1 / 73

ทฤษฎีการเรียนรู้ ทางปัญญาเชิงสังคม (Social Cognitive Theory)

ทฤษฎีการเรียนรู้ ทางปัญญาเชิงสังคม (Social Cognitive Theory).

lucio
Download Presentation

ทฤษฎีการเรียนรู้ ทางปัญญาเชิงสังคม (Social Cognitive Theory)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ทฤษฎีการเรียนรู้ ทางปัญญาเชิงสังคม (Social Cognitive Theory)

  2. ของแบนดูรา (Bandura, 1986) ทฤษฎีนี้ถือว่าพฤติกรรมส่วนใหญ่ของบุคคลเกิดจากการเรียนรู้ ส่วนหนึ่งของบุคคลเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงของตนเอง และอีกส่วนหนึ่งจากการสังเกตพฤติกรรมของคนอื่น ซึ่งถือว่าเป็นการเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเรียนรู้จากตัวแบบ (Observational Learning or Modeling)

  3. โดยพฤติกรรมของบุคคลมิได้ถูกผลักดันโดยพลังภายใน (Inner Force) ไม่ได้ถูกปรับแต่งอย่างอัตโนมัติ (Automatically Shaped) และทั้งไม่ได้ถูกควบคุมโดยสิ่งเร้าจากภายนอก (External Stimuli) เท่านั้นแต่แบนดูราอธิบายว่า พฤติกรรมของบุคคลเกิดขึ้นโดยการปฏิสัมพันธ์ที่ขึ้นต่อกันจากองค์ประกอบ 3 ส่วน (Triadic Reciprocally) ดังนี้

  4. B P E B = พฤติกรรม (Behavior) P = ปัญญาและองค์ประกอบส่วนบุคคล (Cognitive and other Personal Factors) E = สภาพแวดล้อม (Environmental Events)

  5. 1. ประเภทการเรียนรู้ 1.1 การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง (Direct Experience)

  6. ความสามารถทางปัญญา (Cognitive Capacities) C+ B1 B2 A A หมายถึง สภาพแวดล้อมหรือสิ่งเร้า B1หมายถึง พฤติกรรมภายใน (Covert Behavior) คือ ปัญญา (Cognitive) และองค์ประกอบส่วนบุคคล (Personal Factor) ซึ่งเชื่อว่าเป็น ตัวกำหนดให้ B2เกิดขึ้น B2หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงออกมา (Overt Behavior) C+ หมายถึง ผลที่ได้มีทั้งผลทางบวก (C+) และผลทางลบ (C-)

  7. การกระทำพฤติกรรมใดจะก่อให้เกิดผลทางบวก หรือทางลบ กระบวนการนี้ทำหน้าที่ 3 ประการ คือ 1) ทำหน้าที่ให้ข้อมูล (Information Function) 2) ทำหน้าที่ให้แรงจูงใจ (Motivational Function) 3) ทำหน้าที่ในการเสริมแรง (Reinforcing Function)

  8. การเรียนรู้โดยการสังเกตจากตัวแบบ (Observational Modeling) บุคคลสามารถเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้จากการสังเกตพฤติกรรมของตัวแบบต่างๆ ที่อยู่ในสังคมรวมทั้งเรียนรู้จากผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการกระทำของตนเอง การเรียนรู้จากตัวแบบไม่ใช่การเลียนแบบพฤติกรรมจากตัวแบบเท่านั้น แต่เป็นการเรียนรู้ที่ผ่านกระบวนการทางการใช้ปัญญาของบุคคลที่ซับซ้อนก่อน ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงของผู้สังเกตเกิดขึ้น

  9. พฤติกรรมการสนองตอบ หรือการส่งออก (Output) สิ่งเราหรือการรับเข้า (Input) บุคคล (Person) ขั้นที่ 2 ขั้นการแสดงออก (Performance) ขั้นที่ 1 ขั้นการรับมาซึ่งการเรียนรู้ (Acquisition) ขั้นการเรียนรู้โดยการสังเกตจากตัวแบบ

  10. การเรียนรู้ปัญญาเชิงสังคมด้วยการสังเกตจากตัวแบบจึงสามารถแยกได้เป็น 2 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 เป็นขั้นการได้รับมาซึ่งการเรียนรู้ (Acquisition) ขั้นที่ 2 เป็นขั้นการแสดงออก (Performance)

  11. ตัวแบบ (Model) ความใส่ใจเลือกสิ่งเร้า (Selective Attention) การเข้ารหัส (Coding) การเก็บจำ (Retention) Input ขั้นการรับมาซึ่งการเรียนรู้

