1 / 53

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ( องค์การมหาชน )

มาตรฐานและตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพภายนอก รอบสาม ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ/เขต. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ( องค์การมหาชน ). โดย. ผศ. ดร. สุพงศ์ นิ่มกุลรัตน์. กรรมการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). หลักเกณฑ์การกำหนดตัวบ่งชี้.

mark-wood
Download Presentation

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ( องค์การมหาชน )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. มาตรฐานและตัวบ่งชี้การประเมินคุณภาพภายนอก รอบสาม ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ/เขต สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) โดย ผศ. ดร. สุพงศ์ นิ่มกุลรัตน์ กรรมการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)

  2. หลักเกณฑ์การกำหนดตัวบ่งชี้หลักเกณฑ์การกำหนดตัวบ่งชี้ • การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554 – 2558) ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ/เขตสมศ.ได้กำหนด ตัวบ่งชี้เป็น 3 กลุ่ม • กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน • กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ และ • กลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม • โดยให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2553 ข้อ 38 ซึ่งกำหนดให้ สมศ.ทำการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ คือ • มาตรฐานผลการจัดการศึกษาในแต่ละระดับและประเภทการศึกษา • มาตรฐานการบริหารจัดการศึกษา • มาตรฐานการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ • มาตรฐานการประกันคุณภาพภายใน

  3. การแบ่งกลุ่มตัวบ่งชี้ ตัวบ่งชี้พื้นฐานหมายถึง กลุ่มตัวบ่งชี้ที่ประเมินภายใต้ภารกิจของสถานศึกษา โดยกำหนดตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมินบนพื้นฐานที่ทุกสถานศึกษาต้องมีและปฏิบัติได้ ซึ่งสามารถชี้ผลลัพธ์และผลกระทบได้ดี (ตัวบ่งชี้ที่ 1-8)

  4. การแบ่งกลุ่มตัวบ่งชี้ ตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ หมายถึง กลุ่มตัวบ่งชี้ที่ประเมินผลผลิตตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา รวมถึงความสำเร็จตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อนเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละสถานศึกษา โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา (ตัวบ่งชี้ที่ 9-10)

  5. การแบ่งกลุ่มตัวบ่งชี้ ตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม หมายถึง กลุ่มตัวบ่งชี้ที่ประเมินผลการดำเนินงานของสถานศึกษา โดยสถานศึกษาเป็นผู้กำหนดแนวทางพัฒนาเพื่อร่วมกันชี้แนะ ป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมตามนโยบายของรัฐ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนตามกาลเวลาและปัญหาสังคมที่เปลี่ยนไป โดยมีเป้าหมายที่แสดงถึงความเป็นผู้ชี้นำสังคม อาทิ การรักชาติ การบำรุงศาสนาและเทิดทูนพระมหากษัตริย์ การส่งเสริมและสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ การน้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติเป็นแบบอย่าง การสร้างสังคมสันติสุขและความปรองดอง การส่งเสริมความร่วมมือในกรอบประชาคมอาเซียน การส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม พลังงาน เศรษฐกิจ สุขภาพ ค่านิยม จิตสาธารณะ และความประหยัด รวมทั้งการแก้ปัญหาสังคม อาทิ ความขัดแย้ง อุบัติภัย และสิ่งเสพติด เป็นต้น (ตัวบ่งชี้ที่ 11-12)

  6. การกำหนดค่าน้ำหนักตัวบ่งชี้การกำหนดค่าน้ำหนักตัวบ่งชี้

  7. ข้อมูลการดำเนินงานที่ใช้ประกอบการพิจารณาข้อมูลการดำเนินงานที่ใช้ประกอบการพิจารณา • ข้อมูลที่ใช้ในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2558) ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย • ใช้ข้อมูลผลการดำเนินงานเฉลี่ย 3 ปีการศึกษาย้อนหลังก่อนการประเมิน • กรณีสถานศึกษาเปิดใหม่ที่มีการดำเนินงานไม่ครบ 3 ปีการศึกษา ให้ใช้ข้อมูลผลการดำเนินงานเฉลี่ย 2 ปีการศึกษาล่าสุด • หากมีการดำเนินงานไม่ครบ 2 ปีการศึกษา ให้ใช้ข้อมูลผลการดำเนินงาน 1 ปีการศึกษาล่าสุดก่อนการประเมิน)

