1 / 74

เทคโนโลยีมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้

75104. เทคโนโลยีมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้. Multimedia Technology for Learning Management. ดร.วีรพันธุ์ ศิ ริฤทธิ์ Dr. Weeraphan Siririth. อาจารย์ผู้สอน. อ. ดร.วีรพันธุ์ ศิ ริฤทธิ์ อ. ปรัชญ์ สุขกวี อ. อำพล สงวนศิ ริธรรม. คำอธิบายรายวิชา (Course Description).

mattox
Download Presentation

เทคโนโลยีมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. 75104 เทคโนโลยีมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ Multimedia Technology for Learning Management ดร.วีรพันธุ์ ศิริฤทธิ์ Dr. WeeraphanSiririth

  2. อาจารย์ผู้สอน • อ. ดร.วีรพันธุ์ ศิริฤทธิ์ • อ. ปรัชญ์ สุขกวี • อ. อำพล สงวนศิริธรรม

  3. คำอธิบายรายวิชา (Course Description) แนวคิด ทฤษฎี เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา วิธีการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ พัฒนาเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ แหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศ ฝึกปฏิบัติการออกแบบ การสร้าง การประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมกับการเรียนการสอน การประเมินและการปรับปรุงนวัตกรรม

  4. วัตถุประสงค์ทั่วไปของรายวิชาวัตถุประสงค์ทั่วไปของรายวิชา • เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ แนวคิด ทฤษฎี เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ • เพื่อสามารถวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศ • เพื่อสามารถเลือกใช้ ออกแบบ สร้าง และปรับปรุงนวัตกรรมเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี • เพื่อสามารถพัฒนาเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี • เพื่อสามารถแสวงหาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน

  5. เนื้อหาของรายวิชา วันเสาร์ที่ 25 ก.พ. 55 อ.ดร.วีรพันธุ์ • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ • ประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์ • บทเรียนคอมพิวเตอร์แบบมัลติมีเดีย วันอาทิตย์ที่ 26 ก.พ. 55 อ.ดร.วีรพันธุ์ • การออกแบบระบบการสอน • การออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ • การออกแบบคอร์สแวร์

  6. เนื้อหาของรายวิชา วันเสาร์ที่ 3มี.ค. 55 • การวิเคราะห์วัตถุประสงค์และการบริหารจัดการความรู้ อ. ปรัชญ์ • ฝึกปฏิบัติการพัฒนาบทเรียนออนไลน์ (e-Learning) กลุ่ม Aอ. อำพล วันอาทิตย์ที่ 4 มี.ค. 55 • การวิเคราะห์เนื้อหาและยุทธวิธีด้านการสอน อ. ปรัชญ์ • ฝึกปฏิบัติการพัฒนาบทเรียนออนไลน์ (e-Learning) กลุ่ม Bอ. อำพล

  7. เนื้อหาของรายวิชา วันเสาร์ที่ 10 มี.ค. 55 อ. ปรัชญ์ • การพัฒนาและการทดลองใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ • การประเมินผลบทเรียนคอมพิวเตอร์ • ข้อพิจารณาเกี่ยวกับคุณภาพของการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์

  8. การประเมินผลของรายวิชาการประเมินผลของรายวิชา • การเข้าชั้นเรียน ความสนใจ การร่วมมือ ในการเรียนการสอน 10% • การเข้าฝึกปฏิบัติ 40% 3) สอบปลายภาค 50 %

  9. สาระความรู้ตามมาตรฐาน (คุรุสภา) • แนวคิด ทฤษฎี เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ • เทคโนโลยีและสารสนเทศ • การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศ • แหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ • การออกแบบ การสร้าง การนำไปใช้ การประเมินและการปรับปรุงนวัตกรรม

  10. สมรรถนะตามมาตรฐาน (คุรุสภา) • สามารถเลือกใช้ ออกแบบ สร้างและปรับปรุงนวัตกรรมเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี • สามารถพัฒนาเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี 3) สามารถแสวงหาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน

  11. ตำราหลักที่ใช้ในรายวิชาตำราหลักที่ใช้ในรายวิชา • มนต์ชัย เทียนทอง , “การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์ สำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน” , มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ • ใจทิพย์ ณ สงขลา , “E-Instructional Design วิธีวิทยาการออกแบบ การเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์” , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3)ณัฐกร สงคราม , “การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้”, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  12. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบทเรียนคอมพิวเตอร์ Introduction to Computer Instruction ดร.วีรพันธุ์ ศิริฤทธิ์ Dr. WeeraphanSiririth Siririth @ Gmail.com

  13. มัลติมีเดีย (Multimedia) มัลติมีเดีย (Multimedia)เดิมแปลว่า สื่อประสม หรือ สื่อผสม แต่ปัจจุบันได้มีการเรียกทับศัพท์ กิดานันท์(2543)ให้ความหมายของคำว่า “สื่อประสม” ว่า การนำสื่อหลายๆประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน โดยการใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา ในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมด้วย เพื่อการผลิต หรือ การควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในการเสนอข้อมูล ทั้งตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์และเสียง

  14. มัลติมีเดีย (Multimedia) มสธ.(2537)ให้ความหมายของคำว่า “สื่อประสม” ว่า การใช้สื่อการเรียนการสอนหลายๆชนิดในบทเรียนสำเร็จรูป เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกกิจกรรมใช้สื่อการเรียนการสอนหรือกิจกรรมการเรียนที่ตนเองถนัด ในกระบวนการเรียนรู้ สื่อการเรียนการสอนที่จัดไว้จึงมีหลายชนิด ทั้งเอกสารสิ่งพิมพ์ หนังสือ ตำรา สไลด์ประกอบเสียง และอุปกรณ์การทดลอง เป็นต้น

  15. ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติศัพท์ Multimedia ว่า “มัลติมีเดีย” หมายถึง “สื่อหลายอย่าง” หลายๆ อย่างผสมรวมกัน สื่อ ข่าวสาร ช่องทางการสื่อสาร การนำองค์ประกอบของสื่อชนิดต่างๆ มาผสมผสานรวมกันซึ่งประกอบด้วย ตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และวีดีโอ

  16. มัลติมีเดีย(Multimedia) Link ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว Jump to 13

  17. ตัวอักษร (Text) ตัวอักษรถือว่าเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญในการเขียนโปรแกรมมัลติมีเดีย โปรแกรมประยุกต์โดยมากมีตัวอักษรให้ผู้เขียนเลือกได้หลายๆ แบบ และสามารถที่จะเลือกสีของตัวอักษรได้ตามต้องการ นอกจากนั้นยังสามารถกำหนดขนาดของตัวอักษรได้ตามต้องการ การโต้ตอบกับผู้ใช้ก็ยังนิยมใช้ตัวอักษร รวมถึงการใช้ตัวอักษรในการเชื่อมโยงแบบปฏิสัมพันธ์ได้ เช่น การคลิกไปที่ตัวอักษรเพื่อเชื่อมโยงไปนำเสนอ เสียง ภาพกราฟิก หรือเล่นวีดิทัศน์ เป็นต้น นอกจากนี้ตัวอักษรยังสามารถนำมาจัดเป็นลักษณะของเมนู(Menus) เพื่อให้ผู้ใช้เลือกข้อมูลที่จะศึกษาได้ โดยคลิกไปที่บริเวณกรอบสี่เหลี่ยมของมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์

  18. การจัดตำแหน่งของตัวอักษร (Alignment)

  19. สี : Color เป็นองค์ประกอบหน้าจอที่ช่วยกระตุ้นความน่าสนใจในการอ่าน สีเป็นตัวกระตุ้นประสาทการรับรู้ที่สำคัญ การใช้สีที่เหมาะสมจะช่วยให้อ่านง่าย และสบายตา การกำหนดสีข้อความต้องพิจารณาสีพื้นหลังประกอบเสมอ ซึ่งจะเรียกว่าคู่สี คู่สีบางคู่สามารถใช้ร่วมกันได้ บางคู่ไม่ควรนำมาใช้ร่วมกัน

