1 / 74

กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต

กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๕๔. รูปแบบการจัดองค์กรภาครัฐในปัจจุบัน. หน่วยงานภาครัฐ.

marisa
Download Presentation

กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๕๔

  2. รูปแบบการจัดองค์กรภาครัฐในปัจจุบันรูปแบบการจัดองค์กรภาครัฐในปัจจุบัน หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานที่ใช้อำนาจรัฐหรือเป็นเครื่องมือของรัฐ แต่ไม่เป็นองค์กรของรัฐ องค์กรอิสระ/นิติบัญญัติ/ตุลาการ กระทรวง กลุ่มภารกิจ ทบวง สภาวิชาชีพ องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ กองทุนที่เป็นนิติบุคคล สป. ทบวง กรม กรม กรม สถาบันภายใต้มูลนิธิ จังหวัด / อำเภอ อปท. SDU SPV ๒

  3. เจ้าหน้าที่ของรัฐ

  4. เจ้าหน้าที่ของรัฐ. - เจ้าหน้าที่ของรัฐ ..... ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งมีตำแหน่ง หรือเงินเดือนประจำ พนักงานหรือบุคคลผู้ปฏิบัติงานในรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐ ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นซึ่งมิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เจ้าพนักงานตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ และให้หมายความรวมถึงกรรมการ อนุกรรมการ ลูกจ้างของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ และบุคคลหรือคณะบุคคลซึ่งใช้อำนาจหรือได้รับมอบให้ใช้อำนาจทางการปกครองของรัฐ ในการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งขึ้นในระบบราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการอื่นของรัฐ

  5. องค์กรที่มีอำนาจ ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต. • - คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(คณะกรรมการ ป.ป.ช.) • - องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ( มาตรา ๒๔๖)

  6. คณะกรรมการ ป.ป.ช. • - องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ( มาตรา ๒๔๖) • - องค์ประกอบ - ประธานกรรมการ ๑ คน - กรรมการ ๘ คน • คุณสมบัติ - ต้องเป็นผู้ซึ่งมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ - มีสัญชาติไทยโดยการเกิด และอายุไม่ต่ำกว่า ๔๕ ปี บริบูรณ์ - เคยเป็นหรือเคยรับราชการหรือดำรงตำแหน่ง ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ -วาระการดำรงตำแหน่ง - วาระเดียว ๙ ปี

  7. คณะกรรมการ ป.ป.ช.

  8. การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ส่วนที่ ๑ นิยามที่ควรทราบ

  9. คอร์รัปชัน ความหมาย มีร์ดาล- การกระทำทุกอย่างที่เป็นไปโดยมิชอบ หรือเป็นการกระทำ เพื่อ ประโยชน์ส่วนตัวโดยใช้อำนาจและอิทธิพลที่มีอยู่ในตำแหน่งหน้าที่ หรือ อาศัยฐานะตำแหน่งพิเศษที่ตนมีอยู่ในกิจกรรมสาธารณะ รวมทั้งการติดสินบนด้วย

  10. ทุจริต หมายถึง ประพฤติชั่ว คดโกง โกง ไม่ซื่อตรง • ประมวลกฎหมายอาญา “โดยทุจริต” เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับ ตนเองหรือผู้อื่น

  11. นิยามศัพท์ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ต้องทราบในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของคณะกรรมการ ป.ป.ช. • “ทุจริตต่อหน้าที่” ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่หรือปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทำให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตำแหน่งหรือหน้าที่ทั้งที่ตนมิได้มีตำแหน่งหรือหน้าที่นั้นหรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่ทั้งนี้ เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น

  12. อำนาจหน้าที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ส่วนที่ ๒ อำนาจหน้าที่

