1 / 34

Intermediate Accounting I

Intermediate Accounting I. Asst.Prof. Dr. Panchat Akarak Tel. 08-1724-09xx p.thipnew1@hotmail.com School of Accounting Chiangrai Rajabhat University. มาตรฐานการบัญชีไทย TAS # 40. มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 ( ปรับปรุง 2552) เรื่อง อสังหาริมทรัพย์เพื่อการ ลงทุน (Property Investment)

macha
Download Presentation

Intermediate Accounting I

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. IntermediateAccounting I Asst.Prof. Dr. Panchat Akarak Tel. 08-1724-09xx p.thipnew1@hotmail.com School of Accounting Chiangrai Rajabhat University

  2. มาตรฐานการบัญชีไทย TAS# 40 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 (ปรับปรุง 2552)เรื่อง อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน (Property Investment) มีผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป

  3. หัวข้อสำคัญ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ประกอบด้วย • ความหมาย (Definition) • การรับรู้รายการ (Recognition) • การวัดมูลค่า และ (Measurement) • การเปิดเผยข้อมูล (Presentation and Disclosure)

  4. หัวข้อสำคัญ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน • สังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน โดยครอบคลุมถึง • การวัดมูลค่าของส่วนได้เสียของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่ถือไว้ภายใต้สัญญาเช่าการเงินในงบการเงินของผู้เช่า และ • การวัดมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนในงบการเงินของผู้ให้เช่าตามสัญญาเช่าดำเนินงาน

  5. ความหมาย อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน • อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน หมายถึง อสังหาริมทรัพย์ (ที่ดิน หรืออาคาร หรือส่วนของอาคาร (ส่วนควบอาคาร) หรือทั้งที่ดินและอาคาร) ที่ถือครอง (โดยเจ้าของหรือโดยผู้เช่าภายใต้สัญญาเช่าการเงิน) • เพื่อหาประโยชน์จากรายได้ค่าเช่า หรือจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าของสินทรัพย์ หรือทั้งสองอย่าง ทั้งนี้ ไม่ได้มีไว้เพื่อ • 1) ใช้ในการผลิตหรือจัดหาสินค้าหรือให้บริการ หรือใช้ในการบริหารงาน ของกิจการ หรือ • 2) ขายตามลักษณะการประกอบธุรกิจตามปกติ

  6. ความหมายอสังหาริมทรัพย์ที่มีเพื่อใช้งานความหมายอสังหาริมทรัพย์ที่มีเพื่อใช้งาน • อสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ใช้งาน • หมายถึง อสังหาริมทรัพย์ที่ถือครอง (โดยเจ้าของ หรือโดยผู้เช่าภายใต้สัญญาเช่าการเงิน) • เพื่อใช้ในการผลิตหรือจัดหาสินค้าหรือให้บริการ หรือใช้ในการบริหารงานของกิจการ

  7. การบัญชีอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนการบัญชีอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน • การบัญชีเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน • กิจการอาจจัดประเภทส่วนได้เสียในอสังหาริมทรัพย์ของผู้เช่าที่เกิดจากสัญญาเช่าดำเนินงานเป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนได้ ถ้าหากว่า อสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นไปตามคำนิยามของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน และผู้เช่าใช้วิธีมูลค่ายุติธรรม ในการรับรู้สินทรัพย์นี้ อย่างไรก็ตาม หากกิจการเลือกจัดประเภทส่วนได้เสียในอสังหาริมทรัพย์ที่เกิดจากสัญญาเช่าดำเนินงานเป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนแล้วอสังหาริมทรัพย์ทุกประเภทที่จัดประเภทเป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนต้องบันทึกโดยใช้วิธีมูลค่ายุติธรรม เมื่อกิจการเลือกวิธีการจัดประเภทดังกล่าว

  8. แนวคิดอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนแนวคิดอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน • แนวคิดของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน • เกิดขึ้นเนื่องจาก กิจการถืออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวไว้เพื่อประโยชน์จากรายได้ค่าเช่า หรือจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าของสินทรัพย์หรือทั้งสองอย่าง

