1 / 37

วิวัฒนาการของมนุษย์

วิวัฒนาการของมนุษย์. มนุษย์เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีชื่อวิทยาศาสตร์ Homo sapien sapien. มีการดำรงชีวิตมา ประมาณ 3 หมื่น -1 แสนปี มาแล้ว นักมนุษยวิทยาส่วนใหญ่ ลงความเห็นว่า มนุษย์ และ ลิงไร้หาง (ape) มีบรรพบุรุษร่วมกัน. เปรียบเทียบ ลักษณะการเดิน และ กระดูกเชิงกราน

maximos
Download Presentation

วิวัฒนาการของมนุษย์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิวัฒนาการของมนุษย์

  2. มนุษย์เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีชื่อวิทยาศาสตร์ Homo sapien sapien มีการดำรงชีวิตมา ประมาณ 3 หมื่น-1 แสนปี มาแล้ว นักมนุษยวิทยาส่วนใหญ่ ลงความเห็นว่า มนุษย์ และ ลิงไร้หาง (ape) มีบรรพบุรุษร่วมกัน

  3. เปรียบเทียบ ลักษณะการเดิน และ กระดูกเชิงกราน ระหว่างลิงไร้หาง กับ คน ข้อแตกต่าง ระหว่าง มนุษย์และลิง 1. การเดิน มนุษย์เดิน 2 ขา ลำตัวตั้งตรง ลิงเดิน 4 ขา 2. กระดูกเชิงกราน มนุษย์มีชิ้นถัดไปเรียงตัวในแนวตั้ง กระดูกเชิงกรานลิงมีลักษณะลาดเอียง ดึงโน้มให้กระดูกคอ และกระโหลกศรีษะเรียงตัวในแนวนอน

  4. เปรียบเทียบขนาดของสมอง ระหว่าง ชิมแพนซี มนุษย์โบราณ มนุษย์ปัจจุบัน ขากรรไกรมนุษย์ ลดขนาดลง 3. ปริมาตรของสมอง มนุษย์มีมากขึ้น 4. ส่วนของหน้าและขากรรไกร มนุษย์ลดขนาดลง

  5. ชิมแพนซี มนุษย์ 5. ลักษณะมือ มนุษย์และลิงคล้ายกัน แต่การใช้งานต่างกัน เนื่องจาก ขนาดของนิ้วหัวแม่มือยาวไม่เท่ากัน นิ้วหัวแม่มือของลิงชิมแพนซี สั้นกว่าฐานข้อที่ 1 ของนิ้วชี้ ส่วนนิ้วหัวแม่มือของมนุษย์ ยาวเกือบกึ่งกลางของข้อที่ 2

  6. สายวิวัฒนาการของมนุษย์สายวิวัฒนาการของมนุษย์ Homo sps. Cromayon Neanderthal man Australopithecines

  7. ปัจจุบัน 1 ล้านปี 2 ล้านปี 3 ล้านปี 4 ล้านปี Human evolution Timeline

  8. The Australopithecines (มนุษย์วานร) จากการค้นพบฟอสซิล พบบรรพบุรุษของมนุษย์ ปรากฏขึ้นครั้งแรก สมัยไมโอซีน พบว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ African ape และเชื่อว่าวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน เมื่อประมาณ 4-8 ล้านปีมาแล้ว มีการค้นพบฟอสซิล Australopithecines4 สปีชีส์ คือ Australopithecus afarensis, A. africanus , A. robustus ,A. bosei

  9. Australopithecine สปีชีส์แรก คือ Australopithecus afarensis ลักษณะสำคัญ มีขนาดใหญ่กว่าชิมแพนซีเล็กน้อย สูง 1-1.5 เมตร (3-5 ฟุต) น้ำหนักตัว 25-50 กิโลกรัม สมองมีขนาดเล็ก ประมาณ 380-450 ลบ.ซม. ช่วงแขนยาวกว่าช่วงขา มีการค้นพบฟอสซิลของ A. afarensis ในอัฟริกา มีลักษณะเป็นผู้หญิง ตั้งชื่อว่า“Lucy”