  20. สี : Color ผลงานวิจัยพบว่าผู้ใช้ส่วนใหญ่ชอบคู่สีอักษรขาว หรือเหลืองบนพื้นน้ำเงิน อักษรเขียวบนพื้นดำ และอักษรดำบนพื้นเหลือง หากใช้พื้นเป็นสีเทา คู่สีที่ผู้เรียนชอบคือ สีฟ้า สีแดง สีม่วง และสีดำ สีที่ชอบน้อยคือสีส้ม สีม่วงแดง สีเขียว และสีแดง ห

  21. สี : Color หลักการออกแบบคู่สี ที่ควรต้องคำนึงอีกประการหนึ่ง คือควรใช้พื้นหลังเป็นสีเข้มมากกว่าสีอ่อน เนื่องจากสีเข้มจะช่วยลดแสงสว่างจากจอภาพ ทำให้รู้สึกสบายตามากกว่าการใช้สีอ่อนเป็นพื้นหลัง ซึ่งระยะยาวจะช่วยลดความล้าของสายตา ในการอ่านจอภาพอันเนื่องมาจากความจ้าของสีพื้น ในกรณีที่สีพื้น และสีตัวอักษรใกล้เคียงกัน อาจทำการเพิ่มขอบตัวอักษร หรือใช้สีฟุ้งกระจายรอบตัวอักษรเข้าช่วย เป็นต้น

  22. Blink

  23. ภาพ (Graphic) • ได้แก่ภาพนิ่งต่าง ๆ เช่น ภาพกราฟิก ภาพถ่าย Clipart เป็นต้นรวมทั้งภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ โดยมีนามสกุลของภาพที่สำคัญ คือ f*.gif *.jpg *.jpeg รวมถึงภาพเคลื่อนไหว

  24. ภาพนิ่ง (Still Images) ภาพนิ่งเป็นภาพกราฟิกที่ไม่มีการเคลื่อนไหว เช่น ภาพถ่าย หรือ ภาพวาด เป็นต้น ภาพนิ่งมีบทบาทสำคัญต่อมัลติมีเดียมาก ทั้งนี้เนื่องจากจะให้ผลในเชิงของการเรียนรู้ด้วยการมองเห็นไม่ว่าจะดูโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วารสาร ฯลฯ จะมีภาพเป็นองค์ประกอบเสมอ ดังคำกล่าวที่ว่า “ภาพหนึ่งภาพมีคุณค่าเท่ากับคำถึงพันคำ” ดังนั้นภาพนิ่งจึงมีบทบาทมากในการออกแบบมัลติมีเดียที่มีตัวอักษรและภาพนิ่งเป็น GUI (Graphical User Interface) ภาพนิ่งสามารถผลิตได้หลายวิธี อย่างเช่น การวาด (Drawing) การสแกนภาพ (Scanning) เป็นต้น

  25. ภาพเคลื่อนไหว (Animation) ภาพเคลื่อนไหวจะหมายถึง การเคลื่อนไหวของลูกสูบและวาล์วในระบบการทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้สามารถเข้าใจระบบการทำงานของเครื่องยนต์ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นภาพเคลื่อนไหวจึงขอบข่ายตั้งแต่การสร้างภาพด้วยกราฟิกอย่างง่าย พร้อมทั้งการเคลื่อนไหวกราฟิกนั้น จนถึงกราฟิกที่มีรายละเอียดแสดงการเคลื่อนไหว ในวงการธุรกิจจะใช้ Autodesk Animator ซึ่งมีคุณสมบัติดีทั้งในด้านของการออกแบบกราฟิกละเอียดสำหรับใช้ในมัลติมีเดียตามต้องการ

