1 / 69

การสืบพยานบุคคลแทนเอกสาร หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร (ป.วิ.พ. มาตรา 94)

การสืบพยานบุคคลแทนเอกสาร หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร (ป.วิ.พ. มาตรา 94). www.thaibar. ป.วิ.พ. มาตรา 94 บัญญัติว่า “  เมื่อใดมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคล ในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ แม้ถึงว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะได้ยินยอมก็ดี

Download Presentation

การสืบพยานบุคคลแทนเอกสาร หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร (ป.วิ.พ. มาตรา 94)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การสืบพยานบุคคลแทนเอกสารหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร (ป.วิ.พ. มาตรา 94) www.thaibar.

  2. ป.วิ.พ. มาตรา 94 บัญญัติว่า“ เมื่อใดมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ แม้ถึงว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะได้ยินยอมก็ดี •             (ก) ขอสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร เมื่อไม่สามารถนำเอกสารมาแสดง •             (ข) ขอสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อได้นำเอกสารมาแสดงแล้วว่า ยังมีข้อความเพิ่มเติมตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก

  3. แต่ว่าบทบัญญัติแห่งมาตรานี้ มิให้ใช้บังคับในกรณีที่บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (2) แห่งมาตรา 93 และมิให้ถือว่าเป็นการตัดสิทธิคู่ความในอันที่จะกล่าวอ้างและนำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่า พยานเอกสารที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้องทั้งหมด หรือแต่บางส่วน หรือ สัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ หรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิด”

  4. หลักการและเหตุผล • 1. เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายสารบัญญัติว่าด้วย แบบและหลักฐานแห่งนิติกรรมสัญญา •  ขจัดข้อโต้เถียงในเรื่องข้อตกลงต่างๆ ตามสัญญา • 2. เพื่อเคารพหลัก “ความศักดิ์สิทธิ์แห่งการแสดงเจตนา” ที่เป็นลายลักษณ์อักษรในสัญญานั้นๆ • ข้อสังเกต • การตีความเจตนาตาม ป.พ.พ.มาตรา 171 และ ป.วิ.พ.มาตรา 94 • ฎ.121/2491 เจตนาอันแท้จริงตาม ป.พ.พ.มาตรา 132 (เดิม) ถือจากเอกสารนั้นเอง ไม่ใช่ว่า ทำอย่างไรก็ช่างย่อมสืบได้เสมอ การสืบมีข้อห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94(ฎ.2210/2526, ฎ.6563/2545)

  5. สัญญาจำนองพร้อมข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองมีข้อความระบุชัดเจนว่าทำสัญญาเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 2 ที่มีต่อโจทก์ ดังนี้ จึงนำ ป.พ.พ. มาตรา 171 มาบังคับให้ต้องสืบพยานบุคคลประกอบ เพื่อตีความถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาหาได้ไม่ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94(ข) เมื่อสัญญาจำนองที่ดินพร้อมข้อตกลงท้ายสัญญาจำนองระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 เป็นจำนองประกันหนี้ของจำเลยที่ 2 ที่มีต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ • ฎ.6563/2545 ป.พ.พ. มาตรา 171 ที่บัญญัติว่า ในการตีความการแสดงเจตนานั้นให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรนั้น หมายถึง กรณีนิติกรรมที่ทำกันไว้มีข้อความไม่ชัดแจ้ง หรือมีข้อความขัดแย้งกัน หรือ อาจแปลความหมายได้เป็นหลายนัย แต่ถ้าข้อความในสัญญาชัดเจนแล้วย่อมไม่มีความจำเป็นอย่างใดที่จะต้องตีความการแสดงเจตนา

  6. ข้อสังเกตเกี่ยวกับการศึกษา ป.วิ.พ.มาตรา 94 • 1. ป.วิ.พ.มาตรา 94 มีผลบังคับเด็ดขาด • หากมีการนำสืบพยานบุคคลฝ่าฝืนข้อห้ามตาม มาตรา 94 “ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคล...แม้ถึงว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะได้ยินยอมก็ดี” • ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ คู่ความไม่จำต้องโต้แย้งคัดค้านไว้ในขณะสืบพยาน และศาลสูงย่อมพิจารณาในปัญหาข้อนี้ได้

  7. 2. ป.วิ.พ.มาตรา 94 ใช้บังคับเฉพาะคดีแพ่งเท่านั้น • ไม่นำไปใช้ในคดีอาญา และ ในคดีอาญาก็ไม่มีกฎหมายทั้งสารบัญญัติและวิธีสบัญญัติกำหนดว่ามีกรณีใดบ้างที่ต้องนำพยานเอกสารมาแสดงต่อศาล แม้ว่าจะเป็นความผิดเกี่ยวกับเอกสารก็ตาม เช่น ความผิดฐานปลอมเอกสาร ก็ไม่มีกฎหมายกำหนดว่าจะต้องส่งเอกสารนั้นเป็นพยานต่อศาลเพราะในคดีอาญาเป็นเรื่องของภาระการพิสูจน์ หรือ หน้าที่ของโจทก์ที่จะพิสูจน์ความผิดของจำเลย • ดังนั้น กรณีที่โจทก์เสนอพยานเอกสาร จำเลยก็สามารถนำสืบพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในพยานเอกสารนั้นได้เสมอ • ฎ.3224/2531 ป.วิ.อ.มาตรา 226 มิได้ห้ามนำสืบพยานบุคคลหักล้างพยานเอกสาร การที่ศาลให้นำสืบพยานบุคคลและรับฟังพยานบุคคลนั้น จึงไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย

  8. หลัก ห้ามมิให้รับฟังพยานบุคคลในกรณี 1. มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสาร มาแสดง 2. เป็นการสืบพยานบุคคลในกรณีต่อไปนี้ (ก) ขอสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร (ข) ขอสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างอย่างใด อย่างหนึ่งเมื่อได้นำเอกสารมาแสดงแล้วว่ายังมีข้อความเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก • หลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94

  9. ข้อยกเว้น ไม่ตัดสิทธิในการนำพยานบุคคลมาสืบ 1. กรณีต้นฉบับเอกสารสูญหาย หรือ ถูกทำลายโดยเหตุสุดวิสัย หรือ ไม่สามารถนำมาได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 93(2) 2. ประกอบข้ออ้างว่าเป็นเอกสารที่ปลอม หรือ ไม่ถูกต้องทั้งหมดหรือ แต่บางส่วน 3. ประกอบข้ออ้างว่าสัญญาหรือ หนี้ตามเอกสารไม่สมบูรณ์  4. ประกอบข้ออ้างว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิด

  10. 14.2 มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง (1) กรณีที่กฎหมายบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือ 1.1 ตาม ป.พ.พ. เช่น  การโอนสิทธิเรียกร้อง (มาตรา 306)  สัญญาเช่าซื้อ (มาตรา 572)  การบอกกล่าวบังคับจำนอง (มาตรา 728)  การตั้งตัวแทนในกิจการที่ต้องทำเป็นหนังสือ (มาตรา 798 วรรคแรก)  ตั๋วเงิน (มาตรา 898,900)  การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อ (มาตรา 1129)  พินัยกรรม (มาตรา 1656) 1.2 ตาม ป.วิ.พ. เช่น การมอบอำนาจให้ฟ้องคดี (มาตรา 60 วรรคสอง)

  11. (2) กรณีที่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น สัญญาซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ (ป.พ.พ.มาตรา 456,519,525) (3) กรณีต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญตาม ป.พ.พ. เช่น  สัญญาจะซื้อจะขาย อสังหาริมทรัพย์ หรือ สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ (มาตรา 456)  สัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ที่มีราคาตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไป (มาตรา 456 วรรคท้าย)  สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ (มาตรา 538)  การกู้ยืมเงินกว่า 2,000 บาทขึ้นไปและการนำสืบการใช้เงิน (มาตรา 653)

  12.  สัญญาค้ำประกัน (มาตรา 680)  การตั้งตัวแทนในกิจการที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ (มาตรา 798 วรรคสอง)  สัญญาประนีประนอมยอมความ (มาตรา 851)  สัญญาประกันภัย (มาตรา 867)  สัญญาแบ่งมรดก (มาตรา 1750 วรรคสอง)

  13. ข้อสังเกต 1. ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 นอกจากจะต้องเป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงแล้ว ยังต้องเป็นกรณีที่มีการอ้างถึงนิติกรรมที่มีแบบ หรือ หลักฐานเป็นหนังสือนั้นเพื่อบังคับให้เป็นไปตามนิติกรรมสัญญาดังกล่าวโดยตรง หากเป็นอ้างเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ก็สามารถสืบพยานบุคคลได้ (ฎ.1669/2511, ฎ.166/2536, ฎ.3888/2537, ฎ.7075/2538,ฎ.7300/2538, ฏ.166/2539, ฎ.3152/2540, ฎ.2584/2543,ฎ.1742/2545) 2. เมื่อไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง แม้ในคดีนั้นจะมีการอ้างพยานเอกสาร เช่น สัญญาจ้างทำของซึ่งไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ แต่ได้มีการทำสัญญาจ้างทำของขึ้นและคู่ความอ้างสัญญานั้นเป็นพยานต่อศาล เช่นนี้ไม่อยู่ในบังคับมาตรา 94 คู่ความย่อมมีสิทธินำพยานบุคคลเข้าสืบได้เสมอแม้จะเป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร(ฎ.2186/2517)