  12. กระบวนการทางปัญญาเชิงสังคม (Cognitive Processes) กระบวนการเรียนรู้โดยการสังเกต

  13. กระบวนการเสนอตัวแบบ (Modeling Procedures)

  14. ความหมายของตัวแบบและการใช้เทคนิคเสนอตัวแบบความหมายของตัวแบบและการใช้เทคนิคเสนอตัวแบบ ตัวแบบ หมายถึงการเสนอตัวอย่างที่ได้รับการคัดเลือกแล้วว่าเป็นตัวอย่างที่ดี สามารถใช้เป็นแบบอย่างของการกระทำให้แก่ผู้สังเกตได้ ส่วนการใช้เทคนิคเสนอตัวแบบ หมายถึง กลวิธีในการสร้างหรือสอนพฤติกรรมใหม่โดยผู้สังเกตหรือผู้ที่ประสงค์จะเลียนแบบ สังเกต ฟัง หรืออ่านเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคล หรือสัญลักษณ์แทนบุคคล และประมวลเป็นข้อมูลในการ ที่จะเลียนแบบ และแสดงพฤติกรรมของตนเองต่อไป

  15. ลักษณะของกระบวนการเสนอตัวแบบลักษณะของกระบวนการเสนอตัวแบบ A B1 B C โดยที่ A หมายถึง การเสนอตัวแบบ B1หมายถึง ความคิดหรือความรู้สึกของผู้สังเกตตัวแบบ B หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงออก C หมายถึง ผลที่ได้รับ

  16. อิทธิพลของตัวแบบที่มีต่อผู้สังเกตอิทธิพลของตัวแบบที่มีต่อผู้สังเกต - การสร้างพฤติกรรมใหม่ - การสร้างกฎเกณฑ์หรือหลักการใหม่ - การสอนความคิดและพฤติกรรมสร้างสรรค์ - การยับยั้งการกระทำ - การส่งเสริมการกระทำ - ทางด้านอารมณ์ - การเอื้ออำนวยให้เกิดการกระทำตามตัวแบบ

  17. ประเภทของเทคนิคการเสนอตัวแบบประเภทของเทคนิคการเสนอตัวแบบ การเสนอตัวแบบที่มีชีวิต (Live Model) การเสนอตัวแบบในรูปสัญลักษณ์ (Symbolic Model)

  18. วิธีการเสนอตัวแบบ 1) การเสนอตัวแบบเป็นขั้นตอน (Graduated Modeling) 2) การเสนอตัวแบบเป็นขั้นตอนร่วมกับการชี้แนะ (Guided Modeling) 3) การเสนอตัวแบบเป็นขั้นตอนกับการชี้แนะ และการเสริมแรง (Guided Modeling With Reinforcement) 4) การเสนอตัวแบบร่วมกับการแนะนำการปฏิบัติการ (Modeling with guided Performance) 5) การเสนอตัวแบบที่ผู้สังเกตมีส่วนร่วม (Participant Modeling) 6) การเสนอตัวแบบที่มีระบบสัมผัสทางกาย (Content Desensitization) 7) การเสนอตัวแบบภายใน (Covert Modeling) 8) การเสนอตัวแบบกับอุปกรณ์นำการตอบสนอง และประสบการณ์ที่เชี่ยวชาญ ซึ่งเกิดจาก การควบคุมตนเองของผู้สังเกต (Modeling with Response-induction Aids and Self-directed master Experience) 9) การเสนอตัวแบบที่แสดงพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปทีละขั้นกับการเสนอตัวแบบที่แสดงความชำนาญในการกระทำพฤติกรรม (Coping Modeling and Mastery Modeling)

  19. หลักในการดำเนินการใช้เทคนิคการเสนอตัวแบบหลักในการดำเนินการใช้เทคนิคการเสนอตัวแบบ 1. กำหนดพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียน 2. มีตัวแบบที่เหมาะสมแสดงตัวอย่างพฤติกรรมนั้นให้ผู้เรียนเห็น 3. ให้การเริมแรงแก่ตัวแบบเมื่อแสดงพฤติกรรมที่ต้องการ 4. ให้การเสริมแรงแก่ผู้เรียนเมื่อแสดงพฤติกรรมที่ต้องการตาม อย่างตัวแบบ