  10. โครงกระดูก รอยเท้า “Lucy” ฟอสซิล Australopithecus afarensisชื่อลูซี “Lucy” ที่พบจำนวน 13 ฟอสซิล ทางตอนเหนือของทะเลทรายในเอธิโอเปียน ปี1974 โดย Donald Johanson ฟอสซิลมีอายุมากกว่า 3 ล้านปี โครงกระดูกเป็นลักษณะผู้หญิง เดินตัวตรง

  11. สปีชีส์ที่ 2 คือ Australopithecus africanus นักมนุษย์วิทยาเชื่อว่า A. africanusวิวัฒนาการมาจาก A. afarensis ขนาดสมองอยู่ระหว่าง 494-600 ลบ.ซม. มีความสูงประมาณ 1.4 เมตร ส่วนหน้ามีลักษณะแบน ฟันหน้า (incisor) มีขนาดเล็ก พบฟอสซิลของ A. africanus ในประเทศแทนซาเนียและเอธิโอเปีย มีอายุประมาณ 3 ล้านปี

  12. สปีชีส์ที่ 3 คือ Australopithecus robustus มีการดำรงชีวิตเมื่อประมาณ 2.3-1.3 ล้านปีมาแล้ว มีลักษณะแตกต่างไปจาก 2 สปีชีส์แรก คือ สมองมีขนาดประมาณ 500-600 ลบ.ซม. มีความสูงประมาณ 1.5 เมตร น้ำหนักตัวประมาณ 45 กิโลกรัม มีหลักฐานพบว่า A. robustus มีการวิวัฒนาการแตกสายออกไป แล้วสูญพันธุ์

  13. สปีชีส์สุดท้าย คือ Australopithecus boisei นักมนุษย์วิทยามีหลักฐานพบว่า มนุษย์วานร สปีชีส์นี้ วิวัฒนาการแตกสายแยกออกมาจาก A. afarensis สมองมีลักษณะคล้าย A. robustus มี Jaw ขนาดใหญ่ และมีความกว้างของฟันมากกว่า มีการดำรงชีวิตอยู่ทางตะวันออกของทวีปอัฟริกา ในช่วงระหว่าง 2.5-1.2 ล้านปีมาแล้ว

  14. Human Species มนุษย์ มี 1 สกุล คือ สกุล Homo ประกอบด้วย 3 สปีชีส์ ได้แก่ Homo habilis, Homo erectus,Homo sapiens H. habilis และ H. erectus จัดเป็นมนุษย์โบราณ ที่สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว

  15. (1) Homo habilis มนุษย์โบราณ ที่มีการดำรงชีพ เมื่อประมาณ 3-2 ล้านปีมาแล้ว มีความสูงประมาณ 1.5 เมตร สมองมีขนาดใหญ่ประมาณ 700 ลบ.ซม. ส่งผลทำให้ส่วนหน้ามีขนาดใหญ่ขึ้นด้วย แต่ขนาดของฟันหน้าและเขี้ยวกลับเล็กลง สามารถสร้างเครื่องมือหาอาหารสำหรับใช้ล่าสัตว์เล็กได้ มีการดำรงชีวิตแบบเร่ร่อน

  16. ในปี 1960 นักมนุษย์วิทยาชื่อ Leaky ค้นพบฟอสซิลของ H. habilis ที่เมือง Olduvai Gorge อยู่ทางตอนใต้ของทวีปอัฟริกา ฟอสซิลมีอายุประมาณ1.75 ล้านปี มีลักษณะเป็นผู้หญิง ตั้งชื่อฟอสซิลว่า “Twiggy” ยังมีการค้นพบฟอสซิลของ H. habilis อีกเป็นจำนวนมากในทะเลสาบ Turkana ที่อยู่ทางตอนเหนือ ของทวีปอัฟริกา

  17. บริเวณที่ค้นพบฟอสซิล H. habilis ปรากฏว่าพบหลักฐาน การประดิษฐ์เครื่องมือล่าสัตว์ ที่ทำมาจากหินแบบง่ายๆ แสดงให้เห็นว่า มนุษย์สปีชีส์นี้มีการพัฒนาทางสมอง มีความสามารถในการควบคุมสภาพแวดล้อมได้

