1 / 25

รายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

รายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ปัจจัยที่มีผลทำให้ผู้ถูกคุมความประพฤติปฏิบัติตามเงื่อนไขการคุมประพฤติไม่ครบตามคำสั่งศาล นางสาวซารีฟะห์ฟาตีฮะห์ อดุลรัส 5120710030 สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดนราธิวาส เลขที่ 156 ถนนสุริยะประดิษฐ์ ตำบลบางนาค อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส. คืนคนดีสู่สังคม.

mason-kent
Download Presentation

รายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษารายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ปัจจัยที่มีผลทำให้ผู้ถูกคุมความประพฤติปฏิบัติตามเงื่อนไขการคุมประพฤติไม่ครบตามคำสั่งศาล นางสาวซารีฟะห์ฟาตีฮะห์ อดุลรัส 5120710030 สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดนราธิวาส เลขที่ 156 ถนนสุริยะประดิษฐ์ ตำบลบางนาค อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส

  2. คืนคนดีสู่สังคม

  3. เครื่องหมายราชการของกรมคุมประพฤติ ความหมาย ภาพดุลพาน  หมายถึง ความเป็นธรรมจากศาลสถิตยุติธรรม รูปบุคคล  3  คน  เป็นตัวแทนของผู้กระทำผิดพนักงานคุมประพฤติ และประชาชนที่เข้ามาร่วมกับงานคุมประพฤติ เป็นการสื่อความหมายถึงความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างบุคคลทั้ง  3 ในกระบวนการแก้ไขผู้กระทำผิด หากมองรูปบุคคลเฉพาะคนกลาง (โดยปิดศีรษะของบุคคลที่อยู่ทั้ง  2  ข้าง)  จะเป็นรูปคนยืนกางแขนสัมผัสจานของดุลพาห หมายถึงการทำงานของพนักงานคุมประพฤติ  ผู้ซึ่งมาช่วยงานของศาลในอันที่จะผดุงความเป็นธรรมต่อสังคม

  4. ประวัติความเป็นมา ประเทศไทยเริ่มมีการนำระบบคุมประพฤติมาใช้เป็นครั้งแรกตั้งแต่ พ.ศ. 2495 โดยมาใช้กับผู้กระทำผิดที่เป็นเด็กและเยาวชนก่อน ส่วนผู้กระทำผิดผู้ใหญ่นั้น แม้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 มาตรา 56,57 และ 58 จะได้บัญญัติถึงวิธีการเกี่ยวกับการคุมประพฤติไว้ แต่ศาลคงใช้มาตรการรอการกำหนดโทษ หรือการรอลงโทษเพียงอย่างเดียวโดยไม่ใช้วิธีการคุมประพฤติ เนื่องจากยังไม่มีหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบดำเนินงานการตามคำพิพากษาของศาลได้ จนกระทั่งรัฐบาลได้ผ่านพระราชบัญญัติวิธีดำเนินการคุมประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2522 และได้มีการจัดตั้งสำนักงานคุมประพฤติกลาง ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับกอง สังกัดสำนักงานส่งเสริมตุลาการ กระทรวงยุติธรรม และเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2522

  5. โดยดำเนินการในกรุงเทพมหานครก่อน จนปรากฏผลเป็นที่น่าพึงพอใจ และเพื่อเป็นโอกาสให้แก่ประชาชนในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ให้ได้รับประโยชน์จากวิธีการคุมประพฤติ จึงได้มีการเปิดดำเนินการสำนักงานคุมประพฤติในส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ และจากการขยายงานออกสู่ส่วนภูมิภาคมากขึ้น จึงทำให้สำนักงานคุมประพฤติกลางมีงบประมาณ ขอบเขต อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น

  6. ดังนั้น เพื่อประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการปฏิบัติงานสำนักงานคุมประพฤติกลางจึงได้รับการยกฐานะเป็น “การคุมประพฤติ” เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2535 ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2535 และพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่ และกิจการบริหารบางส่วนของสำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ กระทรวงยุติธรรม ไปเป็นของกรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2535 ดังนั้นวันที่ 15 ของทุกปี จึงถือเป็น “วันก่อตั้งคุมประพฤติ” ปัจจุบันมีสำนักงานคุมประพฤติอยู่ทั่วประเทศ จำนวน 106 แห่ง

  7. วิสัยทัศน์ “เป็นเลิศในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในชุมชนเพื่อคืนคนดีสู่สังคม”

  8. พันธกิจ 1.แก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในชุมชน ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับบำบัด และติดตามช่วยเหลือภายหลังปล่อย 2.เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน และภาคีเครือข่าย ในการดูแล แก้ไข บำบัด ฟื้นฟูผู้กระทำผิด