  20. สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต (2528) กล่าวถึง หลักการที่ใช้ตัวแบบในการเสริมสร้าง พฤติกรรมให้มีประสิทธิภาพ ดังนี้ 1) ต้องกำหนดพฤติกรรมที่ต้องการจะให้ตัวแบบแสดงเพื่อให้บุคคลสังเกตและ ลอกเลียนแบบให้ชัดเจน 2) ความชัดเขนของพฤติกรรมนั้น จะต้องหมายถึงการสังเกตให้เห็นได้ วัดได้โดยใช้คน ตั้งแต่ 2 คน สามารถสังเกตและวัดได้ตรงกัน 3) จะต้องแน่ใจได้ว่าพฤติกรรมที่ตัวแบบแสดงนั้น อยู่ภายในระดับความสามารถของ ผู้สังเกต มิฉะนั้นจะก่อให้เกิดความคับข้องใจในการเรียนรู้ 4) จะต้องแน่ใจว่าพฤติกรรมที่จะให้บุคคลเลียนแบบนั้น สามารถแยกออกเป็นพฤติกรรม ย่อยๆ ได้ 5) จะต้องแน่ใจว่าผู้สังเกตตั้งใจสังเกตพฤติกรรมของตัวแบบอย่างแท้จริง (มองหรือฟัง) อาจใช้สัญญาณที่เป็นคำพูดแก่ผู้สังเกตก่อน เพื่อกระตุ้นให้เกิดความสนใจ 6) จะต้องแน่ใจว่าพฤติกรรมที่ตัวแบบแสดงออกนั้นชัดเจน และกระทำอย่างสม่ำเสมอ

  21. 7) เมื่อผู้สังเกตเลียนแบบพฤติกรรมของตัวแบบถูกต้องหรือใกล้เคียงแล้ว ผู้เลียนแบบจะต้องได้รับการเสริมแรงทันที 8) การเสริมแรงที่ให้กับผู้สังเกตนั้นจะต้องใช้ตัวเสริมแรงที่มีประสิทธิภาพ 9) ผู้ดำเนินโปรแกรมจะต้องไม่ควบคุมความสนใจของผู้สังเกตตัวแบบด้วยวิธีที่รุนแรง เช่น ตี หรือดุด่า เป็นต้น 10) ควรมีการรวบรวมข้อมูลที่แสดงถึงความก้าวหน้าของผู้สังเกตด้วย เพราะจะทำให้ผู้สังเกตรู้ว่าตนเองก้าวหน้าอย่างแท้จริง 11) ในกรณีที่ผู้สังเกตไม่สามารถเลียนแบบพฤติกรรมของตัวแบบได้ อาจใช้การชี้แนะช่วยด้วย เพราะจะทำให้เรียนรู้ได้เร็วขึ้น 12) ในการเสนอตัวแบบนั้น เมื่อตัวแบบแสดงพฤติกรรมควรมีการเสริมแรงแก่ตัวแบบด้วย เพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้สังเกตอยากเลียนแบบมากขึ้น 13) ควรเลือกตัวแบบที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับผู้สังเกตพร้อมทั้งให้มีความเด่น ตลอดจนสามารถแสดงพฤติกรรมที่จะให้ลอกเลียนแบบได้อย่างคล่องแคล่วด้วย

  22. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการเสนอตัวแบบปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการเสนอตัวแบบ 1) ปัจจัยส่งเสริมการเรียนรู้และการเก็บจำ (Factor Enhancing Learning and Retention) 2) ปัจจัยที่ส่งเสริมการแสดงออก (Factor Enhancing Performance) ลักษณะของตัวแบบ 1) ตัวแบบ ควรจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับผู้สังเกต ทั้งในด้านเพศ เชื้อชาติ และเจตคติ 2) ตัวแบบ ควรจะเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในสายตาของผู้สังเกต 3) ระดับของวามสามารถของตัวแบบ ควรมีระดับที่ใกล้เคียงกับผู้สังเกต 4) ตัวแบบนั้น ควรจะมีลักษณะที่เป็นกันเองและสร้างความอบอุ่นใจเมื่ออยู่ใกล้ 5) ตัวแบบเมื่อแสดงพฤติกรรมแล้วได้รับการเสริมแรง จะทำให้ได้รับความสนใจจากผู้สังเกตมากขึ้น

  23. ลักษณะของผู้สังเกต 1) ความสามารถในการดำเนินการและเก็บข้อมูล 2) ความไม่แน่ใจในการแสดงออกของพฤติกรรม 3)ความวิตกกังวลของผู้สังเกต

