1 / 106

ไข้เลือดออก

ไข้เลือดออก. พญ . รัตนา กาสุริย์ 22 เมษายน 2557. สถานการณ์โรคไข้เลือดออกปี 2556. ข้อมูลจากรายงาน 506 ของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค  แจ้งว่า วันที่ 3 กันยายน 2556 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสมรวม 115,840 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 180.25 ต่อแสนประชากร

matt
Download Presentation

ไข้เลือดออก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ไข้เลือดออก พญ. รัตนา กาสุริย์ 22 เมษายน 2557

  2. สถานการณ์โรคไข้เลือดออกปี 2556 • ข้อมูลจากรายงาน 506 ของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค  แจ้งว่า วันที่ 3 กันยายน 2556 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสมรวม 115,840 ราย • คิดเป็นอัตราป่วย 180.25 ต่อแสนประชากร • จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจากปี 2555 ณ ช่วงเวลาเดียวกัน ร้อยละ 200.9 (3 เท่า)

  3. ข้อมูลการระบาดของไข้เลือดออก ณ วันที่ 3 กันยายน 2556

  4. แนวทางการวินิจฉัยผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในโรงพยาบาลชุมชนและ รพ.สต.

  5. ประวัติ • ส่วนใหญ่พบในเด็ก 5-15 ปี , เด็กเล็กน้อยกว่า 1 ปีพบได้ 5% ผู้ใหญ่พบได้ประมาณ 30% • ระยะเวลาที่เป็นไข้ ลักษณะของไข้ • หาตำแหน่งการติดเชื้อ เช่น ไอ หวัด เจ็บคอ ถ่ายเหลว อาเจียน ปวดท้อง แผลที่ผิวหนัง เลือดออกผิดปกติ ซึมลง • บ้านใกล้เคียงมีคนเป็นไข้เลือดออก อยู่ในถิ่นที่มีการระบาด • เด็กโต R/O scrub typhus ซักประวัติเข้าป่า ลุยสวน ถูกไรอ่อนกัด

  6. ตรวจร่างกาย • วัด vital sign : BT , BP, PR , RR • ตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อหา source infection : pharynx, lung,abdomen,skin • ตรวจหาจุดเลือดออกตามร่างกาย เช่น จุดเลือดออกใต้ผิวหนัง, เลือดกำเดาออก, เลือดออกตามไรฟัน • Eschar lesion

  7. อาการที่ไม่พบบ่อยในผู้ป่วยไข้เลือดออก (Unusual manifestations of DHF)􀁻 • อาการหวัด คือ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ • อาการถ่ายเหลว ไข้ชัก อาจพบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี • ชัก, มีการเปลี่ยนแปลงของการรู้สติ • มีไข้ขณะช็อก • มีการติดเชื้ออื่นร่วมด้วย ทำให้มีอาการของการติดเชื้ออื่นซึ่งแปลกออกไป • ปัสสาวะเป็นสีน้ำตาลเข้ม ในรายที่มีโรคประจำตัว เช่นธาลัสซีเมีย ภาวะพร่องเอนซัยม์ G-6-PD

  8. การทำ tourniquettest วิธีทำคือวัดความดันโลหิตด้วยเครื่องวัดโดยใช้ขนาด cuff พอเหมาะกับขนาดต้นแขนส่วนบนของผู้ป่วย ครอบคลุมประมาณ 2ใน3 ของต้นแขน บีบความดันไว้ที่กึ่งกลางระหว่าง systolic และ diastolic pressureรัดค้างไว้ประมาณ 5 นาที หลังจากนั้นคลายความดัน รอ 1 นาทีหลังคลาย ความดันจึงอ่านผลการทดสอบ

  9. การทำ tourniquettest ผลบวก คือ ตรวจพบจุดเลือดออกเท่ากับหรือมากกว่า 10 จุดต่อตารางนิ้ว ในรายที่เป็นผลบวกจะช่วยในการวินิจฉัยแยกการติดเชื้อเดงกีจากการติดเชื้ออื่นๆ ผลลบ คือ ตรวจพบน้อยกว่า 10 จุดต่อตารางนิ้ว แต่ควรบันทึกผลเป็นจำนวนจุดต่อตารางนิ้ว เพื่อประโยชน์ ในการติดตามผลกรณีตรวจซ้ำในวันต่อมา