  8. กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐานกลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน ตัวบ่งชี้ที่ 1 ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี ประกอบด้วย 2 ตัวบ่งชี้ย่อย

  9. ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ผู้เรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงตามวัย รวมทั้งรู้จักดูแลตนเองให้ มีความปลอดภัย น้ำหนัก 5 คะแนน (เชิงปริมาณ 4 คะแนน และพัฒนาการ 1 คะแนน) เกณฑ์การพิจารณาเชิงปริมาณ (4 คะแนน) (1.1) ร้อยละของผู้เรียนที่ได้รับการตรวจสุขภาพและมีพัฒนาการด้านสุขภาพดีขึ้น (1.2) ร้อยละของผู้เรียนที่ลด ละ เลิกจากปัญหาทางเพศ ยาเสพติด และสิ่งมอมเมา เช่น สุรา บุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ เกม เป็นต้น วิธีการคำนวณ X เกณฑ์การให้คะแนนใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ กำหนดร้อยละ 100 เท่ากับ 4 คะแนน X เกณฑ์การพิจารณาพัฒนาการ (1 คะแนน) สถานศึกษามีค่าเฉลี่ยร้อยละของปีการศึกษาล่าสุดอยู่ในระดับดีมาก (ตั้งแต่ร้อยละ 90 ขึ้นไป) หรือมีค่าเฉลี่ยร้อยละของปีการศึกษาล่าสุดสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีการศึกษาที่ผ่านมาให้นับว่าสถานศึกษามีพัฒนาการ

  10. ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 ผู้เรียนมีสุนทรียภาพ น้ำหนัก 5 คะแนน (เชิงปริมาณ 2 คะแนน และพัฒนาการ 3 คะแนน) เกณฑ์การพิจารณาเชิงปริมาณ (2 คะแนน) ร้อยละของผู้เรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งในและนอกหลักสูตร ด้านศิลปะ ดนตรี/นาฏศิลป์ วรรณศิลป์ หรือนันทนาการ วิธีการคำนวณ X เกณฑ์การให้คะแนนใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ กำหนดร้อยละ 100 เท่ากับ 2 คะแนน X

  11. ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 ผู้เรียนมีสุนทรียภาพ (ต่อ) น้ำหนัก 5 คะแนน (เชิงปริมาณ 2 คะแนน และพัฒนาการ 3 คะแนน) เกณฑ์การพิจารณาเชิงคุณภาพ (3 คะแนน) พิจารณาจากกระบวนการเชิงนโยบายของผู้บริหารสถานศึกษาและ ผลงานของผู้เรียนจากองค์ประกอบ 3 ข้อ ได้แก่ ข้อ 1 การกำหนดนโยบายส่งเสริมสุนทรียภาพของสถานศึกษา ข้อ 2 มีการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ (PDCA) ข้อ 3 มีผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนอยู่ในระดับดีขึ้นไป เกณฑ์การให้คะแนน

  12. กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐานกลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน ตัวบ่งชี้ที่ 2 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ย่อย

  13. ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ผู้เรียนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัวหรือชุมชน เกณฑ์การพิจารณาเชิงปริมาณ (4 คะแนน) ร้อยละของผู้เรียนที่เป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว โดยแบ่งระดับคุณภาพ ออกเป็น5 ระดับได้แก่ ระดับน้อย (มีการปฏิบัติสัปดาห์ละ 1 ครั้ง) ระดับค่อนข้างน้อย (มีการปฏิบัติสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 2 วัน) ระดับปานกลาง (มีการปฏิบัติสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3 - 4 วัน) ระดับค่อนข้างมาก (มีการปฏิบัติสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 5 - 6 วัน) ระดับมาก (มีการปฏิบัติสม่ำเสมอทุกวัน) โดยผู้เรียนที่มีคุณลักษณะตามเกณฑ์ระดับดีขึ้นไป หมายถึง ผู้เรียนที่มีค่าเฉลี่ยคะแนนผลการประเมินคุณลักษณะการเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัวและชุมชน ตั้งแต่ระดับดีขึ้นไป วิธีการคำนวณ X เกณฑ์การให้คะแนนใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ กำหนดร้อยละ 100 เท่ากับ 4 คะแนน X

