1 / 6

ประวัติห้องสมุดในไทย

ประวัติห้องสมุดในไทย. ประวัติห้องสมุดในไทย.

lunea-mayo
Download Presentation

ประวัติห้องสมุดในไทย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ประวัติห้องสมุดในไทย

  2. ประวัติห้องสมุดในไทย   สมัยสุโขทัย (พ.ศ. 1800 - 1920) พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นในปี พ.ศ. 1826 ได้จารึกเรื่องราวต่างๆ ลงบนแผ่นหินหรือเสาหิน คล้ายกับหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่จารึกเมื่อประมาณ 700 ปีมาแล้ว ซึ่งหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชถือเป็นหนังสือเล่มแรกของไทย เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชส่งสมณฑูตไปสืบศาสนาที่ลังกา ก็รับพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์เข้าสู่กรุงสุโขทัย พร้อมทั้งคัมภีร์พระไตรปิฎก โดยสันนิษฐานว่าจารึกลงในใบลาน ดังนั้นพระในเมืองไทยจึงมีการคัดลอกพระไตรปิฎกที่เรียกว่า การสร้างหนังสือ ทำให้มีหนังสือทางพุทธศาสนาเกิดขึ้นจำนวนมากที่เรียกว่า หนังสือผูกใบลาน จึงสร้างเรือนเอกเทศสำหรับเก็บหนังสือทางพุทธศาสนา เรียกว่า หอไตร และในปลายสมัยกรุงสุโขทัยได้มีวรรณกรรมทางศาสนาที่สำคัญคือ ไตรภูมิพระร่วง ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 1 พญาลิไทย สมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1893 - 2310) ได้มีการสร้างหอหลวงไว้ในพระบรมมหาราชวังเป็นที่สำหรับเก็บหนังสือของทางราชการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2310 ทั้งหอไตรและหอหลวงได้ถูกพม่าทำลายได้รับความเสียหาย สมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ. 2310 - 2325) พระเจ้าตากสินได้โปรดให้ขอยืมพระไตรปิฎกจากเมืองนครศรีธรรมราชมาคัดลอกและโปรดเกล้าฯ ให้สร้างหอพระไตรปิฎกหลวง หรือเรียกว่า หอหลวง

  3. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2325 - ปัจจุบัน) 1. หอพระมณเฑียรธรรม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างหอพระมณเฑียรธรรมขึ้นเมื่อ พ.ศ 2326 ในพระบรมมหาราชวังบริเวณวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อเก็บพระไตรปิฎกหลวง แต่ถูกไฟไหม้ จึงโปรดให้สร้างขึ้นใหม่และใช้นามเดิม 2. จารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา และให้รวบรวมเลือกสรรตำราต่างๆ มาตรวจตราแก้ไขแล้วจารึกลงบนแผ่นศิลาประดับไว้ในบริเวณต่างๆ ของวัด มีรูปเขียนและรูปปั้นประกอบตำรานั้นๆ แต่ที่รู้จักกันแพร่หลายคือ รูปปั้นฤาษีดัดตนในท่าต่างๆ ที่ถือเป็นต้นตำรับการนวดและตำรายาไทย ซึ่งเป็นต้นตำรับการแพทย์แผนไทยมาจนกระทั่งทุกวันนี้ นอกจากนั้นยังมีความรู้อีกมากมายมที่จารึกไว้ จนทำให้จารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย และได้รับการยกย่องให้เป็นห้องสมุดประชาชนแห่งแรกของไทย 3. หอพระสมุดวชิรญาณ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2424 เพื่อเฉลิมพระเกียรติของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 4. หอพุทธศาสนสังคหะ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างขึ้นที่วัดเบญจมบพิตร เมื่อ พ.ศ. 2443 เพื่อเก็บหนังสือต่างๆ เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา 5. หอสมุดสำหรับพระนคร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2448 โดยโปรดเกล้าฯ ให้รวมหอพระมณเฑียรธรรม หอพระสมุดวชิรญาณ และหอพุทธศาสนาสังคหะเข้าเป็นหอเดียวกัน และพระราชทานนามว่า หอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร 6. หอสมุดแห่งชาติ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2468 โดยให้แยกห้องสมุดออกเป็น 2 หอ คือ แยกหนังสือตัวเขียน ได้แก่ สมุดไทย หนังสือจารึกลงในใบลาน สมุดข่อย ศิลาจารึก และตู้ลายรดน้ำไปเก็บไว้ที่พระที่นั่ง ศิวโมกขพิมาน ซึ่งอยู่ในบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ใช้สำหรับเก็บหนังสือตัวเขียน และเรียกว่า หอพระวชิรญาณ ส่วนหอสมุดที่ตั้งขึ้นที่ตึกถาวรวัตถุใช้เก็บหนังสือตัวพิมพ์ เรียกว่า หอพระสมุดวชิราวุธ 7. หอจดหมายเหตุ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2459 มีงานดังนี้ - งานจัดหาเอกสารและบันทึกเหตุการณ์ - งานจัดเก็บเอกสาร - งานบริการเอกสาร - งานซ่อมแซมและบูรณะเอกสาร - งานไมโครฟิล์ม และถ่ายสำเนาเอกสาร