  10. Tourniquet test • Tourniquet test ถ้าให้ผลบวก มีโอกาสติดเชื้อเดงกี -Positive predictive value 63% - sensitivity 98.7% - specificity 74-78% • ทูนิเกต์จะให้ผลบวกในวันแรกของไข้ประมาณร้อยละ 50 • ในวันที่ 2 และ 3 ของไข้จะให้ผลบวกเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 80 และ 90 ตามลำดับ

  11. Tourniquet test False negative (ผลลบลวง) พบได้ในกรณี 􀁻 กำลังอยู่ในภาวะช็อก 􀁻 ผู้ป่วยอ้วน 􀁻 ผู้ป่วยผอม 􀁻 เมื่อเทคนิคการทำไม่ถูกต้อง (แถบรัดความดันไม่ได้กด บริเวณเส้นโลหิตฝอย)

  12. Tourniquet test • False positive (ผลบวกลวง) พบได้ในกรณี - เทคนิคไม่ดี รัดแน่นเกินไป ใช้แถบสายยางรัด - ผู้ป่วยมีโรคเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เช่น เกล็ดเลือดต่ำ - เชื้อไวรัสอย่างอื่น เช่น chikungunya

  13. CBC - ถ้า WBC < 5,000 เซล/ลบ.มม., มี lymphocyte และ atypical lymphocyte เพิ่มขึ้น เป็นข้อบ่งชี้ว่า ผู้ป่วยกำลังจะเข้าสู่ระยะที่ไข้จะลดลงภายใน 24 ชั่วโมงข้างหน้า ซึ่งจะต้องติดตามระดับเกล็ดเลือด/ Hct อย่างใกล้ชิด - Platelet < 100,000 เซล/ลบ.มม. และ Hct เพิ่มขึ้น 10-20% แสดงว่าผู้ป่วย เข้าสู่ระยะวิกฤตแล้ว คือระยะที่มีการรั่ว ของพลาสมาซึ่งจะเป็นอยู่นาน 24-48 ชั่วโมง

  14. ค่าเฉลี่ย Hct ในคนไทย อายุ < 1 ปี = 30 -35% อายุ > 1-10 ปี = 35 -40% อายุ > 10 ปี = 40-45% • ค่าปกติ ของ vital sign ในแต่ละอายุ PR RR • อายุ < 2 เดือน <160 <60 • 2 เดือน-2 ปี <140 <50 • > 2 ปี <120 <40

  15. การวินิจฉัยแยกโรค • 1. DF , DHF • 2. Scrub typhus • 3. Influenza • 4. Chikungunya • 5. Virus อื่นๆ

  16. Dengue Fever คือ ผู้ป่วยที่มีอาการไข้เกิดขึ้นอย่างกะทันหันร่วมกับอาการอย่างน้อย 2 ข้อ ต่อไปนี้ • ปวดศีรษะ/ปวดกระบอกตา/ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ • ปวดข้อ/ปวดกระดูก • ผื่น • อาการเลือดออก (ที่พบบ่อย คือ positive touniquet test,มีจุดเลือดออกที่ผิวหนัง ,petechiae,เลือดกำเดา) • ตรวจ CBC พบเม็ดเลือดขาวต่ำ

  17. Dengue Hemorrhagic Fever 1.ไข้เกิดแบบเฉียบพลันรุนแรงและสูงลอย 2-7วัน 2. อาการเลือดออก อย่างน้อยมี positive touniquet test ร่วมกับอาการเลือดออกอื่นๆ 3. เกล็ดเลือด100,000เซล/ลบ.มม. 4. เลือดข้นขึ้น ดูจากมีการเพิ่มขึ้นของ Hct เท่ากับหรือมากกว่า 20% เมื่อเทียบกับ Hct เดิม หรือมีหลักฐานการรั่วของพลาสมา เช่น มี pleural effusion และ ascites หรือมีระดับอัลบูมินในเลือดต่ำ