  14. ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 ผู้เรียนเป็นนักศึกษาที่ดีของสถานศึกษา น้ำหนัก 4 คะแนน (เชิงปริมาณ 2 คะแนน และพัฒนาการ 2 คะแนน) เกณฑ์การพิจารณาเชิงปริมาณ (2 คะแนน) 1.1 ร้อยละของผู้เรียนที่มาเรียนสม่ำเสมอ มาเรียนทันเวลา 1.2ร้อยละของผู้เรียนที่ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบของสถานศึกษา วิธีการคำนวณ X เกณฑ์การให้คะแนนใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ กำหนดร้อยละ 100 เท่ากับ 4 คะแนน X

  15. ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 ผู้เรียนเป็นนักศึกษาที่ดีของสถานศึกษา (ต่อ) เกณฑ์การพิจารณาเชิงคุณภาพ (2 คะแนน) พิจารณาจากคุณลักษณะของการเป็นผู้เรียนที่ดีของสถานศึกษา ดังนี้ (1) สุภาพ(2) รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น (3) ซื่อสัตย์(4) ขยัน (5) สะอาด(6)ประหยัด (7)รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และรักความเป็นไทย (8)ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (9) กตัญญูกตเวที(10) สามัคคี (11) มีวินัย เกณฑ์การให้คะแนน

  16. ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 ผู้เรียนมีการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม เกณฑ์การพิจารณาเชิงปริมาณ (2 คะแนน) ร้อยละของผู้เรียนที่ทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมทั้งในและนอกสถานศึกษาโดยผ่านกระบวนการคิด วางแผน กำหนดกิจกรรม และดำเนินการโดยสถานศึกษาหรือผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง วิธีการคำนวณ X เกณฑ์การให้คะแนนใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ กำหนดร้อยละ 100 เท่ากับ 2 คะแนน X

  17. กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐานกลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน ตัวบ่งชี้ที่ 3 ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย 2 ตัวบ่งชี้ย่อย

  18. ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 ผู้เรียนค้นคว้าหาความรู้จากการอ่านและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เกณฑ์การพิจารณาเชิงปริมาณ (5 คะแนน) ร้อยละของผู้เรียนที่มีการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอจากการอ่านและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง วิธีการคำนวณ X เกณฑ์การให้คะแนนใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ กำหนดร้อยละ 100 เท่ากับ 5 คะแนน X

  19. ตัวบ่งชี้ที่ 3.2 ผู้เรียนเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงร่วมกับผู้อื่นทั้งในและนอกสถานศึกษา เกณฑ์การพิจารณาเชิงปริมาณ (5 คะแนน) ร้อยละของผู้เรียนที่เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงร่วมกับผู้อื่นทั้งในและนอก สถานศึกษาจากการดู การฟัง การลงมือปฏิบัติ การทัศนศึกษา ตามเกณฑ์ ของสถานศึกษา และจากข้อมูลเชิงประจักษ์ วิธีการคำนวณ X เกณฑ์การให้คะแนนใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ กำหนดร้อยละ 100 เท่ากับ 5 คะแนน X

  20. กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐานกลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน ตัวบ่งชี้ที่ 4 ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น ประกอบด้วย 2 ตัวบ่งชี้ย่อย

  21. ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 ผู้เรียนมีความสามารถด้านการคิด เกณฑ์การพิจารณาเชิงปริมาณ (5 คะแนน) ร้อยละของผู้เรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินความสามารถด้านการคิด และข้อมูลเชิงประจักษ์ วิธีการคำนวณ X เกณฑ์การให้คะแนนใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ กำหนดร้อยละ 100 เท่ากับ 5 คะแนน X

  22. ตัวบ่งชี้ที่ 4.2 ผู้เรียนมีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสังคม เกณฑ์การพิจารณาเชิงปริมาณ (5 คะแนน) ร้อยละของผู้เรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสังคม และข้อมูลเชิงประจักษ์ วิธีการคำนวณ X เกณฑ์การให้คะแนนใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ กำหนดร้อยละ 100 เท่ากับ 5 คะแนน X

