1 / 135

ล่ำลา ร่ำลา ลิดรอน ริดรอน ลิฟต์ ลิฟท์ เลือกสรร เลือกสรรค์ เลือดกบปาก เลือดกลบปาก

เทคนิคการเขียนผลงานการวิจัย รศ.ดร.ปรีชา อุปโยคิน มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ห้อง ๓๐๖ อาคาร D1 เวลา ๙.๐๐-๑๕.๐๐ น. ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๔.

lyle-walker
Download Presentation

ล่ำลา ร่ำลา ลิดรอน ริดรอน ลิฟต์ ลิฟท์ เลือกสรร เลือกสรรค์ เลือดกบปาก เลือดกลบปาก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เทคนิคการเขียนผลงานการวิจัยรศ.ดร.ปรีชา อุปโยคินมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงห้อง ๓๐๖ อาคาร D1เวลา ๙.๐๐-๑๕.๐๐ น.๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๔

  2. การเขียนคืออะไรการเขียน คือการสื่อสารชนิดหนึ่งของมนุษย์ที่ต้องอาศัยความพยายามและฝึกฝน การเขียนเป็นการแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้ผู้รับสารสามารถอ่านได้เข้าใจ ได้ทราบความรู้ ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ แล้วสามารถนำมาบอกต่อกับบุคคลอื่นให้ได้ความรู้ที่ผู้รับสารได้รับ

  3. การเขียน(ภาษา)ที่บกพร่อง เช่น ก.การใช้คำผิด ข.การใช้ภาษาไม่เหมาะสม ค.การใช้ภาษาไม่กระจ่าง ง.การใช้ภาษาไม่สละสลวย

  4. ตัวอย่างการใช้คำผิดแมง กับ แมลง แมง มีร่างกาย 2ส่วน คือ ส่วนหัวกับท้อง แมลง มีร่างกาย 3ส่วน คือ ส่วนหัว อก ท้องแมง มี 8ขาแมลง มี 6 ขาแมง ไม่มีหนวด แมลง มีหนวด 1คู่แมง ไม่มีปีกแมลง อาจมีปีก 1-2 คู่ หรือไม่มีปีกก็ได้

  5. ล่ำลา ร่ำลาลิดรอน ริดรอนลิฟต์ ลิฟท์เลือกสรร เลือกสรรค์เลือดกบปาก เลือดกลบปาก

  6. การใช้ภาษาไม่เหมาะสม-บ้านของฉันดันมาตั้งอยู่ตรงหัวโค้งถนนพอดี (จำเพาะ)-เขาเป็นคนตรงไปตรงมา ค่อนข้างแอนตี้สังคม (ต่อต้าน)-คุณลุงเจ็บกระเสาะกระแสะมาปีกว่าแล้ว เมื่อสองสามวันก่อน ท่านต้องเข้า โรงพยาบาลอีก เราคาดหวังกันว่า เจ็บคราวนี้ท่านคงอยู่ได้ไม่นาน -เขาเดินผ่านเข้าไปในซุ้มไม้ที่เขียวชอุ่มเป็นพุ่มงาม บังแสงอาทิตย์เสียสิ้น-ฉันพบตัวเองอยู่ในบ้านคนเดียว -แทนที่ประชาชนที่อ่าน จะได้ประโยชน์กลับถูกยื่นยาพิษให้โดยไม่รู้ตัว ิ -ในศาลเจ้ามีกระถางธูป ที่จุดเทียนทำการสักการะพระพุทธรูป

  7. การใช้ภาษาแบบไม่ตรวจสอบพายุฝนถล่มทำให้น้ำป่าทะลักจนดินสไลด์เป็นทางยาวร่วม30 เมตร ส่งผลให้รถไฟขบวนเชียงใหม่-เชียงรายวิ่งผ่านไม่ได้(ไทยรัฐ 28สิงหาคม 2554)

