1 / 66

การเขียนรายงานการสอบสวน ทางระบาดวิทยา

HOW TO WRITE EPIDEMIOLOGIC INVESTIGATION REPORT. การเขียนรายงานการสอบสวน ทางระบาดวิทยา. กลุ่มระบาดวิทยาและข่าวกรอง สคร.7 อบ. ขอบเขตเนื้อหา. 1 . วัตถุประสงค์การเขียนรายงาน 2. ประเภทของรายงาน 3 . วิธีการเขียนรายงาน 4 . ประโยชน์ของการเขียนรายงาน. กระชับ. 1. CONCISE. ชัดเจน. น่าสนใจ.

Download Presentation

การเขียนรายงานการสอบสวน ทางระบาดวิทยา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. HOW TO WRITE EPIDEMIOLOGIC INVESTIGATION REPORT การเขียนรายงานการสอบสวน ทางระบาดวิทยา กลุ่มระบาดวิทยาและข่าวกรอง สคร.7 อบ.

  2. ขอบเขตเนื้อหา 1. วัตถุประสงค์การเขียนรายงาน 2. ประเภทของรายงาน 3. วิธีการเขียนรายงาน 4. ประโยชน์ของการเขียนรายงาน

  3. กระชับ 1. CONCISE ชัดเจน น่าสนใจ 6. INTERESTING 2. CLEAR GOLDEN Rule 5. PRESENTABLE 3. ACCEPTABLE 4. READABLE นำเสนอได้ชัดเจน เป็นที่ยอมรับ อ่านได้ง่าย กฏของการเขียนรายงานที่ดี

  4. WHY? วัตถุประสงค์ของการเขียนรายงานสอบสวนโรค 1. เพื่อรายงานผลการสอบสวนทางระบาดวิทยา 2. เพื่อเสนอข้อคิดเห็นแก่ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้อง 4. เพื่อบันทึกเหตุการณ์ระบาดของโรคหรือปัญหาสาธารณสุขที่เกิดขึ้น 3. เพื่อเป็นองค์ความรู้และแนวทางในการสอบสวนโรคในครั้งต่อไป

  5. ประเภทของรายงานการสอบสวนประเภทของรายงานการสอบสวน 1. รายงานการสอบสวนเสนอผู้บริหาร 1.1 รายงานการสอบสวนเบื้องต้น(Preliminary Report) 1.2 รายงานการสอบสวนสรุปเสนอผู้บริหาร(Final Report) 2. รายงานการสอบสวนฉบับสมบูรณ์ (Full Report) 3. รายงานบทความวิชาการ (Scientific Article)

  6. 1. วิธีการเขียนรายงานการสอบสวน เบื้องต้น (Preliminary Report)

  7. หลักการเขียนรายงานการสอบสวนเบื้องต้นหลักการเขียนรายงานการสอบสวนเบื้องต้น - รายงานการสอบสวนผู้ป่วยเฉพาะราย - รายงานการสอบสวนการระบาด หลักการเขียนเดียวกัน แต่รายงานการ สอบสวนผู้ป่วยเฉพาะราย ให้ระบุรายละเอียดข้อมูลผู้ป่วยแต่ละราย

  8. ความเป็นมา ผลการสอบสวนโรค แนวโน้มของการระบาด ประกอบด้วย 6 หัวข้อหลัก กิจกรรมควบคุมโรคที่ทำไปแล้ว สรุปความสำคัญ และเร่งด่วน ข้อเสนอเพื่อพิจารณาดำเนินการ องค์ประกอบของรายงานการสอบสวนเบื้องต้น ความยาว 1-2 หน้ากระดาษ A4

  9. บทนำหรือ ความเป็นมา วิธีการเขียนรายงานการสอบสวนเบื้องต้น แหล่งข่าวใด ผู้ให้ข่าวเป็นใคร เกิดอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ข้อมูลเบื้องต้นของ Index case ขนาดของปัญหาที่ได้รับแจ้ง ทีมสอบสวนโรคประกอบด้วยใครบ้าง บอกให้ทราบถึงเหตุการณ์ ผิดปกติที่นำไปสู่การ สอบสวนการระบาด เริ่มสอบสวนและเสร็จสิ้นเมื่อไร วัตถุประสงค์ในการสอบสวนโรค