  24. ลักษณะของการเสนอตัวแบบลักษณะของการเสนอตัวแบบ 1) การเสนอตัวแบบที่เป็นชีวิตจริง หรือตัวแบบสัญลักษณ์ 2) การเสนอตัวแบบภายใน 3) การเสนอตัวแบบหลายๆ ตัว 4) การเสนอตัวแบบที่แสดงถึงความสามารถในการแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดีกับตัวแบบที่ค่อยๆ แสดงถึงการเพิ่มความสามารถในการแก้ปัญหานั้น 5) การเสนอตัวแบบแบบค่อยๆ แสดงออกทีละขั้นตอน 6) การใช้การสอน 7) การให้ผู้สังเกตสรุปถึงลักษณะของพฤติกรรมของตัวแบบที่เข้าสังเกต 8) การซักถาม 9) สภาพการณ์ที่จะเสนอตัวแบบ ควรเป็นสภาพการณ์ที่สามารถลดการรบกวนจากสิ่งเร้าภายนอกได้เป็นอย่างดี

  25. ปัจจัยที่จะส่งเสริมการแสดงออกปัจจัยที่จะส่งเสริมการแสดงออก 1) การสร้างสิ่งที่ล่อใจเพื่อให้บุคคลแสดงออก 2) การทำให้การแสดงออกนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น 3) การให้บุคคลนำเอาสิ่งที่เรียนรู้นั้นไปใช้ในสถานการณ์อื่น

  26. ขั้นตอนในการนำวิธีการเสนอตัวแบบไปใช้ขั้นตอนในการนำวิธีการเสนอตัวแบบไปใช้ 1. กำหนดพฤติกรรมเป้าหมายที่ต้องการให้ผู้สังเกตเรียนรู้ 2. เลือกตัวแบบที่จะแสดงพฤติกรรมที่ต้องการให้ผู้สังเกตเรียนรู้อย่างเหมาะสม 3. ฝึกหัดตัวแบบให้มีความชำนาญในการแสดงพฤติกรรมอย่างเป็นขั้นตอน 4. ให้ตัวแบบแสดงพฤติกรรมเป้าหมายแก่ผู้สังเกต 5. ให้การเสริมแรงแก่ตัวแบบทันทีที่แสดงพฤติกรรมเป้าหมาย 6. ให้การเสริมแรงแก่ผู้สังเกตทันทีที่แสดงพฤติกรรมตามอย่างตัวแบบได้ตามความต้องการ 7. ให้ข้อมูลย้อนหลังกลับหรือชี้แนะข้อมูลบางอย่างแก่ผู้สังเกต ในกรณีที่ยังไม่สามารถเลียนแบบพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสม

  27. ข้อดีและข้อจำกัดของเทคนิคการเสนอตัวแบบข้อดีและข้อจำกัดของเทคนิคการเสนอตัวแบบ ข้อดีของเทคนิคการเสนอตัวแบบ 1) จะทำให้ความถี่ของพฤติกรรมเป้าหมาย หรือพฤติกรรมที่พึงประสงค์ค่อยๆ เกิดขึ้น และค่อยๆ มีความถี่สูงขึ้นและจะคงทนถาวรยิ่งขึ้น 2) จะทำให้ผู้สังเกตหรือผู้เลียนแบบเกิดพฤติกรรมที่ไม่เคยเกิดมาก่อน 3) จะช่วยเพิ่มพฤติกรรมที่พึงประสงค์หรือระงับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของผู้สังเกต หรือผู้เลียนแบบ 4) ช่วยเอื้ออำนวยให้พฤติกรรมของผู้สังเกตหรือผู้เลียนแบบที่เคยเรียนรู้มาก่อนแล้วมี แนวโน้มที่จะแสดงออกมา ข้อจำกัดของเทคนิคการเสนอตัวแบบ 1) การให้ตัวแบบอย่างเดียวในการสร้างหรือสอนพฤติกรรมใหม่ 2) ผู้คัดเลือกตัวแบบตลอดทั้งกิจกรรมที่จะให้เลียนแบบต้องตระหนักถึง ความสำคัญของตัวแบบและกิจกรรมมิฉะนั้นจะทำให้เสียเวลาในการทดลองโดยไร้ประโยชน์