  23. กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐานกลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน ตัวบ่งชี้ที่ 5 ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ย่อย

  24. ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนการศึกษาพื้นฐาน ประกอบด้วย 5 ตัวบ่งชี้ย่อย คือ หมายเหตุ กรณีที่ยังไม่มีผลคะแนนการทดสอบ (N-NET) ของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ให้ใช้คะแนนสอบปลายภาคของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

  25. ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนการศึกษาพื้นฐาน (ต่อ) วิธีการคำนวณผลสัมฤทธิ์ (ตัวบ่งชี้ละ 1.5 คะแนน) X เกณฑ์การให้คะแนน ใช้บัญญัติไตรยางค์เทียบกำหนดร้อยละ 100 เท่ากับ 1.5 คะแนน ร้อยละของผู้เรียนที่มีคะแนนผลการทดสอบ (N-NET) ในแต่ละกลุ่มสาระ การเรียนรู้สูงกว่าขีดจำกัดล่างของค่าเฉลี่ยผลการทดสอบ X 1.5 จำนวนผู้เรียนทั้งหมด

  26. ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนการศึกษาพื้นฐาน (ต่อ) เกณฑ์การให้คะแนนพัฒนาการ (ตัวบ่งชี้ละ 0.5 คะแนน)

  27. ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนการศึกษาต่อเนื่องที่สามารถจบการศึกษาตามหลักสูตร/โครงการ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนการศึกษาต่อเนื่องที่สามารถจบการศึกษาตาม หลักสูตร/โครงการ หมายถึง ผู้เรียนหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องในแต่ละหลักสูตร/โครงการ (เฉพาะที่มีระยะเวลาเรียนตั้งแต่ 40 ชั่วโมงขึ้นไป) ที่จบการศึกษาตามหลักสูตร/โครงการที่กำหนด วิธีการคำนวณ X เกณฑ์การให้คะแนนใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ กำหนดร้อยละ 100 เท่ากับ 5 คะแนน X

  28. ตัวบ่งชี้ที่ 5.3 ผู้เรียนการศึกษาต่อเนื่องที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ หมายถึง ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาต่อเนื่อง (เฉพาะหลักสูตร/โครงการที่มีระยะเวลาเรียนตั้งแต่ 40 ชั่วโมงขึ้นไป) ไปใช้ประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคม เช่น นำความรู้ไปพัฒนาหรือประกอบอาชีพ เปลี่ยนอาชีพ ซึ่งก่อให้เกิดรายได้หรือ ลดรายจ่าย หรือนำความรู้ ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคม เป็นต้น วิธีการคำนวณ X เกณฑ์การให้คะแนนใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ กำหนดร้อยละ 100 เท่ากับ 5 คะแนน X

  29. กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐานกลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน ตัวบ่งชี้ที่ 6 ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ประกอบด้วย 2 ตัวบ่งชี้ย่อย

  30. ตัวบ่งชี้ที่ 6.1 ประสิทธิผลการดำเนินการของสถานศึกษา ประสิทธิผลการดำเนินการของสถานศึกษา หมายถึง ระดับคุณภาพการบริหารจัดการและการสนับสนุนของผู้บริหารสถานศึกษา มีเกณฑ์การประเมินคุณภาพและการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 ข้อ ดังนี้ 1) สถานศึกษาส่งเสริมให้ครูได้รับการพัฒนาในวิชาที่สอนหรือวิชาครูตามที่คุรุสภากำหนด (ไม่ต่ำกว่า 20 ชั่วโมง/ปี) 2) สถานศึกษามีการตรวจสอบและประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ของครูทุกคนอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง 3) สถานศึกษามีการนิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินการจัดการเรียนการสอนของครูทุกคนอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง 4) สถานศึกษามีการวิเคราะห์คุณภาพของแบบวัด แบบทดสอบ ของครูทุกคน ทุกภาคกาารศึกษา 5) สถานศึกษามีการนำผลจากข้อ 1- 4 ไปพัฒนาครูแต่ละคนอย่างเป็นระบบ เกณฑ์การพิจารณาพิจารณาจากผลการดำเนินการอย่างมีคุณภาพตามข้อ 1 - 5 เกณฑ์การให้คะแนน