  9. ค่านิยมร่วม ซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ ตระหนักในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีความศรัทธา ภาคภูมิใจในวิชาชีพและรักการให้บริการ รับผิดชอบต่อหน้าที่ ทำงานเป็นทีม มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รักการเรียนและการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

  10. ภารกิจคืนคนดีสู่สังคมภารกิจคืนคนดีสู่สังคม กรมคุมประพฤติมีภารกิจหลัก ในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยมีพนักงานคุมประพฤติคอยดูแล ภายใต้ความช่วยเหลือของชุมชนที่จะเข้าร่วมรับผิดชอบในการป้องกันอาชยากรรมและการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด เพื่อคืนคนดีสู่สังคมดังนี้ งานสืบเสาะและพินิจ เป็นกระบวนการแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้กระทำผิด แล้วนำมาประมวลผล วิเคราะห์ จัดทำรายงานเพื่อประกอบดุลพินิจในการใช้มาตรการลงโทษที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของสังคมเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งเป็น 2ขั้นตอนคือ ก่อนการพิจารณาคดีของศาล และหลังจากพิจารณาคดีของศาล

  11. งานควบคุมและสอดส่องเป็นกระบวนการติดตาม ควบคุมสอดส่อง ดูแลให้คำแนะนำ และช่วยเหลือผู้กระทำผิด ภายใต้เงื่อนไขการคุมความประพฤติ เพื่อช่วยให้ผู้กระทำผิดปรับปรุงแก้ไขนิสัยความประพฤติจนกระทั่งกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ และไม่หวนกลับไปกระทำผิดซ้ำ รวมถึงการสงเคราะห์ในรูปแบบต่างๆ งานแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด  วัตถุประสงค์หลักของการคุมประพฤติ  คือการให้ความช่วยเหลือ  แนะนำ  แก้ไข  ปรับปรุง  และส่งเสริมให้ผู้ถูกคุมความประพฤติได้กลับตนเป็นพลเมืองดี  โดยไม่หวนกลับไปกระทำผิดซ้ำอีก  ซึ่งผู้ถูกคุมความประพฤตินั้นจะมีความแตกต่างกันทั้งด้านสถานะสังคม  ประวัติส่วนตัว  สภาวะอารมณ์  และฐานความผิด 

  12.   ดังนั้นจึงจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขฟื้นฟูให้เหมาะสมตามความต้องการเป็นรายบุคคล  ทั้งในด้านพฤติกรรมและอารมณ์  การปรับทัศนคติ  การเข้าใจปัญหาและรู้จักการแก้ไขปัญหาด้วยเทคนิคและวิธีการที่แตกต่างกัน ดังนี้ 1.  การจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ถูกคุมความประพฤติตามสภาพปัญหา  ความต้องการหรือความจำเป็น     2.  การแก้ไขฟื้นฟูโดยใช้หลักธรรมทางศาสนา  3.  การให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยา แบบกลุ่ม/รายบุคคล/ครอบครัว

  13. งานสงเคราะห์ผู้กระทำผิด เป็นการช่วยเหลือและสงเคราะห์ผู้กระทำผิดที่อยู่ในความดูแลของกรมคุมประพฤติ โดยมีการบริการให้การสงเคราะห์ เช่น การประกันตัวจำเลยในระหว่างการสืบเสาะและพินิจ การสงเคราะห์ค่าอาหารและค่าพาหนะจำเลย การให้หารศึกษาแก่ผูกคุมประพฤติการอบรมด้านอาชีพและฝึกอาชีพให้แก้ผู้ถูกคุมความประพฤติ งานบริการสังคม คือการที่ศาลกำหนดให้ผู้กระทำผิดในคดีอาญาต้องทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมหรือผู้เสียหาย โดยไม่ได้รับค่าตอบแทนภายใต้ความยินยอมหรือคำร้องขอ ทำงานบริการสังคมของผู้กระทำผิด ซึ่งมีทั้งรายบุคคลและแบบกลุ่ม เช่น การทำความสะอาดสถานที่สาธารณะ การดูแลคนพิการ เด็กกำพร้า คนชราในสถานสงเคราะห์

  14. งานบริการสังคมแทนค่าปรับ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 30/1 เป็นทางเลือกสำหรับผู้กระทำผิดที่ถูกศาลพิพากษาลงโทษปรับไม่เกิน 80,000 บาท แต่ไม่มีเงินพอที่จะชำระค่าปรับ โดยที่ผู้ต้องโทษปรับนั้นต้องไม่ใช่นิติบุคคล สามารถยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นที่พิพากษาคดีเพื่อขอทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับได้