  10. วิธีการเขียนรายงานการสอบสวนเบื้องต้น ผลการศึกษา • สถานการณ์ที่เกิดขึ้นจำนวนผู้ป่วย เสียชีวิต • ผู้ป่วยเป็นใคร หรือเป็นกลุ่มเสี่ยงใด • แหล่งรังโรคและวิธีถ่ายทอดโรค • สาเหตุของการระบาด • ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการระบาด • ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ศึกษาสิ่งแวดล้อม

  11. ระบุกิจกรรมควบคุมโรคที่ดำเนินการแล้วระบุกิจกรรมควบคุมโรคที่ดำเนินการแล้ว • ระบุหน่วยงานที่ร่วมดำเนินการควบคุมโรค • รายงานผลการควบคุมโรคในเบื้องต้น วิธีการเขียนรายงานการสอบสวนเบื้องต้น กิจกรรมควบคุมโรคที่ดำเนินการแล้ว

  12. วิธีการเขียนรายงานการสอบสวนเบื้องต้น แนวโน้มของการระบาด พยากรณ์แนวโน้มการระบาด โดยประมวลจาก • จำนวนผู้ป่วยยืนยัน ผู้ป่วยสงสัยที่พบ • พบสาเหตุหรือแหล่งรังโรคหรือไม่ • มาตรการควบคุมโรคมีประสิทธิภาพหรือไม่ • อยู่ในฤดูการระบาดของโรคหรือไม่

  13. วิธีการเขียนรายงานการสอบสวนเบื้องต้น สรุปความสำคัญทางสาธารณสุข และความเร่งด่วน • สรุปขนาดของปัญหา และผลกระทบต่อประชาชน • เป็นการระบาดหรือเป็นโรคอุบัติใหม่หรือไม่ • เป็นการระบาดหรือเป็นโรคอุบัติใหม่หรือไม่ • ต้องการความเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาหรือไม่ • ต้องการความเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาหรือไม่ • ระดับของผลกระทบด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว

  14. วิธีการเขียนรายงานการสอบสวนเบื้องต้น ข้อเสนอเพื่อพิจารณาดำเนินการ • มาตรการควบคุมโรคเดิมที่ต้องดำเนินการต่อ • ระบุมาตรการใหม่ที่ต้องดำเนินการเพิ่ม • ระบุหน่วยงานที่ต้องประสานงานดำเนินการ • ให้ความสำคัญกับการเฝ้าระวังโรคต่อเนื่อง

  15. ตัวอย่างความเป็นมา วันที่ 19 กรกฎาคม 2554 เวลา 14.53 น. งานระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองภูเก็ต ได้รับแจ้งทางโทรศัพท์จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะแก้ว ว่าพบผู้ป่วยเป็นนักเรียนของโรงเรียนประถมแห่งหนึ่ง ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เข้ารับการรักษาด้วยอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน จำนวน 7 ราย ดังนั้น ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (Surveillance and Rapid Response Team/SRRT) อำเภอเมืองภูเก็ต จึงได้ออกสอบสวนและควบคุมโรคป้องกันโรค ระหว่างวันที่ 19 – 21 กรกฎาคม 2554 15

  16. ตัวอย่างความเป็นมา เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2544 งานระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุขสมบูรณ์ ได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่ห้องชันสูตรโรงพยาบาลจังหวัดสุขสมบูรณ์ว่า ผลการตรวจอุจจาระของ ดญ.จุ๊บ ทองอ่อน อายุ 14 ปี พบเชื้อ Vibrio Cholerae El Tor Inabaโดยผู้ป่วยมารับการรักษาที่โรงพยาบาลวันที่ 11 สิงหาคม 2544 เวลา 09.35 น. ด้วยอาการถ่ายเหลวเป็นน้ำหลายครั้ง ทีมสอบสวนและควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุขสมบูรณ์ ร่วมกับทีมสอบสวนและควบคุมโรค คปสอ. เมือง และเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยชอนไพร ดำเนินการสอบสวนและควบคุมโรคในพื้นที่ ระหว่างวันที่ 13-15 สิงหาคม 2544 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาสาเหตุของการเกิดโรค แหล่งรังโรค และควบคุมป้องกันการระบาดของโรค 16