  13. เสนอมาตรการ ความเห็นและข้อเสนอแนะ ต่อ ครม. รัฐสภา ศาล คตง. การป้องกันการทุจริต ดำเนินการป้องกัน เสริมสร้างทัศนคติและ ค่านิยมเกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริต กำกับดูแลคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง การปราบปรามการทุจริต การตรวจสอบความถูกต้องและความมีอยู่จริง อำนาจหน้าที่และภารกิจ การตรวจสอบทรัพย์สิน การตรวจสอบความเปลี่ยนแปลง การถอดถอนจากตำแหน่ง การไต่สวนกรณีร่ำรวยผิดปกติ การบริหาร จัดการองค์กร กฎหมายอื่น บัญญัติ การดำเนินคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๔๒ ไต่สวนเจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริตต่อหน้าที่ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ต่อตำแหน่งหน้าที่ ในการยุติธรรม พ.ร.บ.ว่าด้วยการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๓ การออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารงานทั่วไป บุคคล งบประมาณการเงิน และทรัพย์สิน ๑๓

  14. คณะกรรมการ ป.ป.ช. • อำนาจหน้าที่ - มาตรา ๑๙ - ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนพร้อมทั้งทำความเห็นเสนอต่อวุฒิสภาตามหมวด ๕ การถอดถอนจากตำแหน่ง - ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนพร้อมทั้งทำความเห็นเพื่อส่งไปยังอัยการสูงสุดเพื่อฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามหมวด ๖ การดำเนินคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตามมาตรา ๒๗๕ ของรัฐธรรมนูญ

  15. คณะกรรมการ ป.ป.ช. - ไต่สวนและวินิจฉัยว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นซึ่งมิใช่บุคคลตาม (๒) และเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติเพื่อร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ - ไต่สวนและวินิจฉัยว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่นซึ่งมิใช่บุคคลตาม (๒) หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงหรือข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ผู้อำนวยการกองร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมหรือความผิดที่เกี่ยวข้องกัน รวมทั้งดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือข้าราชการในระดับต่ำกว่าที่ร่วมกระทำความผิดกับผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว หรือกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือที่กระทำความผิดในลักษณะที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นสมควรดำเนินการด้วยตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

  16. คณะกรรมการ ป.ป.ช. • - กำหนดตำแหน่งของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่จะต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา ๒๖๔ ของรัฐธรรมนูญ • - ตรวจสอบความถูกต้องและความมีอยู่จริง รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินตามหมวด ๓ การตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด • - กำกับดูแลคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

  17. คณะกรรมการ ป.ป.ช. • - ดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริตและเสริมสร้างทัศนคติและค่านิยมเกี่ยวกับความซื่อสัตย์ สุจริต รวมทั้งดำเนินการให้ประชาชนหรือกลุ่มบุคคลมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต - ดำเนินการเกี่ยวกับด้านการต่างประเทศโดยเป็นศูนย์กลางความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามพันธกรณีและข้อตกลงระหว่างประเทศในการต่อต้านการทุจริต

  18. เจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ภายใต้การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของคณะกรรมการ ป.ป.ช. - มาตรา ๘๔ - (๑)ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือผู้บริหารระดับสูงซึ่งมิใช่บุคคลตามมาตรา ๖๖ - (๒) ผู้พิพากษาและตุลาการ - (๓) พนักงานอัยการ -(๔) เจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของศาลและองค์กรตามรัฐธรรมนูญ -(๕) ผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่นขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น -(๖) เจ้าหน้าที่ของรัฐในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา -(๗) เจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น -(๘) เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งกระทำความผิดในลักษณะที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นสมควรดำเนินการ ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนด

  19. เจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และคณะกรรมการ ป.ป.ท.

  20. เจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช และคณะกรรมการ ป.ป.ท.

  21. เจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และคณะกรรมการ ป.ป.ท.