  18. Scrub typhus • คนได้รับเชื้อจากการถูกไรอ่อนกัดโดยไรอ่อนมักจะอยู่ในพื้นที่เป็นทุ่งหญ้า ป่าละเมาะ (รังโรค ได้แก่ หนู กระรอก) • มีไข้สูงแบบเฉียบพลัน หนาวสั่นปวดศีรษะมาก ปวดเมื่อยตามตัวมาก คลื่นไส้ อาเจียนและไอ อาจมีอาการปวดท้องและท้องเสียร่วมด้วย • อาจพบตัวตาเหลือง ตับม้ามโต เลือดออกใต้เยื่อบุตาขาว เลือดกำเดาออก • ช่วงปลายสัปดาห์แรกของโรคจะเห็นเป็นสะเก็ดแข็งดำปิดคลุมด้านบนของแผล รอบๆ แผลจะแดงแต่ไม่บวม แผลไม่เจ็บ ลักษณะแผลจะคล้ายกับแผลบุหรี่จี้เรียกว่า eschar พบได้ 48-82%

  19. Scrub typhus • Lab : wbc อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือลดต่ำลง neutrophil เด่น, เกร็ดเลือดต่ำลง 30,000-125,000 เซลล์/ลบ.มม. • Weil felix: sensitivity ต่ำ เกณฑ์วินิจฉัยตัดที่ 1:160 หรือ 1:320 หรือ มีการเพิ่มสูงขึ้นของระดับแอนติบอดี้ตั้งแต่ 4 เท่าขึ้นไปเมื่อตรวจเซรั่ม 2 ครั้งห่างกัน 2 สัปดาห์ • การตรวจทางห้องปฏิบัติการ : serology IFA, IIP, dot blot dip stick • การรักษา doxycycline และ chloramphenicol ไข้ลดลงภายใน 2-3 วันหลังได้ยา

  20. Chikungunya • มียุงลายเป็นพาหะนำโรค มีอาการคล้ายไข้เดงกี แต่ต่างกันที่ไม่มีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด จึงไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจนถึงช็อค • ประเทศไทยมีการระบาดครั้งล่าสุดเมื่อ 12 ตุลาคม 2551 พบรายงานผู้ป่วยรวมทั้งหมด 170 ราย ใน 2 จังหวัด คือนราธิวาส และปัตตานี • การรักษา ไม่มีการรักษาที่จำเพาะเจาะจง การรักษาเป็นการรักษาแบบ ประคับประคอง เช่นให้ยาลดอาการไข้ ปวดข้อ

  21. ความแตกต่างระหว่างDF/DHF กับการติดเชื้อ chikungunya 1.ใน chikungunya มีไข้สูงเกิดขึ้นอย่างฉับพลันกว่าใน DF/DHF คนไข้จึงมาโรงพยาบาลเร็วกว่า 2. ระยะของไข้สั้นกว่าในเดงกี ผู้ป่วยที่มีระยะไข้สั้นเพียง 2 วัน โดยส่วนใหญ่ไข้ลงใน 4 วัน 3. ถึงแม้จะพบจุดเลือดได้ที่ผิวหนัง และการทดสอบทูนิเกต์ให้ผลบวกได้ แต่ส่วนใหญ่จะพบจำนวนทั้งที่เกิดเองและจากทดสอบน้อยกว่าใน DF/DHF

  22. ความแตกต่างระหว่างDF/DHF กับการติดเชื้อ chikungunya 4. ไม่พบ convalescent rash ที่มีลักษณะวงขาวๆใน chikungunya 5. พบผื่นได้แบบ maculopapular rash และconjunctival infection ใน chikungunya ได้บ่อยกว่า 6. พบ myalgia / arthralgia ใน chikungunya ได้บ่อยกว่าในเดงกี 7. ใน chikungunya เนื่องจากไข้สูงฉับพลัน พบการชักร่วมกับไข้สูงได้ถึง 15% ซึ่งสูงกว่าในเดงกีถึง 3 เท่า

  23. Influenza • อาการ ไข้ ไอ หวัด เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามร่างกาย • Lab CBC : wbc อาจปกติหรือเพิ่มขึ้น อาจพบ lymphocyte เพิ่มขึ้น แต่ platelet มักจะไม่ต่ำ • แนวทางปฏิบัติ ให้การรักษาตามอาการ นัดติดตามอาการ ถ้าไม่ดีขึ้นควรทำ tournique test และเจาะ CBC

  24. แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในโรงพยาบาลชุมชนและ รพ.สต.

