1 / 31

รายงานการเงินที่เชื่อถือได้

รายงานการเงินที่เชื่อถือได้. ปรัชญา วิชาชีพ ให้ความเชื่อมั่นแก่ผู้บริหาร. ในแผนการปฏิบัติงาน ในกระบวนการบริหารงานตรวจสอบภายใน คือ รายงานการเงินที่เชื่อถือได้ กระบวนการบริหารได้รับการประเมิน ความเสี่ยง และระบบควบคุมภายในว่าเหมาะสม สามารถ ควบคุม ความเสี่ยงได้

mae
Download Presentation

รายงานการเงินที่เชื่อถือได้

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รายงานการเงินที่เชื่อถือได้รายงานการเงินที่เชื่อถือได้

  2. ปรัชญา วิชาชีพ ให้ความเชื่อมั่นแก่ผู้บริหาร • ในแผนการปฏิบัติงาน ในกระบวนการบริหารงานตรวจสอบภายใน คือ รายงานการเงินที่เชื่อถือได้ • กระบวนการบริหารได้รับการประเมิน ความเสี่ยง และระบบควบคุมภายในว่าเหมาะสม สามารถควบคุมความเสี่ยงได้ • ในการประเมินความเสี่ยง ตระหนักรู้ในเรื่อง กฏหมาย และมาตรฐานวิชาชีพ เพื่อนำมาสู่ความน่าเชื่อถือของข้อมูล

  3. พระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 ก.พ. 2551

  4. มาตรา 5 วรรคแรก : ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2522 เป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัตินี้ และเป็นนิติบุคคล วรรคสอง : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีฐานะเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐซึ่งไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหาร ราชการแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวง ศึกษาธิการ และกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น

  5. หมวด 4 : การบัญชีและการตรวจสอบ มาตรา 47 : ให้มหาวิทยาลัยวางและรักษาไว้ซึ่งระบบบัญชีอันถูกต้องแยกตามส่วนงานของมหาวิทยาลัย มีสมุดบัญชีลงรายการแยกตามประเภทของสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้ และค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริง พร้อมด้วยข้อความอันเป็นที่มาของรายการนั้นๆ และให้มีการตรวจสอบภายในเป็นประจำ การบันทึกรายการในสมุดบัญชีตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป

  6. หมวด 4 : การบัญชีและการตรวจสอบ มาตรา 48 : ให้มหาวิทยาลัยจัดทำรายงานการเงินส่งผู้สอบบัญชีของมหาวิทยาลัยภายใน 90 วันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี • วันเริ่มและวันสิ้นปีบัญชีของมหาวิทยาลัย ให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัย มาตรา 49 : ให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินหรือบุคคลภายนอกซึ่งสภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นผู้สอบบัญชีของมหาวิทยาลัย และให้ทำการตรวจสอบรับรองบัญชีและการเงินทุกประเภทของมหาวิทยาลัยทุกรอบปีบัญชี

  7. หมวด 4 : การบัญชีและการตรวจสอบ มาตรา 51 : ให้ผู้สอบบัญชีทำรายงานผลการสอบบัญชีและการเงินเสนอต่อสภามหาวิทยาลัยภายใน 150 วันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี เพื่อสภามหาวิทยาลัยเสนอต่อรัฐมนตรี ให้มหาวิทยาลัยเผยแพร่รายงานประจำปีของปีที่สิ้นไปนั้น แสดงรายงานการเงินที่ผู้สอบบัญชีรับรองแล้ว พร้อมทั้งแสดงผลงานของมหาวิทยาลัยในปีที่ล่วงมาและแผนงานที่จะจัดทำในปีต่อไปภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี

  8. กค 0410.2/ ว 65 : ลงวันที่ 18 ก.พ. 2546 • กรมบัญชีกลาง ได้จัดทำและนำส่งหลักการและนโยบายบัญชีสำหรับหน่วยงานภาครัฐ ฉบับที่ 2 • มีผลให้ยกเลิกหลักการและนโยบายบัญชีสำหรับหน่วยงานภาครัฐ ฉบับที่ 1

  9. วัตถุประสงค์ • เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ใช้เป็นเกณฑ์ในการบันทึกบัญชีและจัดทำงบการเงิน - ที่สามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ วางแผน - ประเมินผลการบริหารจัดการทางการเงิน - ประโยชน์ในการบริหารงานภายในหน่วยงาน - และจัดทำรายงานการเงินของแผ่นดินในภาพรวม

  10. ให้ถือปฏิบัติกับ • ส่วนราชการระดับกรมทุกแห่ง • หน่วยงานในกำกับของรัฐบาล • หน่วยงานภาครัฐลักษณะพิเศษ • หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ • องค์การมหาชน • หน่วยงานอิสระอื่นของรัฐที่จัดตั้งโดยกฎหมายเฉพาะ • กองทุนเงินนอกงบประมาณ

