า เพราะ Repeater ส่งข้อมูลโดยไม่สนใจข้อมูล แต่ Bridge จะเลือกข้อมูลและส่งต่อเฉพาะข้อมูลที่เป็นของอุปกรณ์เครือข่ายเท่านั้น ทำให้ลดปริมาณจราจรที่คับคั่ง ทำให้ระบบเครือข่ายมีประสิทธิภาพมากขึ้น • Bridge จะตรวจสอบการจราจรทั้งหมดในเครือข่าย  ถ้าที่อยู่ทั้งสองอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน Bridge จะให้เครือข่ายเป็นตัวจัดการส่งข้อมูล  ถ้าที่อยู่ทั้งสองอยู่คนละเครือข่าย Bridge จะเชื่อมเครือข่ายสองเครือข่ายและส่งข้อมูลออกไปยังเครือข่ายนั้น  ถ้าไม่ทราบที่อยู่ของผู้รับ Bridge จะทำการกระจายข้อมูลส่งไปยังทุกเครือข่ายที่เชื่อมต่ออยู่

  42. BRIDGE BRIDGE Significant geographical distance SERVER SERVER WAN LAN 1 LAN 2

  43. เราท์เตอร์ (Router) • เป็นอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายเครือข่ายเข้าด้วยกัน • สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลต่างกันได้ • สามารถกรองข้อมูลที่ระบุว่าผ่านไปได้เท่านั้น ทำให้ลดปัญหาการจราจรที่คับคั่งและเพิ่มระดับความปลอดภัยของข้อมูลบนเครือข่าย • สามารถตัดสินใจเลือกเส้นทางในการส่งข้อมูลที่เหมาะสมและที่ดีที่สุดได้อัตโนมัติ

  44. WAN ROUTER ROUTER Significant geographical distance SERVER SERVER LAN 1 LAN 2

  45. ขนาดเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเครือข่ายคอมพิวเตอร์ • เครือข่ายการสื่อสารคือระบบการเชื่อมโยงเพื่อการขนส่งข้อมูลข่าวสารภายในองค์การ ระหว่างองค์การ หรือระหว่างต่างประเทศ โดยอาศัยโครงสร้างพื้นฐานทางด้านโทรคมนาคมในการเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์ • ขนาดของเครือข่ายแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบคือ • เครือข่ายเฉพาะที่ (Local Area Network-LAN) • เครือข่ายเมือง (Metropolitan Area Network-MAN) • เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network-WAN)

  46. 1) เครือข่ายเฉพาะที่ (Local Area Network-LAN) • เป็นเครือข่ายยอดนิยมที่มักพบเห็นกันภายในองค์การธุรกิจ • ลักษณะการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นวง LAN นั้นจะอยู่ในพื้นที่ใกล้ๆ กัน เช่น อยู่ภายในตึกเดียวกัน เป็นต้น

  47. 2) เครือข่ายเมือง (Metropolitan Area Network-MAN) • เป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN ที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงที่ใหญ่ขึ้นภายในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียง เช่น ในเมืองเดียวกัน เป็นต้น

  48. 3) เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network-WAN) • เป็นเครือข่ายที่ใหญ่ขึ้นไปอีกระดับ โดยเป็นการรวมเครือข่ายทั้ง LAN และ MAN มาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายเดียว • เครือข่ายนี้จึงครอบคลุมไปทั่วประเทศหรือทั่วทั้งโลกอย่างเช่น อินเทอร์เน็ต

  49. ลักษณะการใช้งานระบบเครือข่ายลักษณะการใช้งานระบบเครือข่าย • สามารถแบ่งลักษณะการใช้งานระบบเครือข่ายได้ดังนี้ • ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ปลายทาง (Terminal) • ระบบเครือข่ายแบบรับ-ให้บริการ (Client/Server) • ระบบเครือข่ายแบบโหนดจุด (Peer-to-peer) Page 255

  50. อินเทอร์เน็ตสำหรับองค์กรอินเทอร์เน็ตสำหรับองค์กร • อินทราเน็ต(Intranet) • จะต้องมีรหัสบัญชีผู้ใช้ • ใช้งานเฉพาะภายในองค์กร • เอ็กซ์ทราเน็ต(Extranet) • ใช้งานเฉพาะภายในองค์กร และ สามารถกำหนดสิทธิให้เข้าถึงองค์กรอื่นได้ • ไฟร์วอลล์(Firewall) • เป็นระบบรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย ทั้งจากภายนอกและภายในเครือข่าย Page 257

More Related