html5-img
1 / 33

ยารักษาโรคอารมณ์ซึมเศร้า ( Antidepressant )

ยารักษาโรคอารมณ์ซึมเศร้า ( Antidepressant ). พญ.กมลเนตร วรรณเสวก นายแพทย์ 5 จิตแพทย์ทั่วไปโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ กรมสุขภาพจิต. สารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับโรคอารมณ์ซึมเศร้า. ยาที่มีในโรงพยาบาลชุมชนหรือโรงพยาบาลทั่วไป. Amitriptyline Fluoxetine. Amitriptyline.

malina
Download Presentation

ยารักษาโรคอารมณ์ซึมเศร้า ( Antidepressant )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ยารักษาโรคอารมณ์ซึมเศร้า( Antidepressant ) พญ.กมลเนตร วรรณเสวก นายแพทย์ 5 จิตแพทย์ทั่วไปโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ กรมสุขภาพจิต

  2. สารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับโรคอารมณ์ซึมเศร้าสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับโรคอารมณ์ซึมเศร้า

  3. ยาที่มีในโรงพยาบาลชุมชนหรือโรงพยาบาลทั่วไปยาที่มีในโรงพยาบาลชุมชนหรือโรงพยาบาลทั่วไป • Amitriptyline • Fluoxetine

  4. Amitriptyline • Class : Tricyclic antidepressant • Serotonin and Norepinephrine/noradrenaline reuptake inhibitor • ชื่อการค้า: Tryptanol, Tripta , Amitryptyline , Polytanol • รูปแบบ: ยาเม็ดขนาด 10,25,50 mg • ขนาดที่ใช้ในการรักษา: 50-150 mg/day สามารถให้วันละครั้งก่อนนอนหรือแบ่งให้หลายครั้งโดยเน้นหนักตอนก่อนนอน

  5. Amitriptyline • ระยะเวลาให้ยา อย่างน้อย 6 เดือน • การพิจารณาหยุดยา • จำเป็นต้อง taper ลดขนาดลงทีละ 50% ได้ทุก 3 วัน • หากขณะลดยาเกิดอาการ withdrawal เช่น นอนไม่หลับกระสับกระส่าย ให้เพิ่มยากลับไปเท่ากับขนาดก่อนลดยา และปรับลดยาให้ช้าลง

  6. ผลข้างเคียงที่สำคัญ • anticholinergicได้แก่ ปากแห้ง,การรับรสผิดปกติ,ท้องผูก,ปัสสาวะลำบาก,ตาพร่า,tachycardia ควรลดขนาดยาลง,ดื่มน้ำมากๆ,บ้วนปาก,อมลูกอมหรือเคี้ยวหมากฝรั่งเพื่อลดอาการปากแห้ง • ง่วง  ให้กินยาก่อนนอน

  7. ผลข้างเคียงที่สำคัญ • Hypotension, Orthostatic hypotension  ควรลดขนาดยาลงหรือหยุดยา • cardiac arrythmia  ต้องหยุดยา • sexual dysfunction (arousal, ED, orgasm dysfunction) ลดขนาดยา,หยุดยา,ปรึกษาจิตแพทย์เปลี่ยนยา,ให้cyproheptadine

  8. ผลข้างเคียงที่สำคัญ • Myoclonus  ลดขนาดยา,หยุดยา,Clonazepam • weight gain ลดขนาดยา,หยุดยา, เปลี่ยนยา

  9. Lowered seizure threshold Orthostatic hypotension arrythmia tachycardia QTc prolongation Hepatic failure extrapyramidal symptoms Increased intraocular pressure Rare induction of mania Life threatening or Dangerous side effect

  10. สิ่งพึงระวัง • หากหยุดต้อง taperเพื่อเลี่ยง withdrawal effects • ใช้อย่างระมัดระวังในผู้ป่วยดังต่อไปนี้ มีประวัติชัก,urinary retention, narrow angle closure glaucoma, hyperthyroidism, hypokalemia/ hypomagnesemia, bradycardia , ใช้ยาที่ induce bradycardia เช่น beta blockers, calcium channel blockers, clonidine, digitalis