  8. ตัวอย่างการเขียนที่ดีมองเห็นภาพพจน์

  9. “ความรักเป็นอารมณ์ธรรมชาติอย่างหนึ่งของมนุษย์ มีทั้งประโยชน์และเป็นโทษในเวลาเดียวกัน ความรักที่อยู่บนพื้นฐานของความบริสุทธิ์ จริงใจและความมีเหตุผล ย่อมนำพาผู้เป็นเจ้าของความรักไปในทางที่ถูกที่ควร แต่ถ้าความรักนั้นเป็นเพียงอารมณ์อันเกิดจากความหลงใหลในรูปกายภายนอก ความชื่นชมตามกระแสและความหลงผิด ความรักก็จะก่อให้เกิดโทษ จึงมีผู้เปรียบเปรยว่า “ความรักทำให้คนตาบอด”(จากบทละครเรื่อง “มัทนพาธา” ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)

  10. การใช้ภาษาไม่กระจ่างการใช้ภาษาไม่สละสลวยการใช้ภาษาไม่กระจ่างการใช้ภาษาไม่สละสลวย

  11. 1.เขาถูกเชิญไปรับประทานอาหาร (ผิด)เขาได้รับเชิญไปรับประทานอาหาร (ถูก)2. เขาได้รับการลงโทษอย่างหนัก (ผิด)เขาถูกลงโทษอย่างหนัก (ถูก)3. เขาจับรถไฟไปเชียงใหม่ (ผิด)เขาโดยสารรถไฟไปเชียงใหม่ (ถูก) เขาไปเชียงใหม่ทางรถไฟ  (ถูก)

  12. 4. เธอพบตัวเองอยู่ในห้องคนเดียว  (ผิด) เธอรู้สึกตัวว่าอยู่ในห้องคนเดียว  (ถูก)5. สนามเต็มไปด้วยหญ้า (ผิด)ในสนามมีหญ้าเต็ม (ถูก) สนามมีหญ้าเต็ม  (ถูก)

  13. เทคนิคการเขียนผลงานการวิจัยการเขียนรายงานการวิจัย มีความแตกต่างจากการเขียนบทความหรือรายงานอื่น ๆ เพราะรายงานการวิจัยต้องเขียนรายงาน อธิบาย ขั้นตอนต่าง ๆ ในการศึกษา ตลอดจนผลของ การศึกษาค้นคว้าที่ได้ ซึ่งต้องรายงานตามความเป็นจริง แม้จะมีการแสดงความคิดเห็นก็ต้องมี หลักฐานจากเอกสารช่วยยืนยัน

  14. การเขียนผลงานการวิจัยที่มีคุณค่าจะต้องทำให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย โดยใช้เทคนิคที่สำคัญ ดังนี้1. ใช้ภาษาที่ชัดเจนไม่กำกวม เข้าใจง่าย 2. ใช้ภาษาเขียนไม่ใช้ภาษาพูด 3. หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาต่างประเทศถ้ามีคำไทยใช้ แทนแล้ว 4. หลีกเลี่ยงการใช้อักษรย่อที่ไม่เป็นที่ยอมรับ ยังไม่ รู้จักกันอย่างแพร่หลาย 5. หลีกเลี่ยงการใช้สรรพนามบุรุษต่าง ๆ เช่น ฉัน เขา เป็นต้น

  15. องค์ประกอบของความสำเร็จของการเขียนผลงานการวิจัย1. เรื่องที่ศึกษามีความชัดเจน (ตั้งแต่ต้น)2. กรอบแนวคิดที่ศึกษามีความเป็นเหตุเป็นผล3. มีวิธีการศึกษาครอบคลุมปัญหาการวิจัย4. มีวัตถุประสงค์การวิจัยที่ชัดเจนที่จะตอบปัญหา เรื่องที่ศึกษา5. มีความสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้อย่างครบถ้วน6. มีทักษะในการเขียนรายงานอย่างถูกต้อง

  16. ข้อจำกัดของการเขียนผลงานการวิจัย1. ไม่ทราบจะเริ่มต้นอย่างไรเพราะมีข้อมูลมากไป หรือน้อยไป (ถ้ามีกรอบ ขั้นตอนและมีการวาง แผนการลงมือเขียนจะบรรเทาความวุ่นวายใจได้)2. เกิดความกังวลใจ ปริวิตก เกรงว่าจะเกินกำลัง ความสามารถของตน 3. ขาดความตั้งใจ ขาดความต่อเนื่องทำให้สมาธิแตก รวมพลังใจไม่ได้4. สับสนไม่ชัดเจนว่าอะไรสำคัญมากหรือน้อยและลำดับ เรื่องที่จะนำเสนอผลการศึกษา