  17. ตัวอย่างผลการสอบสวนโรคตัวอย่างผลการสอบสวนโรค ผลการสอบสวนโรค พบว่าผู้ป่วย ดญ.จุ๊บ ทองอ่อน อายุ 14 ปี เป็นนักเรียนโรงเรียนมัธยมในตำบลชอนไพร อยู่บ้านเลขที่ 18 ม. 1 ตำบลชอนไพร อำเภอเมือง จังหวัดสุขสมบูรณ์ มีประวัติเริ่มป่วยวันที่ 9 สิงหาคม 2544 เวลา 23.00 น. มารับการรักษาที่โรงพยาบาลวันที่ 11 สิงหาคม 2544 เวลา 09.35น. ด้วยอาการถ่ายเหลวเป็นน้ำหลายครั้ง ไม่มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน 2-3 ครั้ง อ่อนเพลีย ไม่ปวดท้อง ไม่ได้นอนโรงพยาบาล แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น Acute diarrhea จ่ายยา Norfloxacin และน้ำเกลือแร่ แล้วให้กลับไปรักษาตัวต่อที่บ้าน สภาพบ้านผู้ป่วยมีลักษณะเป็นบ้านชั้นเดียวตั้งอยู่กลางทุ่งนา อยู่ห่างเพื่อนบ้านไปเกือบครึ่งกิโลเมตร หลังคามุงแฝก สิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกบ้านสะอาด ส้วมที่บ้านเป็นส้วมซึมซึ่งอยู่คนละด้านกับบ่อน้ำน้ำดื่มน้ำใช้มาจากบ่อ แต่ต้มน้ำดื่ม ดญ.จุ๊บอาศัยอยู่กับพี่สาวอีก 1 คน ซึ่งมีอายุ 16 ปี และมีอาการถ่ายเหลว หลายครั้ง ภายหลังจาก ดญ.จุ๊บ ป่วยได้ 1 วัน แต่ไม่ได้ไปรักษาที่โรงพยาบาล ทั้งสองคนจะทำอาหารด้วยกันและรับประทานขณะร้อนๆในมื้อเย็น ส่วนมื้อเที่ยงซื้ออาหารกินที่โรงเรียนและดื่มน้ำกรอง ในโรงเรียนซึ่งนำมาจากน้ำประปาในตำบล

  18. ตัวอย่างผลการสอบสวนโรค(ต่อ)ตัวอย่างผลการสอบสวนโรค(ต่อ) จากการสอบถามประวัติการรับประทานอาหารพบอาหารที่สงสัยเป็น สาเหตุ ได้แก่ หมูปิ้ง ที่ซื้อมาจากร้านขายของชำในหมู่บ้าน และรับประทาน หลังจากทิ้งค้างไว้นานหลายชั่วโมง โดยที่ไม่ได้อุ่น หมูปิ้งนี้ร้านขายของชำ รับมาจากร้านค้าในตลาด และพบว่ามีการปนเปื้อนเชื้อ V. cholerae 01, Inaba ซึ่งต้นตอการปนเปื้อนเชื้อมาจากเขียงหมูเถื่อนในหมู่บ้าน ซึ่งผล การส่งตรวจตัวอย่างเศษหมูติดเขียงพบเชื้อ V. Cholerae 01, Inaba และ ได้ทำ rectal swab คนชำแหละหมู 2 คน ส่งเพาะเชื้อพบ V. cholerae 01, Inaba ในคนชำแหละ 1 ราย ทั้งสองคนมีประวัติถ่ายเหลวในระยะ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา คนชำแหละที่ไม่พบเชื้อได้รับยาปฏิชีวนะแล้ว ส่วนคนที่พบเชี้อยังไม่ได้รับการรักษา