  11. สิ่งพึงระวัง • ใช้ขนาดต่ำในผู้ป่วยที่มีRenal/hepatic impairment,ผู้สูงอายุ • Pregnancy : Risk Category C [some animal studies show adverse effects, no controlled studies in human]

  12. สิ่งพึงระวัง • ผ่านทางรกได้ • มีรายงานถึงผลต่อทารกที่มารดาได้รับยาขณะตั้งครรภ์ เช่น Lethargy, withdrawal symptoms, Fetal malformation • ต้องชั่งน้ำหนักผลดี/เสียต่อทารกในครรภ์หากให้ยาและผลต่อมารดากับทารกหากไม่ให้ยา • ผ่านทางน้ำนมได้: ควรหยุดยาก่อนหรือให้ bottle feed(risk-benefit)

  13. ห้ามให้!!!!! • เพิ่งหายจาก Myocardial infarction • รับประทานยาที่มีโอกาสเกิด QTc prolongation • มีประวัติของ QTc prolongation ,cardiac arrythmia, recent acute MI, uncompensated heart failure

  14. การแก้ไขการได้รับยาเกินขนาดการแก้ไขการได้รับยาเกินขนาด • หลักการ ABC stabilze vital sign • ล้างท้อง หรือทำให้อาเจียน,ให้ผงถ่านร่วมด้วยเพื่อลดการดูดซึม • อาจให้ magnesium citrate เพื่อเร่งการขับยาออกจากระบบทางเดินอาหาร • ตรวจการทำงานของหัวใจ เพื่อหาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ • สังเกตอาการและรักษาตามอาการ เช่น ให้ยากันชักหากชัก,ให้สารน้ำทางเส้นเลือดหรือยากระตุ้นการทำงานของหัวใจหากความดันต่ำ

  15. การแก้ไขการได้รับยาเกินขนาดการแก้ไขการได้รับยาเกินขนาด • ไม่มี antidote • บางคนลองให้sodium bicarbonate เพื่อช่วยยับยั้งผลของยาต่อหัวใจ • จำเป็นต้องรับการรักษาใน ICU หรือสถานที่ที่ monitor การทำงานของหัวใจได้จนกว่าจะหายจาก toxidromes มักมากกว่า 24 ชั่วโมง

  16. CNS excitability, confusion blurred vision dry mouth fever mydriasis seizures coma arrhythmias hypotension tachycardia respiratory depression อาการอาจเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว Common Toxidromes

  17. Laboratory findings • ECG findings of increased QRS interval > 0.10 seconds • sinus tachycardia • conduction abnormalities

  18. Fluoxetine • Class :SSRI • Selective serotonin reuptake inhibitor • ชื่อการค้า: Prozac, oxzac,Fluoxine,Fluzac,Fluxetin • รูปแบบ: ยาเม็ด,แคปซูล ขนาด 20 mg • ขนาดที่ใช้ในการรักษา : 20-80 mg/day สามารถให้ 1-2 ครั้ง/วัน ในตอนเช้า และ/หรือ เที่ยงควรรับประทานหลังอาหาร • การออกฤทธิ์ค่อนข้างช้า อาจเริ่มเห็นผลในสัปดาห์ที่สองหรือสาม

  19. อาการข้างเคียงที่สำคัญอาการข้างเคียงที่สำคัญ • Sexual dysfunction : delayed ejaculation, erectile dysfunction, decrease sexual desire, anorgasmia  หากพบอาการเหล่านี้ ให้ตรวจหาสาเหตุอื่นที่อาจเป็นไปได้ หากพบว่าเกิดจากยาและผู้ป่วยได้รับผลกระทบมาก ลดขนาดยา,หยุดยา,ปรึกษาจิตแพทย์เปลี่ยนยา,ให้cyproheptadine

  20. อาการข้างเคียงที่สำคัญอาการข้างเคียงที่สำคัญ • GI : ความอยากอาหารลดลง,คลื่นไส้,อาเจียน,ท้องเสีย,ท้องผูก,ปากแห้ง  อาการจะแปรตามขนาดของยา และเกิดขึ้นชั่วคราวในช่วงสองถึงสามสัปดาห์แรก ถ้าเป็นมากอาจลดขนาดยาลงแล้วรอ อีก 4 สัปดาห์เพื่อเพิ่มขนาดยากลับเป็นเท่าเดิม