  25. การดูแลระยะไข้ • 1. การลดไข้ แนะนำให้ใช้ยาพาราเซตามอล 10 มก./กก./ครั้ง • เฉพาะเมื่อเวลามีไข้สูงเกิน 39 ํC ไม่ควรให้ถี่กว่า 4 ชั่วโมง • แนะนำให้เช็ดตัวด้วยน้ำธรรมดา • ห้ามใช้ยาแอสไพริน NSAID เช่น ibuprofen เพราะอาจทำให้เลือดออกในกระเพาะอาหารได้ • ไม่แนะนำให้ฉีดยาลดไข้ทุกชนิด • ในผู้ป่วยที่มีประวัติเคยชักมาก่อนเวลามีไข้สูงอาจพิจารณา ให้ยาลดไข้เมื่อไข้สูงเกิน 38 - 38.5 ํC

  26. 2. อาหาร • ควรให้ผู้ป่วยได้รับอาหารอ่อน ย่อยง่าย ถ้าเบื่ออาหารหรือรับประทานอาหารได้น้อย แนะนำให้ดื่มนม น้ำผลไม้ หรือน้ำเกลือแร่แทนน้ำเปล่า • ถ้าผู้ป่วยอาเจียนมาก แนะนำให้จิบน้ำเกลือแร่ครั้งละน้อยๆ บ่อยๆ • ควรงดรับประทานอาหารหรือน้ำที่มีสีแดง น้ำตาลหรือดำ • ถ้ายังพอดื่มน้ำได้และไม่มีอาการแสดงของภาวะขาดน้ำ ไม่จำเป็นต้องให้ IV fluid

  27. 3. การใช้ยาอื่น ๆ • ควรหลีกเลี่ยงยาที่ไม่จำเป็น เนื่องจากยาบางอย่างอาจจะทำให้มีเลือดออกมาก หรือเป็นพิษต่อตับ ไต ได้ • ถ้าผู้ป่วยอาเจียนมาก อาจพิจารณาให้ domperidone 1 มก./ กก./วัน แบ่งให้วันละ 3 ครั้ง อาจให้ครั้งเดียว หรือให้เพียง 1-2 วัน • ไม่ควรให้ antibiotics สำหรับผู้ป่วยที่สงสัยมีการติดเชื้อเดงกี (เช่นมี positive touniquet test หรือมี leukopenia) การใช้ antibiotics โดยไม่จำเป็น อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน เช่น hemolysis ในผู้ป่วย G-6-PD deficiency

  28. 3. การใช้ยาอื่น ๆ • Steroid พบว่าไม่สามารถป้องกันภาวะช็อก และอาจทำให้เลือดออกในกระเพาะอาหารได้ • H2-blocker เช่น cimetidine, ranitidine พิจารณาให้ในผู้ป่วยที่มีอาเจียนเป็นเลือด หรือเป็นcoffee ground มีประวัติหรือสงสัยว่ามีแผลในกระเพาะอยู่ก่อน • Primalute-N พิจารณาให้ในผู้ป่วยที่มีประจำเดือนมามากผิดปกติ โดยจะให้วันละ 1 เม็ด ไปจนกว่าจะพ้นระยะวิกฤตของโรค 2-3 วัน (ประมาณ 3-5 วัน หลังไข้ลง)

  29. 4. การให้ IV fluidในระยะไข้สูง • ควรพิจารณาให้เฉพาะผู้ป่วยที่อาเจียนมาก และมีอาการแสดงของภาวะขาดน้ำ ถ้าผู้ป่วยสามารถดื่มน้ำเกลือแร่ได้ ไม่จำเป็น ต้องให้ IV fluid • สารน้ำที่ให้คือ 5%D/N/2 สำหรับเด็กโต และ 5%D/N/3 สำหรับเด็กอายุ < 1 ปี ในผู้ใหญ่ให้ 5%D/NSS • การให้เพื่อรักษาภาวะขาดน้ำเท่านั้นควรหยุดให้เมื่อผู้ป่วยพอจะรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำได้ • ถ้าจำเป็นต้องให้เกิน1 วัน ควรให้ประมาณครึ่งของmaintenance ต่อวัน เนื่องจากถ้าให้มากกว่านี้ อาจทำให้ผู้ป่วยมีภาวะน้ำเกินเมื่อเข้าสู่ระยะวิกฤต ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