  31. ตัวบ่งชี้ที่ 6.2 กระบวนการจัดการเรียนรู้ของครู กระบวนการจัดการเรียนรู้ของครู หมายถึง ครูสามารถจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จำนวน 8 ข้อ ดังนี้ 1) การกำหนดเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน ด้านความรู้ ทักษะกระบวนการที่เป็นความคิดรวบยอด หลักการและความสัมพันธ์ รวมทั้งคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 2) การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเป็นรายบุคคล แล้วนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ที่ท้าทายความสามารถของผู้เรียน 3) การออกแบบการเรียนรู้และจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสมอง เพื่อนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมาย 4) การจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ 5) การจัดเตรียมและใช้สื่อให้เหมาะสมกับกิจกรรม นำภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประยุกต์ในการจัดการเรียนการสอน 6) การประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนด้วยวิธีที่หลากหลาย เหมาะสมกับธรรมชาติของวิชาและระดับพัฒนาการของผู้เรียน รวมทั้งการวางเงื่อนไขให้ผู้เรียนประเมินความก้าวหน้าของตนเองและนำมาใช้ปรับปรุงและพัฒนาตนเอง 7) การวิเคราะห์ผลการประเมินและนำมาใช้ในการซ่อมเสริมและพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน 8) การศึกษาค้นคว้า วิจัย เพื่อพัฒนาสื่อและกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ

  32. ตัวบ่งชี้ที่ 6.2 กระบวนการจัดการเรียนรู้ของครู (ต่อ) เกณฑ์การพิจารณา พิจารณาจากผลการดำเนินการของครู ตามข้อ 1 - 8 เกณฑ์การให้คะแนน

  33. กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐานกลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน ตัวบ่งชี้ที่ 7 ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและการพัฒนาสถานศึกษา เกณฑ์การพิจารณาเชิงคุณภาพ พิจารณาจากผลการปฏิบัติงานตามบทบาท หน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาในการบริหารจัดการและพัฒนาสถานศึกษา จำนวน 4 ข้อ ดังนี้

  34. ตัวบ่งชี้ที่ 7 ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและการพัฒนาสถานศึกษา (ต่อ) ข้อที่ 1 ประสิทธิภาพการบริหารจัดการตามบทบาท หน้าที่ของผู้บริหารสถาน ศึกษา (2 คะแนน) คือ ผู้บริหารสถานศึกษามีการบริหารจัดการตามมาตรา 39 ของ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 เกณฑ์การให้คะแนน หมายเหตุ สำหรับหน่วยงานในสังกัดอื่นที่นอกเหนือจาก สพฐ. ให้ปรับเทียบเคียง การดำเนินงานตามเกณฑ์การพิจารณา

  35. ตัวบ่งชี้ที่ 7 ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและการพัฒนาสถานศึกษา (ต่อ) ข้อที่ 2 ประสิทธิภาพของคณะกรรมการสถานศึกษา(1 คะแนน) คือ การได้มาของคณะกรรมการสถานศึกษาและการปฏิบัติหน้าที่ตามคู่มือการ สรรหาและการแต่งตั้งคณะกรรมการสถานศึกษา สำนักงาน กศน. เกณฑ์การให้คะแนน การคิดคะแนนถ่วงน้ำหนัก

  36. ตัวบ่งชี้ที่ 7 ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและการพัฒนาสถานศึกษา (ต่อ) ข้อที่ 3 บรรยากาศและสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา (2 คะแนน) คือ สถานศึกษามีบรรยากาศและสภาพแวดล้อม ดังต่อไปนี้ 1) มีความสะอาด ถูกสุขลักษณะ 2) มีความปลอดภัย 3) มีความสวยงาม เกณฑ์การให้คะแนน เกณฑ์การให้คะแนนรวมตัวบ่งชี้ที่ 7