  21. อาการข้างเคียงที่สำคัญอาการข้างเคียงที่สำคัญ • ง่วง เปลี่ยนเวลากินยาให้กินก่อนนอน • ฤทธิ์กระตุ้น/ อาการนอนไม่หลับ อาการที่อาจพบได้ในกลุ่มอาการนี้ได้แก่ อาการกระสับกระส่าย กระวนกระวายใจ และการนอนที่ผิดปกติ  เป็นอาการที่จะค่อยๆ ดีขึ้นเองหลังจากให้ยาเป็นระยะเวลาหนึ่ง การเริ่มยาที่ขนาดต่ำจะช่วยลดอาการวิตกกังวลที่อาจเกิดขึ้น หรือให้กินยาตอนเช้า ส่วนอาการนอนไม่หลับอาจให้การรักษาตามอาการโดยการให้ยาในกลุ่ม Benzodiazepine เช่น Diazepam, Chlordiazepoxide, Lorazepam เป็นต้น

  22. อาการข้างเคียงที่สำคัญอาการข้างเคียงที่สำคัญ • ฤทธิ์ข้างเคียงต่อระบบประสาท ได้แก่ อาการปวดศีรษะทั้งแบบไมเกรนและ Tension เป็นอาการที่เกิดขึ้นชั่วคราวเฉพาะช่วง หนึ่งถึงสองสัปดาห์แรกแล้วอาการจะดีขึ้นเอง อาการอื่นได้แก่อาการของ Extrapyramidal Reaction เช่น Akathisia, Dystonia, Parkinsonism, และ Tardive Dyskinesia ซึ่งพบได้บ่อยขึ้นในผู้ป่วยสูงอายุ และผู้ป่วย Parkinson ให้ลดขนาดยา,หยุดยาหรือปรึกษาจิตแพทย์

  23. อาการข้างเคียงที่สำคัญอาการข้างเคียงที่สำคัญ • ฤทธิ์ต่อน้ำหนักตัว  อาจมีน้ำหนักลดในช่วงแรก แต่หลังจากนั้นน้ำหนักจะกลับขึ้นเป็นปกติ • Serotonin Syndrome เกิดได้แต่พบน้อย มีอาการ ปวดท้อง ท้องเสีย Flushing เหงื่อออกมาก อุณหภูมิกายขึ้นสูง อ่อนเพลีย ภาวการณ์รู้ตัวที่เปลี่ยนแปลงไป อาการสั่น กล้ามเนื้อกระตุก Rhapdomyolysis ไตวาย Cardiovascular Shock และอาจทำให้เสียชีวิตได้ ให้หยุดยา และรักษาตามอาการ (Symptomstic Treatment)

  24. อาการข้างเคียงที่สำคัญอาการข้างเคียงที่สำคัญ • Apathy Syndrome การมีอารมณ์ราบเรียบ ไม่ยินดียินร้าย แต่ไม่ใช่อาการซึมเศร้า อาจพบอาการอ่อนแรงได้ รักษาโดยการลดขนาดยาลง หรืออาจเปลี่ยนมื้อยาเป็นมื้อก่อนนอนเพื่อลดอาการช่วงกลางวัน

  25. พึงระวังการใช้ยาในกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้พึงระวังการใช้ยาในกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้ • Renal impairment :ไม่ต้องปรับขนาดยา,ไม่ถูกกำจัดด้วยhemodialysis • Hepatic impairment :ลดขนาด,ไม่ต้องให้บ่อย • Cardiac impairment :ใช้ได้ค่อนข้างปลอดภัย • Elderly :ควรใช้ยาในขนาดต่ำจะทนผลข้างเคียงได้มากกว่า • Adolescent : ยาขนาดเดียวกับผู้ใหญ่