  18. จากการวิเคราะห์ของนักมนุษย์วิทยา กล่าวว่า ความสามารถในการใช้เครื่องมือล่าสัตว์ ผู้ใช้จะต้องมีการพัฒนา ด้านการใช้สายตาเป็นอย่างดี ต้องมีการวางแผนในการจับสัตว์ รวมทั้งมีการทดลองรูปแบบวิธีที่เหมาะสม ในการใช้อุปกรณ์ในการจับสัตว์ด้วย

  19. (2) Homo erectus เป็นมนุษย์กลุ่มแรก ที่อพยพย้ายถิ่นฐาน ออกจากทวีปอัฟริกา ไปยังทวีปเอเชียและทวีปยุโรป มีการดำรงชีพ เมื่อประมาณ 1.5 ล้านปีมาแล้ว มีความสูงประมาณ 1.6-1.8 เมตร (6 ฟุต) มีน้ำหนักตัวประมาณ 48 กิโลกรัม มีขนาดสมองประมาณ 800-1250 ลบ.ซม. สามารถสร้างเครื่องมือล่าสัตว์ใหญ่ได้ มีการสร้างที่อยู่อาศัย แต่ยังคงดำรงชีวิตแบบเร่ร่อน มีเครื่องนุ่งห่ม เริ่มรู้จักใช้ไฟ

  20. มีการค้นพบฟอสซิล มนุษย์โบราณ Homo erectus โดยพบกระโหลกศีรษะ ในทะเลสาบ Turkana ฟอสซิล มีอายุมากกว่า 1.5 ล้านปี มีลักษณะค่อนมาทางมนุษย์ปัจจุบัน ฟอสซิล มีลักษณะคล้ายมนุษย์ชวา และ มนุษย์ปักกิ่ง

  21. บริเวณ ที่ค้นพบ ฟอสซิล

  22. Homo sapiens มนุษย์ปัจจุบัน มีเพียง 1 สปีชีส์ แบ่งออกเป็น มนุษย์ปัจจุบันสมัยแรก Homo sapiens Neanderthal มนุษย์ปัจจุบันสมัยสุดท้าย Homo sapiens sapiens

  23. มนุษย์ปัจจุบันสมัยแรก Homo sapiens neanderthalensis ดำรงชีพ เมื่อประมาณ 4 แสนปีมาแล้ว สมองมีขนาดใหญ่กว่ามนุษย์ปัจจุบันเล็กน้อย ขนาดสมองประมาณ 1,400 ลบ.ซม. พบฟอสซิลที่บริเวณ Neanderthal valley

  24. มนุษย์นีอัลเดอร์ทัล โครงร่างมีลักษณะเตี้ย มีกล้ามเนื้อ มากกว่ามนุษย์ปัจจุบัน จมูกมีลักษณะแบน และ รูจมูกกว้าง ทั้งนี้ เนื่องจากมีการดำรงชีพอยู่ในเขตหนาว ทำให้นักมนุษย์วิทยามีข้อสันนิษฐานว่า การที่มีโครงร่างและลักษณะในแบบนี้ อาจมีผลเนื่องจากต้องมีการปรับตัวเพื่อ ให้สามารถดำรงชีพในเขตหนาวได้ดีขึ้น

  25. มนุษย์ปัจจุบันสมัยสุดท้าย Homo sapiens sapiens ดำรงชีพเมื่อ ประมาณ 3 หมื่น ถึง 1 แสนปี มาแล้ว มีการค้นพบฟอสซิล ของ มนุษย์โครมันยอง ลักษณะสมอง มีขนาดใหญ่กว่ามนุษย์ปัจจุบันเล็กน้อย ประมาณ 1,350 ลบ.ซม.