  30. 5. ต้องให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครอง • ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกส่วนมากอาการไม่หนัก ไม่จำเป็นต้องอยู่ในโรงพยาบาลทุกราย แต่ต้องการการดูแลและการตรวจติดตามอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะต้องมีการเจาะเลือดเพื่อดูจำนวนม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือดและความเข้มข้นของเลือด • อาจจำเป็นต้องเจาะเลือดทุกวัน เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงจะช่วยเป็นแนวทางในการดูแลรักษาผู้ป่วย

  31. คำแนะนำ • ระยะไข้ ส่วนมากไม่มีอาการอันตราย โดยให้ยาลดไข้และเช็ดตัวเพื่อไม่ให้มีไข้สูงมาก การรับประทานยาลดไข้ไม่สามารถทำให้ไข้ลดลงมาจนสู่ภาวะปกติได้ เนื่องจากยังมีเชื้อไวรัสในกระแสเลือด แต่จะทำให้ไข้ลดต่ำลงบ้าง • ยาลดไข้ไม่สามารถทำให้ระยะไข้สั้นลง การรับประทานยาลดไข้มากเกินไปอาจเป็นอันตราย ทำให้มีภาวะตับอักเสบ/ตับวาย แทรกซ้อนได้ • เน้นให้ผู้ปกครองทราบว่าระยะวิกฤต/ช็อก จะตรงกับวันที่ไข้ลง และระหว่างที่ผู้ป่วยมีอาการช็อก จะมีความรู้สติดี

  32. คำแนะนำ ให้รีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที เมื่อมีอาการดังต่อไปนี้ • มีอาการเลวลงเมื่อไข้ลง • เลือดออกผิดปกติ • อาเจียนมาก/ ปวดท้องมาก • กระหายน้ำตลอดเวลา • ซึม ไม่ดื่มน้ำ ไม่รับประทานอาหาร • มีอาการช็อก หรือ impending shock คือ

  33. คำแนะนำ • - มือเท้าเย็น • - กระสับกระส่าย ร้องกวนมากในเด็กเล็ก • - ตัวเย็น เหงื่อออก ตัวลายกระสับกระส่าย • pulse pressure < 20 mmHg. โดยไม่มี hypotension เช่น 100/80, 90/70มม.ปรอท • ความดันโลหิตต่ำ (ตามเกณฑ์อายุ) • ปัสสาวะน้อยลงหรือไม่ปัสสาวะเป็นเวลานาน 4-6 ชั่วโมง • -ความประพฤติเปลี่ยนแปลง เช่น พูดไม่รู้เรื่อง เพ้อ เอะอะ โวยวาย

  34. 6. การติดตามการเปลี่ยนแปลงทางคลินิกและห้องปฎิบัติการ • ควรนัดผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อเดงกีมาตรวจติดตามทุกราย ตั้งแต่วันที่ 3 ของโรคเป็นต้นไปทุกวันหรือตามความเหมาะสม • ขึ้นกับอาการของผู้ป่วยและความสะดวกของผู้ปกครอง • จนกว่าผู้ป่วยจะมีไข้ลงอย่างน้อย 24 ชั่วโมงโดยไม่ได้ให้ยา ลดไข้

  35. การตรวจติดตาม • จะต้องประเมินตามประเด็นต่อไปนี้ • ประวัติ ต้องถามอาการทั่วไป อาการซึม อาเจียน เลือดออก การรับประทานอาหาร จำนวนน้ำดื่ม ปริมาณปัสสาวะ สีของปัสสาวะ/อุจจาระ • ตรวจร่างกาย เน้นที่ vital signs ขนาดของตับ ทำtourniquet test ซ้ำ ถ้าผลการตรวจครั้งก่อนยังให้ผลลบ การตรวจระบบไหล เวียนของเส้นโลหิตฝอยที่บริเวณปลายมือปลายเท้า (capillary refill)