  9. แนวคิดอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนแนวคิดอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน • ดังนั้น • อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนจึงก่อให้เกิดกระแสเงินสดที่โดยส่วนใหญ่เป็นอิสระจากสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ ของกิจการซึ่งทำให้อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนต่างจากอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ใช้งาน ในขณะที่กระแสเงินสดจากการผลิตหรือจัดหาสินค้าหรือให้บริการ หรือใช้ในการบริหารงานของกิจการ ไม่ได้มาจากเฉพาะอสังหาริมทรัพย์เท่านั้นแต่ยังมาจากสินทรัพย์อื่นที่ใช้ในกระบวนการผลิตหรือให้บริการด้วย • กิจการจึงควรใช้วิธีปฏิบัติทางการบัญชีที่สอดคล้องกับเจตนาและลักษณะของสินทรัพย์ดังกล่าว

  10. ตัวอย่าง อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน • ตัวอย่าง อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน มีดังต่อไปนี้ • ที่ดินที่กิจการถือครองไว้เพื่อหวังกำไรจากการเพิ่มมูลค่าของที่ดินนั้นในระยะยาว • ที่ดินที่กิจการถือครองไว้โดยที่ปัจจุบันยังมิได้ระบุวัตถุประสงค์ของการใช้ในอนาคต • อาคารที่กิจการเป็นเจ้าของ (หรืออาคารที่กิจการครอบครองภายใต้สัญญาเช่าการเงิน) และให้เช่าต่อด้วยสัญญาเช่าดำเนินงาน (ไม่ว่าจะเป็นหนึ่งสัญญาหรือมากกว่าหนึ่งสัญญา) • อาคารที่ยังไม่มีผู้เช่าซึ่งกิจการถือครองเพื่อให้เช่าต่อภายใต้สัญญาเช่าดำเนินงานไม่ว่าจะเป็นหนึ่งสัญญาหรือมากกว่าหนึ่งสัญญาเช่า • อสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในระหว่างก่อสร้างหรือพัฒนาเพื่อใช้เป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนในอนาคต

  11. ตัวอย่าง ไม่ใช่อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน • ตัวอย่างที่ไม่ถือเป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน • อสังหาริมทรัพย์ที่กิจการมีไว้เพื่อขายตามลักษณะการประกอบธุรกิจตามปกติหรืออยู่ในขั้นตอนการก่อสร้างหรือพัฒนาเพื่อขาย (ถือเป็นสินค้าคงเหลือ TAS. #2) • อสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง หรือพัฒนาให้บุคคลอื่น (ถือเป็นสัญญาก่อสร้างตาม TAS. #11) • อสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ใช้งาน (ถือเป็นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ตาม TAS.#16) รวมถึงอสังหาริมทรัพย์ที่กิจการถือครองเพื่อใช้ภายในกิจการในอนาคต อสังหาริมทรัพย์ที่กิจการถือครองเพื่อการพัฒนาในอนาคตและนำมาใช้ภายในกิจการในเวลาต่อมา อสังหาริมทรัพย์ที่ใช้ประโยชน์โดยพนักงาน และอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ใช้งานรอการจำหน่าย • อสังหาริมทรัพย์ที่ให้กิจการอื่นเช่าภายใต้สัญญาเช่าการเงิน

  12. การรับรู้รายการ • การรับรู้รายการ • กิจการต้องรับรู้อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนเป็นสินทรัพย์ เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไข ทุกข้อต่อไปนี้ • 1. มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิง เศรษฐกิจในอนาคตจากอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน 2. สามารถวัดราคาทุนของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนได้อย่าง น่าเชื่อถือ

  13. การวัดมูลค่าเมื่อรับรู้รายการการวัดมูลค่าเมื่อรับรู้รายการ • การวัดมูลค่าเมื่อรับรู้รายการ • กิจการต้องวัดมูลค่าเมื่อเริ่มแรกของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนด้วยราคาทุน (Cost) • ต้นทุนของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่ได้มาโดยการซื้อ ประกอบด้วย ราคาซื้อ และรายจ่ายโดยตรงใดๆที่เกี่ยวกับการจัดหาสินทรัพย์ ได้แก่ค่าธรรมเนียมวิชาชีพสำหรับบริการทางกฎหมาย ค่าภาษีในการโอนสินทรัพย์ และต้นทุนในการทำรายการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

