1 / 56

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา Personal Income Tax

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา Personal Income Tax. จิตรา ณีศะนันท์ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี. 5 หัวข้อหลัก. ผู้มีหน้าที่เสียภาษี หลักการจัดเก็บภาษีเงินได้ ฐานภาษี วิธีการเสียภาษี การอุทธรณ์. ผู้มีหน้าที่เสียภาษี.

marcel
Download Presentation

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา Personal Income Tax

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาPersonal Income Tax จิตรา ณีศะนันท์ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี

  2. 5 หัวข้อหลัก • ผู้มีหน้าที่เสียภาษี • หลักการจัดเก็บภาษีเงินได้ • ฐานภาษี • วิธีการเสียภาษี • การอุทธรณ์

  3. ผู้มีหน้าที่เสียภาษี • ม.56 วรรคแรก “ให้บุคคลทุกคน... ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว…” • ม. 56 วรรคสอง “…กรณีห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่บุคคลนิติบุคคล…” • ม. 57ทวิ วรรคแรก “ถ้าผู้มีเงินได้…ตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง ถึงแก่ความตายก่อนที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง” • ม.57ทวิ วรรคท้าย “…ถ้ากองมรดกของผู้ตายยังมิได้แบ่ง…”

  4. ม.56 วรรคแรก • บุคคลธรรมดา • บุคคลที่บรรลุนิติภาวะ • ผู้เยาว์ • คนไร้ความสามารถ • คนเสมือนไร้ความสามารถ • คนพิการ มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษี

  5. ม. 56 วรรคสอง • ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล • คณะบุคคล ในทางภาษี ถือเป็นหน่วยภาษี (Tax Unit/Entity) ที่แยกต่างหากจากผู้ที่มาร่วมเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียนเป็น นิติบุคคล หรือคณะบุคคล

  6. ม. 57 ทวิ วรรคแรก • ผู้ถึงแก่ความตายในระหว่างปีภาษี (ปีปฎิทิน) หรือถึงแก่ความตายก่อนการยื่นแบบฯ (31 มีนาคม ของทุกปี)

  7. ม.57 ทวิ วรรคท้าย • กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง

  8. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ ในการยื่นแบบแสดงรายการ เช่น ม.56 วรรค 2 ม.57 ม.57 ทวิ ม.57 ตรี (ดู ม.57 เบญจ ประกอบ)

  9. หลักการจัดเก็บภาษีเงินได้หลักการจัดเก็บภาษีเงินได้ • หลักสัญชาติ (Nationality/ Citizen Rule) • หลักถิ่นที่อยู่ (Residence Rule) Worldwide Income Basis • หลักแหล่งเงินได้ (Source Rule) Territory Income Basis

  10. หลักถิ่นที่อยู่ (Residence Rule) • ม.41 วรรคสาม: 180 วัน = เป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย • ม.41 วรรคสอง: ผู้อยู่ในประเทศไทยและมีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 เนื่องจาก • หน้าที่งานที่ทำในต่างประเทศ • กิจการที่ทำในต่างประเทศ • ทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ มีหน้าที่นำเงินได้ดังกล่าวมาเสียภาษีในประเทศไทย นำเงินได้เข้ามาในประเทศไทย

  11. หลักถิ่นที่อยู่ (Residence Rule)-2 • ผู้มีเงินได้เกิดจากแหล่งนอกประเทศในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว จะต้องเสียภาษีเงินได้ในประเทศไทย ก็ต่อเมื่อเข้าองค์ประกอบ 2 ประการ คือ • เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยในปีภาษีนั้น และ • นำเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีนั้นด้วย (กค.0802/696 ลว 1 พค. 2530)*

  12. หนังสือกรมฯที่ กค.0802/696 ลว. 1 พค.2530 • ม.41วรรค 2 ไม่ได้บัญญัติว่าต้องเป็นการนำเงินได้เข้ามาในประเทศไทยเมื่อใดจึงจะต้องเสียภาษี แต่กรมฯได้ตีความเป็นประโยชน์แก่ผู้เสียภาษี จึงตีความว่า ต้องเป็นการนำเงินเข้ามาในปีภาษีเดียวกันกับที่เงินได้เกิดขึ้นจึงจะเสียภาษีในประเทศไทย การวางแผนภาษี

  13. ปุจฉา • บริษัทอังกฤษว่าจ้างนายแดงให้ทำงานในประเทศอังกฤษ โดยให้สำนักงานสาขาในไทยจ่ายเงินเดือนเข้าบัญชี ธ.กรุงไทยสาขาพหลโยธิน นายแดงทำงานในประเทศอังกฤษตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.50 จนถึง 30 เม.ย.51 นายแดงต้องเสียภาษีฯสำหรับปีภาษี 2550 หรือไม่ • นายแดงมีเงินได้ในต่างประเทศหรือไม่ • นายแดงเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยหรือไม่ • นายแดงนำเงินเข้ามาในประเทศไทยหรือไม่