  14. กรณีอื่นๆ ที่ไม่มีกฎหมายที่ต้องบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง เช่น - การซื้อขายรถยนต์ (ฎ.2205/2519) - การรับสภาพหนี้ (ฎ.1156/2537,ฎ.666/2541) - สัญญาจำนำ (ฎ.1729/2512) - การฟ้องเรียกทรัพย์มรดก (ฎ.1395/2544) ดังนั้น กรณีดังกล่าวจึงไม่อยู่ในบังคับ ป.วิ.พ. มาตรา 94 แต่อย่างใด 3. กรณีที่จะต้องห้ามด้วยมาตรา 94 เกิดขึ้นได้ เฉพาะมีข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีในทางนิติกรรมสัญญาเท่านั้นข้อพิพาทในมูลกรณีอื่น เช่น ละเมิดไม่อยู่ในบังคับมาตรานี้ (ฎ.3098/2530)

  15. 4. การสืบพยานบุคคลกรณีที่มีการชำระหนี้ • การชำระหนี้ถึงแม้จะเป็นนิติกรรมแต่ก็ไม่ใช่กรณีที่จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือ ต้องทำเป็นหนังสือเว้นแต่ การชำระหนี้เงินกู้ยืมที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ (ตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 ว.สอง ) • แต่ ป.พ.พ.มาตรา 653 ไม่หมายความรวมถึงกรณีต่อไปนี้ เช่น •  การชำระดอกเบี้ยเงินกู้ (ฎ.98/2488,ฎ.243/2503 (ป.), ฎ.1401/2525, ฎ.4755-4756/2536) •  การมอบที่ดินทำกินต่างดอกเบี้ย (ฎ.1465/2500,ฎ.1261-1262/2518) •  การชำระหนี้ด้วยข้าวเปลือก (ฎ.1051/2503 1496/2503) •  การชำระหนี้ด้วยเช็ค (ฎ.767/2505) •  การชำระหนี้ด้วยที่ดิน (ฎ.1178/2510) •  การชำระหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ (ฎ.2610/2524) •  การโอนเงินทางธนาคาร / ทางโทรศัพท์ / โทรเลขเข้าบัญชีของผู้ให้กู้ (ฎ.230/2542)

  16. เนื่องจาก กรณีดังกล่าวเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นตาม ป.พ.พ.มาตรา 321จึงนำสืบพยานบุคคลได้ไม่ต้องห้าม • แต่ถ้าในสัญญาซื้อขายระบุว่าได้รับชำระราคาไปแล้วผู้ขายจะนำสืบพยานบุคคลว่ายังมิได้รับชำระหนี้ไม่ได้ (ฎ.1842/2524, ฎ.2508/2534)

  17. 5. สัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ หรือ สัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 456 วรรคสอง และ วรรคสาม ซึ่งนอกจากการมีหลักฐานเป็นหนังสือแล้ว ยังยอมให้มีการวางมัดจำ และชำระหนี้บางส่วนดังนั้นหากได้มีการวางมัดจำ หรือ ชำระหนี้บางส่วนแล้ว ถือว่าฟ้องร้องบังคับคดีได้แม้จะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ตาม • ดังนั้น การทำสัญญาจะซื้อจะขาย หรือ สัญญาซื้อขายทรัพย์สินนั้นหากได้มีการวางมัดจำ หรือ ชำระหนี้บางส่วนแล้ว ก็ย่อมมิใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ไม่อยู่ในบังคับ ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ฎ.1545/2492(ป.),ฎ.1710/2500, ฎ.2010/2500, ฎ.3390-3391/2538, ฎ.7035/2540, ฎ.4996-4997/2542, ฎ.6204/2544, ฎ.6443/2544)

  18. ข้อสังเกตสัญญาตาม ป.พ.พ.มาตรา 456 • กรณีที่ได้มีการทำสัญญาจะซื้อขายที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ และ มีการวางมัดจำ หรือ ชำระหนี้บางส่วนด้วย ผลจะเป็นอย่างไร?

  19. แนวคำพิพากษาศาลฎีกาวางหลักไว้ 2 แนว • แนวที่ 1ถือตามสัญญาจะซื้อจะขายที่มีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น และการวางมัดจำเป็นเพียงข้อตกลงข้อหนึ่งในสัญญาเท่านั้น จึงเป็นกรณีที่ต้องมีเอกสารมาแสดง ต้องห้ามมิให้นำสืบพยานบุคคลตามมาตรา 94 (ฎ.3088/2526, ฎ.667/2537, ฎ.2225/2540, ฎ.6718/2540) • แนวที่ 2 ถือว่าสัญญาจะซื้อจะขายที่มีการวางมัดจำแล้วการฟ้องร้องบังคับตามสัญญา ไม่จำต้องใช้เอกสารเป็นหลักฐานและไม่ใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้นำเอกสารมาแสดงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94ศาลจึงสามารถรับฟังคำพยานบุคคลหักล้างพยานเอกสารได้ (ฎ.935/2541)

  20. บทสรุป • ถ้าหากคู่กรณีฟ้องร้องบังคับคดี โดยมิได้อาศัยหลักฐานเป็นหนังสือ แม้จะมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือไม่ก็ตาม แต่ได้อาศัยการวางมัดจำ หรือ ชำระหนี้บางส่วน ก็ไม่ต้องห้ามที่จะสืบพยานบุคคลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 • ≠ แต่ถ้าฟ้องคดีโดยอาศัยหลักฐานเป็นหนังสือและได้มีการระบุว่ามีการวางมัดจำ หรือ ชำระหนี้บางส่วนไว้ด้วย คู่ความจะนำสืบพยานบุคคลแก้ไขเพิ่มเติม หรือ เปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารไม่ได้