  14. ต้นทุนของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนต้นทุนของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน • ต้นทุนของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ไม่รวมรายการต่อไปนี้ • ต้นทุนก่อนการดำเนินงาน(ยกเว้นรายจ่ายที่จำเป็นเพื่อทำให้อสังหาริมทรัพย์นั้นอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ของผู้บริหาร) • ขาดทุนจากการดำเนินงานที่เกิดขึ้นก่อนที่อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนจะมีผู้เข้าครอบครองในระดับที่วางแผนไว้ • จำนวนสูญเสียที่เกินปกติจากวัตถุดิบ ค่าแรงงาน หรือจากทรัพยากรอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในการก่อสร้างหรือการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ • กิจการซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนโดยการผ่อนชำระ กิจการต้องบันทึกราคาทุนของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนด้วยมูลค่าที่เทียบเท่ากับการซื้อด้วยเงินสด ผลต่างระหว่างราคาเทียบเท่าเงินสดและจำนวนเงินที่ต้องจ่ายชำระทั้งหมดให้รับรู้เป็นดอกเบี้ยจ่ายตลอดอายุของการได้สินเชื่อ

  15. การวัดมูลค่าภายหลังการรับรู้รายการการวัดมูลค่าภายหลังการรับรู้รายการ • การวัดมูลค่าภายหลังการรับรู้รายการ • กิจการต้องใช้นโยบายการบัญชีโดยสามารถเลือกใช้วิธีมูลค่ายุติธรรม หรือ วิธีราคาทุน และต้องใช้นโยบายการบัญชีนั้นกับอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนทั้งหมดของกิจการ แต่กิจการอาจเลือกใช้วิธีมูลค่ายุติธรรมหรือวิธีราคาทุนสำหรับอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนทั้งหมดที่นำไปเป็นหลักประกันหนี้สินซึ่งทำให้การจ่ายคืนหนี้สินนั้นขึ้นตรงกับมูลค่ายุติธรรมหรือผลตอบแทนจากสินทรัพย์ที่ระบุไว้ซึ่งรวมถึงอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนดังกล่าวและเลือกใช้วิธีอื่นสำหรับอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่เหลือทั้งหมดก็ได้

  16. การใช้วิธีมูลค่ายุติธรรมการใช้วิธีมูลค่ายุติธรรม • กรณีที่กิจการใช้วิธีมูลค่ายุติธรรม • หลังจากรับรู้รายการเมื่อเริ่มแรกแล้ว กิจการที่เลือกใช้วิธีมูลค่ายุติธรรมต้องวัดมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนทั้งหมดด้วยมูลค่ายุติธรรม โดยไม่หักต้นทุนในการทำรายการที่อาจเกิดขึ้นในการขายหรือจำหน่ายสินทรัพย์นั้น หากส่วนได้เสียในอสังหาริมทรัพย์ของผู้เช่าตามสัญญาเช่าดำ เนินงานถูกจัดเป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน กิจการจะต้องใช้วิธีมูลค่ายุติธรรมสำหรับอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนทุกรายการเท่านั้น • ทั้งนี้ กิจการต้องรับรู้ผลกำ ไรหรือขาดทุนที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่ายุติธรรมของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนในกำไรหรือขาดทุนในงวดที่เกิดขึ้น โดยมูลค่ายุติธรรมของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนต้องสะท้อนถึงสภาพตลาด ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน

  17. การใช้วิธีมูลค่ายุติธรรม (Fair Value) • กรณีไม่สามารถวัดมูลค่ายุติธรรมได้อย่างน่าเชื่อถือ (ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นได้น้อยมาก) กิจการต้องวัดมูลค่าอสังหาริมทรัพย์โดยใช้วิธีราคาทุนที่กำหนดให้ถือปฏิบัติตาม TAS. #16 โดยสมมติให้มูลค่าคงเหลือของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนเท่ากับศูนย์ • หากกิจการใช้วิธีวัดมูลค่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนด้วยมูลค่ายุติธรรมแล้ว กิจการต้องใช้วิธีมูลค่ายุติธรรมในการวัดมูลค่าอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะมีการจำหน่าย(หรือจนกระทั่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนนั้นกลายมาเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ใช้งาน หรือกิจการเริ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์นั้นเพื่อขายตามลักษณะการประกอบธุรกิจตามปกติในภายหลัง) แม้ว่ารายการในตลาดที่เทียบเคียงกันได้จะเกิดขึ้นน้อยลงหรือหาราคาตลาดได้ยากขึ้นก็ตาม

  18. การใช้วิธีมูลค่ายุติธรรม (Fair Value) • รับรู้เริ่มแรกด้วยราคาทุน • วันสิ้นงวดใช้ราคายุติธรรม (ราคาตลาด) • ไม่คิดค่าเสื่อมราคา • รับรู้ผลต่างกำไร/ขาดทุนที่ไม่เกิดขึ้นในงบกำไรขาดทุน • งบแสดงฐานะการเงิน • สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน • อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน-ราคายุติธรรม xx • งบกำไรขาดทุน • รายได้/ค่าใช้จ่าย • กำไร/ขาดทุนที่ไม่เกิดขึ้น xx

  19. การใช้วิธีราคาทุน (Cost) • กรณีที่วัดมูลค่าโดยใช้วิธีราคาทุน • กิจการต้องวัดมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนทั้งหมดด้วยแนวทางที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่16 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ • เว้นแต่เป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่เข้าเงื่อนไขการจัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขาย (หรือรวมอยู่ในกลุ่มสินทรัพย์ที่รอจำหน่ายซึ่งจัดประเภทเป็นถือไว้เพื่อขาย) ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 5(ปรับปรุง 2552) เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดำเนินงานที่ยกเลิก

  20. การใช้วิธีราคาทุน (Cost) • กิจการต้องวัดมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนทั้งหมดด้วยแนวทางที่กำหนดไว้ในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่16 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ แสดงในงบการเงินดังนี้ • งบแสดงฐานะการเงิน • สินทรัพย์-ราคาทุน xx • หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม xx • ค่าเผื่อการด้อยค่าสะสม xx • งบกำไรขาดทุน • ค่าใช้จ่าย.- • -ค่าเสื่อมราคา xx

  21. การโอนอสังหาริมทรัพย์การโอนอสังหาริมทรัพย์ • การโอน • การโอนอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนไปยังบัญชีอื่นๆ หรือโอนจากบัญชีอื่นๆ มาเป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน อาจมีรูปแบบดังต่อไปนี้ • เริ่มมีการใช้งานอสังหาริมทรัพย์ภายในกิจการเอง ทำให้มีการโอนจากอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนไปเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ใช้งาน • เริ่มมีการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อมีไว้ขาย ทำให้มีการโอนจากอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนไปเป็นสินค้าคงเหลือ • สิ้นสุดการใช้งานอสังหาริมทรัพย์ภายในกิจการเอง ทำให้มีการโอนจากอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ใช้งานไปเป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน • เริ่มสัญญาเช่าแบบดำเนินงานกับกิจการอื่น ทำให้มีการโอนจากสินค้าคงเหลือไปเป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน

  22. การบัญชีเกี่ยวกับการโอนอสังหาริมทรัพย์การบัญชีเกี่ยวกับการโอนอสังหาริมทรัพย์ • การบัญชีเกี่ยวกับการโอนหมวดอสังหาริมทรัพย์ • การโอนจากอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่บันทึกด้วยมูลค่ายุติธรรมไปเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ใช้งานหรือสินค้าคงเหลือ ให้ใช้มูลค่ายุติธรรม ณ วันที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้งานเป็นราคาทุนของอสังหาริมทรัพย์ที่จะบันทึกตาม TAS. #16 หรือ TAS. #2 • การโอนอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ใช้งานเป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนซึ่งบันทึกด้วยมูลค่ายุติธรรม กิจการต้องปฏิบัติตาม TAS. #16 จนถึงวันที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้งาน ผลต่างให้รับรู้ในรายการกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นที่แสดงในส่วนของเจ้าของในงบแสดงฐานะการเงิน