  37. กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐานกลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน ตัวบ่งชี้ที่ 8 พัฒนาการของการประกันคุณภาพภายในโดยสถานศึกษาและต้นสังกัด น้ำหนัก 5 คะแนน (เชิงปริมาณ 2.5 คะแนน และพัฒนาการ 2.5 คะแนน) 1. เกณฑ์การพิจารณาเชิงปริมาณ (2.5 คะแนน) ใช้คะแนนของผลการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา จากต้นสังกัด ๑ ปีล่าสุด หมายเหตุ หากสถานศึกษาไม่มีข้อมูลผลการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐาน การศึกษาของสถานศึกษาจากต้นสังกัด จะได้คะแนนเท่ากับ 0 คะแนน การคิดคะแนนถ่วงน้ำหนัก คะแนนที่ได้* หมายถึง คะแนนของผลการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากต้นสังกัด 1 ปีล่าสุด (จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน)

  38. กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐานกลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน ตัวบ่งชี้ที่ 8 พัฒนาการของการประกันคุณภาพภายในโดยสถานศึกษาและต้น สังกัด (ต่อ) 2. เกณฑ์การพิจารณาพัฒนาการ (2.5คะแนน) ใช้คะแนนผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา 3 ปีย้อนหลัง เกณฑ์การให้คะแนน หมายเหตุ หากสถานศึกษาคงคะแนนอยู่ในช่วงระดับคุณภาพดีมาก (4.50 -5.00 จาก คะแนนเต็ม 5) ในแต่ละปี จะได้ 2 คะแนน

  39. กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐานกลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน ตัวบ่งชี้ที่ 8 พัฒนาการของการประกันคุณภาพภายในโดยสถานศึกษาและต้นสังกัด (ต่อ) การคิดคะแนนถ่วงน้ำหนัก เกณฑ์การให้คะแนนรวมตัวบ่งชี้ที่ 8

  40. กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ ตัวบ่งชี้ที่ 9 ผลการพัฒนาให้บรรลุตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และ วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง สถานศึกษา เกณฑ์การพิจารณาเชิงคุณภาพ 1) ผู้บริหาร ครู บุคลากร ชุมชนและองค์กรภายนอกมีส่วนร่วมในการกำหนดแผนปฏิบัติงานโดยระบุเป้าหมายและกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับปรัชญา ปณิธาน/วิสัยทัศน์ และพันธกิจการดำเนินงานของสถานศึกษาโดยได้รับการเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา 2) มีการสร้างระบบการมีส่วนร่วมของผู้เรียน และบุคลากรในการปฏิบัติตามกลยุทธ์ที่กำหนดอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ และบุคลากรไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติ 3) มีการประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในสถานศึกษา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 4) ผลการดำเนินงานบรรลุตามปรัชญา ปณิธาน/วิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์การจัดตั้งสถานศึกษา และเกิดผลกระทบที่ดีต่อชุมชน ท้องถิ่น 5) ผู้เรียนร้อยละ75 ขึ้นไปมีอัตลักษณ์ตามปรัชญา ปณิธาน/วิสัยทัศน์ และพันธกิจด้านผู้เรียนตามที่สถานศึกษากำหนด และเป็นที่ยอมรับของชุมชน ท้องถิ่น

  41. กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ ตัวบ่งชี้ที่ 9 ผลการพัฒนาให้บรรลุตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง สถานศึกษา (ต่อ) เกณฑ์การให้คะแนน

  42. กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ ตัวบ่งชี้ที่ 10 ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อน เป็นเอกลักษณ์ของ สถานศึกษา เกณฑ์การพิจารณาเชิงคุณภาพ 1. ผู้บริหาร ครู บุคลากร ชุมชนและองค์กรภายนอกมีส่วนร่วมในการกำหนดจุดเน้น จุดเด่น หรือความ เชี่ยวชาญเฉพาะของสถานศึกษา รวมทั้งกำหนดแผนปฏิบัติงานโดยระบุเป้าหมายและกลยุทธ์การดำเนินงาน โดยได้รับการเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา 2. มีการสร้างระบบการมีส่วนร่วมของผู้เรียน และบุคลากรในการปฏิบัติตามกลยุทธ์ที่กำหนดอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ และบุคลากรไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง 3. มีการประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในสถานศึกษา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 4. ผลการดำเนินงานบรรลุตามจุดเน้น จุดเด่น หรือความเชี่ยวชาญเฉพาะของสถานศึกษาและเกิดผลกระทบที่ดีต่อชุมชน ท้องถิ่น 5. สถานศึกษามีเอกลักษณ์ตามจุดเน้น จุดเด่น หรือความเชี่ยวชาญเฉพาะที่กำหนด และได้รับการยอมรับจากองค์กรภายนอกสถานศึกษา