  21. ข้อห้ามในการสืบพยานบุคคลข้อห้ามในการสืบพยานบุคคล • (ก) ห้ามสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสารเมื่อไม่สามารถนำเอกสารมาแสดง • ฎ.1609/2512 มารดาตาย โจทก์จำเลยได้รับโอนมรดกที่พิพาทร่วมกัน ต่อมาได้ตกลงแบ่งแยกการครอบครอง ถือว่าเป็นการตกลงเพื่อระงับข้อพิพาทซึ่งจะมีขึ้นให้เสร็จไป เข้าลักษณะสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 เมื่อมิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 851 จะนำพยานบุคคลมาสืบหาได้ไม่ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94

  22. ฎ.2820/2515 โจทก์จำเลยเอาหนี้ค่าเครื่องทำไฟมาทำเป็นสัญญากู้ สัญญากู้นั้นย่อมสมบูรณ์บังคับกันได้และผูกพันอย่างหนี้เงินกู้ เมื่อการกู้ยืมมีหลักฐานเป็นหนังสือ การนำสืบถึงการใช้เงินก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือ ได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง จำเลยจะขอสืบพยานบุคคลว่าได้ชำระเงินให้โจทก์แล้วหาได้ไม่ (ฎ.3828/2530) • แต่ในกรณีที่มีหลักฐานการกู้ยืมเงินแล้วเกิดสูญหายผู้ให้กู้ย่อมนำสำเนา หรือ พยานบุคคลมาสืบได้ กรณีมิใช่เรื่องที่การกู้ยืมเงินไม่เคยมีหลักฐานเป็นหนังสือเลยอันจะเป็นการนำสืบฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 ประกอบ ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ก) (ฎ.203/2546)

  23. (ข) ห้ามสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่อได้นำเอกสารมาแสดงแล้วว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมตัดทอน หรือ เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก

  24. ตัวอย่างจากคำพิพากษาศาลฎีกาตัวอย่างจากคำพิพากษาศาลฎีกา • 1. สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ • 1.1 ถ้ากำหนดค่าเช่าไว้แล้ว • จะนำสืบพยานบุคคลว่าได้มีการตกลงลด หรือ เพิ่มค่าเช่าไม่ได้ เพราะเป็นการนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) (ฎ.137/2514, ฎ. 145/2533) • 1.2 มีข้อความกำหนดระยะเวลาเช่าไว้แล้วคู่สัญญาจะนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขกำหนดเวลาในสัญญาไม่ได้ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94(ข) (ฎ.2402/2525, ฎ.654/2496, ฎ.655/2511(ป.), ฎ.2282/2527, ฎ.2016/2531, ฎ.145/2533, ฎ.1430/2536)

  25. 1.3 การนำสืบว่าสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์เป็นสัญญาเช่าต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ซึ่งไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ และถือว่าเป็นการนำสืบเช่นนี้เป็นการสืบหักล้างสัญญาเช่านั้นว่าไม่ใช่สัญญาเช่าธรรมดา จึงไม่ห้ามที่จะนำพยานบุคคลเข้ามาสืบ(ฎ.1002/2509, ฎ.1547/2530, ฎ.2582/2535) • 1.4 สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ระบุว่าเช่าที่ดินเพื่ออยู่อาศัย จำเลยย่อมสืบพยานบุคคลได้ว่าจำเลยกระทำการใด หรือ ไม่กระทำการใดอันเป็นการผิดไปจากสัญญาได้ จำเลยจึงนำสืบถึงข้อเท็จจริงที่ได้ปฏิบัติต่อกันได้ว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยปลูกสร้างบ้านเพื่อให้ผู้อื่นเช่าได้ จำเลยไม่ได้ผิดสัญญาเช่า ไม่เป็นการสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารและรับฟังพยานบุคคลได้(ฎ.1742/2545)

  26. 2. สัญญาซื้อขาย • 2.1 สัญญาซื้อขายบ้านและที่ดิน มิได้กำหนดให้โจทก์ต้องรังวัดตรวจสอบเนื้อที่ก่อนโอนกรรมสิทธิ์ การที่จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบว่าโจทก์ไม่ดำเนินการถือว่าผิดสัญญา เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติม เปลี่ยนแปลง แก้ไขเอกสาร ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94(ข) ศาลไม่อาจรับฟังคำพยานบุคคลดังกล่าวได้ (ฎ.3189/2543) • 2.2 สัญญาจะซื้อขายระบุราคาที่ดินที่จะขายไว้แล้วคู่สัญญาจะนำพยานบุคคลมาสืบว่าได้ตกลงราคาซื้อขายกันเป็นอย่างอื่นหาได้ไม่ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข) (ฎ.1514/2538, ฎ.8591/2547)