  28. การรับรู้ความสามารถของตนเอง (Perceived Self-Efficacy) การรับรู้ความสามารถของตนเอง หมายถึง การที่บุคคลมีความเชื่อมั่นต่อความสามารถของตนเองที่มีอยู่ในการที่จะกระทำพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ ความสำคัญของการรับรู้ความสามารถของตนเอง แบนดูรา เชื่อว่าการรับรู้ความสามารถของตนเองมีผลต่อการกระทำโดยถ้าบุคคล 2 คน มีความสามารถไม่ต่างกัน แต่อาจแสดงออกในคุณภาพที่แตกต่างกันได้ถ้าพบว่า คน 2 คนนี้มีการรับรู้ความสามารถของตนเองแตกต่างกัน หรือในคนคนเดียวกันก็เช่นกันถ้ารับรู้ความสามารถของตนเองในแต่ละสภาพการณ์แตกต่างกัน ก็อาจแสดงพฤติกรรมออกมาได้แตกต่างกันเช่นกัน

  29. 1) ก่อนทำพฤติกรรมใดๆ ถ้าบุคคลรับรู้ความสามารถของตนเองสูง จะทำให้ตั้งเป้าหมายของการทำงานสูง และมีผลต่อการกล้าตัดสินใจเลือกทำพฤติกรรมนั้นๆ อยากมีส่วนร่วมในการทำพฤติกรรมนั้นและทำให้ไม่เกิดความหวาดหวั่นล่วงหน้าว่าจะไม่สามารถทำพฤติกรรมนั้นได้ 2) ขณะทำพฤติกรรม บุคคลที่รับรู้ว่าตนเองมีความสามารถจะมีความกระตืนรืนร้นในการทำพฤติกรรมจะชอบทำพฤติกรรมที่เสี่ยงท้าทายความสามารถ มีความเพียรพยายาม มีแรงจูงใจที่จะทำพฤติกรรมใดๆให้ประสบความสำเร็จ เมื่อพบปัญหาอุปสรรคก็จะไม่ท้อถอย จะทุ่มเทความพยายามมากยิ่งขึ้นเอาใจใส่ในการทำพฤติกรรม ใช้เวลานานในการแก้ปัญหาอุปสรรคต่างๆ 3) ผลของการทำพฤติกรรม บุคคลที่รับรู้ว่าตนเองมีความสามารถจะส่งผลต่อคุณภาพที่ดีของงานทำให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสบความสำเร็จตามที่คาดหวังไว้

  30. การรับรู้ความสามารถของตนเองมีผลต่อการแสดงพฤติกรรมของบุคคลหลายประการ คือ 1) มีผลต่อการเลือกกิจกรรมที่จะทำ 2) มีผลต่อการฝึกอบรมการเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง 3) มีผลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ 4) มีผลต่อการแก้ไขปัญหาในกิจกรรมที่ทีความยากและซับซ้อน 5) มีผลต่อความรู้ของผู้กระทำกิจกรรมนั้น

  31. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ความสามารถของตนเองปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ความสามารถของตนเอง การรับรู้ความสามารถของตนเองมีผลต่อการทำพฤติกรรมของบุคคลและการที่บุคคลจะเลือกทำพฤติกรรมใดนอกจาจกจะพิจารณาความสามารถของตนเองและผลกรรมที่เกิดขึ้นจากการทำพฤติกรรมแล้วการรับรู้ความสามารถของตนเองเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่มีส่วนในการตัดสินใจทำพฤติกรรมของบุคคล 1. ประสบการณ์ ซึ่งถ้าข้อมูลป้อนกลับเป็นประสบการณ์ที่บุคคลประสบความสำเร็จก็จะทำให้การรับรู้ความสามารถของตนเองเพิ่มขึ้น 2. ตัวแบบ แต่ตัวแบบที่จะมีอิทธิพลต่อความคิดความรู้สึกของบุคคลได้นั้น ควรเป็นตัวแบบที่มีความสามารถไม่ต่างจากผู้สังเกตมากนัก กล่าวคือ ถ้าตัวแบบมีลักษณะเด่น มีความสามารถสูงกว่ามาก แบนดูรา (Bandura, 1986) เสนอว่า ตัวแบบที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองนั้น มีลักษณะดังนี้ 1) ความเหมือนกับตัวแบบ 2) ความหลากหลายของตัวแบบ

  32. 3. การใช้คำพูดชักจูง 4. การกระตุ้นทางอารมณ์ ความวิตกกังวลหวาดหวั่นมากเกินไป โดยมีอาการที่แสดงออกทางด้านร่างกาย เช่น ความเครียด เหงื่อออกมาก ใจสั่น อ่อนเพลีย ฯลฯ อาการเหล่านี้ว่าเกิดความไม่มั่นใจในความสามารถของตนเองที่มีอยู่และจะบกพร่องของตนเองอยู่เสมอทำให้ไม่พยายามที่จะพัฒนา