  17. แนวทางที่จะเขียนผลงานวิจัยให้สำเร็จ1. เตรียมตัวและเตรียมใจให้พร้อม 2. เตรียมข้อมูลที่จะนำมาใช้ให้พร้อม3. จัดประเภทของข้อมูลให้เป็นระเบียบพร้อมใช้4. พยายามหาจุดเริ่มต้นที่จะช่วยให้การเขียนเกิดความ ต่อเนื่อง สร้างกำลังใจให้ตนเอง 5. ถ้าต้องแบ่งงานเขียนกับเพื่อนร่วมงานต้องทราบศักยภาพ ของเขาว่าจะทำให้งานล้มเหลวหรือไม่

  18. 6. การเตรียมข้อมูลเหมือนการเตรียมการประกอบ อาหาร นักวิจัย จะปรุงอาหารตามเมนู 7. ข้อมูลที่จะนำมาใช้อาจต้องเตรียมล่วงหน้า เช่น ตัวเลข ตาราง ผลการวิเคราะห์ผลทางสถิติ ผลจากการ ประชุม Focus group discussionรายงานผลจากการสังเกตการณ์และอื่นๆ 8. การเขียนรายงานการวิจัยต้องนำมาจากผลการศึกษาไม่เขียนจาก ความคิดเห็นส่วนตัว 9. หากข้อมูลมีมากต้องจำแนกประเภทของข้อมูลว่าจะ นำเสนอรูปแบบใดที่จะสามารถตอบวัตถุประสงค์ได้

  19. 10. กลั่นกรองข้อมูลที่จะใช้เป็นวัตถุดิบในการเขียนให้ ชัดเจนจัด ให้อยู่เป็นที่เป็นทาง ง่าย ต่อการนำมาใช้11. ตรวจสอบตัวแปรต่างๆ ทุกประเด็นที่นำเสนอไว้ ในกรอบการ วิจัยเพื่อนำมาวิเคราะห์อย่าให้ขาด หายไปเป็นอันขาด 12. จัดทำOutline ของรายงานเหมือนพิมพ์เขียวเพื่อสร้าง ความมั่นใจว่าการเขียนรายงานเป็นไปตามทิศทางและ เป้าหมายที่จะสามารถเสนอผลการศึกษาได้

  20. การกำหนดหัวข้อเรื่องหรือชื่อเรื่อง มีองค์ประกอบดังนี้1. หัวข้อเรื่องต้องมีความกระชับ ไม่เป็นการเขียนเชิงอธิบายความ2.ไม่ควรนำเอากรอบความคิดมาเป็นชื่อเรื่องการวิจัย3. ข้อความที่ปรากฏในชื่อเรื่องต้องชัดเจน ไม่คลุมเครือ ผู้อ่าน สามารถเข้าใจและสื่อความหมายได้4.หัวข้อเรื่องต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ หรือสาระสำคัญ ของการวิจัย 5.ภาษาที่ใช้เขียนต้องเป็นภาษาทางวิชาการ ไม่ใช่ภาษา หนังสือพิมพ์6. มีคำสำคัญปรากฏอยู่ในชื่อเรื่อง

  21. หัวข้อเรื่องที่ศึกษามีความชัดเจน- สถานภาพและบทบาทของผู้สูงอายุในประเทศไทย- การประเมินผลการพัฒนาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ ธรรมชาติเพื่อเป็นยา - พ่อค้าและนักธุรกิจกับระบบรัฐสภาไทย - สถานการณ์และเงื่อนไขการกระจายอำนาจด้านสุขภาพ ใน ท้องถิ่น: กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ - สถานการณ์และแนวโน้มการเพาะปลูกยาสูบพื้นเมืองในภาคเหนือตอนบน

  22. การกำหนดหัวข้อยาวเกินไป ไม่สามารถหาKeywordsได้ชัดเจน เช่น “การปรึกษาเชิงจิตวิทยาทางอาชีพแบบกลุ่มต่อการรับรู้ความสามารถของตน ในการตัดสินใจเลือกอาชีพ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ”