  27. 2.3 สัญญาจะซื้อขายที่ดินระบุว่าผู้ซื้อได้ชำระราคาครบถ้วนแล้ว ผู้ขายจะนำสืบว่าได้รับเงินเพียงบางส่วน หรือ ยังไม่ได้รับเงินหาได้ไม่ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94(ข) (ฎ.2829/2517,ฎ.1842/2524,ฎ.1700/2527) • 2.4 แต่ถ้าคู่ความรับกันว่าราคาซื้อขายที่ดินสูงกว่าที่ระบุไว้ในสัญญาจะซื้อขาย ศาลก็รับฟังข้อเท็จจริงตามคำรับได้แม้ในสัญญาจะระบุว่าผู้ซื้อได้ชำระราคาครบถ้วนแล้วและผู้ขายได้รับชำระราคาครบถ้วนแล้ว ผู้ขายย่อมนำพยานบุคคลมาสืบว่ายังได้รับเงินค่าที่ดินยังไม่ครบตามราคาที่แท้จริงได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ฎ.228/2538, ฎ.1102/2539)

  28. 2.5 สัญญาจะซื้อขายที่ดินระบุจำนวนเงินมัดจำไว้ชัดเจน การนำสืบพยานบุคคลโต้เถียงจำนวนเงินมัดจำดังกล่าวย่อมเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข) (ฎ.1710/2500,ฎ.3052/2528,ฎ.1402/2530, ฎ.387/2538) • 2.6 สัญญาจะซื้อขายที่ดินระบุเวลาชำระราคากันไว้แล้วคู่สัญญาจะนำสืบพยานบุคคลว่าได้มีการตกลงชำระในวันอื่นต่างจากที่ระบุไว้ในสัญญาไม่ได้ เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข) (ฎ.1384/2523,ฎ.581/2530)

  29. 2.7 สัญญาจะซื้อขายที่ดินมิได้ระบุว่าฝ่ายใดต้องออกค่าธรรมเนียมการโอน ค่าภาษี และอากรไว้ จะนำสืบพยานบุคคลว่าได้ตกลงกันให้ฝ่ายใดเป็นผู้ออกค่าธรรมเนียมการโอน ค่าภาษี และอากรแต่ฝ่ายเดียวไม่ได้ เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข) (ฎ.817/2524, ฎ.3687/2525, ฎ.2955/2532, ฎ.1514/2538)

  30. 2.8 การซื้อขายที่ดินมือเปล่าที่ตกเป็นโมฆะ เพราะฝ่าฝืน ป.พ.พ.มาตรา 456 ว.แรก อาจสมบูรณ์เป็นสัญญาโอนการครอบครองโดยมีค่าตอบแทนซึ่งไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีหนังสือมาแสดง เช่นนี้จึงนำสืบพยานบุคคลได้ (ฎ.1131-1132/2533, ฎ.1212/2536) • นอกจากนี้ ดู ฎ.1545/2492(ป.), ฎ.1550/2500, ฎ.717/2502, ฎ.3102/2524, ฎ.357/2525, ฎ.3825/2525, ฎ.3088/2526, ฎ.4475/2528, ฎ.667/2537, ฎ.2045-2046/2537, • ฎ.7846/2543, ฎ.6503/2545

  31. 3. สัญญากู้ยืมเงินกว่า 2,000 บาท • 3.1 สัญญากู้มีข้อสัญญาว่าผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยตามจำนวนเงินที่กู้ให้แก่ผู้ให้กู้ตามกฎหมาย ย่อมถือว่ามีอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 7จะรับฟังพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงอัตราดังกล่าวนี้ไม่ได้ แม้ใบรับเงินที่ผู้ให้กู้ออกให้แก่ผู้กู้จะปรากฏอัตราดอกเบี้ยเท่ากับร้อยละ 15 ต่อปี หรือเกินกว่านั้น ก็ไม่เป็นหลักฐานที่หักล้างว่าไม่ใช่ร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี เพราะมิได้มีลายมือชื่อของผู้กู้ซึ่งเป็นฝ่ายต้องรับผิดในหนี้ (ฎ.497/2506, ฎ.235/2507)

  32. ฎ.1680/2546 สัญญากู้ยืมเงินมีข้อความว่าผู้กู้ยืมยอมเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่กู้ให้แก่ผู้ให้กู้ยืมในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี กำหนดเป็นรายเดือนทุกๆ เดือน โจทก์จะนำสืบพยานบุคคลว่าดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปีที่กำหนดไว้ในสัญญากู้ยืมเงินเป็นอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่โจทก์กำหนดไว้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเท่านั้นโดยตกลงคิดดอกเบี้ยขณะทำสัญญาไม่ถึงอัตราร้อยละ 19 ต่อปีหาได้ไม่ เพราะเป็นการนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญากู้ยืมเงิน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข) (ฎ.6509/2545) • 3.2 สัญญากู้มีข้อความว่าได้รับเงินกู้ไปแล้วจะขอสืบว่าความจริงยังไม่ได้รับเงินไม่ได้ เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงเอกสาร (ฎ.589/2513)