  43. กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ ตัวบ่งชี้ที่ 10 ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อน เป็นเอกลักษณ์ของ สถานศึกษา(ต่อ) เกณฑ์การให้คะแนน

  44. กลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสิรมกลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสิรม ตัวบ่งชี้ที่ 11 ผลการดำเนินงานโครงการพิเศษเพื่อส่งเสริมบทบาท ของสถานศึกษา เกณฑ์การพิจารณาเชิงคุณภาพ ดูจากการดำเนินโครงการพิเศษระดับสถานศึกษาที่สถานศึกษากำหนดเพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาทั้งในสถานศึกษา และ/หรือ ชุมชน รวมทั้งการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ การจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและการพัฒนาบุคลากร ตามเกณฑ์การพิจารณาดังนี้ 1. มีแผน/แนวทางการขับเคลื่อนชุมชนที่ชัดเจน 2. ชุมชนสามารถขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการต่อเนื่องเองได้ 3. ผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโครงการ ต่อเนื่อง จากจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 4. ชุมชนที่ดำเนินโครงการ สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชนอื่น 5. ได้รับการยอมรับจากสังคม หน่วยงาน องค์กรภายนอก

  45. กลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสิรมกลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสิรม ตัวบ่งชี้ที่ 11 ผลการดำเนินงานโครงการพิเศษเพื่อส่งเสริมบทบาท ของสถานศึกษา (ต่อ) เกณฑ์การให้คะแนน

  46. กลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสิรมกลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสิรม ตัวบ่งชี้ที่ 12 ผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐาน รักษา มาตรฐาน และพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ ที่สอดคล้องกับแนวทางการ ปฏิรูปการศึกษา เกณฑ์การพิจารณาเชิงคุณภาพ พิจารณาจากผลการปรับปรุงและพัฒนาสถานศึกษาตามแผนการดำเนินงานประจำปี ตามมาตรการที่นำมาปรับปรุงและพัฒนา เพื่อมุ่งไปสู่สถานศึกษาที่มีคุณภาพตามกลุ่มสถานศึกษา 1) มีแผนการดำเนินงานประจำปีตามมาตรการที่นำมาปรับปรุงและพัฒนา เพื่อมุ่งไปสู่สถานศึกษาที่มีคุณภาพตามกลุ่มสถานศึกษา โดยใช้ข้อเสนอแนะจากผลการประเมินคุณภาพภายนอกและผลการประเมินคุณภาพภายใน (กรณีสถานศึกษาที่ยังไม่เคยได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสองให้ใช้ผลการประเมินคุณภาพภายในจากต้นสังกัด) 2) มีข้อตกลงร่วมกันระหว่างสถานศึกษากับหน่วยงานต้นสังกัด หรือหน่วยงานสนับสนุน หรือหน่วยงานอื่นๆ ทั้งเป็นลายลักษณ์อักษรหรือมีข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) มีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบครบวงจรคุณภาพ (PDCA) 4) มีผลการดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามแผนการดำเนินงานประจำปีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 5) มีผลกระทบต่อคุณภาพของสถานศึกษาตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา

  47. กลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสิรมกลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสิรม ตัวบ่งชี้ที่ 12 ผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐาน รักษามาตรฐาน และพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ ที่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษา(ต่อ) เกณฑ์การให้คะแนน

  48. การรับรองมาตรฐานกศน. • มีผลรวมคะแนนการประเมินคุณภาพภายนอกระดับสถานศึกษา ตั้งแต่ 80.00 คะแนนขึ้นไป 2. มีตัวบ่งชี้อย่างน้อย 10 ตัวบ่งชี้ จากทั้งหมด 12 ตัวบ่งชี้ ที่มีระดับคุณภาพแต่ละตัวบ่งชี้ตั้งแต่ระดับดีขึ้นไป 3. ต้องไม่มีตัวบ่งชี้ใดอยู่ในระดับคุณภาพต้องปรับปรุง หรือ ต้องปรับปรุงเร่งด่วน

More Related