  23. การบัญชีเกี่ยวกับการโอนอสังหาริมทรัพย์ (ต่อ) • การโอนจากสินค้าคงเหลือไปเป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่จะบันทึกด้วยมูลค่ายุติธรรมกิจการต้องรับรู้ผลต่างระหว่างมูลค่ายุติธรรมของอสังหาริมทรัพย์ ณ วันที่โอน กับมูลค่าตามบัญชีก่อนการโอนในกำไรหรือขาดทุนสำหรับงวด • เมื่อกิจการเสร็จสิ้นการก่อสร้างหรือการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่สร้างขึ้นเองที่จะบันทึกด้วยมูลค่ายุติธรรม กิจการต้องบันทึกผลต่างระหว่างมูลค่ายุติธรรมของอสังหาริมทรัพย์ ณ วันเสร็จสิ้น กับมูลค่าตามบัญชีก่อนหน้านั้นในกำไรหรือขาดทุนสำหรับงวด

  24. การจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์การจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ • การจำหน่าย • กิจการต้องตัดรายการอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนออกจากงบแสดงฐานะการเงินเมื่อกิจการจำหน่ายหรือเลิกใช้อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนนั้นอย่างถาวร และคาดว่าจะไม่ได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากการจำหน่ายอีก • ผลกำไรหรือขาดทุนที่เกิดจากการเลิกใช้หรือจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ต้องพิจารณาจากผลต่างระหว่างจำนวนเงินที่ได้รับสุทธิจากการจำหน่ายกับมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์นั้นและต้องรับรู้กำไรหรือขาดทุนในงวดที่เลิกใช้หรือจำหน่ายสินทรัพย์นั้น (เว้นแต่เป็นกรณีขายและเช่ากลับคืนแบบสัญญาเช่าการเงิน)

  25. ตัวอย่าง อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ตัวอย่างที่ 1 • บริษัทนกน้อย จำกัด และบริษัทย่อยมีรายละเอียดของอสังหาริมทรัพย์หลายรายการ ดังนี้ A ที่ดินที่ถือไว้เพื่อใช้ในอนาคตที่ยังไม่ได้ระบุวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน Bอาคารว่างที่ตั้งใจให้เช่าตามสัญญาเช่าดำเนินงาน C ที่ดินเปล่าที่ถือครองโดยบริษัทย่อยที่ทำธุรกิจบ้านจัดสรร D อสังหาริมทรัพย์ที่ถือโดยบริษัทนกน้อยซึ่งใช้ในการผลิตสินค้า E อาคารสำนักงานให้เช่าของบริษัทแมวน้ำซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทนกน้อย โดยบริษัทแมวน้ำได้ให้บริการรักษาความปลอดภัยกับลูกค้าด้วย

  26. ตัวอย่าง อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน (ต่อ) คำตอบ • ข้อ (A), (B), และ (E) ถือเป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนตาม TAS#40 ทั้งนี้ การที่เจ้าของอาคารสำนักงานจัดให้มียามรักษาความปลอดภัยและการบริการบำรุงรักษาให้แก่ผู้เช่าที่ใช้อาคารสำนักงานนั้น ถือเป็นการให้บริการเสริมอื่นๆ แก่ผู้ครอบครองสินทรัพย์ของกิจการ กิจการจัดประเภทอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนได้หากบริการเสริมนั้นเป็นส่วนประกอบที่ไม่มีนัยสำคัญในการจัดการโดยรวม จึงถือเป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน • ข้อ (C) ถือเป็นสินค้าคงเหลือ ตามTAS # 2 และ • ข้อ (D) ถือเป็น ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ตามTAS #16