  33. 3.3 นำสืบว่าขณะทำสัญญาซื้อขายไม่มีแบบพิมพ์จึงนำแบบพิมพ์สัญญากู้มากรอกข้อความแทน เช่นนี้ เป็นการต่อสู้เพื่อนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารสัญญากู้ (ฎ.626/2515) • 3.4 เอกสารหลักฐานการยืมเงินที่จำเลยทำให้โจทก์ไว้ ไม่ได้ระบุเวลาชำระหนี้ ถือว่าเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้เมื่อใดก็ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 203 วรรคแรก การที่จำเลยจะขอนำพยานบุคคลมาสืบตามคำให้การว่า ได้มีข้อตกลงระหว่างจำเลยกับโจทก์ให้จำเลยผ่อนชำระหนี้เป็นงวดและหนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระหาได้ไม่ เพราะเป็นการสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมข้อความในเอกสาร (ฎ.1124/2511, ฎ.2962/2525)

  34. 4. สัญญาจำนอง • สัญญาจำนอง มีข้อความปรากฏชัดแจ้งว่าโจทก์จำนองไว้เป็นเงิน 5,750 บาท และผู้จำนอง (โจทก์) ได้รับเงินไปแล้ว ทั้งจำเลยก็ให้การยืนยันว่า โจทก์ได้รับเงินไป 5,750 บาท เช่นนี้ หากโจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างว่าสัญญาจำนองไม่สมบูรณ์ด้วยเหตุใดแล้ว โจทก์จะนำพยานบุคคลมาสืบว่า โจทก์ได้จำนองไว้เพียง 5,000 บาทเท่านั้นย่อมไม่ได้ เพราะเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารไม่ใช่นำสืบหักล้าง • (ฎ.340/2508,ฎ.1752/2520)

  35. 5. สัญญาเช่าซื้อ • สัญญาเช่าซื้อไม่มีข้อความว่าให้จำเลยออกเงินทดรองค่าซ่อมรถที่จำเลยเช่าซื้อมาจากโจทก์แทนโจทก์ไปก่อน เช่นนี้ จำเลยจะนำสืบถึงข้อตกลงนี้ซึ่งนอกเหนือจากที่ปรากฏในสัญญาที่กฎหมายบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือไม่ได้ เป็นการสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสาร (ฎ.798/2508, ฎ.660/2511, ฎ.336/2518, ฎ.1561/2520) • ฎ.6121/2545 สัญญาเช่าซื้อระบุว่าผู้เช่าซื้อต้องนำเงินงวดค่าเช่าซื้อไปชำระให้แก่ผู้เช่าซื้อที่ภูมิลำเนาของผู้ให้เช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อจะนำสืบว่ามีข้อตกลงให้เจ้าหน้าที่ของผู้ให้เช่าซื้อไปเก็บค่าเช่าซื้อจากผู้เช่าซื้อไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)

  36. 6. สัญญาประนีประนอมยอมความ • ข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างคู่ความ มีผลให้คู่ความต่างได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญาดังกล่าว ดังนั้น ข้อตกลงระหว่างคู่ความด้วยวาจาอย่างใดที่มิได้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในสัญญานี้ คู่ความจะนำพยานบุคคลมาสืบเพิ่มเติม ตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาดังกล่าวไม่ได้ เพราะเป็นการต้องห้ามต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ฎ.3910/2525, ฎ.2508/2534, ฎ.2525/2538)

  37. ข้อยกเว้นในการนำพยานบุคคลมาสืบข้อยกเว้นในการนำพยานบุคคลมาสืบ ป.วิ.พ.มาตรา 94 วรรคสอง บัญญัติว่า “แต่ว่าบทบัญญัติแห่งมาตรานี้ มิให้ใช้บังคับในกรณีที่บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (2) แห่งมาตรา 93 และมิให้ถือว่าเป็นการตัดสิทธิคู่ความในอันที่จะกล่าวอ้างและนำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่า พยานเอกสารที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้องทั้งหมด หรือแต่บางส่วน หรือ สัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ หรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิด”

  38. กรณีที่ 1 ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 93 (2) การสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างว่าต้นฉบับหาไม่ได้เพราะ... 1. ถูกทำลายโดยเหตุสุดวิสัย หรือ 2. สูญหาย หรือ 3.ไม่สามารถนำมาได้โดยประการอื่น อันมิใช่เกิดจากพฤติการณ์ที่ผู้อ้างต้องรับผิดชอบ หรือ 4. เมื่อศาลเห็นว่าเป็นกรณีจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะต้องสืบสำเนาเอกสารหรือพยานบุคคลแทนต้นฉบับเอกสารที่นำมาไม่ได้นั้น