  19. ตัวอย่างกิจกรรมที่ดำเนินการตัวอย่างกิจกรรมที่ดำเนินการ มาตรการควบคุมโรคที่ทีมสอบสวนและควบคุมโรค ได้ดำเนินการแล้ว มีดังนี้ 1. ให้ยารักษาผู้ที่มีอาการอุจจาระร่วงและผู้สัมผัสที่ตรวจพบเชื้อ ทุกราย 2. ทำลายเชื้อที่อาจจะหลืออยู่ในห้องส้วมที่บ้านของผู้ป่วยและ ผู้ที่ตรวจพบเชื้อด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ 3. สั่งให้คนชำแหละหมูหยุดทำงาน จนกว่าโรคสงบ 4.ให้สุขศึกษาในเรื่องพฤติกรรมการปรุงและการบริโภคอาหาร แก่ แม่ค้า เพื่อปรับปรุงสุขาภิบาลอาหารในร้านค้า ร้านขายของชำ และเขียงหมู เพื่อป้องกันการระบาดในภายหน้า

  20. ตัวอย่างผลแนวโน้มและข้อเสนอแนะ แม้ว่าการระบาดของโรคอหิวาตกโรคในครั้งนี้ ที่มีแหล่งรังโรคร่วมจากเขียงหมู มีแนวโน้มว่าจะสามารถควบคุมการระบาดของโรคได้ เนื่องจากได้ตรวจพบแหล่งรังโรคที่แพร่เชื้อพร้อมทั้งสามารถขัดขวางการถ่ายทอดเชื้อจากแหล่งนี้ได้แล้วก็ตาม ทีมสอบสวนโรค มีข้อเสนอเพื่อพิจารณาดำเนินการ ดังนี้ 1. เฝ้าระวังเชิงรุกในพื้นที่ จนกว่าจะไม่พบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น เป็นเวลาติดต่อกันอย่างน้อย 10 วัน 2. แจ้งผู้เกี่ยวข้องให้ดำเนินการปิดเขียงหมูเถื่อนรายนี้ เพื่อป้องกันการระบาดของโรคในภายหน้า 3. แจ้งหน่วยบริการสาธารณสุขต่างๆ ในจังหวัดทราบ เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือการระบาดของโรคที่อาจจะเกิดขึ้นอีกได้ในระยะนี้ เรียนมาเพื่อทราบ และพิจารณาสั่งการต่อไป

  21. 2. วิธีการเขียนรายงานการสอบสวน สรุปเสนอผู้บริหาร (Final Report) • หลักการเดียวกันกับการเขียนรายงานฉบับสมบูรณ์ (Full Report) • แต่มีเพียงองค์ประกอบหลักเท่านั้น ได้แก่ 5.วิธีการศึกษา 6.ผลการสอบสวน 7.มาตรการควบคุม ป้องกันโรค 8.สรุปผล 1.ชื่อเรื่อง 2.ผู้รายงานและทีม สอบสวนโรค 3.ความเป็นมา 4.วัตถุประสงค์

  22. 3. วิธีการเขียนรายงานการสอบสวน ฉบับสมบูรณ์ (Full report)

  23. องค์ประกอบของรายงานการสอบสวน ฉบับสมบูรณ์ (1) • ชื่อเรื่อง • ผู้รายงานและทีมสอบสวนโรค • บทคัดย่อ • บทนำหรือความเป็นมา • วัตถุประสงค์ • วิธีการศึกษา • ผลการสอบสวน

  24. องค์ประกอบของรายงานการสอบสวน ฉบับสมบูรณ์ (2) • มาตรการควบคุมและป้องกันโรค • วิจารณ์ผล • สรุปผล • ข้อเสนอแนะ • ปัญหาและข้อจำกัดในการสอบสวน • กิตติกรรมประกาศ • เอกสารอ้างอิง

  25. องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ ชื่อเรื่อง - สั้น กระชับ - ตรงประเด็น - ความหมายครบถ้วน

  26. องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ ผู้รายงานและทีมสอบสวน - ชื่อ - ตำแหน่ง -หน่วยงาน

  27. บทนำ (และวัตถุประสงค์) วิธีการศึกษา ผลการศึกษา สรุปและข้อเสนอแนะ คำสำคัญ องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ บทคัดย่อ - ไม่เกิน 1 หน้า A4 - หัวข้อหลัก - สรุปย่อรายงาน

