1 / 30

การขับเคลื่อน ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่สถานศึกษา

การอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากร เรื่อง การขับเคลื่อน ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โดยสมชื่อ กอปรคุณูปการ ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ สพป. นนทบุรี เขต 2. การขับเคลื่อน ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่สถานศึกษา. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. ปรัชญา ( Philosophy).

lynna
Download Presentation

การขับเคลื่อน ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่สถานศึกษา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรเรื่อง การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาโดยสมชื่อ กอปรคุณูปการศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ สพป.นนทบุรี เขต 2

  2. การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา

  3. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

  4. ปรัชญา (Philosophy) เสฐียร พันธรังสี :"ปรัชญา ได้แก่หลักฐานแห่งความรู้ ,หลักวิทยาการหรือหลักประพฤติปฏิบัติ หรือหมายถึงความเชื่ออันใดอันหนึ่ง เป็นความรู้ความคิดที่ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือเทพเจ้าใดๆ" หลวงวิจิตรวาทการ :"ปรัชญา หมายถึงหลักความดีที่สามารถสอนกันเองได้ คิดค้นมาใหม่ได้ ซึ่งมีจดจารึกกันไว้เพื่อศึกษากันต่อมา ไม่เกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ใดๆ ไม่ได้มาจากเทพเจ้า หรือสวรรค์ชั้นใด" พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน :"ปรัชญาเป็นวิชาว่าด้วยหลักความรู้และความจริง" เพลโต นักปรัชญากรีกผู้ยิ่งใหญ่ : "ปรัชญาหมายถึงการศึกษาหาความรู้เรื่องสิ่งนิรันดรและธรรมชาติแท้จริงของสิ่งทั้งหลาย" อริสโตเดิล : "ปรัชญาคือศาสตร์ที่สืบค้นถึงธรรมชาติของสิ่งที่มีอยู่โดยตัวเอง ตลอดจนคุณลักษณะตามธรรมชาติของสิ่งนั้น"

  5. ปรัชญา (Philosophy) อุกฤษฏ์ แพทย์น้อย ภาควิชาปรัชญา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปรัชญา เป็นความเชื่อที่มีเหตุผล และมีการนำความเชื่อนั้นไปใช้ในการดำรงชีวิต วิธีการของปรัชญาต้องอาศัยศาสตร์ของการอ้างเหตุผล และต้องพัฒนาศาสตร์นี้ไปด้วย เพื่อให้ได้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ วิชาปรัชญาไม่ใช่วิชาชีพ แต่เป็นวิชาชีวิต นำไปใช้เลี้ยงชีวิตไม่ได้ แต่ทำให้เรามีชีวิตที่ดีได้ การนับถือศาสนา ถึงแม้เราจะเชื่อด้วยเหตุผล แต่โดยพื้นฐานแล้วมีความเชื่อส่วนหนึ่งที่เป็นพื้นฐานที่ต้องอาศัยศรัทธา เป็นเรื่องที่อยู่นอกขอบเขตของเหตุผล หรือเป็นสิ่งที่ต้องรู้ด้วยสมรรถนะที่ไม่ใช่เหตุผล ส่วนปรัชญานั้นถือว่าทุกอย่างสอบถามด้วยเหตุผลได้

  6. สรุป “ปรัชญา เป็น ความรู้หรือความเชื่อที่มีเหตุผล และมีการนำความรู้ความหรือเชื่อนั้น ไปใช้ในการดำรงชีวิต”

  7. เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy)

  8. “เศรษฐกิจพอเพียง”เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 30 ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ

  9. " เศรษฐกิจพอเพียง แปลว่า Sufficiency Economy… คำว่า Sufficiency Economy นี้ไม่มีในตำราเศรษฐกิจ จะมีได้อย่างไร เพราะว่าเป็นทฤษฎีใหม่… Sufficiency Economy นั้น ไม่มีในตำราเพราะหมายความว่าเรามีความคิดใหม่ …และโดยที่ท่านผู้เชี่ยวชาญสนใจ ก็หมายความว่าเราก็สามารถที่จะไปปรับปรุง หรือไปใช้หลักการเพื่อที่จะให้เศรษฐกิจของประเทศ และของโลกพัฒนาดีขึ้น. (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 23 ธันวาคม 2542)

  10. "อันนี้เคยบอกว่า ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัวจะต้องทอผ้าใส่เอง อย่างนั้นมันเกินไปแต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควรบางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ ก็ขายได้แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก" (พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2540)

  11. ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญา ที่ชี้ถึงแนวการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์