  22. บทสรุป. • บทสรุป - การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ๑. เจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่สังกัดฝ่ายบริหาร - แท่งอำนวยการ/แท่งบริหาร ๒. เจ้าหน้าที่ของรัฐที่สังกัดฝ่ายตุลาการและฝ่ายนิติบัญญัติ - เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกตำแหน่ง ๓. เจ้าหน้าที่ของรัฐในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ - เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกตำแหน่ง

  23. บทสรุป. • บทสรุป - การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ๔. ผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๕. เจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น

  24. บทสรุป. • บทสรุป - การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ๖. สำหรับลักษณะความผิดที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นสมควรดำเนินการ ได้แก่ ความผิดฐานร่ำรวยผิดปกติ ความผิดตามมาตรา ๑๐๐ ความผิดตามมาตรา ๑๐๓ และความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๔๒ เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกตำแหน่ง ทุกคน อยู่ภายใต้การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของคณะกรรมการ ป.ป.ช.และ(การร่วมกระทำความผิด)

  25. บทสรุป. • บทสรุป - การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ๗. เจ้าหน้าที่ของรัฐสังกัดภายใต้ฝ่ายบริหาร ในแท่งทั่วไปและแท่งวิชาการ จะอยู่ภายใต้การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของคณะกรรมการ ป.ป.ท. (ยกเว้นได้กระทำความผิดตามข้อ ๖)

  26. ประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่เกี่ยวข้องฯ. ๑.ประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. เรื่องการกำหนดตำแหน่งผู้อำนวยการระดับต้นหรือเทียบเท่าขึ้นไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๕๔ ๒. ประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. เรื่องกำหนดลักษณะความผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือข้าราชการในระดับต่ำกว่าผู้อำนวยการกองที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.เห็นสมควรดำเนินการ พ.ศ. ๒๕๕๔ ๓. ประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. เรื่องกำหนดลักษณะความผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือข้าราชการในระดับต่ำกว่าผู้อำนวยการกองที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.เห็นสมควรดำเนินการ พ.ศ. ๒๕๕๔แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ. ๒๕๕๕

  27. การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (ส่วนที่ ๓ มูลเหตุการทุจริต)

  28. ค่านิยมหลักของมาตรฐานจริยธรรมค่านิยมหลักของมาตรฐานจริยธรรม ๑.การยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม ๒.การมีจิตสำนึกที่ดี ซื่อสัตย์ สุจริตและรับผิดชอบ ๓.การยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติ เหนือกว่าประโยชน์ส่วนตนและไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ๔.การยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรมและถูกกฎหมาย ๕.การให้บริการแก่ประชาชนด้วยความรวดเร็ว มีอัธยาศัยและไม่เลือกปฏิบัติ ๖.การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน ถูกต้องและไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง ๗.การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษามาตรฐาน มีคุณภาพ โปร่งใสและตรวจสอบได้ ๘.การยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ๙.การยึดมั่นในหลักจรรยาวิชาชีพขององค์กร

  29. ความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรม ประโยชน์ทับซ้อน และคอร์รัปชัน ทุกประเทศมีกฎหมายบัญญัติไว้ชัดเจนทั้งในด้านของการกระทำและบทลงโทษ บางประเทศมีกฎหมายบัญญัติห้ามกระทำการแต่อีกหลายประเทศไม่มีกฎหมายบัญญัติข้อห้ามไว้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคนในแต่ละสังคม

  30. การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ส่วนที่ ๔ คดีอาญาที่อยู่ในอำนาจหน้าที่

  31. การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ • กฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบ(โทษทางอาญา/วินัย) พ.ร.บ.ประกอบฯ ประมวลกฎหมายอาญา(๑๔๗-๑๖๖,๒๐๐-๒๐๕) กฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.๒๕๔๒ บทกฎหมายที่เกี่ยวกับวินัย

  32. การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ • ข้าราชการ(เจ้าหน้าที่ของรัฐ)ผู้ใด จะมีหน้าที่ ดูจาก กฎหมายหรือระเบียบ มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง การมอบหมายของผู้บังคับบัญชา ข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่เป็นพฤตินัย

  33. การเปิดคดีอาญา ส่วนที่๔.๑ คดีอาญาที่อยู่ในอำนาจหน้าที่

  34. การเปิดคดีอาญา • -ร้องทุกข์/กล่าวโทษ ต่อพนักงานสอบสวน • (มาตรา ๘๙) • - กล่าวหาต่อองค์กรที่มีอำนาจสอบสวน/ไต่สวน • (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) • - การดำเนินคดีตามมาตรา ๘๙/๑ – ๘๙/๔

