1 / 15

บทบาท และ หน้าที่ของ คณะ กรรมการวิชาการ

บทบาท และ หน้าที่ของ คณะ กรรมการวิชาการ. แต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมตามมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ จาก 3 ฝ่าย คือ ผู้ทำ ผู้ใช้ และ นักวิชาการ. คณะกรรมการวิชาการ.

macey-nunez
Download Presentation

บทบาท และ หน้าที่ของ คณะ กรรมการวิชาการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการวิชาการบทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการวิชาการ

  2. แต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมตามมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ จาก 3 ฝ่าย คือ ผู้ทำ ผู้ใช้ และ นักวิชาการ คณะกรรมการวิชาการ

  3. รัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะกรรมการเสนอตามมาตรา 8(5) เป็นคณะกรรมการวิชาการคณะหนึ่งหรือหลายคณะ กว.มีหน้าที่จัดทำร่างมาตรฐานและปฏิบัติงานทางวิชาการ อื่นๆ ที่เกี่ยวกับมาตรฐานเพื่อเสนอคณะกรรมการ กว. มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อช่วยเหลือทำ กิจการหรือพิจารณาเรื่องต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายจาก กว. มาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511

  4. คณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมีอำนาจและหน้าที่ คัดเลือกบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิเสนอรัฐมนตรีแต่งตั้ง เป็นกรรมการวิชาการ มาตรา 8 (5) แห่ง พ.ร.บ. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511

  5. องค์ประชุม ไม่ต่ำกว่าหนึ่งในสามของจำนวนกรรมการ ทั้งหมด ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมให้เลือกกรรมการ คนหนึ่งเป็นประธานในการประชุมครั้งนั้น การวินิจฉัยชี้ขาดให้ถือเสียงข้างมาก มาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511

  6. กรรมการวิชาการพ้นจากตำแหน่งเมื่อกรรมการวิชาการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ ตาย ลาออก เป็นบุคคลล้มละลาย เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ ความผิดลหุโทษหรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท รัฐมนตรีมีหนังสือแจ้งให้ทราบ มาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511

  7. ตราครุฑ คำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ 30/2552 เรื่อง แต่งตั้งกรรมการวิชาการคณะที่ 1032 มาตรฐานถังพลาสติกรองรับขยะ อาศัยอำนาจตามความมในมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2531 จึงแต่งตั้งกรรมการวิชาการคณะที่ 1032 เพื่อทำหน้าที่จัดทำร่าง มาตรฐานถังพลาสติกรองรับขยะ และปฏิบัติงานทางวิชาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับมาตรฐานนี้ เพื่อเสนอคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม โดยคณะกรรมการประกอบด้วย 1. นางจินตนา ลีกิจวัฒนะ หรือ นางเปรมใจ อรรถกิจการค้า ผู้ทรงคุณวุฒิจากกรมวิทยาศาสตร์บริการ 2. นางสุณี ปิยะพันธุ์พงศ์ หรือ นางสาวนภวัส บัวสรวง ผู้ทรงคุณวุฒิจากกรมควบคุมมลพิษ 3. นายอรุณ วิเศษวงษา ผู้ทรงคุณวุฒิจากกรุงเทพมหานคร 4. นางสาวจิราพร อนันทยากร หรือ นายปราโมทย์ ทรัพย์แสง ผู้ทรงคุณวุฒิจากเทศบาลเมืองพัทยา

  8. 5. นายวุฒิพงษ์ รังษีสันติวานนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิจากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ 6. นายอภิภพ พึ่งชาญชัยกุล ผู้ทรงคุณวุฒิจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 7. นายสาธิต เหมมณฑารพ ผู้ทรงคุณวุฒิจากสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกไทย 8. นายภาวัต เฉลิมพงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิจากบริษัท ศรีไทย ซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน) 9. นางกรรณิการ์ โตประเสริฐพงศ์ เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ 30 มกราคม 2552 (ลงนาม) (นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

  9. คณะกรรมการวิชาการคณะที่ 308 มาตรฐานหมวกนิรภัย ประธานกรรมการ รศ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการ พันตำรวจโทนิพนธ์ เอกวรากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นายแท้จริง ศิริพานิช สำนักโรคไม่ติดต่อ นางสุชาดา เกิดมงคลการ นายนภดล บูรศิริรักษ์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นายเสกศิลป์ บรรพสุขะ สถาบันยานยนต์ ศ.วีระ กสานติกุล สถาบันหมวกนิรภัย รศ.สินธุ์ชัย แก้วกิติชัย ผศ.สมชาย พรชัยวิวัฒน์ สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ นายวินัย กิจโชค สมาคมผู้ประกอบการรถจักรยานยนต์ไทย นายวิวัฒน์ คุณาอนุวิทย์ บริษัท ป.ณรงค์ แอนด์ พี.เอ็น.ไอ.จำกัด นายอุเทน กุลวราพร ห้างหุ้นส่วนจำกัด ย่งเซ่งฮงอุตสาหกรรม นายณัฐกิตติ์ โสภาคดิษฐพงษ์ บริษัท แม็กนั่มแอซเซสเซอร์รี่ส์ จำกัด กรรมการและเลขานุการ นางอารัมภ์รัตน์ รัชดานุรักษ์ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นางศรุดา นนทศิริชญากุล