  23. “การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มที่มีต่อการเห็นคุณค่า ในตนเองของเยาวชนกระทำผิดกฎหมาย ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดขอนแก่น” 

  24. “การให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มต่อการเห็นคุณค่าในตนเอง และความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันการสูบบุหรี่ของเด็กวัยรุ่นตอนต้น”

  25. กรอบแนวคิดที่ศึกษามีความเป็นเหตุเป็นผล(การเขียนรายงานต้องเสนอผลการวิจัยให้สอดคล้องกับกรอบที่กำหนดไว้)กรอบแนวคิดที่ศึกษามีความเป็นเหตุเป็นผล(การเขียนรายงานต้องเสนอผลการวิจัยให้สอดคล้องกับกรอบที่กำหนดไว้)

  26. การวิจัยปัญหาใดๆ จะต้องมีกรอบแนวความคิดในการที่จะศึกษาในเรื่องนั้นๆ ซึ่งการที่จะมีกรอบแนวความคิดได้เกิดจาก การศึกษาทฤษฎีและผลงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อดูว่าปรากฏการณ์นั้นเกิดขึ้นอย่างไร อะไรเป็นสาเหตุให้เกิดปรากฏการณ์ นั้นและเชื่อมโยงแนวความคิดและทฤษฎีต่างๆ เข้าด้วยกัน(การเขียนตามกรอบจะเป็นการวิเคราะห์ อภิปรายผลในบทที่5)

  27. แนวความคิดมีความสำคัญอย่างไร?-แนวความคิดที่มาจากทฤษฎีที่มีเนื้อหาสาระตรงกับเรื่องที่จะทำวิจัยมากที่สุด-แนวความคิดที่อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆที่สอดคล้องกับประเด็นที่กำลังจะศึกษา-แนวความคิดที่มาจากทฤษฎีที่เข้าใจง่ายที่สุด ซึ่งสามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรได้ โดยไม่ยุ่งยากซับซ้อนมากเกินไป -แนวความคิดที่มีประโยชน์ในเชิงนโยบายหรือสามารถกำหนดมาตรการต่างๆได้อย่างเป็นรูปธรรม

  28. กรอบแนวความคิด ในการศึกษาวิจัย เป็นการนำแนวคิด และ ทฤษฎี ตลอดจนงานวิจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง กับสิ่งศึกษามาสนับสนุนงานวิจัย เพื่อให้เห็นว่าสิ่งที่จะทำต่อไป มีที่มาอย่างไร มีทฤษฎีอะไรบ้าง ใครเคยศึกษาไว้แล้ว ได้ผลอย่างไร และ ผู้วิจัย จะศึกษา แตกต่างไปจากผู้ที่เคยศึกษาไว้อย่างไร ผู้วิจัยจะต้องผสมผสาน แนวคิด ทฤษฎี และ งานวิจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ที่รวบรวมมาได้ กับแนวคิดของ ผู้วิจัยเองมาใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ โปรดดูตัวอย่างต่อไปนี้

  29. วิธีการเขียนผลการศึกษาครอบคลุมปัญหาการวิจัยวิธีการคือแนวทางหรือเครื่องมือ เพื่อการได้มาซึ่งข้อมูลที่จะนำไปวิเคราะห์

  30. แบ่งตามลักษณะการเก็บข้อมูลบางครั้งเรียกว่าวิธีการเขียนผลงานการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative) เชิงปริมาณ (Quantitative)

  31. การเก็บรวบรวมข้อมูล หมายถึง การวัด (Measurement) เป็นกระบวนการตั้งแต่การรวบรวมและเรียบเรียงข้อมูล การจัดลำดับข้อมูลอย่างเป็นระบบ มีวิธีการและหลักเกณฑ์ที่แน่นอน และให้ค่าของสิ่งที่ต้องการวัด หรือต้องการศึกษา เป็นกระบวนการตั้งแต่การรวบรวมและเรียบเรียงข้อมูล การจัดลำดับข้อมูลอย่างเป็นระบบ มีวิธีการและหลักเกณฑ์ที่แน่นอน