  26. Back

  27. JPEG (Joint Photographer's Experts Group File) • ภาพที่ต้องการนำเสนอมีความละเอียดสูง และใช้สีจำนวนมาก (สนับสนุนถึง 24 bit color) • ต้องการบีบไฟล์ตามความต้องการของผู้ใช้ • ไฟล์ชนิดนี้มักจะใช้กับภาพถ่ายที่นำมาสแกน และต้องการนำไปใช้บนอินเทอร์เน็ต เพราะให้ความคมชัดและความละเอียดของภาพสูง

  28. จุดเด่น • สนับสนุนสีได้ถึง 24 bit • สามารถกำหนดค่าการบีบไฟล์ได้ตามที่ต้องการ • มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ ขยายไปสู่ละเอียดในระบบ Progressive • มีโปรแกรมสนับสนุนการสร้างจำนวนมาก • เรียกดูได้กับ Graphics Browser ทุกตัว • ตั้งค่าการบีบไฟล์ได้ (compress files) • จุดด้อย • ทำให้พื้นของรูปโปร่งใสไม่ได้ • ข้อเสียของการบีบไฟล์ (Compress File)

  29. GIF (Graphics Interlace File) • ภาพกราฟิกสกุล GIF พัฒนาโดยบริษัท CompuServe จัดเป็นไฟล์ภาพสำหรับการเผยแพร่ผ่านอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ยุคแรก เนื่องจากมีลักษณะเด่น คือ • สามารถใช้งานข้ามระบบ (Cross Platform) • มีขนาดไฟล์ต่ำ จากเทคโนโลยีการบีบอัดภาพ ทำให้สามารถส่งไฟล์ภาพได้รวดเร็ว • สามารถทำพื้นของภาพให้เป็นพื้นแบบโปร่งใสได้ (Transparent) • มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ ขยายไปสู่ละเอียดในระบบ Interlace • มีโปรแกรมสนับสนุนการสร้างจำนวนมาก • เรียกดูได้กับ Graphics Browser ทุกตัว • ความสามารถด้านการนำเสนอแบบภาพเคลื่อนไหว (GIF Animation)

  30. จุดด้อย • ไฟล์ชนิดนี้ก็มีจุดด้อยในเรื่องของการแสดงสี ซึ่งแสดงได้เพียง 256 สี ทำให้ การนำเสนอภาพถ่าย หรือภาพที่ต้องการความคมชัดหรือภาพสดใส จะต้องอาศัยฟอร์แมตอื่น

  31. GIF : 608 KB JPG : 480 KB

  32. PNG (Portable Network Graphics) • ไฟล์สกุลล่าสุดที่นำจุดเด่นของไฟล์ GIF และ JPEG มาพัฒนาร่วมกัน ทำให้ภาพในสกุลนี้แสดงผลสีได้มากกว่า 256 สี และยังสามารถทำพื้นภาพให้โปร่งใสได้ จึงเป็นไฟล์ภาพที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบันด้วยอีกสกุลหนึ่ง คุณสมบัติของภาพคือ • สามารถใช้งานข้ามระบบ (Cross Platform) • ขนาดไฟล์เล็ก • สามารถทำภาพโปร่งใสจากสีพื้น 256 ระดับ • แสดงภาพแบบสอดประสานเช่นเดียวกับ GIF โดยมีความคมชัดที่ดีกว่า • มีคุณสมบัติ Gamma ทำให้ภาพสามารถปรับตัวเองได้ตามจอภาพ และปรับระดับความสว่างที่แท้จริงตามที่ควรจะเป็น