  26. มนุษย์โครมันยอง มีความสามารถในการวาดรูป ภาพวาดที่พบในถ้ำ สามารถ เย็บเสื้อผ้าใส่ กินเนื้อสัตว์ ปรุงอาหาร

  27. ความแตกต่างของกระโหลกศีรษะความแตกต่างของกระโหลกศีรษะ ระหว่างมนุษย์ปัจจุบันและมนุษย์นีอัลเดอร์ทัล ลักษณะทั่วไปจะคล้ายคลึงกัน มีเพียงบางลักษณะ ที่แตกต่างกันเห็นได้ชัดคือ นีอัลเดอร์ทัล หน้าผากลาดแคบ มีสันคิ้วใหญ่หนา คางแคบหดไปทางด้านหลัง

  28. วิวัฒนาการด้านอารยธรรมวิวัฒนาการด้านอารยธรรม (Cultural evolution) มนุษย์แตกต่างไปจากสิ่งมีชีวิตอื่น โดยมีวิวัฒนาการ ด้านอารยธรรมและวัฒนธรรม ที่อาศัยการเรียนรู้สืบทอดกันมา

  29. สาเหตุที่ทำให้มนุษย์มีวิวัฒนาการด้านอารยธรรม เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ 2 ประการ คือ 1) การเดินตัวตรงของมนุษย์ ส่งผลให้กระโหลกศีรษะ มีการเปลี่ยนแปลง มีสมองใหญ่ขึ้น มีความคิดมากขึ้น ทำให้มนุษย์มีวิวัฒนาการด้านวัฒนธรรมและอารยธรรม 2) พ่อแม่ดูแลลูกเป็นระยะเวลานาน ส่งผลทำให้ ลูกมีโอกาสได้เรียนรู้สิ่งต่างๆจากพ่อแม่มากขึ้น ได้แก่ Knowledge, Customs, belief, Arts, etc

  30. วิวัฒนาการทางอารยธรรมของมนุษย์วิวัฒนาการทางอารยธรรมของมนุษย์ แบ่งออกเป็น 3 ช่วง 1. Scavenging-gathering-Hunting เป็นช่วงแรกของ Homo habilis, H. erectus, Neanderthal (Modern man) 2. ทำเกษตรกรรม (Agriculture) เป็นช่วงที่ 2 3. ช่วงอุตสาหกรรม (The machine age) เป็นช่วงที่ 3

  31. Scavenging-gathering- Hunting Agriculture The machine age ช่วงต่างๆ ของวิวัฒนาการด้านอารยธรรม

  32. Cultural evolution เป็นสิ่งสำคัญ ที่ส่งผลทำให้มนุษย์ สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมของโลก ให้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เกินกว่าปกติ

  33. นอกจากนี้มนุษย์ มี Cultural evolution อันเกิดขึ้นจากเปรียบเทียบ การเจริญด้านวัฒนธรรมและอารยธรรม และจากลักษณะที่แตกต่างทางพันธุกรรม ได้แก่ สีผิว สีผม สีตา และ รูปร่าง ที่แตกต่างกันไปตามถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิม ส่งผล ให้มีการแบ่งเผ่าพันธุ์ (Races) อันเกิดจากผลของ Biological evolution ด้วย

  34. คอเคซอยด์ (Caucasoid) การแบ่ง เผ่าพันธุ์มนุษย์ (Races) แบ่งออกเป็น คอเคซอยด์ (Caucasoid) มองโกลอยด์ (Mongoloid) นีกรอยด์ (Negroid) และ ออสเตรลอยด์ (Australoid)

  35. สรุป มนุษย์จัดเป็นสิ่งมีชีวิต ที่มีความเฉลียวฉลาด มากกว่าสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ มีความสามารถ เรียนรู้จากประสบการณ์ต่างๆได้อย่างรวดเร็ว

  36. สามารถ แสดงพฤติกรรมที่ซับซ้อน ได้แตกต่างไปจากสิ่งมีชีวิตอื่น ใช้ภาษาพูดและภาษาเขียน ทำเกษตรกรรม และประดิษฐ์เครื่องมือใช้ในการผ่อนแรง

  37. ด้วยความสามารถและความฉลาดด้วยความสามารถและความฉลาด ทำให้มนุษย์ ตักตวงผลประโยชน์จากธรรมชาติ ได้มากกว่าสิ่งมีชีวิตอื่น ดังนั้นมนุษย์จึงอาจได้ชื่อว่า เป็นทั้งผู้สร้างสรรค์ และ ผู้ทำลายได้ในเวลาเดียวกัน

More Related