  26. พึงระวังการใช้ยาในกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้พึงระวังการใช้ยาในกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้ Pregnancy • Risk category C • ยังไม่แนะนำให้ใช้ในระหว่างตั้งครรภ์โดยเฉพาะช่วง 3 เดือนแรก • ต้องพิจารณาความเสี่ยงหากรักษากับไม่รักษาด้วยยา Breast Feeding • ยาอาจผ่านทางน้ำนมได้ แต่ก็ต้องพิจารณาข้อดีของการรักษาด้วยยาหรือไม่ใช้ยาในผู้ที่อยู่ระหว่างให้นมบุตร

  27. คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยารักษาโรคซึมเศร้าคำแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยารักษาโรคซึมเศร้า • อธิบายผลข้างเคียงและวิธีแก้ไข อาการข้างเคียงมักเป็นเพียงช่วงแรกๆและจะค่อยๆลดน้อยลง • ไม่ควรหยุดยาเอง • ไม่ทำให้ติดยา • ไม่ควรซื้อมารับประทานเอง • แจ้งแพทย์ว่ารับประทานยาใดอยู่บ้างหรือนำยาไปให้แพทย์ที่รักษาโรคอื่นดูด้วย • งดการดื่มเหล้าร่วมด้วยเนื่องจากจะกดประสาทส่วนกลางมากขึ้นและประสิทธิภาพของยาลดลง

  28. ยาอื่นที่มักให้ร่วมด้วยยาอื่นที่มักให้ร่วมด้วย

  29. ยาคลายอาการวิตกกังวล • ข้อบ่งใช้ : อาการวิตกกังวล,เครียด,นอนไม่หลับ • Benzodiazepine ที่ใช้บ่อยได้แก่ • Diazepam (Valium) : tab 2,5 mg • Lorazepam ( Ativan ) :tab 0.5,1,2 mg • Clordiazipoxide (Librium): tab 5,10,25 mg

  30. การให้ยา • สามารถให้ได้วันละ 1-4 ครั้ง โดยเน้นหนักที่มื้อก่อนนอน • ขนาดยาที่ต่ำช่วยลดความวิตกกังวล,ขนาดที่สูงขึ้นจะง่วงมากขึ้น • หากต้องการลดอาการวิตกกังวลอาจเริ่มด้วยเม็ดยาที่มีขนาดน้อยสุดของยาชนิดนั้น เช่น Diazepam เริ่มให้ 2 mg 1-2 ครั้งต่อวัน , Lorazepam เริ่มให้ 0.5 mg 1-4 ครั้งต่อวัน • หากต้องการช่วยเรื่องการนอนหลับอาจเริ่มด้วยเม็ดยาที่มีขนาดกลางของยาชนิดนั้น เช่น Diazepam เริ่มให้ 5 mgก่อนนอน, Lorazepam เริ่มให้ 1-2 mg ก่อนนอน แล้วปรับตามอาการ

  31. ขนาดยาต่อวัน • Chlordiazepoxide 10-100 mg/day • Diazepam 2-40 mg/day • Lorazepam 1-10 mg/day

  32. การพิจารณาหยุดยา • หากหมดข้อบ่งชี้ของการใช้ยาในกลุ่มนี้เช่นอารมณ์ดีขึ้น,ทุเลาจากอาการวิตกกังวลและนอนไม่หลับ ควรพิจารณาลดยาในกลุ่มนี้ลง ทีละ 10-25% ทุกครั้งของการFollow up จนหมด เนื่องจากการใช้ติดต่อกันเกิน 2-3 เดือน มีโอกาสติดยาได้

  33. ข้อควรระวัง • ไม่ควรดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ร่วมกับการใช้ยานี้ เนื่องจากจะเสริมฤทธิ์การกดประสาทส่วนกลางมากขึ้น • ห้ามใช้ ในหญิงตั้งครรภ์โดยเฉพาะช่วง 3 เดือนแรก เนื่องจากมี teratogenic effect • ในหญิงให้นมบุตรควรหยุดยาหรือ bottle feed • การใช้ในผู้สูงอายุควรเริ่มในขนาดต่ำ และปรับเพิ่มอย่างช้าๆ • ระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคตับ

More Related