  15. งานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติในระบบบังคับบำบัดตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545ถือว่าเสพยาเสพติดเป็นผู้ป่วยมิใช่อาชญากร ต้องได้รับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างทั่งถึง และหากเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพครบขั้นตอนจนเลิกยาเสพติดได้เด็ดขาด จะไม่มีการดำเนินคดี และสามารถกลับสู่สังคมได้อย่างเต็มภาคภูมิ โดยมีการดำเนินงาน 2 ด้าน คือ การตรวจพิสูจน์ว่าเป็นผู้เสพหรือผู้เสพติดหรือไม่ และฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ติดยาเสพติด เป็นการบำบัดกาติดยาเสพติดและฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ติดยาเสพติดให้กลับคืนสู่สภาพปกติ

  16. งานอาสาสมัครคุมประพฤติ เกิดจากแนวคิดในการนำประชาชนและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนแก้ไข้ฟื้นฟูผู้กระทำผิดในชุมชนโดยการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและกระบวนการพิจารณาคดีของศาล รวมถึงแนวทางการป้องกันแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในชุมชนนอกจากนี้ ยังเป็นตัวแทนของกระทรวงยุติธรรมในการสอดส่อง ดูแลความประพฤติของผู้กระทำผิดด้วย

  17. งานเครือข่ายยุติธรรมชุมชน เป็นการให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรม การแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในชุมชนการระงับข้อพิพากษาในชุมชน การร่วมมือในด้านต่างๆ ที่นำไปสู่กระบวนการยุติธรรม การช่วยเหลือสงเคราะห์ และรับผู้กระทำผิดกลับเข้าสู่ชุมชน นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้ง “ศูนย์ยุติธรรมชุมชน” ซึ่งเป็นการรวมตัวของภาคประชาชน ที่ต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาชุมชน เสริมสร้างความยุติธรรมและความสงบสุขในชุมชน

  18. ผลที่ได้รับจากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพผลที่ได้รับจากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 1. มีระเบียบ วินัย ในการอยู่ร่วมกันในสังคมมากขึ้น 2.มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่มากขึ้น 3. มีความอดทน โอบอ้อมอารีต่อผู้อื่น 4. ทำให้นักศึกษากล้าคิด กล้าทำ และกล้าแสดงออกมากขึ้น 5. รู้วิธีการทำงานและ กลไกการทำงาน 6. ทำให้มีความชำนาญในการปฏิบัติงานจริง 7. นำความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานและสามารถนำไปใช้ในการดำเนินในชีวิตประจำวันได้

  19. ปัญหา อุปสรรค และวิธีการแก้ไข 1. ขาดความชำนาญการในการใช้คอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ดีด ซึ่งบางครั้งอาจทำให้การทำงานลาช้าและไม่สำเร็จตามเวลาที่กำหนดไว้ 2. ขาดอุปกรณ์ในการทำงานเนื่องจากคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอ 3. งานบางอย่างต้องใช้จิตวิทยาในการทำงาน 4. ต้องลงพื้นที่บ่อยๆ 5. งานมีจำนวนมากบางที่ไม่เสร็จตามกำหนด วิธีแก้ไขปัญหา 1. สำนักงานควรมีเครื่องใช้คอมพิวเตอร์ให้เพียงพอต่องานให้มากกว่านี้ 2. พยายามเรียนรู้งานที่ได้รับหมอบหมายให้มากที่สุด 3. มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับ

  20. ข้อเสนอแนะต่อทางมหาวิทยาลัยในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาข้อเสนอแนะต่อทางมหาวิทยาลัยในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา 1. อยากให้อาจารย์สอนวิธีการทำหนังสือราชการให้เข้าใจกว่านี้เพราะมันจำเป็นมากสำหรับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 2. อยากให้อาจารย์เพิ่มรายวิชาการเรียนคอมพิวเตอร์เพราะจะได้เพิ่มทักษะการใช้คอมในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วและมีประสิทธิภาพ 3. อยากให้อาจารย์เพิ่มเวลาในการฝึกงานให้มากกว่านี้ ความคิดเห็นต่อสถานประกอบการ 1. อยากให้เพิ่มอุปกรณ์การทำงาน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องถ่ายเอกสาร เป็นต้น 2. อยากให้ขยายห้องให้กว้างมากกว่านี้เพราะไม่สะดวกในการทำงาน

  21. สรุปกระบวนการคุมประพฤติสรุปกระบวนการคุมประพฤติ งานสอดส่อง / งานกิจกรรม ศาล งานสืบเสาะ อัยการ เรือนจำ ปล่อยตัว ตำรวจ

  22. ภาคผนวก คืนคนดีสู่สังคม สำนักงานคุมประพฤติ จังหวัดนราธิวาส

  23. ภาพกิจกรรม

  24. จบการนำเสนอ

More Related