  12. องค์ประกอบของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงองค์ประกอบของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทางสายกลางในการดำรงชีวิต/การปฏิบัติตนในทุกระดับ (ครอบครัว/ชุมชน/รัฐ) และการพัฒนา/บริหารประเทศ แนวคิด พอประมาณ หลักการ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน ในตัวที่ดี ความรอบรู้ คุณธรรม เงื่อนไข รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง ซื่อสัตย์ สุจริต ขยัน อดทน มีสติ แบ่งปัน เศรษฐกิจ / สังคม / สิ่งแวดล้อม / วัฒนธรรม เป้า ประสงค์ “สมดุล อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน”

  13. •  ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

  14. •  ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ

  15. •การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

  16. •เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ •  เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต 2 เงื่อนไข

  17. 1. ความพอประมาณ - เหมาะสมกับฐานะการเงิน - เหมาะสมกับรายได้ - สอดคล้องกับความรู้ความสามารถ - ช่วงเวลาการประกอบอาชีพ - จำนวนสมาชิกในครอบครัว - ประกอบอาชีพที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ทางภูมิประเทศและสังคม

  18. 2. ความมีเหตุผล • มีวินัยทางการเงิน ใช้เงินอย่างมีเหตุผล • เป็นแรงจูงใจในการเดินทางไปสู่เป้าหมาย • มีเป้าหมายในการดำเนินชีวิต

  19. 3. ภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี • ประหยัดอดออม • ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม และสังคม • มีความมั่งคงในชีวิตและครอบครัว • สุขภาพที่ดี • ครอบครัวอบอุ่น • มีความขยัน อดทน มุ่งมั่น

  20. 4. ความรอบรู้ • รู้หลักวิชา เนื้อหาสาระ • รู้วิธีการวางแผน การออมเงิน • วิธีวิเคราะห์ รายรับรายจ่าย • รู้จักกระบวนการ วิธีการทำงาน การทำบัญชี • มีหลักธรรมะในการดำเนินชีวิต

  21. 5. คุณธรรม • ความซื่อสัตย์ สุจริต ใฝ่เรียนรู้ ขยัน ประหยัด มีวินัย • มีสติปัญญา ในการดำเนินชีวิต • ยึดธรรมะในการดำเนินชีวิต • ขยันหมั่นเพียร อดทน • ไม่ทำให้ตัวเองและผู้อื่นเดือนร้อน การแบ่งปัน

  22. การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา

  23. การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่สถานศึกษา • มิถุนายน 2550 กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดยุทธศาสตร์ การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่สถานศึกษา 2550-2554 • โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้สถานศึกษานำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และการบริหารจัดการสถานศึกษา เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติในทุกระดับได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล เกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ในการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างต่อเนื่อง

  24. กำหนดให้มีการประเมินผลการดำเนินการเป็น 4 ด้านคือ • 1. ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา • 2. ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน • 3. ด้านกิจกรรมการพัฒนาผู้เรียน • 4. ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา

  25. 1. ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา 1.2 วิชาการ 1.3 อาคารสถานที่ 1.4 งบประมาณ 1.5 ความสัมพันธ์กับชุมชน

  26. 2. ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน 2.1 การบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน 2.2 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง 2.3 สื่อและแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2.4 ผู้เรียนมีความรู้และปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง 2.5 การวัดและประเมินผล

  27. 3. ด้านกิจกรรมการพัฒนาผู้เรียน 3.1 การแนะแนวและระบบดูแลนักเรียน 3.2 กิจกรรมนักเรียน ลูกเสือ นักศึกษาวิชาทหาร 3.3 โครงงาน โครงการเสริมทักษะอาชีพ สิ่งประดิษฐ์ 3.4 ชุมนุม ชมรม องค์การ 3.5 การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นวัฒนธรรมหรือหลักคำ สอนศาสนา

  28. 4. ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา 4.1 การสร้างความตระหนักและเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง 4.2 ส่งเสริมให้มีการพัฒนาบุคลากรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4.3 การดำเนินชีวิตและปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง 4.4 การติดตามประเมินผลการพัฒนาบุคลากร 4.5 การเผยแพร่แนวคิดและผลการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง (การประชาสัมพันธ์)

  29. ในการประเมินของ สอศ. ได้มีการเพิ่มองค์ประกอบการประเมิน อีก 1องค์ประกอบ เป็นองค์ประกอบที่ 5 คือ5. ด้านผลลัพธ์และภาพความสำเร็จประกอบด้วย 5.1 ด้านสถานศึกษาพอเพียง 5.2 ผู้บริหารพอเพียง 5.2 ครูพอเพียง 5.3 บุคลากรพอเพียง 5.4 นักเรียนนักศึกษาพอเพียง จาก : แนวทางการนิเทศ เศรษฐกิจพอเพียง สู่สถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (ก.พ.52)

  30. สวัสดี

More Related