  39. กรณี 2 สืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างว่า “พยานเอกสารที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอม หรือ ไม่ถูกต้องทั้งหมด หรือแต่บางส่วน” “สืบพยานบุคคลหักล้างเอกสาร” มีหลักเกณฑ์ คือ 1. ต้องมีการยกขึ้นต่อสู้ว่าหนี้ตามสัญญาไม่สมบูรณ์ต้องยกขึ้นเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ด้วยจึงจะนำสืบหักล้างได้ (ฎ.3018/2541) 2. ต้องมีการคัดค้านเอกสารไว้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 125 จึงจะสามารถสืบตามข้ออ้างได้

  40. ฎ.3018/2541 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงินตามสัญญากู้รวม 3 ฉบับ จำนวนเงินฉบับละ 50,000 บาท 40,000 บาท และ 110,000 บาทตามลำดับ รวมแล้วเป็นเงินต้น 200,000 บาท จำเลยที่ 3 ให้การว่า จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์เพียง 100,000 บาท และจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับเงินกู้ครบตามสัญญาเพราะโจทก์หักดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้า 6,000 บาท เป็นคำให้การปฏิเสธที่ไม่ชัดแจ้ง จึงไม่มีข้อต่อสู้ที่จำเลยที่ 3 จะนำสืบว่าหนี้ไม่สมบูรณ์ การที่จำเลยที่ 3 นำสืบว่าได้รับเงินจริงจากโจทก์เพียง 94,000 บาท จึงนำสืบไม่ได้

  41. (1) พยานเอกสารที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอม เช่น ฎ.286/2507, ฎ.1375/2508, ฎ.182/2510, ฎ.1372/2526, ฎ.224/2530, ฎ.4325/2530, ฎ.2163/2533, ฎ.569/2536, ฎ.3846/2538 ฎ.3846/2538 จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบว่าโจทก์ที่ 2 ไม่ได้ไปสำนักงานที่ดินอำเภอ ในวันทำสัญญาซื้อขายที่ดินตามหนังสือสัญญาขายที่ดิน และไม่ทราบว่าเพราะเหตุใดจึงมีลายมือชื่อโจทก์ที่ 2 ปรากฏอยู่ในเอกสารดังกล่าวนั้น เป็นการนำสืบเพื่อแสดงให้เห็นว่าหนังสือสัญญาขายที่ดินเป็นเอกสารปลอมจำเลยจึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบได้เช่นนั้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 วรรคสอง

  42. (2) พยานเอกสารที่แสดงนั้นไม่ถูกต้องทั้งหมด หรือ แต่บางส่วน เช่น ฎ.4604/2536 ฎ. 241/2537, ฎ. 6801/2540, ฎ.704/2542 ฎ.1599/2542 จำเลยทั้งสองให้การว่าจำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ และจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้เพียง 30,000 บาท และได้ลงชื่อไว้ในสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันโดยยังไม่ได้กรอกข้อความโจทก์ปลอมแปลงเอกสารสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันโดยกรอกข้อความและจำนวนเงินเป็น 300,000 บาท โดยจำเลยทั้งสองมิได้ยินยอม แม้ตามสัญญาทั้งสองจะระบุจำนวนเงินไว้ 300,000 บาท และสัญญากู้จะระบุว่าได้รับเงินครบถ้วนแล้ว จำเลยทั้งสองก็มีสิทธินำสืบพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่า พยานเอกสารที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้องทั้งหมด หรือแต่บางส่วน หรือสัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 วรรคท้าย

  43. กรณีที่ 3 การนำสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างว่าสัญญา / หนี้ตามเอกสารที่แสดงนั้นไม่สมบูรณ์ “สืบพยานบุคคลหักล้างเอกสาร”  การสืบพยานบุคคลหักล้างเอกสารกรณีนี้ต้องมีการยกขึ้นต่อสู้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ด้วย (ฎ.3018/2541)

  44. เช่น นำสืบว่าสัญญา หรือ หนี้ที่ทำนั้นไม่มีผลสมบูรณ์ ตกเป็นโมฆะ หรือ โมฆียะโดยกล่าวอ้างและนำพยานบุคคลมาสืบว่า...  เกิดจากการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม(ฎ.1046-1047/2501, ฎ. 2250/2524)  เกิดจากเจตนาลวงโดยสมรู้กับอีกฝ่าย (ฎ.262/2507,ฎ.925-926/2525,ฎ.1461/2525, ฎ.2677/2531)  เกิดจากการข่มขู่ (ฎ.325/2494) นิติกรรมอำพราง (ฎ.272/2498(ป.), ฎ.703/2499, ฎ.273-274/2501, ฎ.1188/2509, ฎ.943/2520, ฎ.3649/2525, ฎ.6112/2531)  สืบว่าหนี้ตามสัญญากู้ยืมไม่มีผลสมบูรณ์ เพราะไม่มีการส่งมอบเงินที่กู้ยืม หรือ ได้รับเงินไม่ครบถ้วนตามสัญญา(ฎ.1976/2518 (ป.), 2321/2518,2346/2519, 418/2521, 3011/2527, 1804/2529, 529/2535, ฎ.1313/2537, ฎ.945/2542, ฎ.4678/2543, ฎ.4674/2543)