  33. วิธีพัฒนาการรับรู้ความสามารถของตนเอง จากปัจจัย 4 ประการ ได้แก่ ประสบการณ์ตัวแบบ การใช้คำพูดชักจูงและการกระตุ้นทางอารมณ์ที่ได้กล่าวไปแล้วนั้นในการพัฒนาการรับรู้ความสามารถของตน 1) การใช้ประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จ 2) การใช้ตัวแบบเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่สามารถพัฒนาการรับรู้ความสามารถของตนเองของผู้สังเกตได้ ประสบความสำเร็จได้รับผลที่พึงพอใจ 3) การใช้คำพูดชักจูงเป็นการบอกว่าบุคคลนั้นมีความสามารถที่จะประสบความสำเร็จได้ 4) การกระตุ้นทางอารมณ์

  34. การกำกับตนเอง (Self-Regulation) หมายถึง กระบวนการที่บุคคลวางแผน ควบคุมและกำกับพฤติกรรมของตนเอง กระบวนการสังเกตตนเอง กระบวนการตัดสิน และกระบวนการแสดงปฏิกิริยาต่อเนื่อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเองไปสู่พฤติกรรมเป้าหมายที่ต้องการ ประกอบด้วยกระบวนการย่อย 3 กระบวนการ คือ 1) กระบวนการสังเกตตนเอง (Self-Observation)กระบวนการแรกในการกำกับตนเอง ทั้งนี้ เพราะบุคคลจะต้องทราบว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับตนเสียก่อน จึงจะคิดเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้นมีองค์ประกอบ 2 องค์ประกอบ คือ 1.1) การตั้งเป้าหมาย (Goal Setting)หมายถึงการกำหนดพฤติกรรมเป้าหมายหรือกำหนดเกณฑ์ในการแสดงพฤติกรรมที่ต้องการกระทำอย่างชัดเจน และยังใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมที่บุคคลกระทำจริง การตั้งเป้าหมายในการกระทำพฤติกรรมนั้นมีผลดังนี้ 1.1.1 มีผลต่อแรงจูงใจ 1.1.2 มีผลต่อความคาดหวังเกี่ยวกับความสามารถของตนเอง 1.1.3 มีผลต่อความสนใจเพิ่มขึ้น

  35. การตั้งเป้าหมายนั้นมี 2 วิธี ดังนี้ 1) การตั้งเป้าหมายด้วยตนเอง การที่บุคคลเป็นผู้กำหนดพฤติกรรมเป้าหมายที่ต้องการกระทำด้วยตนเองซึ่งการตั้งเป้าหมายด้วยตนเองจะมีข้อดี คือ จะทำให้บุคคลรู้สึกว่าเขาเป็นผู้กระทำและเป็นผู้ตัดสินใจด้วยตนเองทำให้เกิดความรู้สึกสบายใจและพยายามกระทำพฤติกรรมให้บรรลุเป้าหมายที่ตนกำหนดไว้ 2) การตั้งเป้าหมายโดยบุคคลอื่น 2) การเตือนตนเอง (Self-Monitoring) ขั้นตอนในการเตือนตนเองให้มีประสิทธิภาพ 2.1 จำแนกพฤติกรรมเป้าหมายให้ชัดเจนว่าจะต้องสังเกตพฤติกรรมอะไร 2.2 กำหนดเวลาที่จะสังเกตและบันทึกพฤติกรรม 2.3 กำหนดวิธีการบันทึกและเครื่องมือที่ใช้ในการบันทึกพฤติกรรม 2.4 ทำการสังเกตและบันทึกพฤติกรรมของตนเอง 2.5 แสดงผลการบันทึกพฤติกรรมของตนเองเป็นกราฟ หรือแผนภาพ 2.6 วิเคราะห์ข้อมูลที่บันทึกเพื่อใช้เป็นข้อมูลย้อนกลับ และเพื่อพิจารณาผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

  36. ปัจจัยอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่อการสังเกตตนเอง 1. เวลาที่ทำการสังเกตและบันทึกพฤติกรรมของตนเอง 2. การให้ข้อมูลย้อนกลับ 3. ระดับของแรงจูงใจ 4. คุณค่าของพฤติกรรมที่สังเกต 5. ความสำเร็จและความล้มเหลวของพฤติกรรมที่สังเกต 6. ระดับของความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมที่สังเกต