  28. บทนำหรือ ความเป็นมา บอกให้ทราบถึงเหตุการณ์ ผิดปกติที่นำไปสู่การ สอบสวนการระบาด องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ เกิดอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ แหล่งข่าวใด ผู้ให้ข่าวเป็นใคร ข้อมูลเบื้องต้นของ Index case ขนาดของปัญหา คณะสอบสวนประกอบด้วยหน่วยใด เริ่มสอบสวนและ เสร็จสิ้นเมื่อไหร่

  29. องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ วัตถุประสงค์ในการสอบสวนโรค • ให้ระบุวัตถุประสงค์เฉพาะของการสอบสวนโรค เช่น • เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการระบาดของโรค • เพื่อศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยาของโรคตาม • บุคคล เวลา สถานที่ • เพื่อค้นหาแหล่งโรค วิธีการถ่ายทอดโรค • เพื่อหามาตรการในการป้องกันควบคุมโรค • อื่นๆ ตามแต่กรณี เช่น ศึกษาประสิทธิภาพวัคซีน

  30. ระบาดวิทยาเชิงพรรณา -รูปแบบที่ใช้ในการศึกษา ระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ - นิยามผู้ป่วย - ศึกษาทางห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อม Case-control study  Cohort study - เครื่องมือที่ใช้ในการสอบสวน - สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ วิธีการศึกษาที่ใช้ในการสอบสวนโรค

  31. ผลการศึกษา 1 2 3 องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ ยืนยันการเกิดโรค ยืนยันการระบาด ข้อมูลทั่วไป • ยืนยันการวินิจฉัยเบื้องต้น • อาการ และอาการแสดงของผู้ป่วย • ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

  32. ผลการศึกษา องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ 2 3 1 ยืนยันการเกิดโรค ยืนยันการระบาด ข้อมูลทั่วไป • แสดงจำนวนผู้ป่วยของโรค หรือเหตุการณ์ที่ผิดปกติโดยเปรียบเทียบ กับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนๆ จากค่ามัธยฐาน 5 ปี • แสดงให้เห็นชัดถึงพื้นที่ที่มีการระบาด เช่น อัตราป่วยรายพื้นที่

  33. ผลการศึกษา • ข้อมูลประชากร • ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่เกิดโรค • เส้นทางคมนาคมและพื้นที่ติดต่อ • ข้อมูลทางเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ วัฒนธรรม • ข้อมูลสุขาภิบาล สาธารณูปโภค • ข้อมูลสิ่งแวดล้อม เช่น ปริมาณน้ำฝน องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ 2 3 1 ยืนยันการเกิดโรค ยืนยันการระบาด ข้อมูลทั่วไป

  34. ผลการศึกษา องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ 4 5 6 7 4 ผลการศึกษาทางระบาดวิทยา ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการศึกษาทางสภาพแวดล้อม ผลการเฝ้า ระวังโรค 4.1 ระบาดวิทยาเชิงพรรณนา * ลักษณะการกระจายโรคตามบุคคล * ลักษณะการกระจายโรคตามเวลา * ลักษณะการกระจายโรคตามสถานที่ 4.2 ระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ * แสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูล ต่างๆตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

  35. ผลการศึกษา องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ 5 4 6 7 ผลการศึกษาทางระบาดวิทยา ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการศึกษาทางสภาพแวดล้อม ผลการเฝ้า ระวังโรค • ประเภทวัตถุตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ • เก็บจากผู้ป่วย และปัจจัยเสี่ยงที่น่าจะเป็นสาเหตุของ • การระบาด • สถานที่ส่งตรวจ • ผลการตรวจที่ได้

  36. ผลการศึกษา องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ 5 4 6 7 ผลการศึกษาทางระบาดวิทยา ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการศึกษาทางสภาพแวดล้อม ผลการเฝ้า ระวังโรค อธิบายเหตุการณ์แวดล้อมที่มีความสำคัญต่อการระบาดของโรค - สภาพโรงครัว - แหล่งน้ำ - ส้วม - กรรมวิธีการปรุงอาหาร

  37. ผลการศึกษา องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ 5 4 6 7 ผลการศึกษาทางระบาดวิทยา ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการศึกษาทางสภาพแวดล้อม ผลการเฝ้า ระวังโรค เฝ้าระวังโรคต่ออีกเป็นระยะเวลา 2 เท่าของระยะฟักตัวของโรค