  36. ADMIT

  37. การเฝ้าระวังอาการและสัญญาณชีพการเฝ้าระวังอาการและสัญญาณชีพ 1.อาการทางคลินิกได้แก่ อาการทั่วไป ความอยากอาหาร อาการปวดท้อง เลือดออกผิดปกติ ความรู้สึกตัว 2.Vital signs : BP, PR, RR, BT ในระยะวิกฤตควรวัดทุก 1-2 ชั่วโมง PR: weak,moderate,full*** Early sign of SHOCK

  38. การเฝ้าระวังอาการและสัญญาณชีพการเฝ้าระวังอาการและสัญญาณชีพ • Hct ในระยะวิกฤต ควรเจาะทุก 4-6 ชั่วโมง ถ้าผู้ป่วยมีอาการไม่คงที่ต้องเจาะบ่อยกว่านี้ • ปริมาณปัสสาวะควรบันทึกทุก 6-8 ชั่วโมง ในระยะวิกฤติหรือช็อคอาจต้องมีการบันทึกทุกชั่วโมง • การให้ปริมาณ IV fluid ที่ถูกต้องตาม order ทั้งชนิดและปริมาณ ควรมีเครื่องmonitor ปริมาณ IVที่ถูกต้องและแม่นยำ เพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพและลดการเกิดภาวะ fluid overload

  39. กิจกรรมการพยาบาล อาการและการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่ต้องรายงานให้แพทย์ทราบทันที คือ • มีอาการช็อก ได้แก่ - ตัวเย็นชื้น เหงื่อออก เขียว สีผิวคล้ำลง ตัวลาย ๆ - ชีพจรเบา เร็ว หรือ > 120/นาทีในเด็กโต/ผู้ใหญ่ หรือ > 140/นาทีในเด็กเล็กอายุ< 2ปี - Pulse pressure แคบ < 20 มม.ปรอท - ความดันต่ำ(hypotension) - capillary refill > 2 วินาที - Oxygen saturation < 95%

  40. มีการเปลี่ยนแปลงของการรู้สติ เช่น สับสน กระสับกระส่าย เอะอะโวยวาย ไม่รู้สึกตัว • มีเลือดออกมากประมาณ 10% ของ total blood volume (6-8 มล./กก.) • ชัก • อาเจียน/ ปวดท้องมาก • IV fluid leak และไม่สามารถเปิดเส้นใหม่ได้ • มีผล labผิดปกติที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เช่น Platelet < 100,000 , Hct เพิ่มขึ้น ,น้ำตาลต่ำ, แคลเซี่ยมต่ำ ,โซเดียมต่ำ, มี metabolic acidosis

  41. Refer • การส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า ควรมีการเตรียมข้อมูลให้ละเอียดทั้งประวัติ ตรวจร่างกาย ,ผลlab • คำนวณปริมาณfluidทั้งหมดที่ได้รับมา,สัญญาณชีพล่าสุด,flow chart vital sign ตั้งแต่แรกรับจนถึงปัจจุบัน • ติดต่อประสานงานรถreferและพยาบาลrefer รวมทั้งให้ข้อมูลการรักษากับญาติผู้ป่วย • กรณีอาการผู้ป่วยไม่คงที่ควรมีการโทรศัพท์ประสานงานกับโรงพยาบาลที่รับrefer เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษา

  42. วัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออก • โครงการวิจัยและพัฒนาวัคซีน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า งานวิจัยการพัฒนาวัคซีนไข้เลือดออกประกอบด้วย เชื้อไวรัสเด่งกี่ 4 สายพันธุ์ • ผ่านการทดลองในห้องปฏิบัติการในหลอดทดลอง สัตว์ทดลอง และในอาสาสมัครทดลองที่เป็นมนุษย์ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว • การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกจะฉีด 1-2 เข็ม และต้องฉีดทุกๆ 8 ปี ควรฉีดในเด็กก่อนวัยเรียน หรือประมาณ 3 ขวบ โดยใช้ปริมาณวัคซีนขนาด 0.5 ซีซี ส่วนผู้ใหญ่ฉีดวัคซีนปริมาณ 1 ซีซี

More Related