  33. จุดเด่น • สนับสนุนสีได้ถึงตามค่า True color (16 bit, 32 bit หรือ 64 bit) • สามารถกำหนดค่าการบีบไฟล์ได้ตามที่ต้องการ • มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ ขยายไปสู่ละเอียด (Interlace) • สามารถทำพื้นโปร่งใสได้ • จุดด้อย • หากกำหนดค่าการบีบไฟล์ไว้สูง จะใช้เวลาในการคลายไฟล์สูงตามไปด้วย แต่ขนาดของไฟล์จะมีขนาดต่ำ • ไม่สนับสนุนกับ Graphic Browser รุ่นเก่า สนับสนุนเฉพาะ IE 4 และ Netscape 4 • ความละเอียดของภาพและจำนวนสีขึ้นอยู่กับ Video Card • โปรแกรมสนับสนุนในการสร้างมีน้อย

  34. คำแนะนำในการใช้ไฟล์กราฟิกคำแนะนำในการใช้ไฟล์กราฟิก • ควรออกแบบกราฟิกโดยใช้ชุดสีสำหรับเว็บ (Web Palette หรือ Web-Safe Color) เพราะสามารถแน่ใจได้ว่า ผู้ใช้ทุกคนจะได้เห็นสีเหมือนกัน และไม่เกิดการนำสีใกล้เคียงมาทดแทน (Dithering) สีจริงขึ้น แต่ข้อเสียของการใช้ชุดสีสำหรับเว็บคือ จำนวนสีจำกัดเพียง 216 สีเท่านั้น • ควรทำงานในระบบสีแบบ RGB เนื่องจากเมื่อมีการบันทึกไฟล์เป็น GIF จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของ สีอินเด็กซ์(Index color) เมื่อกราฟิกอยู่ในระบบสีแบบอินเด็กซ์ สีจะถูกกำหนดด้วยชุดสีที่มีอยู่ จะไม่สามารถเพิ่มเติมเข้าไปใหม่ได้ ดังนั้นเพื่อความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนแก้ไขจึงควรทำงานในระบบสี RGB

  35. คำแนะนำในการใช้ไฟล์กราฟิกคำแนะนำในการใช้ไฟล์กราฟิก • ย่อดีกว่าขยายขนาดรูปภาพ เนื่องจากกราฟิกในเว็บมีความละเอียดต่ำอยู่แล้ว เมื่อมีการขยายขนาดขึ้นโปรแกรมกราฟิกจะไม่สามารถให้รายละเอียดของรูปได้มากนัก ในทางตรงกันข้าม เราสามารถย่อขนาดรูปภาพให้เล็กลงได้เล็กน้อย โดยไม่ทำให้คุณภาพของรูปลดลง ดังนั้นในกระบวนการเลือกรูปภาพที่จะนำมาใช้จากซีดีรอม หรือจากการสแกนรูป จึงควรเลือกขนาดที่ใหญ่กว่าขนาดที่เราต้องการใช้เล็กน้อย และสิ่งสำคัญที่สุดคือ ควรเก็บรูปต้นฉบับไว้โดยไม่ทำการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เลย เผื่อว่าเมื่อย่อรูปจนเล็กเกินไปหรือขยายใหญ่จนเกินไป จะได้กลับมาเริ่มต้นใหม่ได้อีกครั้ง • เลือกใช้รูปแบบกราฟิกให้เหมาะสม เช่น รูปที่เป็นลายเส้นหรือมีสีพื้น ๆ เป็นส่วนใหญ่ ควรเลือกใช้รูปแบบ GIF ขณะที่รูปถ่าย หรือภาพวาดควรใช้รูปแบบ JPEG

  36. ภาพเคลื่อนไหว : Animation • รูปแบบของแฟ้มภาพเคลื่อนไหว • GIF เป็นรูปแบบหนึ่งของภาพเคลื่อนไหวที่นิยมใช้งานบนอินเตอร์เน็ต โดยการสร้างภาพเคลื่อนไหว 1 ภาพจากการรวมหลายภาพเข้าด้วยกัน โดยสามารถเล่นวนได้หลายรอบแล้วแต่การกำหนด ซึ่งสร้างได้จากโปรแกรมสร้างภาพเคลื่อนไหวพวก Ulead GIF Animator • SWF เป็นรูปแบบหนึ่งของภาพเคลื่อนไหว พัฒนาโดยบริษัท Macromedia เป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่สามารถนำไฟล์มัลติมีเดียมารวมกันทั้งภาพและเสียง และยังโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้ด้วย เช่น การกดปุ่ม การเปลี่ยนภาพเมื่อคลิกเมาส์ เป็นต้น โดยใช้โปรแกรมเช่น Macromedia Flash, SWiSH