  11. ความเป็นมา : มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ IFRS

  12. วัตถุประสงค์ของ IASB และ IASC • เพื่อกำหนดมาตรฐานการบัญชีสากล • เพื่อให้ตลาดทุนของโลกที่กำลังรวมเข้าด้วยกันมีภาษาร่วมกันในการรายงานฐานะ และผลการดำเนินงานทางการเงิน : บัญชี เป็นภาษาของธุรกิจ ( To provide the world’s integrating capital markets with acommon language for financial reporting ) • ผู้ใช้งบการเงินมีทางเลือกที่จะลงทุนได้ทั่วโลก : เปรียบเทียบ ตัวเลขในงบการเงินของทุกประเทศได้บนมาตรฐานเดียวกัน

  13. กำเนิด : IFRS กับ IAS • IAS :- IASC ระหว่างปี 1973 – 2001 • IFRS :- IASB นับตั้งแต่ปี 2001 เป็นต้นมา • IASB เป็นผู้สืบทอดของ IASC • เมื่อมีการปรับปรุง IAS– โดยไม่มีการแก้ไขที่สำคัญ – ใช้ชื่อ IAS เดิม • ถ้ามีการแก้ไข IAS ในสาระสำคัญ - ใช้ชื่อ IFRS • หรือมีการออกมาตรฐาน – ที่ไม่เคยมีมาก่อน – ใช้ชื่อ IFRS

  14. ประเทศที่ประกาศตัวพร้อมจะรับ IFRS : มาใช้ในการลงบัญชี • สหภาพยุโรป : • ทุกบริษัทต้องทำงบการเงินเป็นไปตาม IFRS • ภายในปี 2005 – 2007 • ทุกบริษัทต้องทำงบการเงินเป็นไปตาม IFRS • ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ : • ให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และบริษัทที่จำหน่ายหลักทรัพย์ในตลาดเงินตลาดทุน • ต้องจัดทำงบการเงิน ภายในสิ้นปี 2005 (ใช้จริง 2006) และ ให้เป็นไปตามมาตรฐาน IFRS ทุกข้อ

  15. ประเทศที่ประกาศตัวพร้อมจะรับ IFRS : มาใช้ในการลงบัญชี (ต่อ) • บราซิล : • มีนโยบายรับ IFRS : ในปี 2010 • สหรัฐอเมริกา • มีนโยบายรับ IFRS : ในปี 2014

  16. ประเทศในภูมิภาคเอเชียกับ IFRS • สิงคโปร์ • ได้นำมาตรฐานบัญชีสากลมาใช้เร็วกว่าภูมิภาคเดียวกัน:ในปี 2006 • จีน และ ฮ่องกง • มีมาตรฐานการบัญชีเป็นที่ยอมรับในระดับสากล : ในปี 2009 • ญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้ • มีนโยบายยกระดับมาตรฐานบัญชีเทียบเท่าระดับสากลภายในปี 10 – 11 • อินเดีย • มีนโยบายรับมาตรฐานบัญชีสากล : ในปี 2011

  17. สำหรับประเทศไทย • ประเทศไทยจะเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานการลงบัญชีสากลใหม่? • ตลาดทุนชั้นนำในหลายประเทศ • ให้การยอมรับและนำ IFRS มาปรับใช้ • ประเทศต้องพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศ ? • ถ้าต้องพึ่งเงินทุนต่างประเทศ : แสดงให้นักลงทุนทั่วโลกเห็นได้อย่างไร : • สร้างความน่าเชื่อถือในรายงานทางการเงิน • เป็นกลไกสำคัญต่อการพัฒนาตลาดการเงินไทยให้เป็นที่ยอมรับ น่าสนใจลงทุน และระดมทุนของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ • ตลท.เชื่อว่า การนำ IFRS: ทำให้นักลงทุนทั่วโลกเชื่อมั่นประเทศไทยมีการพัฒนา ปรับปรุงมาตรฐานการบัญชีและการรายงานทางการเงินอย่างต่อเนื่องจนเข้าสู่มาตรฐานเดียวกันกับมาตรฐานสากลของโลก

  18. ประโยชน์ของ IFRS : การมีมาตรฐานการบัญชีแบบเดียวกันทั่วโลก • รายงานทางการเงิน : มีความชัดเจน โปร่งใสมากขึ้น • เปรียบเทียบฐานะการเงิน การวิเคราะห์ ประเมินราคาหลักทรัพย์ :สะดวก และ ถูกต้องยิ่งขึ้น • มีโอกาสระดมทุนข้ามประเทศได้ง่ายขึ้น : มีต้นทุนทางการเงินที่ต่ำลง • ผู้ถือหุ้นและผู้กำกับดูแลได้รับข้อมูลทางการเงินที่ถูกต้อง

  19. มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศและของประเทศไทย : ครอบคลุม • THAI • แม่บทการบัญชี • มาตรฐานการบัญชีและ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน (มีผลบังคับใช้ 30ฉบับ) • การตีความมาตรฐานการบัญชี3 ฉบับ • แนวปฏิบัติทางการบัญชี 3 ฉบับ IFRS • มาตรฐานการบัญชี • มาตรฐานการรายงานทางการเงิน • การตีความมาตรฐานการบัญชี • การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน

  20. จำนวนมาตรฐานที่มีผลบังคับใช้ในปี 2552 • จำนวน 30 ฉบับ : ส่วนใหญ่อ้างอิงจาก - IAS หรือ IFRS ( 25 ฉบับ) - ฉบับที่มีการแก้ไขในเดือน ธ.ค. 2546 และ มี.ค. 2547 - บางฉบับยังอ้างอิงจากมาตรฐานการบัญชีของสหรัฐอเมริกา ( GAAP : 4 ฉบับ ) - กำหนดเอง 1 ฉบับ • การตีความ 3 ฉบับ • แม่บทการบัญชี 1 ฉบับไม่ใช่มาตรฐานการบัญชีโดยตรง แต่เป็นกรอบอ้างอิงให้ทุกมาตรฐานต้องอยู่บนกรอบแนวคิดเดียวกัน

  21. มาตรฐานการบัญชีที่อ้างอิงจาก: มาตรฐานของ USA 4 ฉบับ • TAS 26 การรับรู้รายได้สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ • TAS 34 การบัญชีสำหรับการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา • TAS 40 การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน • TAS 42 การบัญชีสำหรับกิจการที่ดำเนินธุรกิจและเฉพาะด้านการลงทุน

  22. มาตรฐานการบัญชีที่กำหนดขึ้นเอง : 1 ฉบับ • TAS 11 หนี้สงสัยจะสูญและหนี้สูญ

  23. มาตรฐานการบัญชีที่ยกเว้นสำหรับ:กิจการที่ไม่ใช่บริษัทมหาชน 8 ฉบับ • TAS 24 การเสนอข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน • TAS 25 งบกระแสเงินสด • TAS 36 การด้อยค่าของสินทรัพย์ • TAS 44 งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ • TAS 45 เงินลงทุนในบริษัทร่วม • TAS 46 ส่วนได้เสียในการร่วมค้า • TAS 47 การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน • TAS 48 การแสดงรายการสำหรับตราสารการเงิน

  24. การถือปฏิบัติกับทุกกิจการพร้อมกันทั่วประเทศการถือปฏิบัติกับทุกกิจการพร้อมกันทั่วประเทศ • TAS และ TFRS ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ • ให้ถือปฏิบัติกับทุกกิจการพร้อมกันทั่วประเทศ • หากบังคับใช้เฉพาะบริษัทจดทะเบียนในกลุ่ม SET 50 ก่อน • ลำดับสามารถเปลี่ยนแปลงได้ : ทำให้งบการเงินของบริษัทจดทะเบียนที่อยู่ในกลุ่ม SET 50 และที่มิได้อยู่ในกลุ่ม ไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้ บริษัทในกลุ่ม SET 50 อาจเสียเปรียบในการดำเนินธุรกิจ : การปฏิบัติตามมาตรฐานแบบเต็มรูปแบบ – ต้องเปิดเผยข้อมูลมากกว่าคู่แข่ง / บริษัทที่ไม่อยู่ในกลุ่ม SET 50

  25. การนำมาตรฐานการรายงานทางการเงิน :มาใช้กับมหาวิทยาลัย • มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ : • IAS 2 สินค้าคงเหลือ • IAS 7 งบกระแสเงินสด • IAS 10 เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบการเงิน • IAS 16 ที่ดิน อาคาร และ อุปกรณ์ • IAS 18 รายได้ • IAS 20 การบัญชีสำหรับการอุดหนุนจากรัฐบาลและการเปิด • เผยข้อมูลความช่วยเหลือจากรัฐบาล • IAS 37 ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น สินทรัพย์ที่ • อาจเกิดขึ้น • IAS 38 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน • IAS 40 อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน

  26. แหล่งที่มาของข้อมูล • เอกสารการสัมมนามาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ โดยรศ.ดร.วรศักดิ์ ทุมมานนท์ ภาควิชาการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและผศ.วิภาดา ตันติประภา ภาควิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ • บทความ : เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ IFRS และมาตรฐานการบัญชีไทย โดยรศ.ดร.อังครัตน์ เพรียบจริยวัฒน์ • ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย • มาตรฐานการบัญชีของสภาวิชาชีพบัญชี

  27. มาตรฐานการบัญชีไทยที่ปรับตาม IAS & IFRS: อนาคต

  28. มาตรฐานการบัญชีไทยที่ปรับตาม IAS & IFRS: อนาคต

  29. มาตรฐานการบัญชีไทยที่ปรับตาม IAS & IFRS: อนาคต

  30. มาตรฐานการบัญชีไทยที่ปรับตาม IAS & IFRS: อนาคต

  31. มาตรฐานการบัญชีไทยที่ปรับตาม IAS & IFRS: อนาคต

More Related