  14. ปุจฉา-2 • ภราดรภาพเป็นนักกีฬาอาชีพพักอาศัยอยู่ในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 1 ม.ค.51 –30 เม.ย. 51 ทำการแข่งขันที่ประเทศบราซิล และวันที่ 1 ก.ค.51 – 31 ส.ค. 51 ทำการแข่งขันที่ประเทศจีน และได้รับเงินรางวัลทั้งสิ้น 5 ล้านบาท และฝากเงินรางวัลไว้ใน ธ.สวิสเซอร์แลนด์ และโอนเงินเข้า ธ. กสิกรไทยเมื่อวันที่ 5 ม.ค. 52 จะต้องเสียภาษีในประเทศไทยหรือไม่

  15. ปุจฉา-3 • วันที่ 1 ม.ค. – 31 พ.ค. 2550 นาย ก เปิดร้านอาหารไทยในญี่ปุ่น มีรายได้ 5 ล้านบาทและโอนเงิน 3 ล้านบาท มาเข้าบัญชีเงินฝากของ ก ในประเทศไทย • วันที่ 1 มิ.ย. –31 ก.ค. 2550 ก เดินทางกลับและอยู่ประเทศไทย แต่ร้านอาหารยังคงเปิดดำเนินการอยู่และมีรายได้ 200,000 บาท • วันที่ 1 ส.ค. –31 ธ.ค. 2550 เดินทางกลับไปญี่ปุ่นและมีรายได้จากร้านอาหารอีก 4 ล้านบาท ? นาย ก ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทยหรือไม่

  16. หลักแหล่งเงินได้ (Source Rule) • มาตรา 41 วรรคแรก • มีเงินได้ เนื่องจาก หน้าที่งานที่ทำในประเทศไทย • มีเงินได้ เนื่องจาก กิจการที่ทำในประเทศไทย • มีเงินได้ เนื่องจาก กิจการของนายจ้างในประเทศไทย* • มีเงินได้ เนื่องจาก ทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย

  17. หลักแหล่งเงินได้ (Source Rule)-3 • มีเงินได้ เนื่องจาก กิจการของนายจ้างในประเทศไทย* • ตั้งแต่ปี 2539 กรมฯมีแนวว่าหากนายจ้างในประเทศไทยเป็นผู้จ่ายเงินได้ให้แก่ลูกจ้างหรือผู้รับจ้าง ให้ถือว่าเป็นเงินได้เนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย • หากสาขา NY เป็นผู้จ่ายเงินเดือนให้นายบุญมี เงินได้ดังกล่าวไม่เป็นเงินได้ที่เกิดในประเทศไทย แต่ถ้าสนญเป็นผู้จ่ายเงินเดือนให้นายบุญมี ให้ถือว่านายบุญมีมีแหล่งเงินได้ในประเทศไทย และต้องเสียภาษีในประเทศไทย

  18. หลักแหล่งเงินได้ (Source Rule)-4 • หนังสือกรมฯที่ กค.0811/ก.1171 ลว 2 ต.ค. 2543 $$$ สาขา-สหภาพพม่า สนญ-ไทย $$ เมื่อสาขาขอให้สนญ. ทดรองจ่ายเงินเดือนให้แก่ผู้จัดการสาขา เงินเดือนส่วนที่ สนญ ทดรองจ่ายไปก่อนนั้น สนญ.มีหน้าที่หักภาษีฯ ฯที่จ่ายตาม ม.50(1) หรือไม่

  19. หลักแหล่งเงินได้ (Source Rule)-5 • มีเงินได้ เนื่องจาก กิจการของนายจ้างในประเทศไทย* • ก่อนปี 2539 กรมฯมีแนวว่าหากเป็นการทำงานให้แก่กิจการในต่างประเทศของนายจ้าง ไม่มีหน้าที่เสียภาษีในประเทศไทย เช่นสนญ. ส่งนายบุญมีไปเป็นผู้จัดการประจำสาขา NY เงินเดือนที่นายบุญมีได้รับไม่ว่าจะจ่ายโดยสนญ หรือสาขา ไม่ต้องเสียภาษีในไทย