  35. กฎหมายที่เกี่ยวกับการตรวจสอบ(บางส่วน)กฎหมายที่เกี่ยวกับการตรวจสอบ(บางส่วน) • ประมวลกฎหมายอาญา • มาตรา ๑๔๗ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตน หรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต หรือโดยทุจริตยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์นั้นเสีย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท

  36. กฎหมายที่เกี่ยวกับการตรวจสอบกฎหมายที่เกี่ยวกับการตรวจสอบ • ประมวลกฎหมายอาญา -มาตรา ๑๔๘ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ใช้อำนาจในตำแหน่งโดย มิชอบ ข่มขืนใจหรือจูงใจ เพื่อ ให้บุคคลใดมอบให้หรือหามาให้ ซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด แก่ตนเองหรือผู้อื่น -ต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอด ชีวิต และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือประหาร ชีวิต

  37. กฎหมายที่เกี่ยวกับการตรวจสอบกฎหมายที่เกี่ยวกับการตรวจสอบ • ประมวลกฎหมายอาญา -มาตรา๑๔๙ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่ง รัฐ สมาชิกสภาจังหวัด หรือสมาชิกสภาเทศบาล เรียกรับ หรือ ยอมจะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด สำหรับตนเองหรือผู้อื่น โดยมิชอบ เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งไม่ ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่ -ต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือประหารชีวิต

  38. กฎหมายที่เกี่ยวกับการตรวจสอบกฎหมายที่เกี่ยวกับการตรวจสอบ • ประมวลกฎหมายอาญา -มาตรา๑๕๑ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใดๆใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาลหรือเจ้าของทรัพย์นั้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสี่หมื่นบาท

  39. กฎหมายที่เกี่ยวกับการตรวจสอบกฎหมายที่เกี่ยวกับการตรวจสอบ • ประมวลกฎหมายอาญา -มาตรา๑๕๒ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่จัดการหรือ ดูแลกิจการใด เข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับ ตนเองหรือผู้อื่น เนื่องด้วยกิจการนั้น ต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท

  40. กฎหมายที่เกี่ยวกับการตรวจสอบกฎหมายที่เกี่ยวกับการตรวจสอบ • ประมวลกฎหมายอาญา -มาตรา๑๕๓ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่จ่ายทรัพย์ จ่ายทรัพย์นั้นเกินกว่าที่ควรจ่ายเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท

  41. กฎหมายที่เกี่ยวกับการตรวจสอบกฎหมายที่เกี่ยวกับการตรวจสอบ • ประมวลกฎหมายอาญา -มาตรา๑๕๗ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดย ทุจริต -ต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้ง แต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  42. กฎหมายที่เกี่ยวกับการตรวจสอบกฎหมายที่เกี่ยวกับการตรวจสอบ • ประมวลกฎหมายอาญา -มาตรา ๑๖๑ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ทำเอกสาร กรอกข้อความลงในเอกสารหรือดูแลรักษาเอกสาร กระทำการปลอมเอกสารโดยอาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

  43. กฎหมายที่เกี่ยวกับการตรวจสอบกฎหมายที่เกี่ยวกับการตรวจสอบ • ประมวลกฎหมายอาญา -มาตรา๑๖๒ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ทำเอกสาร รับเอกสารหรือกรอกข้อความลงในเอกสาร กระทำการดังต่อไปนี้ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ (๑) รับรองเป็นหลักฐานว่า ตนได้กระทำการอย่างใดขึ้นหรือว่าการอย่างใดได้กระทำต่อหน้าตนอันเป็นความเท็จ (๒) รับรองเป็นหลักฐานว่า ได้มีการแจ้งซึ่งข้อความอันมิได้มีการแจ้ง (๓) ละเว้นไม่จดข้อความซึ่งตนมีหน้าที่ต้องรับจด หรือจดเปลี่ยนแปลงข้อความเช่นว่านั้น หรือ (๔) รับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริงอันเอกสารนั้น มุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จ • ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท

  44. ส่วนที่ ๔.๒ การขัดกันแห่งผลประโยชน์

  45. กฎหมาย ป.ป.ช.ที่บัญญัติเกี่ยวกับประโยชน์ทับซ้อน(Conflict of Interests) มาตรา ๑๐๐ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ใดดำเนินกิจการดังต่อไปนี้ (๑) เป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐ ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือดำเนินคดี (๒) เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท ที่เข้าเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือดำเนินคดี

  46. กฎหมาย ป.ป.ช.ที่บัญญัติเกี่ยวกับประโยชน์ทับซ้อน(Conflict of Interests) มาตรา ๑๐๐(ต่อ) (๓) รับสัมปทานหรือคงถือไว้ซึ่งสัมปทานจากรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น อันมีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน ทั้งนี้ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม หรือเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท ที่รับสัมปทานหรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว (๔) เข้าไปมีส่วนได้เสีย ในฐานะเป็นกรรมการ ที่ปรึกษา ตัวแทน พนักงานหรือลูกจ้างในธุรกิจของเอกชน ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับ ดูแล ควบคุม หรือตรวจสอบ ของหน่วยงานของรัฐ ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นสังกัดอยู่หรือปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งโดยสภาพของผลประโยชน์ของธุรกิจของเอกชนนั้น อาจขัดหรือแย้งต่อประโยชน์ส่วนรวม หรือประโยชน์ทางราชการ หรือกระทบต่อความมีอิสระ ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้น

  47. กฎหมาย ป.ป.ช. ที่บัญญัติเกี่ยวกับประโยชน์ทับซ้อน(Conflict of Interests) มาตรา ๑๐๐(ต่อ) เจ้าหน้าที่ของรัฐตำแหน่งใดที่ต้องห้ามมิให้ดำเนินกิจการตาม วรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้นำบทบัญญัติในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับกับคู่สมรสของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามวรรคสอง โดยให้ถือว่าการดำเนินกิจการของคู่สมรสดังกล่าว เป็นการดำเนินกิจการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ “ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ต้องห้ามมิให้ดำเนินกิจการตามความในมาตรา ๑๐๐ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ พ.ศ. ๒๕๔๔”(ฉบับที่๑และฉบับที่๒)

  48. กฎหมาย ป.ป.ช. ที่บัญญัติเกี่ยวกับประโยชน์ทับซ้อน(Conflict of Interests) มาตรา ๑๐๑ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๐๐ มาใช้บังคับกับ การดำเนินกิจการของผู้ซึ่งพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐมาแล้ว ยังไม่ถึงสองปีโดยอนุโลม เว้นแต่การเป็นผู้ถือหุ้นไม่เกินร้อยละห้าของจำนวนหุ้นทั้งหมด ที่จำหน่ายได้ในบริษัทมหาชนจำกัด ซึ่งมิใช่บริษัทที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ ตามมาตรา ๑๐๐ (๒) ที่ได้รับอนุญาต ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

  49. Conflict of Interests มาตรา ๑๐๒ บทบัญญัติมาตรา ๑๐๐ มิให้นำมาใช้บังคับกับการดำเนินกิจการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งหน่วยงานของรัฐที่ มีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม หรือตรวจสอบการดำเนินงานของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด มอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่หน่วยงานของรัฐ ถือหุ้นหรือเข้าร่วมทุน

  50. กฎหมาย ป.ป.ช.ที่บัญญัติเกี่ยวกับประโยชน์ทับซ้อน(Conflict of Interests) สินน้ำใจ มาตรา ๑๐๓ “ห้าม มิให้ เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด จากบุคคล นอกเหนือจากทรัพย์สินหรือประโยชน์อันควรได้ตามกฎหมาย หรือกฎ ข้อบังคับที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เว้นแต่การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด โดยธรรมจรรยา ตามหลักเกณฑ์และจำนวนที่คณะกรรมการป.ป.ช. กำหนด บทบัญญัติในวรรคหนึ่ง ให้ใช้บังคับกับการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดของผู้ซึ่งพ้น จากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ มาแล้ว ยังไม่ถึงสองปีด้วย โดยอนุโลม”

More Related