  10. ประกอบด้วย ประธานกรรมการ กรรมการ และกรรมการและเลขานุการ ประธานกรรมการ – เป็นผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมซึ่งคณะกรรมการวิชาการคัดเลือกโดยความเห็นพ้องต้องกัน กรรมการ – เป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีส่วนได้เสีย และมีส่วนเกี่ยวข้องทางวิชาการ หรือมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านนั้น กรรมการและเลขานุการ – เป็นผู้ทรงคุณวุฒิจาก สมอ. องค์ประกอบของคณะกรรมการวิชาการ

  11. พิจารณาและกำหนดเวลาการประชุมเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายแล้วเสร็จตามแผนปฏิบัติงานพิจารณาและกำหนดเวลาการประชุมเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายแล้วเสร็จตามแผนปฏิบัติงาน กว.พิจารณาเฉพาะประเด็นทางวิชาการ การลงมติให้ใช้หลักการเห็นพ้องต้องกัน หลีกเลี่ยงวิธีการออกเสียงลงคะแนน การพิจารณาประเด็นปัญหา ควรพิจารณาหลายๆด้าน กรณีที่ต้องการให้ กว.มีความเข้าใจในกรรมวิธีการผลิตหรือวิเคราะห์ อาจขออนุญาตเข้าเยี่ยมชมกระบวนการผลิต/ห้องปฏิบัติการ กรณีเป็นร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ข้อกำหนดทุกรายการต้องมีวิธีทดสอบและเกณฑ์ตัดสินที่ชัดเจน วิธีทดสอบใน มอก.เป็นวิธีที่ใช้ในการตัดสิน แต่หากวิธีนั้นยุ่งยากซับซ้อนในทางปฏิบัติอาจกำหนดวิธีทดสอบที่ให้ผลเทียบเท่าเพิ่มเติมได้ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับรายการทดสอบผลิตภัณฑ์ที่โรงงานจำเป็นต้องมีเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทดสอบประจำที่โรงงาน หลักการพิจารณาร่างมาตรฐานและการลงมติ

  12. ประธานกรรมการ 1) ให้คำแนะนำ และควบคุมการประชุม 2) มีอำนาจในการยุติข้อถกเถียงในประเด็นที่ไม่เกี่ยวข้อง และ ทักท้วงหากมีการหยิบยกประเด็นที่ผ่านการพิจารณาลงมติแล้ว มาถกเถียงกันอีก 3) ให้ข้อวินิจฉัยอย่างเป็นกลางไม่มีอคติ หน้าที่ของคณะกรรมการวิชาการ

  13. กรรมการ ศึกษาเอกสารที่ได้รับ รวบรวมข้อมูลประเด็นที่จะเสนอแนะ รับผิดชอบและรายงานการดำเนินงานของคณะกรรมการวิชาการให้หน่วยงานเจ้าสังกัดของตนได้ทราบ ไม่หยิบยกประเด็นที่ผ่านการพิจารณาแล้วมาถกเถียงกันอีกเว้นเสียแต่มีปัญหาใหม่ที่เกี่ยวข้องและได้หารือกับประธาน กว.แล้ว กรณีที่มาประชุมไม่ได้ ควรมอบหมายให้ผู้ทรงคุณวุฒิลำดับถัดไปเข้าประชุมแทน หรือกรณีที่ไม่มีผู้เข้าร่วมประชุมแทนและไม่เห็นด้วยกับมติการประชุมในรายการการประชุมนั้นๆ มีสิทธิทักท้วง หน้าที่ของคณะกรรมการวิชาการ

  14. กรรมการและเลขานุการ ศึกษาทำความเข้าใจเรื่องที่จะกำหนดมาตรฐาน รวบรวมข้อมูล เอกสารที่เกี่ยวข้อง จัดทำร่างมาตรฐานฉบับแรกให้อยู่ในรูปแบบของ สมอ. ทำหน้าที่ชี้แจงตอบข้อซักถาม หาก กว.มีข้อสงสัยเกี่ยวกับขั้นตอนการประกาศใช้มาตรฐาน หรือวิธีปฏิบัติของ สมอ. จัดทำรายงานการประชุม ปฏิบัติตามมติ หรือข้อวินิจฉัยของที่ประชุม หน้าที่ของคณะกรรมการวิชาการ

  15. กรรมการและเลขานุการ จัดพิมพ์ร่าง ตรวจพิสูจน์อักษร ดำเนินการเวียนร่างมาตรฐาน จัดทำสรุปข้อคิดเห็นที่ได้รับ เสนอ กว.พิจารณา จัดทำสรุปผลการพิจารณาจัดทำร่างมาตรฐาน เพื่อเสนอคณะกรรมการพิจารณาร่างมาตรฐาน ทำหน้าที่เป็นตัวแทน กว.ในการชี้แจงตอบประเด็นปัญหาข้อสงสัย ให้ข้อมูลสนับสนุนร่างมาตรฐาน เหตุผลด้านวิชาการแก่คณะกรรมการพิจารณาร่างมาตรฐานฯ แล้วสรุปข้อปัญหาเสนอ กว. ทบทวน นำสรุปผลการพิจารณาทบทวนของ กว.เสนอและร่วมตอบประเด็นปัญหาหรือข้อสงสัยต่อคณะกรรมการพิจารณาร่างมาตรฐานฯ จนได้รับความเห็นชอบแล้วจัดทำร่างมาตรฐานเสนอ กมอ. หน้าที่ของคณะกรรมการวิชาการ

More Related