  4. 9. หอไตร : ห้องสมุดแรกเริ่มของไทย ....รองศาสตราจารย์ ดร. ชุติมา สัจจานันท์          หอไตรมีความเจริญรุ่งเรืองสืบทอดมาเป็นระยะเวลานาน แม้ในปัจจุบันหอไตรจะไม่ได้มีบทบาท ความสำคัญ เช่นดังในอดีตเนื่องจากพระไตรปิฎกมิได้จารึกลงบนใบลาน หรือจารึกลงในสมุดข่อย แต่มีการพิมพ์เป็นหนังสือเล่ม   ซึ่งสามารถเก็บรักษาไว้ในตู้หนังสือธรรมดา หรือห้องสมุดได้อย่างสะดวก นอกจากนี้มีการขยายการศึกษาจากการศึกษาของสงฆ์ การศึกษาเรื่องทางพระพุทธศาสนา มาสู่การศึกษาของประชาชนในสรรพวิทยาการความรู้ทุกสาขาวิชา ทำให้เกิดการพัฒนาแหล่งความรู้ของประชาชนจากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ซึ่งถือเป็นห้องสมุดประชาชนแห่งแรกของไทย มาสู่ห้องสมุดยุคใหม่ คือ หอพระสมุดวชิรญาณสำหรับพระนคร ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นกิจการหอสมุดแห่งชาติของไทยขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ และเป็นรากฐานความเจริญก้าวหน้า การพัฒนากิจการห้องสมุดประเภทต่าง ๆ ในสมัยต่อ ๆ มา ทุกวันนี้หอไตรส่วนใหญ่ชำรุดเสื่อมโทรมไปตามกาลเวลา ที่ยังคงอยู่บางแห่งใช้เก็บพระคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ เพื่อสักการบูชาเท่านั้น มิได้ใช้ให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์เดิม แต่ความสำคัญและคุณค่าของหอไตรยังคงอยู่ ทั้งในด้านศิลปะและการเป็นห้องสมุดแรกเริ่มหรือต้นกำเนิดของห้องสมุดไทย

  5. เคยสงสัยกันบ้างหรือเปล่าว่าทำไมห้องสมุดถึงเรียกว่าห้องสมุดเคยสงสัยกันบ้างหรือเปล่าว่าทำไมห้องสมุดถึงเรียกว่าห้องสมุด ทำไมถึงเรียกว่าห้องสมุดทั้งที่มีแต่หนังสือ??? ก็เพราะห้องสมุดเคยเก็บสมุดมาก่อนจริงๆคนในสมัยโบราณจดบันทึกเรื่องราวและความรู้ต่างๆ ด้วยมือลงในสมุดไทยแล้วนำมาเก็บรวบรวมไว้เป็นห้องๆจึงเรียกว่าห้องสมุดเมื่อเวลาผ่านไปเทคโนโลยีกับความทันสมัยเข้ามา วิธีการทำบันทึกก็เปลี่ยนไป มีการนำการพิมพ์เข้ามา ความรู้ทั้งหลายได้จัดพิมพ์เป็นหนังสือแทนการเขียนลงสมุดไทย และเก็บไว้ในห้องสมุดเช่นกัน หนังสือจึงเข้ามาแทนที่สมุด และยังคง เรียกว่า " ห้องสมุด " เหมือน เดิมสมุดไทยเป็นสมุดโบราณเล่มสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวๆ ทำด้วยกระดาษข่อยพับทางขวางกลับไปกลับมา สมุดไทยมี ๒ ชนิด๑.กระดาษขาว เรียก สมุดขาว๒.กระดาษดำ เรียก สมุดดำห้องสมุดแห่งแรกของโลกนั้น ตั้งอยู่ที่ เมืองอเล็กซานเดรีย ในประเทศอียิปต์ ก่อตั้งมาแล้วกว่า 2,000 กว่าปีเลยทีเดียว นานมากๆห้องสมุดแห่งนี้มีกฎว่าทุกคน ที่เข้ามาใช้บริการต้องบริจาคหนังสือให้ห้องสมุดด้วย 1 เล่ม ที่นี้จึงมีหนังสือมากถึง 7 แสนเล่ม ก่อนจะ ล่มสลายไป ส่วนห้องสมุดแห่งแรกของไทยในสมัยกรุงรัตนโดสินทร์ คือ “หอพระมณเทียรธรรม” ตังอยู่ที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือ วัดพระแก้ว

  6. ส่วนหนังสือเล่มแรกของไทยคือ จินดามณี  ของศรีปราชญ์  กับพระโหราธิบดี อยู่ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา จินดามณี (มีความหมายว่า แก้วสารพัดนึก)เป็นแบบเรียนภาษาไทย เนื้อหาครอบคลุมเรื่องการใช้สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ การผันอักษร อักษรศัพท์ อักษรเลข การสะกดการันต์ การแต่งคำประพันธ์ และกลบท มีอยู่ 60 ชนิด จินดามณี แต่งขึ้นในสมัยอยุธยาตอนกลาง โดยพระโหราธิบดี ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นแบบเรียนเล่มแรกของ ไทยด้วย จนทำให้หนังสือแบบเรียนไทยในยุคต่อมาหลายเล่มใช้ชื่อตามว่า จินดามณี เช่น จินดามณีครั้งแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ เป็นต้น

More Related