  38. เพื่อควบคุมการระบาดที่เกิดขึ้นในขณะนั้น • เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผู้ป่วยรายใหม่ Agent Host Environment องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ มาตรการควบคุมและป้องกันโรค

  39. วิจารณ์ผล องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ อธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น วิเคราะห์หาเหตุผลและสมมติฐาน ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างหรือคล้ายคลึง กับการระบาดในอดีตหรือไม่ อย่างไร วิจารณ์ความสำเร็จหรือล้มเหลวในการควบคุมโรค

  40. องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ ปัญหาและข้อจำกัดในการสอบสวนโรค • ระบุปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น • ข้อจำกัดที่พบในขณะสอบสวนโรค • บอกแนวทางการแก้ไขปัญหา สำหรับการสอบสวนครั้งต่อไป

  41. สรุปผลการสอบสวน องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ ยืนยันการเกิดโรคและการระบาด แหล่งรังโรค วิธีถ่ายทอดโรค กลุ่มเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยง สถานการณ์ล่าสุด

  42. ข้อเสนอเกี่ยวกับมาตรการควบคุมป้องกันโรคข้อเสนอเกี่ยวกับมาตรการควบคุมป้องกันโรค • ข้อเสนอเพื่อปรับปรุงการสอบสวนในครั้งหน้า องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ ข้อเสนอแนะ ให้สอดคล้องและจำเพาะ กับผลการศึกษา

  43. กิตติกรรมประกาศ องค์ประกอบและวิธีการเขียนรายงาน ฉบับสมบูรณ์ • ผู้ให้ความร่วมมือในการสอบสวนโรค • ผู้ให้การสนับสนุนด้านการตรวจทาง Lab • ผู้ที่ให้ข้อมูลอื่นๆ ประกอบการสอบสวนโรค เอกสารอ้างอิง • รูปแบบแวนคูเวอร์ ( Vancouver Style) • รูปแบบมาตรฐาน อื่นๆ ตามที่วารสารกำหนด

  44. เอกสารอ้างอิง รูปแบบแวนคูเวอร์ การอ้างอิงบทความจากวารสาร (Articles in Journals) รูปแบบพื้นฐาน - ชื่อผู้แต่ง (Author). ชื่อบทความ (Title of the article). ชื่อวารสาร (Title of the Journal) ปีพิมพ์ (Year); เล่มที่ของวารสาร (Volume): หน้าแรก-หน้าสุดท้าย (Page). • การอ้างอิงเอกสารที่เป็นหนังสือหรือตำราทั้งเล่ม • รูปแบบพื้นฐาน • ชื่อผู้แต่ง (Author). ชื่อหนังสือ (Title of the book). • ครั้งที่พิมพ์ (Edition). เมืองที่พิมพ์ (Place of Publication): สำนักพิมพ์ (Publisher); ปี (Year). 44

  45. การเขียนบทคัดย่อ

  46. บทคัดย่อ บทนำ (และวัตถุประสงค์) กล่าวถึงที่มาของเรื่อง และวัตถุประสงค์ของการสอบสวน อย่างสั้น รัดกุม และได้ใจความ วิธีการศึกษา:ระบุองค์ประกอบที่สำคัญของ ระเบียบวิธีการศึกษา • รูปแบบการศึกษาทางระบาดวิทยา • กลุ่มตัวอย่าง และประชากรศึกษา • ตัวแปรที่ใช้วัดผล เช่น นิยามผู้ป่วย • สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

  47. บทคัดย่อ (ต่อ) ผลการศึกษา:ระบุผลการศึกษาที่สอดคล้องกับวิธีการศึกษา สรุปและข้อเสนอแนะ:สรุปผลการศึกษาอย่างสั้น รัดกุม และชัดเจน โดยเน้นประเด็นสำคัญ และผลกระทบของการศึกษา รวมทั้ง ข้อเสนอแนะเพื่อดำเนินการต่อไป

  48. ตัวอย่างบทคัดย่อ การระบาดของโรคอาหารเป็นพิษในนักเรียนโรงเรียนแห่งหนึ่ง ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต วันที่ 18-20 กรกฎาคม 2554