  20. หลักแหล่งเงินได้ (Source Rule)-6 • มีเงินได้ เนื่องจากกิจการของนายจ้างในประเทศไทย • ลูกจ้างทำงานในต่างประเทศ ให้แก่นายจ้างในประเทศไทย • หากนายจ้างนำเงินได้ที่ลูกจ้างได้รับจากการทำงานในต่างประเทศมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีของนายจ้างในประเทศไทย • เงินได้ของลูกจ้างถือได้ว่าเป็นเงินได้จากแหล่งเงินได้ในประเทศไทย

  21. หลักแหล่งเงินได้ (Source Rule)-7 มีเงินได้ เนื่องจาก ทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย ชาวต่างชาติขายหุ้นปตท. และมีกำไรจากการขายดังกล่าว กำไรนี้เป็นเงินได้ที่มีแหล่งเงินได้ในประเทศไทย เนื่องจากเป็นเงินได้ที่เกิดจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย แต่การซื้อขายหุ้นที่กระทำในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้รับยกเว้น (ม.42(17)) ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)

  22. ปุจฉา ? นักมวยชาวต่างชาติเข้ามาชกมวยเพื่อป้องกันตำแหน่งในประเทศไทยแล้วได้รับค่าตัวต้องเสียภาษีให้แก่ประเทศไทยหรือไม่ ? นาตาลีได้รับเงินค่าโชว์ตัว 5 ล้าน โดย 4 ล้านได้รับจากการโชว์ตัวในต่างประเทศ และ 1 ล้านได้รับจากการโชว์ตัวในประเทศไทย

  23. ปุจฉา-2 ? มิสเตอร์ PK มีถิ่นที่อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้เดินทางเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 50 และสอนภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับค่าสอนเดือนละ 100,000 และในวันที่ 30 ธ.ค. 50 จึงเดินทางกลับไปยังสหรัฐอเมริกา เงินค่าสอนที่ได้รับนั้นต้องเสียภาษีเงินได้ในประเทศไทยหรือไม่

  24. ฐานภาษี • ความหมายของเงินได้พึงประเมิน • ประเภทของเงินได้พึงประเมิน • เงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี • เมื่อใดจึงจะถือว่ามีเงินได้เกิดขึ้น • ค่าใช้จ่าย และ • ค่าลดหย่อน

  25. เงินได้พึงประเมิน (ม.39) • เงิน • ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน • ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณเป็นเงิน • เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้ • เครดิตภาษี (ม.47ทวิ) เกณฑ์เงินสด

  26. เงินได้พึงประเมิน (ม.39)-2 • เงิน • เงินสด เงินบาท เงินสกุลอื่นๆ ที่ได้รับจริงในปีภาษี ?? ถ้าได้รับเงินเดือนเป็นเงินตราต่างประเทศ

  27. เงินได้พึงประเมิน (ม.39)-3 • ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน ? ถ้าลูกจ้างโบนัสจากบริษัท โดยได้สิทธิในการซื้อหุ้นของบริษัทในมูลค่าต่ำกว่าราคาตลาด จะคำนวณเป็นเงินได้อย่างไร

  28. เงินได้พึงประเมิน (ม.39)-4 • ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณเป็นเงิน • สวัสดิการบ้านพักของบริษัท (ป.23/2533 ลว 26 เม.ย. 2533) • สวัสดิการอาหารกลางวัน (กค.0802/5621 ลว 25 มี.ค. 2531)

  29. เงินได้พึงประเมิน (ม.39)-5 • เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้ • ค่าภาษีที่ออกแทน ให้ถือเป็นเงินได้ประเภทเดียวกับเงินได้ที่ได้รับการออกภาษีแทนให้และให้ถือเป็นเงินได้ในปีภาษีเดียวกันกับเงินได้ที่มีการออกแทนให้ (คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.7/2528)

  30. เงินได้พึงประเมิน (ม.39)-6 • เครดิตภาษี (ม.47ทวิ) ?บริษัทไทยมีกำไร 1 ล้านบาท เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา 30% กำไรหลังหักภาษีฯ จำนวน 700,000 บาท ประกาศจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น เงินได้พึงประเมินของผู้ถือหุ้นเป็นเท่าใด

  31. วิสัชนา เงินได้พึงประเมินของผู้ถือหุ้น: • เงินปันผล (ม.40(4)(ข)) 700,000 • เครดิตภาษี 700,000* 30 300,000 100 - 30

  32. ประเภทของเงินได้พึงประเมิน (ม.40) • (1) เงินได้ เนื่องจากการจ้างแรงงาน • (2) เงินได้ เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือการรับทำงานให้ • (3) เงินได้จากค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าสิทธิ และเงินปี • (4) เงินได้จากเงินลงทุน • (5) เงินได้ เนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สิน ผิดสัญญาเช่าซื้อหรือการซื้อขายเงินผ่อน