  37. กระบวนการตัดสิน (Judgment Process) เมื่อบุคคลสังเกตและบันทึกพฤติกรรมของตนเองแล้ว บุคคลก็จะนำเอาข้อมูลที่ได้นั้นไปเปรียบเทียบกับเป้าหมายหรือมาตรฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้เพื่อจะตัดสินว่าจะดำเนินการกับพฤติกรรมที่ตน กระทำอย่างไรต่อไป การตั้งเป้าหมายในการกระทำพฤติกรรมให้มีประสิทธิภาพและสะดวกต่อการตัดสินหรือประเมินพฤติกรรมตนเองนั้น ควรตั้งเป้าหมายให้มีลักษณะ ดังนี้ 1) ควรเป็นเป้าหมายที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง 2) ควรเป็นเป้าหมายที่มีลักษณะท้าทาย 3) ควรเป็นเป้าหมายที่ระบุแน่ชัดและมีทิศทางในการกระทำที่แน่นอน 4) ควรเป็นเป้าหมายระยะสั้น 5) ควรเป็นเป้าหมายที่อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงและสามารถปฏิบัติได้

  38. การเปรียบเทียบเชิงอ้างอิงทางสังคม (Social Referential Comparison) 1. การเปรียบเทียบกับบรรทัดฐานที่เป็นมาตรฐานของกลุ่ม 2. การเปรียบเทียบกับตนเอง 3. การเปรียบเทียบกับสังคม 4. การเปรียบเทียบกับกลุ่มคุณค่าของกิจกรรมการอนุมานสาเหตุในการกระทำ

  39. กระบวนการแสดงปฏิกิริยาต่อตนเอง (Self-Reaction) 1. ทำหน้าที่ตอบสนองต่อผลการประเมินพฤติกรรมของตนเองจากกระบวนการตัดสิน 2. ทำหน้าที่เป็นตัวจูงใจสำหรับการกระทำพฤติกรรมของตนเอง 2.1 สิ่งจูงใจตนเองจากภายนอก 2.2 สิ่งจูงใจตนเองจากภายใน 2.2.1 การแสดงปฏิกิริยาต่อตนเองทางบวก 2.2.2 การแสดงปฏิกิริยาต่อตนเองทางลบ

  40. ปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการกำกับตนเอง ดังนี้ 1) ประโยชน์ส่วนตัว 2) รางวัลทางสังคม 3) การสนับสนุนจากตัวแบบ 4) ปฏิกิริยาทางลบจากผู้อื่น 5) การสนับสนุนจากสภาพแวดล้อม 6) การลงโทษตนเอง

  41. กระบวนการย่อยในกระบวนการกำกับตนเองกระบวนการย่อยในกระบวนการกำกับตนเอง

  42. เมตาคอกนิชัน การที่ผู้เรียนมีสติและมีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ ของตนเอง พร้อมกับการเรียนรู้โดยการกำกับตนเอง หมายถึง ระดับการมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง ในด้านเมตาคอกนิชัน ด้านแรงจูงใจและด้านพฤติกรรม การเรียนรู้โดยการกำกับตนเอง 1. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้านเมตาคอกนิชัน 2. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้านแรงจูงใจ 3. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้านพฤติกรรม

  43. การเรียนรู้โดยการกำกับตนเองการเรียนรู้โดยการกำกับตนเอง 1. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ด้านเมตาคอกนิชัน 2. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ด้านแรงจูงใจ 3. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ด้านพฤติกรรม

  44. ลักษณะที่สำคัญของการเรียนรู้ลักษณะที่สำคัญของการเรียนรู้ โดยการกำกับตนเอง 3 ประการ

  45. 1. การใช้กลยุทธเมตาคอกนิชัน กลยุทธทางแรงจูงใจ และกลยุทธทางพฤติกรรมอย่างเป็นระบบ ซิมเมอร์แมน กล่าวว่า การเรียนรู้โดยการกำกับตนเอง ความแตกต่างระหว่างกระบวนการ กำกับตนเอง (Self-Regulation Process) กับกลยุทธที่ออกแบบมา เพื่อทำให้กระบวนการนี้เหมาะสม (Self-Regulated Learning Strategies) กลยุทธการเรียนรู้โดยการกำกับตนเอง คือ การกระทำ และกระบวนการที่มุ่งให้ตนเองมีความรู้และทักษะเพิ่มขึ้น โดยเป็นไปตามวิธีการ เป้าหมายและการรับรู้ที่ผู้เรียนเป็นผู้กำหนด และรับรู้ด้วยตนเอง