  27. ตัวอย่าง อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน • ตัวอย่างที่ 2 • บริษัทแมวน้ำ จำกัด เป็นกิจการจดทะเบียนแห่งหนึ่งที่ทำโครงการศูนย์การค้าขึ้น • โดยหลังจากที่วิจัยตลาดอย่างถ้วนถี่แล้ว บริษัทตั้งใจจะถือครองไว้ให้เช่า แทนที่จะขายออกไป • โดยในปัจจุบันมีผู้ลงทุนรายหนึ่งพยายามเจรจาขอซื้อโดยให้ราคาที่น่าพอใจ และเพิ่มราคาอย่างต่อเนื่องตลอดห้วงเวลาของการก่อสร้าง • ภายหลังจากก่อสร้างเสร็จเพียงไม่กี่เดือน บริษัทสามารถปล่อยเช่าพื้นที่ได้ทั้งหมด และเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 25x1 • ต้นทุนในการก่อสร้างทั้งสิ้นเท่ากับ 100 ล้านบาท • โดยบริษัทได้ว่าจ้างผู้ประเมินราคาอิสระมาประเมินราคาอาคาร โดยอาคารมีมูลค่าตามการประเมินดังนี้

  28. ตัวอย่าง อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน (ต่อ) ทั้งนี้ ผู้ประเมินราคาให้ความเห็นว่าอายุการใช้งานของอาคารเท่ากับ 10 ปี และมีราคาคงเหลือ 10 ล้านบาท ให้ทำ ถ้าหากกิจการใช้วิธีราคายุติธรรม จะมีผลกระทบกับงบกำไรขาดทุนอย่างไร ถ้าหากกิจการใช้วิธีราคาทุน จะมีผลกระทบกับงบกำไรขาดทุนอย่างไร

  29. คำตอบวิธีราคายุติธรรม (Fair Value)

  30. ตัวอย่าง อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน (ต่อ) • คำตอบ วิธีราคาทุน (Cost value) • ตามวิธีนี้กิจการต้องคิดค่าเสื่อมราคาเป็นค่าใช้จ่าย ดังนั้น ค่าเสื่อมราคา ในแต่ละปี 9 ล้านบาท คำนวณดังนี้ ราคาทุน100 MB หัก ราคาคงเหลือ 10 MB มูลค่าคงเหลือ 90 MB อายุการได้รับประโยชน์ 10 ปี 90/10=9MB

  31. ตัวอย่าง อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน • 1 มกราคม 25x5กิจการซื้ออาคารเพื่อการลงทุนในราคา 100 ล้านบาท จ่ายค่านายหน้า 1 ล้านบาท จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ที่กู้มาซื้ออาคาร 5 ล้านบาท • คำถาม ราคาทุนอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนเท่าใด ? • คำตอบ ราคาทุนอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน-อาคาร= 100+1=101 • อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนไม่รวมดอกเบี้ยจ่าย

  32. ตัวอย่าง อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน (ต่อ) • 1 มกราคม 25x5กิจการซื้ออาคารเพื่อการลงทุนในราคา 100 ล้านบาท จ่ายค่านายหน้า 1 ล้านบาท จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ที่กู้มาซื้ออาคาร 5 ล้านบาท • คำถาม ราคาทุนอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนเท่าใด ? =101 ล้านบาท • 31 ธันวาคม 25x5 มูลค่ายุติธรรมของอาคาร 120 ล้านบาท รายได้ค่าเช่าในปีนี้ 6 ล้านบาท กิจการใช้ราคายุติธรรมในวันสิ้นงวด • คำถาม กิจการจะต้องปรับปรุงราคาอย่างไร ? • คำตอบ รับรู้กำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงราคา 120-101=19 • Dr.อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน-อาคาร 19 • Cr.กำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงราคาสินทรัพย์ 19

  33. การแสดงรายการในงบแสดงฐานะการเงินการแสดงรายการในงบแสดงฐานะการเงิน • สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน-ราคายุติธรรม 120 การแสดงรายการในงบไรขาดทุน • รายได้อื่น รายได้ค่าเช่าสังหาริมทรัพย์ 6 กำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงราคาสินทรัพย์ 19

  34. The End TAS # 40 Property Investment

More Related