  45. ฎ.273/2501 โจทก์จำนองที่ดินไว้เป็นประกันเงินกู้ แต่ทำหลักฐานทางทะเบียนเป็นการขายฝากและโจทก์คงครอบครองที่ดินมา ดังนี้ โจทก์ย่อมนำสืบว่าสัญญาขายฝากที่ทำต่อเจ้าพนักงานว่าเป็นนิติกรรมอำพรางการจำนองได้ ไม่เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร อันต้องห้ามตาม ป.วิ.พ มาตรา 94 เพราะถ้าสัญญาขายฝากเป็นนิติกรรมอำพราง นิติกรรมการจำนองก็เป็นโมฆะเสียเปล่าใช้บังคับไม่ได้

  46. ฎ.6801/2540 การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่าสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสัญญากู้ไม่ใช่สัญญาซื้อขายนั้น ไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารแต่ เป็นการนำสืบหักล้างว่าสัญญาซื้อขายไม่ถูกต้อง จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ มาตรา 94 ฎ.4678/2543 แม้โจทก์มีสัญญากู้มาแสดง แต่จำเลยก็ยังสามารถนำสืบโต้แย้งจำนวนเงินที่กู้ไปจากโจทก์ได้ว่าไม่ได้รับเงินครบถ้วนตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญากู้ยืมเงิน เป็นการนำสืบถึงความไม่สมบูรณ์แห่งหนี้ ตาม ป.วิ.พ มาตรา 94

  47. ฎ.4436/2545 การที่จำเลยนำสืบว่า การจำนองที่ดินตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นการจำนองเพื่อประกันหนี้เงินต้นที่จำเลยได้รับมาปล่อยกู้จาก ล. และดอกเบี้ยที่ลูกหนี้ค้างชำระรวมกันแล้วใช้ชื่อโจทก์เป็นผู้รับจำนอง จำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ตามฟ้อง เป็นการนำสืบเพื่ออธิบายที่มาของหนี้ตามสัญญาจำนองว่าไม่สมบูรณ์เพราะไม่มีมูลหนี้ต่อกัน จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 วรรคท้าย หาใช่เป็นการนำสืบว่าจำเลยไม่ได้รับเงินตามเอกสารดังกล่าวไม่

  48. ฎ.8571/2547 โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์ ซึ่งเป็นเรื่องละเมิด จำเลยให้การต่อสู้เรื่องสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน โดยอ้างว่าโจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต่อกัน และโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่า มีการทำสัญญาซื้อจะขายที่ดินดังกล่าว แต่โจทก์ไม่ได้โอนที่ดินของโจทก์ให้แก่จำเลย เพราะที่ดินดังกล่าวติดที่ราชพัสดุบางส่วน จำเลยจึงขอย้ายไปเอาแปลงถัดไป กรณีเป็นการสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างว่าหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระงับไปแล้ว เพราะโจทก์จำเลยได้ตกลงยกเลิกสัญญาดังกล่าวและตกลงซื้อขายที่ดินแปลงอื่นต่อกันแทน เอกสารสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวไม่อาจใช้บังคับได้อีกต่อไป จึงมิใช่กรณีที่โจทก์สืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารอันขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคหนึ่ง (ข)

  49. 14.4.4 กรณีที่ 4 การนำสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิด “สืบพยานบุคคลอธิบายข้อความในเอกสาร”เช่น  ขอสืบพยานบุคคลเพื่ออธิบายความหมายแห่งถ้อยคำ หรือ ข้อความแห่งเอกสารที่ไม่ชัดเจน หรือไม่ชัดแจ้ง(ฎ.325/2486, ฎ.931/2492, ฎ.351-352/2506, ฎ.444/2506, ฎ.1541/2509, ฎ.791/2511, ฎ.2033/2514, ฎ.2493/2522, ฎ.2447/2525, ฎ.1861/2535, ฎ.5869/2537, ฎ.41/2538, ฎ.4380/2540 ) ฎ.1601/2520 เมื่อสัญญากู้ระบุเรื่องดอกเบี้ยไว้เพียงร้อยละห้า ไม่ชัดเจนว่า ร้อยละห้าสลึง หรือ ห้าบาท โจทก์มีสิทธินำสืบพยานบุคคลได้ว่าดอกเบี้ยที่ระบุในสัญญากู้นั้นร้อยละห้าสลึงได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคสอง เพราะเป็นการสืบอธิบายข้อความในสัญญากู้

  50. สืบอธิบายความหมายข้อความที่ตีความได้หลายนัย(ฎ.385/2493, ฎ.1660/2524)  นำสืบแปลข้อความที่กำกวม (ฎ.1302/2497) นำสืบอธิบายข้อความที่ขัดแย้งกันเอง (ฎ.236/2534)

More Related