  37. คำแนะนำในการใช้ภาพเคลื่อนไหวคำแนะนำในการใช้ภาพเคลื่อนไหว • การใช้ภาพและสีจำนวนมากหรือภาพขนาดใหญ่เกินไป จะทำให้แฟ้มมีขนาดใหญ่มากตามไปด้วย และทำให้การบรรจุลงหน้าเว็บช้ามาก ดังนั้นทางออกที่ดีที่สุดคือ ใช้แฟ้มภาพขนาดเล็กและให้มีการเคลื่อนไหวเฉพาะบางส่วนของภาพเท่านั้น

  38. การเชื่อมโยงแบบปฏิสัมพันธ์ (Interactive Links) • การเชื่อมโยงแบบปฏิสัมพันธ์จะหมายถึงการที่ผู้ใช้มัลติมีเดียสามารถเลือกข้อมูลได้ตามต้องการ โดยใช้ตัวอักษรหรือปุ่มสำหรับตัวอักษรที่จะสามารถเชื่อมโยงได้จะเป็นตัวอักษรที่มีสีแตกต่างจากอักษรตัวอื่น ๆ ส่วนปุ่มก็จะมีลักษณะคล้ายกับปุ่มเพื่อชมภาพยนตร์ หรือคลิกลงบนปุ่มเพื่อเข้าหาข้อมูลที่ต้องการ หรือเปลี่ยนหน้าต่างของข้อมูลต่อไป

  39. Link  Back

  40. วีดิทัศน์ (Video) • การใช้มัลติมีเดียในอนาคตจะเกี่ยวข้องกับการนำเอาภาพยนตร์วีดิทัศน์ ซึ่งอยู่ในรูปของดิจิตอลรวมเข้าไปกับโปรแกรมประยุกต์ที่เขียนขึ้น โดยทั่วไปของวีดิทัศน์จะนำเสนอด้วยเวลาจริงที่จำนวน 30 ภาพต่อวินาทีในลักษณะนี้จะเรียกว่าวีดิทัศน์ดิจิตอล (Digital Video)คุณภาพของวีดิทัศน์ดิจิตอลจะทัดเทียมกับคุณภาพที่เห็นจอโทรทัศน์ ดังนั้นทั้งวีดิทัศน์ ดิจิตอลและเสียงจึงเป็นส่วนที่ผนวกเข้าไปสู่การนำเสนอและการเขียนโปรแกรมมัลติมีเดีย วีดิทัศน์สามารถนำเสนอได้ทันทีด้วยจอคอมพิวเตอร์ ในขณะที่เสียงสามารถเล่นออกไปยังลำโพงภายนอกได้โดยผ่านการ์ดเสียง (Sound Card)

  41. Video • VDO นับเป็นสื่ออีกรูปหนึ่งที่นิยมใช้กับเทคโนโลยีมัลติมีเดีย เนื่องจากสามารถแสดงผลได้ทั้งภาพเคลื่อนไหว และเสียงไปพร้อมๆ กัน ทำให้เกิดความน่าสนใจในการนำเสนอ โดยมีนามสกุลที่นิยมดังนี้ movavi mpg mp4 3gp

  42. WMV : Windows Media Video • Windows Media Video Used in the Windows media Player this is used to stream and download and play audio and video content.