  32. ผู้วิจัยจะต้องคำนึงว่า การเก็บรวบรวมข้อมูลนั้นจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของงานวิจัยเสมอถ้างานวิจัยนั้นจำเป็นจะต้องมีสมมติฐานเพื่อทำการทดสอบ ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมานั้นจะต้องมีเพียงพอและมีความถูกต้องครบถ้วนและข้อมูลที่เก็บจะต้องครอบคลุมตัวแปรทุกตัวที่ผู้วิจัยทำการศึกษา

  33. ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data)คือข้อมูลที่ได้รวบรวมได้จากการสัมภาษณ์ การออกแบบสอบถามหรือการนับ การสังเกตเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ข้อมูลจะมีทั้งเนื้อหาและตัวแปรซึ่งอาจประกอบด้วย มาตรวัดที่ เป็นข้อมูลวัดระดับแบ่งกลุ่ม (Nominal Scale) หรือข้อมูลการวัดระดับอันดับ (Ordinal Scale)

  34. ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data)คือข้อมูลที่รวบรวมได้จากการวัด การนับ เหตุการณ์ที่ต้องการศึกษาที่เกิดขึ้นเองหรือจากผลการทดลองข้อมูลประกอบด้วยตัวแปรที่มีมาตรวัดเป็นข้อมูลการวัดระดับช่วง (Interval Scale) หรือข้อมูลการวัดระดับอัตราส่วน (Ratio Scale)

  35. วัตถุประสงค์การวิจัยที่ชัดเจนที่จะตอบปัญหาเรื่องที่ศึกษา วัตถุประสงค์การวิจัยที่ชัดเจนที่จะตอบปัญหาเรื่องที่ศึกษา

  36. การเขียนวัตถุประสงค์การวิจัยวัตถุประสงค์การวิจัยมีความสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งที่กำหนดให้นักวิจัย ต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยทั่วไปจะกำหนดวัตถุประสงค์ไว้เป็นข้อๆ แต่การวิจัยบางเรื่องอาจไม่ต้องการแจกแจงลงรายละเอียดเป็นข้อๆ ก็ได้ อย่างไรก็ตามการกำหนดวัตถุประสงค์เป็นการยืนยันของผู้วิจัยที่จะหาคำตอบมาอธิบายหรือเสนอข้อเท็จจริงที่ค้นพบมาเสนอ(โปรดดูตัวอย่าง)

  37. การวิจัยเรื่อง บทบาทของพระสงฆ์กับการรักษาสุขภาพ : กรณีศึกษาวัดโป่งพระบาท ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาประวัติ ภูมิหลัง แนวคิดและกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการ รักษาสุขภาพของพระสงฆ์วัดโป่งพระบาท 2.เพื่อศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ ด้านการรักษาสุขภาพและบทบาทในด้านอื่น ๆ ที่มีต่อชุมชน3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบริบททางสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ ของหมู่บ้านกับการรักษาสุขภาพของพระสงฆ์ วัดโป่งพระบาท 4.เพื่อศึกษาความคิดเห็นของชาวบ้านและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีต่อการรักษา สุขภาพของพระสงฆ์

  38. โครงการจังหวัดปลอดบุหรี่: เชียงราย น่านและแม่ฮ่องสอนวัตถุประสงค์1. เพื่อให้ผู้ที่สูบบุหรี่เกิดจิตสำนึกและพิษภัยของบุหรี่ 2. ยับยั้งการเพิ่มปริมาณของผู้สูบบุหรี่รายใหม่ 3. เพื่อให้อัตราการ การสูบบุหรี่ในจังหวัดเชียงรายลดลง 4สร้างเครือข่ายปลอดบุหรี่ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการให้ความรู้สู่ ประชาชน 5. เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของกลุ่มบุคคล ส่วนราชการ หน่วยงานสถานศึกษาให้ออกข้อบัญญัติในการห้ามสูบบุหรี่ใน สถานที่กำหนดขึ้น6. รณรงค์ให้รู้ถึงพิษภัยบุหรี่ และให้เข้ามามีส่วนร่วมกันสร้างพื้นที่ ปลอดบุหรี่ ๑๐๐ % โดยมีคณะกรรมการชุมชนคอยกำกับดูแล