  33. ประเภทของเงินได้พึงประเมิน (ม.40)-2 • (6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ • (7) เงินได้จากการรับเหมาทั้งค่าแรงและค่าของ • (8) เงินได้จากการประกอบธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่นๆ นอกจากที่ระบุไว้ใน (1)-(7)

  34. มาตรา 40 (1) • เงินได้ เนื่องจากการจ้างแรงงาน • สัญญาจ้างแรงงาน : นายจ้าง-ลูกจ้าง • เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จบำนาญ • เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากนายจ้าง • เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ซึ่งนายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า • เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใดๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ • เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน เช่น มูลค่าของการได้รับประทานอาหาร

  35. มาตรา 40 (2) • เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ • สัญญาจ้างทำของ • ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด • เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส • เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับเนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ • เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า • เงินที่ผู้จ่ายเงินได้ชำระหนี้ใดๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ • เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่งานหรือตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับจ้างทำการให้นั้น ไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงานหรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว

  36. มาตรา 40 (3) • เงินได้จากค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าสิทธิ และเงินปี • ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ (Goodwill): ค่าความนิยม เป็นผลมาจากการที่ประกอบธุรกิจด้วยความยุติธรรม มีคุณภาพดีจนเป็นที่เชื่อถือและวางใจของลูกค้า • ค่าสิทธิ (Royalty): ค่าตอบแทนการให้อนุญาตให้ใช้ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) เช่น ค่าตอบแทนการอนุญาตให้ใช้สิทธิ (Copy-right) สิทธิบัตร(Patent) เครื่องหมายการค้า (Trademark) • เงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล

  37. ปุจฉา ?เงินได้จากการขายหนังสือ การขายแผ่นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การขายแผ่นเพลง เป็นเงินค่าสิทธิตามมาตรา 40(3) หรือไม่ ? การขายสินค้าดิจิตอล เช่น ภาพยนตร์ บนwebsite โดยไม่มีการจัดส่งสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ เงินได้จากการขายนี้เป็นค่าสิทธิตามมาตรา 40(3) หรือไม่ ? ค่าตอบแทนที่ได้จากการรับจ้างเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(3) หรือไม่ (ฎ.12466/2547)

  38. มาตรา 40 (4) (ก)ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม(ไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่) หรือผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออกและจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน (ข)เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร หรือประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กองทุนรวม หรือสถาบันการเงิน* (ค)เงินโบนัสที่จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

  39. มาตรา 40 (4)-2 (ง)เงินลดทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรและเงินที่กันไว้รวมกัน (จ)เงินเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งจากกำไรที่ได้มาหรือรับช่วงกันไว้รวมกัน (ฉ)ผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากันหรือรับช่วงกันหรือเลิกกันซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน (ช)ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วน หรือโอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน

  40. ปุจฉา ? เงินที่ผู้ถือหุ้นได้รับจากการเลิกบริษัทเป็นเงินปันผลหรือไม่ ฎ7671/2546 หากพิจารณา ป.พ.พ ม. 1200 1201 วรรค 3 และ 1201วรรคหนึ่ง จากบทบัญญัติเหล่านี้แสดงว่า “เงินปันผลเป็นส่วนหนึ่งของกำไรที่บริษัทได้รับในรอบระยะเวลาบัญชีที่ประกอบกิจการตามวัตถุประสงค์ที่ได้จดทะเบียนไว้” เมื่อผลกำไรจากการขายทรัพย์สินเป็นผลกำไรที่เกิดขึ้นระหว่างการชำระบัญชี เมื่อมีการจดทะเบียนเลิกบริษัทแล้ว ผลกำไรที่แบ่งคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นจึงไม่ใช่เงินปันผลตามมาตรา 40(4)(ข) แต่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ฉ) เฉพาะส่วนที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าทุน ผู้ถือหุ้นจึงไม่มีสิทธิได้รับเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ

  41. มาตรา 40 (5) • เงินได้ เนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สิน ผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน หรือผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน ซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้น โดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว • ค่าเช่าทรัพย์สินทุกประเภท • เงินกินเปล่า เงินแป๊ะเจี๊ยะ* (กค 0802/2707 ลว 15 กพ. 2539) • ประโยชน์อย่างอื่นเนื่องจากการให้เช่า • การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน • การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน ซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้น โดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว

  42. ปุจฉา ?ในปี 2535 นาย ก ทำสัญญาเช่ากับนาย ข และได้รับเงินกินเปล่าจากการให้เช่าที่ดินเป็นเงิน 24 ล้านบาทเป็นค่าตอบแทนที่ให้เช่าเป็นระยะเวลา 30 ปี และถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้เป็นเงิน 1.2 ล้านบาท (5%) นาย ก ต้องเสียภาษีอย่างไร

  43. ให้นำเงินกินเปล่าของปีแรกมารวมคำนวณกับเงินได้ประเภทอื่น (ถ้ามี)ที่ได้รับในปี 2535 เพื่อยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้ตามแบบ ภ.ง.ด. 90 นาย ก จะต้องยื่นแบบและชำระภาษีเป็นการล่วงหน้าตามแบบ ภ.ง.ด. 93 สำหรับปี 2536-2565 ให้เสร็จสิ้นในปี 2535 การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 93 นั้นให้แยกยื่นเป็นรายปี ปีละฉบับ ในแต่ละปีภาษี (2536-2565) นาย ก ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 โดยนำค่าเช่าที่ได้รับในแต่ละปี รวมกับเงินกินเปล่าที่เฉลี่ยเป็นรายปี เมื่อคำนวณได้ภาษีเท่าไหร่แล้วให้นำภาษีเงินได้ที่ได้ชำระไว้ล่วงหน้าตามแบบ ภ.ง.ด. 93 มาหัก(เครดิต)ออกจากภาษีที่คำนวณได้ ? WHT 1.2 ล้านบาทนั้นจะนำมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ในปีภาษีใด วิสัชนา

  44. วิสัชนา(ต่อ) • หนังสือกรมสรรพากรที่กค 0811/611 ลว 25 มี.ค. 2544 • การจัดเก็บภาษีเงินได้จาก ค่าเช่าล่วงหน้ามีการทยอยคิดภาษีแบ่งเป็นเงินภาษีแต่ละปี ด้วยเหตุนี้ยอดภาษีหัก ณ ที่จ่ายทั้งจำนวนก็ควรแบ่งเฉลี่ยเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีแต่ละปีเช่นกัน (มาตรา 60) • ฉะนั้น WHT จำนวน 1.2 ล้านบาทจึงต้องนำมาเฉลี่ยตามอายุสัญญาเช่า และนำมาหัก(เครดิต)ออกจากภาษีที่คำนวณได้

  45. วิสัชนา(ต่อ) • ภ.ง.ด. 90 สำหรับปี 2535 เงินได้พึงประเมิน ม.40(5)-เงินกินเปล่า (24,000,000/30) 800,000 หัก คชจ.เป็นการเหมา-ที่ดินที่มิใช้ในการเกษตรกรรม (15%) 120,000 เงินได้พึงประเมินหลังหัก คชจ. 680,000 หัก ลดหย่อนส่วนตัว 30,000 เงินได้สุทธิ 650,000 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 70,000 หัก ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (1,200,000/30)40,000

  46. วิสัชนา(ต่อ) • ภ.ง.ด. 93 สำหรับปีภาษี 2536-2565 เงินได้พึงประเมิน ม.40(5)-เงินกินเปล่า (24,000,000/30) 800,000 หัก คชจ.เป็นการเหมา-ที่ดินที่มิใช้ในการเกษตรกรรม (15%) 120,000 เงินได้พึงประเมินหลังหัก คชจ. 680,000 หัก ลดหย่อนส่วนตัว 30,000 เงินได้สุทธิ 650,000 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 70,000 หัก ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (1,200,000/30)40,000 ภาษีที่ต้องชำระ 30,000

  47. มาตรา 40 (5)-2 • ผู้เช่ายกกรรมสิทธิในตัวอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆให้แก่ผู้ให้เช่าเมื่อครบกำหนดตามสัญญาเช่า ถือเป็นประโยชน์อย่างอื่นเนื่องจากการให้เช่า ? จะประเมินมูลค่าอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างอย่างไร ป.1/2526 เรื่อง การคำนวณค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่เจ้าของที่ดินได้รับกรรมสิทธิ์เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5)(ก)

  48. ตารางคำนวณค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนตามตารางคำนวณค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนตาม

  49. มาตรา 40 (5)-3 • การผิดสัญญาเช่าซื้อ • เงินได้จากการชำระค่าเช่าซื้อเป็นรายเดือน ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(5) หรือไม่? ค่าเช่าซื้อที่ได้รับชำระนั้น ถือเป็นเงินได้จากการประกอบธุรกิจ จึงเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) แต่ค่าปรับหรือเงินได้เนื่องจากการผิดสัญญาเช่าซื้อเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(5)

  50. มาตรา 40 (5)-4 • เงินได้เนื่องจากการผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน ซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว

More Related