  46. ส่วนกระบวนการกำกับตนเองนั้นเป็นกระบวนการ ส่วนกระบวนการกำกับตนเองนั้นเป็นกระบวนการ ที่ควบคุมให้ตนเองเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ ผลจากกระบวนการ เรียนรู้เป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับระดับของเป้าหมายที่ตั้งไว้ การใช้กระบวนการเรียนรู้โดยการกำกับตนเองมากบ้าง น้อยบาง แตกต่างกันไป แต่ผู้เรียนที่เรียนรู้ โดยการกำกับตนเองจะมีความ แตกต่างจากผู้อื่น 2 ประการ คือ มีความตระหนักถึงความสัมพันธ์ ระหว่างกระบวนการกำกับตนเองกับผลลัพธ์จากการเรียนรู้ และมีการใช้กลยุทธ เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายการเรียนของตนเอง โดยสรุปแล้วเมื่อกล่าวถึงผู้เรียนที่เรียนรู้โดยการกำกับตนเอง

  47. 2. มีวงจรการให้ข้อมูลป้อนกลับของตนเอง (“Self-Oriented Feedback” Loop) การรับรู้ตนเองจนถึง การเปลี่ยนแปลงภายนอก เช่น ทฤษฎี Phenomenological วงจรนี้เป็นกระบวนการรับรู้ตนเองภายใน เช่น ความภาคภูมิใจ ในตนเอง (self-esteem) อัตมโนทัศน์ (Self-concept) ขณะที่ ทฤษฎีเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Theory) อธิบายวงจรนี้ ในลักษณะพฤติกรรมภายนอก คือ การบันทึกตนเอง (Self-Recording) การสอนตนเอง (Self-Instruction) การให้แรงเสริมตนเอง (Self-Reinforcement)

  48. 3. มีกระบวนการด้านแรงจูงใจที่มีปฏิสัมพันธ์กัน (Interdependent Motivational Process) รับสิ่งของตอบแทนเป็นรูปธรรม ขณะที่ทฤษฎี Phenomenological มองว่า ผู้เรียนถูกจูงใจให้กำกับตนเองจากลักษณะ ในภาพรวมของ ความภาคภูมิใจในตนเอง หรือการบรรลุเป้าหมายชีวิต ของตนเองในอุดมคติ (Self-Actualization) สองทฤษฎีนี้ มีทฤษฎีอื่นที่ อธิบายแรงจูงใจในการกำกับตนเองว่าเกิดจากการรับรู้ ความสามารถ ของตนเอง (Self-Efficacy) การประสบความสำเร็จ และความสมดุลของ สติปัญญา (Cognitive Equilibrium) แรงจูงใจเป็นกระบวนการที่ต่าง พึ่งพิงกัน (Interdependent Process) ไม่สามารถเข้าใจได้อย่างสมบูรณ์ ถ้าพิจารณาแยกจากกัน

  49. ความหมายของการเรียนรู้โดยการกำกับตนเองความหมายของการเรียนรู้โดยการกำกับตนเอง ตามทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญาทางสังคม การเรียนรู้โดยการกำกับตนเอง คือ การเรียนบนพื้นฐานของการรับรู้ ความสามารถของตนเอง (Zimmerman. 1989 : 329) ความสำคัญกับองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ กลยุทธการเรียนรู้โดยการกำกับตนเอง (Self-Regulated Learning Strategies) ทักษะที่จำเป็นต้องใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย (Self-Efficacy) และการมีความผูกพันกับ เป้าหมายของการเรียน (Commitment to Academic Goals) วิธีที่ผู้เรียนแสดงพฤติกรรม อันเป็นกลยุทธที่จะทำให้บรรลุถึงเป้าหมาย โดยเชื่อว่าการจูงใจให้ผู้เรียนใช้กลยุทธใน การเรียนคือ การรับรู้ความสามารถของตนเองอย่างต่อเนื่องขณะเรียน ดังนั้นการจะ บอกว่าการกระทำใดเป็นการเรียนรู้โดยการกำกับตนเอง ต้องรู้เป้าหมายการเรียนรู้ ของผู้เรียนและรู้ถึงการรับรู้ความสามารถในการเรียนรู้

  50. ซิมเมอร์แมน (Zimmerman. 1989 : 330) กล่าวถึงทฤษฎีปัญญาทางสังคมว่า การกำกับตนเองมีปัจจัย ที่เป็นสาเหตุ 3 ประการ คือ บุคคล สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรม และขณะเดียวกันปัจจัยด้านบุคคล สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรม ต่างก็มีอิทธิพลซึ่งกันและกัน (Reciprocal) ดังแผนภูมิ ของซิมเมอร์แมน ต่อไปนี้

More Related