  43. AVI (Audio / Video Interleave) • เป็นฟอร์แมตที่พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ เรียกว่า Video for Windows มีนามสกุลเป็น .aviปัจจุบันมีโปรแกรมแสดงผลติดตั้งมาพร้อมกับชุด Microsoft Windows คือ Windows Media Player

  44. MPEG - Moving Pictures Experts Group • รูปแบบของไฟล์ที่มีการบีบอัดไฟล์ เพื่อให้มีขนาดเล็กลง โดยใช้เทคนิคการบีบข้อมูลแบบ Inter Frame หมายถึง การนำความแตกต่างของข้อมูลในแต่ละภาพมาบีบ และเก็บ โดยสามารถบีบข้อมูลได้ถึง 200 : 1 หรือเหลือข้อมูลเพียง 100 kb/sec โดยคุณภาพยังดีอยู่ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดย MPEG-1 มีนามสกุล คือ .mpg ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเป็น .mp4

  45. เสียง : Sound • เสียง เป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการรับรู้รองมาจากประสาทตา จากการวิจัยพบว่า มนุษย์เรียนรู้จากการได้ยิน 11% และจำได้จากการได้ยิน 20% ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการเรียนรู้จากการมองเห็นซึ่งพบว่า มนุษย์เรียนรู้จากการมองเห็น 83% และจำได้จากการมองเห็น 30% แล้วจะเห็นว่าการเรียนรู้จากการได้ยินได้ฟังเพียงอย่างเดียว ยังมีประสิทธิภาพน้อยกว่าการเรียนรู้และการจำจากการมองเห็นอยู่มาก แต่หากผู้สอนสามารถออกแบบการเรียนรู้ให้ผู้เรียนใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 2 ทาง การเรียนรู้โดยการได้ยินและได้เห็นจะสูงถึง 94% และการจำได้จะเพิ่มเป็น 50% เมื่อเทียบกับช่องทางอื่น ๆ ที่เหลือ ตามธรรมชาติเสียงที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปนั้นเป็นสัญญาณ analog ดังนั้น จึงต้องทำการเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของ digital เพื่อสามารถบันทึกลงในคอมพิวเตอร์ได้

  46. คำแนะนำในการใช้ไฟล์วีดีโอคำแนะนำในการใช้ไฟล์วีดีโอ • ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้วิดีโอบนเว็บ ควรใช้ไฟล์แบบ Streaming ขนาดเล็กประมาณ 160x120 pixel ถ้าใช้บนแผ่น CD 320x240 pixel ถ้าใช้ QuickTime ควรใส่ QuickTime Player ลงไปด้วย เป็นต้น • ใช้เพื่อแสดงสิ่งที่เป็นการสาธิต การจำลองสถานการณ์ ที่ใช้สื่ออื่นแสดงแทนไม่ได้

  47. รูปแบบเสียง • เสียงบรรยายหรือเสียงพูด (Speech / Narration) • เสียงเอฟเฟ็กต์(Sound Effect) • เสียงดนตรีประกอบ (Music Background)

  48. เสียงบรรยายหรือเสียงพูด (Speech / Narration) • เป็นรูปแบบที่พบเห็นในบทเรียนทั่วไป จุดเด่นจะอยู่ที่การเลือกเสียงให้สอดคล้องกับเนื้อหา สอดคล้องกับระดับผู้เรียน มีความชัดเจน และผู้บรรยายมีลีลาการใช้เน้นถ้อยคำที่น่าสนใจชวนติดตามจุดเด่นดังกล่าวนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ จุดเด่นด้านคุณภาพเสียง และจุดเด่นด้านการออกแบบเสียง • การออกแบบเสียงสำคัญอยู่ที่การเตรียมบทเสียง (Sound Script) ผู้ออกแบบบทเสียงจะต้องออกแบบการใช้ถ้อยคำ ให้สละสลวย สื่อความหมาย กะทัดรัด จูงใจ มีจังหวะคล้องจองกับการนำเสนอภาพ และข้อความหน้าจอ และสอดคล้องกับตัวผู้เรียน เทคนิคเพิ่มเติมคือ การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกที่จะฟังเสียง หรือไม่ฟังเสียงบรรยายได้ รวมทั้งการออกแบบให้ผู้เรียนควบคุมความดังของเสียงได้สะดวก

More Related