  49. บทคัดย่อ การสอบสวนการระบาดของโรคอาหารเป็นพิษที่เกิดขึ้นในโรงเรียนแห่งหนึ่ง ตำบลเกาะแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต วันที่ 18-20 กรกฎาคม 2554 มีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการวินิจฉัย และการระบาดของโรค ลักษณะการเกิดโรคหาสาเหตุของการระบาด แหล่งโรคและวิธีถ่ายทอดโรค เพื่อหาแนวทางในการป้องกันและควบคุมการระบาด โดยทำการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา และเชิงวิเคราะห์แบบ Unmatched Case-control Study เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์และบันทึกลงในแบบสอบสวน ผลการสอบสวนพบผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษในโรงเรียนแห่งนี้จำนวน 63 คน เป็นเด็กนักเรียนจำนวน 62 คน ครู 1 คน อัตราป่วยร้อยละ 3.6 พบอัตราป่วยสูงสุดในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ร้อยละ 17.12 มีลักษณะการแพร่กระจายเชื้อแบบมีแหล่งโรคร่วม (Intermittent common source) ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการปวดท้องคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ มีไข้ และถ่ายเหลว ตามลำดับ ซึ่งผู้ป่วยได้ดื่มนมพาสเจอร์ไรส์ รสมอลต์ช็อกโกแลต โดยพบว่าเครื่องดื่มดังกล่าวเป็นปัจจัยเสี่ยงของการระบาดอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ โดยมีค่า Adjusted Odds Ratio เป็น 98.46, 95%CI = 18.38, 527.51 ส่วนสาเหตุที่ทำให้นมเสื่อมคุณภาพ พบว่า กระบวนการขนส่ง และการเก็บเครื่องดื่มไม่ได้มาตรฐานโดยไม่ได้ควบคุมอุณหภูมิระหว่างขนส่งตามคำแนะนำข้างกล่อง (เก็บที่อุณหภูมิ 2-5 องศาเซลเซียส ตลอดเวลา) จึงได้แนะนำให้โรงเรียนและผู้ประกอบการ ปรับปรุงการเก็บรักษาและขนส่งนมพาสเจอร์ไรส์ ให้มีอุณหภูมิเหมาะสม ตรวจสภาพกล่องหรือบรรจุภัณฑ์ก่อนจำหน่าย/แจกจ่าย แนะนำนักเรียนให้สังเกตลักษณะของอาหาร/เครื่องดื่มก่อนรับประทาน และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหารและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน

  50. บทคัดย่อ ความเป็นมา เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2541 แพทย์ประจำบ้านในโครงการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ป้องกันแขนงระบาดวิทยา ได้รับแจ้งว่ามีผู้ป่วยด้วยอาการทางระบบประสาทพร้อมกัน จำนวน 6 ราย จึงได้ดำเนินการสอบสวนโรค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาสาเหตุและแหล่งที่มาของการระบาดในครั้งนี้ วิธีการศึกษา นิยามผู้ป่วย หมายถึง ชาวบ้านในหมู่บ้าน 2 หมู่บ้านในจังหวัดน่าน ที่มีอาการอย่างน้อย 3 ใน 9 อย่าง ดังนี้ หนังตาตก, กลืนลำบาก, พูดไม่ชัด, เสียงแหบ, ปากแห้งคอแห้ง, เจ็บคอ, อุจจาระร่วง, อาเจียน, กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรงทั้ง 2 ข้าง ในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา จากนิยามดังกล่าว นำไปสู่การสัมภาษณ์ และศึกษาอาการป่วยจากทะเบียนผู้ป่วย และทำการศึกษาทางระบาดวิทยาเชิงวิเคราะห์ (case-control study) โดยมีผู้ป่วย 13 ราย และ กลุ่มควบคุม 66 ราย หลังจากนั้นได้ทำการเก็บตัวอย่างอาหารที่สงสัย, หน่อไม้อัดปี๊บ, ดิน และ อุจจาระของผู้ป่วย เพื่อส่งตรวจเพาะเชื้อ Clostridium Botulinum และ ทดสอบหาสารพิษที่ห้องปฏิบัติการ ประเทศสหรัฐอเมริกา รวมทั้งศึกษากรรมวิธีการทำหน่อไม้อัดปี๊บ ในหมู่บ้าน

More Related