  39. วัตถุประสงค์การวิจัย1.เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดสุราษฏร์ธานี 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการทำงานของครูอาจารย์ สังกัด สำนักงานประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดสุราษฏร์ธานี3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้บริหารโรงเรียน ประถมศึกษากับความพึงพอใจในการทำงานของครูอาจารย์ สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดสุราษฏร์ธานี

  40. การเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อรายงานผลการวิจัย

  41. การทำวิจัยทั่วไป จะต้องทำงานอย่างมีขั้นตอน และเป็นระบบ วิธีการวิจัย (Research methods) ที่นักสังคมศาสตร์ใช้ในการศึกษาเพื่อหาความรู้สามารถจำแนกออกได้เป็น 7 ขั้นตอน (วิธีการ) ดังนี้

  42. 1. การสำรวจ (Surveys)1.1 กำหนดกลุ่มประชากร (Identifying the population) 1.2 เลือกกลุ่มตัวอย่าง (Selecting a sample) การสุ่มแบบเป็นระบบ (Systematic sampling)การสุ่มแบบช่วงชั้น (Stratified sampling) และอื่นๆ2. การทดลอง (Experiments) 3. การสังเกต (Observation) 4. การวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary analysis) 5. การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)6. การวิเคราะห์เปรียบเทียบ (Comparative analysis)7. การวิจัยซ้ำ (Replication)

  43. ทุกขั้นตอนต้องมีผลลัพธ์ คำอธิบาย การตีความ แปลความหมายและวิเคราะห์ผล ตั้งแต่เริ่มต้น

  44. ขั้นตอนการเขียนรายงานผลการวิจัย ขั้นตอนการเขียนรายงานผลการวิจัย

  45. การเขียนบทนำคือ ส่วนแนะนำและปูพื้นเรื่อง เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่า1.  เรื่องที่กำลังทำเกี่ยวข้องกับเรื่องใด มีความสำคัญ อย่างไร2.  ตอบคำถามตนเองว่าทำไมจึงสนใจทำเรื่องนี้ 3.  เมื่อได้ทำการวิจัยแล้วจะได้ประโยชน์

  46. เทคนิคการเขียนบทนำ1.จุดเริ่มต้นภายใน 5 ประโยคแรกต้องให้ผู้อ่านเห็นความสำคัญของปัญหา แล้วชี้แจงให้เห็นว่า ผลจากการวิจัยจะทำให้เกิดประโยชน์ต่างๆได้ อย่างไร จุดนี้เป็นการกระตุ้นให้ผู้อ่านเห็นประเด็นสำคัญด้วยถ้อยคำที่อ่านแล้วอยากอ่านต่อไป ต้องเขียนเพื่อให้เกิด impact สูง

  47. 2.ผู้เขียนจะต้องกล่าวถึงความสำคัญที่จะต้องทำวิจัยเพื่อหาคำตอบให้ได้ หากละเลยไม่วิจัยแล้วจะส่งผลเสียหายอย่างใหญ่หลวง หรือนำผลไปใช้ให้เป็นประโยชน์ ด้านการแก้ไขปัญหา หรือนำไปสู่การกำหนดนโยบาย3. นักวิจัย (อาจารย์) มักจะเขียนแบบ ขี่ม้าเลียบค่ายวกวน ไม่เข้าถึงประเด็นปัญหา บางคนร่ายยาวแล้วค่อยๆนำเข้ามาหาประเด็นปัญหาทั้งๆที่อยู่ในส่วนที่เป็น หัวข้อ “ความสำคัญของปัญหา”

  48. ตัวอย่างสำนวนการเขียน 1. แม้ว่าผลจากการรณรงค์เพื่อลดอัตราการสูบบุหรี่ของประชากรไทยได้ลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 2ทศวรรษที่ผ่านมา แต่ก็ยังไม่สามารถที่จะทำให้การลดอัตราการสูบบุหรี่ลดลงไปในทุกภูมิภาค การพิจาณาความสำเร็จของการดำเนินโครงการ หากพิจารณา จากอัตราการสูบบุหรี่ที่ลดลงเท่านั้นยังไม่พอเพียงต่อการดำเนินงานรณรงค์เพื่อลดอัตราการสูบบุหรี่ลงได้

More Related